วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 08:11  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ


พอจะได้ ใจพองฟูขึ้นไป เป็นปีติ ได้สมใจสงบลงมา เป็นความสุข

ก่อนจะพูดต่อไปถึงหลักในการปฏิบัติจัดการกับความต้องการ ขอแทรกเรื่องน่ารู้ ที่จะช่วยให้เข้าใจ หรือรู้จักความสุขได้ชัดเจนมากขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 06:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้บอกแล้วว่า ความสุข คือการได้สนองความต้องการ หรือ ความสมอยากสมปรารถนา

ที่จริง ความสมอยาก หรือการได้สนองความต้องการนั้น พูดอีกสำนวนหนึ่ง ก็คือ การทำให้ความต้องการสงบระงับไปนั่นเอง เหมือนอย่างระงับความกระหาย ด้วยการดื่มน้ำ หรือระงับความหิว ด้วยการกินอาหาร เมื่อความหิวคือความต้องการอาหารสงบไป หรือเมื่อความกระหายคือความต้องการน้ำสงบไป ก็เป็นความสุข

ดังนั้น เมื่อพูดตามความหมายนี้ ความสงบระงับไปของความต้องการนั่นเอง เป็นความสุข หรือพูดให้สั้นว่า ความสุข คือ ความสงบ

ทีนี้ ในการสนองความต้องการ หรือสมอยากสมปรารถนานั้น จิตใจกว่าจะมาถึงความสงบที่เป็นภาวะแห่งความสุข บางที ก็ได้ประสบ หรือได้เสวยภาวะที่น่าชื่นชมยินดีมาเป็นลำดับหลายขั้นหลายอย่าง โดยเฉพาะที่เด่น ก็คือ “ปีติ” ซึ่งมักพูดเข้าคู่เข้าชุดกันว่า “ปีติสุข”

ถ้าเรามองเห็นและเข้าใจภาวะจิตที่เป็นขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการสนองความต้องการนี้แล้ว ก็จะเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ความสุขเป็นความสงบอย่างไร และความสงบนั้น มีความหมายสำคัญแค่ไหนและดีอย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ



เริ่มที่ปีติ กับ สุข นี่แหละ ว่าไปตามหลักก่อน ท่านพูดให้ง่ายว่า ความปลื้มใจในการได้อารมณ์ที่ปรารถนา เป็นปีติ

การเสวยรสอารมณ์ที่ได้แล้ว เป็นสุข เช่น คนเดินทางกันดารมาแสนเหน็ดเหนื่อย เมื่อเห็นน้ำหรือได้ยินว่ามีน้ำ ที่จะได้กินได้ดื่ม ก็เกิดปีติ

พอเข้าไปสู่ร่มเงาหมู่ไม้และได้ลงดื่มกินอาบน้ำนั้น ก็มีความสุข

เพื่อให้เข้าใจชัดยิ่งขึ้น ท่านแสดงตัวอย่างให้เห็นเป็นขั้นตอนไว้ * (สงฺคณี อ.166) เหมือนดังว่า คนผู้หนึ่งเดินทางกันดารมาแสนไกล แดดก็ร้อนจนเหงื่อโซมตัว ทั้งหิวทั้งกระหายเหลือเกิน

ถึงจุดหนึ่ง เห็นคนเดินทางสวนมา ก็ถามว่า ในทางที่ผ่านมีน้ำดื่มที่ไหนบ้าง ?
นายคนนั้น ตอบว่า โน่น ดูสิ ข้างหน้าโน้น ท่านผ่านดงนั้นไป จะมีทั้งสระน้ำใหญ่และไพรสณฑ์ พอได้ฟังคำบอกแค่นั้น เขาก็ดีใจเหลือเกิน ร่าเริงขึ้นมาเลย

เมื่อเดินต่อจากที่นั้นไป ได้เห็นกลีบ ก้าน ใบ และดอกบัว เป็นต้น ที่ตกเกลื่อนบนพื้นดิน ก็ยิ่งดีใจร่าเริงมากขึ้นๆ เมื่อเดินต่อไปอีก ก็ได้เห็นคนมีผ้าเปียกผมเปียก ได้ยินเสียงไก่ป่าและนกยูง เป็นต้น แล้วใกล้เข้าไปๆ ก็เห็นไพรสณฑ์เขียวในบริเวณเขตสระน้ำ เห็นดอกบัวที่เกิดในสระ เห็นน้ำใสสะอาด เขาก็ยิ่งดีใจร่าเริงปลาบปลื้มยิ่งขึ้นไปๆ ทุกทีๆ

แล้วในที่สุด มาถึงสระ ก็กระโจน หรือก้าวลงไป พอถึงน้ำ ได้สัมผัส ก็ฉ่ำชื่น ใจที่ฟูขึ้นพองออกไป ก็สงบเข้าที่ เขาอาบดื่มตามชอบใจ ระงับความกระวนกระวายหมดไป เคี้ยวกินเหง้ารากบัว เป็นต้น จนอิ่มหนำ แล้วขึ้นจากสระ มาลงนอนใต้ร่มไม้เย็นสบาย มีลมอ่อนโชยมา พูดกับตัวเองว่า สุขหนอๆๆ

ตามตัวอย่างที่ท่านยกมาเปรียบเทียบนี้ จะเห็นว่า

ความดีใจปลาบปลื้มร่าเริง นับตั้งแต่ชายผู้นั้นได้ยินว่ามีสระน้ำและหมู่ไม้ จนกระทั่งได้เห็นน้ำ นั้นคือ ปีติ ซึ่งเป็นอาการร่าเริงยินดีในอารมณ์ที่เป็นขั้นก่อนหน้า

ส่วนที่เขาได้ลงไปอาบน้ำ กิน ดื่ม แล้วนอนรำพึงว่า สุขหนอๆๆ ที่ใต้ร่มไม้เย็นสบาย มีสายลมอ่อนๆโชยมา นี้คือ สุข ซึ่งอยู่ในตอนที่ได้เสวยอารมณ์

ปีติ นั่น มีลักษณะฟู พอง พลุ่งขึ้น ซู่ซ่าน ปลาบปลื้ม ซึ่งก็แสนจะดีอย่างยิ่ง แต่ถึงจะดีอย่างไร ปีติ จะค้างอยู่ไม่ได้ เพราะยังไม่สม ยังไม่บรรลุจุดหมาย สุดท้ายก็ต้องมาจบลงที่ความสุข ต้องดีสุดตรงที่ที่สุข ซึ่งก็คือสงบเข้าที่นั่นเอง

ถ้ายังไม่สงบ ก็ยังไม่สม ยังจบยังสมบูรณ์ไม่ได้ จึงมาดีที่สุดตรงที่สมและสงบลงได้ เรียกว่า เป็นสุข

ที่จริง ถ้าดูให้ละเอียด แยกให้ครบ ยังมีภาวะจิตอีกช่วงหนึ่ง อยู่ระหว่างปีติ กับ สุข อันนี้ก็สำคัญ เมื่อกี้เรามองแต่ด้านที่จะได้สนองระงับดับความต้องการได้สมอยากสมปรารถนา คือด้านได้ แต่เมื่อดูให้ละเอียด ก็ดูด้านของตัวความต้องการเองด้วย

ความต้องการนั้น ก็มีอาการของมัน เอง คือ ความรุนเร้า ความเร่าร้อน ความกดดัน ยิ่งถ้ารุนแรง ก็กลายเป็นความกระวนกระวาย ความเครียด ความกระสับกระส่าย จนถึงขั้นทุรนทุราย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทีนี้ ในกระบวนการสนองความต้องการนั้น เมื่อเข้ามาในขั้นตอนของการสนองที่จะได้สมปรารถนา ขณะที่ปีติฟู่ฟ่าแรงขึ้นนั้นเอง อีกด้านหนึ่ง มันก็ทำให้ความกระวนกระวาย เครียด เขม็ง กระสับกระสายที่เป็นอาการของความต้องการ ซึ่งมีผลทั้งต่อจิต และกาย ได้ผ่อนคลาย ระงับไป หายเร่าร้อน เย็นลง ราบลง กลายเป็นความเรียบรื่น ภาวะนี้ เรียกว่า “ปัสสัทธิ”

ปัสสัทธิ นี่แหละ เป็นตัวนำโดยตรงเข้าสู่ความสุข เพราะฉะนั้น เมื่อซอยละเอียดให้ชัด ท่านจึงพูดตามลำดับ ดังนี้ ว่า “ปีติ ปัสสัทธิ และสุข”

(ความต้องการฝ่ายตัณหา จะมีอาการเร่าร้อน กระวนกระวาย เครียด เป็นต้นนี้ได้เต็มที่ เพราะอยู่บนฐานของโมหะ และอิงกับความยึดถือตัวตน แต่ความต้องการฝ่ายฉันทะมา กับ ปัญญาเป็นปกติอยู่แล้ว ปัญญาจึงทำหน้าที่จัดปรับแก้และกันปัญหาเหล่านี้ไปพร้อมในตัว)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัสสัทธิ ความสงบกายสงบใจ, ความสงบใจแลอารมณ์, ความสงบเย็น, ความผ่อนคลายกายใจ

รูปภาพ


องค์ธรรมเป็นต้นเหล่านี้ เพียงแค่พูดยังไม่เห็นภาพประจักษ์เท่ากับการกระทำ เพราะฉะนั้น ต้องพิสูจน์ด้วยการกระทำ แต่ก็มิใช่ว่าทำตามรูปแบบอย่างนี้แล้วจะเห็นประจักษ์เลย ต้องฟันฝ่าธรรมารมณ์ทั้งที่ถูกใจขัดใจไปจนกว่าธรรมารมณ์นั้นลงตัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พอพูดถึงอาการของความต้องการ ก็เลยมีแง่ซับซ้อนเล็กน้อยที่ควรจะพูดไว้ประกอบความรู้ด้วย คือ นอกจากการระงับความต้องการด้วยการสนองที่พูดมานั้น ก็มีการระงับความต้องการด้วยการไม่สนอง ซึ่งเป็นการกระทำในทางตรงข้าม

ทีนี้ เมื่อความต้องการเกิดขึ้น ถ้าพยายามระงับด้วยการไม่สนองมัน ไม่ยอมตามมัน โดยขัดขวางหรือขัดขืนฝืนใจ กดข่มหรือบังคับ ก็จะยิ่งทำให้มีอาการรุนแรง เกิดความเร่าร้อนกระวนกระวายทุรนทุรายมากขึ้น และอาจจะระบายหรือระเบิดออกมา ทำให้เกิดทุกข์แก่ตน และเป็นภัยแก่คนอื่นมากมาย แล้วในโลกนี้ ก็แก้ไขกันด้วยวิธีสร้างโทษภัยแบบตอบโต้หรือตอบแทนย้อนกลับไป และเป็นการขู่ไว้ ไม่ใช่สงบจริง

เมื่อมาเข้าสู่กระบวนการฝึกศึกษาพัฒนาคน การมีจิตสำนึกที่จะฝึกตนก็ช่วยได้ระดับหนึ่ง แม้จะฝืนใจ แต่ข้างดีก็มีผลที่รู้สึกว่าได้ฝึกตนขึ้นมา แล้วก็อาจะดีใจที่ได้ทดสอบกำลังความสามารถในการฝึกตนนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 14:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่การฝึกฝนพัฒนายังมีวิธีมากกว่านี้ ทั้งวิธีการทางจิต และทางปัญญา


วิธีทางจิต ก็เช่น การให้ฝ่ายกุศลมีกำลังเหนือกว่า อย่างง่ายๆ ก็เช่น ให้ฉันทะ ที่ใฝ่รู้ใฝ่ดี ที่อยากค้นคว้าหาความรู้ แรงเข้มกว่าตัณหา ที่ใฝ่มั่วใฝ่เสพ ที่อยากหนีโรงเรียนไปกินเหล้ากับเพื่อนสุราบาน

อีกอย่างหนึ่ง คือ ใช้วิธีแทนที่ เช่น มองไปที่เงินของคุณ จ. อยากจะขโมยเอาเสีย แต่นึกถึงว่าคุณ จ. หาเงินมาด้วยความยากลำบาก มีทุกข์มากอยู่แล้ว ไม่ควรไปเพิ่มทุกข์ให้เขา เกิดกรุณา หรือการุณย์ขึ้นมา ตัณหาก็แห้งหายสงบไป


ส่วนวิธีทางปัญญา ก็เช่นว่า เขาเอาทองคำมาขายให้ในราคาแสนจะถูก ก็ตาลุกอยากได้เหลือเกิน แต่พอรู้ทันว่าเป็นทองเก๊ ความอยากได้ก็หายวับไปหมดสิ้น สงบลงได้ แต่ปัญญาอย่างนี้ ควรเรียกล้อว่าเป็นปัญญาเทียม แค่รู้ทันทองเก๊ พอแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปที


จะเป็นปัญญาแท้ ก็ต้องอย่างพระสาวกที่มองเห็นความจริงว่า เงินทองเพชรนิลจินดาประดาทรัพย์ ไม่ใช่แก่นสารของชีวิต ไม่เป็นของเราของเขาของใครจริง ทำชีวิตให้ดีงามประเสริฐเป็นสุขแท้จริงไม่ได้ ทั้งเราทั้งมันก็เป็นไปตามธรรมชาติ คือ อนิจจทุกขังอนัตตาทั้งนั้น
ถ้าจะอยู่กับมัน ก็ต้องใช้ประโยชน์อย่างรู้ทัน ไม่ให้เป็นเหตุก่อโทษทุกข์ภัย เมื่อจะเปิดโล่งสู่ความเป็นอิสรเสรีมีสุขที่แท้ ก็สละละได้ทั้งหมดในทันที อย่างนี้ คือ ปัญญาที่ทำให้ตัณหาไม่มีที่ตั้งตัว จึงสงบจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 14:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมแล้ว ไม่ว่าจะสงบระงับด้วยการสนองความต้องการ ก็ตาม หรือสงบระงับด้วยวิธีทางจิต ทางปัญญาให้ไม่ต้องสนองความต้องการที่ไม่ถูกไม่ดี ก็ตาม ความสงบนั้น ก็เป็นสุข และความสุขก็คือความสงบ สันติเป็นสุข สุขเป็นสันติ คือสันติสุข ดังความหมายที่ได้ว่ามา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: จบตอน พุทธธรรมหน้า ๑๐๗๕ :b53:


ต่อ

สองทางสายใหญ่ ที่จะเลือกไปสู่ความสุข

ที่

viewtopic.php?f=1&t=56796

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 145 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร