ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=55819 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | walaiporn [ 08 พ.ค. 2018, 15:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ |
เสขสูตร ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ [๑๐๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมืองโกสัมพี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ มีอยู่หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเป็นรากฐาน. [๑๐๓๒] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะมีอยู่ [๑๐๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ เป็นไฉน? ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระเสขะ . [๑๐๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค มีอยู่หรือ? พระเสขะนั้นย่อมรู้ชัด อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาค ไม่มี ดูกรภิกษุทั้งหลายปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่าเราเป็นพระเสขะ. [๑๐๓๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นั้น มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะ อาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ [๑๐๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นไฉน? ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ [๑๐๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อริยสาวกผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์ ๖ เหล่านี้ จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหนๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระอเสขะ. จบ สูตรที่ ๓ |
เจ้าของ: | walaiporn [ 08 พ.ค. 2018, 15:48 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ |
ปทสูตร บทธรรมที่เป็นไปเพื่อความตรัสรู้ [๑๐๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดินชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท คือ ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่าเป็นยอดแห่งบทธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๐๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บทแห่งธรรมทั้งหลายเป็นไฉน ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้? ได้แก่บทแห่งธรรม คือ สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. จบ สูตรที่ ๔ สารสูตร ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งบทธรรม [๑๐๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย รอยเท้าของสัตว์ผู้เที่ยวไปบนพื้นแผ่นดิน ชนิดใดชนิดหนึ่ง รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมรวมลงในรอยเท้าช้า รอยเท้าช้าง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะเป็นรอยใหญ่ แม้ฉันใด บทแห่งธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ บท คือ ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดของบทแห่งธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน [๑๐๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม้มีกลิ่นที่แก่นชนิดใดชนิดหนึ่ง จันทน์แดง โลกกล่าวว่า เป็นยอดของไม้เหล่านั้น แม้ฉันใด โพธิปักขิยธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน [๑๐๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ... วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ |
เจ้าของ: | walaiporn [ 09 พ.ค. 2018, 16:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ |
อริยสัจ ๔ สูกรขาตวรรคที่ ๖ โกสลสูตร ปัญญินทรีย์เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรม [๑๐๒๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ โกสลพราหมณคาม ในแคว้นโกศล ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า. [๑๐๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. [๑๐๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็โพธิปักขิยธรรมเป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ วิริยินทรีย์ ... สตินทรีย์ ... สมาธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ เป็นโพธิปักขิยธรรม ย่อมเป็นไปเพื่อความตรัสรู้. [๑๐๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสัตว์ดิรัจฉานทุกจำพวก สีหมฤคราช โลกกล่าวว่า เป็นยอดของสัตว์เหล่านั้น เพราะมีกำลัง มีฝีเท้า มีความกล้า ฉันใด บรรดาโพธิปักขิยธรรมทุกอย่าง ปัญญินทรีย์ เรากล่าวว่า เป็นยอดแห่งโพธิปักขิยธรรมเหล่านั้น เพราะเป็นไปเพื่อความตรัสรู้ ฉันนั้นเหมือนกัน. จบ สูตรที่ ๑ มัลลกสูตร ว่าด้วยอินทรีย์ ๔ [๑๐๒๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิคมของชาวมัลละ ชื่ออุรุเวลกัปปะ ในแคว้นมัลละ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า [๑๐๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อริยญาณยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งลงมั่นเพียงนั้น เมื่อใดอริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ก็ตั้งลงมั่น. [๑๐๒๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนเรือนยอด เมื่อเขายังไม่ได้ยกยอดขึ้นเพียงใด กลอนเรือนก็ยังไม่ชื่อว่า ตั้งอยู่มั่นคง เพียงนั้น เมื่อใด เขายกยอดขึ้นแล้ว เมื่อนั้นกลอนเรือนจึงเรียกว่า ตั้งอยู่มั่นคง ฉันใด อริยญาณ ยังไม่เกิดขึ้นแก่อริยสาวกเพียงใด อินทรีย์ ๔ ก็ยังไม่ตั้งลงมั่นเพียงนั้น เมื่อใด อริยญาณเกิดขึ้นแล้วแก่อริยสาวก เมื่อนั้น อินทรีย์ ๔ ก็ตั้งลงมั่น ฉันนั้นเหมือนกัน อินทรีย์ ๔ เป็นไฉน? คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑. [๑๐๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัทธา วิริยะ สติ สมาธิ อันไปตามปัญญาของอริยสาวกผู้มีปัญญา ย่อมตั้งมั่น. จบ สูตรที่ ๒ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |