ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
สติโดยคุณค่าทางสังคม หรือในระบบจริยธรรม http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56676 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 27 ต.ค. 2018, 07:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | สติโดยคุณค่าทางสังคม หรือในระบบจริยธรรม |
สติโดยคุณค่าทางสังคม พุทธพจน์แสดงคุณค่าของสติในเสทกสูตรต่อไปนี้ เป็นตัวอย่างที่ดีแห่งหนึ่ง ซึ่งเชื่อมโยงให้เห็นความหมาย และคุณค่าในทางปฏิบัติที่ใกล้ชิดกันของอัปปมาท กับ สติ ช่วยให้เข้าใจความหมายของธรรมทั้งสองข้อชัดเจนยิ่งขึ้น และ ในเวลาเดียวกัน จะแสดงให้เห็นท่าทีของพุทธธรรมต่อชีวิตในทางสังคม ยืนยันว่า พุทธธรรมมองเห็นชีวิตด้านในของบุคคลโดยสัมพันธ์ กับ คุณค่าด้านนอก คือ ทางสังคมด้วย และถือว่าคุณค่าทั้งสองด้านนี้ เชื่อมโยงเนื่องถึงกัน ไม่แยกจากกัน และสอดคล้อง เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 27 ต.ค. 2018, 08:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติโดยคุณค่าทางสังคม หรือในระบบจริยธรรม |
เคยบอกพี่เมโลกสวยครั้งหนึ่งแล้วว่า พระพุทธเจ้าท่านสอนคน ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 27 ต.ค. 2018, 08:24 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติโดยคุณค่าทางสังคม หรือในระบบจริยธรรม |
ตัวอย่าง การใช้สติในการทำงาน ยิ่งทำงานเสี่ยงชีวิตยิ่งต้องมีสติ เช่น นักกายกรรมโลดโผน เป็นต้น “ภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นักกายกรรม ยกลำไม้ไผ่ขึ้นตั้งแล้ว เรียกศิษย์มาบอกว่า มานี่แน่ะเธอ เจ้าไต่ไม้ไผ่ขึ้นไปแล้วจงเลี้ยงตัวอยู่เหนือต้นคอของเรา” “ศิษย์รับคำแล้ว ก็ไต่ลำไม้ไผ่ขึ้นไปยืน เลี้ยงตัวอยู่บนต้นคอของอาจารย์ “คราวนั้น นักกายกรรม ได้พูดกับศิษย์ว่า ‘นี่แน่ะเธอ เธอจงรักษาฉันนะ ฉันก็จะรักษาเธอ เราทั้งสองระวังรักษากันและกันไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย” “ครั้นอาจารย์กล่าวดังนี้แล้ว ศิษย์จึงกล่าวบ้างว่า ‘ท่านอาจารย์ขอรับ จะทำอย่างนั้นไม่ได้ ท่านอาจารย์นั่นแหละ จงรักษาตัวเองไว้ ผมก็จักรักษาตัวผมเอง เราทั้งสองต่างระวังรักษาตัวของเราไว้อย่างนี้ จักแสดงศิลปะได้ด้วย จักได้เงินด้วย และจักลงจากลำไม้ไผ่ได้โดยสวัสดีด้วย’ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 27 ต.ค. 2018, 08:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติโดยคุณค่าทางสังคม หรือในระบบจริยธรรม |
ต่อ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า: “นั้นเป็นวิธีปฏิบัติที่ถูกต้องในเรื่องนั้น ดุจดังที่ศิษย์พูดกับอาจารย์นั่นเอง เมื่อคิดว่า ‘เราจะรักษาตัวเอง’ ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน (มีสติไว้) เมื่อคิดว่า ‘เราจะรักษาผู้อื่น’ ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐานเหมือนกัน” “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตน” “เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่น นั้นอย่างไร ? ด้วยการหมั่นปฏิบัติ ด้วยการเจริญอบรม ด้วยการทำให้มาก อย่างนี้แล เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาผู้อื่นด้วย” “เมื่อรักษาผู้อื่นก็ชื่อว่ารักษาตน นั้น อย่างไร ? ด้วยขันติ ด้วยอวิหิงสา ด้วยความมีเมตตาจิต ด้วยความเอ็นดูกรุณา อย่างนี้แล เมื่อรักษาผู้อื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนด้วย” “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อคิดว่า ‘เราจะรักษาตน’ ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อคิดว่า ‘เราจะรักษาผู้อื่น ’ก็พึงต้องใช้สติปัฏฐาน เมื่อรักษาตน ก็ชื่อว่ารักษาคนอื่น เมื่อรักษาคนอื่น ก็ชื่อว่ารักษาตนเอง” (สํ.ม.19/758-762/224-225) |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 27 ต.ค. 2018, 08:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: สติโดยคุณค่าทางสังคม หรือในระบบจริยธรรม |
สติโดยคุณค่าทางสังคม จบ ต่อ บทบาทของสติในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือการกำจัดอาสวกิเลส ที่ viewtopic.php?f=1&t=56677 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |