วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 13:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์

นิรฺวาณมฺ ความดับ เป็นคำสันสกฤต เทียบกับภาษาบาลี ก็ได้แก่ศัพท์ว่า นิพพาน นั่นเอง ปัจจุบันนิยมใช้เพียงว่า นิรวาณ กับ นิรวาณะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 12:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นิพพานแล้วไปไหนคะ

อยากทราบว่านิพพานแล้วไปไหนคะ บ้างก็บอกนิพพานแล้วไปสวรรค์​ บ้างก็บอกนิพพานคือการดับสูญ​ ขอคนรู้จริงๆอ้างจากพระคัมภีย์พระไตรปิฎกเลยค่ะ​ หรืออ้างจากพระวจนะของพระพุทธเจ้า​ ถ้าพระรูปอื่นบอกหรืออ่านตามกระทู้อื่นๆแล้วเราจะรู้จะเชื่อได้หรือไม่ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ​ โดยส่วนตัวไม่ค่อยเชื่อเรื่องการนิมิตการดูดวงการฝันเห็นแล้วนำมาบอกเล่าเท่าไร​ เพราะคิดว่ายังไม่ค่อยมีความชัดเจน

https://pantip.com/topic/37960579

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 12:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวะแห่งนิพพาน


เมื่อสังสารวัฏฏ์ * หายไป ก็กลายเป็นวิวัฏฏ์ * ขึ้นทันที เป็นของเสร็จพร้อมอยู่ในตัว ไม่ต้องเดินทางออกจากสังสารวัฏฏ์ที่แห่งหนึ่ง ไปสู่วิวัฏฏ์อีกแห่งหนึ่ง เว้นแต่จะเป็นการพูดในเชิงภาพพจน์ หรืออุปมา เมื่ออวิชชา ตัณหา อุปาทานดับไป นิพพานก็ปรากฏแทนที่พร้อมกัน จะพูดให้มั่นเข้าอีกก็ว่า การดับอวิชชา ตัณหา อุปาทานนั่นแหละ คือนิพพาน


ตามปกติของปุถุชน อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ย่อมคอยครอบงำ เคลือบแฝงจิตใจ กำบังปัญญา และเป็นตัวชักใยนำเอากิเลสต่างๆให้ ไหลเข้ามาสู่จิตใจ ทำใจให้ไหว ให้วุ่น ให้ขุ่น ให้มัว ให้ฝ้าหมอง ทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ไม่ชัดบ้าง ให้บิดเบือนไปเสียบ้าง ตลอดจนถ่วงดึงเหนี่ยวรั้งไว้ให้วนเวียนติดตังข้องขัดและคับแคบอยู่กับ เครื่องผูกมัดหน่วงเหนี่ยวชนิดต่างๆ


เมื่ออวิชชา ตัณหา อุปาทาน นั้นดับหายไปแล้ว ก็เกิดปัญญา เป็นวิชชาสว่างแจ้งขึ้น มองเห็นสิ่งทั้งหลาย กล่าวคือ โลกและชีวิตถูกต้องชัดเจนตามที่มันเป็นของมัน ไม่ใช่ตามที่อยากให้มันเป็น หรือ ตามอิทธิพลของสิ่งเคลือบแฝงกำบัง การมองเห็น การรับรู้ต่อโลกและชีวิตก็จะเปลี่ยนไป ความรู้สึก และท่าทีต่อสิ่งต่างๆก็เปลี่ยนไป ยังผลให้บุคลิกภาพเปลี่ยนไปด้วย

.........

ที่อ้างอิง *
คำว่า สังสารวัฏฏ์ และวิวัฏฏ์ นำมาใช้ ณ ที่นี้ ตามนิยมแห่งวิวัฒนาการของภาษา ไม่ใช่คำจำเพาะที่ใช้มาแต่เดิม; สังสารวัฏฏ์ ในบาลี นิยมใช้เพียง สังสาร (เช่น สํ.นิ.16/421/212 ฯลฯ) หรือ วิวัฏฏะ (เช่น สํ.ข.17/122/79 ฯลฯ) คำใดคำหนึ่ง ต่อมา ในบาลีรุ่นรองจึงใช้ควบกัน เช่น ขุ.ม. 29/701/414 ฯลฯ ส่วน วิวัฏฏ์ ในบาลีทั่วไปไม่นิยมใช้ในความหมายนี้ เว้นแต่ในปฏิสัมภิทามัคค์ (เช่น 31/1/3; 246-252/158-162) ต่อมาในคัมภีร์รุ่นอรรถกถาและฎีกา จึงนิยมใช้กันดื่นขึ้น (เช่น วิสุทธิ. 3/351 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 12:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ปรากฏอยู่ แต่ไม่เคยรู้ ไม่เคยเห็น หรือแม้แต่นึกถึง เพราะถูกปิดกั้นคลุมบังเงาไว้ หรือเพราะมัวสาระวนเพลินอยู่กับสิ่งอื่น ก็ได้รู้ได้เห็นขึ้น เกิดเป็นความรู้เห็นใหม่ๆ จิตใจเปิดเผยกว้างขวางไม่มีประมาณ โปร่งโล่ง เป็นอิสระ เป็นภาวะที่แจ่มใส สะอาด สว่าง สงบ ละเอียดอ่อน ประณีต ลึกซึ้ง ซึ่งผู้ยังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน ครอบงำใจอยู่ อย่างที่เรียกกันว่า ปุถุชนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ แต่เข้าถึงเมื่อใด ก็รู้เห็นประจักษ์แจ้งเองเมื่อนั้น ดังคุณบท คือ คำแสดงคุณลักษณะของนิพพานว่า

นิพพานอันผู้บรรลุเห็นได้เอง ไม่ขึ้นกับกาล เรียกให้มาดูได้ ควรน้อมเอาเข้ามาไว้ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน”* (องฺ.ติก.20/495/202)

............

ที่อ้างอิง *
* พึงสังเกตว่า คุณบททั้ง ๕ อย่างของนิพพาน ตรังกับคุณบท ๕ ข้อท้ายของพระธรรม ทั้งนี้สอดคล้องกับความที่ท่านอธิบายกันมาว่า คุณบทข้อที่ ๑ ของพระธรรม (สฺวากฺขาโต) เป็นคุณลักษณะของพระธรรมส่วนที่เป็นคำสั่งสอน ที่ต่อมาเรียกว่าปริยัติธรรม คือธรรมอันพึงเล่าเรียน คุณบทที่ ๒ ถึง ๖ (สนฺทิฏฺฐิโก ถึง ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ) เป็นคุณลักษณะของโลกุตรธรรมโดยเฉพาะ (วิสุทธิ. 1/273)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 12:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้นั้น เพราะธรรมดาของมนุษย์ เมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้วมากำหนด แล้ววาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ ที่เอามากำหนดเทียบนั้น ได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ นึกอะไรไม่ได้เลย อาจจะกำหนดไปตามอาการกิริยา เป็นต้น ของผู้พูด แล้วอาจจะนึกว่า ผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขา หรืออาจจะนึกไปว่า ผู้พูดกล่าวภาษาต่างประเทศคำหนึ่ง หรืออาจจะนึกว่า ผู้พูดเสียสติ จึงกล่าวคำไร้ความหมายออกมา หรืออะไรต่างๆ ได้มากมาย แล้วแต่สถานการณ์


แต่ถ้าผู้พูดกล่าวว่า “ฉันเห็นช้าง” ผู้ฟังนั้น จะมีความเข้าใจขึ้นหน่อยหนึ่งว่า ช้างเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่เห็นได้ด้วยตา ถ้าผู้พูดอธิบายต่อไปว่า “ช้างเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง” เขาก็เข้าใจขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง โดยอาจจะนึกไปถึงสิ่งทั้งหลายที่เรียกว่าสัตว์ ไม่จำกัดชนิด และขนาดตั้งแต่มดถึงไดโนเสา ตั้งแต่ปลากัดถึงปลาวาฬ ตั้งแต่ยุง ถึงนกอินทรีย์ เมื่อผู้พูดกล่าวต่อไปว่า “ช้าง เป็นสัตว์บก” เขาก็เข้าใจชัดขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง ครั้นบอกว่า "ช้าง" เป็นสัตว์ตัวโตมาก เขาก็เห็นภาพจำกัดชัดเข้าอีก


จากนั้น ผู้พูดก็อาจบรรยายลักษณะของช้าง เช่น ใบหูโต ตาเล็ก มีงาสองข้าง มีจมูกยาวเป็นงวง เป็นต้น ผู้ฟังก็จะได้ภาพจำเพาะที่ ชัดเจนในใจของเขามากขึ้น ภาพนั้นอาจใกล้ของจริงก็ได้ หรือห่างไกลไปมากมาย ชนิดที่ว่า

ถ้าให้เขาวาดภาพที่เขาเห็นในใจเวลานั้นออกมาเป็นรูปวาดบนแผ่นกระดาษ เราอาจได้รูปสัตว์ประหลาดเพิ่มอีกชนิดหนึ่ง สำหรับนิยายโบราณเรื่องใหม่ก็ได้ เพราะผู้ไม่รู้ไม่เห็นจริงนี่แหละ มักใช้สัญญาต่างๆ สร้างภาพได้วิจิตรพิสดารนัก ทั้งนี้ภาพในใจเขาจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นต่อความแม่นยำของสัญญาเกี่ยวกับลักษณะอาการต่างๆที่ผู้เล่ายกขึ้นมาพูดฝ่ายหนึ่ง และสัญญาที่ผู้ฟังเอามาประสานเป็นองค์ประกอบสร้างสัญญาใหม่อีกฝ่ายหนึ่ง


จะเห็นว่า คำว่า “เห็น” ก็ดี “สัตว์” ก็ดี “บก” ก็ดี “ตัวโต” เป็นต้น ก็ดี ล้วนเป็นสัญญาที่ผู้ฟังมีอยู่แล้วทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่สิ่งที่นำมาบอกเล่า แตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้ฟังเคยรู้เห็นมี สัญญาอยู่ก่อนแล้วโดยสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะอาการใดที่จะเทียบกันได้เลย ผู้ฟังจะไม่มีทางนึกเห็นหรือเข้าใจได้ด้วยประการใดทั้งสิ้น



เมื่อมีการสอบถามเทียบเคียงขึ้น คือผู้ฟังขอนำเอาสัญญาของตนออกมาต่อความรู้ใหม่ ก็จะได้อย่างเดียวคือการปฏิเสธ หรือถ้าผู้เล่าขืนพยายามจะชี้แจง ด้วยสัญญาที่ผู้ฟังพอจะเอามาเทียบได้บ้าง ก็เสี่ยงอันตรายอย่างมากต่อการที่ผู้ฟังจะสร้างสัญญาผิดๆ ต่อสิ่งที่นำมาเล่านั้น
ถ้าผู้ฟังไม่สร้างสัญญาผิด ก็อาจไปสู่สุดทางอีกข้างหนึ่ง คือ ปฏิเสธคำบอกของผู้เล่า โดยกล่าวหาว่าผู้เล่ากล่าวเท็จ หลอกลวง สิ่งที่นำเล่านั้นไม่มีจริง


แต่การที่ผู้ฟังจะปฏิเสธกล่าวว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มีจริง เพียงเพราะเหตุที่ตนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จัก ไม่เหมือนกับสิ่งที่ตนเคยรู้จัก และตนเอง ไม่อาจนึกเห็น หรือเข้าใจ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 12:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิพพาน เป็นภาวะที่พ้นจากสภาพทั้งหลายที่ปุถุชนรู้จัก นอกเหนือออก ไปจากการรับรู้ที่ถูกอวิชชา ตัณหา อุปาทานครอบงำ เป็นภาวะที่เข้าถึงทันที พร้อมกับการละกิเลสที่เคลือบคลุมใจ หรือภาวะลักษณะต่างๆ ที่เป็นวิสัยของปุถุชน เหมือนเลื่อนฉากออกก็มองเห็นท้องฟ้า
นิพพานไม่มีลักษณะอาการเหมือนสิ่งใดที่ปุถุชนเคยรู้เคยเห็น ปุถุชนจึงไม่อาจนึกเห็นหรือคิดเข้าใจได้ แต่จะว่านิพพานไม่มีก็ไม่ถูก
มีผู้กล่าวอุปมาบางอย่างไว้ เพื่อให้ปุถุชนพอสำนึกได้ว่า สิ่งที่ตนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ ไม่จำเป็นต้องไม่มี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 12:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อเปรียบเทียบที่น่าฟังเรื่องหนึ่ง คือ เรื่องปลาไม่รู้จักบก มีความย่อของนิทานว่า ปลากับเต่าเป็นเพื่อนสนิทกัน ปลาอยู่แต่ในน้ำรู้จักแต่เรื่องราวความเป็นไปในน้ำ เต่าเป็นสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก รู้จักทั้งบกและทั้งน้ำ

วันหนึ่ง เต่าไปเที่ยวบกมาแล้ว ลงในน้ำพบปลา ก็เล่าให้ปลาฟัง ถึงความสดชื่นที่ได้ไปเดินเที่ยวบนผืนดินแห้ง ในท้องทุ่งโล่งที่ลมพัดฉิว
ปลาฟังไปได้สักหน่อย ไม่เข้าใจเลย อะไรกันนะที่ว่าเดิน อะไรกันพื้นดินแห้ง อะไรกันทุ่งโล่ง อะไรกันลมพัดฉิว แม้แต่ความสดชื่นอย่างนั้น ปลาก็ไม่รู้จัก ความสุขโดยปราศจากน้ำ จะเป็นไปได้อย่างไร มีแต่จะตายแน่ๆ

ปลาทนไม่ได้ จึงขัดขึ้น และซักถามหาความเข้าใจ
เต่าเล่า และอธิบายด้วยศัพท์บก
ปลาซักถามด้วยศัพท์น้ำ
เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ ปลาจะให้เต่าอธิบายด้วยศัพท์น้ำ เต่าก็อธิบายไม่ได้ เพราะไม่รู้จะเอาอะไรมาเทียบ


ในที่สุด ปลาก็ลงข้อสรุปว่า เต่าโกหก เรื่องที่เล่าไม่จริงทั้งสิ้น เดินก็ไม่มี ผืนดินแห้งก็ไม่มี ทุ่งโล่งก็ไม่มี ลมพัดฉิวต้องตัวแล้วสดชื่น ก็ไม่มี


ตามเรื่องนี้ ความจริงปลาเป็นฝ่ายผิด สิ่งที่เต่าเล่ามีอยู่จริง แต่พ้นวิสัยแห่งความรู้ของปลา เพราะปลายังไม่เคยขึ้นไปอยู่บก จึงไม่อาจเข้าใจได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อเทียบอีกอย่างหนึ่ง คือ ความรู้ทางอายตนะที่ต่างกัน ธรรมดาว่า ความรู้ ทางอายตนะคนละอย่าง ย่อมมีลักษณะอาการที่ต่างกันโดยสิ้นเชิง และไม่อาจเทียบกันได้ รูป กับ เสียง ไม่มีอะไร เทียบกัน ได้ เสียง กับ กลิ่น ไม่มีอะไรเทียบกันได้ ดังนี้ เป็นต้น

สมมุติ ว่า คนผู้หนึ่งตาบอดมาแต่กำเนิด ไม่เคยมีสัญญาเกี่ยว กับ รูป ย่อมไม่มีใครสามารถไปอธิบายสีเขียว สีแดง สีส้ม สีชมพู หรือลักษณะอาการต่างๆ ของรูป ให้เข้าใจได้เลย ด้วยความรู้จากสัญญา ที่เขามีทางอายตนะอื่นๆ ไม่ว่าจะอธิบายว่า รูป นั้น ดัง เบา ทุ้ม แหลม เหม็น หอม เปรี้ยว หวาน อย่างไร หรือ
ถ้าใครไม่มีประสาทจมูกมาแต่กำเนิด ใครจะอธิบายให้เขาเข้าใจ เหม็น หอม กลิ่นกุหลาบ กลิ่นส้ม กลิ่นมะลิ ได้อย่างไร เพราะคงจะต้องปฏิเสธคำว่า เขียว เหลือง แดง น้ำเงิน หนัก เบา อ้วน เบา อ้วน ผอม ดัง เบา ขม เค็ม เป็นต้น ที่เขาใช้ซักถามทั้งหมด

ยิ่งกว่านั้น มนุษย์มีอายตนะขั้นต้นสำหรับรับรู้ลักษณะอาการต่างๆ ของโลกที่เรียกว่า อารมณ์ เพียง 5 อย่าง
ถ้ามีแง่ของความรู้ที่นอกเหนือจากนั้นไป มนุษย์ย่อมไม่อาจรู้ และแม้แต่ 5 อย่างที่รู้ ก็รู้ไปตามลักษณะอาการด้านต่างๆเท่านั้น การไม่เคยรู้ไม่เคยเห็น หรือนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจของมนุษย์เพียงอย่างเดียว จึงยังมิใช่เครื่องชี้ขาดว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 12:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพระพุทธเจ้า ตรัสรู้ใหม่ๆ ก่อนที่จะทรงประกาศธรรม ได้ทรงมีพุทธดำริว่า

“ธรรมที่เราเข้าถึงแล้วนี้ ลึกซึ้ง เห็นยาก หยั่งรู้ตามยาก สงบ ประณีต ตรรกะหยั่งไม่ถึง ละเอียดอ่อน เป็นวิสัยของบัณฑิตจะพึงทราบ” (วินย.4/7/8, ม.มู.12/321/323)


และมีข้อความเป็นคาถาต่อไปว่า

“ธรรม เราลุถึงโดยยาก เวลานี้ ไม่ควรประกาศ ธรรมนี้ มิใช่สิ่งที่สัตว์ผู้ถูกราคะ โทสะ ครอบงำ จะรู้เข้าใจง่าย สัตว์ทั้งหลาย ผู้ถูกราคะย้อมไว้ ถูกกองความมืดคืออวิชชาห่อหุ้ม จักไม่เห็นภาวะที่ทวนกระแส ละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง เห็นยาก ละเอียดยิ่งนัก” (วินย.4/7/8, ม.มู.12/321/323)


คำว่า "ธรรม" ในที่นี้ หมายถึงปฏิจจสมุปบาท และนิพพาน (จะว่าอริยสัจจ์ 4 ก็ได้ใจความเท่ากัน)
แต่ถึงแม้จะยากอย่างนี้ ก็ปรากฏว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงพยายามสั่งสอนชี้แจงอธิบายอย่างมากมาย ดังนั้น คำว่า นิพพานเป็นสิ่งที่ปุถุชนนึกไม่เห็น คิดไม่เข้าใจ จึงควรมุ่งให้เป็นคำเตือนเสียมากว่า คือ เตือนว่า ไม่ควรเอาแต่คิดสร้างภาพ และถกเถียงชักเหตุผลมาแสดงกันอยู่ จะเป็นเหตุให้สร้างสัญญาผิดๆ ขึ้นเสียเปล่า

ทางที่ดีหรือทางที่ถูก ควรจะลงมือปฏิบัติให้เข้าถึงเพื่อรู้เห็นประจักษ์ชัดกับตนเอง เพราะถึงแม้ว่านิพพานนั้น เมื่อยังไม่รู้ไม่เห็น ก็นึกไม่เห็นคิดไม่เข้าใจ แต่ก็เป็นสิ่งที่รู้ได้เข้าถึงได้ เพียงแต่ว่ายากเท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ส.ค. 2018, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเมื่อนิพพานเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก หยั่งรู้ตามได้ยาก เมื่อยังไม่เห็น ก็นึกไม่เห็น เมื่อยังไม่เข้าถึง ก็คิดไม่เข้าใจ ถ้อยคำที่ใช้บอกตรงๆและสัญญาที่จะใช้กำหนดก็ไม่มี ดังกล่าวมาฉะนี้ จึงน่าสังเกตว่า ในการกล่าวถึงนิพพาน ท่านจะพูดอย่างไร หรือใช้ถ้อยคำอย่างไร

ต่อที่

viewtopic.php?f=1&t=56450

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2018, 00:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
นิพพานแล้วไปไหนคะ

อยากทราบว่านิพพานแล้วไปไหนคะ บ้างก็บอกนิพพานแล้วไปสวรรค์​ บ้างก็บอกนิพพานคือการดับสูญ​ ขอคนรู้จริงๆอ้างจากพระคัมภีย์พระไตรปิฎกเลยค่ะ​ หรืออ้างจากพระวจนะของพระพุทธเจ้า​ ถ้าพระรูปอื่นบอกหรืออ่านตามกระทู้อื่นๆแล้วเราจะรู้จะเชื่อได้หรือไม่ว่าเป็นเช่นนั้นจริงๆ​ โดยส่วนตัวไม่ค่อยเชื่อเรื่องการนิมิตการดูดวงการฝันเห็นแล้วนำมาบอกเล่าเท่าไร​ เพราะคิดว่ายังไม่ค่อยมีความชัดเจน

https://pantip.com/topic/37960579

:b12:
นิพพานแล้วก็จบไม่ไปไหนอีกเลย
ไปนิพพานไม่ได้พาจิตไปด้วย
เพราะดับขันธปรินิพพาน
ทิ้งไว้บนโลกหมดเลย
ทั้งกายและจิต
เหลือแต่
นิพพานธาตุไงคะ
:b12:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2018, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้นั้น เพราะธรรมดาของมนุษย์ เมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้วมากำหนด แล้ววาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ ที่เอามากำหนดเทียบนั้น ได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ นึกอะไรไม่ได้เลย อาจจะกำหนดไปตามอาการกิริยา เป็นต้น ของผู้พูด แล้วอาจจะนึกว่า ผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขา หรืออาจจะนึกไปว่า ผู้พูดกล่าวภาษาต่างประเทศคำหนึ่ง หรืออาจจะนึกว่า ผู้พูดเสียสติ จึงกล่าวคำไร้ความหมายออกมา หรืออะไรต่างๆ ได้มากมาย แล้วแต่สถานการณ์


แต่ถ้าผู้พูดกล่าวว่า “ฉันเห็นช้าง” ผู้ฟังนั้น จะมีความเข้าใจขึ้นหน่อยหนึ่งว่า ช้างเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่เห็นได้ด้วยตา ถ้าผู้พูดอธิบายต่อไปว่า “ช้างเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง” เขาก็เข้าใจขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง โดยอาจจะนึกไปถึงสิ่งทั้งหลายที่เรียกว่าสัตว์ ไม่จำกัดชนิด และขนาดตั้งแต่มดถึงไดโนเสา ตั้งแต่ปลากัดถึงปลาวาฬ ตั้งแต่ยุง ถึงนกอินทรีย์ เมื่อผู้พูดกล่าวต่อไปว่า “ช้าง เป็นสัตว์บก” เขาก็เข้าใจชัดขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง ครั้นบอกว่า "ช้าง" เป็นสัตว์ตัวโตมาก เขาก็เห็นภาพจำกัดชัดเข้าอีก


จากนั้น ผู้พูดก็อาจบรรยายลักษณะของช้าง เช่น ใบหูโต ตาเล็ก มีงาสองข้าง มีจมูกยาวเป็นงวง เป็นต้น ผู้ฟังก็จะได้ภาพจำเพาะที่ ชัดเจนในใจของเขามากขึ้น ภาพนั้นอาจใกล้ของจริงก็ได้ หรือห่างไกลไปมากมาย ชนิดที่ว่า

ถ้าให้เขาวาดภาพที่เขาเห็นในใจเวลานั้นออกมาเป็นรูปวาดบนแผ่นกระดาษ เราอาจได้รูปสัตว์ประหลาดเพิ่มอีกชนิดหนึ่ง สำหรับนิยายโบราณเรื่องใหม่ก็ได้ เพราะผู้ไม่รู้ไม่เห็นจริงนี่แหละ มักใช้สัญญาต่างๆ สร้างภาพได้วิจิตรพิสดารนัก ทั้งนี้ภาพในใจเขาจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นต่อความแม่นยำของสัญญาเกี่ยวกับลักษณะอาการต่างๆที่ผู้เล่ายกขึ้นมาพูดฝ่ายหนึ่ง และสัญญาที่ผู้ฟังเอามาประสานเป็นองค์ประกอบสร้างสัญญาใหม่อีกฝ่ายหนึ่ง


จะเห็นว่า คำว่า “เห็น” ก็ดี “สัตว์” ก็ดี “บก” ก็ดี “ตัวโต” เป็นต้น ก็ดี ล้วนเป็นสัญญาที่ผู้ฟังมีอยู่แล้วทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่สิ่งที่นำมาบอกเล่า แตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้ฟังเคยรู้เห็นมี สัญญาอยู่ก่อนแล้วโดยสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะอาการใดที่จะเทียบกันได้เลย ผู้ฟังจะไม่มีทางนึกเห็นหรือเข้าใจได้ด้วยประการใดทั้งสิ้น



เมื่อมีการสอบถามเทียบเคียงขึ้น คือผู้ฟังขอนำเอาสัญญาของตนออกมาต่อความรู้ใหม่ ก็จะได้อย่างเดียวคือการปฏิเสธ หรือถ้าผู้เล่าขืนพยายามจะชี้แจง ด้วยสัญญาที่ผู้ฟังพอจะเอามาเทียบได้บ้าง ก็เสี่ยงอันตรายอย่างมากต่อการที่ผู้ฟังจะสร้างสัญญาผิดๆ ต่อสิ่งที่นำมาเล่านั้น
ถ้าผู้ฟังไม่สร้างสัญญาผิด ก็อาจไปสู่สุดทางอีกข้างหนึ่ง คือ ปฏิเสธคำบอกของผู้เล่า โดยกล่าวหาว่าผู้เล่ากล่าวเท็จ หลอกลวง สิ่งที่นำเล่านั้นไม่มีจริง


แต่การที่ผู้ฟังจะปฏิเสธกล่าวว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มีจริง เพียงเพราะเหตุที่ตนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จัก ไม่เหมือนกับสิ่งที่ตนเคยรู้จัก และตนเอง ไม่อาจนึกเห็น หรือเข้าใจ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง

:b32:
ทำไม่ต้องนึกเห็นล่ะ...ก็กำลังเห็นจริงๆอยู่ไม่ใช่หรือคะ
แล้วนิพพานไม่ต้องไปนึกเอาแค่ให้รู้จักตนเองก่อน
ว่าอยากได้อยากมีอยากเป็นอยากเห็นอยากๆๆๆอยู่
ไปไม่ได้น๊าเพราะนิพพานหมดอยากถึง...เพราะถึงแล้วอิอิอิ
เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นไม่ต้องอยากยิ่งเร่งนั่นแหละอยากถึงคือโลภะ/ราคะกั้นทันที
ฟังพระพุทธพจน์ก่อนจิตออกจากร่างกายนี้
https://youtu.be/nMw_M7tZo2E
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2018, 00:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ในเมื่อนิพพานเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก หยั่งรู้ตามได้ยาก เมื่อยังไม่เห็น ก็นึกไม่เห็น เมื่อยังไม่เข้าถึง ก็คิดไม่เข้าใจ ถ้อยคำที่ใช้บอกตรงๆและสัญญาที่จะใช้กำหนดก็ไม่มี ดังกล่าวมาฉะนี้ จึงน่าสังเกตว่า ในการกล่าวถึงนิพพาน ท่านจะพูดอย่างไร หรือใช้ถ้อยคำอย่างไร

ต่อที่

viewtopic.php?f=1&t=56450

:b12:
ดับกิเลสได้หมดก็ถึงแหละ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจความจริง
ที่กายใจตนกำลังมีให้ได้ก่อนว่า
อะไรที่กำลังมีจริงๆเดี๋ยวนนี้เลยค่ะ
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2018, 07:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ในเมื่อนิพพานเป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก หยั่งรู้ตามได้ยาก เมื่อยังไม่เห็น ก็นึกไม่เห็น เมื่อยังไม่เข้าถึง ก็คิดไม่เข้าใจ ถ้อยคำที่ใช้บอกตรงๆและสัญญาที่จะใช้กำหนดก็ไม่มี ดังกล่าวมาฉะนี้ จึงน่าสังเกตว่า ในการกล่าวถึงนิพพาน ท่านจะพูดอย่างไร หรือใช้ถ้อยคำอย่างไร

ต่อที่

viewtopic.php?f=1&t=56450

:b12:
ดับกิเลสได้หมดก็ถึงแหละ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจความจริง
ที่กายใจตนกำลังมีให้ได้ก่อนว่า
อะไรที่กำลังมีจริงๆเดี๋ยวนนี้เลยค่ะ
:b4: :b4:


แล้วอะไรล่ะทีมันมีจริงๆเดี๋ยวนี้น่าขอรับโผม :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ส.ค. 2018, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
การที่ปุถุชนไม่สามารถนึกเห็น ไม่อาจคิดให้เข้าใจภาวะของนิพพานได้นั้น เพราะธรรมดาของมนุษย์ เมื่อยังไม่รู้เห็นประจักษ์เองซึ่งสิ่งใด ก็เรียนรู้สิ่งนั้นด้วยอาศัยความรู้เก่าเป็นพื้นเทียบ คือ เอาสัญญาที่มีอยู่แล้วมากำหนด แล้ววาดภาพขึ้นใหม่จากสัญญาต่างๆ ที่เอามากำหนดเทียบนั้น ได้ภาพตามสัญญาที่เป็นองค์ประกอบ เหมือนอย่างคนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักช้างเลย เมื่อมีใครพูดขึ้นแก่เขาว่า “ช้าง” เขาจะไม่รู้ ไม่เข้าใจ นึกอะไรไม่ได้เลย อาจจะกำหนดไปตามอาการกิริยา เป็นต้น ของผู้พูด แล้วอาจจะนึกว่า ผู้พูดกล่าวผรุสวาทแก่เขา หรืออาจจะนึกไปว่า ผู้พูดกล่าวภาษาต่างประเทศคำหนึ่ง หรืออาจจะนึกว่า ผู้พูดเสียสติ จึงกล่าวคำไร้ความหมายออกมา หรืออะไรต่างๆ ได้มากมาย แล้วแต่สถานการณ์


แต่ถ้าผู้พูดกล่าวว่า “ฉันเห็นช้าง” ผู้ฟังนั้น จะมีความเข้าใจขึ้นหน่อยหนึ่งว่า ช้างเป็นอะไรอย่างหนึ่งที่เห็นได้ด้วยตา ถ้าผู้พูดอธิบายต่อไปว่า “ช้างเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง” เขาก็เข้าใจขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง โดยอาจจะนึกไปถึงสิ่งทั้งหลายที่เรียกว่าสัตว์ ไม่จำกัดชนิด และขนาดตั้งแต่มดถึงไดโนเสา ตั้งแต่ปลากัดถึงปลาวาฬ ตั้งแต่ยุง ถึงนกอินทรีย์ เมื่อผู้พูดกล่าวต่อไปว่า “ช้าง เป็นสัตว์บก” เขาก็เข้าใจชัดขึ้นอีกหน่อยหนึ่ง ครั้นบอกว่า "ช้าง" เป็นสัตว์ตัวโตมาก เขาก็เห็นภาพจำกัดชัดเข้าอีก


จากนั้น ผู้พูดก็อาจบรรยายลักษณะของช้าง เช่น ใบหูโต ตาเล็ก มีงาสองข้าง มีจมูกยาวเป็นงวง เป็นต้น ผู้ฟังก็จะได้ภาพจำเพาะที่ ชัดเจนในใจของเขามากขึ้น ภาพนั้นอาจใกล้ของจริงก็ได้ หรือห่างไกลไปมากมาย ชนิดที่ว่า

ถ้าให้เขาวาดภาพที่เขาเห็นในใจเวลานั้นออกมาเป็นรูปวาดบนแผ่นกระดาษ เราอาจได้รูปสัตว์ประหลาดเพิ่มอีกชนิดหนึ่ง สำหรับนิยายโบราณเรื่องใหม่ก็ได้ เพราะผู้ไม่รู้ไม่เห็นจริงนี่แหละ มักใช้สัญญาต่างๆ สร้างภาพได้วิจิตรพิสดารนัก ทั้งนี้ภาพในใจเขาจะเป็นอย่างไร ย่อมขึ้นต่อความแม่นยำของสัญญาเกี่ยวกับลักษณะอาการต่างๆที่ผู้เล่ายกขึ้นมาพูดฝ่ายหนึ่ง และสัญญาที่ผู้ฟังเอามาประสานเป็นองค์ประกอบสร้างสัญญาใหม่อีกฝ่ายหนึ่ง


จะเห็นว่า คำว่า “เห็น” ก็ดี “สัตว์” ก็ดี “บก” ก็ดี “ตัวโต” เป็นต้น ก็ดี ล้วนเป็นสัญญาที่ผู้ฟังมีอยู่แล้วทั้งสิ้น แต่ในกรณีที่สิ่งที่นำมาบอกเล่า แตกต่างไปจากสิ่งที่ผู้ฟังเคยรู้เห็นมี สัญญาอยู่ก่อนแล้วโดยสิ้นเชิง ไม่มีลักษณะอาการใดที่จะเทียบกันได้เลย ผู้ฟังจะไม่มีทางนึกเห็นหรือเข้าใจได้ด้วยประการใดทั้งสิ้น



เมื่อมีการสอบถามเทียบเคียงขึ้น คือผู้ฟังขอนำเอาสัญญาของตนออกมาต่อความรู้ใหม่ ก็จะได้อย่างเดียวคือการปฏิเสธ หรือถ้าผู้เล่าขืนพยายามจะชี้แจง ด้วยสัญญาที่ผู้ฟังพอจะเอามาเทียบได้บ้าง ก็เสี่ยงอันตรายอย่างมากต่อการที่ผู้ฟังจะสร้างสัญญาผิดๆ ต่อสิ่งที่นำมาเล่านั้น
ถ้าผู้ฟังไม่สร้างสัญญาผิด ก็อาจไปสู่สุดทางอีกข้างหนึ่ง คือ ปฏิเสธคำบอกของผู้เล่า โดยกล่าวหาว่าผู้เล่ากล่าวเท็จ หลอกลวง สิ่งที่นำเล่านั้นไม่มีจริง


แต่การที่ผู้ฟังจะปฏิเสธกล่าวว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งไม่มีจริง เพียงเพราะเหตุที่ตนไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จัก ไม่เหมือนกับสิ่งที่ตนเคยรู้จัก และตนเอง ไม่อาจนึกเห็น หรือเข้าใจ ย่อมไม่เป็นการถูกต้อง

:b32:
ทำไม่ต้องนึกเห็นล่ะ...ก็กำลังเห็นจริงๆอยู่ไม่ใช่หรือคะ
แล้วนิพพานไม่ต้องไปนึกเอาแค่ให้รู้จักตนเองก่อน
ว่าอยากได้อยากมีอยากเป็นอยากเห็นอยากๆๆๆอยู่
ไปไม่ได้น๊าเพราะนิพพานหมดอยากถึง...เพราะถึงแล้วอิอิอิ
เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้นไม่ต้องอยากยิ่งเร่งนั่นแหละอยากถึงคือโลภะ/ราคะกั้นทันที
ฟังพระพุทธพจน์ก่อนจิตออกจากร่างกายนี้
https://youtu.be/nMw_M7tZo2E


คุณโรสดูยัง เขาตั้งกระทู้ถาม-ตอบกัน

อ้างคำพูด:
การปฏิบัติธรรม ตามแนวของ อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เป็นอย่างไรครับ

ฟังดูเป็นวิชาการ ที่ต้องพิจารณาตามอย่างละเอียด

แต่ส่วนตัวรู้สึกแห้งแล้ง ขาดความสดชื่นและอิ่มเอม แม้สิ่งที่อาจารย์สุจินต์สอน จะเป็นข้อเท็จจริงหลายๆอย่างที่ชาวพุทธควรรู้ ควรตระหนัก

อีกด้านหนึ่ง จากที่ฟังๆ มา เข้าใจว่า แนวของ อาจารย์สุจินต์ ไม่มีกรรมฐาน เหมือนแนวทางอื่นๆ
https://pantip.com/topic/38001354



คคห.1 บอกว่า
อ้างคำพูด:
บอกเลยว่ามโนอย่างแท้จริง
เพราะมโนไปอนาคตธรรม
ยกตัวอย่างเช่น
ให้รู้ว่าตนไม่ใช่คน สัตว์ สิ่งของ
สิ่งนี้เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์
ให้ตนไปรู้รสนิพพาน
ตนไม่ได้พระอริยะจะไปรู้รสนิพพานไม่ได้
เป็นโสดาบันจึงจะรู้รสนิพพาน
เขาสอนเหมือนตนเป็นพระอรหันต์ไปแล้ว
คนที่ฟังก็มโนตาม แต่ปฏิบัติตามไม่ได้ เพราะต่างคนต่างมโนไป
ใครมีกามราคะมากก็มโนไปอีกทาง
ใครมีโทสะมากก็มโนไปอีกทาง
ใครที่โลภมากก็มโนไปอีกทาง
ใครโมหะมากก็มโนไปอีกทาง
การปฏิบัติสมาธิพร้อมเจริญสติปัฏฐาน
เป็นการแก้ไขการมโน แก้การฟุ้งซ่าน


ใช่เลยนี่แหละโฮมสะเตย์นำโดยแม่สุจิน คือ รู้จากการมโนนึกไป :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 23 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 215 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร