ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
กสิณ ฉันใด http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=53558 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2017, 17:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | กสิณ ฉันใด |
ท่านอโศกพูดถึงกสิณที่ อ้างคำพูด: asoka ฝากไว้ครับ การภาวนาแบบกำหนดต้นธรรม เป็นเทคนิคการปฏิบัติธรรมที่นิยมปฏิบัติกันในเมืองไทยใหญ่หรือพม่าตอนเหนือละแวกเมืองต้างยาน ใกล้ชายแดนประเทศจีน เริ่มต้น าจากเจ้าลายจื้น สืบต่อมารุ่งเรืองในสมัยเจ้ามาวหลวง ซึ่งเป็นคฤหัสถ์สอนธรรม ท่านสอนเก่งสอนทั้งพระทั้งโยมจนบรรลุธรรมเป็นจำนวนมาก พระบางรูปอย่างเช่นเจ้าเสี่ยหลอยฮางนี่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ มารู้ด้กันตอนที่เผาศพท่านแล้วอัฐิของท่านกลายเป็นพระธาตุ เทคนิคนี้สอนให้ผู้ปฏิบัติเริ่มต้นโดยนั่งสมาธิแล้วน้อมเอาสติปัญญามาสังเกตพิจารณาเข้าในกายจนพบอาการเต้นตอดในกาย เมื่อพบแล้วให้เอาอาการเต้นตอดนี้เป็นกรรมฐาน เป็นกสิณ กำหนดรู้อยู่แต่อาการเต้นตอดนั้นอย่างเดียวจนเกิดสมาธิตั้งมั่นรู้ละเอียดลึกลงไปในอาการเต้นตอดนั้นซึ่งจะไปลงตัวที่ว่า คืออาการ เกิด-ดับ นั่นเอง viewtopic.php?f=1&t=52601&p=403963#p403963 ว่าเอาอาการเต้นตอดในร่างกายเป็นกรรมฐาน เป็นกสิณ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2017, 17:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กสิณ ฉันใด |
กสิณท่านใช้วัตถุภายนอก ดูหลักคร่าวๆพอเห็นเค้า (ทั้งหมดดู กท.กรรมฐาน) กสิณ “ทั้งหมด” “ทั้งสิ้น” “ล้วน” วัตถุที่เป็นอารมณ์อย่างเดียวล้วนในการเจริญกรรมฐาน เช่น ถ้าใช้ปฐวีคือดิน ก็เป็นปฐวีอย่างเดียวล้วน ไม่มีอย่างอื่นปน จึงเรียกว่า “ปฐวีกสิณ” ตามที่เรียกกันบัดนี้ แปลว่า วัตถุอันจูงใจคือจูงใจให้เข้าไปผูกอยู่, เป็นชื่อของกรรมฐานที่ใช้วัตถุของล้วนหรือสีเดียวล้วน สำหรับเพ่งเพื่อจูงจิตให้เป็นสมาธิ มี ๑๐ อย่าง คือ ภูตกสิณ ๔ : ๑. ปฐวี ดิน ๒. อาโป น้ำ ๓. เตโช ไฟ ๔. วาโย ลม, วรรณกสิณ ๔ : ๕. นีลํ สีเขียว ๖. ปีตํ สีเหลือง ๗. โลหิตํ สีแดง ๘. โอทาตํ สีขาว ๙. อาโลโก แสงสว่าง ๑๐. อากาโส ที่ว่าง |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2017, 21:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กสิณ ฉันใด |
เมื่อโยคีใช้วัตถุภายนอก คือ กสิณอย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่าง เช่นปฐวีกสิณท่านให้ลืมตาเพ่งดวงกสิณนั้นพร้อมบริกรรมชื่อกสิณไปด้วย ปฐวีกสิณังๆๆๆๆๆ ร้อยหน พันหน จนดวงกสิณนั้นติดตา ติดใจ หลับตาเห็น ที่ท่านเรียกว่า นิมิต (แค่นี้ก็งานหนักแล้ว) ถ้าเจริญสมถะล้วนแล้วใช้ตรงเต้นตอดอย่างท่านอโศกพูดปัญหาเกิด ครั้นเกิดแล้วแก้ยากมากๆ ดูตัวอย่างนี้ เขาเพ่งที่หว่างคิ้ว อ้างคำพูด: ผมพึ่งเริ่มฝึกสมาธิ พอฝึกไปได้สักพัก ผมได้เปลี่ยนการกำหนดรู้จากลมหายใจเข้าออก มากำหนดรู้ที่กลางระหว่างคิ้วแทน เพราะรู้สึกว่าง่ายต่อการรู้สึกถึงการกำหนดรู้แทนลมหายใจ พอใช้วิธีนี้นานวันเข้า พอเริ่มเข้าสมาธิยังไม่ทันได้กำหนดลมหายใจ ผมรู้สึกว่าจิตก็ไม่รวมกันอยู่ที่ตรงกลางระหว่างคิ้วโดยอัตโนมัติ แต่ผมใช้วิธีนี้บ่อยๆผมรู้สึกตึงเครียดแทน เพราะจิตที่กำหนดจะอยู่ตรงนี้ตลอดเวลา จนบ้างครั้งไม่ได้ทำสมาธิก็สามารถรู้สึกได้ว่ามีก้อนของจิตที่กำหนดระหว่างคิ้วอยู่แบบนี้ตลอดเวลา ผมควรทำอย่างไรครับ แต่ตอนนี้ผมกำลังฝึกที่จะคลายจิตการระหว่างคิ้วมาเป็นที่กำหนดรู้ที่ลมหายใจ เข้าออกเหมือนเดิมครับ ขอบคุณครับ พอเกิดปัญหา ก็ว่ากันว่าต้องสะแกนร่างกาย ต้องนั่นๆนี่ๆ นี่แหละความไม่รู้ เมื่อไม่รู้ก็ว่ากันไปต่างๆนานา การฝึกจิตมันไม่ง่ายอย่างท่านอโศกคิดหรอก |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2017, 21:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กสิณ ฉันใด |
เมื่อพูดถึงนิมิต นำมาวางไว้ใกล้ๆให้สังเกตเลย นิมิตทางพุทธธรรม มี ๔ ความหมาย นิมิต ๑. เครื่องหมาย ได้แก่ วัตถุอันเป็นเครื่องหมายแห่งสีมา, วัตถุที่ควรใช้เป็นนิมิตมี ๘ อย่าง ภูเขา ศิลา ป่าไม้ ต้นไม้ จอมปลวก หนทาง แม่น้ำ น้ำ ๒. (ในคำว่าทำนิมิต) ทำอาการเป็นเชิงชวนให้เขาถวาย, ขอเขาโดยวิธีให้รู้โดยนัย ไม่ขอตรงๆ ๓. เครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนดในการเจริญกรรมฐาน, ภาพที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน มี ๓. คือ ๑. บริกรรมนิมิต นิมิตแห่งบริกรรม หรือ นิมิตตระเตรียม ได้แก่ สิ่งที่เพ่ง หรือ กำหนดนึกเป็นอารมณ์กรรมฐาน ๒. อุคคหนิมิต นิมิตที่ใจเรียน หรือนิมิตติดตาติดใจ ได้แก่ สิ่งที่เพ่งหรือนึกนั้นเอง ที่แม่นในใจ จนหลับตามองเห็น ๓. ปฏิภาคนิมิต นิมิตเสมือน หรือนิมิตเทียบเคียง ได้แก่ อุคคหนิมิตนั้น เจนใจจนกลายเป็นภาพที่เกิดจากสัญญาเป็นของบริสุทธิ์ จะนึกขยายหรือย่อส่วนก็ได้ตามปรารถนา ๔. สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทอดพระเนตรเห็นก่อนเสด็จออกบรรพชา ๔ อย่าง |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 09 ม.ค. 2017, 21:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กสิณ ฉันใด |
จิตเป็นนามธรรม มองไม่เห็น พูดว่าฝึกยาก ท่านอโศกอาจไม่เข้าใจ ดังนั้น จึงเอาการฝึกลิงที่เป็นรูปธรรมมาวางให้เห็นภาพ ขนาดมองเห็นตัวนะ ครูฝึกยังต้องใช้เวลาเป็นปีๆกว่าลิงจะเชื่องฟังคำสั่งเข้าใจรับใช้เจ้าของ ดู/ฟัง ลุงสมพรฝึกลิง ![]() https://www.youtube.com/watch?v=Z9O-Wzvijss |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 10 ม.ค. 2017, 17:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กสิณ ฉันใด |
วางคาถาธรรมบทเรื่องจิต ฝึกจิตไว้ด้วย เช่นที่ว่า ทูรงฺคมํ เอกจรํ อสรีรํ คุหาสยํ เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺสนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา. ชนเหล่าใด จักสำรวมจิต อันไปในที่ไกล เที่ยวไปดวงเดียว ไม่มีรูปร่าง มีถ้ำคือกายนี้เป็นที่อาศัย ชนเหล่านั้น จะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร. ทุนฺนิคฺคหสฺส ลหุโน ยตฺถ กามนิปาติโต จิตฺตสฺส ทมโถ สาธุ จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ. การฝึกจิตอันข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ เป็นการดี (เพราะ) จิตที่ฝึกแล้วเป็นเหตุนำสุขมาให้. สุทุทฺทสํ สุนิปุณํ ยตฺถกามนิปาตินํ จิตฺตํ รกฺเขถ เมธาวี จิตฺตํ คุตฺตํ สุขาวหํ. บุคคลผู้มีปัญญา พึงรักษาจิต ที่เห็นได้ยากแสนยาก ละเอียดยิ่งนัก มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ (เพราะ) จิตที่คุ้มครองไว้ได้แล้ว เป็นเหตุนำสุขมาให้. ผนฺทนํ จปลํ จิตฺตํ ทุรกฺขํ ทุนฺนิวารยํ อุชํุ กโรติ เมธาวี อุสุกาโรว เตชนํ วาริโชว ถเล ขิตฺโต โอกโมกตอุพฺภโต ปริผนฺทติทํ จิตฺตํ มารเธยฺยํ ปหาตเว. จิตเป็นธรรมชาติดิ้นรน กวัดแกว่ง รักษายาก ห้ามได้ยาก นักปราชญ์ ย่อมกระทำจิตให้ตรง เหมือนช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น จิตนี้ อันพระโยคาวจร ยกขึ้นจากอาลัยคือกามคุณ ๕ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน เปรียบเหมือนปลาที่ถูกจับขึ้นจากที่อยู่คือน้ำ โยนไปบนบก ดิ้นรนอยู่ฉะนั้น. |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 10 ม.ค. 2017, 18:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กสิณ ฉันใด |
คาถาด้านบน ท่านพูดถึงกามคุณ ๕ อย่างไว้ มีอะไรบ้าง เอามาให้ดู แล้วมันอยู่ไหนกันนะ กามคุณ ๕ นี้ ![]() กาม ความใคร่, ความอยาก, ความปรารถนา, สิ่งที่น่าปรารถนา น่าใคร่, กามมี ๒ คือ ๑. กิเลสกาม กิเลสที่ทำให้ใคร่ ๒. วัตถุกาม วัตถุอันน่าใคร่ ได้แก่ กามคุณ ๕ กามคุณ ส่วนที่น่าปรารถนาน่าใคร่ มี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย) ที่น่าใคร่น่าพอใจ กามฉันท์, กามฉันทะ ความพอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมี รูป เป็นต้น, ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ (ข้อ ๑ ในนิวรณ์ ๕) รู้ให้กว้างอีกนิดหนึ่ง กามสุข สุขในทางกาม, สุขที่เกิดจากกามารมณ์ กามารมณ์ 1. อารมณ์ที่น่าใคร่ น่าปรารถนา หมายถึง รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ได้แก่ กามคุณ ๕ นั่นเอง 2. ในภาษาไทย มักหมายถึงความรู้สึกทางกาม |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 10 ม.ค. 2017, 19:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: กสิณ ฉันใด |
“ภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ อย่างดังนี้ คือ รูปทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยตา....เสียงทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยหู....กลิ่นทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยจมูก....รสทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยลิ้น....โผฏฐัพพะทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้อยาก เย้ายวนชวนติดใจ, เหล่านี้แล คือกามคุณ ๕ อาศัยกามคุณ ๕ ประการเหล่านี้ มีความสุข โสมนัสใดเกิดขึ้น นี้คือส่วนดี (อัสสาทะ, ความหวานชื่น) ของกามทั้งหลาย” “นี่เรียกว่ากามสุข” (ม.ม. 13/398/371...) “คำว่า กาม โดยหัวข้อ ได้แก่ กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม (วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่อยากได้) ๑ กิเลสกาม (กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส) ๑ “วัตถุกามเป็นไฉน ? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชื่นชอบใจ เครื่องลาด เครื่องห่ม ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี รัฐ ประเทศ กองทัพ คลังหลวง วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความติดใคร่ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ชื่อว่าวัตถุกาม อีกอย่างหนึ่ง กามทั้งหลาย ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน กามที่เป็นภายใน ที่เป็นภายนอก ทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต ที่เป็นของสัตว์ในอบาย ที่เป็นของมนุษย์ ที่เป็นทิพย์ ที่เป็นเฉพาะหน้า ที่บันดาลเอง ที่ผู้อื่นบันดาลให้ ที่ครอบครอง ที่ไม่ได้ครอบครอง ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ธรรมที่เป็นกามาวจรทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจรทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรทั้งหมด ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์ของตัณหา ชื่อว่า กาม ด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความอยาก ด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา, เหล่านี้เรียกว่า วัตถุกาม “กิเลสกามเป็นไฉน ? ความพอใจก็เป็นกาม ราคะก็เป็นกาม ความชอบใจติดใคร่ก็เป็นกาม ความดำริก็เป็นกาม ความครุ่นคิดติดใคร่ก็เป็นกาม, กามฉันทะ กามราคะ กามนันทิ กามตัณหา กามเสน่หา ความเร่าร้อนกาม ความหลงใหลกาม ความหมกมุ่นกาม กามท่วมใจ กามผูกรัดใจ ความถือมั่นในกาม นิวรณ์คือกามฉันท์ กามในข้อความว่า “นี่แน่ะกาม เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้วว่า เจ้าเกิดขึ้นมาจากความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าละ เมื่อทำอย่างนี้ เจ้าก็จักไม่มี” เหล่านี้ เรียกว่ากามกิเลส” (ขุ.ม. 29/2/1; 34/31) |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |