วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 03:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 191 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2017, 08:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:

นอกจากจะตรัสแก่ภิกษุดังว่าแล้ว ยังค้างอีกประเด็นหนึ่ง ที่จะบอกเช่นนั้น

เช่นนั้น พึงสังเกตการใช้ถ้อยคำ พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามพูด, ห้ามทำ แต่ใช้คำว่า ควร, ไม่ควร ไม่สมควรพูด ไม่สมควรสนทนา.
ถ้าห้าม จะใช้คำว่า อย่า, อย่าพูด อย่าสนทนา ต้อง, ต้องไม่พูด ต้องไม่สนทนา

พูดได้ แต่ไม่ควรพูด เหมือนมันเสียเวลาในการทำกิจหน้าที่ของตน ประมาณๆว่า เราไปอยู่ในสำนักปฏิบัติธรรม,ปฏิบัติกรรมฐาน เจ้าสำนักจะมีกฎว่า โยคีไม่ควรจับกลุ่มนั่งคุยเรื่องสัพเพเหระกัน จะทำให้คิดฟุ้งซ่านเสียเวลาปฏิบัติ

กรัชกาย
อ่านหนังสือออก
ฉลาดอ่านดีครับ

ก็น่าจะเข้าใจ ควร ไม่ควร

สนทนาธรรม ไม่ใช่สนทนาการเมือง นะครับ


นี่ธรรมหรือการเมือง ตอบชัดๆ ตรงไหนธรรม ตรงไหนการเมือง

รูปภาพ


https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_604041

ตรงไหนธรรม ตรงไหนการเมือง ตอบชัดๆ

รูปภาพ

อย่าบอกนะว่า เห็นแต่หัวอยู่ในน้ำเป็นการเมือง แขวนอยู่ข้างฝาเป็นธรรม :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2017, 08:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ราชสังคหวัตถุ สังคหวัตถุของพระราชา, หลักการสงเคราะห์ประชาชนของนักปกครอง มี ๔
คือ
๑. สัสสเมธะ ฉลาดบำรุงธัญญาหาร

๒. ปุริสเมธะ ฉลาดบำรุงข้าราชการ

๓. สัมมาปาสะ ผูกผสานรวมใจประชา

๔. วาชไปยะ มีวาทะดูดดื่มใจ


ขยายความหน่อย

สัสสเมธะ ความฉลาดในการบำรุงข้าวกล้า, ปรีชาในการบำรุงพืชพันธุ์ธัญญาหาร ส่งเสริมการเกษตรให้อุดมสมบูรณ์ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่ง ที่ผู้ปกครองบ้านเมืองจะพึงบำเพ็ญ

ปุริสเมธ ความฉลาดในการบำรุงข้าราชการ รู้จักส่งเสริมคนดีมีความสามารถ เป็นสังคหวัตถุประการหนึ่งของผู้ปกครองบ้านเมือง

สัมมาปาสะ “บ่วงคล้องไว้มั่น” ความรู้จักผูกผสานรวมใจประชาชน ด้วยการส่งเสริมอาชีพ เช่น ให้คนจนกู้ยืมทุนไปสร้างตัวในพาณิชกรรม เป็นต้น

วาชเปยะ, วาชไปยะ “วาจาดูดดื่มใจ” “น้ำคำควรดื่ม” ความรู้จักพูด คือ รู้จักทักทายปราศรัย ใช้วาจาสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผล มีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2017, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:

นอกจากจะตรัสแก่ภิกษุดังว่าแล้ว ยังค้างอีกประเด็นหนึ่ง ที่จะบอกเช่นนั้น

เช่นนั้น พึงสังเกตการใช้ถ้อยคำ พระพุทธเจ้าไม่ได้ห้ามพูด, ห้ามทำ แต่ใช้คำว่า ควร, ไม่ควร ไม่สมควรพูด ไม่สมควรสนทนา.
ถ้าห้าม จะใช้คำว่า อย่า, อย่าพูด อย่าสนทนา ต้อง, ต้องไม่พูด ต้องไม่สนทนา

พูดได้ แต่ไม่ควรพูด เหมือนมันเสียเวลาในการทำกิจหน้าที่ของตน ประมาณๆว่า เราไปอยู่ในสำนักปฏิบัติธรรม,ปฏิบัติกรรมฐาน เจ้าสำนักจะมีกฎว่า โยคีไม่ควรจับกลุ่มนั่งคุยเรื่องสัพเพเหระกัน จะทำให้คิดฟุ้งซ่านเสียเวลาปฏิบัติ

กรัชกาย
อ่านหนังสือออก
ฉลาดอ่านดีครับ

ก็น่าจะเข้าใจ ควร ไม่ควร

สนทนาธรรม ไม่ใช่สนทนาการเมือง นะครับ



เช่นนั้น ตอบชัดๆ นี่เป็นธรรม,การเมือง ช่วยแยกออกจากกันให้ชัดสิเอ้า แยกยังไง


ยังไม่ลด! ชาวอยุธยาลุยน้ำท่วม ทำพิธีศพญาติ พาร่างลงเรือ จอดเทียบบันไดเมรุ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2017, 10:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วันนี้ ไม่เห็นกบนอกกะลา แปลกใจนิดหน่อยว่าหายไปไหน ที่แท้ๆ :b14:



ตอบ: วันนี้, 05:21 น. # 12

มีคน...คนหนึ่ง....อ่านดูแล้ว..แต่ไม่แสดงความเห็นโต้แย้งอะไรในนี้นะ...แต่กลับมาcopy..ไปเสียดสีที่ลานธรรมจักร..โน้นแหนะ

ผมไม่รู้ว่าในลานฯนี้..ตาคนนี้ใช้ชื่ออะไร..นะ ฯลฯ


http://larndham.org/index.php?/topic/44 ... ntry819070


ก็บอกแล้วว่าไม่ได้เป็น สมช.ที่นั่น ยังจะไปถามหาอีก คิกๆๆ

มานี่มาๆ rolleyes

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ต.ค. 2017, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แหมๆพูดจัง ไม่ใช่ธรรม เป็นการเมือง ให้พูดธรรม ไม่ให้พูดการเมือง เออ

พอเราถาม แยกการเมือง กับ ธรรมยังไง เงียบหมดทั้งสองคนเลย ไหนแยกให้ดูถี :b10: :b14: :b1:

กบนอกกะลาเพ่นกลับรังเก่าเลย ส่วนเช่นนั้นก็นั่งกัดฟันกร๊อดๆๆ คิกๆๆ ไปไม่เป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2017, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ประตูเปิดแล้ว :b1:

ขอชื่นชมความใจกว้างของแอดมินลานนี้ ซึ่งเปิดโอกาสให้ได้ถกเถียงเรื่องหลักพุทธธรรมกัน ชื่นชมด้วยความจริงใจครับ :b8:

นี่เพิ่งดอดไปอ่านกระทู้เรื่องถือศีลแล้วได้ทรัพย์สินเงินทอง ที่ลานโน่นมาแล้ว :b1:

http://larndham.org/index.php?/topic/44 ... ntry819070

อ่านมีแล้วคำถาม คือ ถ้าถือศีลแล้วรวยโดยไม่ต้องประกอบอาชีพการงานอะไรแล้วโภคทรัพย์จะมีมาตามคำสรุปศีลนั่นนะ ชาวพุทธเมืองไทยเราคงหายจนไปนานแล้ว

มาถกเถียงรายละเอียดกันที่นี่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชนเถอะ สมัครสมาชิกเข้ามาครับ :b1: แล้วจะไปตั้งกระทู้เรื่องศีลโดยเฉพาะเลย ยกมาเลยศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ พร้อมคำสรุปศีล

สนทนากับคนเห็นต่าง ได้ปัญญากว่าคุยกับคนคอเดียวกัน จริงๆนะ :b13:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 02 พ.ย. 2017, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พุทธธรรมหน้า ๗๓๙ พูดถึงเหมือนกัน ซึ่งต่อจากหัวข้อ หลักการทั่วไปของสัมมาอาชีวะ นำมาให้ดูหน่อย สังเกตคำสรุปศีลไว้

เศรษฐกิจจะดี ถ้ามีศีล

ในเมืองไทยนี้ มีการขอศีล-ให้ศีล -รับศีล เป็นประเพณีที่รู้กันเป็นสามัญ เมื่อรับศีล ที่เรียกเป็นภาษาทางการว่า สมาทานเบญจศีลจบ พระผู้ให้ศีล ก็จะกล่าวด้วยคำแสดงอานิสงส์ศีล ว่า "สีเลน สุคตึ..." มีใจความว่า ด้วยศีลจะไปสุคติ จะเกิดโภคสัมปทา คือความสมบูรณ์พรั่งพร้อมแห่งโภคะ และจะถึงนิพพาน

สาระที่เกี่ยวข้องในที่นี้ คือตอนที่ว่า ศีลทำให้เกิดทรัพย์สินเงินทองพรั่งพร้อม หรือพูดง่ายๆ ว่า ทำให้เศรษฐกิจดี แม้ว่าคาถาแสดงอานิสงส์ศีลนี้ จะเป็นของเรียบเรียงขึ้นในยุคหลัง ไม่พบในพระไตรปิฎก และอรรถกถาฎีกาทั้งหลาย และเมื่อกล่าวกันมาเป็นแบบแผน ก็ควรนำมาพูดไว้ พอเป็นเรื่องแทรกสั้นๆ

หลักการใหญ่ของศีล ก็คือ เป็นเครื่องจัดตั้งวางพื้นฐานเตรียมสิ่งแวดล้อมให้เรียบร้อยมั่นคง เพื่อจะได้ทำการใหญ่ๆ สำคัญๆ ทั้งหลายให้ก้าวไปได้ด้วยดี

ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 05:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไปตั้งกระทู้ใหม่..ซะ

หรือจะพูดเรื่องศีล..ไปพูดในกระทู้นี้ซิ...

ศิล ที่เป็นไปเพื่อมรรค ผล นิพพาน
viewtopic.php?f=1&t=54413

ยังใกล้เคียงกว่า..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 08:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ไปตั้งกระทู้ใหม่..ซะ

หรือจะพูดเรื่องศีล..ไปพูดในกระทู้นี้ซิ...

ศิล ที่เป็นไปเพื่อมรรค ผล นิพพาน
viewtopic.php?f=1&t=54413

ยังใกล้เคียงกว่า..


ตั้งแล้วจะตามไปคุยด้วยกันไหมล่ะ คิกๆๆ

เปลี่ยนสโลแกนแล้วหรือ ไหนบอกถือศีลแล้ว มีคนเอารถมาให้ ได้เมียไงล่ะ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 12:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทเรียนที่มักถูกลืม

พระนารายณ์อวตาร

ไหนๆได้พูดพาดพิงถึงการที่ฮินดูเอาพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตารไว้ ก็ควรจะพูดให้เข้าใจชัดเจนขึ้นสักนิด

เรื่องนารายณ์อวตารนี้ เกิดขึ้นในยุคคัมภีร์ปุราณะของฮินดู "ปุราณะ" แปลง่ายๆ ว่าเรื่องโบราณ ก็คล้ายกับคำว่าตำนาน แต่เป็นตำนานของฮินดูโดยเฉพาะ

คัมภีร์ปุราณะมีทั้งหมด ๑๘ คัมภีร์ แต่ก่อนเคยเข้าใจกันว่าเก่าแก่มาก แต่เวลานี้รู้กันลงตัวหมดแล้วว่า แต่งขึ้นเริ่มแรกในคริสต์ศตวรรษ ที่ ๔ (ราว พ.ศ. ๘๕๐) และแต่งกันเรื่อยๆมา จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐ (ราว พ.ศ.๑๔๕๐) แต่ปราชญ์บางท่านว่าถึงคริสต์ ศตวรรษที่ ๑๖ (ราว พ.ศ. ๒๐๕๐)

เรื่องเอาพระพุทธเจ้าเป็นอวตารของพระนารายณ์ ที่เรียกว่า พุทธาวตาร นั้น ปรากฏขึ้นระหว่าง พ.ศ.๑๐๐๐-๑๑๐๐

คัมภีร์ปุราณะ คัมภีร์แรกที่กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตาร คือ วิษณุปุราณะ ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่แต่งในช่วง พ.ศ. ๙๔๓-๑๐๔๓ และบรรยายไว้ยึดยาว

ชาวฮินดูเอาพระพุทธเจ้าเป็นนารายณ์อวตารเพื่ออะไร ไม่ควรเดา ถ้าต้องการรู้ชัด ก็อ่านข้อความในคัมภีร์ปุราณะที่เป็นต้นแหล่ง ก็จะได้ความแน่นอน
ขอยกข้อความใน คัมภีร์ปุราณะตอนสำคัญมาให้ดูตอนหนึ่งว่า

“พวกอสูร มีประหลาทะ เป็นหัวหน้า ได้ขโมยเครื่องบูชายัญของเทพยดาทั้งหลายไป แต่เหล่าอสูรเก่งกล้ามาก........ เทพยดาปราบไม่ได้

“พระวิษณุเจ้า (พระนารายณ์) จึงทรงนิรมิตบุรุษแห่งมายา (นักหลอกลวง) ขึ้นมา เพื่อให้ไปชักพาเหล่าอสูรออกไปให้พ้นจากทางแห่งพระเวท

“บุรุษแห่งมายานั้น นุ่งห่มผ้าสีแดง และสอนเหล่าอสูรว่า การฆ่าสัตว์บูชายัญเป็นบาป ... ทำให้พวกอสูรเป็นชาวพุทธ และชักพาให้หมู่ชนอื่นๆออกนอกศาสนา พากันละทิ้งพระเวทติเตียนเทพยดา และพราหมณ์ทั้งหลาย สลัดทิ้งสัทธรรมที่เป็นเกราะป้องกันตัว เทพยดาทั้งหลาย จึงเข้าโจมตี และฆ่าอสูรเหล่านั้นได้”

อีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า

“ในสงครามระหว่างเทพยดา กับ เหล่าอสูร เทพยดาได้ปราชัย และมาขอให้องค์พระเป็นเจ้า (พระวิษณุ = นารายณ์) ทรงเป็นที่พึ่ง องค์พระเป็นเจ้าจึงได้ทรงมาอุบัติเป็นราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะ มาทรงเป็นองค์มายาโมหะ (ผู้หลอกลวง) และทรงชักพาให้เหล่าอสูรพากันหลงผิดไปเสีย ไปนับถือพุทธศาสนา และละทิ้งพระเวท แล้วพระองค์ก็ได้ทรงเป็นอรหันต์ และทำให้คนอื่นๆเป็นอรหันต์ พวกนอกพระศาสนาจึงได้เกิดมีขึ้น”

ญาติโยมสงสัยว่า ทำไมจะไปล่อให้อสูรออกนอกศาสนาเสียล่ะ ทำให้เขานับถือไม่ได้หรือ ตอบง่ายๆว่า เขาหมายถึงออกนอกศาสนาฮินดู

พราหมณ์หรือฮินดูถือว่า อสูรเป็นศัตรูของเทวดา เมื่ออสูรอยู่ในศาสนาฮินดู มารู้พระเวท ทำพิธีบูชายัญ เป็นต้น ก็จะมีฤทธิ์มีอำนาจ เทวดาก็ปราบไม่ได้ เหมือนอย่างเรื่องข้างต้น พระนารายณ์จึงอวตารเป็นพระพุทธเจ้า มาหลอกอสูร กับ พวกออกไปเสียจากศาสนาฮินดู (ให้เลิกนับถือพระเวท เลิกบูชายัญ เป็นต้น) แล้วจะได้หมดฤทธิ์หมดพลังอำนาจ เสร็จแล้วพวกเทวดาจะได้สามารถปราบหรือกำจัดอสูรได้สำเร็จ

หมายความว่า พระนารายณ์อวตารลงมาเป็นพระพุทธเจ้าเพื่อมาหลอกเหล่าอสูร ซึ่งเป็นศัตรูของเทวดา ให้หลงผิดเลิกนับถือพระเวท เลิกบูชายัญ เป็นต้น แล้วแล้วอสูรจะได้หมดฤทธานุภาพ คือมาช่วยให้เทวดาปราบอสูรได้สำเร็จ และก็หมายความว่า ชาวพุทธทั้งหมดนี้คือพวกอสูร ซึ่งจะต้องถูกปราบถูกกำจัดต่อไป

คัมภีร์ภาควตปุราณะ ซึ่งเป็นปุราณะที่สำคัญที่สุดกล่าวว่า

“เมื่อกลียุคเริ่มขึ้นแล้ว องค์พระวิษณุเจ้า (พระนารายณ์) จะลงมาอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า โอรสของราชาอัญชนะ (ที่จริงเป็นพระอัยกาของพุทธเจ้า) เพื่อชักพาเหล่าศัตรูของเทพยดาทั้งหลาย ให้หลงผิดไปเสีย....มาสอนอธรรมแก่เหล่าอสูร… ทำให้พวกมันออกไปเสียจากพระศาสนา... พระองค์จะทรงสั่งสอนเหล่าชนผู้ไม่สมควรแก่ยัญพิธี ให้หลงผิดออกไป

“ขอนอบน้อมแด่องค์พุทธะ ผู้บริสุทธิ์ ผู้หลอกลวงเหล่าอสูร”

ที่ว่ากลียุคนั้น ทางฮินดูถือว่ามีเครื่องหมายแสดงให้รู้คือ เมื่อใดการแบ่งแยกวรรณะทั้ง ๔ เริ่มผ่อนคลายเสื่อมสลายลง ก็แสดงว่า กำลังเริ่มเข้าสู่กลียุค
และ
คัมภีร์ปุราณะกล่าวบรรยายไว้ด้วยว่า เมื่อพระวิษณุอวตารเป็นพระพุทธเจ้ามาหลอกอสูรและพวก ได้หลงผิดออกไปจากศาสนาฮินดูเรียบร้อยแล้ว ต่อไปเมื่อสิ้นกลียุคแล้ว พระองค์ก็จะอวตารลงมาอีกครั้งหนึ่ง เป็นอวตารปางที่ ๑๐ (พระพุทธเจ้า เขาจัดเป็นปางที่ ๙) ชื่อกัลกี (กัลกยาวตาร) เพื่อกำจัดกวาดล้างฆ่าเหล่าอสูรนั้นให้หมดสิ้น แล้วเสด็จกลับคืนสู่สรวงสวรรค์ ต่อแต่นั้น โลกก็จะกลับเข้าสู่ยุคทอง

คัมภีร์มหาภารตะ ก็ได้เขียนเติมแทรกข้อความต่อไปนี้ไว้

“เมื่อเริ่มกลียุค องค์พระวิษณุเจ้าจะลงมาอุบัติเป็นพุทธเจ้า ผู้เป็นโอรสของราชาสุทโธทนะ และจะเป็นสมณะโล้นออกสั่งสอนด้วยภาษามคธ ชักพาเหล่าประชาชนให้หลงผิด ประชาชนเหล่านั้น ก็จะกลายเป็นคนหัวโล้นไปด้วย และนุ่งห่มผ้าเหลือง พราหมณ์ก็เลิกทำพิธีเซ่นสรวง และหยุดสาธยายพระเวท…

ลำดับนั้น เมื่อสิ้นกลียุค พราหมณ์นามว่ากัลกี ผู้เป็นบุตรแห่งวิษณุยสะ จะมาถือกำเนิด และกำจัดเหล่าพวกอนารยชน คนนอกศาสนาเหล่านั้นเสีย”

อีกคัมภีร์หนึ่ง เขียนไว้ ให้รู้สึกเป็นประวัติศาสตร์ (แบบเทียมๆ) ว่า

“บัดนี้ องค์พระวิษณุเจ้า มีพระทัยรำลึกถึงกลียุค จึงได้เสด็จลงมาอุบัติเป็นพระโคตมะ ศากยมุนี และสอนธรรมของพุทธศาสนาเป็นเวลา ๑๐ ปี ครั้งนั้น ราชาสุทโธทนะครองราชย์ ๒๐ ปี แล้ว ราชาศากยสิงหะครองราชย์ ๓๐ ปี ในตอนต้นแห่งกลียุคนั้น วิถีแห่งพระเวทได้ถูกทำลาย และประชาชนได้ไปนับถือพุทธศาสนากันหมด เหล่าชนผู้ถือองค์พระวิษณุเป็นสรณะ ได้ถูกชักพาให้หลงผิดไปแล้ว”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 12:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ศิวะอวตาร

วิธีการนี้ ต่อมา พวกฮินดูนิกายไศวะ สายศังกราจารย์ ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับพวกไวษณพ ก็ได้นำมาใช้ด้วย โดยสอนว่า ศังกราจารย์เป็นอวตารของพระศิวะ (พระอิศวร) เพื่อมากำจัดพระพุทธเจ้าหรือพระพุทธศาสนา ดังข้อความใน “ศังกรทิควิชยะ” ว่า

“เทพยดาทั้งหลาย ได้มาร้องทุกข์แด่องค์พระศิวะเป็นเจ้าว่า พระวิษณุได้เข้าสิงสู่ในร่างของพระพุทธเจ้าในโลกมนุษย์ เพื่อประโยชน์ของตน บัดนี้ เหล่าชนผู้เกลียดชังพระศาสนา ผู้ดูหมิ่นพราหมณ์ ดูหมิ่นธรรมแห่งวรรณะ และอาศรมธรรม ได้มีจำนวนมากเต็มผืนแผ่นดิน ไม่มีบุคคลใดประกอบยัญพิธี เพราะคนทั้งหลายได้กลายไปเป็นคนนอกพระศาสนา (= นอกศาสนาฮินดู) คือเป็นพุทธ เป็นพวกกาปาลิกเป็นต้น ทำให้เหล่าเทพยดาทั้งหลายไม่ได้เสวยเครื่องเซ่นสังเวย

องค์พระศิวะ เป็นเจ้า (ได้สดับแล้ว) ก็ได้โปรดเห็นชอบกับเหล่าเทพยดา เสด็จอวตารลงมาเป็นศังกราจารย์ เพื่อกู้คำสอนแห่งพระเวท ให้ฟื้นคืนกลับมา เพื่อให้สากลโลกมีความสุข และทำลายความประพฤติชั่วให้หมดสิ้นไป”


ตามที่ยกมาให้ดูให้ฟังนี้ ก็คงจะเห็นได้เองว่า เรื่องนารายณ์อวตารแสดงความรู้สึก และเจตนาที่แท้ของฮินดู ต่อพุทธศาสนาอย่างไร เช่น จะเห็นว่า เขาถือว่า การเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนาหมายถึงการเริ่มต้นของกลียุค เขาถือว่า ชาวพุทธเป็นพวกอสูร และพระพุทธเจ้ามาทรงสั่งสอนนี้ ไม่ได้มาสอนด้วยเจตนาดี แต่ตั้งใจมาชักจูงอสูรคือชาวพุทธให้หลงผิด

บางท่านไม่ทราบเรื่องชัด เห็นว่าฮินดูนับถือพระพุทธเจ้าเป็นพระนารายณ์อวตาร ก็คือนับถือเท่ากับเป็นพระเจ้าของเขา ก็เลยกลายเป็นไม่รู้ทัน
ขอให้มองง่ายๆ
๑. มองในแง่กาลเวลา พระพุทธเจ้าปรินิพานล่วงไปแล้วตั้งพันกว่าปี ฮินดูเพิ่งจะมาว่าเป็นนารายณ์อวตารลงมา ไม่เข้าเรื่องกัน

๒. มองในแง่ของพระพุทธศาสนาเอง เรื่องพระนารายณ์อวตารมาเป็นพระพุทธเจ้า หรือเป็นใครก็ตาม ขัดกับหลักการของพระพุทธศาสนา เพราะพระพุทธศาสนาไม่ยอมรับเรื่องเทพเจ้ายิ่งใหญ่ที่สร้างสรรค์ดลบันดาลโลกและชีวิต

๓. มองในแง่ของฮินดูที่อยู่ข้างนอกว่ามีท่าทีต่อพระพุทธศาสนาอย่างไร ก็ชัดว่าไม่ได้คิดในทางที่ดี พระพุทธเจ้ากลายเป็นผู้หลอกลวง เอาชาวพุทธที่เขาว่าเป็นพวกอสูรไปแยกไว้ เพื่อให้เทวดามากำจัดต่อไป

น่าสงสัยด้วยว่า ชาวฮินดูที่จำจัด พระพุทธศาสนา และสังหารชาวพุทธในยุคต่างๆ ต่อมา จะอาศัยคำกล่าวในคัมภีร์อย่างนี้ไปเป็นข้ออ้างด้วยบ้างหรือเปล่า

นอกจากนั้น คำในคัมภีร์ปุราณะ เช่นที่ยกมานี้ ฟ้องถึงสภาพในเวลานั้นว่า พระพุทธศาสนาได้รุ่งเรื่อง มีผู้นับถือมาก และศาสนาพราหมณ์เสื่อมถอย จึงเป็นเหตุให้ฮินดูมุ่งมั่นหาทางกำจัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ปุษยมิตร มิหิรกุละ ศาศางกะ โค่นในระหว่าง

G.C. Pande เขียนไว้ว่า

“การโจมตีพุทธศาสนาในด้านหลักคำสอน ไม่สามารถอธิบายความเสื่อมของพระพุทธศาสนา (หมายความว่า ถึงจะมีการโจมตีหลักธรรมของพระพุทธศาสนา ก็ไม่เป็นเหตุให้พุทธศาสนาเสื่อมไปได้) ความเป็นศัตรูต่อพระพุทธศาสนาของพวกพราหมณ์นั้น ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่การโจมตีหลักธรรม”

พระพุทธศาสนาในอินเดีย ได้เผชิญกับการทำลายล้างด้วยการใช้กำลังรุนแรงหลายยุคลหลายสมัย
ขอยกเหตุการณ์ที่สำคัญมาให้ดูให้ฟังเฉพาะการทำลายฆ่าฟันโดยกษัตริย์ หรือราชานอกพุทธศาสนา
เช่น
- กษัตริย์ปุษยมิตร (ประมาณ พ.ศ.๓๕๖- ๓๙๒ นับคร่าวๆ ว่าราว พ.ศ.๔๐๐ ร่วมสมัยหรือใกล้กับพระเจ้าเมนานเดอร์หรือมิลินทะกษัตริย์แห่งแคว้นโยนก หรือ Bactria ซึ่งครองราชย์ที่เมืองสาคละ หรือสกละ ในปัญจาบปัจจุบัน) เป็นพราหมณ์ รับราชการเป็นเสนาบดี อยู่กับราชาองค์สุดท้ายของราชวงศ์โมริยะ หรือเมารยะ ที่สืบต่อจากพระเจ้าอโศกมหาราช

ปุษยมิตรได้รื้อฟื้นประกอบพิธีอัศวเมธ ฆ่าม้าบูชายัญ ที่พระพุทธศาสนาติเตียน และซบเซาเงียบหายไปนาน นอกจากนั้นได้ทำลายพระพุทธศาสนา เผาวัด กำจัดพระภิกษุสงฆ์ โดยถึงกับให้ค่าหัวแก่ผู้ฆ่าพระภิกษุได้ รูปละ ๑๐๐ ทินาร์ แต่เรื่องของปุษยมิตรอยู่ในยุคที่เอกสารน้อย จึงไม่มีรายละเอียด

- กษัตริย์มิหริกุละ (หรือ มหริคุละ) เป็นชนเผ่าฮั่นขาว หรือหูณะ ที่บุกเข้าอินเดียมาทางอิหร่านและอาฟกานิสถาน ครองราชย์ พ.ศ.๑๐๕๐ เศษ ที่เมืองสาคละ หรือสากละ ในปัญจาบปัจจุบัน มีเรื่องเล่าว่า มิหิรกุละซึ่งเป็นฮินดูนิกายไศวะ (นับถือพระศิวะ คืออิศวร) พิโรธ ที่ทางพระสงฆ์ส่งพระผู้น้อยมาอธิบายคำสอนในพระพุทธศาสนา

หลวงจีนเหี้ยนจัง คือ พระถังซัมจั๋ง เขียนเล่าไว้ว่า มิหิรกุละได้สั่งให้กำจัดพุทธศาสนาให้หมดสิ้นจากดินแดนของพระองค์ทุกแห่ง เป็นเหตุให้มิหิรกุละถูกตอบโต้ โดยพระเจ้าลาทิตย์ กษัตริย์ราชวงศ์คุปตะแห่งมคธ และได้ทำสงครามกัน มิหิรกุละถูกจับได้และจำขังไว้

ต่อมา มิหิรกุละหนีได้ และไปลี้ภัยอยู่ในแคว้นกัษมีระ (แคชเมียร์) แล้วสังหารกษัตริย์กัษมีระเสีย ขึ้นเป็นกษัตริย์เอง แล้วรื้อฟื้นแผนการกำจัดพระพุทธศาสนา โดยล้มล้างพระสถูปทั้งหลาย ทำลายวัด ๑,๖๐๐ วัด สังหารพุทธศาสนิกชน ๙๐๐ โกฏิ แต่ในที่สุด ได้กระทำอัตวินิบาตกรรม โดยโจนเข้ากองไฟ

ศาศางกะ เป็นกษัตริย์ฮินดูนิกายไศวะเช่นเดียวกัน ครองราชย์ในแคว้นเคาฑะ ในเบงกอลปัจจุบันภาคกลาง ประมาณ พ.ศ.๑๑๕๐ ได้ปลงประชนม์กษัตริย์พุทธพระนามว่าราชยวรรธนะ

หลวงจีนเหี้ยนจังบันทึกไว้ว่า ศาศางกะได้สังหารพระภิกษุในแถบกุสินารา (กุศินคร) หมดสิ้น ทำให้สงฆ์พินาศไป และเป็นราชาที่ไปโค่นต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา และขุดรากขึ้นมาเผ่า กับทั้งนำเอาพระพุทธรูปออกไปจากพระวิหารทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ์นั้น นำเอาศิวลึงค์ไปไว้แทน

ศาศางกะได้ทำลายพระพุทธศาสนามากมาย แม้แต่เหรียญเงินตราของกษัตริย์นี้ ก็เขียนกำกับชื่อราชาไว้ว่า “ผู้ปราบพุทธศาสนา”

นักบวชไศวะที่สำคัญคือ กุมาริละ และศังกราจารย์ ก็ไม่ใช่เที่ยวสั่งสอนโจมตีพระพุทธศาสนาเท่านั้น เมื่อเดินทางไปไหนก็พยายามชักจูงชวนกษัตริย์และคนชั้นสูงที่มีอำนาจ ให้เลิกอุปถัมภ์บำรุงวัดและพระพุทธศาสนา ทำให้พระพุทธศาสนาที่กำลังเสื่อมอยู่แล้วอ่อนแอยิ่งขึ้น จนช่วงท้าย พระพุทธศาสนาก็เหลืออยู่เพียงในแคว้นพิหารและเบงกอลปัจจุบัน โดยมีกษัตริย์ปาละอุปถัมภ์อยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 12:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทัพมุสสลิมเตอร์ก ล้างปิดรายการ

ท้ายสุด ประมาณ พ.ศ.๑๗๐๐ กองทัพมุสสลิมเตอร์กบุกเข้ามาแถบพิหารและเบงกอลนั้น แล้วทำลายพระพุทธศาสนา ด้วยการเผาวัด ฆ่าพระภิกษุสงฆ์จนหมดสิ้น พระพุทธศาสนาก็สูญไปจากอินเดีย

(ผู้เขียนคำ “Hinduism” ใน Encyclopaedia Britannica, 1988 เขียนว่า ตอนมุสลิมบุกเข้ามานั้น พระพุทธศาสนาก็กำลังถูกกลืน กลับเข้าไปในศาสนาฮินดู “reabsorption into Hinduism)

ที่อาตมานำเรื่องการทำลาย พระพุทธศาสนาในอินเดียมาเล่านี้ ไม่ได้มุ่งที่จะให้ไปโกรธแค้น เพราะจุดเน้นของเราอยู่ที่ภัยภายใน คือ ความย่อหย่อน อ่อนแอ เสื่อมโทรม ในหมู่พุทธบริษัท ที่เกิดจากความเชื่อถือ และการประพฤติปฏิบัติที่ออกนอกลู่นอกทาง ผิดจากหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า แม้กระทั่งไม่ได้เรียนรู้ว่า พระพุทธศาสนาสอนอะไร

ความเสื่อมโทรมที่เป็นภัยภายในนี่แหละ คือ อันตรายที่ร้ายแรงที่สุด ถึงไม่มีภัยนอกมาทำลาย ก็ทำลายตัวหมดไปเอง

เพราะฉะนั้น จะต้องระลึกถึงคำเตือนของพระพุทธเจ้าเสมอ ให้ไม่ประมาท ตั้งใจเล่าเรียนศึกษาปฏิบัติและสั่งสอนธรรม พร้อมทั้งแก้ไขปรัปวาท

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแก่พระพุทธศาสนาทั้งดีและร้าย เราก็ต้องรู้ไว้ การไม่ยอมเรียนรู้ ทั้งที่มีข้อมูลให้รู้ คงไม่เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องสำหรับชาวพุทธอย่างแน่นอน แต่จะกลายเป็นความประมาท

การที่คิดแต่โทษภัยภายนอก ไม่มองดูตัวเอง ก็เป็นสุดโต่งไป แต่การไม่ยอมรับรู้สถานการณ์ ไม่ระวังป้องกันภัยภายนอก คิดว่ามีเพียงแต่ภัยภายใน ก็เป็นสุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง ควรจะรู้เข้าใจ อยู่กับความเป็นจริง และทำการด้วยปัญญาและเมตตา โดยไม่ประมาท

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2017, 14:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๑๗๐๐ ปี หลักการแค่นี้ รักษาไม่ได้

ขอย้อนไปพูดถึงพระพุทธศาสนา โดยประวัติส่วนรวมในอินเดียทั้งหมด ว่าพระพุทธศาสนาในอินเดียนี้ แบ่งได้เป็นยุคๆ
ยุคที่ ๑ ประมาณ ๕๐๐ ปีแรก เป็นยุคของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท คือแบบที่มาถึงเรานี้ รุ่งเรืองอยู่ประมาณ ๕๐๐ ปี

ยุคที่ ๒ ต่อจากนั้นเป็นยุคของมหายาน ตั้งแต่ประมาณหลัง พ.ศ.๕๐๐ ไปจนถึง พ.ศ. ๑๐๐๐ แต่เป็นมหายานที่ยังหนักแน่นอยู่

ยุคที่ ๓ หลัง พ.ศ. ๑๐๐๐ มหายานเริ่มเสื่อมลง และราวพ.ศ. ๑๒๐๐ ก็เกิดพุทธศาสนามหายานแบบลัทธิตันตระ ซึ่งมีเรื่องเวทมนตร์คาถามาก

ยุคที่ ๔ หลัง พ.ศ. ๑๕๐๐ เป็นตันตระยุคเสื่อมโทรม และทรามมาก จนถึงกับให้พระพุทธเจ้ามีศักติทำนองว่าเป็นชายา ฝรั่งแปลว่า consort มีการเสพสุรา และเสพกาม ถือเป็นการบรรลุนิพพานได้


ฮินดูตอนนั้น ก็เหลวเละมาก ฮินดูก็มีตันตระ พุทธก็มีตันตระ แข่งกันมา แต่ก็คือกลายเป็นเหมือนๆกัน แล้วก็กลมกลืนกันนั่นเอง และระหว่างนี้แหละที่พุทธศาสนาได้กลมกลืนกับศาสนาฮินดูจนหมดความหมายพิเศษของตนเอง ความเสื่อมทรามทั้งด้านกามและไสยศาสตร์เด่นมาก ตั้งแต่ พ.ศ.๑๕๐๐ จนมาถึง พ.ศ.๑๗๐๐ ก็พอดีมุสลิมเตอร์ก ยกทัพเข้ามากวาดล้างทำลายเสียเรียบหมดเลย


มีเรื่องเล่าไว้ว่า เมื่อมุสลิมเตอร์กยกกองทัพมาฆ่าเผาๆนั้น พระที่อยู่ในมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาต่างๆก็หนี ที่ถูกฆ่าก็มรณะไป ที่หนีได้ก็ลงเรือไปพม่าบ้าง หนีขึ้นเหนือไปเนปาล บ้าง ไปทิเบตบ้าง


ที่ทิเบตมีหลักฐานเหลืออยู่ เล่าถึงเหตุการณ์ตอนที่นาลันทา หรือมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแถบนั้นถูกทำลาย เมื่อกองทัพมุสลิมเตอร์ก ยกเข้ามา อันแสดงถึงความเชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ และเวทมนตร์ว่าเป็นอย่างไร


มีตัวอย่างหลักฐานค้างอยู่ที่ทิเบตเล่าว่า พระองค์หนึ่งมีเวทมนตร์คาถาขลัง และมีพัดกายสิทธิ์ ก็บอกว่า เดี๋ยวพอกองทัพมันมานะ ฉันจะใช้พัดนี้โบก กองทัพมันจะแตกกระจัดกระจาย กระเจิงไปหมด (แต่ผลที่แท้ก็คือพระเองถูกฆ่าหมด น้อยนักหนีรอดไปได้)


แสดงว่า ตอนนั้น พระพุทธศาสนาเสื่อมโทรม เต็มไปด้วยความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ เวทมนตร์คาถา กลายเป็นมนตรยาน

ตันตระนั้น เป็นเรื่องของมนตรยาน (ถือกันว่า ตันตระ มนตรยาน และ วัชรยาน ใช้แทนกันได้) ชื่อ มนตรยาน ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่า เป็นลัทธิเวทมนตร์ ถือว่าสามารถบรรลุจุดหมายได้ด้วยเวทมนตร์ เชื่อจนหมกมุ่นในเรื่องอิทธิปาฏิหาริย์ พุทธศาสนาเสื่อมไปถึงขนาดนี้ นอกจากอิทธิฤทธิ์ จะรักษาตัวไม่ได้แล้ว ก็กลมกลืนกับศาสนาฮินดูได้สะดวกง่ายอย่างดี

เรื่องอย่างนี้ เป็นคติสอนใจชาวพุทธอย่างดีว่า จะต้องไม่ยอมถูกล่อเร้าชักจูงให้เขวออกไปจากหลักการของพระพุทธศาสนา

พุทธบริษัททั้งหมด เริ่มแต่พระจะต้องศึกษาให้ตระหนักในบทเรียนแห่งอดีต และรู้เท่าทันสถานการณ์ปัจจุบัน โดยมีความชัดเจน มั่นใจ และตั้งมั่นในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า

เฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องเทพเจ้า เจ้าพ่อ เจ้าแม่ อิทธิปาฏิหาริย์ไสยศาสตร์นั้น มีสาระสำคัญอย่างเดียวกัน คือการหวังพึ่งอำนาจดลบันดาลภายนอก ซึ่งเป็นความเชื่อและการปฏิบัติที่มีผลเสียและขัดต่อหลักการของพระพุทธศาสนาหลายอย่าง โดยเฉพาะ

๑.ทำให้เป็นคนอ่อนแอ ไม่ทำการให้สำเร็จด้วยความเพียรพยายามของตน ขัดหลักกรรม

๒. ทำให้ชีวิตเสื่อมถอย ไม่พัฒนา เพราะไม่เรียนรู้ฝึกฝนปรับปรุงตนในการที่จะแก้ปัญหา และฝึกปรือความสามารถจากการกระทำ ขัดต่อหลักไตรสิกขา

๓. ทำให้ปล่อยเวลาล่วงผ่านไป ผัดเพี้ยน เฉื่อยชา อยู่กับความเลื่อนลอย เนื่องจากรอคอยผลจากการดลบันดาลของผู้อื่น ไม่เร่งรัดกระตือรือร้นขวนขวาย ไม่กระทำในสิ่งที่ควรทำ ขัดหลักความไม่ประมาท

๔. ทำให้ต้องเอาชีวิต และความสุขของตนไปฝากไว้กับอำนาจบันดาลผลภายนอก ที่ตัวเองไม่มีทางรู้ได้ว่าจะสำเร็จเมื่อไรอย่างไร ขึ้นต่อเขา ขัดหลักพึ่งตน และความเป็นอิสระ


นอกจากนั้น ในแง่สังคม เมื่อคนมัวแต่มองหาเทวดาและอำนาจภายนอกมาช่วย มัวแต่จะรักษาความสัมพันธ์กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็จะไม่เอาใจใส่กันและกันในหมู่มนุษย์เอง ไม่แสวงหาความร่วมมือในการที่จะช่วยกันแก้ปัญหาและทำการต่างๆ แต่ละคนจะเอาแต่ผลประโยชน์ของตัว สังคมก็ยิ่งเสื่อม อย่างน้อย ก็พัฒนาประชาธิปไตยไม่สำเร็จ

อย่างไรก็ตาม พระพุทธศาสนาไม่บังคับความเชื่อ และยอมรับความแตกต่างหลากหลายของมนุษย์ที่อยู่ในระดับการพัฒนาที่ต่างๆกัน

ถ้าคนยังไม่พร้อม แต่ยินดีที่จะเริ่มก้าวเดิน เมื่อยังอยู่ที่จุดเริ่มต้นหรือช่วงต่อกับความเชื่อถือและการปฏิบัติต่างๆ ยังนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แม้แต่นับถือพระรัตนตรัยแล้วก็ยังนับถือแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เราก็จะต้องมีเกณฑ์ในการที่จะนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น

ชาวพุทธที่ยังเชื่อพระรัตนตรัยแบบสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ก็ต้องมีเกณฑ์อย่างที่กล่าวแล้วว่า การปฏิบัติเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ในพระพุทธศาสนา

๑. ต้องไม่ให้เสียหลักกรรม หมายความว่า ถ้าเชื่อแล้วเป็นเครื่องรวมใจให้เกิดสมาธิตั้งมั่นได้ ในยามเกิดเหตุภัยร้ายแรงฉุกเฉิน ใจหายกระวนกระวาย หายกระสับกระส่าย ตั้งสติได้ แล้วมีสมาธิ ทำให้ตั้งใจทำการด้วยความเข้มแข็งจริงจัง เรียกว่าไม่เสียหลักกรรม ก็พอใช้ได้

๒. ต้องไม่ให้เสียหลักสิกขา คือ ไม่เสียหลักการฝึกฝนพัฒนาตน แม้จะนับถืออย่างที่ว่า ก็ต้องไม่หยุดพัฒนาตัวเอง ไม่ไปฝากความหวังฝากชะตาไว้กับอำนาจดลบันดาลอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหล่านั้น จนกระทั่งไม่ได้คิดว่าตัวจะต้องทำอะไร และจะต้องทำอะไรกับตัวเอง อันนี้เป็นหลักที่ทิ้งไม่ได้

๓. ต้องไม่ให้เสียหลักความไม่ประมาท ต้องไมมีชีวิตอยู่ด้วยการรอคอยแล้วปล่อยปละละเลยสิ่งที่ควรทำ ไม่เร่งเพียรพยายาม จมอยู่ในความประมาท

๔. ต้องไม่ให้เสียหลักความพึ่งตนและอิสรภาพ ต้องไม่มัวหวังพึ่งแล้วเอาความหวังความสุขโชคชะตาไปฝากไว้กับสิ่งภายนอก แต่ต้องพยายามทำตนให้เป็นที่พึงของตนได้ และมีอิสรภาพมากขึ้น

๕. ต้องให้เป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่พ่วงอยู่กับคุณธรรมและความบริสุทธิ์ ไม่ใช่ศักดิ์สิทธิ์แบบฤทธิ์ของเทพเจ้าที่เต็มไปด้วยกิเลส ที่มุ่งสนองโลภะโทสะ แต่ปฏิบัติตามหลักพุทธศาสนาที่ว่า ความศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าอยู่ที่ความบริสุทธิ์ เมตตากรุณา และปัญญา แล้วก็ใช้หลักอธิษฐานแทนการอ้อนวอน

แต่ต้องเป็นอธิษฐานในความหมายที่ถูกต้องของพระพุทธศาสนา คือ การตั้งใจเด็ดเดี่ยวที่จะทำการเพื่อบรรลุจุดหมายดีงามอย่างใดอย่างหนึ่งที่ชัดเจน การอธิษฐานจิตจะทำให้เกิดสมาธิ และนำไปสู่ความสำเร็จได้อย่างดี

ถ้าเราหวังผลจากพวกเวทมนตร์คาถา ก็คือไปทางลัทธิฮินดูอย่างประเทศเขมรมีชื่อเก่งเหลือเกินในเรื่องเวทมนตร์คาถา แล้วประเทศเขมรเป็นอย่างไร รักษาประเทศไว้ไม่ได้ คนไม่อยู่กับเหตุผล ไม่อยู่กับความเป็นจริง อันนี้ไม่ไหว

อินเดียก็เป็นมาแล้วตั้งแต่ก่อนพุทธกาล พระพุทธเจ้าเกิดขึ้นมาก็ทรงแก้ไขเรื่องนี้ แต่นานเข้าพระพุทธศาสนาของเราในอินเดียเสียหลักของตนเอง ก็เสื่อมลงไป อินเดียก็เป็นฮินดูไปตามเดิม

พระพุทธศาสนาในเมืองไทย ถ้ารักษาหลักไว้ไม่ได้ ก็คงไปเหมือนกัน

อย่างไรก็ดี จะต้องให้ความสำคัญแก่หลักสังฆะ และการสร้างชุมชนแห่งกัลยาณมิตรให้มาก เพราะการที่มนุษย์ไม่มัวหวังพึ่งอำนาจบันดาลภายนอกนั้น นอกจากหมายถึงความเพียรพยายามทำการด้วยตนเอง และฝึกฝนพัฒนาตนแล้ว ก็หมายถึงการช่วยเหลือกันในหมู่มนุษย์เองด้วย

การที่มนุษย์ที่มีการศึกษาพัฒนาตนดี มีความเห็นแก่ตัวน้อย มาช่วยเหลือกันภายในขอบเขตแห่งความสมเหตุสมผลและชอบธรรมนี่แหละ ที่จะเป็นหลักการดำรงรักษาสร้างสรรค์สันติสุขแก่สังคมอย่างแท้จริง และไม่มีอำนาจอะไรที่ไหนจะช่วยมนุษย์ได้ดีกว่ามนุษย์ช่วยตัวเอง และช่วยกันเอง

แต่ถ้ามนุษย์เราไม่ช่วยกัน ก็จะกลายเป็นเหตุบีบคั้น ทำให้คนที่อับจนตองหันไปพึ่งอำนาจเร้นลับภายนอกต่อไป เพราะฉะนั้น จะต้องเน้นหลักสังฆะ และการสร้างสรรค์สังคมกัลยาณมิตร บนฐานของหลักพรหมวิหาร ๔ และสังคหวัตถุ ๔ ไว้อย่างจริงจังด้วย

พุทธศาสนาในเมืองไทย ถ้ารักษาหลักไว้ไม่ได้ ก็คงไปเหมือนกัน การมาอินเดียครั้งนี้ เป็นเครื่องเตือนใจอย่างหนึ่ง อย่างน้อยช่วยให้มองเห็นเรื่องเหล่านี้ และพยายามให้เรารักษาหลักการของพระพุทธศาสนาไว้ได้ได้ อย่าให้เสียหลัก

พร้อมทั้งมาทบทวนกันว่า หลักพระพุทธศาสนาที่แท้จริงคืออะไรกันแน่ เพื่อจะได้วัดและตรวจสอบ แล้วก็แก้ไขปรับปรุงเรื่องความเชื่อถือ และการประพฤติปฏิบัติในหมู่ชาวพุทธ

(หนังสือจาริกบุญ จารึกธรรม หน้า 475-488)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2017, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า อธิษฐาน มีหลายนัย

อธิษฐาน 1. ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้ ตั้งใจกำหนดแน่นอนลงไป เช่น อธิษฐานพรรษา ตั้งเอาไว้เป็นของเพื่อการนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดลงไปว่า ให้เป็นของใช้ประจำตัวชนิดนั้นๆ เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือ จะเป็นสังฆาฎิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ฯลฯ 2. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความตั้งใจมั่นแน่วที่จะทำให้สำเร็จลุจุดหมาย, ความตั้งใจหนักแน่นเด็ดเดี่ยวว่าจะทำการนั้นๆให้สำเร็จ และมั่นคงแน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน เป็นบารมีอย่างหนึ่ง เรียกว่า อธิษฐานบารมี หรือ อธิฏฐานบารมี (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐) 3. ธรรมเป็นที่มั่น, ในแบบเรียนธรรมของไทย เรียกว่า อธิษฐานธรรม 4. ในภาษาไทยใช้เป็นคำกริยา และมักมีความหมายเพี้ยนไปว่า ตั้งใจมุ่งขอให้ได้ผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตั้งจิตปรารถนาเฉพาะอย่างยิ่ง ตั้งจิตขอต่อสิ่งที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ให้สำเร็จผลอย่างใดอย่างหนึ่ง

มีข้อสังเกตว่า ในความหมายเดิมอธิษฐานเป็นการตั้งใจที่จะทำ (ให้สำเร็จด้วยความพยายามของตน) แต่ความหมายในภาษาไทย กลายเป็นอธิษฐานโดยตั้งใจขอเพื่อจะได้หรือจะเอา เฉพาะอย่างยิ่งด้วยอำนาจดลบันดาล โดยตนเองไม่ต้องทำ (บาลี อธิฏฐาน)


อธิษฐานธรรม ธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ, ธรรมเป็นที่มั่น, หลักธรรมที่ใช้ตั้งตัวให้มั่นหรือเป็นที่ตั้งตัวให้มั่น เพื่อจะสามารถยึดเอาหรือลุถึงผลสำเร็จที่เป็นจุดหมาย เฉพาะอย่างยิ่งพระภิกษุใช้ตั้งตัวเพื่อจะบรรลุอรหัสผล มี ๔ อย่าง ๑. ปัญญา ๒. สัจจะ ๓. จาคะ ๔. อุปสมะ หรือสันติ นิยมเรียกชื่อเต็มของแต่ละข้อว่า
๑. ปัญญาธิฏฐาน ๒. สัจจาธิฏฐาน ๓. จาคาธิฏฐาน ๔. อุปสมาธิฏฐาน และเรียกรวมว่า อธิฏฐาน ๔ หรือจตุราธิฏฐาน ทั้งนี้มีหลักการปฏิบัติตามพุทธพจน์ว่า ๑. พึงไม่ประมาท (หมั่นใช้หมั่นพัฒนา) ปัญญา ๒. พึงรักษา (อนุรักษ์) สัจจะ ๓. พึงเพิ่มพูนจาคะ ๔. พึงศึกษาสันติ (เรียงคำอย่างบาลีเป็นสันติศึกษา)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 191 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 6, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 196 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร