วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 13:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
นิวรณ์ มี 6ไม่ใช่มีแค่ 5 ค่ะ
ในพระสูตร แสดง นิวรณ์ 5
ในพระอภิธรรม แสดง นิวรณ์ 6

เนื่องจากชาวพุทธจำนวนมาก ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกและพุทธศาสนา อย่างแท้จริง

จึงไม่รู้ว่า
พระพุทธศาสนานั้น ตามพระไตรปิฎกประกอบด้วยสามประการคือ
พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

พระพุทธ คือ พุทธวจนะ
พระธรรม คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
พระสงฆ์ คือ พระอริยสงฆ์ ผู้อรรถาอธิบายพุทธวจนะ



ไหนลองว่า นิวรณ์ 6 ไปสิครับ มีอะไรบ้าง 5 ล่ะ อีก 1 อะไร

ดูๆเหมือนคุณโลกสวยจะมั่วนะครับน่า

ปีฎกมี 3 คือ 1. พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) 2. พระอภิธรรมปีฎก (อภิธรรม) 3. พระวินัยปิฎก (วินัย)

ที่คุณจัดนั่นเขาเรียกพระรัตตนตรัย ซึ่งมี 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เออ

ชักอยากรู้สะแล้วสิ คุณไปเรียนที่ไหนมา เห็นคุยจังว่าเรียนอภิธรรม บอกสำนักที่เรียนหน่อยครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2157

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
นิวรณ์ มี 6ไม่ใช่มีแค่ 5 ค่ะ
ในพระสูตร แสดง นิวรณ์ 5
ในพระอภิธรรม แสดง นิวรณ์ 6

เนื่องจากชาวพุทธจำนวนมาก ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกและพุทธศาสนา อย่างแท้จริง

จึงไม่รู้ว่า
พระพุทธศาสนานั้น ตามพระไตรปิฎกประกอบด้วยสามประการคือ
พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

พระพุทธ คือ พุทธวจนะ
พระธรรม คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
พระสงฆ์ คือ พระอริยสงฆ์ ผู้อรรถาอธิบายพุทธวจนะ



ไหนลองว่า นิวรณ์ 6 ไปสิครับ มีอะไรบ้าง 5 ล่ะ อีก 1 อะไร

ดูๆเหมือนคุณโลกสวยจะมั่วนะครับน่า

ปีฎกมี 3 คือ 1. พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) 2. พระอภิธรรมปีฎก (อภิธรรม) 3. พระวินัยปิฎก (วินัย)

ที่คุณจัดนั่นเขาเรียกพระรัตตนตรัย ซึ่งมี 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เออ

ชักอยากรู้สะแล้วสิ คุณไปเรียนที่ไหนมา เห็นคุยจังว่าเรียนอภิธรรม บอกสำนักที่เรียนหน่อยครับ



อ่านหนังสือให้แตกก่อนนะคะ

และเพราะคุณไม่ได้เรียนพระอภิธรรม เรยอ่านหนังสือไม่แตก ไม่รู้ว่า

หนูเขียนว่า


พระพุทธศาสนานั้น ตามพระไตรปิฎกประกอบด้วยสามประการคือ
พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

พระพุทธ คือ พุทธวจนะ
พระธรรม คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
พระสงฆ์ คือ พระอริยสงฆ์ ผู้อรรถาอธิบายพุทธวจนะ

ไม่ได้เขียนว่า พระรัตนตรัย

ลิ้งค์ นิวรณ ๖
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 4&item=749


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยาวหน่อยนะ


ศัตรูของสมาธิ

สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้ เป็นศัตรูของสมาธิ เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสีย จึงจะเกิดสมาธิได้ หรือจะพูดว่า เป็นสิ่งที่ต้องกำจัดเสียด้วยสมาธิก็ได้ สิ่งเหล่านี้ มีชื่อเฉพาะเรียกว่า นิวรณ์


นิวรณ์ แปลว่า เครื่องกีดกั้น เครื่องขัดขวาง แปลเอาความตามหลักวิชาว่า สิ่งที่กีดกั้นการทำงานของจิตไม่ให้ก้าวหน้าในกุศลธรรม ธรรมฝ่ายชั่วที่กั้นจิตไม่ให้บรรลุคุณความดี หรืออกุศลธรรมที่ทำจิตให้เศร้าหมองและทำปัญญาให้อ่อนกำลัง


คำอธิบายลักษณะของนิวรณ์ ที่เป็นพุทธพจน์มีว่า

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นเครื่องปิดกั้น (กุศลธรรม) เป็นเครื่องห้าม (ความเจริญงอกงาม) ขึ้นกดทับจิตไว้ ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง" (เช่น สํ.ม.19/499/135)

"...เป็นอุปกิเลสแห่งจิต (สนิมใจ หรือสิ่งที่ทำให้ใจเศร้าหมอง) ทำปัญญาให้อ่อนกำลัง" (เช่น สํ.ม.19/490/133)

"ธรรม ๕ ประการเหล่านี้ เป็นนิวรณ์ ทำให้มืดบอด ทำให้ไร้จักษุ ทำให้ไม่มีญาณ (สร้างความไม่รู้) ทำให้ปัญญาดับ ส่งเสริมความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน" (เช่น สํ.ม.19/501/136)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 18:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นิวรณ์ ๕ อย่างนี้ พึงระวัง อย่านำมาสับสนกับสมถะ หรือสมาธิ หากพบที่ใด พึงตระหนักไว้ว่า นี้ไม่ใช่สมถะ นี้ไม่ใช่สมาธิ นิวรณ์ ๕ * อย่างนั้น คือ

๑. กามฉันท์ ความอยากได้ อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม) หรืออภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หรือจ้องจะเอา หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่ ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้

๒. พยาบาท ความ ขัดเคืองแค้นใจ ได้แก่ ความขัดใจ แค้นเคือง เกลียดชัง ความผูกใจเจ็บ การมองในแง่ร้าย การคิดร้าย มองเห็นคนอื่นเป็นศัตรู ตลอดจนความโกรธ ความหงุดหงิด ฉุนเฉียว ความรู้สึกขัดใจ ไม่พอใจต่างๆ จิตที่มัวกระทบนั่นกระทบนี่ สะดุดนั่นสะดุดนี่ เดินไม่เรียบ ไม่ไหลเนื่อง ย่อมไม่อาจเป็นสมาธิ

๓. ถีนมิทธะ ความหดหู่และเซื่องซึม หรือเซ็งและซึม แยกเป็นถีนะ ความหดหู่ ห่อเหี่ยว ถอดถอย ระย่อ ท้อแท้ ความซบเซา เหงาหงอย ละเหี่ย ที่เป็นอาการของจิตใจ กับ มิทธะ ความเซื่องซึม เฉื่อยเฉา ง่วงเหงา อืดอาด มึนมัว ตื้อตัน อาการซึมๆ เฉาๆ ที่เป็นไปทางกาย (ท่านหมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก) จิตที่ถูกอาการอย่างนี้ครอบงำ ย่อมไม่เข็มแข็ง ไม่คล่องตัว ไม่เหมาะแก่การใช้งาน จึงไม่อาจเป็นสมาธิได้

๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและเดือดร้อนใจ แยกเป็นอุทธัจจะ ความที่จิตฟุ้งซ่าน ไม่สงบ ส่ายพร่า พล่านไป กับ กุกกุจจะ ความวุ่นวายใจ รำคาญใจ ระแวง เดือดร้อนใจ ยุ่งใจ กลุ้มใจ กังวลใจ จิตที่ถูกอุทธัจจกุกกุจจะครอบงำ ย่อมพล่าน งุ่นง่าน ย่อมคว้างไป ไม่อาจสงบได้ จึงไม่เป็นสมาธิ

๕. วิจิกิจฉา ความ ลังเลสงสัย ได้แก่ ความเคลือบแคลง ไม่แน่ใจ เกี่ยวกับพระศาสดา พระธรรม พระสงฆ์ เกี่ยวกับสิกขา เป็นต้น พูดสั้นๆว่า คลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลาย ตกลงใจไม่ได้ เช่นว่า ธรรมนี้ สมาธิภาวนานี้ ฯลฯ มีคุณค่า มีประโยชน์ควรแก่การปฏิบัติหรือไม่ จะได้ผลจริงไหม คิดแยกไปสองทาง วางใจไม่ลง จิตที่ถูกวิจิกิจฉาขัดไว้ กวนไว้ ให้ค้าง ให้พร่า ให้ว้าวุ่น ลังเลอยู่ มีแต่จะเครียด ไม่อาจแน่วแน่เป็นสมาธิ

..................

ที่อ้างอิงที่ *

* นิวรณ์ ๕ ที่มีอภิชฌา เป็นข้อแรก มักบรรยายไว้ก่อนหน้าจะได้ฌาน (เช่น ที.สี.9/125/95 ฯลฯ ส่วนนิวรณ์ ๕ ที่มีกามฉันท์ เป็นข้อแรก มักกล่าวไว้เอกเทศ และระบุแต่หัวข้อ ไม่บรรยายลักษณะ (เช่น ที.สี. 9/378/306 ฯลฯ) ดูอธิบายในนิวรณ์ ๖ (เติมอวิชชา) ที่ อภิ.สํ. 34/749-753/295-7 วิสุทฺธิ.1/186 ฯลฯ

อภิชฌา = กามฉันท์ ( เช่น ปฏิสํ.อ.212)

อภิชฌา = โลภะ (เช่น อภิ.สํ.34/691/273)

คำว่า กาย ในข้อ ๓ ท่านว่า หมายถึงนามกาย คือกองเจตสิก (สง.คณี อ. ๕๓๖)


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 18:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สมาธิที่ถูกต้อง ไม่ใช่อาการที่จิตหมดความรู้สึก ปล่อยตัวตนเข้ารวมหายไปในอะไรๆ แต่เป็นภาวะที่ใจสว่าง โปร่งโล่ง หลุดออกจากสิ่งบดบังบีบคั้นกั้นขวาง เป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง ตื่นอยู่ เบิกบาน พร้อมที่จะใช้ปัญญา

พึงพิจารณาพุทธพจน์ต่อไปนี้

"ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๕ ประการต่อไปนี้ เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญาอ่อนกำลัง ๕ ประการ กล่าวคือ กามฉันท์...พยาบาท...ถีนมิทธะ...อุทธัจจกุกกุจจะ...วิจิกิจฉา...

"ภิกษุไม่ละธรรม ๕ ประการ ที่เป็นเครื่องปิดกั้น เป็นนิวรณ์ เป็นสิ่งที่กดทับจิต ทำให้ปัญญา อ่อนกำลังแล้ว จักรู้จักประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย หรือจักประจักษ์แจ้ง ซึ่งญาณทัศนะอันวิเศษ ที่สามารถทำให้เป็นอริยะ ซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์สามัญ ด้วยปัญญาที่ทุรพลไร้กำลัง ข้อนี้ ย่อมมิใช่ฐานะที่จะเป็นไปได้

"เปรียบเหมือนแม่น้ำที่เกิดบนภูเขา ไหลลงเป็นสายยาวไกล มีกระแสเชียว พัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปได้ บุรุษเปิดปากเหมืองออกทั้งสองข้างของแม่น้ำนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น กระแสน้ำท่ามกลางแม่น้ำนั้น ก็กระจาย ส่ายพร่า เขวคว้าง ไม่แล่นไหลไปไกล ไม่มีกระแสเชียว และพัดพาสิ่งที่พอจะพัดเอาไปไม่ได้" (องฺ.ปญฺจก.22/51/72)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้งหนึ่ง สังคารวพราหมณ์ กราบทูลถามพระพุทธเจ้า และพระองค์ได้ตรัสตอบ ดังนี้

พราหมณ์: ท่านพระโคตมะผู้เจริญ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาแล้วตลอดเวลายาวนาน ก็ไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย และอะไรหนอเป็นเหตุ อะไรเป็นปัจจัยให้ ในบางคราว มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย

พระพุทธเจ้า: ดูกรพราหมณ์ ในเวลาใด บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยกามราคะ ถูกกามราคะครอบงำอยู่ และไม่รู้ชัดตามเป็นจริง ซึ่งทางออกแห่งกามราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ในเวลานั้น เขาย่อมไม่รู้ชัด มองไม่เห็นตามเป็นจริง แม้ซึ่งประโยชน์ตน แม้ซึ่งประโยชน์ผู้อื่น แม้ซึ่งประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์ทั้งหลาย แม้ที่ได้สาธยายมาตลอดเวลายาวนาน ก็ย่อมไม่แจ่มแจ้ง ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่มิได้สาธยาย



(บุคคลมีใจกลุ้มรุมด้วยพยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา ก็เช่นเดียวกัน และทรงเปรียบจิตที่ถูกนิวรณ์ข้อต่างๆ ครอบงำ ดังต่อไปนี้)

๑. (จิตที่ถูกกามราคะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ซึ่งเอาสีครั่งบ้าง สีขมิ้นบ้าง สีเขียวบ้าง สีแดงอ่อนบ้าง ผสมปนกันบ้าง คนตาดีมองดูเงาหน้าของคนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

๒. (จิตที่ถูกพยาบาทครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่เอาไฟเผาลน เดือดพล่าน มีไอพลุ่ง คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

๓. (จิตที่ถูกถีนมิทธะครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่ น้ำ ที่ถูกสาหร่ายและจอกแหนปกคลุม คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำน้ำ ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

๔. (จิตที่ถูกอุทธัจจะกุกกุจจะครอบงำ) เปรียบเหมือน ภาชนะใส่น้ำ ที่ถูกลมพัด ไหวกระเพื่อม เป็นคลื่น คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

๕. (จิตที่ถูกวิจิกิจฉาครอบงำ) เปรียบเหมือนภาชนะใส่น้ำ ที่ขุ่น มัว เป็นตม ซึ่งวางไว้ในที่มืด คนตาดีมองดูเงาหน้าของตนในภาชนะน้ำนั้น ก็ไม่รู้ไม่เห็นตามเป็นจริง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 18:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ส่วนบุคคลที่ใจไม่มีนิวรณ์ ๕ ครอบงำ และรู้ทางออกของนิวรณ์ ๕ ที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามเป็นจริง ทั้งประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น และประโยชน์ทั้งสองฝ่าย มนต์แม้ที่มิได้สาธยายตลอดเวลายาวนาน ก็แจ่มแจ้งได้ ไม่ต้องกล่าวถึงมนต์ที่ได้สาธยาย และมีอุปมาต่างๆ ตรงข้ามกับที่ได้กล่าวมาแล้ว *
.........

อ้างอิงที่ *

* สํ.ม.19/602-624/167-174 ฯลฯ (ไม่แจ่มแจ้ง หมายถึงนึกไม่ออก หรือคิดไม่ออก อีกแห่งหนึ่ง ตรัสถึงจิตที่ไม่ขุ่นมัว เหมือนห้วงน้ำใส มองเห็นก้อนหิน ก้นกรวด หอย และปลาทีแหวกว่ายในน้ำ ส่วนจิตที่ขุ่นมัว ก็เหมือนห้วงน้ำขุ่นที่ตรงกันข้าม (องฺ.เอก. ๒๐/๔๖-๔๗/๑๐)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 18:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


"ภิกษุทั้งหลาย อุปกิเลสแห่งทอง ๕ อย่างต่อไปนี้ ทองเปื้อนปนเข้าด้วยแล้ว ย่อมเป็นเหตุให้ไม่อ่อน ไม่ควรแก่งาน ไม่สุกปลั่ง เปราะ ไม่เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆ ๕ อย่างนั้น เป็นไฉน ? ได้แก่ เหล็ก โลหะอื่น ดีบุก ตะกั่ว และเงิน...


“เมื่อใด ทองพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อน ควรแก่งาน สุกปลั่ง ไม่เปราะ เหมาะที่จะนำไปทำอะไรๆได้ดี กล่าวคือ ช่างทองต้องการทำเครื่องประดับชนิดใดๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหู สร้อยคอ สร้อยคอ หรือสุวรรณมาลา ก็ตาม ย่อมสำเร็จผลที่ต้องการ ฉันใด



"อุปกิเลสแห่งจิตทั้ง ๕ อย่าง ต่อไปนี้ จิตพัวพันเศร้าหมองเข้าแล้ว ย่อมไม่นุ่มนวล ไม่ควรแก่งาน ไม่ผ่องใส เปราะเสาะ และไม่ตั้งมั่นด้วยดี (ไม่เป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฉันนั้น ๕ อย่างนั้นเป็นไฉน? ได้แก่ กามฉันท์ พยาบาท ถีนมิทธะ อุทธัจจกุกกุจจะ และวิจิกิจฉา...


"เมื่อใด จิตหลุดพ้นจากอุปกิเลส ๕ ประการเหล่านี้แล้ว ก็จะเป็นสภาพอ่อนโยน ควรแก่งาน ผ่องใส ไม่เปราะเสาะ และย่อมตั้งมั่นด้วยดี (เป็นเป็นสัมมาสมาธิ) เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย อนึ่ง เธอจะน้อมจิตไป เพื่อรู้จำเพาะประจักษ์แจ้ง ซึ่งอภิญญาสัจฉิกรณียธรรม * อย่างใดๆ ก็ย่อมถึงภาวะที่สามารถเป็นพยานในธรรมนั้นๆได้ ในเมื่อเหตุมีอยู่.." (องฺ.ปญฺจก.22/23/17)

.....

* อภิญญาสัจฉิกรณียธรรม สิ่งที่พึงทำให้ประจักษ์แจ้งด้วยการรู้เจาะตรง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีพุทธพจน์บางแห่ง ตรัสว่า

"ถ้าภิกษุปราศจากนิวรณ์ทั้ง ๕ และได้เริ่มทำความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติกำกับอยู่ ไม่เลื่อนหลง กายผ่อนคลายสงบ ไม่เครียดกระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์หนึ่งเดียว ไม่ว่าเธอจะเที่ยวไปอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนตื่นอยู่ก็ตาม ก็เรียกได้ว่า เป็นผู้มีความเพียร มีโอตตัปปะ ได้เริ่มระดมความเพียรต่อเนื่องสม่ำเสมอ และเป็นผู้อุทิศตัวเด็ดเดี่ยวแล้ว" (องฺ.จตุกฺก.21/12/14)


ข้ออุปมาของพระอรรถกถาจารย์เกี่ยวกับสมาธินี้ ก็น่าฟัง ท่านว่า สมาธิทำให้จิตตั้งอยู่ในอารมณ์อย่างสม่ำเสมอ ทำให้องค์ธรรมทั้งหลายที่เกิดร่วมกับมัน ผนึกประสานกันอยู่ ไม่พร่า ไม่ฟุ้งกระจาย เหมือนน้ำผนึกประสานแป้งเข้าเป็นก้อนเดียว และทำให้จิตสืบต่ออย่างนิ่งแน่วมั่นคง เหมือนเปลวเทียนในที่สงัดลม ติดไฟอยู่สงบนิ่ง ลุกไหม้ไปเรื่อยๆ ส่องแสงสว่างสม่ำเสมอเป็นอย่างดี (ดูสงฺคณี. อ. 209 วิสุทฺธิ. 3/37 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
นิวรณ์ มี 6ไม่ใช่มีแค่ 5 ค่ะ
ในพระสูตร แสดง นิวรณ์ 5
ในพระอภิธรรม แสดง นิวรณ์ 6

เนื่องจากชาวพุทธจำนวนมาก ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกและพุทธศาสนา อย่างแท้จริง

จึงไม่รู้ว่า
พระพุทธศาสนานั้น ตามพระไตรปิฎกประกอบด้วยสามประการคือ
พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

พระพุทธ คือ พุทธวจนะ
พระธรรม คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
พระสงฆ์ คือ พระอริยสงฆ์ ผู้อรรถาอธิบายพุทธวจนะ



ไหนลองว่า นิวรณ์ 6 ไปสิครับ มีอะไรบ้าง 5 ล่ะ อีก 1 อะไร

ดูๆเหมือนคุณโลกสวยจะมั่วนะครับน่า

ปีฎกมี 3 คือ 1. พระสุตตันตปิฎก (พระสูตร) 2. พระอภิธรรมปีฎก (อภิธรรม) 3. พระวินัยปิฎก (วินัย)

ที่คุณจัดนั่นเขาเรียกพระรัตตนตรัย ซึ่งมี 3 คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เออ

ชักอยากรู้สะแล้วสิ คุณไปเรียนที่ไหนมา เห็นคุยจังว่าเรียนอภิธรรม บอกสำนักที่เรียนหน่อยครับ



อ่านหนังสือให้แตกก่อนนะคะ

และเพราะคุณไม่ได้เรียนพระอภิธรรม เรยอ่านหนังสือไม่แตก ไม่รู้ว่า

หนูเขียนว่า


พระพุทธศาสนานั้น ตามพระไตรปิฎกประกอบด้วยสามประการคือ
พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์

พระพุทธ คือ พุทธวจนะ
พระธรรม คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม
พระสงฆ์ คือ พระอริยสงฆ์ ผู้อรรถาอธิบายพุทธวจนะ

ไม่ได้เขียนว่า พระรัตนตรัย

ลิ้งค์ นิวรณ ๖
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... 4&item=749



คุณโลกสวยอ่านเฉพาะแต่อภิธรรม ไม่ได้อ่านพระสูตร แล้วก็ไม่ได้เรียนอภิธรรม ได้แต่อ่านเอาจากนั้นแหละ ก็จึงได้แต่หลัก ได้แต่ศัพท์ เช่น อารัมมณปัจจัย ปกตูปนิสสยปัจจัย นั่นๆนี่ๆ เป็นปัจจัยนั่นๆนี่ๆ แต่ไม่รู้ในรายละเอียด ถ้าจะเปรียบ ก็เหมือนรู้ท่อนซุงทั้งดุ้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตามที่ว่ามานั่น เป็นการรู้ขั้นที่หนึ่ง เรียก ว่าปริยัติสัทธรรม กล่าวคือเรียนรู้พุทธพจน์ ก็สำคัญนะ ไม่ใช่ไม่สำคัญ แต่ต้องรู้ให้ถูกต้อง แล้วก็ก้าวต่อไปอีก คือ ปฏิบัติสัทธรรม คือ การสัมผัสธรรมะด้วยนามกายของตนเอง ซึ่งยากที่จะบอกเล่าแก่ใครๆได้ เพราะมันเป็นนามธรรม เป็นธรรมารมณ์ มองไม่เห็นด้วยตาเนื้อ


ลักษณะของจิตที่เป็นสมาธิ


อธิจิตตสิกขา คือ การฝึกปรือเพื่อเสริมสร้างคุณภาพ และสมรรถภาพของจิต ดังนั้น สมาธิซึ่งเป็นเป้าหมายของอธิจิตตสิกขานั้น จึงหมายถึงภาวะจิตที่มีคุณภาพ และมีสมรรถภาพดีที่สุด


จิตที่เป็นสมาธิ หรือมีคุณภาพดี มีสมรรถภาพนั้น มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้


1. แข็งแรง มีพลังมาก ท่านเปรียบไว้ว่าเหมือนกระแสน้ำ ที่ถูกควบคุมให้ไหลพุ่งไปในทิศทาง เดียวย่อมมีกำลังแรงกว่าน้ำ ที่ถูกปล่อยให้ไหลพร่ากระจายออกไป

2. ราบเรียบ สงบซึ้ง เหมือนสระ หรือ บึงน้ำใหญ่ ที่มีน้ำนิ่ง ไม่มีลมพัดต้อง ไม่มีสิ่งรบกวนให้กระเพื่อมไหว

3. ใส กระจ่าง มองเห็นอะไรๆได้ชัด เหมือนน้ำสงบนิ่ง ไม่เป็นริ้วคลื่น และฝุ่นละอองที่มีก็ตกตะกอนนอนก้นหมด

4. นุ่มนวล ควรแก่งาน หรือเหมาะแก่การใช้งาน เพราะไม่เครียด ไม่กระด้าง ไม่วุ่น ไม่ขุ่นมัว ไม่สับสน ไม่เร่าร้อน ไม่กระวนกระวาย



ไวพจน์ที่แสดงความหมายของสมาธิคำหนึ่ง คือ เอกัคคตา แปลว่า ภาวะที่จิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว แต่ถ้าว่า ตามรูปศัพท์ จะเห็นลักษณะของจิตที่คล้ายกับในข้อแรก คือ เอกัคคตา = เอก + อัคค + ตา (ภาวะ)

คำว่า อัคคะ ที่นี้ ท่านแปลว่าอารมณ์ แต่ความหมายเดิมแท้ คือ จุดยอด หรือจุดปลาย โดยนัยนี้ จิตเป็นสมาธิ ก็คือ จิตที่มียอด หรือมีจุดปลายจุดเดียว ซึ่งย่อมมีลักษณะแหลมพุ่ง รวมมุ่งดิ่งไป หรือแทงทะลุไปได้ง่าย

จิตที่มีสมาธิขั้นสมบูรณ์ เฉพาะอย่างยิ่ง สมาธิถึงขั้นฌาน พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า จิตพร้อมด้วยองค์ ๘ (อัฏฐังคสมันนาคตจิต) องค์ ๘ นั้น ท่านนับจากคำบรรยายที่เป็นพุทธพจน์นั่นเอง กล่าวคือ *

๑. ตั้งมั่น
๒. บริสุทธิ์
๓. ผ่องใส
๔. โปร่งโล่ง เกลี้ยงเกลา
๕. ปราศจากสิ่งมัวหมอง
๖. นุ่มนวล
๗. ควรแก่งาน
๘. อยู่ตัว ไม่วอกแวกหวั่นไหว


ท่านว่า จิตที่มีองค์ประกอบเช่นนี้ เหมาะแก่การนำเอาไปใช้ได้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเอาไปใช้งานทางปัญญา พิจารณา ให้เกิดความรู้เข้าใจถูกต้องแจ้งชัด หรือใช้ในทางสร้างพลังจิต ให้เกิดอภิญญาสมาบัติอย่างใดๆ ก็ได้


ตามที่กล่าวมานี้ มีข้อควรย้ำว่า ลักษณะเด่นที่สุดของจิตที่เป็นสมาธิ ซึ่งสัมพันธ์กับความมุ่งหมายของสมาธิด้วย ก็คือ ความ "ควรแก่งาน" หรือ ความเหมาะแก่การใช้งาน และงานที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา ก็คือ งานทางปัญญา อันได้แก่ การใช้จิตที่พร้อมดีเช่นนั้น เป็นสนามปฏิบัติการของปัญญา ในการพิจารณาสภาวธรรม ให้เกิดความรู้แจ้งตามเป็นจริง

...........

* องค์ ๘ ตามบาลี คือ ๑. สมาหิตะ ๒. ปริสุทธะ ๓. ปริโยทาตะ ๔. อนังคณะ ๕. วิคตูปกเลส ๖. มุทุภูตะ ๗. กัมมนิยะ ๘. ฐิตะ อาเนญชัปปัตตะ (มีที่มามากมาย เช่น ที.สี.9/131/101 ฯลฯ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ไหนๆก็ไหนๆ แล้ว :b32: กันคุณโลกสวยเตลิดเปิดเปิงไปไหนต่อไหน แปะคำที่พูดพาดพิงด้วย


สัทธรรม ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี, ธรรมของสัตบุรุษมี สัทธรรม ๓
คือ
๑. ปริยัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงเล่าเรียน ได้แก่ พุทธพจน์

๒. ปฏิบัติสัทธรรม สัทธรรมคือสิ่งที่พึงปฏิบัติ ได้แก่ ไตรสิกขา ]

๓. ปฏิเวธสัทธรรม สัทธรรม คือผลที่พึงบรรลุ ได้แก่ มรรค ผล และนิพพาน

สัทธรรม ๗ คือ ๑. ศรัทธา ๒. หิริ ๓. โอตตัปปะ ๔. พาหุสัจจะ ๕ วิริยารัมภะ ๖. สติ ๗. ปัญญา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 19:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปฏิบัติ ประพฤติ, กระทำ, บำรุง, เลี้ยงดู

ไวพจน์ คำที่มีรูปต่างกัน แต่มีความหมายคล้ายกัน, คำสำหรับเรียกแทนกัน เช่น คำว่า มทนิมฺมทโน เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ วิราคะ คำว่า วิมุตติ วิสุทธิ สันติ อสังขตะ วิวัฏฏ์ เป็นต้น เป็นไวพจน์ของ นิพพาน ดังนี้เป็นต้น

(แปะความหมายไวพจน์ไว้ด้วย เคยพูดแล้ว มีคนแซวว่าเป็นนักร้อง) :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต้องการให้สังเกตดูอวิชชา คือ หลักธรรมในอภิธรรมเนี่ยท่านจะแยกละเอียดกว่าพระสูตร อวิชชาจะหมดเอาก็ถึงอรหัตผลโน่น

สังโยชน์ (สัญโญชน์) กิเลสที่ผู้มัดใจสัตว์, ธรรมที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์ มี ๑๐ อย่าง คือ

ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องต่ำ ๕ ได้แก่

๑. สักกายทิฏฐิ - ความเห็นว่าเป็นตัวของตน

๒. วิจิกิจฉา - ความลังเลสงสัย

๓. สีลัพพตปรามาส - ความถือมั่นศีลพรต

๔. กามราคะ - ความติดใจในกามคุณ

๕ ปฏิฆะ - ความกระทบกระทั่งในใจ

ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ สังโยชน์เบื้องสูง ๕ ได้แก่

๖. รูปราคะ - ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต

๗. อรูปราคะ - ความติดใจในอรูปธรรม

๘. มานะ - ความถือว่าตัวเป็นนั่นเป็นนี่

๙. อุทธัจจะ - ความฟุ้งซ่าน

๑๐ อวิชชา - ความไม่รู้จริง

พระโสดาบัน ละสังโยชน์ ๓ ข้อต้นได้ ,

พระสกิทาคามี ทำสังโยชน์ ๔ และ ๕ ให้เบาบางลงด้วย,

พระอนาคามี ละสังโยชน์ ๕ ข้อต้นได้หมด, พระอรหันต์ ละสังโยชน์ทั้ง ๑๐ ข้อ


ในพระอภิธรรม ท่านแสดงสังโยชน์อีกหมวดหนึ่ง คือ

๑. กามราคะ

๒. ปฏิฆะ

๓. มานะ

๔ ทิฏฐิ (ความเห็นผิด)

๕. วิจิกิจฉา

๖. สีลัพพตปรามาส

๗. ภวราคะ (ความติดใจในภพ)

๘. อิสสา (ความริษยา)

๙. มัจฉริยะ (ความตระหนี่)

๑๐. อวิชชา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2018, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้สังเกตเรื่องอาสวะที่แสดงในพระสูตร กับ พระอภิธรรมอีก พระสูตรว่ามี ๓ พระอภิธรรมว่ามี ๔


อาสวะ แปลตามรูปศัพท์ว่า สิ่งที่ไหลซ่านไปทั่ว หรืออีกนัยหนึ่งว่า สิ่งที่หมักหมมหรือหมักดอง หมายความว่า เป็นสิ่งที่หมักดองสันดาน คอยมอมพื้นจิตไว้ และเป็นสิ่งที่ไหลซ่านไปอาบย้อมจิตใจ เมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ ไม่ว่าคนจะรับรู้อะไรทางอายตนะใด หรือจะคิดนึกสิ่งใด อาสวะเหล่า นี้ ก็เที่ยวกำซาบซ่านไปแสดงอิทธิพลอาบย้อมมอมมัวสิ่งที่รับรู้เข้ามา และความนึกคิดนั้นๆ

แทนที่จะเป็นอารมณ์ของจิต และปัญญาล้วนๆ กลับเสมือนเป็นอารมณ์ของอาสวะไปหมด ทำให้ไม่ได้ความรู้ความคิดที่บริสุทธิ์ และเป็นเหตุก่อทุกข์ก่อปัญหาเรื่อยไป

อาสวะอย่างที่ ๑ เรียก กามาสวะ ที่ ๒ เรียก ภวาสวะ ที่ ๓ เรียก ทิฏฐาสวะ ที่ ๔ เรียก อวิชชาสวะ

อาสวะ ๔ นี้ เป็นการแสดงตามแนวอภิธรรม (อภิ.วิ.35/961/504 ฯลฯ)

ในพระสูตรท่านนิยมแบ่งอาสวะเพียง ๓ อย่าง คือ ไม่มีทิฏฐาสวะ (ที.ม.10/76/96 ฯลฯ)

ทั้งนี้ พอจับเหตุผลได้ว่า เป็นเพราะในพระสูตร ท่านกำหนดเฉพาะอาสวะที่เป็นตัวเจ้าของบทบาทเด่นชัด ท่านไม่ระบุทิฏฐาสวะ เพราะอยู่ระหว่างอวิชชา กับ ภวาสวะ กล่าวคือ ทิฏฐาสวะ อาศัยอวิชชาเป็นฐานก่อตัวแล้วแสดงอิทธิพลออกมาทางภวาสวะ ส่วนในอภิธรรม ท่านต้องการจำแนกให้ละเอียดจึงแสดงเป็น ๔



จึงเห็นได้ว่า อาสวะต่างๆเหล่านี้ เป็นที่มาแห่งพฤติกรรมของมนุษย์ปุถุชนทุกคน เป็นตัวการที่ทำให้มนุษย์หลงผิด มองเห็นสิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นตัวตนของตน อันเป็นอวิชชาชั้นพื้นฐานที่สุด แล้วบังคับบัญชาให้นึกคิดปรุงแต่ง แสดงพฤติกรรม และกระทำการต่างๆ ตามอำนาจของมันโดยไม่รู้ตัว เป็นขั้นเริ่มต้นวงจรแห่งปฏิจจสมุปบาท คือเมื่ออาสวะเกิดขึ้น อวิชชาก็เกิดขึ้น แล้วอวิชชาก็เป็นปัจจัยให้เกิดสังขาร ในภาวะที่แสดงพฤติกรรมถูกบังคับบัญชาด้วยสังขารที่เป็นแรงขับไร้สำนึกทั้งสิ้น


กล่าวโดยสรุป เพื่อตัดตอนให้ชัด ภาวะที่เป็นอวิชชา ก็คือ การไม่มองเห็นไตรลักษณ์ โดยเฉพาะความเป็นอนัตตา ตามแนวปฏิจจสมุปบาท คือ ไม่รู้ตระหนักว่า สภาพที่ถือกันว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา นั้น เป็นเพียงกระแสแห่งรูปธรรมนามธรรมส่วนย่อยต่างๆมากมาย ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยกันเป็นเหตุปัจจัยสืบต่อกัน โดยอาการเกิดสลายๆ ทำให้กระแสนั้นอยู่ในภาวะที่กำลังแปรรูปอยู่ตลอดเวลา

หรือพูดให้ง่ายขึ้นว่า บุคคลก็คือผลรวมแห่งความรู้สึกนึกคิด ความปรารถนา ความเคยชิน ความโน้มเอง ทัศนคติ ความรู้ ความเข้าใจ ความเชื่อถือ (ตั้งแต่ขั้นหยาบที่ผิดหรือไม่มีเหตุผล จนถึงขั้นละเอียดที่ถูกต้องและมีเหตุผล) ความคิดเห็น ความรู้สึก ในคุณค่าต่างๆ ฯลฯ ทั้งหมดในขณะนั้นๆ ที่เป็นผลมาจากการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม การศึกษาอบรม และปฏิกิริยาต่างๆ ทั้งที่เกิดขึ้นภายใน และที่มีต่อสิ่งแวดล้อมทั้งหลาย อันกำลังดำเนินไปอยู่ตลอดเวลา

เมื่อไม่ตระหนักรู้เช่นนี้ จึงยึดถือเอาสิ่งเหล่านั้นอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นตัวตนของตนในขณะหนึ่งๆ เมื่อยึดถือสิ่งเหล่านี้เป็นตัวตน ก็คือถูกสิ่งเหล่านั้นหลอกเอา จึงเท่ากับตกอยู่ในอำนาจของมัน ถูกมันชักจูงบังคับเอาให้เห็นว่าตัวตนนั้นเป็นไปต่างๆ พร้อมทั้งความเข้าใจว่า ตนเองกำลังทำการต่างๆตามความต้องการของตน เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 37 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 120 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร