วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 21:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5091


 ข้อมูลส่วนตัว


ถวายอะไรได้บุญมากที่สุด?

โยม : หลวงปู่ครับ ถวายอะไรได้บุญมากที่สุด
ผมอยากได้บุญมากๆ เวลาทำบุญ

หลวงปู่ : ถวายความอยากได้ของคุณน่ะ ได้บุญมากที่สุด

หลวงปู่หา สุภโร




"ทุกอย่างรวมอยู่ที่ความประพฤติ
คือฤกษ์ดี ฤกษ์ร้าย โชคดี โชคร้าย
เรื่องเคราะห์กรรม บาปบุญ อะไรทั้งหมดนี้
ล้วนออกไปจากความประพฤติ ของมนุษย์ทั้งนั้น"

หลวงปู่ดูลย์ อตุโล





เรื่อง "ผู้ละสักกายทิฏฐิได้เด็ดขาด คือพระอนาคามี"
สักกายทิฏฐิ ๒๐ มีตาม(ตำรา)ท่านกล่าวไว้ว่า พระโสดาบันบุคคลละได้โดยเด็ดขาด

แต่ทางด้านปฏิบัติของธรรมะป่า รู้สึกจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง เฉพาะสักกายทิฏฐิ ๒๐ นอกนั้นไม่มีข้อข้องใจในด้านปฏิบัติ จึงเรียนตามความเห็นของธรรมะป่าแทรกไว้บ้าง คงไม่เป็นอุปสรรคแก่การฟังและการอ่าน เมื่อเห็นว่าไม่ใช่ทางปลดเปลื้องตามนัยของสวากขาตธรรมแล้วก็กรุณาผ่านไป อย่าได้ถือเป็นอารมณ์ขัดข้องใจ ผู้ละสักกายทิฏฐิ ๒๐ ได้เด็ดขาดนั้น เมื่อสรุปแล้วก็พอได้ความว่า ผู้มิใช่ผู้เห็นขันธ์ห้าเป็นเรา เห็นเราเป็นขันธ์ห้า เห็นขันธ์ห้ามีในเรา เห็นเรามีในขันธ์ห้า คิดว่าคงเป็นบุคคลประเภทไม่ควรแสวงหาครอบครัว ผัว-เมีย

เพราะครอบครัว (ผัว-เมีย) เป็นเรื่องของขันธ์ห้า ซึ่งเป็นรวงรังของสักกายทิฏฐิที่ยังละไม่ขาดอยู่โดยดี ส่วนผู้ละสักกายทิฏฐิได้โดยเด็ดขาดแล้ว รูปกายก็หมดความหมายในทางกามารมณ์ เวทนาไม่เสวยกามารมณ์ สัญญาไม่จำหมายเพื่อกามารมณ์ สังขารไม่คิดปรุงแต่งเพื่อกามารมณ์ วิญญาณไม่รับทราบเพื่อกามารมณ์ ขันธ์ทั้งห้าของผู้นั้นไม่เป็นไปเพื่อกามารมณ์ คือประเพณีของโลกโดยประการทั้งปวง ขันธ์ห้าจำต้องเปลี่ยนหน้าที่ไปงานแผนกอื่นที่ตนเห็นว่ายังทำไม่สำเร็จ โดยเลื่อนไปแผนกรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา

ผู้ละสักกายทิฏฐิ ๒๐ ได้โดยเด็ดขาด
คิดว่าเป็นเรื่องของ "พระอนาคามีบุคคล"

เพราะ(พระอนาคามี)เป็นผู้หมดความเยื่อใยในทางกามารมณ์ดังกล่าวแล้ว ส่วนพระโสดาบันบุคคลคิดว่าท่านรู้และละได้โดยข้ออุปมาว่า มีบุรุษผู้หนึ่งเดินทางเข้าไปในป่าลึก ไปพบบึงแห่งหนึ่งมีน้ำใสสะอาดและมีรสจืดสนิทดี แต่น้ำนั้นถูกจอกแหนปกคลุมไว้ ไม่สามารถจะมองเห็นน้ำโดยชัดเจน เขาคนนั้นจึงแหวกจอกแหนที่ปกคลุมน้ำนั้นออก แล้วก็มองเห็นน้ำภายในบึงนั้นใสสะอาดและเป็นที่น่าดื่ม จึงตักขึ้นมาดื่มทดลองดู ก็รู้ว่าน้ำในบึงนั้นมีรสจืดสนิทดี เขาก็ตั้งหน้าดื่มจนเพียงพอกับความต้องการที่เขากระหายมาเป็นเวลานาน เมื่อดื่มพอกับความต้องการแล้วก็จากไป ส่วนจอกแหนที่ถูกเขาแหวกออกจากน้ำก็ไหลเข้ามาปกคลุมน้ำตามเดิม เขาคนนั้นแม้จากไปแล้วก็ยังมีความติดใจ และคิดถึงน้ำในบึงนั้นอยู่เสมอ และทุกครั้งที่เขาเข้าไปในป่านั้น ต้องตรงไปที่บึงและแหวกจอกแหนออก แล้วตักขึ้นมาอาบดื่มและชำระล้างตามสบายทุกๆ ครั้งที่เขาต้องการ เวลาเขาจากไปแล้วแม้น้ำในบึงนั้นจะถูกจอกแหนปกคลุมไว้อย่างมิดชิดก็ตาม แต่ความเชื่อที่เคยฝังอยู่ในใจเขาว่า น้ำในบึงนั้นมีอยู่อย่างสมบูรณ์หนึ่ง น้ำในบึงนั้นใสสะอาดหนึ่ง น้ำในบึงนั้นมีรสจืดสนิทหนึ่ง ความเชื่อทั้งนี้ของเขา(อจลศรัทธา)จะไม่มีวันถอนตลอดกาล

(คติธรรม หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)





มีผู้มีศรัทธานำเครื่องฟอกไตมาถวาย แต่เขาก็ว่าเครื่องนี้ดีเกินไป มันใช้ต่างระบบกัน หลวงพ่อก็ว่าแปลกเหมือนกัน เครื่องไม้เครื่องมือ คงเหมือนกับเราได้โทรศัพท์ไอโฟน แต่เรามีแต่โทรเข้าโทรออก ประโยชน์ของเครื่องมันมหาศาล แต่ใช้ไม่เป็น เครื่องมันฉลาดกว่าคน คนมันโง่กว่าเครื่อง ก็ใช้ได้เท่าที่ตัวเองรู้ เครื่องมันฉลาดรอบรู้ทุกอย่าง แต่เราใช้มันไม่เป็น เหมือนเจ้านายโง่ใช้ลูกน้องไม่เป็น ก็ไม่รู้จะทำยังไง ตัวเองโง่ก็ยอมรับซะ ถ้ายังอวดฉลาดอีกก็ตายเลย เครื่องไม้เครื่องมือพังหมด ลูกน้องก็ระเนระนาดหมด เพราะผู้ใช้มันโง่ เครื่องมือมันฉลาดกว่า

นี่ล่ะพวกเรา ในโลกนี้ เราอย่าไปอวดอ้างว่าเราเฉลียวฉลาดทุกอย่าง ถ้าใครก็ตามอวดอ้างว่าเฉลียวฉลาดทุกอย่าง คนนั้นล่ะโง่ที่สุด เพราะว่ามันฉลาดทางหนึ่ง มันก็โง่ในทางอื่น ความโง่มันจะมีมากกว่า แต่ถ้าเป็นพระอรหันต์ก็ยกให้เลย ยกมือท่วมหัวเลย เพราะท่านรู้ทุกอย่าง ท่านรู้ที่ไหน ท่านรู้ที่ใจของท่าน ท่านชำระจิตใจของท่านจนจิตใจของท่านบริสุทธิ์หมดจดจากกิเลส ราคะ โทสะ โมหะ ออกจากใจของท่าน

เพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่ออกไป จะเป็นไอโฟนหรือเรื่องอะไร จรวดดาวเทียมก็ตาม เครื่องยนต์กลไกก็ตาม เครื่องบินก็ตาม มันออกไปจากใจทั้งหมด ใจไปใช้สมองคิด ในเมื่อรู้เรื่องของใจแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างมันออกไปจากทางนี้ทั้งหมด มันคิดอย่างนั้นเพราะอะไร เพราะมันมีความโกรธขึ้นมา มีนจึงคิดศาสตราอาวุธสังหารผู้อื่น หรือมันทำเพราะความรัก จึงทำสิ่งนี้ขึ้นมาเพื่อสิ่งนั้น หรือทำขึ้นเพราะความหลง จะอยู่ในโลกวัฏสงสารนานเท่านานจึงทำตัวนี้ขึ้นมา

พระอรหันต์ท่านรู้ต้นเหตุของเรื่องทั้งหลายทั้งปวง ความโลภมันออกไปทางนี้ ความโกรธออกไปทางนี้ ความหลงออกไปทางนี้ ราคะออกไปทางนี้ ท่านรู้เหง้าของมัน ท่านจึงตัดตัวนั้น ชำระตัวนั้น ปิดตัวนั้น ระงับตัวนั้น แปลว่าจบเรื่องทั้งหลายทั้งปวง นั่นคือพระอรหันตสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นผู้รู้แจ้งเห็นจริง จบเหตุแห่งเรื่องทั้งหลายทั้งปวง

แต่พวกเราท่านทั้งหลาย ไปว่าตัวเองฉลาด ไปหาตะครุบเงา เหมือนแมวไล่ตะครุบเงา ไม่ใช่ตะครุบหนูนะ ตะครุบหนูยังได้กินหนู นี่ตะครุบเงาหนู แมวหลงเงาหนูตะครุบไปเรื่อย เผลอ ๆ ไปโดนไม้เหลี่ยมหัวแตกอีก แมวหัวแตก

นี่ก็เหมือนกัน มนุษยชาติเราคิดว่าตัวเองฉลาด ตะครุบมาตะครุบไป เรื่องทั้งหลายทั้งปวง ผลที่สุดไม่ถึงร้อยปี แบมือทุกคน ข้าไม่เอาแล้ว ข้ายอมแล้ว ข้ารู้แล้ว เอาไปไม่ได้ ขนาดร่างกายของข้า ข้ายังจะทิ้งอยู่ อีกสักวันก็ต้องเผาไฟทิ้ง ถ้าไม่เผาไฟทิ้ง เหม็นแน่ ๆ พอตายแล้ว พวกก็รีบจัดการเลย เอาเข้าหีบเข้าโลง เอาไปเผาไฟ เอาไปฝังดิน ถ้าไม่อย่างนั้น มันเหม็น แล้วได้อะไร เอาอะไรจับใส่มือก็เท่านั้น เอาอะไรจับใส่ปากก็เท่านั้น แบกใส่บ่าก็เท่านั้น เอาใส่หีบใส่โลงก็เท่านั้น ไม่เอาสักอย่าง ไม่ใช่มันพอนะ มันเอาไปด้วยไม่ได้

นี่ล่ะ ขนาดร่างกายเราก็เอาไปไม่ได้ ความรู้สึกนึกคิดก็เตลิดเปิดเปิงไป ไม่มีขอบเขต ไม่รู้จะไปที่ไหน ถ้าหากไม่ได้ฝึกหัดดัดนิสัย ไม่ได้ฝึกฝนอบรม ไม่ได้บำเพ็ญคุณงามความดี ไม่ได้สร้างบุญสร้างกุศล ใจดวงนั้นก็เตลิดเปิดเปิงไม่รู้ไปที่ไหน หลวงปู่มั่นท่านว่า ใจนี้เป็นนักท่องเที่ยวตัวยง ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสาร สูง ๆ ต่ำ ๆ ลุ่ม ๆ ดอน ๆ ไปได้ทั้งหมด ดวงจิตวิญญาณนี้ ถ้ายังมีกิเลสอยู่ แต่ถ้าหมดกิเลส ทำจิตใจให้บริสุทธิ์หลุดพ้น ไม่มีราคะ โทสะ โมหะแล้ว นั่นล่ะ นิพพานัง ปรมัง สุขัง นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง หยุดในการเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร หยุดในการท่องเที่ยว หยุดในการเคลื่อนไหว เพราะตัวที่จะพาไปถูกธรรมะอันบริสุทธิ์สกัดออกหมดแล้ว

หลวงพ่ออินทร์ถวาย สันตุสสโก
พระธรรมเทศนา “ฉลาดตะครุบเงา”
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒





ถาม : เพื่อนกำลังจะไม่อยู่ในโลกนี้ พรุ่งนี้จะไปเยี่ยมเขา เขาไม่เคยปฏิบัติมาก่อน ควรบอกเขาก่อนจะไปอย่างไรดีคะ เพื่อให้เขาไปในที่ที่ดี

พระอาจารย์ : ก็อย่างนี้แหละ มันจะเอากันง่ายๆ บอกปั๊บไปได้ปุ๊บเลย แล้วคนที่มานั่งหลังคดหลังแข็งมานั่งรักษาศีลนี้ มันก็ไม่มีกำลังจิตกำลังใจที่จะปฏิบัติซิ รอให้เวลาใกล้ตายแล้วให้เพื่อนมาบอกว่า ไปที่ดีนะจ๊ะ พุทโธไปนะจ๊ะ

.
"ทั้งปีทั้งชาติไม่ยอมพุทโธ
เวลาจะตายมันจะมีกระจิตกระใจจะพุทโธหรือ"

.
อย่าไปทำอะไรเลยปล่อยให้เขาไปตามบุญตามกรรมของเขาเถอะ สายไปเสียแล้ว "เหมือนคนขึ้นเครื่องไปแล้ว" ไปทำอะไรเขาไม่ได้แล้ว ปล่อยเขาไป เครื่องจะออกแล้ว.
.....................................
.
คัดลอกการสนทนาธรรม
ธรรมะบนเขา 13/7/2559
พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต
วัดญาณสังวรารามฯ ชลบุรี





คนเรามีความอยากมี อยากได้ อยากเด่น อยากดัง ซึ่งไม่ใช่เรื่องผิด เพราะเป็นธรรมดาที่คนเราจะอยากมีเพื่อให้ชีวิตดีขึ้น แต่หากเราใช้ชีวิตแบบ “อยู่ อย่าง อยาก” มากจนเกินไป ความรู้สึกแบบนี้จะทำให้ตัวเราเองไม่มีความสุข ไม่รู้สึกผิด ไม่ละอายใจ เพราะจิตใจคิดถึงแต่เรื่องผลประโยชน์ และความรู้สึกของตนเองเป็นที่ตั้ง จนลืมไปว่าแท้จริงแล้วสาระสำคัญของการมีชีวิตอยู่ของคนเรานั้น คือการที่จะทำให้ตัวเราเองและคนอื่นที่อยู่ร่วมกับเราได้อย่างมีความสุข มีความคิดคำนึงถึงกันและกันบนโลกใบนี้..

คติธรรมคำสอน
หลวงพ่อท่านเจ้าคุณอลงกต ติกฺขปญฺโญ
วัดพระบาทน้ำพุ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 11:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 11:03
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทาน ที่มีอานิสงส์มากผู้ให้ทานเต็มใจให้ ผู้รับ ก็เต็มใจรับ ในขณะให้ให้อนัตตา(ความว่าง)เป็นทาน
การให้ใน ลักษณะนี้ ไม่ก่อให้เกิด ความโลภ ทานจึงมีอานิสงส์มาก


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 14:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


luna เขียน:
ทาน ที่มีอานิสงส์มากผู้ให้ทานเต็มใจให้ ผู้รับ ก็เต็มใจรับ ในขณะให้ให้อนัตตา(ความว่าง)เป็นทาน
การให้ใน ลักษณะนี้ ไม่ก่อให้เกิด ความโลภ ทานจึงมีอานิสงส์มาก


อนัตตา คือความว่าง ที่ปราศจากตัวตน ประกอบเพียแต่ธาตุ
หาคนให้ไม่ได้ หาคนรับก็ไม่ได้

ความว่างมีหลายนัยยะ

เช่น
นัตถิภาวบัญญัติ คืออารมณ์ของอรูปฌาน
ปริเฉทรูป
สุญญตา
นิพพาน เป็นต้นค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 17:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบ ธรรมทาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำบุญ ทำความดี, ทำสิ่งที่ดีงาม, ประกอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงใน บุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
แต่ที่พูดกันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัดและการก่อสร้างในวัดเป็นสำคัญ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทานกถา เรื่องทาน, พรรณนาทาน คือ การให้ว่าคืออะไร มีคุณอย่างไร เป็นต้น (ข้อ ๑ ในอนุบุพพิกถา ๕)

ทานมัย บุญที่สำเร็จด้วยการบริจาคทาน (ข้อ ๑ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐)

ทานบารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวดคือทาน, บารมีข้อทาน, การให้การสละอย่างยิ่งยวดที่เป็นบารมีขั้นปกติ เรียกว่า ทานบารมี ได้แก่ พาหิรภัณฑบริจาค คือ สละให้ของนอกกาย,
การให้การสละที่ยิ่งยวดขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นบารมีขั้นจวนสูงสุด เรียกว่า ทานอุปบารมี ได้แก่ อังคบริจาค คือสละให้อวัยวะในตัว เช่น บริจาคดวงตา,
การให้การสละอันยิ่งยวดที่สุด ซึ่งเป็นบารมีขั้นสูงสุด เรียกว่า ทานปรมัตถบารมี ได้แก่ ชีวิตบริจาค คือสละชีวิต

การสละให้พาหิรภัณฑ์ หรือ พาหิรวัตถุ เป็นพาหิรทาน คือ ให้สิ่งภายนอก

ส่วนการสละให้อวัยวะเลือดเนื้อ ชีวิตตลอดจนยอมตัวเป็นทาสรับใช้เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นอัชฌัตติกทาน คือ ให้ของภายใน (ข้อ ๑ ในบารมี ๑๐)

(จะอะไรทำด้วยความรู้เข้าใจ ทำได้ไม่ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ยอมรับความจริง ทุกอย่างอย่าเลียนแบบ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทาน การให้, ยกมอบแก่ผู้อื่น, ให้ของที่ควรให้ แก่คนที่ควรให้ เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น, สิ่งที่ให้, ทรัพย์สินสิ่งของที่มอบให้ หรือ แจกออกไป, ทาน ๒ คือ

๑. อามิสทาน - ให้สิ่งของ

๒. ธรรมทาน - ให้ธรรม

ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ

๑. สังฆทาน - ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม

๒. ปาฏิบุคลิกทาน - ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ

ทานมิใช่ถูกต้องดีงาม หรือ เป็นบุญเสมอไป ทานบางอย่างถือไม่ได้ว่าเป็นทาน และเป็นบาปด้วย
ในพระไตรปิฎก (วินย. 8/974/326) กล่าวถึงทานที่ชาวโลกถือว่าเป็นบุญ แต่ที่แท้หาเป็นบุญไม่ (ทานที่เป็นบาป) ๕ อย่าง คือ

๑. มัชชทาน (ให้น้ำเมา)

๒. สมัชชทาน (ให้มหรสพ)

๓. อิตถีทาน (ให้สตรี)

๔. อุสภทาน (ท่านอธิบายว่าปล่อยให้โคอุสภะเข้าไปในฝูงโค)

๕.จิตรกรรมทาน (ให้ภาพยั่วยุกิเลส เช่น ภาพสตรีและบุรุษเสพเมถุน)

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา (มิลินท.352) กล่าวถึงทานที่ไม่นับว่าเป็นทาน อันนำไปสู่อบาย ๑๐ อย่าง ได้แก่ ๕ อย่างที่กล่าวแล้ว และเพิ่มอีก ๕ คือ

๖. สัตถทาน (ให้ศัสตรา)

๗. วิสทาน (ให้ยาพิษ)

๘. สังขลิกทาน (ให้โซ่ตรวน)

๙. กุกกุฏสูกรทาน (ให้ไก่ให้สุกร)

๑๐. ตุลากูฏมานกูฏทาน (ให้เครื่องชั่งตวงวัดโกง)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทานบดี “เจ้าแห่งทาน” ผู้เป็นใหญ่ในทาน, พึงทราบคำอธิบาย ๒ แง่ คือ

ในแง่ที่ ๑ ความแตกต่างระหว่าง ทายก กับ ทานบดี

“ทายก” คือผู้ให้ เป็นคำกลางๆ แม้จะให้ของของผู้อื่นตามคำสั่งของเขา โดยไม่มีอำนาจหรือมีความเป็นใหญ่ในของนั้น ก็เป็นทายก (จึงไม่แน่ใจว่า จะปราศจากความหวงแหนหรือมีใจสละจริงแท้หรือไม่)

ส่วน “ทานบดี” คือผู้ให้ ที่เป็นเจ้าของ หรือมีอำนาจในของที่จะให้นั้น จึงเป็นใหญ่ในทานนั้น (ตามปกติต้องไม่หวงหรือมีใจสละจริง จึงให้ได้)

ในแง่ที่ ๑ นี้ จึงพูดจำแนกว่า บางคนเป็นทั้งทายกและเป็นทานบดี

บางคนเป็นทายก แต่ไม่เป็นทานบดี

ในแง่ที่ ๒ ความแตกต่างระหว่าง ทานทาส ทานสหาย และทานบดี,

บุคคลใด ตนเองบริโภคของดีๆ แต่แก่ผู้อื่นให้ของที่ไม่ดี ทำตัวเป็นทาสของสิ่งของ บุคคลนั้น เรียกว่า ทานทาส

บุคคลใด ตนเองบริโภคของอย่างใด ก็ให้แก่ผู้อื่นอย่างนั้น บุคคลนั้น เรียกว่า ทานสหาย

บุคคลใด ตนเองบริโภคหรือใช้ของตามที่พอมีพอเป็นไป แต่แก่ผู้อื่นจัดให้ของที่ดีๆ ไม่ตกอยู่ใต้อำนาจสิ่งของ แต่เป็นนายเป็นใหญ่ทำให้สิ่งของอยู่ใต้อำนาจของตน บุคคลนั้น เรียกว่า ทานบดี (รายละเอียด ดู ที.อ.1/267 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 20:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บูชา นำดอกไม้ ของหอม อาหาร ทรัพย์สินเงินทอง หรือของมีค่า มามอบให้เพื่อแสดงความซาบซึ้งพระคุณ มองเห็นความดีงาม เคารพนับถือ ชื่นชม เชิดชู หรือนำมาประกอบกิริยาอาการในการแสดงความยอมรับนับถือ ตลอดจนจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อแสดงความเคารพนับถือเช่นนั้น, แสดงความเคารพเทิดทูน, เชิดชูคุณความดี, ยกย่องให้ปรากฏความสำคัญ, บูชา มี ๒ (องฺ.ทุก. 20/401/117) คือ

อามิสบูชา (บูชาด้วยอามิส คือ ด้วยวัตถุสิ่งของ) และ

ธรรมบูชา (บูชาด้วยธรรม คือด้วยการปฏิบัติให้บรรลุจุดหมายที่พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมไว้)

ในอรรถกถาแห่งมงคลสูตร (ขุทฺทก.อ.113 ฯลฯ) ท่านกล่าวถึงบูชา ๒ อย่าง เป็นอามิสบูชา และ ปฏิบัติบูชา (บูชาด้วยการปฏิบัติ คือ บูชาพระพุทธเจ้าด้วยสรณคมน์ การรับสิกขาบทมารักษาเพื่อให้เป็นผู้มีศีล การถืออุโบสถ และคุณความดีต่างๆ ของตน มีปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น ตลอดจนการเคารพดูแลมารดาบิดา และบูชาปูชนียบุคคลทั้งหลาย)

โดยเฉพาะปฏิบัติบูชานั้น ท่านอ้างพุทธพจน์ในมหาปรินิพพานสูตร (ที.ม.10/124/160) ที่ตรัสว่า "ดูกรอานนท์ ผู้ใดแล จะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ปฏิบัติธรรมอยู่ ผู้นั้น ชื่อว่า สักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตด้วยการบูชาอย่างยิ่ง" กล่าวย่อ ปฏิบัติบูชา ได้แก่ ธรรมานุธรรมปฏิบัติ

บูชามยบุญราศี กองบุญที่สำเร็จด้วยการบูชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 มี.ค. 2019, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ทำบุญ ทำความดี, ทำสิ่งที่ดีงาม, ประกอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงใน บุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
แต่ที่พูดกันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัดและการก่อสร้างในวัดเป็นสำคัญ



บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กรรมดี, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา และใจ, กุศลกรรม, ความสุข, กุศลธรรม
ที่กล่าวมานั้น เป็นความหมายทั่วไปโดยสรุป
ต่อนี้พึงทราบคำอธิบายละเอียดขึ้น เริ่มแต่ความหมายตามรูปศัพท์ว่า
"กรรมที่ชำระสันดานของผู้กระทำให้สะอาด"
"สภาวะอันทำให้เกิดความน่าบูชา"
"การกระทำอันทำให้เต็มอิ่มสมน้ำใจ"
ความดี, กรรมที่ดีงามเป็นประโยชน์, ความประพฤติชอบทางกาย วาจา ใจ, กุศล (มักหมายถึงโลกิยกุศล หรือ ความดีที่ยังกอปรด้วยอุปธิ คือ เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ปรารถนากันในหมู่ชาวโลก เช่น โภคสมบัติ,)

บางทีหมายถึงผลของการประกอบกุศล หรือผลบุญนั่นเอง เช่น ในพุทธพจน์ (ที.ปา.11/33/62) ว่า "ภิกษุทั้งหลาย เพราะการสมาทานกุศลธรรมทั้งหลายเป็นเหตุ บุญนี้ ย่อมเจริญเพิ่มพูนอย่างนี้" และ

มีพุทธพจน์ (ขุ.อิติ.25/200/240) ตรัสไว้ด้วยว่า "ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย อย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อของความสุข" (บุญ ในพุทธพจน์ ทรงเน้นที่การเจริญเมตตาจิต)

พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ศึกษาบุญ "ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยฺย" (ขุ.อิติ.25/200/241; 238/270) คือ ฝึกปฏิบัติหัดทำให้ชีวิตเจริญงอกงามขึ้นในความดีและสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัติที่ดี

ในการทำบุญ ไม่พึงละเลยพื้นฐานที่ตรงตามสภาพความเป็นจริงของชีวิต ให้ชีวิตและสิ่งแวดล้อมเจริญงอกงามหนุนกันขึ้นไปสู่ความดีงามที่สมบูรณ์ เช่น พึงระลึกถึงพุทธพจน์ (สํ.ส.15/146/46) ที่ว่า

"ชนเหล่าใด ปลูกสวน ปลูกป่า สร้างสะพาน (รวมทั้งจัดเรือข้ามฟาก) จัดบริการน้ำดื่ม และบึงบ่อสระน้ำ ให้ที่พักอาศัย บุญของชนเหล่านั้น ย่อมเจริญงอกงาม ทั้งคืนทั้งวัน ตลอดทุกเวลา, ชนเหล่านั้น ผู้ตั้งอยู่ในธรรม ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้เดินทางสวรรค์"

คัมภีร์ทั้งหลายกล่าวถึงบุญกรรมที่ชาวบ้านควรร่วมกันทำไว้เป็นอันมาก เช่น (ชา.อ.1/299) การปรับปรุงซ่อมแซมถนนหนทาง สร้างสะพาน ขุดสระน้ำ สร้างศาลาที่พักและที่ประชุม ปลูกสวนปลูกป่า ให้ทาน รักษาศีล

พระพุทธเจ้าตรัสประมวลหลักการทำบุญที่พึงศึกษาไว้ เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ ๓ (ขุ.อิติ.25/238/270) ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ได้แจกแจงให้เห็นตัวอย่างในการขยายความออกไปเป็น บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ (เช่น สงฺคณี.อ. 208) ตรงข้ามกับ บาป

(เห็นโล่งโก่งสุดลูกหูลูกตา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 12:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 11:03
โพสต์: 98

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
luna เขียน:
ทาน ที่มีอานิสงส์มากผู้ให้ทานเต็มใจให้ ผู้รับ ก็เต็มใจรับ ในขณะให้ให้อนัตตา(ความว่าง)เป็นทาน
การให้ใน ลักษณะนี้ ไม่ก่อให้เกิด ความโลภ ทานจึงมีอานิสงส์มาก


อนัตตา คือความว่าง ที่ปราศจากตัวตน ประกอบเพียแต่ธาตุ
หาคนให้ไม่ได้ หาคนรับก็ไม่ได้

ความว่างมีหลายนัยยะ

เช่น
นัตถิภาวบัญญัติ คืออารมณ์ของอรูปฌาน
ปริเฉทรูป
สุญญตา
นิพพาน เป็นต้นค่ะ


ว่างจากความเป็นคนเป็นสัตว์
ว่างจากสรรพสิ่งทั้งปวง ในความหมาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


luna เขียน:
โลกสวย เขียน:
luna เขียน:
ทาน ที่มีอานิสงส์มากผู้ให้ทานเต็มใจให้ ผู้รับ ก็เต็มใจรับ ในขณะให้ให้อนัตตา(ความว่าง)เป็นทาน
การให้ใน ลักษณะนี้ ไม่ก่อให้เกิด ความโลภ ทานจึงมีอานิสงส์มาก


อนัตตา คือความว่าง ที่ปราศจากตัวตน ประกอบเพียแต่ธาตุ
หาคนให้ไม่ได้ หาคนรับก็ไม่ได้

ความว่างมีหลายนัยยะ

เช่น
นัตถิภาวบัญญัติ คืออารมณ์ของอรูปฌาน
ปริเฉทรูป
สุญญตา
นิพพาน เป็นต้นค่ะ


ว่างจากความเป็นคนเป็นสัตว์
ว่างจากสรรพสิ่งทั้งปวง ในความหมาย


s006 เอ่

แบบไปนิพพานไปถวายทาน ไปไส่บาตร แล้วกลับมา เป็นคน สัตว์ ตามเดิม หรอค๊ะ ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 14:51 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลงข้อมูลผิดกระทู้ครับ

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 17 มี.ค. 2019, 16:10, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


แค่อากาศ เขียน:
Love J. เขียน:
ความไม่ยึดมั่นถือมั่น กับ ความไม่มีหลักมีเกณฑ์

พระอรหันต์ทั้งหลายไม่ยึดมั่นถือมั่นใด ๆ ในโลก คงมองเห็นตนเองเป็นแต่เพียงภาระที่ต้องรับผิดชอบดูแล
ไม่ทำสิ่งอันเป็นโทษ ทำสิ่งอันประโยชน์แก่โลกด้วยความเมตตาสงสารเพราะได้เห็นทุกข์ในตนมาแล้วจึง
เห็นทุกข์ในผู้อื่น

บางคนก็ชอบบอกอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แต่ไม่สำรวมระวัง ความคิด คำพูด การกระทำ ไม่คำนึงถึงความเป็นประโยชน์ ความเป็นโทษ ตั้งอยู่บนความประมาททำตนอย่างคนไม่มีหลักมีเกณฑ์ใครตักใครเตือนก็ไม่ได้ คำสอนของพระพุทธเจ้าก็ไม่ฟัง
..........................................................................................

สัมมาทิฏฐิ กับ มิจฉาทิฏฐิ

ถ้าเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ยึดมั่นถือมั่นอย่างนี้แล้วทำให้เราไม่สำรวมระวังกรรม ไม่มีหิริ โอตัปปะ
ไม่รู้เนื้อรู้ตัวตั้งอยู่บนความประมาทแล้วยึดมั่นถือมั่นความเห็นนั้นเชื่อมั่นว่าตนพ้นทุกข์ หลงระเริงว่าตนมีความสุข ความเห็นนั้นก็เป็นมิจฉาทิฏฐิ ทิฏฐิรกชัฏ ทิฏฐิกันดาร วิมุตินั้นก็เป็นมิจฉาวิมุติ ไม่เป็นส่วนแห่งวิชชา

แต่ถ้าหากเห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วทำให้เราปล่อยวางจางคลางทางโลก จิตใจตั้งมั่นอยู่กับเนื้อ
กับตัว บาปอกุศลกรรมรำงับ มีสติเห็นกายเห็นใจตนเองเป็นอัตโนมัติแม้ไม่ต้องเฝ้าดู อย่างนี้ย่อมเป็นส่วน
แห่งวิชชา ทำให้เกิดปัญญาเห็นอริยสัจ ๔ ความเห็นนั้นจึงเป็นสัมมาทิฏฐิ วิมุตินั้นก็เป็นสัมมาวิมุติ

ปล . ทั้งหมดนี้เป็นความเห็นความเข้าใจของผมเอง ซึ่งอยากให้ลองพิจารณา ผิดพลาดประการใดก็ขออภัยด้วยครับ



ท่านเจพูดมาก็เป็นส่วนถูกนะ

ข้อนี้สำคัญ ไตรลักษณ์ต้องแยกระหว่าง คนรู้ กับ คนถึง

คนรู้เป็นอย่างไร ก็ปุถุชนโดยปรกติทั่วไป เรียนรู้ท่องจำ แล้วเชื่อตามตำรา เชื่อตามคำสอนตามๆกันมา ว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป บอกว่านี้คือวิปัสสนา คนที่ได้ทำได้แค่รู้ ก็เอาใจเข้ายึดครอง คำว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป การเอาใจเข้ายึดครองนี้เป็นโมหะ ทุ่สุดก็กายเป็นยึดอัตตาไตรลักษณ์ คือ ยึดหลงว่าไม่เที่ยง ยึดหลงว่าไม่มีตัวตน ยึดหลงว่าทุกข์ ก็เมื่อหลงตัวตนยึดถือคำเหล่านี้ โดยอาศัยอนุมานเอาบ้าง คิดตามเอาบ้าง จดจำสำคัญมั่นหมายไว้ในใจบ้าง จึงเกิดตัวตนของความไม่เที่ยง ตัวตนของความไม่ใช่ตัวตน ตัวตนของทุกข์ แทนที่จะเพียงแค่รู้ ผู้นับเนื่องเอาจากการท่องจำเอาไม่ใช่องค์มรรคสัมมาทิฏฐิ เป็นความเห็นที่สะสมเหตุอันเป็นบุญแก่ขันธ์เท่านั้น ไม่ใช่องค์มรรค
- ด้วยเหตุดังนี้คนที่รู้ไตรลักษณ์จึงยังยึดมั่นถือมั่นหลงอยู่กับความคิด คำสอนบอกกล่าวตามๆกันมาจากคนที่เคารพบ้าง คนที่น่าเชื่อถือบ้าง จากตำราบ้าง จากการคิดนึกตามบ้าง โดยที่ไม่เคยเห็นของจริงเลย
- ผลลัพธ์ คือ กิเลสครบพร้อมยังหมกมุ่นไตรลักษณ์ ไม่รู้เห็นธรรม ไม่ถึงธรรมแท้

คนถึงเป็นอย่างไร ก็ปุถุชนผู้มีสันดานพระอริยะขึ้นไป จนถึงพระอริยะสาวกในพระธรรมวินัยนี้ ถึงความไม่ยึด ไม่เอาใจเข้ายึดครอง ไม่หลง ไม่นับตัวตนแม้แต่คำว่าไตรลักษณ์ แต่ท่านพูดถึงไตรลักษณ์เพราะนับเนื่องเอาด้วยจิตที่เข้าถึงของจริง ไปรู้เห็นตามจริง เข้าไปเห็นความเป็นไปของสังขารตามจริง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป รู้เห็นตามจริง การละ การตัด การสละคืนของท่าน เช่นกายไม่มีสิ่งใดเกินกว่ากองธาตุที่รอันจะเสื่อมสูญ ไม่มีตัวตนบุคคลใด ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ขงใคร ด้วยเห็นจากการนับเนื่องเอาจาก ไม่มีใคร ไม่ใช่ใคร ไม่ใช่เรา ไม่มีเราในกองธาตุเหล่านั้น ไม่อาจจะนับเอาได้ว่าเป็นใครในหมู่ธาตุ ในธาตุเป็นของใคร มันเกิดขั้น ตั้งอยู่ ดับไปตามเหตุปัจจัยของมัน ไม่ได้อยู่ได้บังคับบัญชาของผู้ใด มันแค่กอปรขึ้นตามเหตุปัจจัยอันอาศัยให้นามรูปมีจึงมีวิญญาณ และ วิญญาณมีจึงมีนามรูป กายก็สมมติ ความรู้สึกก็สมมติ ธัมารมณ์ก็สมมติ นับเนื่องโดยรอบ ๓ อาการ ๑๒ โดยจะได้มากน้อยตามแต่จิตที่น้อมลงองค์มรรคมากน้อยแค่ไหน ตัด ละ สละคืน อบ่างไร ละสังโยชน์ได้แค่ไหน ดังนั้น..สัมมาทิฏฐิอันเป็นองค์มรรคแท้ๆ..มีแค่ในพระอริยะสาวกเท่านั้น
- ด้วยเหตุดังนี้คนที่เข้าถึงไตรลักษณ์จึงไม่ยึด ถึงความว่าง ความไม่มี ความสละคืน ไม่นับเนื่องเอาด้วยสังขารโลก
- ผลลัพธ์ คือ พระอริยะสาวกของพระพุทธเจ้า อันเป็นคู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงตัวบุถรุษได้ ๘ บุรุษดังนี้


----------------------------------------------------

ดังนั้นไตรลักษณ์ที่เรารู้เห็นนั้นมีมากปานได้..

- อัตตาไตรลักษณ์ หรือไม่อัตตาไตรลักษณ์
- ฟุ้งไตรลักษณ์ หรือเห็นไตรลักษณ์
- รู้ธรรม หรือถึงธรรม


----------------------------------------------------


Re: ถวายอะไรได้บุญมาก

s006 เอ่?



ถวายไตรลักษณ์ หรอค๊ะ ได้บุญมาก ?

ไปไหนมา สามวาสองศอก เละเทะอีกแล้ว

tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 มี.ค. 2019, 15:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณเมที่รักที่แนะนำ พอดีทำงานไปด้วย แล้วจะโพสท์ข้อมูลกระทู้ท่านเจ แต่มันมาโผล่กระทู้นี้ ขออภัยด้วยนะท่าน รสมน และเมที่รักขอบคุณที่เตือน ต่อไปจะรักเมให้มากกว่านี้ :b9: :b9: :b9:

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แก้ไขล่าสุดโดย แค่อากาศ เมื่อ 17 มี.ค. 2019, 16:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 99 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร