วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 23:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


เห็นเขาถกเถียงกันเรื่อง สมถะ วิปัสสนา พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ที่นี่บ้าง

viewtopic.php?f=1&t=57274&start=75

ที่นั่นบ้าง

viewtopic.php?f=1&t=57242&start=120

อดไม่ได้ เลยนำหลักให้ดู แต่ถึงจะดูหลักแล้ว ตราบใดที่ยังไม่ลงมือทำลงมือภาวนาก็ดี ยังถกเถียงกันโดยไม่ลงมือทำก็ดี เสียเวลาปลูกผักปลูกหญ้าอยู่ตราบนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 20:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมถะ

สมถะ แปลง่ายๆว่า ความสงบ แต่ที่ใช้ทั่วไป หมายถึงวิธีทำใจให้สงบ

ขยายความว่า ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้นได้ฌานระดับต่างๆ จุดมุ่งหมายของสมถะคือสมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน

หลักการของสมถะ คือ กำหนดใจไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เรียกว่า อารมณ์) ให้แน่วแน่จนจิตน้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว (เรียกกันว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือจิตมีอารมณ์อันเดียว) ความ แน่วแน่หรือตั้งมั่นของจิต นี้เรียกว่า "สมาธิ"

เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่า ฌาน ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่างๆ ระดับที่กำหนดเอารูปธรรมเป็นอารมณ์ เรียกว่า รูปฌาน หรือเรียกง่ายๆ ว่า ฌาน มี ๔ ขั้น ระดับที่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ เรียกว่า อรูปฌาน มี ๔ ขั้น ทั้งรูป ฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ เรียกรวมกันว่า สมาบัติ (๘)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 09 มี.ค. 2019, 20:55, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 20:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่านหนังสือเป็น แค่นั้นเห็นแนวทางเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 20:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวะจิตในฌานนั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่มีสิ่งรบกวนให้สะดุดหรือติดข้องอย่างใดๆ เรียกว่าปราศจากนิวรณ์ ท่านอนุโลมเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นจาก กิเลสตลอดเวลาที่ยังอยู่ในฌานนั้น (ท่านเรียกว่า เป็นวิกขัมภนนิโรธ หรือวิกขัมภนวิมุตติ)

อย่างไรก็ดี เมื่อใช้อย่างหลวมๆ หรือพูดอย่างกว้างๆ สมถะ ก็คือ การทำใจให้สงบ หรือการทำจิตให้เป็นสมาธิ และบางคราวก็หมายถึงตัวสมาธินั่นเอง

ว่าตามความจริง ความหมายของสมถะที่ว่า คือตัวสมาธินี้แหละ เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชาทั้งฝ่ายอภิธรรม และฝ่ายพระสูตร* เพราะไม่ว่าจะเจริญสมถะ จนได้ฌานสมาบัติ หรืออภิญญา เป็นผลสำเร็จสูงพิเศษเพียงใดก็ตาม เนื้อแท้ของสมถะ หรือ ตัวสมถะ หรือ แก่นของสมถะที่ให้ผลเช่นนั้น ก็คือสมาธินั่นเอง


ที่อ้างอิงที่ *

* ทางฝ่ายอภิธรรม เช่น อภิ.สํ.34/253/96; 223/90; 206/85 เป็นต้น ทาง ฝ่ายพระสูตร เช่น องฺ.ทุก. 20/275/77 อธิบายใน องฺ.อ.2/33 และในองฺ.ฉกฺก. 22/325/418 เมื่อกล่าวถึงอินทรีย์ ๕ ท่านใช้คำ ว่า สมถะ แทนสมาธิ และวิปัสสนา แทนปัญญา โดยตรงทีเดียว (เป็นสัทธา สติ วิริยะ สมถะ วิปัสสนา แทนที่จะเป็น สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อย่างในความร้อยแก้วตามปกติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 21:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพียงแค่นี้ก็บ่งว่า ต้องฝึกต้องทำแล้ว

ภาวะจิตในฌานนั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่มีสิ่งรบกวนให้สะดุด หรือ ติดข้องอย่างใดๆ เรียกว่า ปราศจากนิวรณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างเทียบ (ตัดมา)

ผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ

มีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ สามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา ๔

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจ แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า ฯลฯ

กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็รู้สึก เหมือนกายขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ

ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศ จนรู้สึกว่ากายหายไป

เวลานี้รู้สึกว่า ความรู้สึกของเรา เหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วย หรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด ว่า เป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)


ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น

แต่รู้สึกจิตเวลานี้ ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดี กับ สิ่งที่เกิดขึ้น แล้วคิดไปเรื่อยว่า

"นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน

หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770


เปงงัยอ่ะ :b13: คนทำจริงเขาเล่า ซึ่งต่างจากคนไม่เคยทำพูดบอกเล่าอย่างเห็นได้ชัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิปัสสนา

วิปัสสนา แปลง่ายๆว่า การเห็นแจ้ง หรือ วิธีทำให้เกิดการเห็นแจ้ง หมายถึงข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกฝนอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดสิ่งทั้งหลายตรงต่อสภาวะของมัน คือให้เข้าใจตามความเป็นจริง หรือ ตามที่สิ่งเหล่านั้น มันเป็นของมันเอง (ไม่ใช่เห็นไปตามที่เราวาดภาพให้มันเป็น ด้วยความชอบ ความชัง ความอยากได้ หรือความขัดใจ ของเรา) รู้แจ้งชัดเข้าใจจริง จนถอนความหลงผิด รู้ผิด และยึดติดในสิ่งทั้งหลายได้ ถึงขั้นเปลี่ยนท่าที่ต่อโลกและชีวิตใหม่ ทั้งท่าทีแห่งการมอง การรับรู้ การวางจิตใจ และความรู้สึกทั้งหลาย

ความรู้ความเข้าใจถูกต้อง ที่เกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในระหว่างการปฏิบัตินั้น เรียกว่า ญาณ มีหลายระดับ ญาณสำคัญในขั้นสุดท้ายเรียกว่า วิชชา เป็นภาวะตรงข้ามที่กำจัดอวิชชา คือ ความหลงผิด ไม่รู้แจ้ง ไม่รู้จริงให้หมดไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 22:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สมถะ

สมถะ แปลง่ายๆว่า ความสงบ แต่ที่ใช้ทั่วไป หมายถึงวิธีทำใจให้สงบ

ขยายความว่า ได้แก่ ข้อปฏิบัติต่างๆ ในการฝึกอบรมจิตให้เกิดความสงบ จนตั้งมั่นเป็นสมาธิ ถึงขั้นได้ฌานระดับต่างๆ จุดมุ่งหมายของสมถะคือสมาธิ ซึ่งหมายเอาสมาธิขั้นสูงที่ทำให้เกิดฌาน

หลักการของสมถะ คือ กำหนดใจไว้กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง (เรียกว่า อารมณ์) ให้แน่วแน่จนจิตน้อมดิ่งอยู่ในสิ่งนั้นสิ่งเดียว (เรียกกันว่า จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง หรือจิตมีอารมณ์อันเดียว) ความ แน่วแน่หรือตั้งมั่นของจิต นี้เรียกว่า "สมาธิ"

เมื่อสมาธิแนบสนิทเต็มที่แล้ว ก็จะเกิดภาวะจิตที่เรียกว่า ฌาน ซึ่งแบ่งเป็นระดับต่างๆ ระดับที่กำหนดเอารูปธรรมเป็นอารมณ์ เรียกว่า รูปฌาน หรือเรียกง่ายๆ ว่า ฌาน มี ๔ ขั้น ระดับที่กำหนดอรูปธรรมเป็นอารมณ์ เรียกว่า อรูปฌาน มี ๔ ขั้น ทั้งรูป ฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ เรียกรวมกันว่า สมาบัติ (๘)


s006 เอ่?

แวะมาดูแล้ว ยังไม่เห็นความสงบยังนั้นเรยค่ะ

เพราะว่า

สัมมาสมาธิ จะเกิดได้ ต้องมีสัมมาสติก่อน
ไม่ใช่ แค่การเอาสติไปจดจ่อกะอารมณ์ใด อารมณ์หนึ่ง
แล้วจะเป็นสัมมาสติ

แต่สัมมาสติจะต้องเกิดและเป็นไปพร้อมๆ
กับสัทธาเจตสิก
อโนตัปปะเจตสิก
อโลภะเจตสิก
ตัตรมัชฌัตตตาเจตสิก
และยุคลธรรมเจตสิก 12ดวง

จึงเป็นโสภณเจตสิก 18 ดวง และโสภณเจตสิก ดวงนี้เอง ที่ปรากฎ
เป็นอัญญมัญญปัจจัย ที่อาศัยซึ่งกันและกัน
และอาศัยสัญญาด้วย จึงมีปัญญาเห็นเป็นสัมมาสติ

ถ้าขาดตรงนี้ไป จะไป
การแค่จะไปใช้สติจดจ่อในอารณ์หนึงอารมณ์ใด ๆ ยังไม่จัดว่า เป็นสัมมาสติ ค่ะ
ไปต่อ ยังสัมมาสมาธิไม่ได้ค่ะ เพราะยังเป็นมิจฉาสติค่ะ

ที่สำคัญที่สุด ปริยัติ กับปฎิบัติต้องสอดคล้องกัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 22:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ภาวะจิตในฌานนั้น เป็นภาวะที่สุขสงบผ่องใส ไม่มีความเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่มีสิ่งรบกวนให้สะดุดหรือติดข้องอย่างใดๆ เรียกว่าปราศจากนิวรณ์ ท่านอนุโลมเรียกว่าเป็นความหลุดพ้นจาก กิเลสตลอดเวลาที่ยังอยู่ในฌานนั้น (ท่านเรียกว่า เป็นวิกขัมภนนิโรธ หรือวิกขัมภนวิมุตติ)

อย่างไรก็ดี เมื่อใช้อย่างหลวมๆ หรือพูดอย่างกว้างๆ สมถะ ก็คือ การทำใจให้สงบ หรือการทำจิตให้เป็นสมาธิ และบางคราวก็หมายถึงตัวสมาธินั่นเอง

ว่าตามความจริง ความหมายของสมถะที่ว่า คือตัวสมาธินี้แหละ เป็นความหมายที่ตรงตามหลักวิชาทั้งฝ่ายอภิธรรม และฝ่ายพระสูตร* เพราะไม่ว่าจะเจริญสมถะ จนได้ฌานสมาบัติ หรืออภิญญา เป็นผลสำเร็จสูงพิเศษเพียงใดก็ตาม เนื้อแท้ของสมถะ หรือ ตัวสมถะ หรือ แก่นของสมถะที่ให้ผลเช่นนั้น ก็คือสมาธินั่นเอง


ที่อ้างอิงที่ *

* ทางฝ่ายอภิธรรม เช่น อภิ.สํ.34/253/96; 223/90; 206/85 เป็นต้น ทาง ฝ่ายพระสูตร เช่น องฺ.ทุก. 20/275/77 อธิบายใน องฺ.อ.2/33 และในองฺ.ฉกฺก. 22/325/418 เมื่อกล่าวถึงอินทรีย์ ๕ ท่านใช้คำ ว่า สมถะ แทนสมาธิ และวิปัสสนา แทนปัญญา โดยตรงทีเดียว (เป็นสัทธา สติ วิริยะ สมถะ วิปัสสนา แทนที่จะเป็น สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา อย่างในความร้อยแก้วตามปกติ)


เอ่? s006

หลวมๆ คือสมาธิ
แต่สัมมาสมาธิ เป็นแบบนี้ป่าวค๊ะ คุณลุง

สมาธิ แปลว่า ทรงไว้ซึ่งความสงบ
แต่องค์ธรรมสำคัญ ของสัมมาสมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก ที่ประกอบดับ โสภณ จิต 59 ดวง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ตัวอย่างเทียบ (ตัดมา)

ผมก็พยายามกำหนดรู้ลมหายใจในชีวิตประจำวัน รู้สึกเพลินกับการยึดลมหายใจ

มีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ

ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ สามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน

แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่าผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา ๔

แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจ แผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า ฯลฯ

กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จากนั้นผมก็รู้สึก เหมือนกายขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ

ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศ จนรู้สึกว่ากายหายไป

เวลานี้รู้สึกว่า ความรู้สึกของเรา เหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด

จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า

"มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วย หรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คนในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้น ผมก็สังเกตลมหายใจ ก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด ว่า เป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)


ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มปีติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้น

แต่รู้สึกจิตเวลานี้ ไม่มีนิวรณ์เลย คือ มีความรู้พร้อมอยู่

จากนั้น ผมก็รู้สึกยินดี กับ สิ่งที่เกิดขึ้น แล้วคิดไปเรื่อยว่า

"นี่คือปฐมฌานหรือเปล่านี่ ปฐมฌานเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน

หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770


เปงงัยอ่ะ :b13: คนทำจริงเขาเล่า ซึ่งต่างจากคนไม่เคยทำพูดบอกเล่าอย่างเห็นได้ชัด


ฟังแร้ว เป็นลมดีก่า ทำไม่เป็นแบบนั้น

cry


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.พ. 2011, 19:56
โพสต์: 1798


 ข้อมูลส่วนตัว


การเพ่งฌานในระดับขั้นต่างๆ ที่เป็นอารัมณูปนิฌาน เป็นความสุขที่ยิ่งกว่ากามสุข ถามว่าเป็นความสุขที่ควรเจริญมั้ย ตอบว่าก็ควร แต่การประพฤติธรรมในเพศคฤหัสถ์ จะให้จิตสงบถึงขั้นฌานจิตเป็นเรื่องยาก ต่างกับนักบวชที่เจริญฌานได้ง่ายกว่า ข้อประพฤติปฏิบัติของผู้ครองเรือนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั้งสอนไว้ก็มีมาก ควรจะได้หันมาศึกษาตรงนี้ให้มาก ไม่ควรที่จะละเลยการศึกษา เอะอะก็จะเพ่งฌานแบบไม่ได้สำรวจตัวเองเลยว่าอยู่ในสถานะไหน เป็นผู้ครองเรือนที่ยังเสพกามอยู่มากหรือนักบวช มีกิเลสมากหรือน้อย ถ้ากิเลสมากๆหนาแน่น คืออกุศลวิตกมีเยอะๆ จะเจริญฌานให้ได้ถึงฌานจิตเป็นสบายๆ นี่ก็ยากหน่อย ควรเริ่มจากพื้นฐาน การให้ทาน การศึกษาในอธิศีล การฟังพระธรรม ถือกรรมบถ รักษาสัจจะ มีความอ่อนน้อม ไม่ริษยา เป็นต้น ฝึกตน ประพฤติธรรมตามควรแก่เพศและอินทรีย์ของตน ถ้าได้อบรมตนขั้นต้นดีแล้วก็สามารถจะประพฤติกุศลขั้นที่สูงๆต่อไปได้


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 00:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


มีคนเข้าเข้าใจว่าแบบนี้อ่ะค๊ะ คุณลุงกรัชกาย

"เมื่อกำหนดหมายเอาไว้ ทำไว้ในใจเอาไว้อย่างนี้แล้ว หมั่นนึกพุทโธ บริกรรมพุทโธในใจ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน"


แบบนี้ เป็นไงค๊ะ เจ๋งมั๊ยล่ะค๊ะ
s006 เอ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 00:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฤษฎี เขียน:
การเพ่งฌานในระดับขั้นต่างๆ ที่เป็นอารัมณูปนิฌาน เป็นความสุขที่ยิ่งกว่ากามสุข ถามว่าเป็นความสุขที่ควรเจริญมั้ย ตอบว่าก็ควร แต่การประพฤติธรรมในเพศคฤหัสถ์ จะให้จิตสงบถึงขั้นฌานจิตเป็นเรื่องยาก ต่างกับนักบวชที่เจริญฌานได้ง่ายกว่า ข้อประพฤติปฏิบัติของผู้ครองเรือนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั้งสอนไว้ก็มีมาก ควรจะได้หันมาศึกษาตรงนี้ให้มาก ไม่ควรที่จะละเลยการศึกษา เอะอะก็จะเพ่งฌานแบบไม่ได้สำรวจตัวเองเลยว่าอยู่ในสถานะไหน เป็นผู้ครองเรือนที่ยังเสพกามอยู่มากหรือนักบวช มีกิเลสมากหรือน้อย ถ้ากิเลสมากๆหนาแน่น คืออกุศลวิตกมีเยอะๆ จะเจริญฌานให้ได้ถึงฌานจิตเป็นสบายๆ นี่ก็ยากหน่อย ควรเริ่มจากพื้นฐาน การให้ทาน การศึกษาในอธิศีล การฟังพระธรรม ถือกรรมบถ รักษาสัจจะ มีความอ่อนน้อม ไม่ริษยา เป็นต้น ฝึกตน ประพฤติธรรมตามควรแก่เพศและอินทรีย์ของตน ถ้าได้อบรมตนขั้นต้นดีแล้วก็สามารถจะประพฤติกุศลขั้นที่สูงๆต่อไปได้



คริคริ
คุณลุงกรัชกายขา

พี่เค้า มาช่วยเปิดประเด็นเพิ่ม ให้ลุงได้เมื่อยมืออีกแระ

มาถึงเรื่องฌานก่อนแล้ว และค่อยไป เข้าสติปัฎฐาน4 แล้วไปวิปัสสนา น๊าค๊ะ


คริคริ เม ไปเที่ยวก่อนแระ

ไว้กลับบ้านแล้วค่อยมาใหม่น๊าค๊า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 01:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
มีคนเข้าเข้าใจว่าแบบนี้อ่ะค๊ะ คุณลุงกรัชกาย

"เมื่อกำหนดหมายพุทโธ แทนพระพุทธเจ้า ทำไว้ในใจเอาไว้อย่างนี้แล้ว หมั่นนึกพุทโธ บริกรรมพุทโธในใจ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน"

โลกสวย เขียน:
ปฤษฎี เขียน:
การเพ่งฌานในระดับขั้นต่างๆ ที่เป็นอารัมณูปนิฌาน เป็นความสุขที่ยิ่งกว่ากามสุข ถามว่าเป็นความสุขที่ควรเจริญมั้ย ตอบว่าก็ควร แต่การประพฤติธรรมในเพศคฤหัสถ์ จะให้จิตสงบถึงขั้นฌานจิตเป็นเรื่องยาก ต่างกับนักบวชที่เจริญฌานได้ง่ายกว่า ข้อประพฤติปฏิบัติของผู้ครองเรือนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั้งสอนไว้ก็มีมาก ควรจะได้หันมาศึกษาตรงนี้ให้มาก ไม่ควรที่จะละเลยการศึกษา เอะอะก็จะเพ่งฌานแบบไม่ได้สำรวจตัวเองเลยว่าอยู่ในสถานะไหน เป็นผู้ครองเรือนที่ยังเสพกามอยู่มากหรือนักบวช มีกิเลสมากหรือน้อย ถ้ากิเลสมากๆหนาแน่น คืออกุศลวิตกมีเยอะๆ จะเจริญฌานให้ได้ถึงฌานจิตเป็นสบายๆ นี่ก็ยากหน่อย ควรเริ่มจากพื้นฐาน การให้ทาน การศึกษาในอธิศีล การฟังพระธรรม ถือกรรมบถ รักษาสัจจะ มีความอ่อนน้อม ไม่ริษยา เป็นต้น ฝึกตน ประพฤติธรรมตามควรแก่เพศและอินทรีย์ของตน ถ้าได้อบรมตนขั้นต้นดีแล้วก็สามารถจะประพฤติกุศลขั้นที่สูงๆต่อไปได้


แบบนี้ เป็นไงค๊ะ เจ๋งมั๊ยล่ะค๊ะ
s006 เอ่

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =867&Z=883


อนุโมทนา สาธุครับ คุณปฤษฎีที่กล่าวมานั้นคือโสดาปฏิยังคะ
1. คบสัตบุรุษ
2. ฟังธรรม
3. ทำในใจด้วยอุบายอันแยบคาย
4. ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ทำให้มาก เจริญให้มาก ย่อมเป็นไปเพื่ออริยผลได้ทุกขั้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 10 มี.ค. 2019, 02:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
โลกสวย เขียน:
มีคนเข้าเข้าใจว่าแบบนี้อ่ะค๊ะ คุณลุงกรัชกาย

"เมื่อกำหนดหมายพุทโธ แทนพระพุทธเจ้า ทำไว้ในใจเอาไว้อย่างนี้แล้ว หมั่นนึกพุทโธ บริกรรมพุทโธในใจ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน"

โลกสวย เขียน:
ปฤษฎี เขียน:
การเพ่งฌานในระดับขั้นต่างๆ ที่เป็นอารัมณูปนิฌาน เป็นความสุขที่ยิ่งกว่ากามสุข ถามว่าเป็นความสุขที่ควรเจริญมั้ย ตอบว่าก็ควร แต่การประพฤติธรรมในเพศคฤหัสถ์ จะให้จิตสงบถึงขั้นฌานจิตเป็นเรื่องยาก ต่างกับนักบวชที่เจริญฌานได้ง่ายกว่า ข้อประพฤติปฏิบัติของผู้ครองเรือนที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแนะนำสั้งสอนไว้ก็มีมาก ควรจะได้หันมาศึกษาตรงนี้ให้มาก ไม่ควรที่จะละเลยการศึกษา เอะอะก็จะเพ่งฌานแบบไม่ได้สำรวจตัวเองเลยว่าอยู่ในสถานะไหน เป็นผู้ครองเรือนที่ยังเสพกามอยู่มากหรือนักบวช มีกิเลสมากหรือน้อย ถ้ากิเลสมากๆหนาแน่น คืออกุศลวิตกมีเยอะๆ จะเจริญฌานให้ได้ถึงฌานจิตเป็นสบายๆ นี่ก็ยากหน่อย ควรเริ่มจากพื้นฐาน การให้ทาน การศึกษาในอธิศีล การฟังพระธรรม ถือกรรมบถ รักษาสัจจะ มีความอ่อนน้อม ไม่ริษยา เป็นต้น ฝึกตน ประพฤติธรรมตามควรแก่เพศและอินทรีย์ของตน ถ้าได้อบรมตนขั้นต้นดีแล้วก็สามารถจะประพฤติกุศลขั้นที่สูงๆต่อไปได้


แบบนี้ เป็นไงค๊ะ เจ๋งมั๊ยล่ะค๊ะ
s006 เอ่

http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... =867&Z=883


อนุโมทนา สาธุครับ คุณปฤษฎีที่กล่าวมานั้นคือโสดาปฏิยังคะ
1. คบสัตบุรุษ
2. ฟังธรรม
3. ทำในใจด้วยอุบายอันแยบคาย
4. ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม
ทำให้มาก เจริญให้มาก ย่อมเป็นไปเพื่ออริยผลได้ทุกขั้น



smiley กั๊กๆๆ
สุดยอดเรยค๊ะ

ยังกะซิมเหมาๆ กล่าว กำหนดพุทโธๆๆ ทำไว้ในใจ หม้่นนึก บริกรรมไป ไปจน......นิพพาน


"เมื่อกำหนดหมายพุทโธ แทนพระพุทธเจ้า ทำไว้ในใจเอาไว้อย่างนี้แล้ว หมั่นนึกพุทโธ บริกรรมพุทโธในใจ จิตย่อมผ่องใส เกิดความปราโมทย์ ละเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตเสียได้ กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่ายโดยส่วนเดียว เพื่อคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน"

แถมแสดงความตื้นเขิน เพราะไม่ได้เรียนจริง อ่านตำราไม่แตก เข้าใจผิดๆๆ


เพราะพระอรรถกถา กล่าวแต่ว่า เป็นประโยชน์แก่วิปัสสนา


ในกรรมฐาน ๑๐ เหล่านี้ กรรมฐาน ๓ อย่างนี้ คือ อานาปานสติ มรณสติ กายคตาสติ ย่อมเป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาอย่างเดียว กรรมฐานที่เหลือ ๗ อย่างเป็นประโยชน์แก่การทำจิตให้ร่าเริงด้วย เป็นประโยชน์แก่วิปัสสนาด้วย ด้วยประการฉะนี้.

จบอรรถกถาวรรคที่ ๑


smiley กั๊กๆ ยังอีกหลายก้าวนะเธอ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 57 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 144 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร