ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
หลวงปู่สรวง ปริสุทฺโธ วัดถ้ำขวัญเมือง จ.ชุมพร http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=13&t=44187 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | Hanako [ 30 ธ.ค. 2012, 11:10 ] |
หัวข้อกระทู้: | หลวงปู่สรวง ปริสุทฺโธ วัดถ้ำขวัญเมือง จ.ชุมพร |
![]() ประวัติและปฏิปทา พระครูภาวนาภิรมย์ พระอาจารย์สรวง ปริสุทฺโธ วัดถ้ำขวัญเมือง ต.นาโพธิ์ อ.สวี จ.ชุมพร ![]() ประวัติส่วนตัว นามเดิม สรวง นามสกุล เกษธำรง เกิดเมื่อวันที่ ๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๒ ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๕ ปีระกา ณ บ้านนาคราม ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร บิดาชื่อนายหวั่นเซี่ยว มารดาชื่อนางลิ่น มีน้องสองคน ชาย ๑ หญิง ๑ ประวัติการศึกษา พ.ศ. ๒๔๖๒ เรียนจบชั้นประถม ๔ ที่โรงเรียนประชาบาลตำบลสวี พ.ศ. ๒๔๖๓ เรียนจบมัธยม ๑ ที่โรงเรียนรัฐบาล อำเภอสวี พ.ศ. ๒๔๗๑ จบโรงเรียนฝึกหัดครู อำเภอรัตภูมิมณฑลนครศรีธรรมราช ประวัติการทำงาน พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นครูประชาบาลโรงเรียนรัฐบาลหัวเขา (วัดโพธิเกษตร ปัจจุบัน) พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นครูใหญ่โรงเรียนประชาบาล ตำบลทุ่งระยะ พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นครูใหญ่โรงเรียนประถมการช่าง จังหวัดชุมพร (ปัจจุบัน คือวิทยาลัยเทคนิคชุมพร) พ.ศ. ๒๔๘๒ ออกจากราชการ เป็นช่างรับเหมาก่อสร้างทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องใช้ต่างๆ ทางด้านครอบครัว พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้สมรสกับนางสาวผาย ทองคำ มีบุตรธิดา ๔ คน คือ ๑. ด.ช.อนุ แซ่ลิ่น (ถึงแก่กรรม) ๒. ด.ญ.สุดา แซ่ลิ่น (ถึงแก่กรรม) ๓. นางอุษา เกษธำรง ๔. นายวีระ เกษธำรง พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้สมรสกับนางสาวสมศรี อนุเผ่า มีบุตร ๑ คน ธิดา ๑ คน คือ ๑. นายชัชวาล เกษธำรง ๒. นางฤดี แจ้งใจ การอุปสมบท ![]() ๑) ครั้งแรก ที่วัดดอนสะท้อน ตำบลปากแพรก อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๗๑ บวชนาน ๑๙ วัน โดยมีพระครูสุวีราสัยคุณ (แม้น) เป็นพระอุปัชฌาย์ ๒) ครั้งที่สอง ที่วัดโพธิเกษตร ตำบลนาโพธิ์ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยมีพระครูวิจิตรกรณีย์ (ยิ่ง สุวโจ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเพชร ปญฺญาทีโป เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ![]() ตำแหน่งทางการคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ รักษาการเจ้าอาวาส วัดถ้ำขวัญเมือง พ.ศ. ๒๕๑๙ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดถ้ำขวัญเมือง สมณศักดิ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พัดยศ เป็นพระครูสัญญาบัตรเจ้าอาวาสวัดราษฎร์ ชั้นโท ฝ่ายวิปัสสนาธุระ (จร.ช.ท.วิ) รางวัลที่ได้รับ ![]() พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับประกาศนียบัตรจากสมาคมผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ภูมิภาคแห่งประเทศไทย สาขาพระนักพัฒนา พ.ศ. ๒๕๓๕ ได้รับประกาศนียบัตรจากจังหวัดชุมพร เป็นพระอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานเสมาธรรมจักร เพื่อประกาศเกียรติคุณผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระศาสนา สาขาส่งเสริมผู้ปฏิบัติธรรม จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี การอาพาธ เข้ารับการรักษาตัว ที่โรงพยาบาลศิริราชครั้งแรก โดยได้รับการนิมนต์จากพันโทหญิงท่านผู้หญิงอภิรดี ยิ่งเจริญ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับเป็นผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคระห์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๘ หลังจากนั้นกลับมาพักฟื้นที่วัดเป็นเวลา ๑๒ วัน จึงเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราชเป็นครั้งที่ ๒ ตั้งแต่วันที่ ๒ สิงหาคม ถึงวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ละสังขารเมื่อวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เวลา ๐๓.๐๐ น. ณ ตึก ๘๔ ปี พรรษา ๒๗ ปัจฉิมกาล ได้ทำพิธีบำเพ็ญกุศลศพ ๗ วัน นับจากวันที่เคลื่อนศพจากโรงพยาบาลศิริราชมายังวัด และรอพระราชทานเพลิงศพอีก ๘ เดือนต่อมา การเตรียมการพระราชทานเพลิงศพ บรรดาศิษยานุศิษย์ได้เตรียมเมรุและเรือที่ทำด้วยสแตนเลส พร้อมด้วยรางที่ทำด้วยเหล็กหล่อเพื่อใช้ในพิธีพระราชทานเพลิง ซึ่งในพิธีนี้มี ฯพณฯ นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา องคมตรี มาเป็นประธาน เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เวลา ๑๕.๐๐ น. และมีการสุมเพลิง (เผาจริง) เมื่อเวลา ๒๒.๐๐ น. โดยมีพระครูสุธรรมวีราจารย์ (สมใจ ธมฺมสโร) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน เป็นผู้จุดฝักแค ใช้เวลาในการเผาไหม้อยู่ ๓ วัน จึงเก็บอัฐิธาตุ เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ และบรรจุอัฐิธาตุไว้ในองค์พระเจดีย์บนยอดเขาขวัญเมือง ท่ามกลางฝนตกฟ้าร้องฟ้าผ่า เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เวลา ๑๓.๐๐ น. สำหรับการเตรียมการนั้น ได้ห่อสรีระของหลวงพ่อ ด้วยผ้าขาวบุด้วยสำลีอย่างละ ๑๒๐ ชั้น และใช้น้ำมันจันทร์ผสมน้ำมันขาวจำนวน ๙ ปี๊บ มรดกธรรม ถึงแม้ว่าหลวงพ่อได้ละจากพวกเราไปแล้ว แต่หลวงพ่อได้ฝากมรดกอันล้ำค่าไว้ให้แก่บรรดาศิษย์ทั้งหลาย คือธรรมะอันลึกซึ้ง เพื่อให้ผู้ใฝ่ธรรมทั้งหลายได้ปฏิบัติสืบต่อกันไป เพื่อความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งตน และท่านยังได้ประพันธิ์กาพย์ ฉันท์ โคลง กลอน ไว้เป็นจำวนวนมาก อาทิเช่น นิราศพุทธศาสน์ ซึ่งเป็นธรรมอันลึกซึ้งที่ท่านได้ร้อยกรองไว้ ตั้งแต่แรกการปฏิบัติคือการรักษาศีล และฝึกสมาธิให้มีรูปฌาน ๔ จนถึงวิปัสสนาญาณชั้นสูงโดยนำโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มาเป็นองค์ภาวนา เพื่อให้ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นในตน ก็อยู่ในนิราศพุทธศาสน์นี้ทั้งสิ้น ดังเช่นตอนท้ายของคำกลอนหลวงพ่อฝากศิษย์ทั้งหลายไว้ ![]() ![]() บรรยากาศโดยรวมภายในวัดถ้ำขวัญเมือง มีความร่มรื่นและสงบ สัปปายะต่อการปฏิบัติธรรม องค์พระเจดีย์บนยอดเขาเหนือถ้ำขวัญเมือง สามารถเดินขึ้นเขาไปนมัสการได้ ![]() ทางขึ้นไปนมัสการพระเจดีย์และทางขึ้นถ้ำ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ผู้ที่ต้องการไปปฏิบัติที่วัดถ้ำขวัญเมือง สามารถติดต่อทางวัดโดยเข้าไปศึกษารายละเอียดได้ที่เวบไซต์วัด http://www.wattham.org ![]() ![]() ที่มาของอัตตชีวประวัติ http://www.wattham.org/wattham_laungPorSaung_his.php[/color] |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |