ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

...14 Tips เก็บตกเรื่องออฟฟิศ ที่ยิ่งรู้ยิ่งเวิร์ค...
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=19&t=19283
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  ลูกโป่ง [ 01 ธ.ค. 2008, 10:51 ]
หัวข้อกระทู้:  ...14 Tips เก็บตกเรื่องออฟฟิศ ที่ยิ่งรู้ยิ่งเวิร์ค...

รูปภาพ

นี่ คือเรื่องราวสัพเพเหระที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับชีวิตในที่ทำงาน
แบบไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ อ่านแล้วนำไปพิสูจน์กัน
ว่าทำแล้วจะช่วยให้ออฟฟิศของเราน่าอยู่น่าทำงานขึ้นอีกไหม


รูปภาพ

● หากล่องเก็บอุปกรณ์เครื่องเขียนชิ้นเล็กๆ
เช่น คลิปดำหนีบกระดาษ แฟ้มเก็บเอกสาร ที่เข้าสันห่วงแบบกระดูกงู
และคลิปดำหนีบกระดาษให้เป็นที่เป็นทาง
เพราะบ่อยครั้งที่มันจะกระจัดกระจายแล้วถูกกวาดลงถังขยะโดยที่สภาพยังดีอยู่
ช่วยเจ้านายประหยัดเงินได้อีกเยอะทีเดียว

รูปภาพ

● ปุ่ม Enter บนคีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์และปุ่ม Send บนเครื่องแฟกซ์
รวมไปถึงที่จับประตูในห้องน้ำเป็นแหล่งรวมเชื้อโรคมากที่สุดในที่ทำงาน

รูปภาพ

● หนุ่มสาวออฟฟิศต้องจำไว้ การดื่มกาแฟ เกินวันละ 300 มิลลิกรัม
นอกจากจะมีส่วนทำให้กระดูกพรุนแล้ว ยังทำให้แก่ก่อนวัยอีกต่างหาก

รูปภาพ

ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยแอริโซนาพบว่า
มีเชื้อแบคทีเรียอยู่บนโต๊ะทำงาน มากกว่าบนฝารองนั่งในห้องน้ำหลายร้อยเท่า
โดยจำนวนเชื้อโรคบนโทรศัพท์ในออฟฟิศมีเฉลี่ย 25,127
คีย์บอร์ด 3,295 และเมาส์ 1,676 ตัวต่อพื้นที่ 1 ตารางนิ้ว
ในทางกลับกัน ฝารองนั่งในห้องน้ำมีเชื้อโรคอาศัยอยู่
เพียง 49 ตัวต่อ 1 ตารางนิ้วเท่านั้น
สาเหตุมาจากการที่เราละเลยการทำความสะอาด
หลังจากที่เรากินขนมจุบจิบบนโต๊ะทำ งานนั่นเอง

รูปภาพ

● องค์การนาซาการันตีว่า ต้นไม้ต้นเล็กๆ ที่เราปลูกไว้เพื่อประดับโต๊ะทำงาน
เช่น ต้นเยอร์บีรา ต้นเดซี่ ต้นพลูด่าง ต้นกวนอิม ต้นเบญจมาศ
มีประโยชน์มากกว่าการสร้างบรรยากาศให้สวยงาม
เพราะสามารถช่วยให้อากาศในที่ทำงานดีขึ้นด้วย
โดยการช่วยดูดสารพิษจากเครื่องใช้สำนักงาน
เช่น สารคาร์บอน สารเบนซิน (มาพร้อมกับหมึกพริ้นเตอร์พลาสติก และยางลบ)
ซึ่งช่วยลดอัตราการป่วยของคนในออฟฟิศได้
ดูรายชื่อต้นไม้ที่ควรปลูกเพิ่มเติมที่ http://www.zone10.com

รูปภาพ

● อย่าทิ้งสติ๊กเกอร์คั่นหน้าหนังสือแบบโพสต์อิท
หากคุณเพิ่งใช้มันเพียงแค่ครั้งเดียว
เพราะประสิทธิภาพของกาวยังสามารถนำมาใช้แปะคั่นหนังสือได้อีก 2 - 3 ครั้ง
นี่คือจุดเล็กๆ ที่ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้อีกทาง

ถ้าทุกคนช่วยกันประหยัดกระดาษสำนักงาน
โดย การนำมารีไซเคิลจะสามารถช่วยชาติประหยัดน้ำได้ถึง 55 เปอร์เซ็นต์
และประหยัดพลังงานมวลรวมภายในประเทศได้มากถึง 60 - 70 เปอร์เซ็นต์

รูปภาพ

● วิธีการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย เพื่อช่วยลดการป่วยเป็นไข้หวัดในที่ทำงานได้ง่ายๆ
คือ การหมั่นล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังจากรับประทานอาหาร
อย่าขี้เกียจเลยนะ เพราะการล้างมืออย่างตั้งใจใช้เวลาเพียงแค่ 20 วินาที
หรือเทียบเท่ากับการร้องเพลงแฮ็ปปี้เบิร์ธเดย์แค่รอบเดียวเท่านั้นเอง

การดื่มน้ำและกินอาหารมื้อย่อยๆ ในแต่ละวัน
ช่วยลดอาการเครียด หงุดหงิด และลดความกังวลจากงานลงได้

คอมพิวเตอร์เก่าตกรุ่นของออฟฟิศ อย่าทิ้งขว้างให้เป็นของไร้ค่า
เพราะตอนนี้เอามาวางขายในตลาดออนไลน์อย่าง http://www.ebay.co.uk ได้แล้ว

สองวิธีช่วยลดการใช้กระดาษในสำนักงาน
จากเว็บไซต์ http://www.thegreenworkplace.com

1. ลองปรับเครื่องพริ้นเตอร์ให้เป็นแบบ Double–sided
ซึ่งสามารถพริ้นต์เอกสารออกได้ทั้งสองด้านในแผ่นเดียว
ภายใน 1 เดือนจะลดการใช้กระดาษได้มากถึง 25 เปอร์เซ็นต์

2. ปรับระยะขอบกระดาษใน Microsoft Word เป็น 1/4 นิ้ว
จากเดิมที่เคยตั้งค่ามาตรฐานไว้ 1 นิ้วทุกด้าน เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการพิมพ์

รูปภาพ

มีการสำรวจจากประเทศอังกฤษมาแล้วว่า
ถ้าหนุ่มสาวออฟฟิศทุกคนในประเทศลดการใช้ลูกแม็กซ์เพียงวันละ 1 ตัว
แล้วหันมาใช้คลิปหนีบกระดาษที่นำกลับมาใช้ต่อได้เรื่อยๆ
จะช่วยลดการใช้เหล็กในการผลิตลูกแม็กซ์ได้มากถึง 120 ตันต่อปีเลยทีเดียว

หากป่วยเป็นไข้หวัด อย่าลังเลในการใช้สิทธิลาป่วย
เพราะทุกครั้งที่คุณจาม เชื้อไวรัสจะกระจายไปทั่วห้องทำงานและมีชีวิตอยู่ได้ 3 วัน
เป็นการแพร่เชื้อให้เพื่อนร่วมงานแบบไม่รู้ตัว และน่ากลัวเป็นที่ซู้ด

รูปภาพ

รายงานของสถาบันวิจัยด้านสุขอนามัยจากอเมริกาบอกไว้ว่า
เพียงสละเวลาแค่ 5 - 10 นาทีในแต่วัน เพื่อเช็ดทำความสะอาดโต๊ะทำงาน
ให้สะอาดเอี่ยมโดยการใช้กระดาษทิชชูเปียก (Wipe)
หรือสำลีชุบแอลกอฮอล์ ก็ช่วยลดเชื้อแบคทีเรียได้มากถึง 99.9 เปอร์เซ็นต์


คัดลอกจาก...
http://women.sanook.com/work/www/www_52907.php

ข้อมูลจาก...
รูปภาพ

http://www.sudsapda.com

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  daoduan [ 07 ส.ค. 2015, 20:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ...14 Tips เก็บตกเรื่องออฟฟิศ ที่ยิ่งรู้ยิ่งเวิร์ค...

rolleyes

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/