วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 07:34  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2018, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิติ (นิติ, นิด) น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนำ, อุบายอันดี, (ป. นีติ)

นิติบัญญัติ (กฎ) น. การตรากฎหมาย


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ส.ค. 2018, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาที่ใสสว่าง & เจตนาที่ใสสะอาด ทั้งนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ต้องยึดเป็นสำคัญตลอดไป


ก่อนหน้า เราพูดถึงหลักใหญ่ ๒ อย่าง คือ ธรรม กับ วินัย ตอนนี้เรามาถึงคุณสมบัติในตัวคนที่จะจัดกิจดำเนินการ ก็มี ๒ อย่าง คือ ปัญญา กับ เจตนา

สองตัวนี้ เอาไปใช้เป็นมาตรฐานวัดเรื่องของมนุษย์ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าในกิจการอะไรทั้งสิ้น คือ หนึ่ง ต้องมีปัญญารู้ความจริง สอง ต้องมีเจตนาที่บริสุทธิ์

เจตนาที่บริสุทธิ์ คือ ตั้งใจดี ประกอบด้วยคุณธรรม มุ่งเพื่อจุดหมายที่แท้ เพื่อผลที่ดี ม่งมั่นปรารถนาดี จะเรียกว่ามีอุดมคติ หรือมีอุดมการณ์ หรืออะไรก็แล้วแต่ ก็อยู่ในเรื่องเจตนานี่ทั้งหมด

นี่แหละสำคัญอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะไปทำอะไร ก็ต้องมีให้ครบสองอย่าง

ถึงจะมีปัญญา แต่ถ้าเจตนาไม่ดี ทั้งที่มีความรู้ความเข้าใจเห็นความจริง แต่เจตนามีโลภะ จะเอาผลประโยชน์ส่วนตัว หรือเจตนาประกอบด้วยโทสะ คิดจะประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่น หรือประกอบด้วยความหลง เป็นต้น การจัดการในเรื่องนิติบัญญัติ ก็เสียหายไม่ถูกต้อง

ถึงจะมีเจตนาดี บริสุทธิ์ใจ แต่ถ้าไร้ปัญญา ก็ผิดพลาดเสียหาย อาจเกิดผลร้ายโดยไม่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ อย่างน้อยก็ไม่สำเร็จผล

จึงต้องให้ปัญญาที่สว่าง กับ เจตนาที่สะอาด มาร่วมประสานบรรจบกัน

ตอนนี้ก็จึงเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมาว่า เราจะทำอย่างไร ที่จะให้บุคคลผู้เข้าสู่แดนของเรื่องนี้ เริ่มตั้งแต่การบัญญัติกฎหมาย คือขั้นนิติบัญญัตินั้น มีปัญญาและเจตนาที่ดีที่สุด

ถึงผู้ทำงานด้านอื่น ที่เกี่ยวเนื่องกับกฎหมาย ก็จะต้องเป็นอย่างนี้เหมือนกันทั้งนั้น

ดังที่รู้กันดี ส่วนประกอบหรืออำนาจสำคัญ ๓ ประการ ของรัฐ จะเป็นนิติบัญญัติ หรือบริหาร หรือตุลาการ ก็อยู่กับเรื่องของกฎกติกาสังคมนี่เอง

เริ่มที่ฝายนิติบัญญัติก็มาตกลงกัน (ภาษาพระเรียก สมมติสัจจะ จริงตามข้อตกลง ยอมรับ) ใช้ความรู้ที่ถึงธรรมถึงความจริงแท้ มาบัญญัติจัดตั้ง วางระเบียบแบบแผนกฎกติกาขึ้นไว้ ด้วยเจตนาที่ดี ที่บริสุทธิ์โปร่งใสสุจริต เพื่อธรรมเพื่อความดีงามเพื่อประโยชน์สุขที่แท้

แล้วทีนี้ ครั้นถึงฝ่ายบริหาร ก็มาปฏิบัติจัดกิจดำเนินการตามระบบระเบียบแบบแผนกฎกติกานั้น ทำให้การทั้งหลายในรัฐเป็นไปตามกฎกติกา เช่น กฎหมายที่ตั้งไว้ โดยจะต้องประกอบด้วยปัญญาที่ใสสว่าง และมีเจตนาที่บริสุทธิ์ใสสะอาดเช่นเดียวกัน

แล้วก็มาถึงขั้นสุดท้าย ที่ฝ่ายตุลาการจะวินิจฉัยตัดสินกรณีละเมิดฝ่าฝืนผิดพลาดคลาดเคลื่อนขัดแย้ง ให้คดีความทั้งหลายยุติลงได้ตามกติกา เช่น ตามกฎหมายที่ตั้งไว้ ไม่ว่าจะเกิดความวิปลาสคลาดเคลื่อน หรือแม้แต่เคลือบแคลงสงสัยขึ้น ณ ที่ไหนจุดใด แม้แต่ในขั้นนิติบัญญัติ หรือในขั้นของฝ่ายบริหาร ฝ่ายตุลาการ ก็อาจวินิจฉัยตัดสิน ทำให้ข้อสะดุดขัดแย้งระงับลง เหมือนพยุงยกการทั้งหลายให้กลับเข้าไปอยู่ในที่ตั้งอันถูกต้องชอบธรรม ทั้งนี้ ฝ่ายตุลาการนั้น ก็จะต้องประกอบด้วยปัญญาที่ใสสว่าง และมีเจตนาที่ใสสะอาดเช่นเดียวกัน

เรื่องปัญญารู้ความจริง ที่อยู่ในแดนของสภาวธรรมหรือสัจธรรม ก็ได้พูดมาเป็นหลักพอแล้ว ทีนี้ เรื่องเจตนา ที่บอกแล้วว่าเข้ามาในแดนของจริยธรรม และบัญญัติธรรม ก็แน่นอนว่ามีเรื่องที่จะถกเถียงกันให้ได้ความที่ชัดเจนมากขึ้นต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 06:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เป็นธรรมก็ถูกต้องตามความจริง ถูกต้องตามความจริง ก็ดีงาม

ก่อนที่จะพูดถึงธรรมสำหรับผู้พิพากษา ๒ ชุดนั้น ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สักหน่อย ก็มาพูดคุยกันในข้อปลีกย่อยต่างๆ เกี่ยว กับ ธรรม ให้เป็นเรื่องเบาๆเป็นพื้นไว้ ก่อนจะพูดเรื่องที่ยากขึ้นไป

เราบอกว่า ผู้พิพากษาเป็นผู้ทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม เป็นตราชูอันทำหน้าที่ที่เรียกว่าดำรงธรรมไว้ให้แก่สังคมนั้น


"ธรรม" นี้ แปลกันมาว่า ความจริง ความถูกต้อง ความดีงาม


ความหมายที่เป็นหลักเป็นแกนของธรรมนั้น ก็คือ ความจริง หรือสภาวะที่เป็นอยู่เป็นไปของมันอย่างนั้นๆ เป็นธรรมดา


มนุษย์เรานั้น ต้องการสิ่งที่เกื้อกูลเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ตน แต่สิ่งทั้งหลายที่จะเกื้อกูลเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่คนแท้จริง จะต้องสอดคล้องกับความจริง มิฉะนั้น ก็จะไม่เกื้อกูลเป็นประโยชน์ได้แน่แท้ยั่งยืน


สิ่งที่เกื้อกูลเป็นประโยชน์แก่มนุษย์แท้จริง เรียกว่า เป็นความดีงาม


ความดีงาม จึงอยู่สอดคล้อง คือถูกต้องตามความจริง


ความจริง เป็นหลักยืนตัว ความดีงาม เป็นคุณค่าที่มนุษย์ต้องการ ความถูกต้องเป็นความสัมพันธ์ที่น่าพอใจ ระหว่างคุณค่าที่มนุษย์ต้องการ กับความจริงที่เป็นหลักยืนตัวนั้น

ที่ว่าผู้พิพากษาดำรงธรรมนั้น เราเน้นความหมายในแง่ของการรักษาความถูกต้อง ทำให้เกิดความถูกต้อง หรือพูดให้ตรงว่า ทำความถูกต้องให้ปรากฏ และความถูกต้องที่ว่านั้นก็ขึ้นอยู่กับความจริง แล้วความจริงและความถูกต้องนี้ก็พ่วงความดีงามมาด้วย


ถ้าไม่มีความจริง ไม่มีความถูกต้อง ความดีงามก็ไม่แท้ไม่จริง เหมือนอย่างที่คนหลอกลวงก็สามารถทำให้คนรู้สึกว่า เขาเป็นคนดีได้ แต่แล้วในเมื่อไม่ถูกต้อง ไม่ตรงความจริง พอขาดความจริงเท่านั้น ที่ว่าดีก็หมดความหมายไป กลายเป็นไม่ดี ดังนั้น ความจริงและความถูกต้อง จึงเป็นเรื่องสำคัญมาก


ทีนี้ ความจริงนั้น มีอยู่เป็นสภาวะของมันเอง หรือเป็นธรรมดาของธรรมชาติ และความถูกต้องก็อยู่กับความจริงนั้นด้วย แต่เมื่อเรื่องมาถึงคน หรือว่าเมื่อคนไปเกี่ยวข้องกับมัน ก็มีข้อผูกพันขึ้นมา ซึ่งทำให้คนเกิดมีเรื่องในภาคปฏิบัติว่า


๑.จะทำอย่างไร ให้ความจริงนั้นปรากฏขึ้นมา เพราะว่า บางทีความจริงมีอยู่ แต่ความจริงนั้นไม่ปรากฏ

๒.จะทำอย่างไร ให้คนดำรงอยู่ในความจริงนั้นได้ จะได้มีความถูกต้องที่จะตรึง หรือรักษาความดีงามไว้ และ

๓.จะทำอย่างไร ให้คนทำการได้ถูกต้องโดยสอดคล้องกับความจริงนั้น เพื่อให้คนอยู่กับความดีงาม ซึ่งเป็นคุณเป็นประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมของเขา


นี่เป็นเรื่องใหญ่ทั้งนั้น ตอนนี้ก็จึงเหมือนกับว่า ในเรื่องธรรมนี้ เรามอง ๒ ด้าน คือ


หนึ่ง มองด้านความเป็นจริง หรือตัวสภาวะก่อนว่า ความจริงเป็นอย่างไร แล้วก็


สอง บนฐานของความจริงนั้น มองว่า เราจะทำอย่างไรให้มนุษย์นี้ ดำเนินไปกับความจริงนั้น โดยอยู่กับความ
จริง แล้วก็ปฏิบัติให้ถูกต้องตามความจริง


ต้องครบทั้ง ๒ ขั้น ขาดขั้นใดขั้นหนึ่งไม่ได้ ทั้งนั้น

บางทีเราจะเอาขั้นที่ ๒ คือ จะให้คนปฏิบัติถูกต้อง แต่เราไม่รู้ว่า ความจริง คือ อะไร มันก็ไปไม่ได้


เพราะฉะนั้น จึงต้องมีหลักยันอยู่เป็น ๒ ด้าน คือ ด้านสภาวะที่เป็นความจริงตามธรรมชาติ และด้านที่คนเข้าไปเกี่ยวข้องกับความจริง


อย่างไรก็ตาม ตามที่ใช้กันอยู่นั้น "ความจริง" มีความหมายค่อนข้างหลวมๆ ไม่เคร่งครัดนัก คือไม่จำเป็นต้องถึงกับเป็นความจริงตามสภาวะของธรรมชาติ แต่รวมทั้งความจริงตามที่มนุษย์ตกลงยอมรับกันด้วย เช่น หลักการ และข้อที่ตกลงยึดถือกันมาเป็นพวกสมมติสัจจะต่างๆ ดังนั้น ความดีงาม ความถูกต้อง บางทีจึงวัดเพียงด้วยความสอดคล้องกับความจริงระดับนี้ก็มี


สำหรับ บุคคลทั่วไป เอาเพียงว่า ถ้ารักษาปฏิบัติทำความดีงาม ตามที่บอกกล่าวเล่าสอนกันมา ก็ใช้ได้ หรือนับว่าเพียงพอ เมื่ออยู่กับความดีงามแล้ว ก็ถือว่าดำรงความจริง และความถูกต้องพร้อมไปในตัวด้วย


แต่สำหรับผู้ทำหน้าที่ในการรักษาธรรมนั้น จะต้องเข้าถึงธรรมทั้งระบบ


เริ่มด้วยด้านหนึ่ง คือ ด้านความจริง และความจริงก็ต้องลงไปถึงความจริงตามสภาวะของธรรมชาติด้วย

:b32:
ธัมมะแปลว่าสิ่งที่มีจริง
:b12:
มีทั้งดีเป็นกุศลมีสติปัญญา=จิต+โสภณเจตสิก+รูป(มีกุศลที่ไม่ประกอบปัญญาก็มีค่ะ)
และชั่วเป็นอกุศลมีอวิชชา=จิต+อกุศลเจตสิก+รูป
และกลางๆไม่ดีไม่ชั่ว=จิต+รูป
และนิพพาน=นิพพาน
ตามพระอภิธรรม
จิตเจตสิกรูปนิพพาน
ปรมัตถธัมมะสี่
:b32:
:b4: :b4:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 07:24 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มาอีกแล้ว..ประเภท..ธัมมะคือธรรมชาติ..นี้นะ

ความดี..ความชั่ว..ไม่ดีไม่ชั่ว..เป็นธรรมชาติมั้ย..เป็นธรรมะมั้ย?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 08:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เราเป็นชาวพุทธ...พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าที่สอนสัตว์โลก..นี้..สอนเพื่ออะไร?
สอนเพื่อให้พัฒนาตนให้พ้นทุกข์...ใช่มั้ย?


ความพ้นทุกข์..เป็นความดีงามหรือความเลวร้ายละ?...เป็นความดีงามใช่มั้ย?...ดีงามที่ 1มั้ย?

ก่อนจะถึงความดีงามที่ 1..ก็ต้องผ่านความดีงามรองๆลงมาก่อน...

การค่อยๆละความชั่ว...เพิ่มความดีงาม..นี้..เขาเรียกว่าการพัฒนา...เป็นการเจริญขึ้น..ใช่หรือไม่ใช่?

การเจริญขึ้น..นี้..หากพูดแค่นี้..ก็เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า...หมายถึง...การเพิ่มพูนขึ้นของความดีงาม

แต่ถ้า..ความเลวมากขึ้น..เป็นที่ทราบทั่วไปว่า..จะไม่ใช้คำว่าพัฒนาหรือคำว่าเจริญ...

คำว่า..ธรรมะ...เราชาวพุทธจึงหมายถึง...พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า...(หากเป็นชาวคริสต์ ..อิสลลาม..เขาก็ว่าคำสอนเขาเป็นธรรมะ).

ธรรมะของพระองค์..ทำให้มนุษย์เราพ้นทุกข์ได้เป็นความดีงาม...เรียกว่า..พัฒนา..เจริญขึ้น

ธรรมะ..(ของพระองค์) จึงเป็นความดีงาม (เพราะนำไปสู่การพ้นจากทุกข์ได้จริง)

พูดไป...พูดมา..ก็เลยเหลือเพียงสั้นๆว่า..

ธรรมะ..คือความจริง...ความดีงาม..ความเจริญ.


แล้ว....ธรรมะของพระองค์..อธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติต่างๆในโลก..ในจักรวาลนี้ได้...ก็เลยพากันเรียกว่า.."ธรรมะคือธรรมชาติ"..

คำว่า.."ธรรมะคือธรรมชาติ" ก็พอจะพูดกันแบบธรรมดาๆ..ให้เข้าใจคร่าวๆ..ได้แค่นั้น..แต่ธรรมชาติจึงไม่อาจเป็นธรรมะ..ได้


เอาเข้าจริงๆ..."ธรรมชาติ ของผู้ไม่รู้"...ยอมไม่มีทาง เข้าใจ"ธรรมชาติ ของผู้รู้" ได้จริงเลย...ก็เป็นการคาดเดาไปอย่างนั้น...

อย่างที่คนไม่ได้ญาณอะไร..ออกมาพูดนั้นแหละ...ก็เดาๆว่า..ต้องนิ่ง..ต้องไม่รู้อะไร..ต้องรู้ทีละคำ..เป็น้น..นั้นแหละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 09:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรม (ธรรม. ส. ธัมม์. ป.) สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง, เหตุ, ต้นเหตุ, สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด, คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ, หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่, ความชอบ, ความยุติธรรม, พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 09:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มาอีกแล้ว..ประเภท..ธัมมะคือธรรมชาติ..นี้นะ

ความดี..ความชั่ว..ไม่ดีไม่ชั่ว..เป็นธรรมชาติมั้ย..เป็นธรรมะมั้ย?


บุญ, กุศล, (ความดี) บาป,อกุศล (ความชั่ว) อัพยากฤต (ไม่ดีไม่ชั่ว) เมื่อพูดตามนัยสูงสุด พระพุทธเจ้าค้นพบตามนัยนี้แหละจึงตรัสว่ามันเป็นอนัตตา ซึ่งมันเป็นธรรมชาตินี่แหละ นี่นัยที่หนึ่ง
แต่เมื่อพูดถึงวิถีชีวิตชาวบ้านทั่วๆไป ให้คิดว่าความดี ความชั่วที่ตัวทำ ตัวก็ต้องรับผิดรับชอบต่อความดีความชั่วที่ตัวทำนั้น ทำดีดีมีคนรักมีคนชม ตายแล้วไปสู่สุคติโลกสวรรค์ ทำชั่วชั่วถูกสังคมตำหนิถูกเจ้าหน้าที่จับได้ก็ต้องรับโทษติดคุกกันไป ตายแล้วก็ไปสู่ทุคติตกนรกกันไป นี่นัยที่สอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มาอีกแล้ว..ประเภท..ธัมมะคือธรรมชาติ..นี้นะ

ความดี..ความชั่ว..ไม่ดีไม่ชั่ว..เป็นธรรมชาติมั้ย..เป็นธรรมะมั้ย?



ชีวิตนี่คือธรรมชาติ จะเข้าใจว่ามันเป็นธรรมชาติ ก็ต้องกำหนดจิตทำภาวนา ยามปกติเราก็คิดว่าเป็นเราเป็นตัวเรา แต่เอาเข้าจริงๆแล้วมันไม่ใช่เรา มันเป็นธรรมชาติ :b32: มันเป็นอนัตตา :b16:

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิเสร็จแล้วคันมากค่ะ

บางทีก็คันตอนนั่ง เคยแต่โยก ไม่เคยคัน สงสัยว่าจะแก้ยังไง ขอบคุณค่ะ

คือว่า ไม่นั่งสมาธิไม่คันค่ะ

มันก็คันตรงนู้นตรงนี้ ไม่ได้หยุดหย่อนน่ะค่ะ เวลาปกติไม่ได้รู้สึกคันตลอดเวลาอย่างนี้ พอนั่งไปสักพักก็จะเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มาอีกแล้ว..ประเภท..ธัมมะคือธรรมชาติ..นี้นะ

ความดี..ความชั่ว..ไม่ดีไม่ชั่ว..เป็นธรรมชาติมั้ย..เป็นธรรมะมั้ย?


อ้างคำพูด:
คำสอนในทางพุทธศาสนานี้ มี ๒ ชั้น คือธรรมะหรือพระธรรมมี ๒ ชั้น : ธรรมะที่เป็นศีลธรรมอย่างหนึ่ง กับ ที่เป็นสัจธรรมอีกอย่างหนึ่ง (หรือว่า จริยธรรมอย่างหนึ่ง กับ สภาวธรรม อีกอย่างหนึ่ง)

ศีลธรรม นั้นเป็นคำสอนชั้นธรรมดา ที่มีคล้ายกันทุกศาสนา ศาสนาคริสต์ อิสลาม ฮินดู พุทธ มีคำสอนในด้านศีลธรรมคล้ายกัน ไม่แตกต่างกันเท่าใดนัก

เรื่องของศีลธรรมเกิดขึ้นอย่างไร เราควรรู้ เพราะศีลธรรมเป็นเครื่องแก้ปัญหาของสังคม

สัจธรรมเป็นเครื่องแก้ปัญหาเฉพาะคน

ถ้าพูดเป็นศัพท์แสงหน่อย ก็เรียกว่า สัจธรรมเป็นเรื่อง “ปัจเจกชน”

ศีลธรรมเป็นเรื่อง “สังคม”



ทั้งหมด (ธรรม, พระธรรม คือ อะไร) ที่

viewtopic.php?f=1&t=55033

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 10:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ธรรมชาติ..ก็คือธรรมชาติ...

มีเจริญ..มีเสื่อม..มีเกิดขึ้น..แล้วก็ดับไป...ตั้งอยู่ไม่ได้...เป็นของธรรมดาของธรรมชาติ

ธรรมชาติ..เลยเป็นธรรมชาติ....ไม่ได้มีผลอะไรกับคน..

แต่ที่มีผลกับคน..เพราะคนไม่เข้าใจ...ก็พยายามจะฝืน..อยากให้มีไม่ให้ดับ...อยากให้ดับไม่ให้มี..เลยเป็นทุกข์

ธรรมะ...ทำให้เข้าใจธรรมชาติ...ตามความเป็นธรรมชาติ...หมดอยากที่จะไปฝืน..หมดอยากอะไรในธรรมชาติที่เกิดดับ

ความเข้าใจธรรมชาติของคน...เป็นธรรมะ...
ูผู้ที่สอนคนให้เข้าใจ..คำสอนนั้นเป็นธรรมะ...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ธรรมชาติ..ก็คือธรรมชาติ...

มีเจริญ..มีเสื่อม..มีเกิดขึ้น..แล้วก็ดับไป...ตั้งอยู่ไม่ได้...เป็นของธรรมดาของธรรมชาติ

ธรรมชาติ..เลยเป็นธรรมชาติ....ไม่ได้มีผลอะไรกับคน..

แต่ที่มีผลกับคน..เพราะคนไม่เข้าใจ...ก็พยายามจะฝืน..อยากให้มีไม่ให้ดับ...อยากให้ดับไม่ให้มี..เลยเป็นทุกข์


ธรรมะ...ทำให้เข้าใจธรรมชาติ...ตามความเป็นธรรมชาติ...หมดอยากที่จะไปฝืน..หมดอยากอะไรในธรรมชาติที่เกิดดับ

ความเข้าใจธรรมชาติของคน...เป็นธรรมะ...
ูผู้ที่สอนคนให้เข้าใจ..คำสอนนั้นเป็นธรรมะ...


คนมีแต่เจริญอย่างไม่มีเสื่อมหรือ :b13: คนไม่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปละหรือ คิกๆๆ ที่เขาสมมติเรียกกันว่าคนหมดทั้งเนื้อทั้งตัวนั่นแหละธรรม นั่นแหละธรรมชาติ ถ้าคนไปยึดมั่นมันนั่นแหละจะเกิดทุกข์เพราะธรรมชาติ (คือนามรูปมันเปลี่ยนไป) เป็นอุปาทานขันธ์ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกหลักธรรมระดับสูงสุด


มรรคในฐานะอุปกรณ์สำหรับใช้ มิใช่สำหรับยึดถือหรือแบกโก้ไว้


"ภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่าหวาดระแวง น่ากลัวภัย แต่ฝั่งข้างโน้น ปลอดโปร่ง ไม่มีภัย ก็แล เรือ หรือสะพาน สำหรับข้ามไปฝั่งโน้น ก็ไม่มี บุรุษนั้นพึงดำริว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่ ฝั่ง ข้างนี้ น่าหวาดระแวง ...ถ้ากระไร เราพึงเก็บรวมเอาหญ้า ท่อนไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามเอาด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโน้นได้โดยสวัสดี"


"คราวนั้น เขาจึง...ผูกแพ...ข้ามถึงฝั่งโน้นโดยสวัสดี ครั้นเขาได้ข้ามไป ขึ้นฝั่งข้างโน้นแล้ว ก็มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้ เราอาศัยแพนี้...ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นเทินบนหัว หรือแบกขึ้นบ่าไว้ ไปตามความปรารถนา"


"ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะเห็นเป็นเช่นไร ? บุรุษนั้น ผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น หรือไม่?"

ภิกษุทั้งหลาย ทูลตอบว่า ไม่ถูก จึงตรัสต่อไปว่า


"บุรุษนั้น ทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น ? ในเรื่องนี้ บุรุษนั้น เมื่อได้ข้ามไปถึงฝั่งโน้นแล้ว มีความดำริว่า แพนี้ มีอุปการะแก่เรามากแท้... ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นไว้บนบก หรือผูกให้ลอยอยู่ในน้ำ แล้วจึงไปตามปรารถนา บุรุษนั้นกระทำอย่างนี้ จึงจะชื่อว่า เป็นผู้กระทำถูกหน้าที่ต่อแพนั้น นี้ฉันใด"

"ธรรมก็มีอุปมาเหมือนแพ เราแสดงไว้ เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือไว้ ฉันนั้น เมื่อเธอทั้งหลาย รู้ทั่วถึงธรรม อันมีอุปมาเหมือนแพที่เราแสดงแล้ว พึงละเสียแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไปใยถึงอธรรมเล่า"



"ภิกษุทั้งหลาย ทิฏฐิ (หลักการ, ความเข้าใจธรรม) ที่บริสุทธิ์ถึงอย่างนี้ ผุดผ่องถึงอย่างนี้ ถ้าเธอทั้งหลาย ยังยึดติดอยู่ เริงใจกระหยิ่มอยู่ เฝ้าถนอมอยู่ ยึดถือว่าเป็นของเราอยู่ เธอทั้งหลาย จะพึงรู้ทั่วถึงธรรม ที่เราแสดงแล้ว เพื่อมุ่งหมายให้ใช้ข้ามไป มิใช่เพื่อให้ยึดถือเอาไว้ ได้ละหรือ" (ม.มู.12/445/479)



พุทธพจน์ทั้งสองแห่งนี้ นอกจากเป็นเครื่องเตือนไม่ให้ยึดมั่นในธรรมทั้งหลาย (แม้ที่เป็นความจริง ความถูกต้อง) โดยมิได้ถือเอาประโยชน์จากธรรมเหล่านั้นตามความหมาย คุณค่า และประโยชน์ตามความเป็นจริงของมันแล้ว ข้อที่สำคัญยิ่งก็คือ เป็นการย้ำให้มองเห็นธรรมทั้งหลาย ในฐานะเป็นอุปกรณ์ หรือวิธีการที่จะนำไปสู่จุดหมาย มิใช่สิ่งลอยๆ หรือจบในตัว


ด้วยเหตุนี้ เมื่อปฏิบัติธรรมข้อใดข้อหนึ่ง จะต้องรู้ตระหนักชัดเจนถึงวัตถุประสงค์ของธรรมนั้น พร้อมทั้งความสัมพันธ์ของมันกับธรมอย่างอื่นๆ ในการดำเนินไปสู่วัตถุประสงค์นั้น


วัตถุประสงค์ในที่นี้ มิได้หมายเพียงวัตถุประสงค์ทั่วไปในขั้นสุดท้ายเท่านั้น แต่หมายถึงวัตถุประสงค์เฉพาะตัวของธรรมข้อนั้นๆ เป็นสำคัญ ว่าธรรมข้อนั้นปฏิบัติ เพื่อช่วยสนับสนุน หรือให้เกิดธรรมข้อใด จะไปสิ้นสุดลงที่ใด มีธรรมใดรับช่วงต่อไป ดังนี้ เป็นต้น


เหมือนการเดินทางไกล ที่ต่อยานพาหนะหลายทอด และอาจใช้ยานพาหนะต่างกัน ทั้งทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ จะรู้คลุมๆ เพียงว่าจะไปสู่จุดหมายปลายทางที่นั่นๆ เท่านั้นไม่ได้ จะต้องรู้ด้วยว่า ยานแต่ละทอดแต่ละอย่างนั้น ตนกำลังอาศัยเพื่อไปถึงที่ใด ถึงที่นั้นแล้ว จะอาศัยยานใดต่อไป ดังนี้เป็นต้น


การปฏิบัติธรรมที่ขาดความตระหนักในวัตถุ ประสงค์ ความเป็นอุปกรณ์ และความสัมพันธ์กับธรรมอื่นๆ ย่อมกลายเป็นการปฏิบัติที่เลื่อนลอย คับแคบ ตัน และที่ร้ายยิ่งคือ ทำให้เขวออกนอกทาง ไม่ตรงจุดหมาย และกลายเป็นธรรมที่เฉื่อยชา เป็นหมัน ไม่แล่นทำการ ไม่ออกผลที่หมาย


เพราะการปฏิบัติอย่างไรจุดหมายเช่นนี้ ความไขว้เขว และผลเสียหายต่างๆ จึงเกิดขึ้นแก่หลักธรรมสำคัญๆ เช่น สันโดษ อุเบกขา เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิติบัญญัติ (กฎ) น. การตรากฎหมาย

บริหาร ดูแล, รักษา, ปกครอง

"ตุลา" นั่นแล ได้มาเป็น "ตุลาการ" ซึ่งแยกศัพท์ได้ ๒ อย่าง คือ เป็น ตุลา+อาการ หรือ ตุลา+การ

อย่างแรก ตุลา+อาการ แปลว่า ผู้มีอาการดังตุลา หมายความว่า มีความประพฤติ มีการปฏิบัติตัว หรือดำเนินงานทำกิจการเหมือนเป็นตุลา ในความหมายอย่างที่กล่าวแล้ว คือ เหมือนเป็นตราชู ตาชั่ง ที่รักษา ตัดสิน และบอกแจ้งความถูกต้องเที่ยงตรง

อย่างที่สอง ตุลา+ การ แปลว่า ผู้ทำตุลา (ผู้ทำดุล) หรือผู้สร้างตุลา (ผู้สร้างดุล) หมายความว่า เป็นผู้ทำให้เกิดความเท่ากัน เสมอกัน ความลงตัว ความพอดี ความสมดุล หรือดุลยภาพ ซึ่งในที่นี้ มุ่งไปที่ความยุติธรรม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไปต่อ


ซ่อนใต้ระบบ ๒ ของธรรมวินัย มองไปเห็นระบบ ๓ แห่งสภาวะ จริยะ และบัญญัติ


ตอนที่พูดเรื่อง ธรรม กับ วินัย นั่นแหละ คือ ได้พูดเรื่องระบบของธรรมทั้งหมดแล้ว เพียงแต่ตอนนั้น จับเอาเฉพาะต้น กับ ปลาย ที่เป็นจุดกำหนดใหญ่ คือ

@จุดเริ่ม หรือหลักต้นเดิม แบบแผนเดิม ด้านธรรมชาติ ได้แก่ ความจริงตามสภาวะของมัน ที่เรียกว่า ธรรม กับ

@ จุดปลาย หรือหลักที่ตั้งขึ้น แบบแผนที่จัดวางขึ้นใหม่ ในด้านมนุษย์ ได้แก่ หลักการกฎกติกา ซึ่งบัญญัติขึ้น ที่เรียกว่า วินัย

ธรรมในที่นี้ หมายถึงความจริงตามสภาวะของธรรมชาติ ถ้าเรียกชื่อเต็ม ก็คือ สภาวธรรม (เรียกหลวมๆ แบบไทยเราว่า สัจธรรม)

ส่วนวินัย ก็อย่างที่กล่าวแล้ว ว่าเป็นเรื่องที่คนบัญญัติจัดตั้งวางขึ้น เมื่อวางเป็นหลักเป็นแบบแผนแล้ว ก็เรียกได้ว่าเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ดังนั้น วินัยเมื่อจัดเข้าในชุดของธรรม (เป็นเรื่องสืบเนื่องจากธรรมนั่นแหละ) ก็เรียกว่าเป็น บัญญัติธรรม

เป็นอันว่า ถึงตอนนี้ มีธรรม ๒ อย่าง คือ สภาวธรรม ในข้างธรรมชาติ และ บัญญัติธรรม ในข้างคนหรือสังคมมนุษย์

ทั้งนี้ ได้บอกแล้วว่า อย่างหลัง คือ บัญญัติธรรม ตั้งอยู่บนฐานของอย่างแรก คือ สภาวธรรม

ทีนี้ ถ้าดูให้ดี ในคำอธิบายเรื่อง ธรรม -วินัย ข้างต้นนั้น จะเห็นว่าระหว่าง ๒ อย่างนั้น ก่อนจะตั้งอย่างหลังขึ้นได้ คือ จากธรรม จะมาตั้งวินัยขึ้นนั้น มีตัวเชื่อมโยง ซึ่งสำคัญมากเหมือนกัน แต่ที่นั่นไม่ได้เน้น ถ้าไม่สังเกต อาจจะมองข้ามหรือลืมไปเสีย ตัวเชื่อมโยงนั่นแหละ คือ ธรรมอีกอย่างหนึ่ง เรียกว่า จริยธรรม

คราวนี้ ก็ครบชุดตลอดทั้งระบบเป็น ๓ อย่าง เรียงตามลำดับเป็น

สภาวธรรม (หลักหรือแบบแผนที่เป็นอยู่เป็นไปในธรรมชาติตามธรรมดาของมัน)

จริยธรรม (ข้อที่เสมือนเป็นเงื่อนไขที่ธรรมชาติเรียกร้องต่อมนุษย์ว่า ถ้ามนุษย์ต้องการผลดี จะต้องปฏิบัติอย่างไร)

บัญญัติธรรม (หลักหรือแบบแผนที่มนุษย์บัญญัติขึ้นเพื่อสนองตามเงื่อนไขของธรรมชาติ)

ถ้าเรียกให้สั้น ก็คือ สภาวะ จริยะ และ บัญญัติ (ใช้คำว่า ธรรม ต่อท้าย เพื่อให้รู้ว่าอยู่ในระบบแห่งธรรม หรือเป็นส่วนของระบบแห่งธรรมนั้น)


ข้อสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องบอกแจ้งไว้ก่อน เพื่อป้องกันความสับสน คือ คำว่าจริยธรรมในที่นี้ จะต้องตระหนักว่า มิใช่มีความหมายอย่างคำว่า "จริยธรรม" ที่ใช้และเข้าใจกันทั่วไปในบัดนี้

เมื่อเห็นคำว่า "จริยธรรม" ในที่นี้ ห้ามนึกถึงจริยธรรมที่ใช้ในปัจจุบันเลย ต้องลบออกไปเลย (เรื่องนี้จะอธิบายเหตุผลข้างหน้า)

ความสัมพันธ์ระหว่างธรรม ๓ อย่างนี้ ก็เหมือนกับที่ได้อธิบายแล้วในตอนว่าด้วย ธรรม กับ วินัย และในที่นี้จะทบทวนเล็กน้อย


ยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมเป็นเชิงเปรียบเทียบ เพื่อให้เข้าใจง่าย

@ สภาวะ (ความจริงตามธรรมชาติ) ไฟเป็นของร้อน มีอำนาจเผาไหม้ ทำให้เกิดแสงสว่างและความเปลี่ยนแปลง ต่างๆ มากน้อย ตามระดับของอุณหภูมิ (มองในแง่ของมนุษย์ มีทั้งที่เป็นคุณ และเป็นโทษแก่ตน)

@ จริยะ (เงื่อนไขหรือข้อพึงประพฤติที่มนุษย์ต้องปฏิบัติเมื่อต้องการผลดีแก่ตน) พึงเข้าไปเกี่ยวข้องและปฏิบัติต่อไฟด้วยความระมัดระวัง สอดส่องป้องกันมิ ให้เกิดอุบัติภัย ไม่เอาไฟไปใช้ทำร้ายใคร หรือทำลายสิ่งใด รู้จักใช้ทำประโยชน์ต่างๆ นำมาใช้ประโยชน์ภายใต้การควบคุมฯลฯ

@ บัญญัติ (จัดตั้งวางระเบียบกฎกติกา และมาตรการที่ให้มั่นใจว่าจะเกิดผลดีตามจริยะ) วางกฎ มิให้ปล่อยเด็กเล็กอายุเท่านั้นๆ ไว้ในที่ใกล้ระยะเท่านั้นๆ จากวัตถุ ก่อไฟ วางข้อห้ามมิให้ผู้ใดนำไฟ หรือวัตถุสื่อไฟเข้าไปในเขตรัศมีเท่านั้นๆ จากโรงเก็บวัตถุระเบิด ตั้ง ข้อกำหนดมิให้ก่อกองไฟเผาหญ้าหรือผิงไฟเป็นต้น ใกล้สิ่งก่อสร้างในระยะ เท่านั้นๆ วางระเบียบในการสร้างครัวและโรงครัวว่าจะต้องใช้วัสดุอะไร สำหรับส่วนประกอบ ใด ต้องจัดวางส่วนประกอบภายในที่ตรงไหน อย่างไรได้ อย่างไรไม่ได้ ฯลฯ


ตัวอย่างทางนามธรรม ก็ เช่น

@ สภาวะ: ความโลภ คือสภาพจิตที่อยากได้อยากเอามาเพื่อตน อาจเป็นเหตุให้ทำ การแสวงหาต่างๆ อาจถึงกับทำให้ไปเอาทรัพย์สินของคนอื่น ทำการลัก ขโมย เป็นต้น โทสะ คือภาวะจิตที่เคืองแค้นมุ่งร้าย ทำให้ใจเร่า ร้อน หัวใจเต้นเร็ว ใจเครียด กล้ามเนื้อเขม็งเกร็ง เลือดลมติด ขัด กระบวนการเผาผลาญในร่างกายทำงานหนัก ทรุดโทรมแก่เร็วขึ้น ง่าย ที่จะก่อความขัดแย้งกับผู้อื่น รุนเร้าขับดันให้ไปรังควาญคนที่ตนเกลียด ชัง อาจถึงกับทำให้ไปทำร้ายทุบตี หรือฆ่าคนอื่น เมตตา คือ สภาพจิตที่รักปรารถนาดีอยากให้คนอื่นเป็นสุข ทำให้ จิตใจสงบเย็น ทำให้ระบบของร่างกายผ่อนคลาย หายใจสบาย เลือดลมเดินดี เผาผลาญน้อย ทรุดโทรมแก่ช้า ทำให้มีความเป็นมิตรและอยากช่วย เหลือผู้อื่น ไปบำเพ็ญประโยชน์ เกื้อกูลสังคม ฯลฯ

@จริยะ: ควรควบคุมความโลภ ไม่ให้ทำการแสวงหาเกินขอบเขตที่ถึงกับไปเอาของของคนอื่น ถึงกับเบียด เบียน หรือก่อความเดือดร้อนแก่สังคม ควรจัดการให้โลภะระบายออกในระบบการ แสวงหาลาภด้วยการทำงาน ควรดับโทสะ เพื่อสุขภาพกายใจของตน ระงับยับยั้งโทสะไม่ให้ทำการประทุษร้ายผู้อื่น มิให้แสดงออกมาในการก่อความเดือดร้อนเบียดเบียนสังคม ควรเจริญเมตตาให้เอื้อต่อสุขภาพกายใจ ควรพัฒนาตนในทางมีน้ำใจช่วย เหลือเกื้อกูล ควรหาทางแสดงน้ำใจไมตรี ไปร่วมมือกัน ไปบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆ ฯลฯ

@ บัญญัติ: ตรากฎหมายห้ามลักขโมย ตรากฎหมายวางบทบัญญัติเกี่ยวกับการทำร้ายร่าง กาย วางระเบียบการจัดอบรมผู้ต้องขัง อบรมเด็กมีปัญหา จัดตั้งค่าย คุณธรรมเพื่อพัฒนาเมตตาธรรม ให้ซื่อสัตย์ ให้กตัญญู จัดตั้งชมรมสุขภาพกายสุขภาพใจ ฯลฯ


ตามตัวอย่างเหล่านี้ จะเห็นได้ไม่ยากว่า สภาวะ เป็นความจริงของธรรมชาติ และ
จริยะ ก็เป็นความจริงเกี่ยวกับความต้องการของชีวิตของคน ไม่ว่าที่ไหน เมื่อใด ทุกกาลเทศะ ก็เป็นอย่างนั้น

ดังนั้น สภาวธรรม และจริยธรรม ซึ่งสืบเนื่องต่อกันมา จึงอยู่ในระดับที่เป็นสัจธรรมด้วยกัน

ส่วนบัญญัตินั้น กำหนดหรือจัดตั้งวางขึ้น เพื่อให้จริยะมีผลเป็นจริง หรือ ให้ได้ผลตามจริยะ เห็นได้ชัดว่าเป็นสมมติ หรือสมมติธรรม คือไม่มีอยู่จริง แต่เป็นเรื่องของการตกลงหรือยอมรับร่วมกันของมนุษย์

ดังนั้น บัญญัติธรรม ซึ่งแต่ละสังคมก็พยายามจัดวางให้ได้ผลมากที่สุด แต่มีความรู้ความเห็นความต้องการความสามารถ มากน้อยไม่เท่า กัน ไม่ตรงกัน เช่น ประเทศนี้ มีกฎหมายว่าด้วยการเก็บ การ เคลื่อนย้าย การใช้ เชื่อเพลิงประเภทต่างๆ เช่น แก๊ส น้ำมัน ถ่านหิน ฯลฯ อย่างหนึ่ง แต่อีกประเทศหนึ่ง มี ข้อกำหนดอีกแบบหนึ่ง และสำหรับเชื่อเพลิงแต่ละประเภทนั้นๆ ก็มีข้อ บัญญัติที่เป็นรายละเอียดแตกต่างกันไปมากมาย หรือแม้ในประเทศเดียว กัน แต่ต่างยุคสมัย ก็มีเหตุให้บัญญัติแผกกันไป


บางทีบัญญัติธรรม ก็ต่างกันมาก จนอาจจะตรงข้ามกันเลย คือ เรื่องที่ในสังคมนี้บัญญัติให้เป็นการถูกต้อง แต่อีกสังคมหนึ่ง บัญญัติให้เป็นการไม่ถูกต้อง หรือในสังคมเดียวกันต่างกาละ เรื่องที่เคยบัญญัติว่า ผิด ก็บัญญัติใหม่เป็นถูก เรื่องที่เคยว่าถูก ก็เอาเป็นผิด


ข้อที่พึงทราบอีกอย่างหนึ่ง คือ จะเห็นชัดเช่นกันว่าสภาวะ หรือสภาวธรรม เป็นเรื่องของปัญญา คือขึ้นต่อความรู้ ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ
ส่วนจริยะ เป็นเรื่องของเจตนา คือขึ้นต่อเจตจำนง ความตั้งใจ


ในการบัญญัติจัดตั้งบัญญัติธรรม จะทำได้ผลดีก็ต้องมีปัญญาที่รู้เข้าใจ เข้าถึงสภาวะและมีเจตนาที่สะอาดประกอบด้วยเมตตาปรารถนาดีต่อเพื่อนมนุษย์ ต่อสังคม เป็นต้น อย่างจริงจังและจริงใจ


ท้ายสุด ในขั้นปฏิบัติตามบัญญัติธรรม การที่จะปฏิบัติตามหรือไม่ และปฏิบัติได้ผลมากน้อยเพียงไร ก็ขึ้นอยู่กับปัญญา และเจตนาเช่นเดียว กัน


ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการพัฒนามนุษย์ด้วยการศึกษา ที่จะให้มนุษย์นั้นมีปัญญารู้เข้าใจสภาวธรรมเท่าที่จะเป็นไปได้ และให้เขาพัฒนาจิตใจ ให้มีเจตนาที่ประกอบด้วยคุณสมบัติดีงามทั้งหลาย เช่น เมตตา กรุณา สติ สมาธิ ฯลฯ เพื่อจะได้มีจริยธรรม ที่จะเอาเจตนานั้นไปนำพฤติกรรมทางกาย วาจา โดยอาศัยบัญญัติธรรมช่วยเกื้อหนุน ให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ดีงามเกื้อกูลเป็นคุณเป็น ประโยชน์แก่ชีวิต แก่สังคม และแก่โลกที่แวดล้อมทั้งหมด ให้อยู่ดีมีสันติสุขแท้จริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 12 ส.ค. 2018, 18:47, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ส.ค. 2018, 14:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สิ่งที่ควรทำความเข้าใจ คือ สภาวธรรม, จริยธรรม, บัญญัติธรรม (เรียกสั้นๆ สภาวะ, จริยะ, บัญญัติ)

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 56 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 159 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron