วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 08:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมโลกสวย ผู้ให้กำเนิดกระทู้นี้ (ชื่อกระทู้นี้เป็นหัวข้อใหญ่คลุมเลย)

อ้างคำพูด:
ข้อนี้ต้องอ่านหลายๆรอบจึงจะเข้าใจ

๒.ข) ภาวิตินทรีย์ (ผู้ศึกษาพัฒนาจบแล้ว) “ดูกรอานนท์ ก็พระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว) เป็นอย่างไร ?

ดูกรอานนท์ เพราะเห็นรูปด้วยจักษุ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจและไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้

เธอนั้น หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งไม่ปฏิกูล ว่า เป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งปฏิกูล และไม่ปฏิกูล ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของไม่ปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะหมายรู้ในสิ่งทั้งไม่ปฏิกูล และปฏิกูล ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีความหมายรู้ในสิ่งนั้นๆ ว่าเป็นของปฏิกูลอยู่ได้

หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูลและไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆ อยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ ข้ออื่นยังมีอยู่อีก เพราะได้ยินเสียงด้วยหู...เพราะ ดมกลิ่นด้วยจมูก...เพราะลิ้มรสด้วยลิ้น...เพราะต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย...เพราะรู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ สภาพที่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพที่ไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น สภาพทั้งที่น่าชอบใจ และไม่น่าชอบใจก็เกิดขึ้น แก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เธอนั้น....หากจำนงว่า เราจะเว้นคำนึงทั้งปฏิกูล และไม่ปฏิกูล ทั้งสองอย่าง มีอุเบกขาอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะ ก็มีอุเบกขาในสิ่งนั้นๆอยู่โดยมีสติสัมปชัญญะได้

“ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล ชื่อว่าพระอริยะ ผู้ภาวิตินทรีย์ (ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว)"(ม.อุ.14/853/541)


วางบทความนี้เทียบให้อีก น่าจะเสริมความเข้าใจให้

ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด

"บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น
ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดนั้น
ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น
ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำรินั้น
ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต (เจโตวสี) ในกระบวนความคิดทั้งหลาย" * (องฺ.จตุกฺก.21/35/46 - บาลีที่มานี้ หมายถึงพระพุทธเจ้า ในฐานะทรงเป็นมหาบุรุษ แต่หลักฐานอื่นๆ แสดงว่า คุณสมบัตินี้มีแก่พระขีณาสพทั่วไป )


อ้างคำพูด:
โลกสวย

ชอบที่สุดเรย
ตั้งแต่ลุงกรัชกายตั้งกระทู้มาทั้งหมด

viewtopic.php?f=1&t=57286


ชอบแนวนี้ จะลงตรงส่วนที่เกี่ยวเนื่องกันให้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ประเภทของนิพพาน

การแบ่งประเภทนิพพานที่รู้จักกันทั่วไป คือ ที่แบ่งเป็น นิพพานธาตุ ๒ * ตามคัมภีร์อิติวุตตกะ (ขุ.อิติ.25/222/258) ได้แก่

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุมีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานยังมีเชื้อเหลือ
๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุไม่มีอุปาทิเหลือ หรือนิพพานไม่มีเชื่อเหลือ


เริ่มจากนิพพานธาตุ ๒ นี่ แต่ตรงนี้ตัดมาเท่าที่ต้องการ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากตรงนี้ไป

ดังนั้น เพื่อป้องกันความเข้าใจผิดอย่างนี้ เมื่อพิจารณาเนื้อหาของภาวะตามหลักวิชา
ก็ควรพิจาณาผลที่ปรากฏในชีวิตจริงเทียบกันไปด้วย ให้เห็นว่า เนื้อหาตามหลักวิชา กับ ผลปฏิบัติในชีวิตจริงสอดคล้องกันได้อย่างไร
แม้ส่วนที่รู้สึกเหมือนขัดกัน ก็กลมกลืนกันได้อย่างไร เป็นเหตุเป็นผลส่งเสริมกันได้อย่างไร เป็นการพิจารณาเนื้อหา และความหมายของหลักวิชา ด้วยการมองที่ตัวของจริง ซึ่งนำมาตั้งให้ดู

ของจริง หรือ ผลในทางปฏิบัตินี้ นอกจากที่กล่าวไว้ในตอนที่ว่าด้วยภาวะแห่งภาวิตทั้ง ๔ ที่ได้กล่าวในตอนก่อนแล้ว พึงเทียบเคียงกับตัวอย่างต่อไปนี้ โดยเฉพาะอีกด้วย คือ

ก.ลักษณะภายนอกและชีวิตหมู่
ข.ความมีใจอิสระและมีความสุข
ค.ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด
ง.ความเป็นกันเอง กับชีวิต ความตาย การพลัดพราก และมีเมตตากรุณาต่อทุกชีวิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 21:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ก. ลักษณะภายนอกและชีวิตหมู่

ในธรรมเจติยสูตร พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ตรัสข้อความพรรณนาความเลื่อมใส ของพระองค์ต่อพระรัตนตรัย ถวายแด่พระพุทธเจ้า ซึ่งพระพุทธองค์ทรงรับรอง ว่า เป็นธรรมเจดีย์ มีประโยชน์ เป็นหลักเบื้องต้นแห่งพรหมจรรย์ และทรงแนะนำให้พระสงฆ์ศึกษาทรงจำไว้

ในข้อความเหล่านั้น มีข้อหนึ่งพรรณนาลักษณะความเป็นอยู่ของพระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ดังนี้

"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้ออื่นยังมีอีก หม่อมฉันเดินเที่ยวไปตามอารามต่างๆ ตามอุทยานต่างๆ อยู่เนืองๆ ณ ที่นั้นๆ หม่อมฉันได้เห็นเหล่าสมณพราหมณ์ ที่ซูบผอม เศร้าหมอง มีผิวพรรณไม่ผ่องใส ผอมเหลือง ตามตัวสะพรั่งด้วยเส้นเอ็น ดูไม่ชวนตาให้อยากมอง (ดูเหมือนว่าจะไม่ตั้งใจแลดูผู้คน) หม่อมฉันได้เกิดความคิดว่า พระคุณเจ้าเหล่านี้ คงไม่ยินดี ประพฤติพรหมจรรย์เป็นแน่ หรือไม่ก็คงมีบาปกรรมอะไรที่ทำแล้วปกปิดไว้....

"แต่หม่อมฉัน ได้เห็นภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้ สดชื่นร่าเริง มีใจเบิกบาน มีรูปร่างท่าทางน่ายินดี มีอินทรีย์เอิบอิ่ม ไม่วุ่นวาย มีขนตกราบ (ใจสงบ ผ่อนคลาย มีความมั่นใจไม่ตื่นกลัว) เลี้ยงชีวิตตามแต่เขาจะให้ (ประพฤติสมควรแก่ของที่เขาให้) มีใจดังมฤคอยู่ (มีใจอ่อนโยน ไม่คิดรบกวนหรือหวังประโยชน์จากใคร รักอิสระ จะไปไหนก็ไปโดยเสรี) หม่อมฉันได้มีความคิดว่า พระคุณเจ้าเหล่านี้ คงรู้คุณวิเศษที่ยิ่งใหญ่ขึ้นไปกว่าเดิม ในศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแน่....

"แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุให้หม่อมฉันมีความคำนึงซาบซึ้งธรรม ในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเป็นสัมมาสัมพุทธะ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว"

"ภิกษูเหล่านั้น เดินออกจากที่อยู่นั้นๆ คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา...แต่เช้าตรู่ มีกิริยาเดินไปข้างหน้า ถอยกลับ แลเหลียว คู้แขน เหยียดแขน น่าเลื่อมใส มีจักษุทอดลง สมบูรณ์ด้วยอิริยาบถ"

"ตราบใด ภิกษุทั้งหลาย จักยังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันขมีขมันแก้ไขสิ่งเสียหาย พร้อมเพรียงกันทำกิจที่สงฆ์พึงทำ ตราบนั้น ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังความเจริญถ่ายเดียว ไม่มีเสื่อมเลย" (ที.ม.10/70/90 ฯลฯ)

(ตัดชื่อคัมภีร์อ้างอิงออกบ้าง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 22:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ความมีใจอิสระ และมีความสุข

""ภิกษุทั้งหลายผู้เถระ ในธรรมวินัยนี้ ถึงยามเช้า นุ่งสบงทรงบาตและจีวร เข้าไปหมู่บ้านหรือนิคมเพื่อบิณฑบาต พวกเธอ ย่อมกล่าวธรรม ณ ที่นั้น
ชาวบ้านทั้งหลายผู้เลื่อมใส ย่อมทำอาการแสดงออกแห่งผู้เลื่อมใสแก่พวกเธอ พวกเธอไม่ติด ไม่หมกมุ่น ไม่สยบ ย่อมบริโภคลาภนั้น อย่างผู้รู้เท่าทันเห็นช่องเสีย มีปัญญาทำใจให้เป็นอิสระ ลาภผลนั้น ย่อมช่วยเสริมผิวพรรณ และกำลังของพวกเธอ หาเป็นเหตุให้พวกเธอเข้าถึงความตายหรือทุกข์ปางตายไม่"

"ผู้มีจิตไม่หวั่นไหว รู้แจ้งความจริง ย่อมไม่มีความคิดปรุงแต่งใดๆ เขาเลิกรำพึงรำพันหมดแล้ว จึงมองเห็นแต่ความปลอดโปร่งในที่ทุกสถาน เขาไม่ยกตัวถือตนใดๆ ไม่ว่าในหมู่คนเสมอกัน คนต่ำกว่า หรือคนสูงกว่า"

"พระอริยะ ไม่มีความงุ่นง่านหงุดหงิดในใจ ท่านผ่านพ้นไปแล้วจากการที่จะได้เป็นหรือจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านปราศจากภัย มีแต่สุข ไม่มีโศก แม้แต่เทวดาก็มองใจท่านไม่ถึง"

"ตัดความติดข้องต่างๆ ได้หมด กำจัดความกระวนกระวายในใจเสียได้แล้ว ก็นอนเป็นสุข สงบสบาย เพราะใจถึงสันติ" (องฺ.ติก.20/474/175)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 05:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. ความเป็นเจ้าแห่งจิต เป็นนายของความคิด

"บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดนั้น ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำรินั้น ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต (เจโตวสี) ในกระบวนความคิดทั้งหลาย" (องฺ.จตุกฺก.21/35/46-บาลีที่มานี้ หมายถึงพระพุทธเจ้า ในฐานะทรงเป็นมหาบุรุษ แต่หลักฐานอื่นๆ แสดงว่า คุณสมบัตินี้มีแก่พระขีณาสพทั่วไป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 05:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ง. ความเป็นกันเอง กับ ชีวิต ความตาย การพลัดพราก และมีเมตตากรุณาต่อทุกชีวิต

"จะมีชีวิตอยู่ ก็ไม่เดือดร้อน ถึงจะตายก็ไม่เศร้าโศก ถ้าเป็นปราชญ์ มองเห็นที่หมายแล้ว ถึงอยู่ท่ามกลางความเศร้าโศก ก็หาโศกเศร้าไม่" (ขุ.อุ.25/108/142)

"ความตาย เราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งกายนี้ อย่างมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เรารอท่าเวลา เหมือนคนรับจ้างทำงานเสร็จแล้ว รอรับค่าจ้าง" (ขุ.เถร.26/396/403)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งหนึ่ง พระอุปเสนเถระ นั่งพักอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง ในป่าสีตวัน งูสองตัววิ่งไล่กันบนเพดานถ้ำ ตัวหนึ่งตกลงมาบนไหล่ของพระเถระ และกัดท่าน พิษซ่านไปอย่างรวดเร็ว
พระเถระรู้ตัวว่าท่านจะสิ้นชีวิต แต่ท่านมิได้มีอาการกิริยาผิดปกติอย่างใดๆเกิดขึ้นเลย และยังได้บอกให้ภิกษุทั้งหลาย เอาร่างของท่านนอนลงบนเตียง นำไปวางให้ท่านปรินิพพานนอกถ้ำ (สํ.สฬ.18/71/46 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 09:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งหนึ่ง พระอานนท์ถามพระสารีบุตรอัครสาวกของพระพุทธเจ้าว่า ถ้าพระบรมศาสดามีอันเป็นอย่างไรไป คือทรงล่วงลับจากไป พระสารีบุตรจะเกิดความเศร้าโศกหรือไม่

พระสารีบุตรได้ตอบว่า

"ถึงแม้พระศาสดาจะทรงมีอันเป็นไป ความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส ก็ไม่พึงบังเกิดแก่ผม ก็แต่ผมจะมีความคิดว่า ท่านผู้มเหศักดิ์ ซึ่งมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ได้ลับหายไปเสียแล้วหนอ
หากพระผู้มีพระภาคจะพึงทรงดำรงอยู่ยั่งยืนนาน ข้อนั้น ก็จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์ชาวโลก" (สํ.นิ.16/690/319)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 16:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ก.
แม้ข้อนี้ ก็เป็นเหตุให้หม่อมฉันมีความคำนึงซาบซึ้งธรรม ในพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเป็นสัมมาสัมพุทธะ พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสไว้ดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว"
ข.
"พระอริยะ ไม่มีความงุ่นง่านหงุดหงิดในใจ ท่านผ่านพ้นไปแล้วจากการที่จะได้เป็นหรือจะไม่ได้เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ท่านปราศจากภัย มีแต่สุข ไม่มีโศก แม้แต่เทวดาก็มองใจท่านไม่ถึง"

"บุคคลผู้เป็นมหาบุรุษ มีปัญญายิ่งใหญ่นั้น ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ตริตรึกความคิดนั้น ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดใด ก็ไม่ประสงค์จะตริตรึกความคิดนั้น ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ดำริข้อดำรินั้น ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำริใด ก็ไม่ประสงค์จะดำริข้อดำรินั้น ท่านบรรลุภาวะมีอำนาจเหนือจิต (เจโตวสี) ในกระบวนความคิดทั้งหลาย"
ง.
"ความตาย เราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เราจักทอดทิ้งกายนี้ อย่างมีสัมปชัญญะ มีสติมั่น ความตายเราก็มิได้ชื่นชอบ ชีวิตเราก็มิได้ติดใจ เรารอท่าเวลา เหมือนคนรับจ้างทำงานเสร็จแล้ว รอรับค่าจ้าง"

จ.
ถูกทุกข้อ

rolleyes


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระเถระชื่ออธิมุตต์ ถูกพวกโจรจับไป ท่านไม่มีความหวาดหวั่นกลัวภัย นายโจรแปลกใจ กล่าวคำซักถาม
ต่อไปนี้เป็นคำถามของนายโจร และคำตอบส่วนหนึ่งของพระเถระ


"ก่อนนี้ เราจะฆ่าใครเพื่อบูชายัญ ก็ดี เพื่อเอาทรัพย์ ก็ดี คนเหล่านั้นล้วนกลัวภัย ตัวสั่นและพร่ำเพ้อ แต่ท่านไม่มีความกลัวเลย สีหน้าก็ผ่องใสนัก เหตุใดท่านจึงไม่คร่ำครวญ ในเมื่อภัยใหญ่ถึงเพียงนี้"

"แน่ะนายโจร ทุกข์ทางใจ ย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยชีวิต ผู้สิ้นสังโยชน์แล้ว ข้ามพ้นความกลัวทุกชนิด ...เราไม่กลัวความตาย เหมือนคนไม่กลัวที่จะวางภาระลง...

"ผู้ใดบรรลุอุดมธรรมแล้ว ไม่ต้องการอะไรในโลกทั้งหมด ย่อมไม่เศร้าโศกเพราะความตาย เหมือนคนพ้นไปได้จากเรือนที่ไฟไหม้
สิ่งใดๆ ที่มีในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์จะได้ก็ดี ทั้งหมดนี้ พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นของไม่อิสระ...เราไม่ความคิดว่า เราได้เป็น เราจะเป็นหรือจะไม่เป็น หรือว่าสังขารจักหายสูญไป แล้วจะคร่ำครวญไปทำไมเพราะเรื่องสังขารนั้นเล่า

"นี่แน่ะนายโจร ผู้ที่มองเห็นตามเป็นจริงว่า มีแต่ความเกิดขึ้นๆแห่งธรรมล้วนๆ มีแต่การสืบต่อแห่งสังขารล้วนๆ ย่อมไม่มีความกลัวเลย

"เมื่อใด บุคคลมองด้วยปัญญา เห็นโลกเสมอด้วยท่อนไม้ใบหญ้า เมื่อนั้น เขาไม่พบกับการที่จะต้องยึดอะไรว่าเป็นของเรา ย่อมจะไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี
ร่างกาย เราก็หมดความต้องการแล้ว ภพเราก็ไม่ปรารถนา กายนี้ จักแตกพังไป กายอื่นก็จะไม่มี ท่านมีกิจอะไรจะทำกับร่างกายของเรา ก็จงทำกิจนั้นตามที่ท่านปรารถนา เราจะไม่มีความโกรธเคือง หรือความรักใคร่ เพราะการกระทำของท่านนั้นเลย"


พวกโจรฟังคำของพระเถระแล้วขนลุกขนชัน พากันวางอาวุธ ซักถามอีกเล็กน้อยแล้ว ยอมมอบตัวเป็นศิษย์ บางคนก็ขอบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา (ขุ.เถร. 26/385/369)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 20:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความจากบาลีเท่าที่ยกมาแสดงไว้นี้ นอกจาก มุ่งให้ผู้ศึกษามองเห็นความหมายต่างๆ ตามความพิจารณาของตนเองแล้ว ยังต้องการย้ำความอีก ๒ ข้อ

ข้อหนึ่ง ถ้าใช้ความรู้สึกของปุถุชน มองดูคำบรรยายเกี่ยวกับภายในจิตใจของพระอรหันต์ ตามหลักวิชาข้างต้น
บางคนอาจวาดภาพผิดๆ ไปว่า พระอรหันต์ คงจะมีลักษณะเป็นคนไม่ใส่ใจใยดีอะไรกับใครทั้งสิ้น ปล่อยอะไรไปตาม เรื่องตามราวเสมือนไม่มีจิตใจ จัดเป็นคนประหลาดได้พวกหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ จึงต้องให้พิจารณาเทียบกับลักษณะด้านนอก ให้เห็นว่า พระอรหันต์มีความประพฤติและการดำเนินชีวิตที่เป็นไปด้วยความรับผิด ชอบ และความมีเหตุผล ให้เห็นว่า เมื่อไม่มีประสบการณ์คั่งค้างครองใจ ไม่มีกิเลสครอบงำเป็นเจ้า หัวใจ จิตเป็นอิสระแล้ว ความรู้สึกนึกคิด ลักษณะการดำเนินชีวิตของ บุคคลจะเป็นอย่างไร

ความจริงลักษณะแปลกๆ ประหลาดๆ ต่างๆ มักพบในท่านที่ได้เจโตวิมุตติบางระดับและบางท่าน

ส่วนพระอรหันต์เป็นผู้ได้ปัญญาวิมุตติแล้ว ย่อมไม่มีแม้แต่ความยึดมั่นว่า "เราเป็นผู้ไม่ยึดมั่น" ไม่มีกิเลสที่จะแสดงตนว่า
ฉันเป็นคนไม่ยึดมั่น ไม่มีความยึดมั่นใหม่ (เช่น ยึดผลสำเร็จบางอย่างในทางจิต) ที่จะทำให้แสดงความละเลย ไม่เอื้อเฟื้อต่อสิ่งที่ตนเคยเหนื่อยหน่ายละทิ้งไปแล้ว และไม่มีแม้แต่กิเลสที่จะทำให้แสดงความเบื่อหน่ายรังเกียจ ด้วยเหตุนี้
ท่านจึงปฏิบัติตัวหรือแสดงออกไปตามเหตุผล ตามความสมควร ที่มองเห็นด้วยปัญญา อย่างน้อยก็เพื่ออนุเคราะห์แก่กุศลจิตของชาวโลก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกข้อหนึ่ง การไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจไหวหวั่น เป็นลักษณะทางจิตที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ (เช่น ม.ม.13/489/534 ฯลฯ) เพราะพระอรหันต์หมดราคะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความกลัว ความหวาดเสียวสะดุ้ง

ดังได้กล่าวแล้วในตอน ว่า ด้วยภาวะทางจิตของผู้บรรลุนิพพาน ความกลัว ความหวาดเสียว สะดุ้งตกใจนี้ เกิดจากเหตุคือกิเลสที่แฝงลึก อย่างที่เรียกกันว่าอยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นอาการตอบสนองที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เมื่อประสบอารมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว อันเข้ามากระทบโดยไม่ทันรู้ตัว
ความสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นของปกปิดได้ยาก เพราะยังไม่ทันได้ตั้งสติ จึงเป็นเครื่องฟ้องได้อย่างดีถึงกิเลสละเอียดที่ยังแฝงอยู่ภายใน ไม่อาจเสแสร้งแก่ผู้อื่น และไม่อาจหลอกลวงตนเอง

ในการปฏิบัติธรรม ก็เคยปรากฏว่า ท่านใช้อาการหวาดเสียวสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์การที่ได้บรรลุหรือยังไม่ได้บรรลุอรหัตผล ในกรณีที่ละเอียดอ่อน ซึ่งพฤติการณ์ทั่วไปชวนให้เห็นว่าได้บรรลุแล้ว และแม้แต่ตนเองก็ยังหลงผิดไปว่าได้บรรลุ
ดังเรื่องในคัมภีร์ว่า พระเถระรูปหนึ่งได้สมาบัติแคล่วคล่อง กิเลสถูกข่มสงบอยู่ด้วยกำลังสมาบัตินั้น จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ อยู่มาจนแก่นับแต่ได้สมาบัติถึง ๖๐ ปี
วันหนึ่ง เห็นรูปช้างใหญ่มีอาการดุร้ายกำลังร้องแผดเสียง เผลอตกใจ จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชน (วิสุทธิ.3/269ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบ ตอน หน้า ๔๐๐

รูปภาพ

อาจลงที่ข้ามให้มาชนกัน เพราะมีหลักการที่ควรรู้มากมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 22:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อีกข้อหนึ่ง การไม่มีความกลัว ไม่หวาดเสียว ไม่สะดุ้ง ไม่ตกใจไหวหวั่น เป็นลักษณะทางจิตที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระอรหันต์ (เช่น ม.ม.13/489/534 ฯลฯ) เพราะพระอรหันต์หมดราคะ โทสะ โมหะ ที่จะเป็นเหตุให้เกิดความกลัว ความหวาดเสียวสะดุ้ง

ดังได้กล่าวแล้วในตอน ว่า ด้วยภาวะทางจิตของผู้บรรลุนิพพาน ความกลัว ความหวาดเสียว สะดุ้งตกใจนี้ เกิดจากเหตุคือกิเลสที่แฝงลึก อย่างที่เรียกกันว่าอยู่ในจิตไร้สำนึก เป็นอาการตอบสนองที่เกิดขึ้นได้อย่างทันทีทันใด เมื่อประสบอารมณ์ ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งความกลัว อันเข้ามากระทบโดยไม่ทันรู้ตัว
ความสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นของปกปิดได้ยาก เพราะยังไม่ทันได้ตั้งสติ จึงเป็นเครื่องฟ้องได้อย่างดีถึงกิเลสละเอียดที่ยังแฝงอยู่ภายใน ไม่อาจเสแสร้งแก่ผู้อื่น และไม่อาจหลอกลวงตนเอง

ในการปฏิบัติธรรม ก็เคยปรากฏว่า ท่านใช้อาการหวาดเสียวสะดุ้งตกใจเช่นนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์การที่ได้บรรลุหรือยังไม่ได้บรรลุอรหัตผล ในกรณีที่ละเอียดอ่อน ซึ่งพฤติการณ์ทั่วไปชวนให้เห็นว่าได้บรรลุแล้ว และแม้แต่ตนเองก็ยังหลงผิดไปว่าได้บรรลุ
ดังเรื่องในคัมภีร์ว่า พระเถระรูปหนึ่งได้สมาบัติแคล่วคล่อง กิเลสถูกข่มสงบอยู่ด้วยกำลังสมาบัตินั้น จึงเข้าใจว่าตนเป็นพระอรหันต์ อยู่มาจนแก่นับแต่ได้สมาบัติถึง ๖๐ ปี
วันหนึ่ง เห็นรูปช้างใหญ่มีอาการดุร้ายกำลังร้องแผดเสียง เผลอตกใจ จึงรู้ตัวว่าตนยังเป็นปุถุชน (วิสุทธิ.3/269ฯลฯ)


ความคิดเห็น . ความสะดุ้งที่เป็นอาการของขันธ์ หรือ หรือสัญชาตญาณของมนุษย์ซึ่งทำงานเป็นอัตโนมัติหน้าจะยังมีนะครับ เช่นถูกแมลงสัตว์กัดต่อยท่านรู้สึกเจ็บปวดท่านก็สะดุ้ง แล้วสติก็เกิดความเจ็บจะตั้งอยู่
บ้าง ดับไปบ้างท่านก็มีสัมปชัญญะ สติอุเบกขาอยู่ ไม่แน่ใจนะอยากรู้เหมือนกันว่าพระอรหันต์ยังสะดุ้งมั้ย
ใครทราบก็ช่วยบอก


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 135 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร