ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ทางสายกลาง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=53508
หน้า 1 จากทั้งหมด 3

เจ้าของ:  รสมน [ 25 ธ.ค. 2016, 07:45 ]
หัวข้อกระทู้:  ทางสายกลาง

"... ศรัทธา มีมากเกินไป ขาดปัญญา กลายเป็น “งมงาย”

ปัญญา มีมากเกินไป ขาดศรัทธา กลายเป็น “ทิฏฐิมานะ”

สมาธิ มีมากเกินไป ขาดปัญญา กลายเป็น “โมหะ”

ปัญญา มีมากเกินไป ขาดสมาธิ กลายเป็น “ฟุ้งซ่าน”

วิริยะ มีมากเกินไป ขาดสมาธิ กลายเป็น “เหน็ดเหนื่อย”

สมาธิ มีมากเกินไป ขาดวิริยะ กลายเป็น “เกียจคร้าน”

สติ มีมากเท่าไหร่ยิ่งดี มีแต่คุณ ไม่มีโทษ ..."

โอวาทธรรมคำสอน..
องค์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี





นิพพานนั้นเป็นเรื่องละเอียด ต้องใช้ปัญญาเอามากๆ ไม่ใช่ของจะถึงด้วยแรงอยาก ถ้าเป็นของที่จะถึงด้วยแรงอยาก พวกเราคงจะตรัสรู้กันหมดแล้วทั้งโลก
ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก




คนทั้งหลายเขาก็อยู่กับทุกข์ๆ ๆ ทั้งนั้น แต่ไม่รู้จักทุกข์ จึงพ้นจากทุกข์ไม่ได้
ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก




ที่เราเป็นทุกข์อยู่ ก็เพราะเรายังมี "เรา" อยู่
ท่านพ่อเฟื่อง โชติโก



..การเจริญกรรมฐานจึงดีที่สุด เป็นการสร้างบุญ ที่ไม่ต้องใช้เงินทองแต่ประการใด แต่มีผลกำไรอย่างมหาศาล สุดจะประมาณได้..
หลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม..

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 26 ธ.ค. 2016, 07:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  asoka [ 27 ธ.ค. 2016, 21:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

:b38:
ทางสายกลาง อยู่ระหว่างความยินดี กับ ความยินร้าย ครับ
onion

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 28 ธ.ค. 2016, 09:26 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

asoka เขียน:


ทางสายกลาง อยู่ระหว่างความยินดี กับ ความยินร้าย ครับ[/size]


ไปได้คำพูดนี้มาแต่ไหนหรอ :b32:

เจ้าของ:  asoka [ 29 ธ.ค. 2016, 21:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:


ทางสายกลาง อยู่ระหว่างความยินดี กับ ความยินร้าย ครับ[/size]


ไปได้คำพูดนี้มาแต่ไหนหรอ :b32:

:b12:
ได้มาจากสติปัฏฐานสูตรครับ
:b38:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 01 ม.ค. 2017, 16:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:


ทางสายกลาง อยู่ระหว่างความยินดี กับ ความยินร้าย ครับ

ไปได้คำพูดนี้มาแต่ไหนหรอ :b32:


ได้มาจากสติปัฏฐานสูตรครับ


เอามาจากตำรา :b1:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ม.ค. 2017, 11:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:


ทางสายกลาง อยู่ระหว่างความยินดี กับ ความยินร้าย ครับ[/size]


ไปได้คำพูดนี้มาแต่ไหนหรอ


ได้มาจากสติปัฏฐานสูตรครับ



นี่สิจึงสติปัฏฐานสูตร ซึ่งอยู่ที่คนแล้ว

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้ววูบเหมือนจะหลับ ทั้งที่ไม่ได้ง่วงนอน ควรแก้ไขอย่างไรดีคะ

เพิ่งเริ่มปฏิบัติค่ะ ....เดินจงกรมก่อนค่ะ โดยตั้งเวลาไว้ 20 นาที แล้วนั่งสมาธิต่อ 20 นาที ขอรบกวนผู้รู้ช่วยให้คำแนะนำหน่อยค่ะ เคยไปเรียนที่วัดอัพวัน ของหลวงพ่อจรัญมานานหลายปีแล้ว ระยะเวลา 3 วัน ตอนนี้เริ่มต้นปฏิบัติเพื่อให้ตัวเองมีความสงบ

1.ช่วงที่เดินจงกรมก็มีวูบๆ เหมือนง่วงนอน ตัวโคลง เวลาเดินต้องพยายามฝืน เมื่อก่อนเดินโดยใช้สติกำหนดที่เท้า ก็มีอาการนี้เป็นระยะๆ เลยเปลี่ยนเป็นรู้สึกทั้งตัวว่าเดินแทน ก็ยังเป็นเหมือนเดิม

2.ก่อนหน้านี้คิดว่านั่งสมาธิดีกว่าเดินจงกรม เพราะรู้สึกเหมือนจะวูบหลับตอนเดินมากกว่า แต่เมื่อคืนรู้สึกเหมือนวูบบ่อย พอรู้สึกตัวก็จะัรู้สึกตัวหนักๆ เหมือนรู้สึกว่าเรานั่งอยู่ในลักษณะนั่งสมาธิ รู้สึกตั้งแต่บ่าลงมา พอจับลมหายใจเข้าออกต่อ ก็จะเริ่มเคลิ้มและวูบอีก แต่ไม่หลับนะคะ

3.เรารู้สึกว่าตัวเองยังทำสมาธิไม่ได้เลยค่ะ แต่ระยะหลังฟุ้งซ่านน้อยลง คือเราใช้การกำหนดลมเข้าออกน่ะค่ะ เคยดูท้องมาก่อน แต่ตอนนี้มาใช้ลมหายใจกำหนดแทน ดูว่ามันสั้น มันยาว ไม่ได้ใช้คำบริกรรมค่ะ เราเข้าใจว่า เวลาเป็นสมาธิคือการที่เรารู้สึกตัวว่านั่งอยู่ ไม่ทราบว่าถูกหรือไม่ ช่วงอาทิตย์ที่ผ่านมาก็จะเกิดความรู้สึกแบบนี้ขึ้นเป็นระยะๆ


https://pantip.com/topic/32077164

ท่านอโศกขอรับ ไม่มีคนก็ไม่มีตำรา อ่านตำราเป็นก็อ่านคนเป็น เพราะตำราเขาบันทึกเรื่องคนเรื่องชีวิตไว้ :b32:

แต่ท่านอโศกไม่เข้าใจทั้งตำราทั้งชีวิต (= ธรรมะ) ส่วนท่านอโศกอยากได้ธรรมะ แต่ไม่รู้ว่าอะไรยังไง แต่ก็อยากได้ :b32:

เจ้าของ:  asoka [ 02 ม.ค. 2017, 17:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

s004
ไปดูเรื่องคนยึดติด ในกระทู้นี้นะครับ

viewtopic.php?f=1&t=53521
tongue

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ม.ค. 2017, 17:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

asoka เขียน:
s004
ไปดูเรื่องคนยึดติด ในกระทู้นี้นะครับ

viewtopic.php?f=1&t=53521


บอกวิธีกำหนดถี่ๆซี่

เจ้าของ:  asoka [ 03 ม.ค. 2017, 08:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

onion
เริ่มมีคำตอบแล้วที่กระทู้นี้ครับ

viewtopic.php?f=1&t=53521
smiley

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ม.ค. 2017, 08:28 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

asoka เขียน:
onion
เริ่มมีคำตอบแล้วที่กระทู้นี้ครับ

viewtopic.php?f=1&t=53521
smiley


หรอ ไปแล้วไม่เห็นมีอารัย :b1:

เจ้าของ:  asoka [ 05 ม.ค. 2017, 17:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

:b34:
กลับไปดูเสียใหม่ให้ดีๆ ไป้!
:b29:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 05 ม.ค. 2017, 19:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

asoka เขียน:
:b34:
กลับไปดูเสียใหม่ให้ดีๆ ไป้!


ดูแล้วไม่เห็นมีอารัยเลย เออ :b16:

เจ้าของ:  asoka [ 05 ม.ค. 2017, 19:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b34:
กลับไปดูเสียใหม่ให้ดีๆ ไป้!


ดูแล้วไม่เห็นมีอารัยเลย เออ :b16:

onion
ความฟุ้งซ่านเป็น 1 ในนิวรณ์ 5 ที่ค่อนข้างจะสำคัญกว่านิวรณ์ตัวอื่นเพราะกว่าจะขุดถอนออกได้ต้องใช้ถึงอรหัตมรรคโน่นเชียว

ซึ่งที่เป็นลักษณะของความฟุ้งซ่านที่ชัดเจนคือความคิด
หรือจิตตสังขารความคิดแทบทุกอย่างถือเป็นความฟุ้งซ่านของจิต ซึ่งแม้แต่กระทั้งความคิดพิจารณาตามเนื้อธรรมคำสอนถ้าหยุดไม่ได้ สงบไม่เป็นก็ต้องถือว่าเป็นความฟุ้งซ่าน

การที่โยคีหรือผู้ปฏิบัติธรรมไปพบกับผัสสะ อารมณ์ ความ
รู้สึกต่างๆแล้วเกิดการสังขารปรุงแต่งว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นมา
จะทำให้เกิดความคิดนึกตามมาแล้วลามไปเป็นความฟุ้งซ่าน
เป็นมโนกรรม เกิดตัณหา อุปาทาน กรรมและวิบากต่างๆตามมา แต่ถ้าสติไปรู้ทันเสียตั้งแต่เกิดผัสสะระงับเวทนาที่เกิดตามมาเสียได้ ความฟุ้งซ่านก็ไม่มีโอกาสได้เกิด
(มีต่อ แบตหมดครับ)
ผู้ปฏิบัติธรรมใหม่ๆหรือบางทีเก่าๆนานๆแล้วก็ตามพอเกิดผลจากสมาธิ คือ ปีติ ปัสสัทธิ นิมิต ฌาณ ต่างๆขึ้นมาแล้วไปหลงสงสัย เพลิน ติดใจ กลัว สำคัญผิดต่างๆแล้วไปสังขารปรุงแต่งต่อเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาเยอะแยะมากมายเลยเป็นงานที่ไม่ใช่งานขึ้นมาคือไปเป็นปัญหาถามครูบาอาจารย์ให้ช่วยแก้ไข ที่ปรึกษาอาจารย์แก้ให้ไม่เป็น ไม่ถูกประเด็นไม่ถูกเหตุ เลยพากันฟุ้งไปใหญ่ จมลงในปัญหาดังตัวอย่างที่คุณกรัชกายยกมาถามให้เปรอะเยอะแยะมากมาย เมื่อวิเคราะห์ลงไปก็เป็นเรื่องฟุ้งซ่าน อุปาทาน สังขารปรุงแต่งไปของผู้ปฏิบัติเหล่านั้นทั้งสิ้น


การแก้ไขอุทธัจจะหรือความฟุ้งซ่านของผู้ปฏิบัตินั้นมีหลักใหญ่ใจความว่าต้องทำให้เขาเหล่านั้นมีสติสัมปชัญญะกลับคืนมาอยู่กับปัจจุบันและงานในหน้าที่ที่เขาต้องทำ

ถ้าอยู่ในขั้นตอนเจริญสมาธิก็ให้มีสติรู้ทันนิวรณ์ทั้ง 5 มีปัญญารู้ตัวว่ากำลังทำหน้าที่สงบนิวรณ์เพื่อให้เกิดสมาธิและฌาณ มิใช่งานอื่นและยังไม่ใช่ขั้นตอนการเจริญปัญญาวิปัสสนา นิวรณ์ 5 สงบดีแล้วเมื่อไหร่จึงค่อยไปทำความเพียรเจริญปัญญาต่อ

ถ้าอยู่ในขั้นตอนเจริญวิปัสสนาปัญญาก็คอยรักษาระดับสมาธิให้เพียงพอสำหรับการจดจ่อต่อเนื่องในการดู รู้ สังเกตและพิจารณาธรรม ตอนพิจารณาธรรมก็ต้องพยายามทำให้อยู่ในกรอบที่ควบคุมได้คือไม่ลุกลามไปเป็นการคิดฟุ้งซ่าน
ลำดับงานควรจะมีเพียง
ดู
เห็น
สังเกต
รู้
สภาวธรรมที่กำลังเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงและดับไปในกายในใจ ไม่ให้แลบต่อไปถึงการพิจารณาที่ต้องใช้ความคิดนึก เพราะสภาวธรรมจริงที่เป็นปรมัตถ์อนัตตา ใช้แค่ปัญญาดูสังเกต ก็จะรู้หรือเกิดปัญญารู้ขึ้นมาเองตรงในใจไม่ต้องคิดนึก


แต่ถ้าจำเป็นจะต้องถอยออกมาคิดนึกพิจารณาเป็นธรรมวิจัยหรือการใคร่ครวญธรรม ก็อาจทำได้เพื่อให้เกิดจินตมยปัญญามาหนุนภาวนามยปัญญาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นแต่ต้องคอยระวังเพราะตอนนั้นสติจะไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ ต้องมาทรงอยู่ทำงานพิจารณาอดีตหรืออนาคตอารมณ์ โมหะและจิตตสังขารสามารถแทรกเข้ามาจนเกิดเป็นความฟุ้งซ่านได้ตลอดเวลา พิจารณาพอได้แนวทางแล้วก็ต้องรีบกลับไปอยู่ตรงช่องทางเดินของวิปัสสนาภาวนาคือ สติ ปัญญาไปอยู่ตรงงาน
ดู
เห็น
สังเกต
รู้
สภาวธรรมตามที่มันเป็น (ตถตา)
ไม่ต้องห่วงว่ามันจะไม่รู้ตามที่ตำราบอกสอนไว้ มันจะรู้เองเป็นเองไปตามลำดับโดยธรรม

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 05 ม.ค. 2017, 19:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ทางสายกลาง

asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b34:
กลับไปดูเสียใหม่ให้ดีๆ ไป้!


ดูแล้วไม่เห็นมีอารัยเลย เออ :b16:

onion
ความฟุ้งซ่านเป็น 1 ในนิวรณ์ 5 ที่ค่อนข้างจะสำคัญกว่านิวรณ์ตัวอื่นเพราะกว่าจะขุดถอนออกได้ต้องใช้ถึงอรหัตมรรคโน่นเชียว

ซึ่งที่เป็นลักษณะของความฟุ้งซ่านที่ชัดเจนคือความคิด
หรือจิตตสังขารความคิดแทบทุกอย่างถือเป็นความฟุ้งซ่านของจิต ซึ่งแม้แต่กระทั้งความคิดพิจารณาตามเนื้อธรรมคำสอนถ้าหยุดไม่ได้ สงบไม่เป็นก็ต้องถือว่าเป็นความฟุ้งซ่าน

การที่โยคีหรือผู้ปฏิบัติธรรมไปพบกับผัสสะ อารมณ์ ความ
รู้สึกต่างๆแล้วเกิดการสังขารปรุงแต่งว่าเป็นสิ่งนั้นสิ่งนี้ขึ้นมา
จะทำให้เกิดความคิดนึกตามมาแล้วลามไปเป็นความฟุ้งซ่าน
เป็นมโนกรรม เกิดตัณหา อุปาทาน กรรมและวิบากต่างๆตามมา แต่ถ้าสติไปรู้ทันเสียตั้งแต่เกิดผัสสะระงับเวทนาที่เกิดตามมาเสียได้ ความฟุ้งซ่านก็ไม่มีโอกาสได้เกิด
(มีต่อ แบตหมดครับ)
ผู้ปฏิบัติธรรมใหม่ๆหรือบางทีเก่าๆนานๆแล้วก็ตามพอเกิดผลจากสมาธิ คือ ปีติ ปัสสัทธิ นิมิต ฌาณ ต่างๆขึ้นมาแล้วไปหลงสงสัย เพลิน ติดใจ กลัว สำคัญผิดต่างๆแล้วไปสังขารปรุงแต่งต่อเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาเยอะแยะมากมายเลยเป็นงานที่ไม่ใช่งานขึ้นมาคือไปเป็นปัญหาถามครูบาอาจารย์ให้ช่วยแก้ไข ที่ปรึกษาอาจารย์แก้ให้ไม่เป็น ไม่ถูกประเด็นไม่ถูกเหตุ เลยพากันฟุ้งไปใหญ่ จมลงในปัญหาดังตัวอย่างที่คุณกรัชกายยกมาถามให้เปรอะเยอะแยะมากมาย เมื่อวิเคราะห์ลงไปก็เป็นเรื่องฟุ้งซ่าน อุปาทาน สังขารปรุงแต่งไปของผู้ปฏิบัติเหล่านั้นทั้งสิ้น


การแก้ไขอุทธัจจะหรือความฟุ้งซ่านของผู้ปฏิบัตินั้นมีหลักใหญ่ใจความว่าต้องทำให้เขาเหล่านั้นมีสติสัมปชัญญะกลับคืนมาอยู่กับปัจจุบันและงานในหน้าที่ที่เขาต้องทำ

ถ้าอยู่ในขั้นตอนเจริญสมาธิก็ให้มีสติรู้ทันนิวรณ์ทั้ง 5 มีปัญญารู้ตัวว่ากำลังทำหน้าที่สงบนิวรณ์เพื่อให้เกิดสมาธิและฌาณ มิใช่งานอื่นและยังไม่ใช่ขั้นตอนการเจริญปัญญาวิปัสสนา นิวรณ์ 5 สงบดีแล้วเมื่อไหร่จึงค่อยไปทำความเพียรเจริญปัญญาต่อ

ถ้าอยู่ในขั้นตอนเจริญวิปัสสนาปัญญาก็คอยรักษาระดับสมาธิให้เพียงพอสำหรับการจดจ่อต่อเนื่องในการดู รู้ สังเกตและพิจารณาธรรม ตอนพิจารณาธรรมก็ต้องพยายามทำให้อยู่ในกรอบที่ควบคุมได้คือไม่ลุกลามไปเป็นการคิดฟุ้งซ่าน
ลำดับงานควรจะมีเพียง
ดู
เห็น
สังเกต
รู้
สภาวธรรมที่กำลังเกิดขึ้น เปลี่ยนแปลงและดับไปในกายในใจ ไม่ให้แลบต่อไปถึงการพิจารณาที่ต้องใช้ความคิดนึก เพราะสภาวธรรมจริงที่เป็นปรมัตถ์อนัตตา ใช้แค่ปัญญาดูสังเกต ก็จะรู้หรือเกิดปัญญารู้ขึ้นมาเองตรงในใจไม่ต้องคิดนึก [/size]

แต่ถ้าจำเป็นจะต้องถอยออกมาคิดนึกพิจารณาเป็นธรรมวิจัยหรือการใคร่ครวญธรรม ก็อาจทำได้เพื่อให้เกิดจินตมยปัญญามาหนุนภาวนามยปัญญาให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นแต่ต้องคอยระวังเพราะตอนนั้นสติจะไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ ต้องมาทรงอยู่ทำงานพิจารณาอดีตหรืออนาคตอารมณ์ โมหะและจิตตสังขารสามารถแทรกเข้ามาจนเกิดเป็นความฟุ้งซ่านได้ตลอดเวลา พิจารณาพอได้แนวทางแล้วก็ต้องรีบกลับไปอยู่ตรงช่องทางเดินของวิปัสสนาภาวนาคือ สติ ปัญญาไปอยู่ตรงงาน
ดู
เห็น
สังเกต
รู้
สภาวธรรมตามที่มันเป็น (ตถตา)
ไม่ต้องห่วงว่ามันจะไม่รู้ตามที่ตำราบอกสอนไว้ มันจะรู้เองเป็นเองไปตามลำดับโดยธรรม



ภาคปฏิบัติเขาเรียกจับแพะชนแกะ พาให้ฟุ้งซ่านเสียเอง :b1:

หน้า 1 จากทั้งหมด 3 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/