วันเวลาปัจจุบัน 19 มี.ค. 2024, 18:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2017, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จากหนังสือเล่มนี้

รูปภาพ

ความเป็นมาของศาสนาต่างๆ

วันนี้จะได้พูดถึงเรื่อง ความเป็นมาของศาสนาเป็นส่วนรวม ว่าศาสนาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในโลกนี้มันเกิดขึ้นได้อย่าง ? อะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น ?

สิ่งที่ควรเคารพกราบไหว้มีอยู่ทั่วๆ ไป แต่ว่าเราจะพูดกันในแง่ศาสนา บางอันก็เป็นเรื่องไม่ใช่ศาสนา เป็นแต่เพียงลัทธิที่ปฏิบัติสืบๆ กันมา.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2017, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศาสนา กับ ลัทธิ นี่ต่างกัน คือ ศาสนา มุ่งถึงหลักคำสอน คือการปฏิบัติที่จะให้คนถึงการพ้นทุกข์

ส่วน ลัทธิต่างๆ นั้น ไม่ได้มุ่งไปถึงขนาดนั้น

ศาสนานี้ มีผู้สอน มีคำสอน มีผู้รักษาคำสอน สืบต่อกันมาโดยลำดับ จึงเรียกว่า ศาสนา ที่ปรากฏอยู่ในโลกนี้
มูลเหตุที่จะทำให้เกิดมีศาสนาหรือลัทธิอะไรขึ้นนั้น มันเนื่องมาจากมูลฐานอันหนึ่ง คือ ความกลัว นี่เอง เป็นเหตุให้เกิดอะไรๆ ในหมู่มนุษย์ เพราะว่ามนุษย์เรามีสัญชาตญาณ คือความกลัวในจิตใจ

เราจะเห็นได้ง่ายๆ เวลาเด็กเกิดออกมาใหม่ๆ ร้องจ้าออกมาทีเดียว การร้องไห้ของเด็ก เป็นเรื่องแสดงความหวาดกลัวในสิ่งที่ตนได้ประสบ เพราะสิ่งที่ตนประสบนั้นไม่เหมือนกับสิ่งที่ตนเคยได้พบมาก่อน ก็เกิดความหวาดกลัว

เมื่อเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ เลยมีความกลัวเกิดขึ้นในใจตลอดเวลา

ทุกคนที่นั่งอยู่ในที่นี้ ย่อมมีความกลัวในเรื่องต่างๆ ไม่เหมือนกัน บางคนกลัวไม่เข้าเรื่อง เช่น กลัวผี บางคนไม่กล้าอยู่คนเดียว ตอนกลางคืนไม่กล้าเดินไปไหนๆ เพราะมีความกลัวผีเป็นพื้นฐานอยู่ในจิตใจ แล้วก็ยังมีความกลัวอะไรต่างๆ ซึ่งมีอยู่ในที่ทั่วๆ ไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2017, 17:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์ในสมัยโบราณยังไม่มีการศึกษา ยังไม่มีความก้าวหน้าในทางอารยธรรม เขามีความกลัวเป็นพื้นฐานอยู่ในจิตใจ และมีอะไรเกิดขึ้นอันเป็นปรากฏการณ์ของธรรมชาติ เช่น ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ลมพายุใหญ่ ฝนตกใหญ่ น้ำท่วมบ้าน ท่วมเมือง อะไรต่อมีอะไรต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติ

คนเหล่านั้นไม่รู้ว่าสิ่งเหล่านั้นมันมาอย่างไร ไปอย่างไร เมื่อมันเกิดขึ้นก็เป็นที่ตั้งแห่งความหวาดกลัวอย่างเหลือเกิน เขากลัวเสียงฟ้าร้อง เสียงฟ้าผ่า กลัวลมพายุใหญ่ กลัวภูเขาไฟที่ระเบิดทำให้พวกเขาตาย

ป่าใหญ่ๆ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความกลัว ภูเขาใหญ่ๆ หินก้อนใหญ่ๆ ก็เป็นที่ตั้งแห่งความกลัว

เมื่อมีความกลัวในสิ่งใด ก็คิดว่าควรจะเข้าไปใกล้สิ่งนั้น ไปกราบไหว้วิงวอน ขอร้องอย่าให้ทำอันตายแก่ตน

คนเรา เป็นอย่างนั้นแหละ เมื่อมีความกลัวก็มักจะเข้าไปหา ไปประจบประแจง เพื่อให้สิ่งนั้นสงสารตนหน่อย แล้วจะได้ไม่กลัวมากเกินไป

มนุษย์ในสมัยโบราณไม่รู้เรื่องธรรมชาติ ไม่ได้ศึกษาภูมิศาสตร์ว่าอะไร มันอย่างไร ก็เกิดความกลัวในสิ่งเหล่านั้น และเมื่อมีความกลัวก็เข้าไปกราบไหว้บูชา

เราจะเห็นในเวลาที่เราสวดในตอนหลังทำวัตร เช่นสวดว่า พะหุง เว สะระณัง ยันติ ปัพพะตานิ วะนานิ จะ อารามะรุกขะเจตยานิ มะนุสสา ภะยะตัชชิตา ฯลฯ หมายความว่า มนุษย์เป็นอันมาก เมื่อเกิดมีภัยคุกคามแล้ว ก็ถือเอาภูเขาบ้าง ป่าไม้บ้าง อารามและรุกขเจดีย์บ้าง เป็นสรณะ คือเมื่อมีความกลัวก็เข้าไปไหว้ภูเขา ไหว้แม่น้ำ ไหว้ต้นไม้ หินก้อนไหนมันใหญ่ๆ น่ากลัวก็เข้าไปไหว้

การเข้าไปไหว้นั้น เป็นการประจบประแจงว่าสงสารลูกช้างเถอะ อย่าทำอันตราย กับ ลูกช้างเลย อะไรต่อมิอะไรในรูปอย่างนั้น

สิ่งบางอย่าง คนไม่รู้ว่ามันอย่างไร ก็เข้าไปกราบไหว้บูชาสักการะ

ตัวอย่างที่เห็นง่าย เช่น ชาวอียิปต์ ในสมัยโบราณ ในสมัยนี้ ก็ยังมีความเชื่อฝังอยู่ในจิตใจบ้าง ว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เกี่ยวกับแม่น้ำไนล์ เพราะแม่น้ำในล์นั้นไหลผ่านประเทศอียิปต์ ต้นแม่น้ำอยู่ไหน ไม่มีใครรู้ เพราะประเทศอียิปต์นั้นเป็นทะเลทราย แต่มีแม่น้ำไหลผ่าน แม่น้ำนี้มันตั้งต้นจากใจกลางทวีปอาพริกา

คนไม่เคยไปถึงต้นแม่น้ำเพราะมันไกลเหลือเกิน พอถึงต้นฤดูก็มีน้ำไหลหลาก ฝนไม่ได้ตกที่นั่นแต่ก็มีน้ำไหลหลากเต็มฝั่ง

เขาได้อาศัยน้ำทำการเพาะปลูกพืชพันธุ์พันธุ์ธัญญาหาร ได้เอามากินเอามาใช้ได้รับความสะดวกสบาย เขาจึงถือว่าแม่น้ำไนล์นี้ เป็นแม่เจ้าที่ควรเคารพกราบไหว้ เขาก็ไปไหว้ไปบูชา ปีหนึ่ง ก็ต้องมีเทศกาลบูชา ไหว้แม่น้ำกันเสียครั้งหนึ่ง ตามพิธีของเขา เขาไม่รู้ว่าน้ำที่มันท่วมน่ะเพราะอะไร ความจริงมันฝนตกในป่าสูงเป็นต้นน้ำ แต่มันอยู่ไกลจากประเทศไอยคุปต์ หรืออียิปต์เหลือเกิน จึงไม่รู้ว่าฝนตกก็ทึกทักเอาว่า น้ำมันเกิดขึ้นเอง

ต่อมาก็มีคนแต่งเป็นเทพนิยายว่า มีพระแม่เจ้าตนหนึ่ง แกสูญเสียสามีอันเป็นที่รักไป แล้วก็ร้องไห้นำตาไหลลงมาท่วมฝั่งแม่น้ำไนล์ กลายเป็นนิทานขึ้นมา นิทานแบบนี้ มีทั่วๆไป ในเมืองไทยเราก็มีเยอะ ชื่อภูเขา ชื่อแม่น้ำ เช่น นิทานตาม่องล่ายที่หัวหิน นิทานพระรถเมรี มีชื่อภูเขา ชื่อสถานที่เกี่ยวข้อง ทางภาคอีสานก็มี ทางภาคใต้ก็มี เป็นนิทานทางด้านพื้นบ้านพื้นเมืองที่คนแต่งขึ้น ให้มันเหมาะเจาะกับสถานที่นั้นๆ

เพราะฉะนั้น เมื่อคนไปถือว่าแม่น้ำไนล์เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ เขาก็แต่งเป็นนิทานขึ้น ให้คนทำความรู้ความเข้าใจ ไปกราบไหว้กันเรื่อยมาเป็นลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประเทศอินเดีย เป็นประเทศหนึ่งที่ถือว่าแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ มีสายหนึ่ง เรียกว่า แม่น้ำคงคา แต่ความจริงเขานับถือแม่น้ำยมุนาด้วย

แม่น้ำคงคา ยมุนา สองสายนี้เขาถือว่าเป็นแม่น้ำฝาแฝด ที่ไหลมาจากสรวงสวรรค์ ทำให้คนอินเดียได้รับประโยชน์จากแม่น้ำนั้นมาก

เขาไม่รู้ว่า แม่น้ำคงคา ยมุนา ๒ สายนี้ ไหลมาจากไหน ต้นน้ำของแม่น้ำสองสายนี้อยู่ที่ขุนเขาหิมาลัย ซึ่งเป็นภูเขาใหญ่เหลือเกิน มีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดเวลา บริเวณภูเขานั้น ก็เป็นป่าคงพงทึบ มีเสือหมีป่าเยอะ คนไม่สามารถจะเข้าไปเดินเล่นได้ ขืนไปเดินก็โดนเสือขย้ำเสียเท่านั้นเอง เลยไม่ร่าแม่น้ำตั้งต้นมาจากไหน ก็เลยนึกทึกทักว่ามาจากสรวงสวรรค์

ต่อมา เขาแต่งเป็นนิทานขึ้นว่าบนสรวงสวรรค์นั้น มีเขาไกรลาส บนยอดเขาไกรลาสนั้นเป็นที่สถิตอยู่แห่งพระศิวะเจ้า พระศิวะเทพเจ้า เป็นผู้บริหารโลก คล้ายคณะรัฐบาลเป็นผู้บริหารบ้านเมือง พระพรหมเป็นผู้สร้าง พระศิวะเป็นผู้บริหาร พระวิษณุเป็นกองปราบยุคเข็ญ อะไรไม่ดีก็มาปราบกัน พระศิวะน่ะประทับอยู่บนยอดเขาหิมาลัย แล้วท่านก็บิดมวยผมให้น้ำไหลลงมา น้ำที่ไหนลงมาเป็นน้ำจากมวยผมของพระศิวะ คนอินเดียจึงนับถือแม่น้ำว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์

ความศักดิ์สิทธิ์ของแม่น้ำคงคานั้น อยู่ที่ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งเขาเรียกว่า “หะริธาตุ” อยู่ต้นน้ำทีเดียว เป็นประตูแห่งพระผู้เป็นเจ้า ถ้าได้ไปอาบที่นั่น เรียกว่า ได้ไปอาบกันตรงทางขึ้นสวรรค์เลยทีเดียว นั่นมันไปไกล คนจนๆ ก็ไปไม่ไหว แล้วเป็นที่มีอากาศหนาว อยู่ใกล้ภูเขาหิมาลัย

อีกแห่งหนึ่งก็คือเมืองพาราณสี เมืองนี้ แม่น้ำมันคด คือไหลมาจากทางเหนือ แต่พอไหลมาถึงพาราณสีมันคดไหลขึ้นเหนือ เขาถือว่าแม่น้ำตรงนั้นไหลกลับขึ้นสวรรค์ จึงถือว่าศักดิ์สิทธิ์มาก

คนไปอาบน้ำกันที่เมืองพาราณสี ใครได้ไปอาบนำแล้วถือว่าได้ล้างบาป บาปที่มีอยู่เท่าใดพอได้อาบแล้วหายไป จึงพยายามไปอาบน้ำที่นั่น คนใดไปอาบแล้ว พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ไม่ได้ไปอาบ ก็ตักใส่ขวดมาเอามาฝากเพื่อให้ได้อาบบ้าง จะได้ไปสวรรค์กันบ้าง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ถ้าเราอ่านเรื่องพระพุทธศาสนา เกี่ยวข้องกับแม่น้ำคงคา ครั้งหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าได้เสด็จไปยังฝั่งคงคา ในคราวนั้น เขามีพิธีใหญ่ คือชาวอินเดียเขามีพิธีใหญ่เกี่ยวกับแม่น้ำคงคา ๑๐ ปี ครั้งหนึ่งบ้าง ๑๒ ปี ครั้งหนึ่งบ้าง สุดแล้วแต่ฤกษ์ คือ การโคจรของดวงดาว ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์อะไรก็ไม่รู้ละ มันมาสัมผัสกันให้วุ่นวาย แล้วก็เรียกว่า “ดี” ว่าอย่างนั้นเถอะ เป็นฤกษ์ใหญ่ ถ้าฤกษ์นั้นมาละก้อต้องไปอาบกันเป็นการใหญ่ คนที่ไปอาบน้ำกันใหญ่ในฤกษ์อย่างนี้ มีจำนวนนับเป็นแสนๆ ทั้งฝั่งแม่น้ำคงคาเมื่อหลายปีมาแล้วเหยียบกันตายถึง ๕ พันคน

ไอ้เรื่องที่ไปเหยียบกันตายนี่ไม่ใช่เรื่องอะไร เพราะมีศรัทธาแก่กล้าไม่เดิน คือยกมือไหว้แล้วก็นอนราบ นอนแล้วลุกขึ้นไม่ได้ เพื่อนเหยียบเลยตาย ตายไป ๕ พันคน ไม่ใช่น้อย นี่เป็นอย่างนี้

คราวหนึ่ง พระพุทธเจ้า ท่านเสด็จไปที่นั่น เมื่อไปถึงก็เห็นคนมากันเยอะแยะมาอาบน้ำ พระองค์ก็ถามว่า มาทำอะไรกัน ? เขาบอกว่ามาอาบน้ำในแม่น้ำคงคา

พระองค์ถามว่า อาบทำไม ?

พวกนั้นก็ตอบว่า อาบเพื่อล้างบาป ล้างบาปแล้วจะได้อะไร ? พระองค์ว่าอย่างนี้ พระองค์ก็เลยว่า ถ้าอย่างนั้น กุ้ง หอย เต่า ปู ปลา ทั้งหลายในแม่น้ำคงคาตาย แล้วก็ไปสวรรค์ด้วยซี่

พวกนั้น ก็หัวเราะ ไม่ยอมให้ กุ้ง หอย เต่า ปลาไปสวรรค์ เลยบอกว่า มันไปไม่ได้ เพราะเป็นสัตว์เดรัจฉาน
พระองค์ก็บอกว่า สัตว์เดรัจฉาน แต่เกิดในแม่น้ำอยู่ในแม่น้ำ อยู่กันนานยังไปไม่ได้ พวกท่านมาอาบประเดี๋ยวประด๋าวจะไปได้อย่างไร ว่าเข้าไปอย่างนั้น

พระองค์อธิบายให้ฟังว่า บาปนั้นมันไม่ได้อยู่ที่ผัวหนัง ไม่ใช่ขี้ฝุ่น ไม่ใช่เหงื่อไคลที่อาบน้ำแล้วจะลอยไปกับน้ำอย่างนั้น

การล้างบาป ต้องล้างด้วยบำเพ็ญตบะ คือบำเพ็ญความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน เช่น การรักษาศีล การเจริญภาวนา การปฏิบัติในรูปต่างๆ พูดให้พวกนั้นฟัง บางคนก็เข้าใจรับฟัง บางคนก็สั่นหัวด๊อกแด๊ก ด๊อกแด๊ก ตามประสาแขก แล้วก็ไปอาบน้ำต่อไป เลยอาบมาจนถึงบัดนี้

แล้วก็แม่น้ำคงคานี่ศักดิ์สิทธิ์หลายอย่าง ใครตายต้องไปเผาที่นั่นด้วยนะ เขามีท่าต่างๆ เช่น ท่าอัศวเมธ เป็นท่าน้ำ โดยเฉพาะท่าที่เรียกว่า “อัศวเมธ” เป็นท่าใหญ่ คนชอบไปเผา

ถ้าเปรียบเทียบกับกรุงเทพฯ ก็วัดเทพศิรินทร์ ว่าอย่างนั้นเถอะ เวลาไปเผาบางทีคนยังไม่ทันตาย เอาแล้ว เอามาแม่น้ำคงคาก่อน เอามานอนลงไป ลูกหลานก็ตักน้ำรด เลยตายไปเลย ได้ไปสวรรค์เลย ตักน้ำรดจนตาย ตายแล้วก็เผากันเลย บางคนตายก่อนที่บ้าน เขาก็เอามาที่แม่น้ำคงคา เขาคุยนักคุยหนาว่า ไฟที่เผาศพนี้ ๔ พันปีแล้ว ไม่เคยดับสักที

เราได้ฟังอย่างนั้น ก็เลยขัดคอเขาหน่อย ถามว่า ในปี พ.ศ.แปดร้อยเท่าไร เขาว่าน้ำท่วมเมืองพาราณสีถึงตึกชั้นสอง แล้วไอ้ที่เผาศพมันอยู่ตรงนี้ ไฟมันจะไปอยู่ตรงไหน แขกมันก็คมเหมือนกัน เขาบอกว่าย้ายไปไว้บนตึกชั้นที่ ๕ เอาตัวรอดไปจนได้

แล้วก็ไฟนี้ เขาเรียกว่า “ไฟเทพเจ้า” ไปเอามาจากสรวงสวรรค์ เพราะฉะนั้น ต้องจุดไว้ไม่ให้ดับรักษาไฟนี้ไว้ เวลาเผาศพใครก็ไปจุดต่อกัน เขาถือถึงขนาดอย่างนั้น แม่น้ำยมุนาก็เป็นแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์

ไอ้ที่แม่น้ำคงคา กับ ยมุนามาเจอะกัน คือ เมือง ฮาลาฮาปั๊ด เป็นชื่อของอิสลาม ลงท้ายสั้นๆ นี่เขาเป็นอิสลามทั้งนั้น ฮาลาฮาปั๊ด ไฮเดอราบั๊ด เขาเรียกว่า “สังฆัม” หมายความว่าแม่น้ำสามสายมาชนกัน
แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอีกสายหนึ่งมาใต้น้ำ มาเจอกันตรงนั้น อีกสองสายนั่นมาบนดิน มันมีเรื่องอะไรแผลงๆ ให้คนนับถือกราบไหว้ คนก็ไปเชื่อในสิ่งเหล่านี้ ไปไหว้สิ่งต่างๆ อันเป็นของธรรมชาติ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

เมืองไทยเรานี่ก็มีเยอะ คนไหว้ต้นตาล ไหว้ต้นไทร ไหว้ต้นอะไรต่อต้นอะไร

ชาวอินเดียก็ชอบไหว้ต้นไม้หลายชนิด ต้นไม้บางอย่างที่เรากินกับแกง เช่น ต้นกระเพรา เป็นต้น เขาปลูกใส่กระถางสวยๆ รดน้ำแล้วก็คาถาบูชาทุกวัน กราบไหว้ ถือว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ ของเขามันเป็นอย่างนั้น อันนี้เป็นศาสนาแบบธรรมชาติ เรียกว่าเป็นศาสนาตามธรรมชาติ

การกราบไหว้ ไหว้ต้นไม้ ไหว้ภูเขา ไหว้ก้อนหินก้อนดิน จอมปลวก อะไรต่างๆ นี่น่ะ เป็นศาสนาแบบธรรมชาติ
ศาสนาแบบนี้ ไม่เรียกว่า ศาสนาดอก เรียกว่า ลัทธิ เพราะไม่มีคำสอน ไม่มีหลักการปฏิบัติ ไม่ได้สอนว่าให้รักษาศีล เจริญภาวนาให้เอาชนะกิเลส มันไม่มี มีแต่เรื่องไหว้กันตะพึดตะพือ ไหว้ต้นหมากรากไม้ อะไรกันไปตามเรื่อง เห็นอยู่ทั่วๆไป หลงเหลือมาจนถึงพวกเราในสมัยนี้

แม้แต่คนที่นับถือพระพุทธศาสนาก็ยังอุตส่าห์ไปพลอยไหว้ กับ เขาเหมือนกัน ซึ่งเราจะเห็นว่าชาวพุทธเราไปไหว้ต้นนั้นต้นนี้ นั่นเป็นความเขลาอันหนึ่ง เป็นสิ่งที่รับไว้มาแต่เก่าแก่ไม่รู้จักปลดออก ความจริงมานับถือพระพุทธศาสนานานแล้ว มันก็ควรจะเปลื้องสิ่งเหลวไหลอย่างนั้นออกไปจากจิตใจ เอาแต่พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ อย่างเดียว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 19:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

พระพุทธเจ้าบอกไว้แล้วว่า คนถือป่าไม้ ภูเขาเป็นสรณะ นั่นไม่ใช่ที่พึ่งอันเกษม แต่ว่า คนใดที่มานับถือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ รู้เห็นอริยสัจ ๔ ประการ ผู้นั้น จึงจะพ้นทุกข์

อันนี้เรื่องในพระพุทธศาสนาว่าไว้อย่างนั้น แต่ว่าคนเราไม่เข้าใจเลยไปไหว้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ซึ่งเป็นเรื่องของความเขลาประการหนึ่ง แต่มันก็เป็นเรื่องสืบต่อกันมาแต่โบราณ ที่เขาถือมาอย่างนี้ พวกลัทธิอย่างนี้.

เมื่อคนไปกราบไหว้ต้นไม้ต้นไร่ ไหว้ป่า ไหว้ภูเขา ต่อมาผู้คนบางประเภท พวกนักบวช พวกมุนีนี่แหละ พวกออกไปอยู่ในป่า เห็นการกระทำของคนเหล่านั้น เขาก็นึกว่ามันพอจะอาศัยเป็นเครื่องมือเลี้ยงชีพได้ ก็เลยไปอยู่ตามที่ศักดิ์สิทธิ์เหล่านั้น เช่น คนไปไหว้ภูเขา เขาไหว้ต้นไม้ ก็ไปอยู่ที่นั่น เขาไหว้แม่น้ำตรงไหน ก็ไปตั้งอาศรมอยู่ที่นั่น คอยให้ความสะดวกแก่คนไปมนัสการ ปัดกวาดบริเวณให้เรียบร้อย แล้วเอาเชือกเอาใบไม้มาร้อยให้เป็นพวกประดับประดาให้มันหรูหราหน่อย ให้มันน่าดู
เอาดอกไม้ ใบไม้นั่นแหละมาประดับ วัตถุตามสิ่งที่หาได้ในสมัยนั้น ให้คนที่ไปไหว้เกิดความสบายใจ แล้วคนไปไหว้ ก็เอาของไปไหว้ มีอะไรก็เอาไปไหว้ตามเรื่อง ของเหล่านั้น เขาไม่เอากลับ ลูกศิษย์ก็เลยรับประทานกันสบายใจไป

บางทีคนมาไหว้กันมากๆ ลูกศิษย์กินไม่ทันของมันเสีย ลูกศิษย์มานั่งคิด หัวมันเกิดแหลมขึ้นมา คิดว่า ไม่ได้ต้องจัดให้พวกนี้ไหว้กันตามลำดับ คนเกิดวันนั้น ต้องไหว้วันนั้น คนเกิดวันโน้นต้องไหว้วันโน้น เป็นพิธีการ จัดพิธีการเกิดขึ้น ทยอยกันไป ลูกศิษย์จะได้สะดวกหน่อย ไม่อย่างนั้นมันมาไหว้วันเดียว เหมือนทำบุญวันเข้าพรรษากินไม่ไหวมันมากเกินไป

ทีนี้ ให้ทยอยกันมามันค่อยยังชั่วหน่อย ก็เลยตั้งเป็นพิธีกรรมขึ้นว่าไหว้อย่างนั้น แล้วก็ยังมีของที่ต้องการอีก บางทีบอกว่าต้นไม้นี้ต้องการกินไก่ ต้องการกินเนื้อนั้นเนื้อนี้ พวกนั้นก็ต้องเอามาให้ ต้นไม้ไม่ต้องการดอก
แต่พวกนั้น มันพูดเองแทนต้นไม้ พวกที่ไปอยู่อย่างนี้ก็เลยกลายเป็นครูอาจารย์ไป สั่งสอนคนเหล่านั้นให้ปฏิบัติ ในเรื่องพิธีกรรม ไม่ได้สอนอื่น สอนแต่ว่าจะไหว้อย่างไร จะทำพิธีกรรมอย่างไรเท่านั้นเอง เป็นเรื่องของพิธีรีตองเป็นอย่างมาก คนทั้งหลายก็มีความเชื่อในรูปอย่างนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 19:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

ทีนี้ ต่อมา คนมันค่อยวิวัฒนาการ ความเจริญของมนุษย์ค่อยเกิดขึ้น

มนุษย์เราแต่ก่อนนี้ ไม่นุ่งผ้า ไม่รู้จักหุงหาอาหาร ไม่รู้จักทำการเพาะปลูก ไม่มีการเลี้ยงสัตว์ อาหารที่กินก็ไปเก็บเอาตามป่าดง เก็บผลไม้มากิน เก็บขุดเอารากเหง้าของเผือกของมันมากิน กินดิบๆ ไม่ได้ทำให้สุก เพราะไม่รู้จักใช้ไฟ ไม่รู้ว่าไฟนี้จะเกิดได้อย่างไร

ต่อมา ค่อยเจริญขึ้น คือเมื่อเก็บพืชมากินทั้งไว้ มันก็งอกขึ้นมา มนุษย์ก็รู้จักเพาะปลูกได้ ต่อมาก็จับสัตว์มา บางทีสัตว์เป็นตัวเมีย มันมีท้อง เอามาเลี้ยงไว้ใกล้ที่พัก ต่อมามันเกิดลูกออกมา ลูกมันก็เชื่อง เลยมีการเลี้ยงสัตว์ เมื่อเห็นว่ามีสัตว์เลี้ยงก็ควรใช้แรงงาน เลยใช้แรงงานสัตว์ทำการเพาะปลูก รู้จักไถ รู้จักหว่าน รู้จักใช้แร่ธาตุ เอามาทำเป็นขวาน เป็นมีด เป็นพร้า เอาหินมาทำเป็นอาวุธต่างๆ ค่อยเจริญขึ้นโดยลำดับในเรื่องวัตถุ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 21:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... A=0&Z=1071

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. พรหมชาลสูตร
เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ


(ต่อ)..
สัสสตทิฏฐิ ๔

[๒๘] ๒. อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ
ว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ
ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน
ได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่
ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและ
โลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป
ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่น
แห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง
ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น
แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อม
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้
ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด
แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
[๒๙] ๓. อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่น
แห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขาจึง
กล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด
ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ
คงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ
โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิกัฏฏกัป
บ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี
ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้
อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อม
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
[๓๐] ๔. อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิด
ได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่า
สัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกนั้น
มีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ นี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่มีทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตา
และโลกว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น
หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถือไว้
อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อม
รู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
จบภาณวารที่หนึ่ง
.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2017, 21:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=09&A=0&Z=1071

อ้างคำพูด:
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค

พระสุตตันตปิฎก
เล่ม ๑
ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
๑. พรหมชาลสูตร
เรื่องสุปปิยปริพาชกกับพรหมทัตตมานพ


(ต่อ)..
สัสสตทิฏฐิ ๔

[๒๘] ๒. อนึ่ง ในฐานะที่ ๒ สมณพราหมณ์ผู้เจริญอาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมีทิฏฐิ
ว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้
อาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความ
ไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อน
ได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่อ
อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ
มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น
มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนด
อายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่
ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขากล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและ
โลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป
ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
เหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่น
แห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สังวัฏฏวิวัฏฏกัปหนึ่งบ้าง สองบ้าง สามบ้าง สี่บ้าง ห้าบ้าง สิบบ้าง
ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น
เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น
แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุข
เสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อม
ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้
ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา
ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด
แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๒ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
[๒๙] ๓. อนึ่ง ในฐานะที่ ๓ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ อาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบ
เนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการโดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิอันเป็นเครื่องตั้งมั่น
แห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคย
อาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิวัฏฏกัปบ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น ได้เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้น
เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์
อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึก
ถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ เขาจึง
กล่าวอย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด
ส่วนเหล่าสัตว์นั้น ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอ
คงมีอยู่แท้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ข้าพเจ้าอาศัยความเพียรเป็นเครื่องเผากิเลส
อาศัยความเพียรที่ตั้งมั่น อาศัยความประกอบเนืองๆ อาศัยความไม่ประมาท อาศัยมนสิการ
โดยชอบ แล้วบรรลุเจโตสมาธิ อันเป็นเครื่องตั้งมั่นแห่งจิต ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ใน
กาลก่อนได้หลายประการ คือ ตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้สิบสังวัฏฏวิกัฏฏกัป
บ้าง ยี่สิบบ้าง สามสิบบ้าง สี่สิบบ้าง ว่าในกัปโน้น เรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น
มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้ไปเกิดในกัปโน้น แม้ในกัปนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มี
ผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น
ครั้นจุติจากนั้นแล้วได้มาบังเกิดในกัปนี้ ย่อมตามระลึกถึงขันธ์ที่เคยอาศัยอยู่ในกาลก่อนได้
หลายประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ฉะนี้ ด้วยการได้บรรลุคุณวิเศษนี้ ข้าพเจ้าจึงรู้
อาการที่อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่าสัตว์นั้น
ย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นฐานะที่ ๓ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อม
บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง.
[๓๐] ๔. อนึ่ง ในฐานะที่ ๔ สมณพราหมณ์ผู้เจริญ อาศัยอะไร ปรารภอะไร จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง บัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง? ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์บางคน
ในโลกนี้ เป็นนักตรึก เป็นนักค้นคิด กล่าวแสดงปฏิภาณของตนตามที่ตรึกได้ ตามที่ค้นคิด
ได้อย่างนี้ว่า อัตตาและโลกเที่ยง คงที่ตั้งอยู่มั่นดุจยอดภูเขา ตั้งอยู่มั่นดุจเสาระเนียด ส่วนเหล่า
สัตว์นั้นย่อมแล่นไป ย่อมท่องเที่ยวไป ย่อมจุติ ย่อมเกิด แต่สิ่งที่เที่ยงเสมอคงมีอยู่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นฐานะที่ ๔ ซึ่งสมณพราหมณ์พวกหนึ่ง อาศัยแล้ว ปรารภแล้ว จึงมี
ทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกนั้น
มีทิฏฐิว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการ นี้แล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่มีทิฏฐิว่าเที่ยง จะบัญญัติอัตตา
และโลกว่าเที่ยง สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ย่อมบัญญัติด้วยเหตุ ๔ ประการนี้เท่านั้น
หรือแต่อย่างใดอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ไม่มี.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องนี้ตถาคตรู้ชัดว่า ฐานะเป็นที่ตั้งแห่งทิฏฐิเหล่านี้ อันบุคคลถือไว้
อย่างนั้นแล้ว ยึดไว้อย่างนั้นแล้ว ย่อมมีคติอย่างนั้น มีภพเบื้องหน้าอย่างนั้น และตถาคตย่อม
รู้เหตุนั้นชัด ทั้งรู้ชัดยิ่งกว่านั้น ทั้งไม่ยึดมั่น ความรู้ชัดนั้นด้วย เมื่อไม่ยึดมั่นก็ทราบความเกิดขึ้น
ความดับไป คุณและโทษของเวทนาทั้งหลาย กับอุบายเป็นเครื่องออกไปจากเวทนาเหล่านั้น
ตามความเป็นจริง จึงทราบความดับได้เฉพาะตน เพราะไม่ถือมั่น ตถาคตจึงหลุดพ้น.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้แล ที่ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ประณีต
จะคาดคะเนเอาไม่ได้ ละเอียด รู้ได้เฉพาะบัณฑิต ซึ่งตถาคตทำให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
แล้วสอนผู้อื่นให้รู้แจ้ง ที่เป็นเหตุให้กล่าวชมตถาคตตามความเป็นจริงโดยชอบ.
จบภาณวารที่หนึ่ง
.



กบไหนลองโฟกัสจุดที่กบต้องการสื่อหน่อยสิ เอ้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2017, 06:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้..ชื่ออะไร..?

ผมอยู่ในกรอบของกระทู้...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2017, 08:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กระทู้..ชื่ออะไร..?

ผมอยู่ในกรอบของกระทู้...


กระทู้นี้เรื่องศาสนานะ เห็นความหมายคำว่า ศาสนาหรือยัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2017, 09:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กระทู้..ชื่ออะไร..?

ผมอยู่ในกรอบของกระทู้...


กระทู้นี้เรื่องศาสนานะ เห็นความหมายคำว่า ศาสนาหรือยัง


เบิกเนตร..ดูชื่อกระทู้ที่ตัวเองตั้ง...ซะหน่อย..ซิ..

..ความเป็นมาของศาสนาต่างๆ..

ไม่ใช่กระทู้ถามความหมายของศาสนา..ซะหน่อย..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2017, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กระทู้..ชื่ออะไร..?

ผมอยู่ในกรอบของกระทู้...


กระทู้นี้เรื่องศาสนานะ เห็นความหมายคำว่า ศาสนาหรือยัง


เบิกเนตร..ดูชื่อกระทู้ที่ตัวเองตั้ง...ซะหน่อย..ซิ..

..ความเป็นมาของศาสนาต่างๆ..


ศาสนาหมายถึงยังไง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ธ.ค. 2017, 09:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12233


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
[
เบิกเนตร..ดูชื่อกระทู้ที่ตัวเองตั้ง...ซะหน่อย..ซิ..

..ความเป็นมาของศาสนาต่างๆ..

ไม่ใช่กระทู้ถามความหมายของศาสนา..ซะหน่อย..


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 42 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 32 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร