วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 18:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 10:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธศาสนา คือ ระบบการพัฒนาความสุข


ในพระพุทธศาสนา มีการกล่าวถึงความสุขชื่อต่างๆ หลากหลายมากมาย และจัดแบ่งไว้ ทั้งโดยขั้น และโดยประเภท เป็นสุข ๒ อย่าง ๓ อย่าง ๓ ขั้น ๕ ขั้น ฯลฯ ๑๐ ขั้น สูงขึ้นๆไป จนถึงความสุขอย่างสูงสุด

ลองดูชื่อความสุข ในคัมภีร์ทั้งหลาย จะเห็นว่ามากมายเหลือเกิน ที่สำคัญก็มี ไม่สำคัญก็มี เช่นว่า บริโภคสุข อุปโภคสุข โภคสุข กายสุข จิตตสุข กายิกสุข เจตสิกสุข กามสุข สามิสสุข หรืออามิสสุข นิรามิสสุข อุตุสุข เกียรติสุข ปุถุชนสุข มนุษยสุข ทิพยสุข มหาชนสุข สรรพโลกสุข มธุรสุข กุศลสุข ธรรมิกสุข ภาวนาสุข นิตยสุข สังสารสุข โยคสุข โลกิยสุข โลกุตรสุข วัฏฏสุข โอฬาริกสุข สุขุมสุข สมาธิสุข ฌานสุข วิปัสสนาสุข อริยสุข อนริยสุข วิเวกสุข สันติสุข วิโมกขสุข วิมุตติสุข สัมโพธิสุข บรมสุข ดังนี้ เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งนี้ เมื่อพูดในแง่ปฏิบัติ ท่านกล่าวถึงความสุขต่างๆ พร้อมทั้งบอกด้วยว่า อย่างไหน ขั้นไหน ดีอย่างไร ยังมีข้อเสียอย่างไร ความสุขอีกอย่างหนึ่ง หรืออีกขั้นหนึ่ง ดีกว่าอย่างไร

การบอกให้รู้ว่าความสุขมีมากมาย แล้วก็มีความสุขที่ดีกว่ากัน สูงกว่ากันขึ้นไป ก็เป็นการบอกให้รู้ว่าเราจะต้องมีการก้าวหน้า หรือพัฒนาขึ้นไปในความสุข หรือให้ถึงความสุขที่สูงขึ้นไปๆ เหล่านั้นด้วย

เป็นอันว่า ความสุขมีมากมาย มีหลายขั้น หลายระดับ หลายประเภท และความสุขนั้นพัฒนาได้ และทุกคนก็ควรจะพัฒนาขึ้นไป จนกว่าจะถึงความสุขที่ดีเลิศยอดเยี่ยมที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 10:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ การมีความสุขมากมายหลายอย่างหลายขั้น และสุขอย่างนั้นดีกว่า แล้วอย่างโน้นยังดียิ่งกว่านั้นอีก ตลอดจนว่าเราควรพัฒนาขึ้นไปให้ถึงความสุขที่สูงขึ้นไปนั้น ก็แสดงว่า ความสุขขั้นนั้นๆ ถึงจะดี แต่ก็ยังมีความไม่สมบูรณ์ เรียกอย่างภาษาพระว่า มีข้อดี และข้อด้อย

ตรงนี้สำคัญ เมื่อเราจะพัฒนาก้าวหน้าไปได้ ก็ต้องรู้ข้อดี และข้อด้อย เป็นการจับจุดให้ชัด แล้วจึงจะพัฒนาไปได้ ดังนั้น พระพุทธเจ้าเวลาพูดถึงอะไร ก็จึงบอกให้ดูทั้งข้อดี และข้อด้อย หรือข้อดีและข้อเสียของสิ่งนั้นๆ เรื่องนั้นๆ พูดตามภาษาพระ ข้อดี เรียกว่า อัสสาทะ ข้อด้อย เรียกว่า อาทีนวะ

ยิ่งกว่านั้น ยังมีด้านที่ ๓ ต่อไปอีกว่า จะต้องมีนิสสรณะ คือ ทางออกหรือจุดที่ไปถึงแล้ว จะพ้นจากข้อดี และข้อด้อย นั้น หมายความว่า ไปสู่ภาวะที่สมบูรณ์หรือดีกว่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ เมื่อพูดถึงความสุขแต่ละอย่างๆ ก็ให้ใช้หลักแง่ด้าน ๓ ประการนี้ มาตรวจดูด้วยว่า ความสุขอย่างนี้ ขั้นนี้ ก็ดีนะ มันมีอัสสาทะ คือ ข้อดีอย่างนี้ๆ แต่มันก็มีอาทีนวะ คือ มีข้อด้อยข้อเสียอย่างนี้ๆ ด้วย

แล้วในเมื่อมันยังไม่สมบูรณ์อย่างนี้ เราจะมีทางออกหรือทางพ้นไปจากสภาพที่ไม่สมบูรณ์นั้นอย่างไร จะได้หมดปัญหาปลอดโปร่งโล่งไปได้ นี่แหละ นิสสรณะ พอถึงจุดนี้ การพัฒนาก็เดินหน้าต่อไปได้

เท่าที่พูดมานี้ เป็นการบอกให้รู้ว่า ทางพระพุทธศาสนาถือว่า ความสุขมีมากมาย แตกต่างหลากหลาย และความสุขนั้นเป็นภาวะที่ต้องพัฒนา และการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา พูดในสำนวนหนึ่ง ก็คือ การพัฒนาให้ก้าวไปในความสุขเหล่านั้น

เมื่อพูดมาถึงจุดนี้ ก็จะเห็นว่า การพัฒนาความสุขเป็นเรื่องใหญ่ และจะพูดว่า พระพุทธศาสนา คือระบบการพัฒนาความสุข ก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 10:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




46731837_2163760940530254_2941163964731490304_n.jpg
46731837_2163760940530254_2941163964731490304_n.jpg [ 16.96 KiB | เปิดดู 2078 ครั้ง ]
คุณโรส จำสามคำ คือ อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ พร้อมความหมายไว้ให้แม่น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 14:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
คุณโรส จำสามคำ คือ อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ พร้อมความหมายไว้ให้แม่น

Kiss
:b12:
อริยสัจจ์สี่มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไหนคะคำว่าสุขในอริยสัจจ์สี่อยู่ตรงไหนคะ
:b32:
ตัวตนนั้นมันมีอยู่แล้วก็ที่มีเราเห็นคนสัตว์วัตถุน่ะจำผิดไงคะ
มีเราที่ไหนในเห็นนั้นน่ะดูสิ...จิตเห็น=มหาภูตรูปที่เรียกว่าตาที่ไม่บอด+จักขุปสาทะรูป+แสงสี1สีดับทันที
มีเราและมีคนสัตว์วัตถุในเห็นไหมมีแต่อุปาทานขันธ์ยึดมั่นในธาตุ4ขันธ์5อายตนะ6ว่ามีตัวตนไปทำอะไรกัน
เดี๋ยวนี้เห็นก็เห็นแล้วได้ยินก็ได้ยินแล้วทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นธรรมดาตามปกติที่มีความไม่รู้ว่าทุกข์
ทุกข์เพราะไม่รู้ความจริงมันดับจริงๆมีตัวตนที่ไหนมีแต่เราอยากได้อยากดีอยากไปทำตามเขาลืมว่าขาดสุตะ
ก็จิตเห็นมีแค่สี1สีกระทบตาดับแล้วคิดนึกถึงอะไรนอกตานู่นแล้วก็ทำไปตามที่อยากทำบวชเห็นเงินก็รับเงิน
:b12:
ทุกข์เพราะไม่รู้ว่าข้างนอกนั่นน่ะไม่มีแสวงหาเงินทองมาเพื่อซื้อความสุขน่ะของมันมีที่ไหนหลงผิดว่ามีของไง
ไม่เคยจำว่าเห็นแค่สีกระทบตาดับแล้วเป็นโลกที่สั้นแสนสั้นดับไม่ย้อนกลับมาให้รู้อีกจนกว่าจะเริ่มฟังคำสอน
แล้วเข้าใจว่ามันไม่เที่ยงก็มันไม่มีอ่ะค่ะหลงยึดถือยึดมั่นว่ามีเรามีบ้านรถที่ดินพ่อแม่ผัวเมียลูกนั่นน่ะคืออะไร
มันมีตัวเราไหมก่อนเกิดเห็นไม่มีเห็นแล้วก็เห็นนิดเดียวแล้วหายไปเลยอนัตตาบังคับให้เห็นไม่ดับได้ไหมล่ะคะ
ธัมมะทั้งหลายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีใครเป็นเจ้าของธัมมะมันดับแล้วแปลว่ามีแต่สิ่งที่เกิดดับคือโลก
จิต6ทางเกิดดับทีละ1ขณะสลับกันจิตขณะต่อไปเกิดได้เมื่อจิตก่อนหน้านั้นดับไม่เหลือจึงเกิดจิตต่อๆไปได้
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คุณโรส จำสามคำ คือ อัสสาทะ อาทีนวะ และนิสสรณะ พร้อมความหมายไว้ให้แม่น

Kiss
:b12:
อริยสัจจ์สี่มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไหนคะคำว่าสุขในอริยสัจจ์สี่อยู่ตรงไหนคะ
:b32:
ตัวตนนั้นมันมีอยู่แล้วก็ที่มีเราเห็นคนสัตว์วัตถุน่ะจำผิดไงคะ
มีเราที่ไหนในเห็นนั้นน่ะดูสิ...จิตเห็น=มหาภูตรูปที่เรียกว่าตาที่ไม่บอด+จักขุปสาทะรูป+แสงสี1สีดับทันที
มีเราและมีคนสัตว์วัตถุในเห็นไหมมีแต่อุปาทานขันธ์ยึดมั่นในธาตุ4ขันธ์5อายตนะ6ว่ามีตัวตนไปทำอะไรกัน
เดี๋ยวนี้เห็นก็เห็นแล้วได้ยินก็ได้ยินแล้วทุกอย่างเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปเป็นธรรมดาตามปกติที่มีความไม่รู้ว่าทุกข์
ทุกข์เพราะไม่รู้ความจริงมันดับจริงๆมีตัวตนที่ไหนมีแต่เราอยากได้อยากดีอยากไปทำตามเขาลืมว่าขาดสุตะ
ก็จิตเห็นมีแค่สี1สีกระทบตาดับแล้วคิดนึกถึงอะไรนอกตานู่นแล้วก็ทำไปตามที่อยากทำบวชเห็นเงินก็รับเงิน
:b12:
ทุกข์เพราะไม่รู้ว่าข้างนอกนั่นน่ะไม่มีแสวงหาเงินทองมาเพื่อซื้อความสุขน่ะของมันมีที่ไหนหลงผิดว่ามีของไง
ไม่เคยจำว่าเห็นแค่สีกระทบตาดับแล้วเป็นโลกที่สั้นแสนสั้นดับไม่ย้อนกลับมาให้รู้อีกจนกว่าจะเริ่มฟังคำสอน
แล้วเข้าใจว่ามันไม่เที่ยงก็มันไม่มีอ่ะค่ะหลงยึดถือยึดมั่นว่ามีเรามีบ้านรถที่ดินพ่อแม่ผัวเมียลูกนั่นน่ะคืออะไร
มันมีตัวเราไหมก่อนเกิดเห็นไม่มีเห็นแล้วก็เห็นนิดเดียวแล้วหายไปเลยอนัตตาบังคับให้เห็นไม่ดับได้ไหมล่ะคะ
ธัมมะทั้งหลายเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่มีใครเป็นเจ้าของธัมมะมันดับแล้วแปลว่ามีแต่สิ่งที่เกิดดับคือโลก
จิต6ทางเกิดดับทีละ1ขณะสลับกันจิตขณะต่อไปเกิดได้เมื่อจิตก่อนหน้านั้นดับไม่เหลือจึงเกิดจิตต่อๆไปได้
:b32: :b32:


อ้างคำพูด:
อริยสัจจ์สี่มี ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ไหนคะคำว่าสุขในอริยสัจจ์สี่อยู่ตรงไหนคะ


ดูคุณโรสถามดิ ไม่อยากว่าเลย กลัวไปไม่กลับ คิกๆๆ

สุขในอริยสัจสี่ก็อยู่ตรงนิโรธนั่นไง เออ ถามได้ นิโรธเป็นใครถึงว่าเป็นสุข นิโรธ ก็นิพพานไง แล้วไงต่อ ก็ นิพพานัง ปรมัง สุขัง ไง เรื่องแค่นี้ไม่น่าถาม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 17:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธศาสนาสอนว่า สุขถึงได้ด้วยความสุข

ไม่ค่อยได้สังเกตกันว่า พระพุทธศาสนานี้เป็นพุทธศาสนาแห่งความสุข ยิ่งบางทีไปเจอคำสอนบางเรื่องทำนองว่า นั่นก็ทุกข์ นี่ก็ทุกข์ ก็นึกว่าพุทธศาสนาเต็มไปด้วยเรื่องทุกข์
บางคน พอเจอริยสัจ ๔ ขึ้นต้นข้อแรกว่า “ทุกข์” หรือพระดำรัสสรุปอริยสัจว่า ทั้งในกาลก่อนและบัดนี้ เราสอนแต่ทุกข์และนิโรธแห่งทุกข์ ก็อาจจะถึงกับบอกว่า พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งความทุกข์

เรื่องนี้ ควรย้ำกันบ่อยๆว่า อริยสัจสั้น พระพุทธเจ้าตรัสกิจต่อริยสัจกำกับไว้ ถ้าใครทำกิจต่ออริยสัจผิดไป ก็พลาดตั้งแต่ต้น ไม่ได้รู้จัก ไม่มีทางถึงพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะทุกข์นี้ เป็นอริยสัจข้อแรก จึงควรจะแม่นที่สุด ถ้าจะให้ง่าย ก็ท่องคำบาลีติดลิ้นไว้เลยว่า “ทุกขํ อริยสจฺจํ ปริญฺเญยฺยํ(ทุกขอริยสัจ พึงปริญญา)

เป็นอันว่า กิจหรือหน้าที่ของเราต่อทุกข์ คือ “ปริญญา” พูดเป็นภาษาไทยง่ายๆว่า ทุกข์นั้นสำหรับรู้เข้าใจ หรือรู้เท่าทันด้วยปัญญา คือ ทุกข์เป็นเรื่องสำหรับปัญญา ไม่ใช่เป็นเรื่องสำหรับเก็บไว้บีบใจ แต่ให้ใช้ปัญญารู้เข้าใจและแก้ไขให้เสร็จสิ้นไป อย่างที่ว่า ถ้าทุกข์มา ก็ส่งให้ปัญญาเอาไปจัดการ นี่คือ เริ่มเดินถูกทาง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คราวนี้ ก็มาถึงเรื่องความสุข ถ้าจะให้เห็นได้ง่าย ก็ดูที่พุทธประวัติ ทุกคนรู้ว่า ก่อนพระพุทธเจ้าตรัสรู้ ได้ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา คือ บำเพ็ญตบะทรมานร่างกายต่างๆ ตามนิยมของยุคนั้น ครั้นแล้ว ทรงมองเห็นว่าเป็นการปฏิบัติที่ผิด จึงได้ละเลิกทุกรกิริยา หันมาดำเนินในทางสายกลาง อันเป็นมัชฌิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้ นี่คือ เรามักรู้ หรือเรียนกันมาอย่างนี้ ซึ่งเป็นทำนองคำสรุป แต่ถ้าเราเข้าใจไปดูพุทธประวัติ ณ จุดนี้ จากพระไตรปิฎกโดยตรง ก็จะรู้จักพระพุทธศาสนาชัดเจนมากขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 17:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธเจ้าตรัสเล่าไว้ มีในโพธิราชกุมารสูตร เป็นต้นว่า พระองค์เอง ก่อนตรัสรู้ ทรงดำริว่า “ความสุขจะลุด้วยความสุขไม่ได้ แต่ความสุขนั้นจะต้องลุถึงด้วยความทุกข์” จึงได้เสด็จออกบวช

ครั้นแล้ว ได้เสด็จไปศึกษาในอาศรมของสองดาบส หลังจากนั้นทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาด้วยความเพียรอย่างแรงกล้า ได้รับทุกเวทนาแสนสาหัส ก็ไม่เป็นผลอะไร ได้ทรงตระหนักว่า จะลุถึงคุณวิเศษด้วยทุกรกิริยาหาได้ไม่ ตรงนี้สำคัญมาก คือทรงเล่าต่อไปถึงพระดำริว่า “ทางแห่งโพธิจะพึงมีเป็นอย่างอื่น”

ครั้นแล้ว ระลึกได้ถึงเหตุการณ์แต่ครั้งพระเยาว์ เมื่อประทับอยู่เงียบสงัดพระองค์เดียว ณ ได้ร่มเงาต้นหว้าอันสงบเย็นสบาย ได้ทรงเข้าถึงปฐมฌาน อันมีปีติและความสุขเป็นจุดเด่น

ครั้งนั้น ทรงสว่างหทัยว่า นั่นคือทาง ดังที่ตรัสกับพระองค์เองว่า “นี่แหละ คือทางแห่งโพธิ” (เอเสว มคฺโค โพธิยา” (ม.ม.13/488-508/443-461)

เมื่อทรงระลึกขึ้นได้ และชัดพระทัยดังนั้นแล้ว ยังทรงถามพระองค์เองอีกว่า เรากลัวไหม ต่อความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม ไม่ต้องมีอกุศลธรรมนั้น ทำนองตรวจสอบว่าเป็นความสุข ที่จะมีพิษภัยอะไรไหม ก็ทรงมีคำตอบเป็นทำนองความมั่นใจว่า เรามิได้กลัว

นี่แหละ จึงได้ทรงละเลิกทุกรกิริยา แล้วดำเนินในมรรคาแห่งความสุขอย่างนั้น ซึ่งเราสรุปด้วยคำว่า มัชฌิมาปฏิปทาใส่ลงไป แล้วก็ได้ตรัสรู้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 17:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จุดต่างที่จะต้องเน้นไว้ คือ ลัทธิมากมายในชมพูทวีป ถือว่า “สุขจะลุถึงด้วยสุขไม่ได้ จะลุถึงสุขต้องด้วยทุกข์” จึงบำเพ็ญตบะ ทำทุกรกิริยา
แต่พุทธศาสนาบอกว่า “สุขลุถึงได้ด้วยสุข” จึงเลิกทำทุกรกิริยา ไม่ให้บำเพ็ญตบะ ซึ่งเป็นอัตตกิลมถานุโยค ไม่ให้มัวทรมานตนให้ลำบากเสียเวลาเปล่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 17:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสุขขั้นต้นที่รู้จักกันเป็นพื้น คือ ความสุขทางวัตถุ หรือความสุขจากสิ่งเสพนั้น ต้องขึ้นต่อกาม ต้องอาศัยกาม จึงเรียกว่า กามสุข เมื่อพัฒนาความสุข ก็คือจะมีความสุขที่เหนือกว่าสูงกว่าดีกว่านี้ขึ้นไป ที่ต่างหากหรือต่างออกไปจากกามสุขนั้น ซึ่งเมื่อได้ความสุขนั้นแล้ว จะมีคู่กันพร้อมไปด้วยกับกามสุข หรือจะอยู่กับความสุขที่ดีกว่าประณีตกว่านั้นอย่างเดียวโดยเลิกหรือทิ้งกามสุขเสียเลย ก็สุดแต่พอใจเลือก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะสำคัญของความสุขที่พัฒนาสูงขึ้นไปนั้น นอกจากลดโทษหมดข้อเสียของความสุขที่พึ่งวัตถุแล้ว ก็คือ เป็นความสุขที่เป็นอิสระมากขึ้น สามารถมีความสุขได้โดยไม่ต้องพึ่งพา ไม่ต้องขึ้นต่อการเสพวัตถุ ดังนั้น ในคำที่ตรัส จึงมีข้อความว่า “ความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกามไม่ต้องมีอกุศลธรรม” หมายความว่า การพัฒนาความสุขนั้น ก้าวไปกับความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม ไม่ขึ้นต่อกาม เป็นอิสระจากกาม คือ ก้าวไปพร้อมด้วยความต้องการ หรือความปรารถนา ที่เรียกว่า ฉันทะ นั่นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 17:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกอย่างหนึ่ง ในการปฏิบัติที่ถูกต้องนี้ ข้อที่สำคัญก็คือ มีปัญญาที่ทำให้จิตใจเป็นอิสระ ถึงแม้ความสุขอย่างประเสริฐดีเลิศนั้น จะเกิดจะมีอยู่ตลอดเวลา ก็ไม่มาครอบงำจิตใจ เช่น ไม่อาจทำให้ติดเพลินหลงมัวเมาเหลิงลำพองสยบตัวอยู่ใต้ความประมาท เป็นต้น นี่ก็คือ ความสุขต้องมากับอิสรภาพ ในความสุขต้องมีอิสรภาพ และในอิสรภาพที่แท้ก็มีความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 17:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไมพระพุทธศาสนาเกิดขึ้นมา จึงเป็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ อย่างที่ว่าแผ่นดินไหว้ ตื่นกันไปตลอดถึงพรหมโลกชั้นสูงสุด ก็เพราะเป็นแนวคิดและวิถีชีวิตอย่างใหม่ อันให้ลุถึงสุขด้วยสุขนี่แหละ

ความสุขที่เป็นจุดหมาย ซึ่งใช้คำเรียกว่าเป็นบรมสุขนั้น มา กับ ปัญญาที่รู้แจ้งทำจิตใจให้เป็นอิสระ ที่แม้แต่ความสุขอย่างสูงก็ครอบงำไม่ได้ และความสุขนั้นก็เป็นอิสระ สุขแท้สุขจริง ไม่มีพิษไม่มีภัย ไม่ต้องหา ไม่ต้องพึ่งพา ไม่ขึ้นต่ออะไร มีประจำอยู่กับตัว จะอยู่ไหนไปไหนเมื่อใด ก็สดใสเบิกบานเป็นสุขทุกเวลา

สำหรับคนทั้งหลายที่ยังไม่ได้ลุถึงสุขสูงสุดนั้น ก็ไม่เป็นไร เมื่อรู้เข้าใจหลักแล้ว ก็มาพัฒนาความสุขกันต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 35 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 144 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร