วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 00:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2019, 07:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กท.นี้ อุบัติขึ้น เพราะ คคห.โลกสวยนี้

อ้างคำพูด:
เอ่?
ลุงกรัชกายค๊ะ
เห็นไตรลักษณ์ยังไม่ได้หรอน๊อ

ทุกข์มั๊ยน๊อ
เที่ยงมั๊ยน๊อ
บังคับบัญชาได้มั๊ยน๊อ


s006 เอ่?

viewtopic.php?f=1&t=57207&p=440434#p440434


เรื่องไตรลักษณ์ เรื่องอนัตตาเนี่ย ชาวพุทธบ้านเราชอบพูดกัน นั่นๆนี่ๆ บังคับบัญชาไม่ได้ จะลงให้สังเกตนิดหน่อย เพราะเรื่องที่ว่านี้ ต้องรู้เห็นด้วยปัญญาภาวนา (ภาวนามยปัญญา) มิใช่ด้วยสุตะ มิใช่ด้วยจินตะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 มี.ค. 2019, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มจากตรงนี้ ตัดมานิดหน่อย

อันธรรมดาสามัญลักษณะของไตรลักษณ์ ปรากฏตัวอยู่ตลอดเวลาแม้ยามใช้ชีวิตปกติประจำวัน แต่มนุษย์ไม่เห็นมัน เพราะ ?


สิ่งที่ปิดบังไตรลักษณ์

ทั้งที่ความเป็นอนิจจัง ทุกข์ และอนัตตานี้ เป็นลักษณะสามัญของสิ่งทั้งหลาย เป็นความจริงที่แสดงตัวของมันเองอยู่ตามธรรมดาตลอดทุกเวลา
แต่คนทั่วไป ก็มองไม่เห็น ทั้งนี้ เพราะเป็นเหมือนมีสิ่งปิดบังคอยซ่อนคลุมไว้
ถ้าไม่มนสิการ คือ ไม่ใส่ใจพิจารณาอย่างถูกต้อง ก็มองไม่เห็น
สิ่งที่เป็นเหมือนเครื่องปิดบังซ่อนคลุมเหล่านี้ คือ

1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ
2. อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ
3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ

(สันตติ บังอนิจจลักษณะ)

1. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิด และความดับ หรือความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไป ก็ถูก สันตติ คือ ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้ อนิจจลักษณะ จึงไม่ปรากฏ
ฯลฯ

(อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ)

2. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความบีบคั้นกดดันที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูกอิริยาบถ คือความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ
ฯลฯ

(ฆนะ บังอนัตตลักษณะ)

3. ท่านกล่าว ว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆ ก็ถูกฆนะ คือ ความเป็นแท่ง เป็นก้อน เป็นชิ้นเป็นอัน เป็นมวล หรือ เป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณะจึงไม่ปรากฏ
ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 16:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เห็นไตรลักษณ์


สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.

เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์.

สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.


เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์ เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์.

สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ ยทา ปญฺญาย ปสฺสติ
อถ นิพฺพินฺทติ ทุกฺเข เอส มคฺโค วิสุทฺธิยา.


เมื่อใด บัณฑิตย่อมเห็นด้วยปัญญาว่า (สิ่ง) ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา เมื่อนั้น ย่อมเบื่อหน่ายในทุกข์ นั่นเป็นทางแห่งความบริสุทธิ์.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 มี.ค. 2019, 17:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


อ่ะ กระทุ้นี้ เกิดจากเม หรอค๊ะ

ไม่ใช่แระ เกิดจากลุงกรัชกายเองตะหาก


ที่ถุกต้อง คือ
1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต

ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน มาแล้วทั้งหมด

เดี่ยวเวลาลุงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด กระทุ้ก็จะ ค่อยๆดับไปเอง


tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 07:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
อ่ะ กระทุ้นี้ เกิดจากเม หรอค๊ะ

ไม่ใช่แระ เกิดจากลุงกรัชกายเองตะหาก


ที่ถุกต้อง คือ
1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต

ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน มาแล้วทั้งหมด

เดี่ยวเวลาลุงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด กระทุ้ก็จะ ค่อยๆดับไปเอง


tongue


ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน
มาแล้วทั้งหมด

การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์ ก็เรื่องหนึ่ง
วิปัสสนา ก็เรื่องหนึ่ง
มหาสติปัฏฐาน ก็เรื่องหนึ่ง

การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์ คือการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้ามี ๙ องค์ดังนี้
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=1219&Z=1219

วิปัสสนา คือ เห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
วิปัสสนาภาวนา คือ ความเพียรพยายามทำวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้น
สมถะ คือ ความสงบแต่งจิตภายใน
สมถะภาวนา คือ ความเพียรพยายามทำความสงบแห่งจิตภายในให้เกิดขึ้น

มหาสติปัฏฐาน เป็นการปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้เป็นแนวทาง กระทำให้มาก
ปฏิบัติให้มากแล้ว ย่อมถือเป็นการเจริญทั้งสมถะภาวนา วิปัสสนาภาวนา
ย่อมมีทั้งความสงบแห่งจิตภายใน ทั้งได้เห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นผล

อย่ากล่าวเหมารวม ตบแต่ง พลิกแพง เพื่อสนับสนุนความเห็นผิด คำพูดผิดต่าง ๆ
ของตนเอง เช่น ต้องศึกษาปริยัติทั้งหมด จึงจะสามารถปฏิบัติตรงตามคำสอน ผู้ไม่ได้ศึกษา
พระปริยัติพระอภิธรรมปฏิบัติผิดหมด , ปริยัติญาณ ปฏิบัติญาณ ปฏิเวธญาณ
, สมถะไม่ใช่พุทธวิชชา

1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต
ที่ถูกต้องคือ อัฌฌาสัยทั้ง ๔ ไม่จำเป็นต้องศึกษาปริยัติทั้งหมด ต้องอาศัยทั้งสมถะ ทั้ง วิปัสสนา
เพื่อยังมรรคให้เกิด เมื่อมรรคเกิดแล้วย่อมเสพให้มากกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเพื่อละสังโยชน์
ทั้งหลายและอนุสัย มหาสติปัฏฐานสูตรเป็นแนวทางปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าแนะแนวอ้างอิงจาก
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=0


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มี.ค. 2019, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
โลกสวย เขียน:
อ่ะ กระทุ้นี้ เกิดจากเม หรอค๊ะ

ไม่ใช่แระ เกิดจากลุงกรัชกายเองตะหาก


ที่ถุกต้อง คือ
1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต

ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน มาแล้วทั้งหมด

เดี่ยวเวลาลุงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด กระทุ้ก็จะ ค่อยๆดับไปเอง


tongue


ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน
มาแล้วทั้งหมด

การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์ ก็เรื่องหนึ่ง
วิปัสสนา ก็เรื่องหนึ่ง
มหาสติปัฏฐาน ก็เรื่องหนึ่ง

การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์ คือการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้ามี ๙ องค์ดังนี้
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=1219&Z=1219

วิปัสสนา คือ เห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
วิปัสสนาภาวนา คือ ความเพียรพยายามทำวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้น
สมถะ คือ ความสงบแต่งจิตภายใน
สมถะภาวนา คือ ความเพียรพยายามทำความสงบแห่งจิตภายในให้เกิดขึ้น

มหาสติปัฏฐาน เป็นการปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้เป็นแนวทาง กระทำให้มาก
ปฏิบัติให้มากแล้ว ย่อมถือเป็นการเจริญทั้งสมถะภาวนา วิปัสสนาภาวนา
ย่อมมีทั้งความสงบแห่งจิตภายใน ทั้งได้เห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นผล

อย่ากล่าวเหมารวม ตบแต่ง พลิกแพง เพื่อสนับสนุนความเห็นผิด คำพูดผิดต่าง ๆ
ของตนเอง เช่น ต้องศึกษาปริยัติทั้งหมด จึงจะสามารถปฏิบัติตรงตามคำสอน ผู้ไม่ได้ศึกษา
พระปริยัติพระอภิธรรมปฏิบัติผิดหมด , ปริยัติญาณ ปฏิบัติญาณ ปฏิเวธญาณ
, สมถะไม่ใช่พุทธวิชชา

1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต
ที่ถูกต้องคือ อัฌฌาสัยทั้ง ๔ ไม่จำเป็นต้องศึกษาปริยัติทั้งหมด ต้องอาศัยทั้งสมถะ ทั้ง วิปัสสนา
เพื่อยังมรรคให้เกิด เมื่อมรรคเกิดแล้วย่อมเสพให้มากกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเพื่อละสังโยชน์
ทั้งหลายและอนุสัย มหาสติปัฏฐานสูตรเป็นแนวทางปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าแนะแนวอ้างอิงจาก
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=0



วิปัสสนา = ปัญญา

สมถะ= สมาธิ

สติปัฏฐาน = สติ

ภาวนา คือ การทำสังขาร (สัมปยุตธรรม) ดังกล่าวให้เกิดขึ้น แค่นี้เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นำมาให้สังเกตเต็มๆเลย

1. สันตติ บังอนิจจลักษณะ

1. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความเกิด และความดับ หรือ ความเกิดขึ้น และความเสื่อมสิ้นไป ก็ถูกสันตติ คือ ความสืบต่อ หรือ ความเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ปิดบังไว้ อนิจจลักษณะ จึงไม่ปรากฏ

สิ่งทั้งหลายที่เรารู้เราเห็นนั้น ล้วนแต่มีความเกิดขึ้น และความแตกสลายอยู่ภายในตลอดเวลา แต่ความเกิด-ดับ นั้นเป็นไปอย่างหนุนเนื่องติดต่อกันรวดเร็วมาก คือ เกิด-ดับ-เกิด-ดับ-เกิด-ดับ ฯลฯ

ความเป็นไปต่อเนื่องอย่างรวดเร็วยิ่งนั้น ทำให้เรามองเห็นเป็น ว่า สิ่งนั้นคงที่ถาวร เป็นอย่างหนึ่งอย่างเดิม ไม่มีความเปลี่ยนแปลง เหมือน อย่างตัวเราเอง หรือ คนใกล้เคียงอยู่ด้วยกัน มองเห็นกันเสมือนว่า เป็นอย่างเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานสังเกตดู หรือ ไม่ เห็นกันนานๆ เมื่อพบกันอีก จึงรู้ว่าได้มีความเปลี่ยนแปลง ไปแล้วจากเดิม
แต่ความเป็นจริง ความเปลี่ยนแปลงนั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอด เวลา ทีละน้อย และต่อเนื่องจนไม่เห็นช่องว่าง

ตัวอย่างเปรียบเทียบ พอให้เห็นง่ายขึ้น เช่น ใบพัดที่กำลังหมุนอยู่อย่าง เร็วยิ่ง มองเห็นเป็นแผ่นกลมแผ่นเดียวนิ่ง
เมื่อทำให้หมุนช้าลง ก็ เห็นเป็นใบพัดกำลังเคลื่อนไหวแยกเป็นใบๆ
เมื่อจับหยุดมองดู ก็เห็นชัด ว่า เป็นใบพัดต่างหากกัน 2 ใบ 3 ใบ 4 ใบ
หรือเหมือนคนเอามือจับก้านธูป ที่จุดไฟติดอยู่แล้ ว แกว่งหมุนอย่างรวด เร็วเป็นวงกลม มองดูเหมือนเป็นไฟรูปวงกลม
แต่ความจริงเป็นเพียงธูปก้าน เดียว ที่ทำให้เกิดรูปต่อเนื่องติดเป็นพืดไป
หรือ เหมือนหลอดไฟฟ้าที่ติดไฟ อยู่สว่างจ้า มองเห็นเป็นดวงไฟที่สว่างคงที่ แต่ความจริงเป็นกระแสไฟฟ้า ที่เกิด-ดับไหลเนื่องผ่านไปอย่างรวดเร็ว
หรือ เหมือนมวลน้ำในแม่น้ำ ที่มองเห็นดูเป็นผืนหนึ่งผืนเดียว แต่ความจริงเป็นกระแสน้ำที่ไหลผ่านไปๆ เกิดจากน้ำหยดน้อยๆมากมายมารวมกัน และไหลเนื่อง
สิ่งทั้งหลายเช่นดังตัวอย่างเหล่านี้ เมื่อใช้เครื่องมือ หรือ วิธีการที่ ถูกต้องมากำหนดแยกมนสิการเห็นความเกิดขึ้นและความดับไป จึงจะประจักษ์ความ ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ เป็นอนิจจัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 15:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


2 อิริยาบถ บังทุกขลักษณะ

2. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการ ความบีบคั้น กดดัน ที่มีอยู่ตลอดเวลา ก็ถูกอิริยาบถ คือความยักย้ายเคลื่อนไหว ปิดบังไว้ ทุกขลักษณะจึง ไม่ปรากฏ

รูปภาพ

ภาวะที่ทนอยู่มิได้
หรือ ภาวะที่คงสภาพเดิมอยู่มิได้
หรือ ภาวะที่ไม่อาจคงอยู่ในสภาพเดิมได้ ด้วยมีแรงบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งเร้าอยู่ ภายในส่วนประกอบต่างๆนั้น จะถึงระดับที่ปรากฏแก่สายตา หรือ ความรู้สึกของคน มักจะต้องกินเวลาระยะหนึ่ง
แต่ในระหว่างนั้น ถ้ามีการคืบเคลื่อน ยักย้าย หรือ ทำให้แปรรูปเป็นอย่างอื่นไปเสียก่อน ก็ดี

สิ่งที่ถูกสังเกตเคลื่อนย้ายพ้นจากผู้สังเกตไปเสียก่อน หรือ ผู้สังเกตแยกพรากจากสิ่งที่ถูกสังเกตไปเสียก่อน ก็ดี
ภาวะที่บีบคั้น กดดัน ขัดแย้งนั้น ไม่ทันปรากฏให้เห็น ปรากฏการณ์ ส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้ ทุกขลักษณะ จึงไม่ปรากฏ


ตัวอย่างง่ายๆ ก็คือ ในร่างกายของมนุษย์นี้แหละ ไม่ต้องรอให้ถึงขั้นชีวิตแตกดับดอก
แม้ในชีวิตประจำวันนี้เอง ความบีบคั้น กดดัน ขัดแย้งก็มีอยู่ตลอดเวลา ทั่วองคาพยพ จนทำให้มนุษย์ไม่อาจอยู่นิ่งเฉยในท่าเดียวได้
ถ้าเราอยู่ หรือ ต้องอยู่ในท่าเดียวนานมากๆ เช่น ยืนอย่างเดียว นั่งอย่างเดียว เดินอย่างเดียว นอนอย่างเดียว ความบีบคั้น กดดันตามสภาวะจะค่อยๆ เพิ่มมากขึ้นๆ จนถึงระดับ ที่เกิดเป็นความรู้สึกบีบคั้น กดดัน ที่คนทั่วไปเรียก ว่า ทุกข์ เช่น เจ็บ ปวด เมื่อย จนในที่สุดก็จะทนไม่ไหว และต้องยักย้ายเปลี่ยน ไปสู่ท่าอื่น ที่เรียกว่า อิริยาบถ อื่น
เมื่อความบีบคั้น กดดัน อันเป็นทุกข์ตามสภาวะนั้นสิ้นสุดลง ความบีบคั้น กดดัน ที่เรียกว่า ความรู้สึกทุกข์ (ทุกขเวทนา) ก็หายไปด้วย
(ในตอนที่ความรู้สึกทุกข์หายไปนี้ มักจะมีความรู้สึกสบาย ที่เรียกว่าความสุขเกิดขึ้นมาแทนด้วย แต่อันนี้เป็นเพียงความรู้สึกเท่านั้น ว่าโดยสภาวะแล้ว มีแต่ความทุกข์หมดไปอย่างเดียว เข้าสู่ภาวะปราศจากทุกข์)

ในความเป็นอยู่ประจำวันนั้น เมื่อเราอยู่ในท่าหนึ่ง หรือ อิริยาบถหนึ่งนานๆ พอจะรู้สึกปวดเมื่อยเป็นทุกข์ เราก็ชิงเคลื่อนไหว เปลี่ยนไปสู่ท่าอื่น หรือ อิริยาบถอื่นเสีย
หรือ เรามักจะเคลื่อนไหว เปลี่ยนท่า เปลี่ยนอิริยาบถอยู่เสมอ จึงหนีรอดจากความรู้สึกทุกข์ไปได้
เมื่อไม่รู้สึกทุกข์ ก็เลยพลอยมองข้าม ไม่เห็นความทุกข์ที่เป็นความจริงตามสภาวะไปเสียด้วย ท่านจึงว่า อิริยาบถ บังทุกขลักขณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 17:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
โลกสวย เขียน:
อ่ะ กระทุ้นี้ เกิดจากเม หรอค๊ะ

ไม่ใช่แระ เกิดจากลุงกรัชกายเองตะหาก


ที่ถุกต้อง คือ
1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต

ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน มาแล้วทั้งหมด

เดี่ยวเวลาลุงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด กระทุ้ก็จะ ค่อยๆดับไปเอง


tongue


ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน
มาแล้วทั้งหมด

การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์ ก็เรื่องหนึ่ง
วิปัสสนา ก็เรื่องหนึ่ง
มหาสติปัฏฐาน ก็เรื่องหนึ่ง

การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์ คือการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้ามี ๙ องค์ดังนี้
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=1219&Z=1219

วิปัสสนา คือ เห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
วิปัสสนาภาวนา คือ ความเพียรพยายามทำวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้น
สมถะ คือ ความสงบแต่งจิตภายใน
สมถะภาวนา คือ ความเพียรพยายามทำความสงบแห่งจิตภายในให้เกิดขึ้น

มหาสติปัฏฐาน เป็นการปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้เป็นแนวทาง กระทำให้มาก
ปฏิบัติให้มากแล้ว ย่อมถือเป็นการเจริญทั้งสมถะภาวนา วิปัสสนาภาวนา
ย่อมมีทั้งความสงบแห่งจิตภายใน ทั้งได้เห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นผล

อย่ากล่าวเหมารวม ตบแต่ง พลิกแพง เพื่อสนับสนุนความเห็นผิด คำพูดผิดต่าง ๆ
ของตนเอง เช่น ต้องศึกษาปริยัติทั้งหมด จึงจะสามารถปฏิบัติตรงตามคำสอน ผู้ไม่ได้ศึกษา
พระปริยัติพระอภิธรรมปฏิบัติผิดหมด , ปริยัติญาณ ปฏิบัติญาณ ปฏิเวธญาณ
, สมถะไม่ใช่พุทธวิชชา

1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต
ที่ถูกต้องคือ อัฌฌาสัยทั้ง ๔ ไม่จำเป็นต้องศึกษาปริยัติทั้งหมด ต้องอาศัยทั้งสมถะ ทั้ง วิปัสสนา
เพื่อยังมรรคให้เกิด เมื่อมรรคเกิดแล้วย่อมเสพให้มากกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเพื่อละสังโยชน์
ทั้งหลายและอนุสัย มหาสติปัฏฐานสูตรเป็นแนวทางปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าแนะแนวอ้างอิงจาก
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=0



"อย่ากล่าวเหมารวม ตบแต่ง พลิกแพง เพื่อสนับสนุนความเห็นผิด คำพูดผิดต่าง ๆ
ของตนเอง เช่น ต้องศึกษาปริยัติทั้งหมด จึงจะสามารถปฏิบัติตรงตามคำสอน ผู้ไม่ได้ศึกษา
พระปริยัติพระอภิธรรมปฏิบัติผิดหมด , ปริยัติญาณ ปฏิบัติญาณ ปฏิเวธญาณ
, สมถะไม่ใช่พุทธวิชชา

อ้อ จริงค่ะ
ยกพระธรรม ทำลิ้ง มาอ้างความเห็นตน
แต่ เข้าใจผิดๆๆ
เพราะไม่ได้เรียนพระอภิธรรม ไม่ได้เรียนปริยัติ พระไตรปิฎก
เรยอ่านหนังสือไม่แตก

คัดลิ้่งพระสูตรมา โดยไม่รู้ว่า นวังคสัตถุศาสน์ แปลว่าอะไร

"นวังคสัตถุศาสน์ แปลว่า คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง"
มีตั้งแต่วันแรก ที่พระพุทธองค์ ประกาศพระศาสนา

และเมื่อหลังปรินิพพานไปแล้ว พระธรรมที่ทรงแสดงไว้ ในพระไตรปิฎก คือ
พระพุทธองค์ เป็นศาสดาแทนพระองค์

ดังนั้น ที่ถูกต้อง คือ พุทธสาวก ทั้งสี่สาย ต้องผ่านนวังคสัตถุศาสน์ จากพระบรมศาสดาทั้งหมด

1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต

สมถะ ไม่ใช่พุทธวิชชา มีมาตั้งแต่ก่อน ที่พระองค์จะประกาศพระศาสนา
grin


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 17:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Love J. เขียน:
โลกสวย เขียน:
อ่ะ กระทุ้นี้ เกิดจากเม หรอค๊ะ

ไม่ใช่แระ เกิดจากลุงกรัชกายเองตะหาก


ที่ถุกต้อง คือ
1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต

ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน มาแล้วทั้งหมด

เดี่ยวเวลาลุงเบื่อหน่าย คลายกำหนัด กระทุ้ก็จะ ค่อยๆดับไปเอง


tongue


ทั้งสี่สาย ต้องผ่านการ การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์
และเจริญภาวนปัญญา วิปัสสนาตามมหาสติปัฎฐาน
มาแล้วทั้งหมด

การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์ ก็เรื่องหนึ่ง
วิปัสสนา ก็เรื่องหนึ่ง
มหาสติปัฏฐาน ก็เรื่องหนึ่ง

การศึกษา นวคสัตถุศาสตร์ คือการศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้ามี ๙ องค์ดังนี้
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธรรม เวทัลละ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=1219&Z=1219

วิปัสสนา คือ เห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง
วิปัสสนาภาวนา คือ ความเพียรพยายามทำวิปัสสนาญาณให้เกิดขึ้น
สมถะ คือ ความสงบแต่งจิตภายใน
สมถะภาวนา คือ ความเพียรพยายามทำความสงบแห่งจิตภายในให้เกิดขึ้น

มหาสติปัฏฐาน เป็นการปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าแสดงไว้เป็นแนวทาง กระทำให้มาก
ปฏิบัติให้มากแล้ว ย่อมถือเป็นการเจริญทั้งสมถะภาวนา วิปัสสนาภาวนา
ย่อมมีทั้งความสงบแห่งจิตภายใน ทั้งได้เห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เป็นผล

อย่ากล่าวเหมารวม ตบแต่ง พลิกแพง เพื่อสนับสนุนความเห็นผิด คำพูดผิดต่าง ๆ
ของตนเอง เช่น ต้องศึกษาปริยัติทั้งหมด จึงจะสามารถปฏิบัติตรงตามคำสอน ผู้ไม่ได้ศึกษา
พระปริยัติพระอภิธรรมปฏิบัติผิดหมด , ปริยัติญาณ ปฏิบัติญาณ ปฏิเวธญาณ
, สมถะไม่ใช่พุทธวิชชา

1 สุขวิปัสสโก
2 เตวิชโช
3 ฉฬภิญโญ
4 ปฎิสัมภิทัปปัตโต
ที่ถูกต้องคือ อัฌฌาสัยทั้ง ๔ ไม่จำเป็นต้องศึกษาปริยัติทั้งหมด ต้องอาศัยทั้งสมถะ ทั้ง วิปัสสนา
เพื่อยังมรรคให้เกิด เมื่อมรรคเกิดแล้วย่อมเสพให้มากกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้นเพื่อละสังโยชน์
ทั้งหลายและอนุสัย มหาสติปัฏฐานสูตรเป็นแนวทางปฏิบัติที่พระพุทธเจ้าแนะแนวอ้างอิงจาก
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0
http://www.84000.org/tipitaka/read/byit ... agebreak=0



วิปัสสนา = ปัญญา

สมถะ= สมาธิ

สติปัฏฐาน = สติ

ภาวนา คือ การทำสังขาร (สัมปยุตธรรม) ดังกล่าวให้เกิดขึ้น แค่นี้เอง


tongue ขยิบตาให้ คริคริ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3. ฆนะ บังอนัตตลักษณะ

3. ท่านกล่าวว่า เพราะมิได้มนสิการความแยกย่อยออกเป็นธาตุต่างๆ ก็ถูกฆนะ คือ ความเป็นแท่ง เป็นก้อน เป็นชิ้น เป็นอัน เป็นมวล หรือเป็นหน่วยรวม ปิดบังไว้ อนัตตลักษณะจึงไม่ปรากฏ

สิ่งทั้งหลาย ที่เรียกว่า อย่างนั้นอย่างนี้ ล้วนเกิดจากเอาส่วนประกอบทั้งหลาย มารวบรวมปรุงแต่งขึ้น

เมื่อแยกย่อยส่วนประกอบเหล่านั้นออกไปแล้ว สิ่งที่เป็นหน่วยรวม ซึ่งเรียกว่า อย่างนั้นๆ ก็ไม่มี

โดยทั่วไป มนุษย์มองไม่เห็นความจริงข้อนี้ เพราะถูกฆนสัญญา คือ ความจำหมาย หรือ ความสำคัญหมายเป็นหน่วยรวม คอยปิดบังไว้ เข้ากับคำกล่าวอย่างชาวบ้านว่า เห็นเสื้อ แต่ไม่เห็นผ้า เห็นแต่ตุ๊กตา มองไม่เห็นเนื้อยาง คือ คนที่ไม่ได้คิดไม่ได้พิจารณา บางทีก็ถูกภาพตัวตนปิดบังตาหลอกไว้ ไม่ได้มองเห็นเนื้อผ้าที่ปรุงแต่งขึ้นเป็นรูปเสื้อนั้น ซึ่งว่าที่จริง ผ้านั้นเองก็ไม่มี มีแต่เส้นด้ายมากมาย ที่มาเรียงกันเข้าตามระเบียบ

ถ้าแยกด้ายทั้งหมดออกจากกัน ผ้านั้นเองก็ไม่มี

หรือเด็กที่มองเห็นแต่รูปตุ๊กตา เพราะถูกภาพตัวตนของตุ๊กตาปิดบังหลอกตาไว้ ไม่ได้มองถึงเนื้อยาง ซึ่งเป็นสาระที่แท้จริงของตัวตุ๊กตานั้น เมื่อจับเอาแต่ตัวจริง ก็มีแต่เนื้อยาง หามีตุ๊กตาไม่

แม้เนื้อยางนั้นเอง ก็เกิดจากส่วนผสมต่างๆ มาปรุงแต่งขึ้นต่อๆกันมา

ฆนสัญญา ย่อมบังอนัตตลักษณะไว้ในทำนองแห่งตัวอย่างง่ายๆ ที่ได้ยกมากล่าวไว้นี้
เมื่อใช้อุปกรณ์ หรือ วิธีการที่ถูกต้องมาวิเคราะห์มนสิการ เห็นความแยกย่อยออกเป็นส่วนประกอบต่างๆ จึงจะประจักษ์ในความไม่ใช่ตัวตน มองเห็น ว่า เป็นอนัตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 มี.ค. 2019, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เริ่มต้นเห็นไตรลักษณ์ โดยเขาไม่เข้าใจหลักวิชา กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่าสติปัฏฐานเลย

อ้างคำพูด:
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเรา จะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ


ซึ่งอันที่จริงเดินจงกรมก็เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 02:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เริ่มต้นเห็นไตรลักษณ์ โดยเขาไม่เข้าใจหลักวิชา กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่าสติปัฏฐานเลย

อ้างคำพูด:
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเรา จะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ


ซึ่งอันที่จริงเดินจงกรมก็เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน



"เริ่มต้นเห็นไตรลักษณ์ โดยเขาไม่เข้าใจหลักวิชา กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่าสติปัฏฐานเลย "

s006 เอ่?

เห็นเค้าเรียนกันตั้งแต่วิชาสังคมประถมสี่น๊ะค๊ะ เรื่องพระพุทธศาสนา
มีว่าไตรลักษณ์ๆๆ ด้วยน๊ะค๊ะเนี่ย

เอ่? s006
ไม่ต้องใช้ อนิจจานุปัสนาในมหาวิปัสสนา 18 เรยหรอค๊ะ

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 03:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ส.ค. 2018, 07:07
โพสต์: 482

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เริ่มต้นเห็นไตรลักษณ์ โดยเขาไม่เข้าใจหลักวิชา กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่าสติปัฏฐานเลย

อ้างคำพูด:
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเรา จะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ


ซึ่งอันที่จริงเดินจงกรมก็เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน



"เริ่มต้นเห็นไตรลักษณ์ โดยเขาไม่เข้าใจหลักวิชา กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่าสติปัฏฐานเลย "

s006 เอ่?

เห็นเค้าเรียนกันตั้งแต่วิชาสังคมประถมสี่น๊ะค๊ะ เรื่องพระพุทธศาสนา
มีว่าไตรลักษณ์ๆๆ ด้วยน๊ะค๊ะเนี่ย

เอ่? s006
ไม่ต้องใช้ อนิจจานุปัสนาในมหาวิปัสสนา 18 เรยหรอค๊ะ

smiley


ผมเห็นไตรลักษณ์ตอนยังไม่รู้จักคำว่า สติปัฏฐาน ๔ สัมมปทาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ สมถะ วิปัสสนะ มรรค ๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มี.ค. 2019, 04:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


Love J. เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เริ่มต้นเห็นไตรลักษณ์ โดยเขาไม่เข้าใจหลักวิชา กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่าสติปัฏฐานเลย

อ้างคำพูด:
รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธรรมนี่ได้ยินเขาสอนหมด เสียดายจำไม่ได้ ตอนฝึกก็ทำไม่เป็น

ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเรา จะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ


ซึ่งอันที่จริงเดินจงกรมก็เป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน



"เริ่มต้นเห็นไตรลักษณ์ โดยเขาไม่เข้าใจหลักวิชา กาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรียกว่าสติปัฏฐานเลย "

s006 เอ่?

เห็นเค้าเรียนกันตั้งแต่วิชาสังคมประถมสี่น๊ะค๊ะ เรื่องพระพุทธศาสนา
มีว่าไตรลักษณ์ๆๆ ด้วยน๊ะค๊ะเนี่ย

เอ่? s006
ไม่ต้องใช้ อนิจจานุปัสนาในมหาวิปัสสนา 18 เรยหรอค๊ะ

smiley


ผมเห็นไตรลักษณ์ตอนยังไม่รู้จักคำว่า สติปัฏฐาน ๔ สัมมปทาน ๔ อิทธิบาท ๔
อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ สมถะ วิปัสสนะ มรรค ๘


โอ้ สุดยอด ๆๆ ปัญญาเป็นเลิศ

smiley

คุณเห็นแบบไหนหรอค๊ะ?


พระเถรีท่านแสดงการเห็นไตรลักษณ์จากการปฎิบัติ แบบนี้ค่ะ


เมื่อกล่าวถึงการปฏิบัติของตน จึงกล่าวคาถาที่สองว่า เอวํ วิหรมานาย เป็นต้น :-
ในคาถาที่สองนั้น บทว่า เอวํ วิหรมานาย ความว่า เมื่อเราตั้งอยู่ในโอวาทที่พระอภัยเถระผู้เป็นบุตรให้แล้วโดยนัยว่า อุทฺธํ ปาทตลา เป็นต้น เห็นกายทุกส่วนว่าไม่งาม มีจิตแน่วแน่กำหนดรูปธรรมชนิดมหาภูตรูปและอุปาทายรูปในกายนั้น และอรูปธรรมมีเวทนาเป็นต้นที่เนื่องด้วยรูปธรรมนั้น ยกขึ้นสู่ไตรลักษณ์พิจารณาด้วยอนิจจานุปัสสนาญาณเป็นต้นในกายนั้น.


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 38 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron