วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 10:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2016, 07:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
พระนาคเสนพูดจาเลอะเทอะ หรือไม่คนแต่งนิทานเรื่องมิลินฯก็เลอะเทอะ


ชักอยากเห็น..ชีวิตในชาติสุดท้ายก่อนนิพพานของโฮ....จัง

ปากไม่แปรงฟันนี้...มันจะเป็นยังงัยนะ?
:b32: :b32: :b32:




รูปภาพ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2016, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อเข้าใจคำว่า "บรรพชา" แล้วก็ไปต่อ


เมื่อพระโพธิสัตว์จะเสด็จออกบรรพชา หรือพูดทั่วๆไป บอกกว้างๆว่า บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งจะออกบวช ในพระไตรปิฎกมีข้อความเป็นสำนวนแบบอันแสดงถึงความคิดเหตุผลในการตัดสินใจ ซึ่งบ่งบอกในตัวถึงความหมายของบรรพชา ที่ตรงข้ามกับชีวิตครองเรือนว่า “สมฺพาโธ ฆรวาโส รชาปโถ อพฺโภกาโส ปพฺพชฺชา” คือ (พิจารณาเห็นว่า) ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นที่โล่งแจ้ง” (เช่น ม.ม.13/738670 ม.อุ.34/16/18)

ข้อปรารภนี้ บอกว่า ชีวิตชาวบ้านหรือคนครองเรือนนั้น มีเรื่องห่วงกังวล ผูกรัดมัดตัว พัวพัน หรือบางทีนุงนัง คอยหน่วงเหนี่ยวกักกั้นทำให้ติดขัด เป็นทางมาของความกวนใจระคายขุ่นเคือง ไม่โปร่งไม่โล่ง

ส่วนชีวิตการบวชโปร่งโล่ง ไม่มีอะไรต้องห่วงกังวล เหมือนที่โล่ง เปิดโอกาสแก่ชีวิตเต็มที่ (ท่านเปรียบว่าพระมีแค่บาตรจีวร เหมือนนกมีเพียงปีกสองปีก จะไปที่ไหนเมื่อไร ก็ได้ทันที)

เมื่อปรารภดังนี้แล้ว ก็ถึงจุดเปลี่ยนที่ท่านบรรยายความคิดของผู้นั้นต่อไปว่า “การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์เต็มที่ ให้บริบูรณ์สิ้นเชิง ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ มิใช่เป็นกิจที่จะทำได้ง่ายเลย อย่ากระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือน บวชเป็นอนาคาริก/บรรพชิตเถิด


ตรงนี้ก็คือการตัดสินใจสลัดชีวิตครองเรือนออกไปสู่ชีวิตบรรพชา แต่ชีวิตบรรพชาที่บรรยายในที่นี้ บอกลักษณะของการบรรพชาด้วยว่า เป็นการออกไปบวชตามหลักการ และในรูปแบบของพระพุทธศาสนา....มุ่งไปบำเพ็ญพรหมจริยะ...โดยปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์

จากนั้น ก็ถึงปฏิบัติในการบวชว่า “สมัยต่อมา เขาละกองโภคะน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มกาสาวพัสตร์ออกจากเรือน บวชเป็นอนาคาริก /บรรพชิต” (อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชติ) นี่คือเข้าสู่บรรพชา เป็นอนาคาริกหรือบรรพชิต (ในกรณีนี้ คือ ตามหลักการและในรูปแบบของพระพุทธศาสนา หรือ ในธรรมวินัยนี้)

ตอนนี้ ถ้าจับความให้ชัด จะแยกเรื่องได้เป็น ๒ ส่วน คือ

๑. สาระหรือความหมายพื้นฐานของบรรพชา

๒. บรรพชาตามหลักการและในรูปแบบของลัทธิศาสนานั้นๆ

ความหมายพื้นฐานในข้อ ๑ นั้น ชัดและง่ายว่า การบวชก็คือสละชีวิตอยู่บ้านเรือนที่มีห่วงกังวลเครื่องผูกรัดติดพันตัวทั้งด้านวัตถุทรัพย์สินและทางสังคม ออกไปอยู่เป็นอิสระโล่งเบา ไม่ต้องมีเหย้าเรือนทรัพย์สินอะไร


แต่ผู้ที่ไปอยู่เป็นอิสระโล่งเบานี้ มิใช่จบแค่นั้น อย่างที่ยกมาให้ดูข้างบน เขาต้องการความเป็นอิสระโล่งเบาเพื่อจะได้บำเพ็ญพรหมจริยะ (ทางดำเนินอันประเสริฐ ถ้าในพุทธศาสนา หมายถึงอริยมรรค)


การบรรพชาหรือออกบวชนั้น ก็เป็นมาแต่ไหนแต่ไรอย่างนี้ พอออกไปได้เป็นอิสระโล่งแล้ว หลายคนอยากได้ อยากพบอะไรที่ดีวิเศษสูงขึ้นไป ทางจิต ทางฤทธิ์ ทางอภิญญา บ้างก็เที่ยวแสวงหาความหลุดรอดปลอดพ้น อย่างที่เรียกว่า แสวงหาโมกขธรรมบ้าง หาความสุขที่แท้บ้าง หาคำตอบแก่ชีวิตบ้าง หาปรีชาญาณเกี่ยวกับโลกหรือจักรวาลบ้าง

ดังเจ้าชายสิทธัตถะ เมื่อเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ พระพุทธเจ้าก็ตรัสเล่าว่า “เราเมื่อยังเป็นโพธิสัตว์อยู่...ออกบวชแล้ว เป็น ‘กิงกุสลคเวสี’ (หรือ กิงกุสลานุเอสี คือ ผู้แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล พูดง่ายๆว่า ผู้แสวงหาคุณค่าที่แท้จริงของชีวิต ที.ม.10/139/176 ม.มู.12/317/318)


ทีนี้ ผู้ที่มุ่งหน้าแสวง หรือผู้ที่เคว้งคว้างก็ตาม ย่อมมองไปที่ผู้บวชมาเก่า ซึ่งได้แสวงหามาก่อน ที่ผ่านการค้นคว้าปฏิบัติ มีประสบการณ์มาก บางท่านมีคนนับถือมีชื่อเสียงมีลูกศิษย์เป็นพันเป็นหมื่น ถึงกับขยายหรือตั้งเป็นสำนัก เป็นลัทธิ เป็นศาสนา ผู้ออกบวชใหม่นี้ เมื่อแสวงหา ก็คิดว่าบวชคืออย่างนั้น หรืออาจจะทดลองไปขอพบขอถามขอศึกษา ถ้าเชื่อถือหรือยอมรับ ก็อาจจะตกลงขออยู่ด้วย เข้าสำนัก เข้าลัทธิศาสนานั้นไป

ผู้นำหรือแหล่งที่เป็นสำนักหรือลัทธิเหล่านั้น ก็คือมีหลักการ มีจุดมุ่งหมาย มีเนื้อหาสาระคำแนะนำสั่งสอนของตนเอง เช่นว่า

พวกหนึ่ง มีหลักการว่า คนเรานี้ จะเป็นอย่างไรๆ ก็เพราะกรรมเก่าที่ทำไว้แต่ปางก่อน จะหลุดพ้นหมดทุกข์ ลุถึงภาวะสมบูรณ์ได้ ก็ต้องไม่ทำกรรมใหม่ พร้อมกับทำกรรมเก่าให้หมดสิ้นไปด้วยการบำเพ็ญตบะ และผู้ที่ถึงภาวะสมบูรณ์ก็เป็นอยู่โดยไม่มีความยึดถืออะไรทั้งสิ้น


อีกพวกหนึ่ง ถือหลักว่า พระพรหมทรงสร้างสรรค์บันดาลโลก สร้างคนและจัดสรรสังคม โดยมีเหล่าเทพเป็นบริวาร จะต้องบูชายัญ บำเรอไฟ ซึ่งเป็นสื่อระหว่างมนุษย์กับสวรรค์ มวลเทวาพอพระทัย จะได้ปกป้องคุ้มครองให้ระบบของธรรมชาติและสังคมมนุษย์เป็นอยู่ดำเนินไปด้วยดี

เมื่อมีหลักการ ความมุ่งหมาย และเนื้อหาสาระคำสอนหลักปฏิบัติ ซึ่งพูดสั้นๆว่ามี ”ธรรม” อย่างไร ก็จัดตั้ง วาง กำหนดรูปแบบ ระบบการเป็นอยู่ เครื่องประกอบวิถีชีวิต ที่จะรองรับหลักการ สนองความมุ่งหมายและเป็นประกันแก่เนื้อหาสาระคำสอนหลักปฏิบัติให้คงอยู่ และเป็นไปอย่างนั้น อาจจะตราลงไว้เป็นแบบแผน พวกรูปแบบระบบที่จัดตั้งวางตรา หรือกำหนดไว้ เพื่อสนองรองรับหลักการเป็นต้นนั้น เรียกสั้นๆว่า “วินัย

จึงเป็นอันว่า สำนัก ลัทธิ ศาสนา เป็นต้นนั้นๆ มี “ธรรมวินัย” ที่เป็นเฉพาะของตนๆ (ธรรม = หลักการ ความมุ่งหมาย เนื้อหาสาระคำสอน และ วินัย = รูปแบบ ระบบ แบบแผนการเป็นอยู่ ที่จัดตั้งกำหนดวางลงไป เพื่อสนองรองรับหลักการ เป็นต้น นั้น หรือสนองรองรับธรรมนั้น)


พวกแรก ที่ถือธรรมคือหลักการว่า ต้องไม่ทำกรรมใหม่ และต้องบำเพ็ญตบะทรมานร่างกายให้กรรมเก่าเหือดหายไป มีชีวิตที่ไม่ยึดติดถือมั่นใดๆ ก็บัญญัติวินัย คือจัดตั้งวางระบบการเป็นอยู่ เช่น ไม่ยึดถืออะไรๆ แม้แต่ผ้าก็ไม่ต้องนุ่ง เป็นชีเปลือย เที่ยวภิกขาจาร และกำหนดรูปแบบวิการต่างๆ ในการทำตบะ เช่น ยืนขาเดียว และไม่นั่ง



ส่วนพวกหลัง ที่ถือหลักการบูชาไฟเอาใจเทพเจ้า ก็ไปเป็นฤๅษี เป็นดาบส อยู่ในป่า ไม่ต้องพบปะผู้คนไหนๆ กินแต่เผือกมันผลไม้ มุ่งหน้าบูชาไฟไม่ให้ว่างเว้น ดังนี้ เป็นต้น



ถึงตรงนี้ ก็เห็นแล้วว่า บรรพชา/การบวชนี้ มิใช่อยู่แค่ความหมายพื้นฐานในข้อ ๑ ที่ว่า ออกจากชีวิตบ้านที่คับแคบ มามีชีวิตที่โล่งแจ้งเท่านั้น แต่ก้าวมาถึงความหมายตามสภาพความจริงที่เป็นในสังคมมนุษย์ในข้อ ๒ เหมือนกับที่พระอรรถกถาจารย์บอกว่า (ออกไปจากบ้านเรือนแล้ว ก็) มาเข้าสู่ชีวิตบรรพชาตามหลักการ และในรูปแบบของลัทธิศาสนานั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ส.ค. 2016, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ยกตัวอย่าง จากการบรรพชาของพระโพธิสัตว์เองก่อนตรัสรู้นี่แหละ ดังที่ตรัสเล่าไว้ว่า เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกจากวัง ถือเพศบรรพชาแล้ว เป็น ”กิงกุสลคเวสี” แสวงหาสันติวรบทที่สูงสุด เข้าไปหา อาฬาระ กาลามะ (เรามักเรียกว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร) แล้วกล่าวว่า (ม.ม.13/738/670) “ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้”

ต่อมา หลังจากแจ้งจบธรรมที่ท่านกาลามะรู้ถึงแล้ว ทรงทราบว่าไม่เป็นไปเพื่อการตรัสรู้ จึงทรงปลีกออกมา เสด็จไปหาอุททกะ รามบุตร ทรงกล่าวว่า “ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้” แล้วก็ทรงแจ้งจบธรรมที่นั่น และทรงปลีกออกมา เช่นเดียวกัน


เมื่อตรัสรู้แล้ว พระพุทธเจ้าทรงประกาศคำสอนที่เรียกว่า พระพุทธศาสนา และทรงตั้งสังฆะขึ้น ก็คือ มีธรรม ที่เป็นหลักการ ชี้ถึงจุดหมาย และแสดงคำสอนที่เป็นเนื้อหาสาระ และมีวินัย ที่เป็นบัญญัติจัดตั้งวางตรารูปแบบ ระบบ ระเบียบในการเป็นอยู่ดำเนินชีวิตและกิจการ คือมี “ธรรมวินัยนี้” ของพระพุทธเจ้า

ผู้ที่บรรลุธรรมสูงสุดเป็นอรหันต์ ก็คือแจ้งจบธรรมที่เป็นสภาวะครบถ้วนตามหลักการ ถึงความมุ่งหมาย และได้เนื้อหาสาระคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงออกจากชีวิตบ้าน มาบวชเข้าในวินัยอันเป็นรูปแบบระบบวิถึงชีวิตที่จัดตั้งวางไว้ให้สนองรองรับธรรมนั้น พูดสั้นๆว่า บวชเข้ามาใน “ธรรมวินัยนี้” ของพระพุทธเจ้า


คฤหัสถ์อรหันต์นั้น รู้สัจธรรมแจ้งจบแล้ว ออกจากบ้านไป ย่อมไม่บวชเข้าในสำนัก ลัทธิ ระบบความเชื่อ ที่มีหลักการและรูปแบบระบบจัดตั้ง ชนิดที่เช่นว่า เป็นดาบสบูชาไฟ ไม่ตัดไม่โกนผม ปล่อยเป็นกระเซิงจนนกมาทำรัง ขี้ฟันเขลอะ หรือไปบำเพ็ญตบะ เอาขี้เถ้าทาตัว หมักหมมธุลี คลุกโคลน กินหญ้า ถ่ายแล้วไม่เช็ดไม่ล้าง กินอุจารระ นอนบนดินบนหนาม ยืนขาเดียว เดินเขย่งโดดโหย่งๆไป แม้กระทั่งเป็นชีเปลือย ที่ว่าไว้ผมยาวเลื้อยดิน นี่ก็คือ รู้เท่าทันปฏิบัติถูกต้องต่อสมมติบัญญัติในโลก


เป็นอันว่า คฤหัสถ์อรหันต์นั้น ออกจากเรือนแล้ว จะบวชเข้ามาในธรรมวินัยนี้แน่นอน คือเข้าสู่ชีวิตบรรพชาอุปสมบทของพระพุทธศาสนา

ตรงนี้ มิลินทปัญหาบอกว่า “คฤหัสถ์อรหันต์นั้น จะบรรพชาเอาเอง หามิได้ เมื่อบรรพชาเอาเอง ก็จะถึงภาวะลักเพศ (เถยย/ไถย)”

ในเมื่อความหมายพื้นฐานของบรรพชา ก็คือออกจากเรือนมาเข้าสู่ความเป็นผู้ไม่มีเรือน/ภาวะอนาคาริก คฤหัสถ์อรหันต์จบกิจ ไม่มีอะไรต้องทำต้องฝึกอีกแล้ว น่าจะบรรพชาแค่นั้นก็พอ ทำไมจะต้องมาเข้าระบบการบวชที่เป็นวินัยจัดตั้งวางไว้ด้วย

คำตอบก็ง่ายๆ ว่า เพราะผู้เข้าถึงธรรมแล้ว รู้เข้าใจเท่าทันสมมติบัญญัติสำหรับชาวโลก จึงปฏิบัติต่อบัญญัติในโลกได้อย่างถูกต้อง


คฤหัสถ์อรหันต์ ย่อมรู้เท่าทัน เช่นมองเห็นว่า บัญญัตินี้จัดตั้งวางไว้เพื่อเป็นเสื่อที่จะช่วยให้ชาวโลกเข้าถึง และได้ประโยชน์จากปรมัตถ์ เป็นเครื่องห่อหุ้ม และสนองรองรับเพื่อช่วยให้ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงทำให้ปรากฏขึ้นแล้วนั้น คงอยู่ในสภาพ ซึ่งจะอำนายประโยชน์ที่มุ่งหมายในหมู่ชนชาวโลกไปได้ยืนนาน ท่านจึงเป็นผู้นำในการปฏิบัติตามบัญญัติ



เป็นธรรมดาว่า ระบบหรือสถาบันที่ตั้งไว้ ถึงจะระวังอย่างไร นานไปก็ย่อมมีบุคคลร้ายหรือคนขาดคุณภาพเข้าไปแทรกให้เสื่อมลง เบาบ้าง แรงบ้าง ไม่โล่งตลอดไปได้ แล้วสภาพเช่นนี้ ก็ได้อาศัยคนที่มีความตั้งใจบริสุทธิ์ และคนที่ก้าวไปมากแล้วในธรรมนี่แหละ ที่เมื่อเข้าไป ก็จะช่วยเป็นส่วนของกระแสฝ่ายดีที่จะฟื้นฟูอนุรักษ์ไว้


คฤหัสถ์อย่างพระอรหันต์นั้น เป็นตัวอย่างในทางที่ว่า เมื่อมองเห็นระบบหรือสถาบันนั้นเสื่อมลงไป แม้มองเห็นว่าตนเข้าไปร่วม จะลำบากแก่ตน แต่เพราะคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม โดยที่ตนเองไม่มีอะไรที่จะทำเพื่อตัวเองแล้ว ก็เข้าไปร่วม เพื่อรักษาประโยชน์ของพหูชน


ในทางตรงข้าม ถ้าคฤหัสถ์พระอรหันต์บวชตัวเอง เช่น โดยถือเอาง่ายๆตามความหมายพื้นฐานของบรรพชา ตนเองบวชแล้ว ในฐานะที่รู้ชัดว่าอันใดผิด อันใดถูก เป็นทางหรือมิใช่ทาง เขาก็ย่อมไม่ปฏิบัติไปในทางอื่น แต่ย่อมจะเป็นอยู่ดำเนินชีวิตตามวิถีของพุทธ


เมื่อดำเนินไปในวิถีของพุทธอย่างเดียวกัน แต่ตนอยู่ข้างนอกสังฆะ ก็กลายเป็นการเลียนแบบ อย่างที่ท่านว่าเป็นเถยยะ /ไถย คือลักเพศหรือขโมยรูปลักษณ์ ซึ่งกลายเป็นการก่อปัญหา เปิดช่องแก่ความรู้สึกในทางแข่งระแวงหรือจะข่มกัน เสียสามัคคี และทำให้ระบบเสียความสมบูรณ์ ทำลายบูรณภาพ ทำให้สถาบันง่อนแง่น เสียหายต่อระบบสมมติบัญญัติที่พระพุทธเจ้าตั้งไว้เพื่อประโยชน์สุขของปวงชน เป็นการทำลายประโยชน์ของชาวโลกในระยะยาว จึงเป็นธรรมดาที่คฤหัสถ์พระอรหันต์จะไม่ทำ

เมื่อบวชเอาเอง ก็ไม่ทำ และเมื่อภิกษุณีสงฆ์ไม่มี จะบวชเป็นภิกษุณีก็ไม่ได้ แล้วจะบวชได้อย่างไรมีทางออกไหม นี่คือข้อที่จะพิจารณาต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ส.ค. 2016, 23:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7502

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
โฮฮับ เขียน:
พระนาคเสนพูดจาเลอะเทอะ หรือไม่คนแต่งนิทานเรื่องมิลินฯก็เลอะเทอะ


ชักอยากเห็น..ชีวิตในชาติสุดท้ายก่อนนิพพานของโฮ....จัง

ปากไม่แปรงฟันนี้...มันจะเป็นยังงัยนะ?
:b32: :b32: :b32:




รูปภาพ

Kiss
ฮั่นแน่...มีหยิกแกมหยอก...ตอบแบบบุ้ยใบ้เงียบๆ
:b17:
:b32: :b32:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 19 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 137 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร