วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 22:30  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
พระพุทธศาสนาคือคำสอนของผู้ประเสริฐผู้รู้ตื่นเบิกบานที่รู้จริงจนถึงที่สุดละเอียดแท้จริงคือพระอภิธรรม
ทุกคำในพระไตรปิฎกส่องถึงขณะนี้ค่ะการฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าคือการฟังความจริงที่ตนเองกำลังมี
ไม่ใช่การไปอ่านท่องจำได้แล้วเอาไปทำเหมือนวิชาการอื่นๆเพราะไม่มีเราต้องไปเพื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอีก
แต่เป็นความตั้งใจเลื่อมใสในคำสอนจากฟังเข้าใจความจริงตามได้ทีละน้อยตอนกำลังฟังเข้าใจถูกตาม
แล้วมีความเพียรฟังคิดถูกเข้าใจถูกตามสิ่งที่มีแล้วที่กำลังปรากฏตรงตามคำสอนแล้วที่ตนเองไม่รู้ค่ะ
ส่วนการประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นการคิดพูดทำตามที่ตนเข้าใจเองทำตามที่อยากไปมีตัวตนทำ ตาม ที่ชอบๆ
onion onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 11:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
เพื่อให้เป็นผู้คิดตรงทีละคำและเข้าใจคำสอนตามไปด้วยจึงเป็นการทำสุตมยปัญญาตามเป็นจริงคือตามรู้
ต้องมีเสียงให้คิดตามโดยไม่ต้องไปหลับตาแต่เป็นการตั้งใจฟังเพื่อรู้สึกตัวตามเป็นจริงเพื่อเข้าใจถูกตาม
https://youtu.be/X6ije-STnwc


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 11:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
rolleyes
พระพุทธศาสนาคือคำสอนของผู้ประเสริฐผู้รู้ตื่นเบิกบานที่รู้จริงจนถึงที่สุดละเอียดแท้จริงคือพระอภิธรรม
ทุกคำในพระไตรปิฎกส่องถึงขณะนี้ค่ะ การฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าคือการฟังความจริงที่ตนเองกำลังมี
ไม่ใช่การไปอ่านท่องจำได้แล้วเอาไปทำเหมือนวิชาการอื่นๆเพราะไม่มีเราต้องไปเพื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอีก
แต่เป็นความตั้งใจเลื่อมใสในคำสอนจากฟังเข้าใจความจริงตามได้ทีละน้อยตอนกำลังฟังเข้าใจถูกตาม
แล้วมีความเพียรฟังคิดถูกเข้าใจถูกตามสิ่งที่มีแล้วที่กำลังปรากฏตรงตามคำสอนแล้วที่ตนเองไม่รู้ค่ะ
ส่วนการประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นการคิดพูดทำตามที่ตนเข้าใจเองทำตามที่อยากไปมีตัวตนทำ ตาม ที่ชอบๆ


ที่ท่องจำว่า ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ วิสยรูป ๗ นั่นๆนี่ๆ เป็นต้น ไปท่องจำเอามาจากไหน

พระไตรปิฎก แปลว่า ตรงตัวว่า ตะกร้า ๓ ใบ มิใช่มีแต่พระอภิธรรมอย่างเดียวนะ มี พระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรมปิฎก นะขอรับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 11:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
เพื่อให้เป็นผู้คิดตรงทีละคำและเข้าใจคำสอนตามไปด้วยจึงเป็นการทำสุตมยปัญญาตามเป็นจริงคือตามรู้
ต้องมีเสียงให้คิดตามโดยไม่ต้องไปหลับตาแต่เป็นการตั้งใจฟังเพื่อรู้สึกตัวตามเป็นจริงเพื่อเข้าใจถูกตาม
https://youtu.be/X6ije-STnwc


เจ้าสำนักบ้านธัมมะนำความเห็นของตนเองไปใส่ปากตถาคต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 11:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
rolleyes
พระพุทธศาสนาคือคำสอนของผู้ประเสริฐผู้รู้ตื่นเบิกบานที่รู้จริงจนถึงที่สุดละเอียดแท้จริงคือพระอภิธรรม
ทุกคำในพระไตรปิฎกส่องถึงขณะนี้ค่ะ การฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าคือการฟังความจริงที่ตนเองกำลังมี
ไม่ใช่การไปอ่านท่องจำได้แล้วเอาไปทำเหมือนวิชาการอื่นๆเพราะไม่มีเราต้องไปเพื่อทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดอีก
แต่เป็นความตั้งใจเลื่อมใสในคำสอนจากฟังเข้าใจความจริงตามได้ทีละน้อยตอนกำลังฟังเข้าใจถูกตาม
แล้วมีความเพียรฟังคิดถูกเข้าใจถูกตามสิ่งที่มีแล้วที่กำลังปรากฏตรงตามคำสอนแล้วที่ตนเองไม่รู้ค่ะ
ส่วนการประพฤติปฏิบัตินั้นเป็นการคิดพูดทำตามที่ตนเข้าใจเองทำตามที่อยากไปมีตัวตนทำ ตาม ที่ชอบๆ


ที่ท่องจำว่า ธาตุ ๔ ขันธ์ ๕ วิสยรูป ๗ นั่นๆนี่ๆ เป็นต้น ไปท่องจำเอามาจากไหน

พระไตรปิฎก แปลว่า ตรงตัวว่า ตะกร้า ๓ ใบ มิใช่มีแต่พระอภิธรรมอย่างเดียวนะ มี พระวินัยปิฏก พระสุตตันตปิฏก และพระอภิธรรมปิฎก นะขอรับ

:b32: :b32: :b32:
แล้วชาวบ้านเขาเห็นคนทำผิดตามพระวินัยจะว่าไงคะมีไว้เป็นพระรูปปั้นดูคนทำผิดหรือค๊าาาา
มีคนไม่รู้พระวินัยถวายเงินพระภิกษุรู้วินัยทำไม่ไม่บอกว่ารับเงินไม่ได้รู้แล้วยังทำเป็นมิจฉาชีพ
ขาดจากความเป็นบรรพชิตแล้วตั้งแต่รับเงินแค่ห่มจีวรเฉยๆสำนึกไหมเอาอุปนิสัยเดิมมาใช้น่ะ
:b34: :b34: :b34:
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
เพื่อให้เป็นผู้คิดตรงทีละคำและเข้าใจคำสอนตามไปด้วยจึงเป็นการทำสุตมยปัญญาตามเป็นจริงคือตามรู้
ต้องมีเสียงให้คิดตามโดยไม่ต้องไปหลับตาแต่เป็นการตั้งใจฟังเพื่อรู้สึกตัวตามเป็นจริงเพื่อเข้าใจถูกตาม
https://youtu.be/X6ije-STnwc


เจ้าสำนักบ้านธัมมะนำความเห็นของตนเองไปใส่ปากตถาคต

โรสบอกว่าพระวินัยห้ามพระรับเงินนี่คำตถาคตออกจากปากโรสเชื่อไหมตาไม่บอด
ดูพฤติกรรมบรรพชิตสิคะตรงกับที่โรสบอกไหมไม่ตรงรับเงินขาดจากวินัยถูกไหม
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 13:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
เพื่อให้เป็นผู้คิดตรงทีละคำและเข้าใจคำสอนตามไปด้วยจึงเป็นการทำสุตมยปัญญาตามเป็นจริงคือตามรู้
ต้องมีเสียงให้คิดตามโดยไม่ต้องไปหลับตาแต่เป็นการตั้งใจฟังเพื่อรู้สึกตัวตามเป็นจริงเพื่อเข้าใจถูกตาม
https://youtu.be/X6ije-STnwc


เจ้าสำนักบ้านธัมมะนำความเห็นของตนเองไปใส่ปากตถาคต

โรสบอกว่าพระวินัยห้ามพระรับเงินนี่คำตถาคตออกจากปากโรสเชื่อไหมตาไม่บอด
ดูพฤติกรรมบรรพชิตสิคะตรงกับที่โรสบอกไหมไม่ตรงรับเงินขาดจากวินัยถูกไหม
:b32: :b32: :b32:


วินัยข้อไหน ไหนมามาซิ เขาว่ายังไง :b10:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 13:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสพูดถึงไตรปิฎกบ่อยๆ เรามาทำความรู้จักกันหน่อย รู้แล้วต้องรู้ให้สุดสาย จะได้หายสงสัย ถ้ารู้ครึ่งๆกลางๆฟังๆเขามาแล้วมักมั่วซั้ว อ้าวดู


ไตรปิฎก "ปิฎกสาม" ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆว่า กระจาด หรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎก จึงแปลว่า "คัมภีร์ที่บรรจุพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด" หรือ "ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด" กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก

พระไตรปิฎกบาลี ได้รับการตีพิมพ์เป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทยครั้ง แรก ในรัชกาลที่ ๕ เริ่มเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๑ เสร็จและฉลองพร้อมกับงานรัชดาภิเษก ใน พ.ศ. ๒๔๓๖ แต่ยังมีเพียง ๓๔ เล่ม (ขาดคัมภีร์ปัฏฐาน) ต่อมา พ.ศ.๒๔๖๘ ในรัชกาลที่ ๗ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดพิมพ์ใหม่เป็นฉบับที่สมบูรณ์ เพื่ออุทิศถวายพระราชกุศลแด่รัชกาลที่ ๖ เรียกว่า สฺยามรฏฺฐสฺส เตปิฎกํ (พระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐ) มีจำนวนจบละ ๔๕ เล่ม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 13:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎก มีสาระสำคัญและการจัดแบ่งหมวดหมู่โดยย่อ ดังนี้

๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆของภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อ หรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ ๑. อาทิกัมมิกะ หรือปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ปราชิกถึงอนิยต ๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด ๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน ๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ ๕. ปริวาร คัมภีร์ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย
ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 13:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคล และโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ)
คือ
๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตต์หนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องรวม ๕๖ สังยุตต์ มี ๗,๗๖๒ สูตร
๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าในสี่นิกายแรกไม่ได้มี ๑๕ คัมภีร์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. พระอภิธรรมปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรม และคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่ง เป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ

๑. สังคณี หรือธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภทๆ

๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวข้อแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด

๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ

๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ

กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓

๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ

๗. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 14:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎกบาลีที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้

ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
ข. พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม
ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระไตรปิฎกบาลี ที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้า (ในที่นี้คัดให้ดูเฉพาะพระอภิธรรม) ดังนี้

ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม เล่ม ๓๔ ธรรมสังคณี ต้นเล่มแสดงมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้งชุด ๓ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามีเป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง เป็นอตีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง โลกียธรรม โลกุตรธรรม ชุดหนึ่ง เป็นต้น รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา จากนั้น ขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรม ที่กระจายออกไป โดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้น จนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)

เล่ม ๓๕ วิภังค์ ยกหลักธรรมสำคัญๆขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบ ไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจจ์ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌาน อัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณ ประเภทต่างๆ อธิบายเรืองใด ก็เรียกว่า วิภังค์ของเรื่องนั้นๆ เช่น อธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียก ขันธวิภังค์ เป็นต้น รวมมี ๑๘ วิภังค์

เล่ม ๓๖ ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหนๆ และปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า โสดาบัน ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ดังนี้ เป็นต้น

เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่นความเห็นว่า พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตผลได้ เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้ ทุกอย่างเกิดจากกรรม เป็นต้น ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา

เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู้อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่) เช่น ถามว่า ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล, รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์, หรือว่า รูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป, ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจจ์ หรือว่าทุกขสัจจ์ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์ หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นในกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น เล่มนี้จึงมี ๗ ยมก

เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก บรรจบเป็น ๑๐ ยมก)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 14:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑ คัมภีร์ปัฏฐาน อธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ ธรรมที่นำมาอธิบายก็ คือ ข้อธรรมที่มีในมาติกา คือ แม่บท หรือ บทสรุปธรรม ซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา

ปัฏฐานเล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน จากนั้น จึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ อนุโลมติกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่า กุศลธรรมเป็นปัจจัย แก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ )
กุศลธรรมเป็นปัจจัย แก่ อกุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ ศีลที่ได้รักษาแล้ว ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ, มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือเกิดทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้น จึงถูกต้อง ฯลฯ)
อกุศลธรรมเป็นปัจจัย แก่กุศลธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย (เพราะความอยากบางอย่าง หรือเพราะมานะ หรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำให้ฌานเกิด ฯลฯ)
กุศลธรรม เป็นปัจจัย แก่ อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่เสื่อมไปเสียแล้ว เกิดความโทมนัส ฯลฯ) อย่างนี้เป็นต้น (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลม คือ ตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธ จึงเรียกว่า อนุโลมปัฏฐาน)


เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น อดีตธรรม เป็นปัจจัย แก่ ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (พิจารณารูป เสียง เป็นต้น ที่ดับเป็นอดีตไปแล้วว่า เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น

เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น โลกียธรรมเป็นปัจจัย แก่โลกียธรรม โดยอารัมมณปัจจัย (รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น

เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ

เล่ม ๔๔ ปัฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมทุกปัฏฐาน แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับ ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) เช่น อธิบาย "กุศลธรรมที่เป็นโลกุตรธรรม เป็นปัจจัย แก่กุศลธรรมที่เป็นโลกียธรรม โดยอธิปติปัจจัย" เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บบชุด ๒ (ทุกมาติกา) อนุโลมติกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่น อธิบายว่า กุศลธรรมที่เป็นอดีตธรรม เป็นปัจจัย แก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม เป็นอย่างไร เป็นต้น อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับ ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน เช่น ชุดโลกียะ โลกตุระ กับ ชุดสังขตะ อสังขตะ เป็นต้น

เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนีย ปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กัน แห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็นปัจจนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม + ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ + อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศล ธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร และในทั้ง ๓ แบบนี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้ว ต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับ ชุด ๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับ ชุด ๓ ชุด ๒ กับชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้น แต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก- ทุก - ทุกติก- ติกทุก- ติกติก - ทุกทุก- ตามลำดับ (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปัฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไป จนถึงท้ายสุด คือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)


คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้น เล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้วเอาไปแจกแจง โดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้น ก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์
ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมดจะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า มหาปกรณ์ แปลว่า "ตำราใหญ่" ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ

พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นพระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ พระสุตตันปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และพระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ส.ค. 2018, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เป็นไงคุณโรสศิษย์บ้านธัมมะ พอมองออกไหมอภิธรรม ตรงไหนที่คุณโรสพูดตกร่องบ่อยๆเห็นไหม :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 218 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร