วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 17:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 278 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 20:16 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
กึสุกสูตร
[๓๓๙] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
ได้ถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
เพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน
หมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความ
เป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไป
หาภิกษุอีกรูปหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอัน
หมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะ
ของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งอุปาทาน-
*ขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ที่นั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของ
ภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของ
ภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มี
อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดี ด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับ
แห่งมหาภูตรูป ๔ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ภิกษุนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์
ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุอีกรูปหนึ่งแล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล ภิกษุรูปนั้นกล่าวว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด ตามความ
เป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับ
ไปเป็นธรรมดา ฯ
[๓๔๐] ที่นั้นแล ภิกษุไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึง
เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ
ประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์เข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า
ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไรหนอแล
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้า-
*พระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัด
เหตุเกิด และความดับแห่งผัสสายตนะ ๖ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์
ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้ว
ได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร
เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ
ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่ง
อุปาทานขันธ์ ๕ ตามความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์
ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มี
อายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถาม
อย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ
เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุที่ภิกษุรู้ชัดเหตุเกิด และความดับแห่งมหาภูตรูป ๔ ตาม
ความเป็นจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น
จึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่งถึงที่อยู่ แล้วได้ถามว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุ
เป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุเพียงเท่าไร เมื่อข้าพระองค์ถามอย่างนี้แล้ว ภิกษุนั้นได้
กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วยเหตุ
ที่ภิกษุรู้ชัด ตามความเป็นจริงว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้น
ทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา ทีนั้นแล ข้าพระองค์ไม่ยินดีด้วยการ
พยากรณ์ปัญหาของภิกษุนั้น จึงเข้ามาเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ขอทูลถาม
พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทัศนะของภิกษุเป็นอันหมดจดดีด้วย
เหตุเพียงเท่าไรหนอแล ฯ
[๓๔๑] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ บุรุษยังไม่เคยเห็นต้นทอง-
*กวาว บุรุษนั้นพึงเข้าไปหาบุรุษคนใดคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้ว
ถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ดูกร
บุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวดำเหมือนตอไม้ไหม้ ก็สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็น
ดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น
พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึงที่อยู่ แล้วถามว่า ดูกรบุรุษ
ผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึงตอบว่า ต้นทองกวาวแดงเหมือนชิ้น
เนื้อ ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดี
ด้วยการพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาว
ถึงที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้น
พึงตอบอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวที่เกิดนานมีฝักเหมือนต้นซึก ก็
สมัยนั้นแล ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น ทีนั้นแล บุรุษนั้นไม่ยินดีด้วย
การพยากรณ์ปัญหาของบุรุษนั้น พึงเข้าไปหาบุรุษคนหนึ่งผู้เคยเห็นต้นทองกวาวถึง
ที่อยู่ แล้วถามอย่างนี้ว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวเป็นเช่นไร บุรุษนั้นพึง
ตอบว่า ดูกรบุรุษผู้เจริญ ต้นทองกวาวมีใบแก่และใบอ่อนหนาแน่น มีร่มทึบ
เหมือนต้นไทร ก็สมัยนั้น ต้นทองกวาวเป็นดังที่บุรุษนั้นเห็น แม้ฉันใด ดูกร
ภิกษุ ทัศนะของสัตบุรุษเหล่านั้น ผู้น้อมไปแล้ว เป็นอันหมดจดดีด้วยประการ
ใดๆ เป็นอันสัตบุรุษทั้งหลายผู้ฉลาด พยากรณ์แล้วด้วยประการนั้นๆ ฉันนั้นแล ฯ
[๓๔๒] ดูกรภิกษุ เหมือนอย่างว่า เมืองชายแดนของพระราชาเป็น
เมืองที่มั่นคง มีกำแพงและเชิงเทิน มีประตู ๖ ประตู นายประตูเมืองนั้นเป็น
คนฉลาด เฉียบแหลม มีปัญญา คอยห้ามคนที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตให้คนที่ตน
รู้จักเข้าไปในเมืองนั้น ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน มาแต่ทิศบูรพา พึงถามนาย
ประตูนั้นว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นตอบว่า แน่ะ
ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่
นั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปตามทางที่มา
แล้ว ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศปัศจิม... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมา
แต่ทิศอุดร... ราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วนมาแต่ทิศทักษิณ แล้วถามนายประตูนั้น
อย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ เจ้าเมืองนี้อยู่ที่ไหน นายประตูนั้นพึงตอบว่า แน่ะ
ท่านผู้เจริญ นั่นเจ้าเมืองนั่งอยู่ ณ ทางสามแพร่งกลางเมือง ทีนั้นแล ราชทูตคู่
หนึ่งนั้นมอบถ้อยคำตามความเป็นจริงแก่เจ้าเมืองแล้ว พึงดำเนินกลับไปทางตาม
ที่มาแล้ว ดูกรภิกษุ อุปมานี้แล เรากระทำแล้วเพื่อจะให้เนื้อความแจ่มแจ้ง ก็ใน
อุปมานั้นมีเนื้อความดังต่อไปนี้ คำว่าเมือง เป็นชื่อของกายนี้ที่ประกอบด้วยมหา-
*ภูตรูป ๔ ซึ่งมีมารดาและบิดาเป็นแดนเกิด เจริญขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด มี
อันต้องอบ ต้องนวดฟั้นเป็นนิตย์ มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา
คำว่าประตู ๖ ประตู เป็นชื่อของอายตนะภายใน ๖ คำว่านายประตูเป็นชื่อของสติ
คำว่าราชทูตคู่หนึ่งมีราชการด่วน เป็นชื่อของสมถะและวิปัสสนา คำว่าเจ้าเมือง
เป็นชื่อของวิญญาณ คำว่าทางสามแพร่งกลางเมือง เป็นชื่อของมหาภูตรูป ๔ คือ
ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ คำว่าถ้อยคำตามความเป็นจริง เป็น
ชื่อของนิพพาน คำว่าทางตามที่มาแล้ว เป็นชื่อของอริยมรรคมีองค์ ๘ คือ
สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ
จบสูตรที่ ๘


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
:b12:
ถ้าตถาคตไม่ได้เห็นเพียงสีคงไม่แสดงว่าจิตเห็นสี
เอกอนคะเอางี้นะคะคำสอนตรงๆไม่มีอ้อมไปทำทีหลัง
เอกอนต้องคิดตามเดี๋ยวนี้ตรงๆตามคำสอนดังนี้คือจิตเห็นสี
และเดี๋ยวนี้เอกอนตรงต่อสัจจะที่ตนเองเห็นไหมจิตเอกอนเห็นอะไรเดี๋ยวนี้ตอบสิแค่สีไหม555
:b32: :b32:


เป็นคำถามที่ หาคมไม่เจอเลยจริง ๆ

ตถาคตไม่เคยหยิบอะไรมาสอนแบบ "พระจันทร์วัน 1 แรมค่ำ" ค่ะ

ไม่ว่าจะแบบย่อหรือแบบเต็ม ตถาคตก็แสดงธรรมแบบ "พระจันทร์เต็มดวง" ค่ะ
คำสอนตรง ๆ แบบย่อก็แค่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อริยสัจสี่

คุณรสอธิบาย สี ลงอริยสัจสี่ ได้มั๊ยคะ

:b32: :b32: :b32:

ใครจะมาเป็นครูเอกอน ก็ต้องคัดกันหน่อยค่ะ
ถ้าเอกอนถามแล้วตอบไม่ได้ ไม่รู้จะเอามาเป็นครูทำไม
เอามาเป็นครูเพื่อทำให้เอกอนงงเหร๋อคะ 555

อย่าให้เอกอนต้องไปเรียนลำดับภาษาไทยพิศดารใหม่เลยค่ะ เอกอนแก่แล้ว :b32:

:b12:
เอกอนคะ
ครูคือศาสดาค่ะ
ไม่มีใครสอนใครได้
นอกจากฟังจนเกิดปัญญาค่ะ
จิตตนสอนจิตตนนะคะแต่ต้องไม่ขาดการฟังไงคะ
เดี๋ยวนี้เลยนะคะเอกอนไม่ทราบหรือคะว่ากำลังมีครบ6ทวารมีแล้วค่ะไม่ต้องไปทำทวารเพิ่มไงคะ :b32:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
จิตต้องกำลังเห็นแค่สี1สีจึงเป็นผู้รู้แล้ว
ถ้ามีใครมาบอกว่ารู้ความจริงแปลว่าโกหก
เพราะบุคคลที่จะเห็นสีและมาตรัสด้วยพระโอษฐ์
คือพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปและต่อๆไปพระปัจเจกฯก็ไม่สอนใครนะคะ
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 21:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b12:
เอกอนคะ
ครูคือศาสดาค่ะ
ไม่มีใครสอนใครได้
นอกจากฟังจนเกิดปัญญาค่ะ
จิตตนสอนจิตตนนะคะแต่ต้องไม่ขาดการฟังไงคะ
เดี๋ยวนี้เลยนะคะเอกอนไม่ทราบหรือคะว่ากำลังมีครบ6ทวารมีแล้วค่ะไม่ต้องไปทำทวารเพิ่มไงคะ :b32:
:b32: :b32:

Rosarin เขียน:
Kiss
จิตต้องกำลังเห็นแค่สี1สีจึงเป็นผู้รู้แล้ว
ถ้ามีใครมาบอกว่ารู้ความจริงแปลว่าโกหก
เพราะบุคคลที่จะเห็นสีและมาตรัสด้วยพระโอษฐ์
คือพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปและต่อๆไปพระปัจเจกฯก็ไม่สอนใครนะคะ
:b12:
:b32: :b32:


และเรื่องราวซ้ำซากก็วนเวียนวกกลับมาอยู่เช่นนี้ ... ต่อไปอีกครั้ง
มีความถนัดในเรื่องฉีกบทสนทนา ตอบไม่ตรงคำถาม และวนกลับไปหาคำพูดเดิม ๆ
อย่างชนิดที่ว่า ไม่สามารถแทรกตัวออกมาจากจุดนั้น ๆ ได้เลย

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 21:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ปล่อยแกใช้กรรมไปตามยถา...ของแก..เหอะ

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 21:58 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
จั่วไพ่ใบแรกมา ก็ไม่รู้ อานาปานสติ

:b32:

คนที่รู้เขาก็รู้แล้วค่ะ ว่าที่สอนคืออะไร

เพราะแค่กองลมยังไม่เท่าทัน กองอะไรอะไรจะไปทันมันได้ยังไงคะ

จะไปฟังและคิดตามทำไม
กองจินตนาการล้วนๆ


วันนี้เพิ่งคุยเรื่องกองลม..

ว่าแต่..กองลมของใครรึ...เป็นกองจิตนาการ..นี้นะ

:b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 22:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
eragon_joe เขียน:
จั่วไพ่ใบแรกมา ก็ไม่รู้ อานาปานสติ

:b32:

คนที่รู้เขาก็รู้แล้วค่ะ ว่าที่สอนคืออะไร

เพราะแค่กองลมยังไม่เท่าทัน กองอะไรอะไรจะไปทันมันได้ยังไงคะ

จะไปฟังและคิดตามทำไม
กองจินตนาการล้วนๆ


วันนี้เพิ่งคุยเรื่องกองลม..

ว่าแต่..กองลมของใครรึ...เป็นกองจิตนาการ..นี้นะ

:b9:


:b32: :b32: :b32:

คุยที่ไหน คุยว่าไงบ้าง พาไปดูหน่อย ^^

:b32: :b32: :b32:

ที่ลานธรรมเสวนา

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 09 ต.ค. 2018, 23:01, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 22:47 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๓. เผณปิณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕
[๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้อยุชฌบุรี. ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พึงนำ
กลุ่มฟองน้ำใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้น โดยแยบคาย เมื่อ
บุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลุ่มฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า
หาสาระมิได้เลย สาระในกลุ่มฟองน้ำ พึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น
เพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย รูปนั้นย่อม
ปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในรูปพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.

[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดหยาบตกอยู่ในสรทสมัย ฟองน้ำในน้ำ ย่อม
บังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ พึงเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้น
เห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย
สาระในฟองน้ำนั้นพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
เวทนานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในเวทนาพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้น
เหมือนกัน.

[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดด ย่อมเต้น
ระยิบระยับในเวลาเที่ยง บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณา พยับแดดนั้นโดยแยบคาย เมื่อ
บุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย พยับแดดนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า ฯลฯ
สาระในพยับแดดพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการด้วยไม้แก่น เสาะหาไม้แก่น เที่ยว
แสวงหาไม้แก่นอยู่ ถือเอาจอบอันคม พึงเข้าไปสู่ป่า บุรุษนั้นพึงเห็นต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่
ยังไม่เกิดแก่นในป่านั้น พึงตัดโคนต้นกล้วยนั้นแล้วจึงตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบใบออก บุรุษ
นั้นปอกกาบใบออก ไม่พึงได้แม้กระพี้ในต้นกล้วยใหญ่นั้น จะพึงได้แก่นแต่ที่ไหน บุรุษผู้มีจักษุ
พึงเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ซึ่งต้นกล้วยใหญ่นั้น เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณา
อยู่โดยแยบคาย ต้นกล้วยใหญ่นั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นมิได้ แก่นในต้นกล้วย
พึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ
อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น
เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย สังขารนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระใน
สังขารทั้งหลายพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล.

[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักเล่นกลหรือลูกมือนักเล่นกล พึงแสดงกลที่หนทางใหญ่
สี่แพร่ง บุรุษผู้จักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณา
อยู่โดยแยบคาย กลนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในกลพึงมีได้อย่างไร
แม้ฉันใด. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่
ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย เมื่อภิกษุเห็น เพ่ง
พิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้
สาระในวิญญาณพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี
ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า

[๒๔๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วย
พยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล.
ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ
ใดๆ เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า
ด้วยประการนั้นๆ ก็การละธรรม ๓ อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มี
ปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลาย
จงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละ
กายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อ
แห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน. นี้เป็น
ความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่ เบญจขันธ์
เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีใน
เบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ
ปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำ
ที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.

จบ สูตรที่ ๓.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 22:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
:b12:
เอกอนคะ
ครูคือศาสดาค่ะ
ไม่มีใครสอนใครได้
นอกจากฟังจนเกิดปัญญาค่ะ
จิตตนสอนจิตตนนะคะแต่ต้องไม่ขาดการฟังไงคะ
เดี๋ยวนี้เลยนะคะเอกอนไม่ทราบหรือคะว่ากำลังมีครบ6ทวารมีแล้วค่ะไม่ต้องไปทำทวารเพิ่มไงคะ :b32:
:b32: :b32:

Rosarin เขียน:
Kiss
จิตต้องกำลังเห็นแค่สี1สีจึงเป็นผู้รู้แล้ว
ถ้ามีใครมาบอกว่ารู้ความจริงแปลว่าโกหก
เพราะบุคคลที่จะเห็นสีและมาตรัสด้วยพระโอษฐ์
คือพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปและต่อๆไปพระปัจเจกฯก็ไม่สอนใครนะคะ
:b12:
:b32: :b32:


และเรื่องราวซ้ำซากก็วนเวียนวกกลับมาอยู่เช่นนี้ ... ต่อไปอีกครั้ง
มีความถนัดในเรื่องฉีกบทสนทนา ตอบไม่ตรงคำถาม และวนกลับไปหาคำพูดเดิม ๆ
อย่างชนิดที่ว่า ไม่สามารถแทรกตัวออกมาจากจุดนั้น ๆ ได้เลย

:b1:

:b32:
เอกอนมีตาไว้ทำไมคะ...ตื่นลืมตามาเพื่อเห็นทุกวันไหมคะ...รู้ไหมคะว่าเห็นซ้ำซาก
และทราบไหมคะว่าตาไม่เห็นค่ะเพราะคนตาบอดก็มีตาค่ะและไม่มีใครทำให้ตาเห็นค่ะ
แต่เป็นจิตเห็นค่ะมี3ตัวธัมมะจึงครบกิจของจิตเห็นไงคะแค่สีกระทบตาเห็นแข็งได้ไหมคะ
แค่หลับตาลงจักขุปสาทะก็ไม่ปรากฏว่ามีลืมไหมคะว่าที่มีจริงคือจิตเห็นเท่านั้นจิตอื่นๆไม่เห็นค่ะ
เห็นใหม่ตลอดปรุงตามเห็นอันเก่าที่ชอบไม่ชอบแล้วก็ปรุงกิเลสตนใหม่ให้มีกำลังแรงขึ้นก่อนดับทับถมอันเก่าไง
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 22:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
:b12:
เอกอนคะ
ครูคือศาสดาค่ะ
ไม่มีใครสอนใครได้
นอกจากฟังจนเกิดปัญญาค่ะ
จิตตนสอนจิตตนนะคะแต่ต้องไม่ขาดการฟังไงคะ
เดี๋ยวนี้เลยนะคะเอกอนไม่ทราบหรือคะว่ากำลังมีครบ6ทวารมีแล้วค่ะไม่ต้องไปทำทวารเพิ่มไงคะ :b32:
:b32: :b32:

Rosarin เขียน:
Kiss
จิตต้องกำลังเห็นแค่สี1สีจึงเป็นผู้รู้แล้ว
ถ้ามีใครมาบอกว่ารู้ความจริงแปลว่าโกหก
เพราะบุคคลที่จะเห็นสีและมาตรัสด้วยพระโอษฐ์
คือพระพุทธเจ้าพระองค์ต่อไปและต่อๆไปพระปัจเจกฯก็ไม่สอนใครนะคะ
:b12:
:b32: :b32:


และเรื่องราวซ้ำซากก็วนเวียนวกกลับมาอยู่เช่นนี้ ... ต่อไปอีกครั้ง
มีความถนัดในเรื่องฉีกบทสนทนา ตอบไม่ตรงคำถาม และวนกลับไปหาคำพูดเดิม ๆ
อย่างชนิดที่ว่า ไม่สามารถแทรกตัวออกมาจากจุดนั้น ๆ ได้เลย

:b1:

:b32:
เอกอนมีตาไว้ทำไมคะ...ตื่นลืมตามาเพื่อเห็นทุกวันไหมคะ...รู้ไหมคะว่าเห็นซ้ำซาก
และทราบไหมคะว่าตาไม่เห็นค่ะเพราะคนตาบอดก็มีตาค่ะและไม่มีใครทำให้ตาเห็นค่ะ
แต่เป็นจิตเห็นค่ะมี3ตัวธัมมะจึงครบกิจของจิตเห็นไงคะแค่สีกระทบตาเห็นแข็งได้ไหมคะ
แค่หลับตาลงจักขุปสาทะก็ไม่ปรากฏว่ามีลืมไหมคะว่าที่มีจริงคือจิตเห็นเท่านั้นจิตอื่นๆไม่เห็นค่ะ
เห็นใหม่ตลอดปรุงตามเห็นอันเก่าที่ชอบไม่ชอบแล้วก็ปรุงกิเลสตนใหม่ให้มีกำลังแรงขึ้นก่อนดับทับถมอันเก่าไง
:b32: :b32: :b32:


:b1: อ่านพระสูตรดีกว่านะคะ ... :b1:

จะได้คลายความฟุ้งซ่านลงได้ .... :b1: :b1: :b1:

Quote Tipitaka:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

๓. เผณปิณฑสูตร
ว่าด้วยอุปมาขันธ์ ๕
[๒๔๒] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคาใกล้อยุชฌบุรี. ณ ที่นั้นแล
พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พึงนำ
กลุ่มฟองน้ำใหญ่มา บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลุ่มฟองน้ำใหญ่นั้น โดยแยบคาย เมื่อ
บุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย กลุ่มฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า
หาสาระมิได้เลย สาระในกลุ่มฟองน้ำ พึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปอย่าง
ใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น
เพ่ง พิจารณารูปนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย รูปนั้นย่อม
ปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในรูปพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อฝนเมล็ดหยาบตกอยู่ในสรทสมัย ฟองน้ำในน้ำ ย่อม
บังเกิดขึ้นและดับไป บุรุษผู้มีจักษุ พึงเห็น เพ่ง พิจารณาฟองน้ำนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้น
เห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ฟองน้ำนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้เลย
สาระในฟองน้ำนั้นพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย
เวทนานั้นย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในเวทนาพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้น
เหมือนกัน.
[๒๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเดือนสุดท้ายแห่งฤดูร้อนยังอยู่ พยับแดด ย่อมเต้น
ระยิบระยับในเวลาเที่ยง บุรุษผู้มีจักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณา พยับแดดนั้นโดยแยบคาย เมื่อ
บุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย พยับแดดนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า ฯลฯ
สาระในพยับแดดพึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ฯลฯ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๔๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษผู้มีความต้องการด้วยไม้แก่น เสาะหาไม้แก่น เที่ยว
แสวงหาไม้แก่นอยู่ ถือเอาจอบอันคม พึงเข้าไปสู่ป่า บุรุษนั้นพึงเห็นต้นกล้วยใหญ่ ตรง ใหม่
ยังไม่เกิดแก่นในป่านั้น พึงตัดโคนต้นกล้วยนั้นแล้วจึงตัดปลาย แล้วจึงปอกกาบใบออก บุรุษ
นั้นปอกกาบใบออก ไม่พึงได้แม้กระพี้ในต้นกล้วยใหญ่นั้น จะพึงได้แก่นแต่ที่ไหน บุรุษผู้มีจักษุ
พึงเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย ซึ่งต้นกล้วยใหญ่นั้น เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณา
อยู่โดยแยบคาย ต้นกล้วยใหญ่นั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาแก่นมิได้ แก่นในต้นกล้วย
พึงมีได้อย่างไร แม้ฉันใด. สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ
อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาสังขารนั้นโดยแยบคาย เมื่อภิกษุนั้นเห็น
เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย สังขารนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระใน
สังขารทั้งหลายพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล.
[๒๔๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นักเล่นกลหรือลูกมือนักเล่นกล พึงแสดงกลที่หนทางใหญ่
สี่แพร่ง บุรุษผู้จักษุพึงเห็น เพ่ง พิจารณากลนั้นโดยแยบคาย เมื่อบุรุษนั้นเห็น เพ่ง พิจารณา
อยู่โดยแยบคาย กลนั้น พึงปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้ สาระในกลพึงมีได้อย่างไร
แม้ฉันใด. วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน ฯลฯ อยู่ในที่
ไกลหรือในที่ใกล้ ภิกษุย่อมเห็น เพ่ง พิจารณาอยู่โดยแยบคาย เมื่อภิกษุเห็น เพ่ง
พิจารณาวิญญาณนั้นโดยแยบคาย วิญญาณนั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่างเปล่า หาสาระมิได้
สาระในวิญญาณพึงมีได้อย่างไร ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับแล้ว
เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมี
ญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า
[๒๔๗] พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์ แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ สัญญาอุปมาด้วย
พยับแดด สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย และวิญญาณอุปมาด้วยกล.
ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการ
ใดๆ เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า
ด้วยประการนั้นๆ ก็การละธรรม ๓ อย่าง อันพระพุทธเจ้า ผู้มี
ปัญญาดังแผ่นดิน ปรารภกายนี้ทรงแสดงแล้ว ท่านทั้งหลาย
จงดูรูปอันบุคคลทิ้งแล้ว. อายุ ไออุ่น และวิญญาณย่อมละ
กายนี้เมื่อใด เมื่อนั้น กายนี้อันเขาทอดทิ้งแล้วย่อมเป็นเหยื่อ
แห่งสัตว์อื่น หาเจตนามิได้ นอนทับถมแผ่นดิน. นี้เป็น
ความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่ เบญจขันธ์
เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีใน
เบญจขันธ์นี้. ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน. ภิกษุเมื่อ
ปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง พึงกระทำ
ที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติ ดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้.
จบ สูตรที่ ๓.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 23:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
เอกอนคะความจริงตามคำสอนรู้ถูกตามได้ตรงปัจจุบัน
เวลาไหนที่เป็นปัจจุบันขณะของเอกอนคะเพราะว่าจิตมี
และครบทั้ง6ทางมีแล้วด้วยเอกอนรู้ตรงทางไหนคะเดี๋ยวนี้
กำลังคิดถูกตรงสภาพธัมมะไหนคะปัจจุบันคิดตรงคำแค่1คำ
ก็เลยสติแล้วค่ะที่ยกมาทั้งดุ้นขนาดนั้นอันไหนคือที่กายเอกอนมี555
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 23:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
เอกอนคะความจริงตามคำสอนรู้ถูกตามได้ตรงปัจจุบัน
เวลาไหนที่เป็นปัจจุบันขณะของเอกอนคะเพราะว่าจิตมี
และครบทั้ง6ทางมีแล้วด้วยเอกอนรู้ตรงทางไหนคะเดี๋ยวนี้
กำลังคิดถูกตรงสภาพธัมมะไหนคะปัจจุบันคิดตรงคำแค่1คำ
ก็เลยสติแล้วค่ะที่ยกมาทั้งดุ้นขนาดนั้นอันไหนคือที่กายเอกอนมี555
:b32: :b32: :b32:


ยังไม่หายฟุ้ง งั๊นเอาไปอีกนะ

Quote Tipitaka:
[๗๔] บุคคลมีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย เป็นไฉน
ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย ในข้อนั้น
เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เห็นรูปด้วยตา เป็นผู้ไม่ถือเอาซึ่งนิมิต เป็น
ผู้ไม่ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศลธรรมทั้งหลายอันลามก คืออภิชฌาและ
โทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวมอินทรีย์คือจักษุนี้อยู่ เพราะการไม่สำรวม
อินทรีย์คือจักษุใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมอินทรีย์คือจักษุนั้น ย่อมรักษา
อินทรีย์คือจักษุ ย่อมถึงความสำรวมอินทรีย์คือจักษุ ฟังเสียงด้วยหู ฯลฯ
สูดกลิ่นด้วยจมูก ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้น ฯลฯ ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ฯลฯ รู้
ธรรมารมณ์ด้วยใจ ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งนิมิต ไม่เป็นผู้ถือเอาซึ่งอนุพยัญชนะ อกุศล
ธรรมทั้งหลายอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัส พึงซ่านไปตามบุคคลผู้ไม่สำรวม
อินทรีย์คือใจนี้อยู่ เพราะความไม่สำรวมอินทรีย์คือใจใดเป็นเหตุ ย่อมปฏิบัติ
เพื่อสำรวมอินทรีย์คือใจนั้น ย่อมรักษาอินทรีย์คือใจ ย่อมถึงความสำรวมอินทรีย์
คือใจ การคุ้มครอง การปกครอง การรักษา การสำรวมอินทรีย์ทั้ง ๖ เหล่านี้
ใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย บุคคลผู้
ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย นี้ชื่อว่า
เป็นผู้มีทวารอันคุ้มครองแล้วในอินทรีย์ทั้งหลาย
บุคคลผู้รู้จักประมาณในโภชนะ เป็นไฉน
ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ ในข้อนั้นเป็นไฉน บุคคลบาง
คนในโลกนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้วบริโภคอาหาร ไม่บริโภคเพื่อจะเล่น
ไม่บริโภคเพื่อมัวเมา ไม่บริโภคเพื่อประดับ ไม่บริโภคเพื่อตกแต่งประเทืองผิว
บริโภคเพียงเพื่อความตั้งอยู่แห่งกายนี้ เพื่อให้กายเป็นไป เพื่อจะกำจัดความ
เบียดเบียนลำบาก คือความหิวอาหารเสีย เพื่อจะอนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วย
คิดว่า ด้วยการเสพเฉพาะอาหารนี้ เราจักกำจัดเวทนาเก่าเสีย ไม่ให้เวทนา
ใหม่เกิดขึ้นด้วย ความที่กายจักเป็นไปได้นานจักมีแก่เรา ความเป็นผู้ไม่มีโทษ
ความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา ความเป็นผู้สันโดษ ความเป็นผู้รู้จักประมาณ
ในโภชนะนั้น ความพิจารณาในโภชนะนั้นอันใด นี้เรียกว่า ความเป็นผู้รู้จัก
ประมาณในโภชนะ บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ นี้
ชื่อว่า เป็นผู้รู้จักประมาณในโภชะ

Quote Tipitaka:
[๗๕] บุคคลผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว เป็นไฉน
สติในข้อนั้น เป็นไฉน ความระลึกได้ ความตามระลึกได้ ความหวน
ระลึกได้ ความนึกได้ คือสติ ความทรงจำ ความไม่ฟั่นเฟือน ความไม่หลงลืม
นี้เรียกว่า สติ บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ชื่อว่าผู้มีสติอันเข้าไปตั้งไว้แล้ว
บุคคลผู้มีสัมปชัญญะ เป็นไฉน
สัมปชัญญะ ในข้อนั้น เป็นไฉน ความรอบรู้ ความรู้ชัด
ความเลือกเฟ้น ความเลือกสรร ความสอดส่องธรรม ความกำหนดหมาย
ความเข้าไปกำหนดรู้ ความเข้าไปกำหนดรู้เฉพาะ ความเป็นผู้รู้ ความฉลาด
ความรู้ละเอียด ความรู้แจ่มแจ้ง ความคิดนึก ความใคร่ครวญ ความรู้กว้างขวาง
ความรู้เฉียบขาด ความรู้นำทาง ความเห็นแจ้ง ความรู้ทั่วพร้อม ปัญญาเพียง
ดังปะฏัก ปัญญินทรีย์ กำลังคือปัญญา รัศมีคือปัญญา ประทีปคือปัญญา
รัตนคือปัญญา ความสอดส่องธรรม คืออโมหะ สัมมาทิฐิ นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยสัมปชัญญะนี้ ชื่อว่าผู้มีสัมปชัญญะ

Quote Tipitaka:
[๗๖] บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นไฉน
ความถึงพร้อมด้วยศีล ในข้อนั้น เป็นไฉน การไม่ล่วงละเมิดทางกาย
การไม่ล่วงละเมิดทางวาจา การไม่ล่วงละเมิดทางกาย และวาจา นี้เรียกว่า
ความถึงพร้อมด้วยศีล ความสำรวมด้วยศีลแม้ทั้งหมด ชื่อว่าถึงพร้อมด้วยศีล
บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยศีลสัมปทานี้ ชื่อว่าผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยศีล
บุคคลผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยทิฐิ เป็นไฉน
ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ ในข้อนั้น เป็นไฉน ความรอบรู้ ความรู้ชัดฯลฯ
ความสอดส่องธรรม คืออโมหะ สัมมาทิฐิ เช่นนี้ว่า ทานที่ให้แล้วมีผล การ
บูชาใหญ่ [คือมหาทานที่ทั่วไปแก่คนทั้งปวง] มีผล สักการะที่บุคคลทำเพื่อแขก
มีผล ผลวิบากแห่งกรรมที่บุคคลทำดี ทำชั่วมีอยู่ โลกนี้มี โลกหน้ามี มารดามี
บิดามี สัตว์อุปปาติกะมี สมณพราหมณ์ผู้พร้อมเพียงกัน ประพฤติดี ปฏิบัติ
ชอบ ที่รู้ยิ่งซึ่งโลกนี้ และโลกหน้าด้วยตนเองแล้วประกาศทำให้แจ้งมี นี้เรียกว่า
ความถึงพร้อมด้วยทิฐิ สัมมาทิฐิแม้ทั้งหมดก็ชื่อว่า ทิฐิสัมปทา บุคคล
ผู้ประกอบด้วยทิฐิสัมปทานี้ ชื่อว่าผู้ถึงพร้อมด้วยทิฐิ


:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 23:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
คิดไม่ตรงเพราะไม่รู้ความจริงตรงที่กายตนกำลังมีไงคะแปลว่ามีอวิชชาแล้วค่ะ
https://youtu.be/L9ufwDgwG0A
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 23:37 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


แล้วผู้ที่นำธรรมของพระพุทธองค์
มาก๊อป ลอกเลียน ตัด ย่อ :b1:

เขาคิดอะไรล่ะ ถึงได้ทำ

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:
eragon_joe เขียน:
ลอกเลียน ก๊อป ตัด คัด ย่อ :b1:

เอกอนไม่เข้าใจความปกติของจิตคิดหรือคะ
ลองพิจารณาสิคะเวลาคิดคำว่าแมวกะนกคือ2คำ
ปกติเอกอนคิดได้ทีละคำหรือทีละ2คำตรงกันคะ
ลองคิดตรงกันได้ก็พิศดารกว่าตถาคตแล้วค่ะเพราะ
ตถาคตทรงแสดงว่าจิตคิดนึกถูกตามได้ทีละ1คำน๊า
คิดดูสิคะเอกอนไม่น่าคิดไม่เป็นนกก่อนแมวหรือแมวก่อนนก555
:b32: :b32: :b32: :b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 278 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 124 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร