วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 11:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2017, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นผล
มีความไม่เดือดร้อนเป็นอานิสงส์

ความไม่เดือดร้อน มีความปราโมทย์เป็นผล
มีความปราโมทย์เป็นอานิสงส์

ความปราโมทย์ มีปีติเป็นผล
มีปีติเป็นอานิสงส์

ปีติ มีปัสสัทธิเป็นผล
มีปัสสัทธิเป็นอานิสงส์

ปัสสัทธิ มีสุขเป็นผล
มีสุขเป็นอานิสงส์

สุขมี สมาธิเป็นผล
มีสมาธิเป็นอานิสงส์

สมาธิ มียถาภูตญาณทัสนะเป็นผล
มียถาภูตญาณทัสนะเป็นอานิสงส์

ยถาภูตญาณทัสนะ มีนิพพิทาเป็นผล
มีนิพพิทาเป็นอานิสงส์

นิพพิทา มีวิราคะเป็นผล
มีวิราคะเป็นอานิสงส์

วิราคะ มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นผล
มีวิมุตติญาณทัสนะเป็นอานิสงส์ด้วยประการดังนี้แล

ดูกรอานนท์ ศีลที่เป็นกุศลย่อม ยังความเป็นพระอรหันต์
ให้บริบูรณ์โดยลำดับ ด้วยประการดังนี้แล ฯ

จบสูตรที่ ๑

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ส.ค. 2017, 18:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า:

เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่ เป็นไทจากตัณหา

วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิลูบคลำ
เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2017, 21:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ความโง่เขลา เบาปัญญา

สมัยก่อน ถ้าพูดถึงเรื่อง ความดับแห่งผัสสะ

เรามักจะบอกว่า การดับผัสสะ เป็นไปไม่ได้หรอก
การที่ผัสสะดับได้ มีแต่ในคนตายเท่านั้น

เพราะรู้ในสมัยก่อน เข้าใจแค่เปลือกของผัสสะ
กล่าวคือ ผัสสะ เป็นการทำงานของอายตนะภายนอกและภายใน
เช่น ตาเห็นรูป หูได้ยินเสียฯลฯ

รู้แค่เปลือก จะนำเรื่อง "ผัสสะ"
มากระทำเพื่อดับเหตุแห่งทุกข์ได้อย่างไร

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2017, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สุข,ทุกข์ เกิดจาก

๑. เป็นเรื่องของกรรมและการให้ผลของกรรม(ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ)

๒. เป็นเรื่องของความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕(อุปทานขันธ์ ๕)

ทุกสรรพสิ่งที่เกิดขึ้น เกิดจากเหตุปัจจัยที่มีอยู่ของสิ่งๆนั้น



อุจเฉทวาทะ กล่าวว่า ตายแล้วสูญ


นัตถิวาทะ กล่าวว่า อะไรๆไม่มี ผลของบุญบาป(สมมุติ)ก็ไม่มี
กล่าวคือ ผลของเหตุ ได้แก่ การกระทำนั้น ไม่มี


อกิริยวาทะ กล่าวว่า ไม่เป็นอันทำ คือ ทำอะไร ไม่เป็นกรรม
ได้แก่ ทำอะไร ล้วนชื่อว่า ไม่ใช่เหตุ




จึงเป็นที่มาของ คำว่า นัตถิวาทะ
กล่าวคือ ผลของเหตุ หรือการกระทำนั้น ชื่อว่า ไม่มี

เป็นเหตุที่มาของ คำว่า อุจเฉทวาทะ
กล่าวคือ ตายแล้วสูญ



คำว่า อุจเฉทวาทะ นัตถิวาทะ และอกิริยวาทะ
มีเกิดขึ้น เหตุปัจจัยจากอวิชชาที่มีอยู่
เป็นเหตุปัจจัยให้ไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริง









ปฐมโกสลสูตรที่ ๙

ภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันมีอยู่

ความหลุดพ้นแห่งจิตเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดผัสสายตนะ ๖ ประการ ตามความเป็นจริง
นี้เลิศกว่าสมณพราหมณ์ผู้บัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 02 พ.ย. 2017, 18:04, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2017, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุข,ทุกข์ เกิดจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕

V
สุขเวทนา ทุกขเวทนา
นำมาซึ่งความยินดีพอใจ นำมาซึ่งความไม่ยินดี
นำมาซึ่งตัณหา ราคะ ปฏิฆะอันเป็นเครื่องย้อมจิตย้อมใจนำไปสู่ความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2017, 10:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๓. อุทานสูตร
ว่าด้วยการตัดสังโยชน์และความสิ้นอาสวะ


[๑๐๘] พระนครสาวัตถี. ฯลฯ ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาค ทรงเปล่งอุทานว่า
ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี การปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้ พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้.


[๑๐๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอุทานอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง ได้ทูลถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้ว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้อย่างไร พระเจ้าข้า?



พระผู้มีภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับแล้วในโลกนี้ ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าฯลฯ
ไม่ได้รับการแนะนำในสัปปุริสธรรม
ย่อมตามเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีรูป ๑
ย่อมเห็นรูปในตน ๑
ย่อมเห็นตนในรูป ๑

ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ตามเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ

ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑
ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑
ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑.
เขาย่อมไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า เป็นของไม่เที่ยง.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ตามความเป็นจริงว่า เป็นทุกข์.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่า เป็นอนัตตา.
ไม่ทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.
ไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.





[๑๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล
ผู้ใดเห็นพระอริยเจ้า
ฉลาดในธรรมของพระอริยเจ้า
ได้รับการแนะนำดีในอริยธรรม
ได้เห็นสัตบุรุษ
ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ
ได้รับการแนะนำดีในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสัญญาโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นสังขารโดยความเป็นตน ฯลฯ
ไม่พิจารณาเห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ฯลฯ
เธอย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันไม่เที่ยง ตามความเป็นจริงว่า ไม่เที่ยง.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นทุกข์ ตามความเป็นจริงว่า เป็นว่าทุกข์.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันเป็นอนัตตา ตามความเป็นจริงว่าเป็นอนัตตา.
ย่อมทราบชัดรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันปัจจัยปรุงแต่ง ตามความเป็นจริงว่า อันปัจจัยปรุงแต่ง.
ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงว่า แม้รูป แม้เวทนา แม้สัญญา แม้สังขาร แม้วิญญาณ จักมี.
ย่อมทราบชัดตามความเป็นจริงเช่นนั้น เพราะเห็นความเป็นต่างๆ แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ.

ดูกรภิกษุ เมื่อภิกษุน้อมใจไปอย่างนี้แลว่า
ถ้าว่าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิก็จักไม่มีแก่เรา ดังนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์ได้ ด้วยอาการอย่างนี้แล.


[๑๑๑] ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุน้อมใจไปอยู่อย่างนี้
พึงตัดโอรัมภาคิยสังโยชน์เสียได้.





ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อภิกษุรู้เห็นอย่างไร
อาสวะทั้งหลายจึงจะสิ้นไปในกาลเป็นลำดับ.


พ. ดูกรภิกษุ ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้วในโลกนี้ ฯลฯ
ย่อมถึงความสะดุ้ง ในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ ก็ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ย่อมมีความสะดุ้ง ดังนี้ว่า
ถ้าเราไม่พึงมี แม้ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มี ปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

ดูกรภิกษุ ส่วนอริยสาวกผู้ได้สดับแล้วแล ฯลฯ
ย่อมไม่ถึงความสะดุ้งในฐานะอันไม่ควรสะดุ้ง.

ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว ไม่มีความสะดุ้งดังนี้ว่า
ถ้าเราไม่พึงมี ขันธปัญจกของเราก็ไม่พึงมี
กรรมสังขารจักไม่มีปฏิสนธิของเราก็จักไม่มี ดังนี้.

ดูกรภิกษุ วิญญาณที่เข้าถึงรูปก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีรูปเป็นอารมณ์
มีรูปเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.

วิญญาณที่เข้าถึงเวทนาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสัญญาก็ดี ฯลฯ
วิญญาณที่เข้าถึงสังขารก็ดี เมื่อตั้งอยู่ พึงตั้งอยู่ วิญญาณที่มีสังขารเป็นอารมณ์
มีสังขารเป็นที่ตั้ง มีความยินดีเป็นที่เข้าไปซ่องเสพ พึงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์.


ภิกษุนั้นพึงกล่าวอย่างนี้ว่า เราจักบัญญัติการมา การไปจุติ อุปบัติ
หรือความเจริญงอกงามไพบูลย์แห่งวิญญาณ เว้นจากรูป เวทนา สัญญา สังขาร ดังนี้
ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้.


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าความกำหนัดในรูปธาตุ ในเวทนาธาตุ ในสัญญาธาตุ ในสังขารธาตุ ในวิญญาณธาตุ
เป็นอันภิกษุละได้แล้วไซร้

เพราะละความกำหนัดเสียได้ อารมณ์ย่อมขาดสูญ ที่ตั้งแห่งวิญญาณย่อมไม่มี
วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้น ไม่งอกงาม ไม่แต่งปฏิสนธิ หลุดพ้นไป
เพราะหลุดพ้นไป จึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่ จึงยินดีพร้อม
เพราะยินดีพร้อม จึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้ง ย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น.

เธอย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูกรภิกษุ เมื่อบุคคลรู้เห็นอย่างนี้แล
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป ในกาลเป็นลำดับ.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2017, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


นันทิยสูตร
อยู่ด้วยความประมาทและไม่ประมาท


[๑๖๐๒] ดูกรนันทิยะ ก็อริยสาวกผู้เป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างไร?
อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า
แม้เพราะเหตุนี้ๆ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นผู้จำแนกธรรม
อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้านั้น
พยายามให้ยิ่งขึ้นไป เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข
จิตของผู้มีความสุขย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
เพราะธรรมทั้งหลายปรากฏ อริยสาวกนั้น
ย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท

อีกประการหนึ่ง อริยสาวกประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหว ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ...
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว ไม่ขาด ฯลฯ เป็นไปเพื่อสมาธิ
อริยสาวกนั้นยังไม่พอใจด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว พยายามให้ยิ่งขึ้นไป
เพื่อความสงัดในกลางวัน เพื่อหลีกเร้นในกลางคืน
เมื่ออริยสาวกนั้นเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่อย่างนี้ ย่อมเกิดปราโมทย์
เมื่อเกิดปราโมทย์ ย่อมเกิดปีติ
เมื่อมีใจกอปรด้วยปีติ กายย่อมสงบ
ผู้มีกายสงบ ย่อมได้เสวยสุข
จิตของผู้มีความสุข ย่อมเป็นสมาธิ
เมื่อจิตเป็นสมาธิ ธรรมทั้งหลายย่อมปรากฏ
อริยสาวกนั้นย่อมถึงความนับว่า อยู่ด้วยความไม่ประมาท

ดูกรนันทิยะ อริยสาวกเป็นผู้อยู่ด้วยความไม่ประมาทอย่างนี้แล.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ต.ค. 2017, 11:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
คหบดี ! อริยสาวกในกรณีนี้ เป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว
ด้วยศีลทั้งหลายในลักษณะเป็นที่พอใจของพระอริยเจ้า:

เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่ เป็นไทจากตัณหา

วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิลูบคลำ
เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.








[๖๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆก็มี



ก็อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ เป็นไฉน
คือ อุเบกขาที่มีในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ
นี้อุเบกขาที่มีความเป็นต่างๆ อาศัยอารมณ์ต่างๆ




๑. มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิตประจำวัน
เกิดจากการกำหนดรู้ "ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ"
สิ่งที่เกิดขึ้น มีผลกระทบทางใจ ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด
เป็นเรื่องของ กรรม การให้ผลของกรรม
และอุปทานขันธ์ ๕ ที่มีอยู่


รู้สึกนึกคิดอย่างไร กระทำไว้ในใจ
ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่มีเกิดขึ้น

โดยการไม่ปล่อยให้ก้าวล่วงออกไปทางกาย วาจา
ให้กลายเป็นการสร้างกรรมใหม่ ให้มีเกิดขึ้นอีก



กล่าวคือ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง)

[๕๓๗] ภิกษุนั้นย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้นอย่างไร ฯ

วิปัสสนา ด้วยอรรถว่าพิจารณาเห็น
โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง
โดยความเป็นทุกข์
โดยความเป็นอนัตตา

ความที่จิตมีการปล่อยธรรมทั้งหลาย
ที่เกิดในวิปัสสนานั้นเป็นอารมณ์


เพราะความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธิ
ด้วยประการดังนี้ วิปัสสนาจึงมีก่อน สมถะมีภายหลัง
เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น ฯ






เป็นลักษณะอาการที่มีเกิดขึ้นตามความเป็นจริงของ สภาวะศิล
เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่ เป็นไทจากตัณหา

วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิลูบคลำ
เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ ดังนี้.

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 พ.ย. 2017, 19:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้วได้สมาธิ
ได้เอกัคคตาจิต มีเป็นส่วนน้อย





สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว
ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิตมากกว่าโดยแท้



http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... agebreak=0




หมายเหตุ;

"สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์
แล้วได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต"

กล่าวคือ เจริญสมถะและวิปัสสนาเคียงคู่กันไป

โสดาบัน สกิทาคา อนาคามี








"สัตว์ที่กระทำนิพพานให้เป็นอารมณ์แล้ว
ไม่ได้สมาธิ ไม่ได้เอกัคคตาจิต"


หมายถึง ศิล
ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าใคร่แล้ว
เป็นศีลที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย
เป็นศีลที่ เป็นไทจากตัณหา

วิญญูชนสรรเสริญ ไม่ถูกตัณหา และทิฏฐิลูบคลำ
เป็นศีลที่เป็นไปพร้อมเพื่อสมาธิ


กล่าวคือ เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า
(วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะเกิดทีหลัง)



โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการ

[๑๖๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน? คือ

การคบสัตบุรุษ ๑
การฟังธรรม ๑
การทำไว้ในใจโดยแยบคาย ๑
การปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย โสตาปัตติยังคะ ๔ ประการนี้แล

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2018, 19:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุปัจจัยที่ทำให้สติ สัมปชัญญะ มีเกิดขึ้น ได้แก่ โยนิโสมนสิการ



"ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อสติสัมปชัญญะมีอยู่ หิริและโอตตัปปะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสติและสัมปชัญญะ

เมื่อหิริและโอตตัปปะมีอยู่ อินทรียสังวรชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยหิริและโอตตัปปะ

เมื่ออินทรียสังวรมีอยู่ ศีลชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
มีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยอินทรียสังวร

เมื่อศีลมีอยู่ สัมมาสมาธิชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยศีล"


ข้อปฏิบัติ
การเจริญสมถะ มีวิปัสสนาเป็นเบื้องต้น

วิปัสสนาเกิดก่อน สมถะ(สัมมาสมาธิ) เกิดทีหลัง

ได้แก่ ศิลที่เป็นไปเพื่อสมาธิ

สติ รู้ตัวก่อนทำ
สัมปชัญญะ รู้สึกตัวขณะทำ

สติ+สัมปชัญญะ ผลคือ สมาธิ
ทำให้เกิดความรู้ชัดในสิ่งที่ทำ
ในที่นี้มุ่งเฉพาะการดับเหตุแห่งทุกข์เป็นหลัก

สภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔
กล่าวคือ การรู้ชัดอยู่ภายในกาย เวทนา จิต ธรรม

มีเกิดขึ้น ขณะดำเนินชีวิต
กล่าวโดยย่อ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทา ภพ(กามภพ)

เป็นเรื่องของการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างหยาบ





"เมื่อสัมมาสมาธิมีอยู่ ยถาภูตญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยสัมมาสมาธิ

เมื่อยถาภูตญาณทัสนะมีอยู่ นิพพิทาวิราคะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยยถาภูตญาณทัสนะ"


ข้อปฏิบัติ
การเจริญวิปัสสนา มีสมถะเป็นเบื้องต้น

สมถะ(สัมมาสมาธิ)เกิดก่อน วิปัสสนาเกิดทีหลัง

สติ+สัมปชัญญะ+สมาธิ
ผลคือ ความรู้สึกตัวทั่วพร้อม ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ
เป็นเหตุปัจจัยให้ วิญญาณ/ธาตุรู้ สามารถมีเกิดขึ้นได้

สภาวะที่มีเกิดขึ้น ได้แก่ สติปัฏฐาน ๔(มหาสติปัฏฐานสูตร)
กล่าวคือ การรู้ชัดอยู่ภายใน
กายในกาย
เวทนาในเวทนา
ในจิตจิต
ธรรมในธรรม

มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิ(สัมมาสมาธิ)
กล่าวโดยย่อ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทา ภพ(รูปภพ , อรูปภพ)

เป็นเรื่องของการละอุปทานขันธ์ ๕ (อย่างกลาง)





"เมื่อนิพพิทาวิราคะมีอยู่ วิมุตติญาณทัสนะชื่อว่ามีเหตุสมบูรณ์
ย่อมมีแก่บุคคลผู้สมบูรณ์ด้วยนิพพิทาวิราคะ"

นิพพิทาวิราคะ ความเบื่อหน่ายในภพชาติของการเกิด
กล่าวคือ จิตย่อมหวนกลับ งอกลับ ถอยกลับจากการรักชีวิต ไม่ยื่นไปรับความรักชีวิต



อนุโลมญาณ มรรคญาณ ผลญาณ

เป็นเรื่องของการละอุปทานขันธ์ ๕ อย่างละเอียด




"เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีกิ่งและใบสมบูรณ์
แม้กะเทาะของต้นไม้นั้นก็ย่อมบริบูรณ์
แม้เปลือก แม้กระพี้ แม้แก่นของต้นไม้นั้น
ก็ย่อมบริบูรณ์ ฉะนั้น ฯ"



สติวรรคที่ ๔
สติสูตร

http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=23&A=7143&Z=7168

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2018, 12:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


๙.โปฏฐปาทสูตร

การได้อัตตา ๓ ประการ


ความได้อัตตาที่หยาบเป็นไฉน
คือ อัตตาที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคกวฬิงการาหาร
นี้ความได้อัตตาที่หยาบ


[๓๐๔]ดูกรโปฏฐปาทะ บางคราวท่านจะพึงมีความเห็นอย่างนี้ว่า
สังกิเลสธรรมเราจักละได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น

ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ แต่ความอยู่ไม่สบาย.

ดูกรโปฏฐปาทะ แต่เรื่องนี้ท่านไม่พึงเห็นอย่างนั้น
ที่แท้สังกิเลสธรรมพวกท่านจักละได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น

ผู้มีความเพียรจักทำให้แจ้งซึ่งความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ได้ ความปราโมทย์
ปีติ ปัสสัทธิ สติสัมปชัญญะ และความอยู่สบายจักมีได้






[๓๐๖] ดูกรโปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่นจะพึงถามเราอย่างนี้ว่า
ท่าน ความได้อัตตาที่หยาบ

ซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อละเสียนั้น ว่าพวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น

พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่เป็นไฉน

เมื่อเราถูกถามอย่างนี้แล้ว เราจะพึงพยากรณ์แก่เขาว่า
ท่าน นี้แหละ ความได้อัตตาที่หยาบ

ซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น.

พวกท่านจักทำความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.









ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน
คือ อัตตาที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
นี้ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ

[๓๐๗] ดูกรโปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่นจะถามเราว่า
ท่าน ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ

ซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เป็นไฉน

เมื่อเราถูกถามอย่างนี้แล้ว เราจะพึงพยากรณ์แก่เขาว่า
ท่าน นี้แหละ ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ

ซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น.
พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และ ความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.





ความได้อัตตาที่หารูปมิได้เป็นไฉน
คือ อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา นี้ความได้อัตตาที่หารูปมิได้

ดูกรโปฏฐปาทะ หากคนเหล่าอื่นจะพึงถามเราว่า
ท่าน ความได้อัตตาที่หารูปมิได้

ซึ่งท่านแสดงธรรมเพื่อละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น

พวกท่านจักทำความบริบูรณ์และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เป็นไฉน

เมื่อเราถูกถามอย่างนี้แล้ว เราจะพึงพยากรณ์แก่เขาว่า
ท่าน นี้แหละความได้อัตตาที่หารูปมิได้

ซึ่งเราแสดงธรรมเพื่อให้ละเสียนั้นว่า พวกท่านปฏิบัติอย่างไร
จึงจักละสังกิเลสธรรมได้ โวทานิยธรรมจักเจริญยิ่งขึ้น
พวกท่านจักทำความบริบูรณ์ และความไพบูลย์แห่งปัญญา
ให้แจ้งด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่.





หมายเหตุ:

"อัตตาที่มีรูป ประกอบด้วยมหาภูต ๔ บริโภคกวฬิงการาหาร
นี้ความได้อัตตาที่หยาบ"

อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ได้แก่ กามภพ




"อัตตาที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง
นี้ความได้อัตตาที่สำเร็จด้วยใจ"

อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในรูปฌาน ได้แก่ รูปภพ



"อัตตาอันหารูปมิได้ สำเร็จด้วยสัญญา นี้ความได้อัตตาที่หารูปมิได้"

อุปทานขันธ์ ๕ ที่มีเกิดขึ้น ขณะจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิในอรูปฌาน ได้แก่ อรูปภพ




"โวทานิยธรรม"

สมถะ วิปัสสนา

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 152 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร