ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=56566
หน้า 1 จากทั้งหมด 19

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 23 ก.ย. 2018, 08:12 ]
หัวข้อกระทู้:  ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

คำว่า "แก้" "แก้อารมณ์" ซึ่งผู้ปฏิบัติธรรมบางแห่งบางสำนักใช้ในฐานรู้กันในกลุ่ม หมายถึง กำหนดรู้สภาวะซึ่งปรากฏแก่โยคีในขณะนั้นๆ ตามที่มันเป็นของมัน เป็นยังไง รู้สึกยังไง (แก้อารมณ์) ด้วยการกำหนดในใจยังงั้นอย่างนั้น ตรงกับความรู้สึก ตรงกับสภาวะ ไม่เลี่ยงไม่หลบ ตัวอย่างนี้ รู้สึกเหมือนโดนไฟช็อต ไม่ต่อไม่ได้ คือ พอรู้สึกเช่นนั้น ก็หยุด ทำคือนั่งอีกเหมือนโดนช็อตอีก นี่แหละภาษาพูดที่ใช้ในการปฏิบัติทางจิตว่า แก้,แก้อารมณ์ ด้วยการกำหนดในใจว่า ช็อตหนอๆๆ จั้กกะจี้หนอๆๆ (ตรงกับภาวะเลย)

ไม่ใช่ แก้ อย่างที่เข้าใจว่าเป็นแบบ "แก้กางเกง" "แก้ตัว" คือ ทำนองๆแก้จากที่เป็นอย่างนั้นไม่ให้มันเป็นอย่างเดิม ไม่ใช่ ไม่ใช่เลย

ดังตัวอย่างที่เมโลกสวยค้าน

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิ รู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตจนนั่งต่อไม่ได้

พอมีวิธีแก้มั้ยคะ เราทำอานาปานสติ แต่ไม่ได้จับที่ลมหายใจ แค่ดูการเคลื่อนที่ของลำตัว ตอนกลางวันนั่งไป 1 ชม. จนรู้ทั่วตัว แต่พอมาตอนเย็น นั่งแบบเดิม รู้สึกเหมือนโดนไฟช็อตอยู่เรื่อยๆ รู้สึกทีนึงก็หยุด พอนั่งอีกก็โดนช็อตอีก ความรู้สึกเหมือนจั้กกะจี้ค่ะ จนเราต้องนอนแทน แต่นอนก็หลับ พอมีวิธีแก้มั้ยคะ แบบว่านั่งไม่ได้เลย



อ้างคำพูด:
กรัชกาย

วิธีแก้คือกำหนดตามที่มันเป็น ตามที่รู้สึก นี่คือวิธีแก้



โลกสวยคิด

อ้างคำพูด:
โลกสวย

ไม่มีวิธีแก้หรอกค่ะ

อดีตมันผ่านไปแล้ว จะไปแก้ไขอะไรในอดีตนั้นไม่ได้หรอกค่ะ

สมาธิ ไม่ใช่นั่งนานๆ จะเรียกว่า เป็นสมาธิ ได้สมาธิ เก่งสมาธิ

แต่ องค์ธรรมสำคัญของสมาธิ คือเอกคัตตาจิต ค่ะ

ไม่ใช่ความรู้สึก ไม่ใช่ทุกข์เวทนา ไม่ใช่เสียง ไม่ใช่วิตก ไม่ใช่วิจาร ไม่ใช่ ลมหายใจ และไม่ใช่สุขเวทนา ค่ะ
รู้จักเสี้ยนหนามต่างๆ เหล่านี้

ก็จะทำสมาธิได้ถูกต้องถูกทางค่ะ

viewtopic.php?f=1&t=56561


เจ้าของ:  กรัชกาย [ 23 ก.ย. 2018, 08:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว คือ ความมีจิตต์แน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ได้แก่ สมาธิ (พจนานุกรม เขียน เอกัคตา) ดูฌาน

ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก

ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกจากฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติตามความเป็นจริง

ฌานปนกิจ กิจเผาศพ, การเผาศพ

(ฌาปนกิจ แถมให้ ธาตุตัวเดียวกัน คิกๆๆ)

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 23 ก.ย. 2018, 08:36 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

นี่คิดแบบมุมมองทั่วๆไป

อ้างคำพูด:
ไม่มีวิธีแก้หรอกค่ะ

อดีตมันผ่านไปแล้ว จะไปแก้ไขอะไรในอดีตนั้นไม่ได้หรอกค่ะ



ตัวอย่าง เช่น คนขับรถตกถนนล้อชี้ฟ้าไปแล้ว จะลุกขึ้นมาขอขับแก้ตัวใหม่แก้ไขใหม่ไม่ได้แล้ว (คราวนั้น) รอดมาได้ไม่ตาย ครั้งต่อไป ตั้งใจใหม่ว่า เราจะขับรถด้วยความระมัดระวังจะไม่ประมาท ทั่วๆไปคิดเรื่องแก้ แบบนี้ อดีตมันผ่านไปแล้วแก้ไม่ได้หรอกครับ/ค่ะ :b16:

แต่การปฏิบัติธรรม คือการฝึกหัดพัฒนาจิตนี่ไม่ใช่แบบนั้น คนละเรื่องกันเลย สภาวะไตรลักษณ์มันเป็นธรรมชาติธรรมดามีในทุกๆชีวิตอยู่แล้ว จะคิดแก้ไขแก้ตัวแบบขับรถตกถนนไม่ได้ ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แดดออก จะคิดแก้ตัวแก้ไขแบบขับคว่ำไม่ได้ มีทางเดียว คือ แก้, แก้อารมณ์ด้วยการกำหนดดูรู้ทันตามที่มันเป็น กำหนดทุกๆครั้ง กำหนดไปจนกว่าตัวเองจะเห็นจะเข้าใจธรรมชาติธรรมดาของชีวิต คือ รูปนาม นี่ความหมายแก้,แก้อารมณ์ ภาคปฏิบัติทางจิต :b1:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 23 ก.ย. 2018, 08:50 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

อ้างคำพูด:
สมาธิ ไม่ใช่นั่งนานๆ จะเรียกว่า เป็นสมาธิ ได้สมาธิ เก่งสมาธิ



ตัดมาเท่าที่ต้องการชี้ให้เห็น ดูเต็มก็ที่

http://larndham.org/index.php?/topic/27 ... ntry393770


อ้างคำพูด:
หลังจากนั้นมีวันหนึ่ง ผมเกิดนึกอยากนั่งสมาธิขึ้นมา ผมก็เลยนั่งสมาธิกำหนดลมหายใจ (ก่อนหน้านี้ตอนเด็กๆ เวลาคุณครูที่รร.สั่งให้นั่งสมาธิในห้องเรียน ให้พยายามตามดูลมหายใจจะรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องที่น่าเบื่อ น่าปวดหัวมาก แต่คาดว่าคงเป็นเพราะจากที่ได้ฝึกในชีวิตประจำวัน ทำให้ตั้งแต่นั่งครั้งนี้ก็ไม่รู้สึกเช่นนั้นอีก) ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน



ที่ขีดเส้นใต้นั่นแหละคืออาการของจิตที่มีที่เป็นสมาธิแล้ว คือว่า จิตใจอยู่กับสิ่งที่ทำที่กำหนดได้นานๆ :b13:

นี่แปลว่า เราจะต้องฝึกฝนฝึกหัดพัฒนาจิตแล้ว วิธีการฝึกก็อย่างที่มีในตำรา ที่เรียกว่า กรรมฐาน คือ ลมหายใจเข้า-ออก (อานาปานะ+สติ) อาการพอง-ยุบของท้อง (พลิกแพลงได้) กสิณ แบบต่างๆ เป็นสนามฝึก โดยเริ่มฝึกจากเวลาน้อยไปก่อน แล้วก็ขยายเวลาให้นานขึ้นเป็นชั่วโมงๆ ถ้าใครทำได้ฝึกได้โดยที่จิตอยู่กับอารมณ์ที่กำหนดได้นานๆ นี่จิตเป็นสมาธิแล้ว

เรื่องนี้ มันต้องลองต้องพิสูจน์ พูด,ฟัง ไม่พอหรอก มันต้องทำต้องปฏิบัติด้วย

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 23 ก.ย. 2018, 09:01 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

คนเราใช้ชีวิตปกติ เหมือนอาการนี้จะไม่ปรากฏ แต่พอมนสิการ (ทำใจ,กำหนดในใจ,ว่าในใจ) รูปนามเท่านั้นแหละ ว่าไปๆๆ จิตเริ่มนิ่งๆหายฟุ้งลงบ้าง (มันจะเป็นสมาธิ) เอาเลยสภาวะปรากฏเลย ดูตัวอย่างนี้

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วเหมือนโดนไฟช็อต

รู้สึกมาหลายครั้งแล้วค่ะ พอจิตเริ่มนิ่งอยู่กับลมแล้ว รู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต แบบจั้กจี้ ใครเคยเป็นบ้างคะ เราต้องเลิกนั่งเพราะเหตุนี้หลายครั้งแล้วค่ะ ไม่สะบายตัวแบบแปลกๆ และเป็นเฉพาะช่วงที่ความคิดรบกวนน้อยลง



นั่นล่ะ ที่โยคีไม่เข้าใจชีวิต พูดแบบกว้างสุดซอย ก็คือการไม่เข้าใจธรรมชาติ พูดแบบชาวบ้านๆ ก็ว่าไม่เข้าใจตัวเอง

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 23 ก.ย. 2018, 09:09 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่ ไม่ฟุ้งซ่าน, ภาวะที่จิตั้งเรียบแน่วอยู่ในอารมณ์ คือ สิ่งอันหนึ่งอันเดียว, มักใช้เป็นคำเรียกง่ายๆ สำหรับ อธิจิตตสิกขา

สภาพ, สภาวะ ความเป็นเอง, สิ่งที่เป็นเอง

สภาวธรรม หลักแห่งความเป็นเอง, สิ่งทีเป็นเองตามธรรมดาของเหตุปัจจัย

สภาวทุกข์ ทุกข์ที่เป็นเองตามคติแห่งธรรมดา

เจ้าของ:  โลกสวย [ 23 ก.ย. 2018, 19:25 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

กรัชกาย เขียน:
นี่คิดแบบมุมมองทั่วๆไป

อ้างคำพูด:
ไม่มีวิธีแก้หรอกค่ะ

อดีตมันผ่านไปแล้ว จะไปแก้ไขอะไรในอดีตนั้นไม่ได้หรอกค่ะ



ตัวอย่าง เช่น คนขับรถตกถนนล้อชี้ฟ้าไปแล้ว จะลุกขึ้นมาขอขับแก้ตัวใหม่แก้ไขใหม่ไม่ได้แล้ว (คราวนั้น) รอดมาได้ไม่ตาย ครั้งต่อไป ตั้งใจใหม่ว่า เราจะขับรถด้วยความระมัดระวังจะไม่ประมาท ทั่วๆไปคิดเรื่องแก้ แบบนี้ อดีตมันผ่านไปแล้วแก้ไม่ได้หรอกครับ/ค่ะ :b16:

แต่การปฏิบัติธรรม คือการฝึกหัดพัฒนาจิตนี่ไม่ใช่แบบนั้น คนละเรื่องกันเลย สภาวะไตรลักษณ์มันเป็นธรรมชาติธรรมดามีในทุกๆชีวิตอยู่แล้ว จะคิดแก้ไขแก้ตัวแบบขับรถตกถนนไม่ได้ ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แดดออก จะคิดแก้ตัวแก้ไขแบบขับคว่ำไม่ได้ มีทางเดียว คือ แก้, แก้อารมณ์ด้วยการกำหนดดูรู้ทันตามที่มันเป็น กำหนดทุกๆครั้ง กำหนดไปจนกว่าตัวเองจะเห็นจะเข้าใจธรรมชาติธรรมดาของชีวิต คือ รูปนาม นี่ความหมายแก้,แก้อารมณ์ ภาคปฏิบัติทางจิต :b1:



ไม่ใช่แล้วหละค่ะคุณลุงกรัชกาย
เพราะคุณลุงไม่ได้ปฎิบัติ ไม่ได้เรียนปริยัติ เอามาตัดแปะๆๆ

แบบนั้น ได้สมาธิอย่างมั่วหละค่ะ
ไม่ตรงตามพระพุทธองค์ทรงแสดง

แถมมั่ว ไม่ดูเฉยๆ

ไปกำหนดเอาอารมณ์อื่น มาไล่ มากลบ อารมณ์ที่เกิด
เพราะคิดเองเออเอง ว่าแบบนั้นจะเป็นวิธีแก้


ไปเอากำหนดรูปนามมามั่วในสมาธิอีกแน่ะ และจะไปกำหนดทุกครั้งๆๆอีก ตลอดในสมาธิ

เพราะคุณลุงกรัชกายไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรม ไม่ได้ปฎิบัติ เอาแต่ตัดแปะๆ
เรยไม่เข้าใจว่า


ในสมาธิฌาน 1 ภาวะสำคัญที่เป็นอุปการะแก่ฌาน คือกายวิเวก จิตวิเวก

คุณลุงกรัชกาย ดันไปแนะนำ กำหนดเอาเจตสิก คิดรูปนามไปแทรกอีกระหว่างเกิดอาการเกิดอารมณ์ทุกครั้งๆ

ก็เรยไม่ได้พบ วิเวก เรยตลอดในสมาธิ

จิตวิเวก แบบของลุง เพี้ยนไปมากๆๆๆๆๆๆๆๆ จากที่พระพุทธองค์สอนค่ะ

ฌาน1 ก็เหลวไม่เป็นท่าแล้ว หละค่ะ ทำแบบนั้น จิตวิเวกไม่ได้

จะไปต่อ สมาธิในฌาน 2 ก็ไม่สามารถพัฒนา เป็นฌาน2 ได้
เพราะต้องกำหนดอารมรณ์อืนๆ ไปกำหนดเอารูปนาม ทุกครั้งแบบที่ลุงบอก ไปแทรก

ก็ตกอยุ่ไต้อำนาจ วิตกวิจารไป นะคะ

อย่าไปฌานสามเรย

เริ่มต้นก็แนะนำเค้าผิดๆแล้วหล่ะค่ะ
เหลวไหลจริงๆ เรยลุงคนนี้



เจ้าของ:  โลกสวย [ 23 ก.ย. 2018, 19:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

นี่แหละน๊า เมจึงบอกว่า ให้รู้จักเสี้ยนหนามให้ดีก่อน

แบบลุงว่านั้น ทำเสี้ยนหนาม ให้เป็นท่อนซุง เป็นตอใหญ่ เรยหละค่ะ

ไม่ใช่สมาธิแล้วหละค่ะ




เจ้าของ:  โลกสวย [ 23 ก.ย. 2018, 20:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

กรัชกาย เขียน:
คนเราใช้ชีวิตปกติ เหมือนอาการนี้จะไม่ปรากฏ แต่พอมนสิการ (ทำใจ,กำหนดในใจ,ว่าในใจ) รูปนามเท่านั้นแหละ ว่าไปๆๆ จิตเริ่มนิ่งๆหายฟุ้งลงบ้าง (มันจะเป็นสมาธิ) เอาเลยสภาวะปรากฏเลย ดูตัวอย่างนี้

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วเหมือนโดนไฟช็อต

รู้สึกมาหลายครั้งแล้วค่ะ พอจิตเริ่มนิ่งอยู่กับลมแล้ว รู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต แบบจั้กจี้ ใครเคยเป็นบ้างคะ เราต้องเลิกนั่งเพราะเหตุนี้หลายครั้งแล้วค่ะ ไม่สะบายตัวแบบแปลกๆ และเป็นเฉพาะช่วงที่ความคิดรบกวนน้อยลง



นั่นล่ะ ที่โยคีไม่เข้าใจชีวิต พูดแบบกว้างสุดซอย ก็คือการไม่เข้าใจธรรมชาติ พูดแบบชาวบ้านๆ ก็ว่าไม่เข้าใจตัวเอง


เลิกนั่งลุกออกมา นั่นแหละทางแก้ค่ะ

ให้ออกมาวิปัสสนา พิจารณาในอารมณ์และสิ่งที่เกิดลงในปรมัตถ์
โดยความเป็นอนัตตา โดยอริยสัจจ
เช่น จะพิจารณา ขันธ์5 อายตนะ 12 ก็ได้

แต่โดยย่อ กำหนดพิจารณา นามรูป ก็ได้ ถ้าเข้าใจ

ไม่ใช่นั่งสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไปแบบคุณลุงกรัชกายมั่วไปค่ะ
สร้างอารมณ์ซ้อนอารมณ์ ทำเสี้ยนหนามให้พอกจนเป็นท่อนซุง เป็นตอ

พิจารณาเสร็จแล้วก็ไปนั่งต่อ เริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ
ถ้าไม่ได้ ก็ออกมา กำหนดวิปัสสนาใหม่
แล้วก็กลับไปเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ

ไม่ใช่ทำสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไป กำหนดนามรูปไป ไม่ใช่กำหนดทุกครั้งๆๆ ค่ะ



พูดแบบชาวบ้าน ก็ว่า
ลุงกรัชกายมั่วแหลกค่ะ มั่วปนกันหมด ไม่รู้ว่าอะไรคือสมาธิ อะไรคือวิปัสสนา
เพราะไม่ได้เรียนปริยัติ ไม่ได้ปฎิบัติถูกต้อง
นี่แค่พื้นฐานนะคะ ยังมั่วแหลกขนาดนี้

ลุงกรัชกายนี่ เหลวไหลซ้ำซาก จริงๆเรยค่ะ





เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 ก.ย. 2018, 11:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คนเราใช้ชีวิตปกติ เหมือนอาการนี้จะไม่ปรากฏ แต่พอมนสิการ (ทำใจ,กำหนดในใจ,ว่าในใจ) รูปนามเท่านั้นแหละ ว่าไปๆๆ จิตเริ่มนิ่งๆหายฟุ้งลงบ้าง (มันจะเป็นสมาธิ) เอาเลยสภาวะปรากฏเลย ดูตัวอย่างนี้

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วเหมือนโดนไฟช็อต

รู้สึกมาหลายครั้งแล้วค่ะ พอจิตเริ่มนิ่งอยู่กับลมแล้ว รู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต แบบจั้กจี้ ใครเคยเป็นบ้างคะ เราต้องเลิกนั่งเพราะเหตุนี้หลายครั้งแล้วค่ะ ไม่สะบายตัวแบบแปลกๆ และเป็นเฉพาะช่วงที่ความคิดรบกวนน้อยลง



นั่นล่ะ ที่โยคีไม่เข้าใจชีวิต พูดแบบกว้างสุดซอย ก็คือการไม่เข้าใจธรรมชาติ พูดแบบชาวบ้านๆ ก็ว่าไม่เข้าใจตัวเอง




เลิกนั่งลุกออกมา นั่นแหละทางแก้ค่ะ

ให้ออกมาวิปัสสนา พิจารณาในอารมณ์และสิ่งที่เกิดลงในปรมัตถ์
โดยความเป็นอนัตตา โดยอริยสัจจ
เช่น จะพิจารณา ขันธ์5 อายตนะ 12 ก็ได้

แต่โดยย่อ กำหนดพิจารณา นามรูป ก็ได้ ถ้าเข้าใจ

ไม่ใช่นั่งสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไปแบบคุณลุงกรัชกายมั่วไปค่ะ
สร้างอารมณ์ซ้อนอารมณ์ ทำเสี้ยนหนามให้พอกจนเป็นท่อนซุง เป็นตอ

พิจารณาเสร็จแล้วก็ไปนั่งต่อ เริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ
ถ้าไม่ได้ ก็ออกมา กำหนดวิปัสสนาใหม่
แล้วก็กลับไปเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ

ไม่ใช่ทำสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไป กำหนดนามรูปไป ไม่ใช่กำหนดทุกครั้งๆๆ ค่ะ



พูดแบบชาวบ้าน ก็ว่า
ลุงกรัชกายมั่วแหลกค่ะ มั่วปนกันหมด ไม่รู้ว่าอะไรคือสมาธิ อะไรคือวิปัสสนา
เพราะไม่ได้เรียนปริยัติ ไม่ได้ปฎิบัติถูกต้อง
นี่แค่พื้นฐานนะคะ ยังมั่วแหลกขนาดนี้

ลุงกรัชกายนี่ เหลวไหลซ้ำซาก จริงๆเรยค่ะ








อ้างคำพูด:
เลิกนั่งลุกออกมา นั่นแหละทางแก้ค่ะ


คิกๆๆ โลกสวยลุกไป นั่งอีกก็เป็นอีก ซึ่งมันไม่ใช่ทางแก้


อ้างคำพูด:
ให้ออกมาวิปัสสนา พิจารณาในอารมณ์และสิ่งที่เกิดลงในปรมัตถ์
โดยความเป็นอนัตตา โดยอริยสัจจ
เช่น จะพิจารณา ขันธ์5 อายตนะ 12 ก็ได้



คิกๆๆ ก็มันเป็นอนัตตาอยู่นั่นไง จะลุกหนีไปไหน แล้วชีวิตซึ่งพูดตามภาษาทางธรรม ซึ่งท่านจำนแนกโดยขันธ์ มันก็มี ๕ ขันธ์แล้วไง ถ้าจำแนกโดยอายตนะ มันก็มี ๑๒ แล้วไง จำแนกโดยธาตุ มันก็มี ๑๘ แล้วไง คิกๆๆ

อย่าลุกหนีชีวิตจิตใจตัวเองเลย นั่งดูมันเถอะ :b32:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 ก.ย. 2018, 11:14 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คนเราใช้ชีวิตปกติ เหมือนอาการนี้จะไม่ปรากฏ แต่พอมนสิการ (ทำใจ,กำหนดในใจ,ว่าในใจ) รูปนามเท่านั้นแหละ ว่าไปๆๆ จิตเริ่มนิ่งๆหายฟุ้งลงบ้าง (มันจะเป็นสมาธิ) เอาเลยสภาวะปรากฏเลย ดูตัวอย่างนี้

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วเหมือนโดนไฟช็อต

รู้สึกมาหลายครั้งแล้วค่ะ พอจิตเริ่มนิ่งอยู่กับลมแล้ว รู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต แบบจั้กจี้ ใครเคยเป็นบ้างคะ เราต้องเลิกนั่งเพราะเหตุนี้หลายครั้งแล้วค่ะ ไม่สะบายตัวแบบแปลกๆ และเป็นเฉพาะช่วงที่ความคิดรบกวนน้อยลง



นั่นล่ะ ที่โยคีไม่เข้าใจชีวิต พูดแบบกว้างสุดซอย ก็คือการไม่เข้าใจธรรมชาติ พูดแบบชาวบ้านๆ ก็ว่าไม่เข้าใจตัวเอง


เลิกนั่งลุกออกมา นั่นแหละทางแก้ค่ะ

ให้ออกมาวิปัสสนา พิจารณาในอารมณ์และสิ่งที่เกิดลงในปรมัตถ์
โดยความเป็นอนัตตา โดยอริยสัจจ
เช่น จะพิจารณา ขันธ์5 อายตนะ 12 ก็ได้

แต่โดยย่อ กำหนดพิจารณา นามรูป ก็ได้ ถ้าเข้าใจ

ไม่ใช่นั่งสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไปแบบคุณลุงกรัชกายมั่วไปค่ะ
สร้างอารมณ์ซ้อนอารมณ์ ทำเสี้ยนหนามให้พอกจนเป็นท่อนซุง เป็นตอ

พิจารณาเสร็จแล้วก็ไปนั่งต่อ เริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ
ถ้าไม่ได้ ก็ออกมา กำหนดวิปัสสนาใหม่
แล้วก็กลับไปเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ

ไม่ใช่ทำสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไป กำหนดนามรูปไป ไม่ใช่กำหนดทุกครั้งๆๆ ค่ะ



พูดแบบชาวบ้าน ก็ว่า
ลุงกรัชกายมั่วแหลกค่ะ มั่วปนกันหมด ไม่รู้ว่าอะไรคือสมาธิ อะไรคือวิปัสสนา
เพราะไม่ได้เรียนปริยัติ ไม่ได้ปฎิบัติถูกต้อง
นี่แค่พื้นฐานนะคะ ยังมั่วแหลกขนาดนี้

ลุงกรัชกายนี่ เหลวไหลซ้ำซาก จริงๆเรยค่ะ







อ้างคำพูด:
เลิกนั่งลุกออกมา นั่นแหละทางแก้ค่ะ


จะให้ดูว่าลุกหนีไปแล้ว กลับมาทำอีก มันก็เจอะอีก อ้าวดูตัวอย่าง


ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป

วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพักประมาณสิบนาทีเริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจน เวียนหัวจึงนั่งต่อไม่ได้ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น

เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก

จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆ แล้วก็หมุนอีกหมุนอีก

จนลาสิกขามา ก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม

คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฐฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลยหมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย

ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปป ก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น

คำถามครับ

1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง

2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือ วิปัสสนากรรมฐาน คือ อะไรครับ

ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนา ทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมัน เป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด
แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ
หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 ก.ย. 2018, 12:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

วิปัสสนา นี่คนอยากได้ ชอบพูดกันบ่อยๆ จะเอาวิปัสสนา ไม่เอาสมถะว่า :b32: อนัตตาก็พูดบ่อยๆ

อ้าวดูความหมายทั้งวิปัสสนา อนัตตา

วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม, ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์ อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้, การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มัน เป็น

ไตรลักษณ์ ลักษณะสาม, อาการที่เป็นเครื่องกำหนดหมายให้รู้ถึงความจริงของสภาวธรรมทั้งหลาย ที่เป็นอย่างนั้นๆ ๓ ประการ ได้แก่

๑. อนิจจตา ความเป็นของไม่เที่ยง

๒. ทุกขตา ความเป็นทุกข์ หรือ ความเป็นของคงทนอยู่มิได้

๓. อนัตตตา ความเป็นของมิใช่ตัวตน (คนไทยนิยมพูดสั้นๆว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา และแปลง่ายๆว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา)

ลักษณะเหล่านี้ มี ๓ อย่าง จึงเรียกว่า ไตรลักษณ์

ลักษณะ ทั้ง ๓ นี้ มีแก่สิ่งทั้งหลายเป็นสามัญเสมอเหมือนกัน คือ ทุกอย่างที่เป็นสังขตะ เป็นสังขาร ล้วนไม่เที่ยง คงทนอยู่มิได้ เสมอเหมือนกันทั้งหมด ทุกอย่างที่เป็นธรรม ทั้งสังขตะ คือ สังขาร และอสังขตะ คือ วิสังขาร ล้วนมิใช่ตน ไม่เป็นอัตตา เสมอกันทั้งสิ้น จึงเรียกว่า สามัญลักษณะ

ลักษณะเหล่านี้ เป็นของแน่นอน เป็นกฎธรรมชาติ มีอยู่ตามธรรมดา จึงเรียกว่า ธรรมนิยาม

ในพระไตรปิฎก หลักนี้ชื่อว่า ธมฺมนิยามตา ส่วน ไตรลักษณ์ และสามัญลักษณะ เป็นคำที่เกิดขึ้นในยุคอรรถกถา

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 ก.ย. 2018, 12:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
คนเราใช้ชีวิตปกติ เหมือนอาการนี้จะไม่ปรากฏ แต่พอมนสิการ (ทำใจ,กำหนดในใจ,ว่าในใจ) รูปนามเท่านั้นแหละ ว่าไปๆๆ จิตเริ่มนิ่งๆหายฟุ้งลงบ้าง (มันจะเป็นสมาธิ) เอาเลยสภาวะปรากฏเลย ดูตัวอย่างนี้

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วเหมือนโดนไฟช็อต

รู้สึกมาหลายครั้งแล้วค่ะ พอจิตเริ่มนิ่งอยู่กับลมแล้ว รู้สึกเหมือนถูกไฟช็อต แบบจั้กจี้ ใครเคยเป็นบ้างคะ เราต้องเลิกนั่งเพราะเหตุนี้หลายครั้งแล้วค่ะ ไม่สะบายตัวแบบแปลกๆ และเป็นเฉพาะช่วงที่ความคิดรบกวนน้อยลง



นั่นล่ะ ที่โยคีไม่เข้าใจชีวิต พูดแบบกว้างสุดซอย ก็คือการไม่เข้าใจธรรมชาติ พูดแบบชาวบ้านๆ ก็ว่าไม่เข้าใจตัวเอง


เลิกนั่งลุกออกมา นั่นแหละทางแก้ค่ะ

ให้ออกมาวิปัสสนา พิจารณาในอารมณ์และสิ่งที่เกิดลงในปรมัตถ์
โดยความเป็นอนัตตา โดยอริยสัจจ
เช่น จะพิจารณา ขันธ์5 อายตนะ 12 ก็ได้

แต่โดยย่อ กำหนดพิจารณา นามรูป ก็ได้ ถ้าเข้าใจ

ไม่ใช่นั่งสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไปแบบคุณลุงกรัชกายมั่วไปค่ะ
สร้างอารมณ์ซ้อนอารมณ์ ทำเสี้ยนหนามให้พอกจนเป็นท่อนซุง เป็นตอ

พิจารณาเสร็จแล้วก็ไปนั่งต่อ เริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ
ถ้าไม่ได้ ก็ออกมา กำหนดวิปัสสนาใหม่
แล้วก็กลับไปเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ

ไม่ใช่ทำสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไป กำหนดนามรูปไป ไม่ใช่กำหนดทุกครั้งๆๆ ค่ะ



พูดแบบชาวบ้าน ก็ว่า
ลุงกรัชกายมั่วแหลกค่ะ มั่วปนกันหมด ไม่รู้ว่าอะไรคือสมาธิ อะไรคือวิปัสสนา
เพราะไม่ได้เรียนปริยัติ ไม่ได้ปฎิบัติถูกต้อง
นี่แค่พื้นฐานนะคะ ยังมั่วแหลกขนาดนี้

ลุงกรัชกายนี่ เหลวไหลซ้ำซาก จริงๆเรยค่ะ







อ้างคำพูด:
แต่โดยย่อ กำหนดพิจารณา นามรูป ก็ได้ ถ้าเข้าใจ

ไม่ใช่นั่งสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไปแบบคุณลุงกรัชกายมั่วไปค่ะ
สร้างอารมณ์ซ้อนอารมณ์ ทำเสี้ยนหนามให้พอกจนเป็นท่อนซุง เป็นตอ

พิจารณาเสร็จแล้วก็ไปนั่งต่อ เริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ
ถ้าไม่ได้ ก็ออกมา กำหนดวิปัสสนาใหม่
แล้วก็กลับไปเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ

ไม่ใช่ทำสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไป กำหนดนามรูปไป ไม่ใช่กำหนดทุกครั้งๆๆ ค่ะ



อ้างคำพูด:
พิจารณาเสร็จแล้วก็ไปนั่งต่อ เริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ

ถ้าไม่ได้ ก็ออกมา กำหนดวิปัสสนาใหม่

แล้วก็กลับไปเริ่มต้นทำสมาธิใหม่ค่ะ


เมโลกสวย เล่นเข้า-ออกแบบนั้นเลยนะฮะ ทั้งเห็นผิดเพี้ยนไปว่า นั่งเป็นสมาธิ ลุกขึ้นคือเลิกนั่งเป็นวิปัสสนา ลุกไปเข้าห้องน้ำก็เป็นวิปัสสนาแล้ว ออกจากน้ำเดินเข้าห้องนอนนั่งทำสมาธิใหม่ เป็นสมาธิ เล่นตีกินกันง่ายๆเลยนะฮะ :b32: ไม่ลงทุนเรย คิกๆๆ


นี่อีก

อ้างคำพูด:
ไม่ใช่ทำสมาธิไป กำหนดวิปัสสนาไป กำหนดนามรูปไป ไม่ใช่กำหนดทุกครั้งๆๆ ค่ะ


ย้อนกลับไปที่หลัก คือ สติปัฏฐาน ๔ จุด นะฮะ

๑. กายานุปัสสนา

๒.เวทนานุปัสสนา

่๓. จิตตานุปัสสนา

๔. ธัมมานุปัสสนา

สี่ข้อนี่เข้าหมดทั้งรูปทั้งนามเลยนะฮะ นั่งหัวโด่อยู่ ก็มีทั้งกาย (รูป) กำหนดรูปไปสิฮะ พองหนอ ยุบหนอ เกิดคันขึ้นมาก็คันหนอๆๆ

พองหนอ ยุบหนอไป เกิดมันเจ็บมันปวดขึ้นมา ก็เจ็บหนอ ปวดหนอ นี่ก็เวทนานะฮะ

พองหนอ ยุบหนอไป จิตไม่อยู่กับพองกับยุบ มันแว้บคิดนั่นคิดนี่ ก็คิดหนอๆๆๆ ไปสิฮะ

พองหนอ ยุบหนอ เป็นต้นไป เกิดง่วงขึ้นมา ก็ง่วงหนอๆๆๆๆ สิฮะ

เห็นไหมฮะ ไม่ต้องลุกไปไหน นั่งอยู่ตรงนั้นแหละ ทั้งสมาธิ (สมถะ) วิปัสสนาก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นๆนะฮะ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 ก.ย. 2018, 17:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
นี่คิดแบบมุมมองทั่วๆไป

อ้างคำพูด:
ไม่มีวิธีแก้หรอกค่ะ

อดีตมันผ่านไปแล้ว จะไปแก้ไขอะไรในอดีตนั้นไม่ได้หรอกค่ะ



ตัวอย่าง เช่น คนขับรถตกถนนล้อชี้ฟ้าไปแล้ว จะลุกขึ้นมาขอขับแก้ตัวใหม่แก้ไขใหม่ไม่ได้แล้ว (คราวนั้น) รอดมาได้ไม่ตาย ครั้งต่อไป ตั้งใจใหม่ว่า เราจะขับรถด้วยความระมัดระวังจะไม่ประมาท ทั่วๆไปคิดเรื่องแก้ แบบนี้ อดีตมันผ่านไปแล้วแก้ไม่ได้หรอกครับ/ค่ะ :b16:

แต่การปฏิบัติธรรม คือการฝึกหัดพัฒนาจิตนี่ไม่ใช่แบบนั้น คนละเรื่องกันเลย สภาวะไตรลักษณ์มันเป็นธรรมชาติธรรมดามีในทุกๆชีวิตอยู่แล้ว จะคิดแก้ไขแก้ตัวแบบขับรถตกถนนไม่ได้ ฝนตก ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แดดออก จะคิดแก้ตัวแก้ไขแบบขับคว่ำไม่ได้ มีทางเดียว คือ แก้, แก้อารมณ์ด้วยการกำหนดดูรู้ทันตามที่มันเป็น กำหนดทุกๆครั้ง กำหนดไปจนกว่าตัวเองจะเห็นจะเข้าใจธรรมชาติธรรมดาของชีวิต คือ รูปนาม นี่ความหมายแก้,แก้อารมณ์ ภาคปฏิบัติทางจิต :b1:



ไม่ใช่แล้วหละค่ะคุณลุงกรัชกาย
เพราะคุณลุงไม่ได้ปฎิบัติ ไม่ได้เรียนปริยัติ เอามาตัดแปะๆๆ

แบบนั้น ได้สมาธิอย่างมั่วหละค่ะ
ไม่ตรงตามพระพุทธองค์ทรงแสดง

แถมมั่ว ไม่ดูเฉยๆ

ไปกำหนดเอาอารมณ์อื่น มาไล่ มากลบ อารมณ์ที่เกิด
เพราะคิดเองเออเอง ว่าแบบนั้นจะเป็นวิธีแก้


ไปเอากำหนดรูปนามมามั่วในสมาธิอีกแน่ะ และจะไปกำหนดทุกครั้งๆๆอีก ตลอดในสมาธิ

เพราะคุณลุงกรัชกายไม่ได้ศึกษาพระอภิธรรม ไม่ได้ปฎิบัติ เอาแต่ตัดแปะๆ
เรยไม่เข้าใจว่า


ในสมาธิฌาน 1 ภาวะสำคัญที่เป็นอุปการะแก่ฌาน คือกายวิเวก จิตวิเวก

คุณลุงกรัชกาย ดันไปแนะนำ กำหนดเอาเจตสิก คิดรูปนามไปแทรกอีกระหว่างเกิดอาการเกิดอารมณ์ทุกครั้งๆ

ก็เรยไม่ได้พบ วิเวก เรยตลอดในสมาธิ

จิตวิเวก แบบของลุง เพี้ยนไปมากๆๆๆๆๆๆๆๆ จากที่พระพุทธองค์สอนค่ะ

ฌาน1 ก็เหลวไม่เป็นท่าแล้ว หละค่ะ ทำแบบนั้น จิตวิเวกไม่ได้

จะไปต่อ สมาธิในฌาน 2 ก็ไม่สามารถพัฒนา เป็นฌาน2 ได้
เพราะต้องกำหนดอารมรณ์อืนๆ ไปกำหนดเอารูปนาม ทุกครั้งแบบที่ลุงบอก ไปแทรก

ก็ตกอยุ่ไต้อำนาจ วิตกวิจารไป นะคะ

อย่าไปฌานสามเรย

เริ่มต้นก็แนะนำเค้าผิดๆแล้วหล่ะค่ะ
เหลวไหลจริงๆ เรยลุงคนนี้




ดูที่คิดที่เขียนแล้วเวียนหัว ยุ่งเหมือนฝอยขัดหม้อ คิกๆๆ

จะเอาเรื่องสมาธิหรือฌานให้ดู ก็เกรงไม่เข้าใจ ลำบากใจจริงๆ เรื่องนี้

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 24 ก.ย. 2018, 18:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ความหมาย แก้, แก้อารมณ์ ในการปฏิบัติทางจิต

วิเวก ความสงัด มี ๓ คือ อยู่ในที่สงัด เป็น กายวิเวก
จิตสงบ เป็น จิตตวิเวก
หมดกิเลส เป็น อุปธิวิเวก

กายวิเวก ความสงัดกาย ได้แก่ การอยู่ในที่สงัด ก็ดี ดำรงอิริยาบถ และเที่ยวไปผู้เดียว ก็ดี

จิตตวิเวก ความสงัดใจ ได้แก่ การทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ หมายเอาจิตแห่งผู้มีสมาธิและสติ

อุปธิวิเวก ได้แก่ ธรรมอันเป็นที่สงบระงับอุปธิทั้งปวง (หมายเอาผู้ฝึกฝนทางปัญญา จนเอาชนะกิเลส อนุสัยและสังโยชน์อันเป็นเหตุสร้างกรรมทางกายวาจา)
นอกจากนี้ยังมี วิเวก ๕ มีความหมายอย่างเดียว กับ นิโรธ ๕

หน้า 1 จากทั้งหมด 19 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/