วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 18:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 11:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
tongue
รู้จักความปกติของคนไหมคะ
คนบนโลกนี้เกิดมาแล้วใครบ้าง
ไม่รู้ว่ามีตัวตนบนโลกใบนี้ตามปกติ
:b32:
ไม่ว่าจะมีการระบุว่านับถือศาสนาอะไร
ก็เป็นคนมีตัวตนมีชื่อนามสกุลมีที่อยู่ถูกไหม
และที่ไม่รู้คือไม่รู้ว่าตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริงเป็นนิมิต
เออจะรู้ว่าไม่มีตัวตนถูกตัวตนได้ตอนคิดตามคำสอน
ในพระพุทธศาสนาถ้าคนที่นับถือแต่ไม่ฟังคำสอนจะรู้สึกตัวได้ไหมคะ
:b12:
ทำพฤติกรรมไปต่างๆกันตามที่คิดว่ามีตัวตนมีคนมีวัตถุสิ่งของนั้นคือปกติไม่รู้ความจริง
ความจริงอะไรล่ะ...ตอบความจริงตามการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าที่ว่าไม่มีตัวตนมีแต่สัจจะธัมมะ
เอาแต่สวดมนต์ไหว้พระถวายเงินทองรับเงินทองโดยไม่รู้ว่าทำพฤติกรรมผิดๆตามๆกันเนี่ยเรียกว่ามีกิเลส
ตามปกติเป็นปกติมีอกุศลศีลและประพฤติตามๆกันไม่ฟังคำสอนตามหลักกาลามสูตร10คือปกติมีกิเลสมาก
:b13:
:b32: :b32:


อ้าวไปกาลามะอีก

มีกิเลสมากก็หาวิธีกำจัดกิเลสสิ ท่านวางหลักไว้ให้แบ้ว เช่น ไตรสิกขา คือ อธิศีลสิกขา (ศีล) อธิจิตตสิกขา (สมาธิ) อธิปัญญาสิกขา (ปัญญา)

:b12:
คิดให้มันรอบตัวตนของคุณเองสิ
ตถาคตตรัสรู้อริยสัจธรรมตรงปัจจุบันขณะ
ที่กำลังปรากฏว่ามีแล้วและกำลังเกิดดับนับไม่ถ้วนเลย
ทรงแสดงว่านับได้แสนโกฏิขณะเดี๋ยวนี้=1ล้านดวงจิตถึงแสนครั้งนับได้ไหมคะ
คิดให้ถูกตรงตามปกติสิว่าคิดแล้วแค่คำว่าดีก็ดับนับแสนโกฏิขณะแล้วมันดีตามที่คิดได้ไหมคะ
:b32: :b32:


คุณปฤษฎีว่าไง :b10: :b1:

:b32:
เข้าใจไหมคะว่าตถาคตสอนให้รู้จักกิเลส
รู้จักกิเลสตนเองเมื่อไหร่รู้จักกิเลสผู้อื่นเมื่อนั้น
ตัวคุณทุกคนที่อ่านอยู่นี่แหละคิดตามให้ถูกตรง
มีตัวตนอยากรู้อยากทำโดยไม่ฟังคำสอนให้เข้าใจ
จะรู้สึกตัวได้ยังไงว่ากำลังมีกิเลสก็มันดับไปแล้วแสนโกฏิขณะ
เอ้าลองนับสิแสนโกฏิขณะเนี่ยนับถูกตัวตนตรงกับขณะไหนและเลือกขณะได้หรออออ
ในเมื่อขณะเกิด/ขณะตาย/ขณะหลับสนิทเป็นขณะที่ไม่รู้สึกตัวไม่มีวิถีจิตทางตาหูจมูกลิ้นกายใจตามที่คิด
:b55: :b55: :b55:



เมื่อสอนให้รู้จักกิเลสแล้ว ท่านไม่สอนให้กำจัดกิเลสทำลายกิเลสมั่งดอกหรอ

ที่ดับไปตะกี๊นี้แสนโกฏิขณะคุณขาดสติไปแล้ว
เพราะไม่ได้รู้คิดตามคำสอนตรงสัจจะตรงทางที่กายมี
จะเอาแต่อดีตสัญญาจำบัญญัติคำเนี่ยเหรอมันไม่ตามไปชาติหน้า
1ขณะของจุติจิตตอนตายเป็นขณะไม่รู้สึกตัวสืบต่อไปปฏิสนธิ1ขณะไปสู่ที่ชอบๆทำทันที
:b32: :b32:

ชาตินี้ไม่ฟังคำสอนฝันไปไหมว่าจะมีปัญญารู้ตรงสัจจะตามคำสอนได้
:b32: :b32:



พ่ะน่ะ คุณโรสรู้จักกิเลสไหม ตอบให้ตรงคำถาม

๑.รู้จัก

๒.ไม่รู้จัก

ข้อไหน ๑ หรือ ๒

ปัญญาคือความเข้าใจถูกตามคำสอนได้ตรงทีละ1ทางตรงปัจจุบันขณะ
ที่กำลังมีสภาพธรรมปรากฏเดี๋ยวนี้ตามปกติเป็นปกติรู้ชัดว่าเป็นธัมมะไม่ใช่ตัวตน
และจะรู้ว่าเป็นธัมมะอะไรตรงทางไหนเกิดจากการฟังและกำลังระลึกถูกตรงทางตามได้เดี๋ยวนี้
ถ้าไม่ระลึกตามอยู่ก็ปล่อยให้กิเลสไหลไปเลยแสนโกฏิขณะนั้นน่ะไหลผ่านไปตลอดเป็นกิเลสทำไรได้ไหม
เพราะขาดการฟังคำสอนไม่คิดตามคำสอนแต่คิดตามเห็นผิดแปลว่าไม่พึ่งคำสอนก็มันดับเป็นกิเลสแสนล้าน
:b32: :b32:

สาวกที่ฟังคำสอนเข้าใจรู้สึกตัวว่ามีกิเลสมหาศาล
ไม่มีใครสามารถคิดคำวาจาสัจจะของตถาคตได้เอง
ทุกคนที่ฟังผู้อื่นกล่าวคำวาจาสัจจะรู้สึกตัวว่าตนรู้ได้แค่ไหน
ไม่มีใครมีปัญญารู้ความจริงตรงกับทุกคำที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงได้
มีแต่ต้องเพียรฟังเพื่อตามรู้จักกิเลสตนเองเพื่อละกิเลสแสนล้านที่ไหลไปตรงๆคืออุชุปะติปัตติรู้1ที่กายตนมี

ฟังพระพุทธพจน์จากผู้อื่นกล่าวตรงสัจจะให้เข้าใจตามได้คือหนทางอันเอก
https://youtu.be/Gb_rm1GbtCo


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 14:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:

อ้างคำพูด:
กรัชกาย
พ่ะน่ะ คุณโรสรู้จักกิเลสไหม ตอบให้ตรงคำถาม

๑.รู้จัก

๒.ไม่รู้จัก

ข้อไหน ๑ หรือ ๒


อ้างคำพูด:
Rosarin
ปัญญาคือความเข้าใจถูกตามคำสอนได้ตรงทีละ1ทางตรงปัจจุบันขณะ
ที่กำลังมีสภาพธรรมปรากฏเดี๋ยวนี้ตามปกติเป็นปกติรู้ชัดว่าเป็นธัมมะไม่ใช่ตัวตน
และจะรู้ว่าเป็นธัมมะอะไรตรงทางไหนเกิดจากการฟังและกำลังระลึกถูกตรงทางตามได้เดี๋ยวนี้
ถ้าไม่ระลึกตามอยู่ก็ปล่อยให้กิเลสไหลไปเลยแสนโกฏิขณะนั้นน่ะไหลผ่านไปตลอดเป็นกิเลสทำไรได้ไหม
เพราะขาดการฟังคำสอนไม่คิดตามคำสอนแต่คิดตามเห็นผิดแปลว่าไม่พึ่งคำสอนก็มันดับเป็นกิเลสแสนล้าน
:b32: :b32:

สาวกที่ฟังคำสอนเข้าใจรู้สึกตัวว่ามีกิเลสมหาศาล
ไม่มีใครสามารถคิดคำวาจาสัจจะของตถาคตได้เอง
ทุกคนที่ฟังผู้อื่นกล่าวคำวาจาสัจจะรู้สึกตัวว่าตนรู้ได้แค่ไหน
ไม่มีใครมีปัญญารู้ความจริงตรงกับทุกคำที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงได้
มีแต่ต้องเพียรฟังเพื่อตามรู้จักกิเลสตนเองเพื่อละกิเลสแสนล้านที่ไหลไปตรงๆคืออุชุปะติปัตติรู้1ที่กายตนมี
ฟังพระพุทธพจน์จากผู้อื่นกล่าวตรงสัจจะให้เข้าใจตามได้คือหนทางอันเอก
https://youtu.be/Gb_rm1GbtCo


โจทก์ถามอย่าง แต่ตอบอีกอย่าง :b1:

เอ้าคุณปฤษฎี ตอบแทนหน่อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 14:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กิเลส สิ่งที่ทำใจให้เศร้าหมอง, ความชั่วที่แฝงอยู่ในความรู้สึกนึกคิด ทำให้จิตใจขุ่นมัวไม่บริสุทธิ์ และเป็นเครื่องปรุงแต่งความคิดให้ทำกรรม ซึ่งนำไปสู่ปัญหา ความยุ่งยากเดือดร้อนและความทุกข์;
กิเลส ๑๐ (ในบาลี เดิม เรียกว่ากิเสลวัตถุ คือ สิ่งก่อความเศร้าหมอง ๑๐) ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ,


อนึ่ง ในอรรถกถา ท่านนิยมจำแนก กิเลส เป็น ๓ ระดับ ตามลำดับขั้นของการละด้วยสิกขา ๓ (เช่น วินย.อ.1/22 ฯลฯ)
คือ

๑. วีติกกมกิเลส กิเลสอย่างหยาบ ที่เป็นเหตุให้ล่วงละเมิดออกมาทางกาย และวาจา เช่น เป็นกายทุจริต และวจีทุจริต ละด้วยศีล (อธิศีลสิกขา)

๒. ปริยุฏฐานกิเลส กิเลสอย่างกลางที่พลุ่งขึ้นมาเร้ารุมอยู่ในจิตใจ ดังเช่น นิวรณ์ ๕ ในกรณีที่จะข่มระงับไว้ ละด้วยสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

๓. อนุสัยกิเลส กิเลสอย่างละเอียดที่นอนเนื่องอยู่ในสันดาน อันยังไม่ถูกกระตุ้นให้พลุ่งขึ้นมา ได้แก่ อนุสัย ๗ ละด้วยปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)


อธิศีล ศีลอันยิ่ง หมายถึงปาฏิโมกข์สังวรศีล ตลอดลงมาจนถึงศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ที่รักษาด้วยความเข้าใจ ให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ หรือเป็นปัจจัยให้ก้าวไปในมรรค

อธิศีลสิกขา เรื่องอธิศีลอันจะต้องศึกษา, การศึกษาในอธิศีล, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาศีลอย่างสูง ที่จะให้ตั้งอยู่ในวินัย รู้จักใช้อินทรีย์ และมีพฤติกรรมทางกายวาจาดีงาม ในการสัมพันธ์ที่จะอยู่ร่วมสังคมกับผู้อื่น และอยู่ในสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยดี ให้เป็นประโยชน์เกื้อกูล ไม่เบียดเบียน ไม่ทำลาย และให้เป็นพื้นฐานแห่งการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจในอธิจิตตสิกขา (ข้อ ๑ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เขียนอย่างบาลีเป็น อธิสีลสิกขา และเรียกกันง่ายๆว่า ศีล

อธิจิต, อธิจิตต์ จิตอันยิ่ง, เรื่องในของการเจริญสมาธิอย่างสูง หมายถึง ฌานสมาบัติที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา หรือแม้สมาธิที่เจริญด้วยความรู้เข้าใจ โดยมุ่งให้เป็นปัจจัยแห่งการก้าวไป ในมรรค

อธิจิตตสิกขา เรื่องอธิจิตต์อันจะต้องศึกษา, การศึกษาในอธิจิตต์, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาจิตใจอย่างสูง เพื่อให้เกิดสมาธิ ความเข้มแข็งมั่นคงพร้อมทั้งคุณธรรมและคุณสมบัติที่เกื้อกูลทั้งหลาย เช่น สติ ขันติ เมตตา กรุณา สดชื่น เบิกบาน เป็นสุข ผ่องใส อันจะทำให้จิตใจมีสภาพที่เหมาะแก่การใช้งาน เฉพาะอย่างยิ่ง ให้เป็นฐานแห่งการเจริญปัญญา (ข้อ ๒ ในสิกขา ๓ หรือไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆว่า สมาธิ

อธิปัญญา ปัญญาอันยิ่ง โดยเฉพาะวิปัสสนาปัญญา ที่กำหนดรู้ความจริงแห่งไตรลักษณ์

อธิปัญญาสิกขา เรื่องอธิปัญญาอันจะต้องศึกษา, การศึกษาในอธิปัญญา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาปัญญาอย่างสูง เพื่อให้เกิดความรู้แจ้ง มองเห็นสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง อันจะทำให้จิตใจหลุดพ้นเป็นอิสระ ปราศจากกิเลสและความทุกข์ (ข้อ ๓ ในสิกขา ๓ ไตรสิกขา) เรียกกันง่ายๆว่า ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 14:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาสวะ 1. ความเสียหาย, ความเดือดร้อน, โทษ, ทุกข์ 2. น้ำดองอันเป็นเมรัย เช่น ปุปฺผาสโว น้ำดองดอกไม้ ผลาสโว น้ำดองผลไม้ 3. กิเลสที่หมักหมม หรือ ดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ

อาสวะ ๓ คือ

๑. กามาสวะ อาสวะคือกาม

๒. ภวาสวะ อาสวะคือภพ

๓. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา

อีกหมวดหนึ่ง อาสวะ ๔ คือ

๑. กามาสวะ อาสวะคือกาม

๒. ภวาสวะ อาสวะคือภพ

๓. ทิฏฐาสวะ อาสวะคือทิฏฐิ

๔. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 16:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อย่างไรก็ตาม ก่อนจะพิจารณาเรื่องนี้ต่อไปอีก ขอย้ำความที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ ว่า โดยปรมัตถ์ (คือความหมายสูงสุด หรือ ความหมายที่แท้จริง) นิพพานไม่มีการแบ่งประเภท
แต่ที่แบ่งเป็นสองนั้น ก็เป็นการแบ่งโดยปริยายเท่านั้น และ พึงเข้าใจความหมายของคำสำคัญ ๓ คำ ที่กล่าวแล้วต่อไปนี้ก่อน คือ

๑) คำว่า เวทยิต มาจากรากศัพท์เดียว กับ เวทนา และใช้แทนเวทนาบ้างในบางครั้ง แปลว่า การเสวยอารมณ์ ก็ได้ อารมณ์ที่ได้เสวย ก็ได้
ในที่นี้ มีรูปพหูพจน์ เป็น เวทยิตานิ จึงควรแปลว่า อารมณ์ทั้งหลายที่ได้เสวยแล้ว เทียบได้กับคำที่ใช้กันในบัดนี้ว่า ประสบการณ์ทั้งหลาย

๒) คำว่า อนภินันทิต เป็นคำวิเศษณ์ขยายเวทยิต

มาจาก อภินันทิต ซึ่งแปลว่า เพลิดเพลิน หรือ ชื่นชม ในที่นี้ แปลว่า ติดใจพัวพัน หมายถึง คลอเคลีย หรือ เคล้าด้วยตัณหา ไม่ว่าจะในแง่บวก หรือ แง่ลบ คือ ไม่ว่าจะในทางยินดี หรือ ยินร้าย ชอบใจ หรือขัดใจก็ตาม (ดังจะเห็นได้ในพุทธพจน์ที่จะยกมาให้พิจารณาข้างหน้า)

เติม "น" ปฏิเสธเข้าข้างหน้า เป็น อนภินันทิต แปลว่า ไม่ติดใจพัวพัน หมายความว่า อารมณ์ทั้งหลายที่ได้เสวย หรือ ประสบการณ์ (เวทยิต) ทั้งหลายเหล่านั้น มิได้ถูกคลอเคลียด้วยตัณหา คือ ผ่านการรับรู้เข้ามาแล้ว ก็อยู่ในสภาพบริสุทธิ์ แล้วก็ผ่านโล่งปลอดโปร่งไป ไม่ติดค้าง ข้องขัด คาใจ พร่ำนึก พร่ำคิด เพราะจิตของผู้เสวยอารมณ์ไม่ถูกบังคับ หรือ ครอบงำให้ปรุงแต่ง บิดเบือน หรือ หันเหอารมณ์ไปตามอำนาจของราคะ โทสะ หรือโมหะ

๓) คำว่า ทิฏฐธัมมิกะ แปลตามศัพท์ว่า เกี่ยวกับสิ่งที่มองเห็น ของที่เห็นกันได้ หรือ เห็นๆ กันอยู่แล้ว

ว่าโดยกาล หมายถึง เป็นไปในปัจจุบัน มีในปัจจุบัน ทันตาเห็น หรือ ชาตินี้ ชีวิตนี้

ว่าโดยสถานะ หมายถึง ของธรรมดาสามัญ ด้านวัตถุ เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เรื่องชั้นนอก หรือ ขั้นต้นๆ
มักมาคู่ กับ สัมปรายิกะ ซึ่งแปลตามศัพท์ว่า ซึ่งจะถึงต่อจากนั้นไป หรือ เลยจากนั้นไป

ว่าโดยกาล หมายถึงเป็นไปในเบื้องหน้า มีในภายหน้า พ้นจากชีวิตนี้ไป หรือ โลกหน้า
ว่าโดยสถานะ หมายถึง ระดับที่เกิน หรือ เลยจากธรรมดาสามัญ สิ่งที่ล้ำลึกกว่า ทิฏฐธัมมิกะ
ด้านจิตใจ เลยจากชีวิตประจำวัน เรื่องขั้นใน หรือ ขั้นสูงขึ้นไป



ต่อ


เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ที่ควรรู้แล้ว ก็พอจะกล่าวถึงความหมายของนิพพานธาตุ ๒ อย่างนี้ ได้ต่อไป

๑. สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ แปลว่า ภาวะของนิพพานที่เป็นไปกับด้วยอุปาทิเสสเหลืออยู่ หรือ นิพพานที่ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์ ในเวลาที่เสวยอารมณ์ต่างๆ รับรู้สุขทุกข์ทางอินทรีย์ทั้ง ๕ หรือ นิพพานของพระอรหันต์ผู้ยังเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ ในกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์
พูดอีกอย่างหนึ่งว่า นิพพานท่ามกลางกระบวนการรับรู้ทางประสาททั้ง ๕ ซึ่งเกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ โดยฐานเป็นอารมณ์หรือสิ่งที่ถูกรู้

นิพพานในข้อนี้ เป็นด้านที่เพ่งถึงผล ซึ่งปรากฏออกมาในการรับรู้ หรือ การเกี่ยวข้องกับโลก คือ สิ่งแวดล้อม ในการดำเนินชีวิตตามปกติของพระอรหันต์

ดังนั้น จึงเล็งไปที่ความหมาย ในแง่ของความสิ้น ราคะ โทสะ และโมหะ* (ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ นี้เรียกว่า นิพพาน –สํ.สฬ.18/497/310; 513/321 – ความบำราศราคะ ความบำราศโทสะ ความบำราศโมหะ นี้เป็นชื่อของนิพพานธาตุ – สํ.ม.19/31/10) ซึ่งทำให้การรับรู้ หรือ เสวยอารมณ์ต่างๆ เป็นไปด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ

ขยายความ ออกไป ว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ ภาวะจิตของพระอรหันต์ ซึ่งปลอดโปร่งเป็นอิสระ ไม่ถูกปรุงแต่งบังคับด้วยราคะ โทสะ และโมหะ
ทำให้พระอรหันต์ นั้น ผู้ยังมีอินทรีย์สำหรับรับรู้อารมณ์ต่างๆ บริบูรณ์ดีอยู่ตามปกติ เสวยอารมณ์ทั้งหลายด้วยจิตใจที่เป็นอิสระ ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันธรรมชาติของมัน
การเสวยอารมณ์ หรือ เวทนานั้น ไม่ถูกกิเลสครอบงำ หรือ ชักจูง จึงไม่ทำให้เกิดตัณหาทั้งในทางบวกและทางลบ (ยินดี - ยินร้าย ชอบ-ชัง ติดใจ-ขัดใจ)

พูดอีกอย่างหนึ่ง ว่า ไม่มีตัณหาที่จะปรุงแต่งภพ หรือ ชักนำไปสู่ภพ (ภวเนตติ)

ภาวะนี้ มีลักษณะที่มองได้ ๒ ด้าน ด้านหนึ่ง คือ การเสวยอารมณ์นั้น เป็นเวทนาอย่างบริสุทธิ์บริบูรณ์ในตัว เพราะไม่มีสิ่งกังวล ติดข้องค้างใจ หรือ เงื่อนปมใดๆ ภายใน ที่จะมารบกวน และ
อีกด้านหนึ่ง เป็นการเสวยอารมณ์อย่างไม่สยบ ไม่อภินันท์ ไม่ถูกครอบงำ หรือ ผูกมัดตัว ไม่ทำให้เกิดอาการยึดติด หรือ มัวเมาเป็นเงื่อนงำต่อไปอีก

ภาวะเช่นนี้ ย่อมเป็นไปอยู่ตลอดเวลาในการดำเนินชีวิต ตามปกติของพระอรหันต์ เป็นเรื่องปัจจุบันเฉพาะหน้า แต่ละเวลา แต่ละขณะ ที่รับรู้อารมณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งเรียกว่า ทิฏฐธรรม (แปลว่า อย่างที่เห็นๆกัน หรือทันตาเห็นในเวลานั้นๆ)

ตามความหมายดังที่กล่าวมานี้ นิพพานธาตุ อย่างที่หนึ่ง จึงต้องเป็นภาวะของพระอรหันต์ ที่ยังทรงชีพ และดำเนินชีวิตเกี่ยวข้องกับโลก ภายนอกอยู่ตามปกติ อย่างที่เห็นๆ กัน และทันตาเห็น เป็นปัจจุบัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบพระคุณมากค่ะ ลุงกรัชกาย
ที่ยกอาสวะขึ้นมาให้

s006 เอ่? จะมีใครเห็นอะไร ได้ชัดขึ้นมั๊ยคะ เนี่ย

ว่าปกติน่ะ มีหลายระดับ

ก็ว่ากันไป ว่าปกติๆๆๆๆ มาตั้งแต่เข้าวงการธรรมะ จนทั้งชีวิต

แต่ไม่รู้ว่า ปกติ ยิ่งกว่านั้น ก็มี

คืออาสวะ
huh

เห็นความสวย วนๆๆ ไปมั๊ยคะ 7 ?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ แปลว่า ภาวะของนิพพานที่ไม่มีอุปาทิเสสเหลืออยู่ หรือนิพพานที่ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ ได้แก่ นิพพานของพระอรหันต์พ้นจากเวลาที่เสวยอารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๕ หรือ นิพพานของพระอรหันต์ที่นอกเหนือจากความเกี่ยวของกับขันธ์ ๕ ในกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า ภาวะของนิพพานเองล้วนๆแท้ๆ ซึ่งประจักษ์แก่พระอรหันต์ในเมื่อประสบการณ์ ในกระบวนการรับรู้ทางประสาท ทั้ง ๕ สิ้นสุดลง หรือ ในเมื่อไม่มีการรับรู้ หรือ ในเมื่อไม่เกี่ยวข้องกับการรับรู้อารมณ์ทางประสาททั้ง ๕ เหล่านั้น (รวมทั้งอารมณ์ผ่านทางประสาททั้ง ๕ นั้น ที่ยังค้างอยู่ในใจ)

ขยายความออกไปว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ได้แก่ ภาวะนิพพานที่พระอรหันต์ประสบ อันเป็นส่วนที่ลึกซึ้งลงไป หรือ ล้ำเลยออกไปกว่าที่มองเห็นกันได้ พ้นจากเวลาที่เสวยอารมณ์ หรือ รับรู้ประสบการณ์ทางอินทรีย์ทั้ง ๕ แล้ว กล่าวคือ หลังจากรับรู้ประสบการณ์ หรือเสวยอารมณ์ โดยไม่อภินันท์ด้วยตัณหา ไม่เสริมแต่งคลอเคลีย หรือ กริ่มกรุ่นด้วยกิเลส คือ ราคะ โทสะ และโมหะ (อภินันทิตะ) แล้ว
อารมณ์หรือประสบการณ์เหล่านั้น ก็ไม่ค้างคาที่จะมีอำนาจครอบงำชักจูงหรือรบกวนต่อไปอีก จึงกลายเป็นของเย็น (สีติภวิสสนฺติ) คือ สงบราบคาบหมดพิษสงไป ไม่อาจก่อชาติก่อภพขึ้นได้อีก

พูดเป็นสำนวนว่า พระอรหันต์มีความสามารถพิเศษที่จะทำให้อารมณ์ หรือ ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา มีสภาพเป็นกลาง ปราศจากอำนาจครอบงำหน่วงเหนี่ยว กลายเป็นของสงบเย็นอยู่ใต้อำนาจของท่าน

พระอรหันต์ จึงได้ชื่อที่เป็นคุณลักษณะอย่างหนึ่งว่า สีติภูต หรือ สีตะ แปลว่า เป็นผู้เย็นแล้ว *


ภาวะที่ประจักษ์ โดยปราศจากประสบการณ์เสริมแต่งค้างคาอยู่ หรือ ภาวะที่ประสบ ในเมื่อไม่มีอารมณ์ภายนอกคั่งค้างครองใจ หรือ คอบรบกวนอยู่ เช่นนี้ นับว่าเป็นภาวะชั้นใน ซึ่งอยู่นอกเหนือจากการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก ล้ำเลยไปกว่าระดับการรับรู้ทางอินทรีย์ ๕ พ้นจากกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ที่พัวพันอยู่กับขันธ์ ๕ เรียกได้ว่า เป็นการเข้าถึงภาวะที่ปราศจากภพ หรือ ไม่มีภพใหม่


ในภาวะเช่นนี้ คือ เมื่อไม่มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์ ท่านผู้บรรลุนิพพานแล้ว ก็จึงมีนิพพานเป็นอารมณ์ คือ ประจักษ์หรือ ประสบนิพพานในฐานะที่เป็นธัมมายตนะ *

นิพพานในข้อที่สองนี้ เป็นด้านที่เพ่งถึงภาวะของนิพพานเองแท้ๆ ที่ประจักษ์แก่พระอรหันต์พ้นจากกระบวนการรับรู้เสวยอารมณ์ภายนอก นอกเหนือจากการดำเนินชีวิตตามปกติ เป็นภาวะที่พูดถึง หรือ บรรยายได้เพียงแค่ลักษณะของการเกี่ยวข้องกับนิพพาน นั้น ถึงจุดที่ประสบการณ์อย่างที่รู้ที่เข้าใจกัน ซึ่งไม่ใช่นิพพาน ได้สิ้นสุดลง

ส่วนภาวะนิพพานเองแท้ๆ ซึ่งลึกเลยไปกว่านั้น เป็นเรื่องของผู้ประสบ และประจักษ์เองจะรู้และเข้าใจ คือเป็นสันทิฏฐิกะ ดังได้กล่าวแล้ว


ถ้าจะอุปมา เปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลาย เหมือนคนที่ว่ายน้ำฝ่ากระแสคลื่นลมอยู่ในทะเลใหญ่
ผู้บรรลุนิพพาน ก็เหมือนคนที่ขึ้นฝั่งได้แล้ว

ภาวะที่อยู่บนฝั่งแล้ว ซึ่งเป็นภาวะเต็มอิ่มสมบูรณ์ในตัวของมันเอง มีความปลอดโปร่งโล่งสบาย ซึ่งบุคคลผู้นั้นประสบอยู่ภายใน ประจักษ์แก่ตนเองโดยเฉพาะ เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน

ส่วนภาวะที่ไม่ถูกบีบคั้นคุกคาม ไม่ติดขัดจำกัดตัวอยู่ในเกลียวคลื่น ไม่ถูกซัดไปซัดมา ไม่เป็นผู้ตกอยู่ใต้อำนาจของคลื่นลม สามารถเกี่ยวข้องกับสิ่งที่อยู่รอบตัวอย่างเป็นอิสระ และได้ผลดี ขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวได้ตามปรารถนา เปรียบได้กับสอุปาทืเสสนิพพาน

ถ้าจะอุปมาให้ใกล้ตัวมากกว่านั้น เปรียบมนุษย์ปุถุชนทั้งหลายเหมือนคนเจ็บไข้
ผู้บรรลุนิพพาน ก็เหมือนคนที่หายป่วยแล้ว หรือ คนที่สุขภาพดี ไม่มีโรค


ความไม่มีโรค หรือ ความแข็งแรงมีสุขภาพดีนั้น เป็นภาวะที่สมบูรณ์ในตัวของมันเอง ซึ่งบุคคลผู้นั้นจะประสบประจักษ์อยู่ภายในตนเองโดยเฉพาะ
ภาวะนี้จะอิ่มเอิบชื่นบาน ปลอดโปร่ง โล่งสบาย คล่องเบาอย่างไร เป็นประสบการณ์เฉพาะตัวของผู้นั้น
คนอื่นอาจจะคาดหมายตามอาการ และเหตุผล แต่ก็ไม่สามารถประสบเสวยได้ ภาวะนี้เปรียบได้กับอนุปาทิเสสนิพพาน
ส่วนภาวะอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเนื่องอยู่ด้วยกันนั่นเอง และอาจแสดงออกได้ หรือมีผลต่อการแสดงออกในการดำเนินชีวิต หรือ ติดต่อเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมต่างๆ คือ ความไม่ถูกโรคบีบคั้น ไม่อึดอัด ไม่อ่อนแอ ไม่ถูกขัดขวาง ถ่วง หรือชะงักงันด้วยความเจ็บปวดและอ่อนเปลี้ย เป็นต้น สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวทำอะไรต่างๆ ได้ตามต้องการ ภาวะนี้ เทียบได้กับสอุปาทิเสสนิพพาน

ที่อ้างอิง *

* เช่น ในข้อความว่า "ตถาคต...เป็นผู้ดับร้อนหมดแล้ว เย็นซึ้งเหมือนห้วงน้ำลึก" (ขุ.สุ.25/359/415) และ ("ผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว) เป็นผู้หายหิว ดับร้อน เย็นซึ้ง เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นพรหมอยู่แล้ว ตั้งแต่ในปัจจุบันทีเดียว" (ม.ม.13/17/17; 123/121; 643/588 ฯลฯ)

* ธัมมายตนะ อายตนะภายนอกอย่างที่ ๖ ได้แก่ ธรรมารมณ์ ซึ่งแยกได้เป็นขันธ์ ๔ กับนิพพาน (นิพพานเป็นธรรมนอกเหนือจากขันธ์ ๕ ดังในคัมภีร์ชั้นหลัง มีคำแสดงลักษณะนิพพาน อีกคำหนึ่งว่า "ขันธวิมุต" แปลว่า พ้นจากขันธ์ ๕ คือ จัดเข้าในขันธ์ ๕ ไม่ได้ (ปญฺจ. อ.389 ฯลฯ) แต่กระนั้น ก็จัดเข้าในธัมมายตนะด้วย (วิภงฺค.อ.67/)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 17:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สรุปความว่า นิพพานมีอย่างเดียว แต่แบ่งมองเป็น ๒ ด้าน

ด้านที่หนึ่ง คือ นิพพานในแง่ของความสิ้นกิเลส ซึ่งมีผลต่อการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก หรือต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน
ด้านที่สอง คือ นิพพานในแง่ที่เป็นภาวะจำเพาะล้วนๆ แท้ๆ ซึ่งเป็นประสบการณ์เฉพาะของผู้บรรลุ ไม่อาจหยั่งถึงด้วยประสบการณ์ทางอินทรีย์ ๕ เป็นเรื่องนอกเหนือจากประสบการณ์ที่เนื่องด้วยขันธ์ ๕ ทั้งหมด

อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายของนิพพานเองแท้ๆ ล้วนๆ (ไม่เกี่ยวข้องกับขันธ์ ๕ )

สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานตามความหมายในทางปฏิบัติ เมื่อสัมพันธ์กับ การดำเนินชีวิตประจำวัน

พูดอีกอย่างหนึ่งว่า อนุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีนิพพานเป็น อารมณ์
สอุปาทิเสสนิพพาน คือ นิพพานในความหมายที่พระอรหันต์มีขันธ์ ๕ เป็นอารมณ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 17:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นี่เขาก็คิดว่านิพพานตามแบบของเขา

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่กล่าวว่า อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง ภาวะของนิพพานเองแท้ๆ ล้วนๆ นั้น ต้องกับมติของพระอรรถกถาจารย์ ในคัมภีร์ปรมัตถทีปนี ซึ่งอธิบายว่า อมตมหานิพพานธาตุ เรียกว่า "อนุปาทิเสสา" ตรงกับภาวะที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า "มีอยู่นะ ภิกษุทั้งหลาย อายตนะที่ไม่มีปฐวี ไม่มีอาโป ไม่มีเตโช ไม่มีวาโย ไม่มีอากาสานัญจายตนะ" (ขุ.อุ.25/158/206)

นอกจากนั้น อรรถกถาฎีกาบางแห่ง อธิบายความหมายบ้าง ใช้ถ้อยคำบ้าง อันแสดงให้เห็นว่า อนุปาทิเสสนิพพาน ตรงกับ อนุปาทาปรินิพพาน * (ม.อ.2/209) ซึ่งหมายถึงภาวะของนิพพานที่เป็นจุดหมายในการปฏิบัติธรรม หรือเป็นที่บรรลุสูงสุดในพระพุทธศาสนา เป็นอันสนับสนุนคำอธิบายที่ได้แสดงมาแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ตามปกติ กระบวนการรับรู้ทางอินทรีย์ ๕ ก็ดี การติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก และการดำเนินชีวิตประจำวัน ก็ดี ย่อมสิ้นสุดลงอย่างแน่นอน และเด่นชัด เมื่อบุคคลสิ้นชีวิต ดังนั้น เมื่อพระอรหันต์สิ้นชีวิต เมื่อการรับรู้ทางอินทรีย์ ๕ ระงับสิ้นเชิงแล้ว นิพพานธาตุที่ท่านประสบ ย่อมมีแต่เพียงอย่างเดียว คือ อนุปาทิเสสนิพพาน ในภาษาสามัญ หรือ ถ้อยคำที่ใช้ทั่วไป อนุปาทิเสสนิพพาน จึงกลายมาเป็นคำเฉพาะสำหรับกล่าวถึงการสิ้นชีวิต ของพระอรหันต์

อนุปาทิเสสนิพพาน เปลี่ยนจุดเน้นจากการเป็นคำแสดงภาวะ กลายมาเป็นคำแสดงกิริยาอาการ หรือ บรรยายเหตุการณ์
ดังจะเห็นได้ว่า คำว่า อนุปาทิเสสนิพพาน ที่ใช้ ณ ที่อื่นจากนี้ ล้วนเป็นคำกล่าวถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธเจ้าหรือ พระอรหันต์สิ้นชีวิตเป็นพื้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 21:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนคำว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ไม่อาจใช้เป็นคำบรรยายเหตุการณ์ได้ และไม่จำเป็นต้องใช้ (เพราะมีคำอื่นใช้มากพออยู่แล้ว) จึงไม่ถูกกล่าวถึง ณ ที่อื่นใดในพระไตรปิฎกอีกเลย *


ที่อ้างอิง *

*สอุปาทิเสสนิพพาน และอนุปาทิเสสนิพพาน ที่มาคู่กัน เพื่อแสดงการแบ่งประเภทของนิพพานอย่างนี้ มีที่มาในพระไตรปิฎกเพียงแห่งเดียวตามที่มาซึ่งได้แสดงไว้แล้ว นอกนั้นมีแต่ สอุปาทิเสสบุคคล และอนุปาทิเสสบุคคล หรือ ไม่ก็อนุปาทิเสสนิพพาน ที่ใช้เดี่ยวๆ เพื่อกล่าวถึงการสิ้นชีวิตของพระอรหันต์


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 02:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
นี่เขาก็คิดว่านิพพานตามแบบของเขา

รูปภาพ


s006 เอ่?

ลุงลืมไปแระหล่ะค่ะ

ธรรมมานุวิปัสสนาที่หายไป หนึ่งข้อนั่นแหละ
อาจกำลังทำอยู่ ก็ได้
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 10:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในพระไตรปิฎก มีข้อความหลายแห่งกล่าวถึงเฉพาะอนุปาทิเสสนิพพานธาตุอย่างเดียว เช่น พุทธพจน์แสดงพระธรรมวินัย ว่า มีความอัศจรรย์เหมือนดังมหาสมุทร ๘ ประการ ข้อที่ ๕ ว่า แม้ภิกษุจำนวนมากมายจะปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ นิพพานธาตุจะปรากฏ ว่า พร่อง หรือ เต็มเพราะเหตุนั้นก็หามิได้
เปรียบได้กับสายฝนที่หลั่งลงจากฟากฟ้าสู่ท้องมหาสมุทร จะทำให้มหาสมุทรปรากฏเป็นพร่อง หรือ เต็มไปเพราะเหตุนั้นก็หามิได้
ในคัมภีร์มหานิทเทส เรียกสภาวะเช่นนี้ว่า อนภินิพพัตติสามัคคี (ความพร้อมเพรียงกันไม่แสดงตนในภพ หรือแปลง่ายๆว่า ความพร้อมใจกันไม่เกิด) (ขุ.ม.29/211/159)

บาลีแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติ ก็กล่าวถึงอนุปาทิเสสนิพพานธาตุหลายแห่ง แต่ละแห่งส่อแสดงว่าหมายถึงการปรินิพพานเมื่อสิ้นพระชนมชีพทั้งนั้น ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระฉวีวรรณของพระองค์ผุดผ่องเป็นพิเศษในสองคราว คือ ในราตรีที่ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และ ในราตรีที่ทรงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ (ที.ม.10/122/156) บิณฑบาตที่ถวายแด่พระองค์ มีอยู่ ๒ คราว ที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ยิ่งกว่าบิณฑบาตครั้งอื่นๆ คือ บิณฑบาตที่พระองค์เสวยแล้ว ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ และ ที่เสวยแล้วปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ * (ที.ม.10/126/158 ฯลฯ)

ตัวอย่างอื่นอีก เช่น สถานที่พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นสังเวชนียสถานหนึ่งในสี่แห่ง
การ ที่พระตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นเหตุปัจจัยอย่างหนึ่งแห่งแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ และอีกแห่งหนึ่งตรัสแสดงเหตุที่พระองค์ได้พระนาม "ตถาคต" ว่า เพราะพระดำรัสทั้งปวง ที่ตรัสในเวลาระหว่างตั้งแต่ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ จนถึงราตรีที่ทรงปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ล้วนคงตัวอย่างนั้น ไม่ผันแปรเป็นอย่างอื่น * (ที.ปา.11/120/148 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คือ ท่านต้องการแสดงหลักฐานทางคัมภีร์ว่า แบบไหนเป็นสอุปาทิเสสนิพพาน แบบไหนเป็นอนุปาทิเสสนิพพาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 75 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 111 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร