ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52867 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 20 ก.ค. 2016, 12:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
กรัชกาย เขียน: ปัญญา ๓ ปัญญานั้น แท้จริงก็มีอย่างเดียว ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นความรู้เข้าใจสภาวะ คือ หยั่งถึงความจริงของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น แต่ก็นิยมจำแนกแยกประเภทออกไปเป็นหลายอย่าง ตามระดับของความรู้เข้าใจบ้าง ตามหน้าที่หรือแง่ด้านของการทำงานของปัญญาบ้าง ตามทางที่ปัญญานั้นเกิดขึ้นบ้าง เป็นต้น ปัญญามีอย่างเดียวนะใช่ แต่ปัญญาไม่ใช่" ธรรมชาติที่เป็นความรู้ความเข้าใจ" แท้จริงแล้วปัญญา เป็นลักษณะของธรรมชาติ ย้ำว่า ลักษณะ มันไม่ใช่ความรู้ความเข้าใจ ความรู้ความเข้าใจท่านเรียกว่า...วิชชา ปัญญาไม่สามารถจำแนกแยกประเภทได้ ใครไปแยกแสดงให้เห็นถึงความมั่วของคนนั้นครับ กรัชกาย เขียน: ปัญญาชุดหนึ่งซึ่งจำแนกตามแหล่งที่มา หรือทางเกิดของปัญญา ได้แก่ ปัญญา ๓ อย่าง ชุดที่แยกออกไปเป็น สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา คำท้ายคือปัญญาเป็นตัวกลางร่วมกัน ส่วนคำข้างหน้าที่ต่างกัน บอกที่มาหรือแหล่งเกิดของปัญญานั้น ว่า หนึ่ง เกิดจากสุตะ (การสดับฟัง การอ่าน และเล่าเรียน) สอง เกิดจากจินตะ (การคิดไตร่ตรองพิจารณา) และสาม เกิดจากภาวนา (การปฏิบัติต่อจากนั้น) ปัญญาไม่ได้แบ่งเป็น๓ชุด พูดยังกับรายงานของเด็กส่งครู คำว่าปัญญา๓ ไม่ได้หมายถึงมีปัญญา๓ชุด แต่หมายถึง การนำเอาปัญญาไปใช้ในการกระทำ๓อย่าง นั้นก็คือการเอาปัญญาไปใช้ในการฟังหรืออ่านพระธรรม......นี้คือสุตตมยปัญญา การเอาปัญญาไปใช้ในกระบวนการทางความคิด..............นี้คือจิตตมยปัญญา การเอาปัญญาไปใช้ในหลักของการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น....นี้คือภาวนามยปัญญา ฉะนั้นคำว่า๓ที่ว่าก็คีอ.....ฟัง คิด ปฏิบัติ ปัญญามันมีอยู่ก่อนการ ฟัง คิด และปฏิบัติ กรัชกาย เขียน: ปัญญา ๓ ชุดนี้ ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงน้อย แต่มีผู้นำมาพูดค่อนข้างบ่อย ข้อสำคัญคือเข้าใจความหมายกันไม่ค่อยชัด จึงควรแสดงคำอธิบายที่พ่วงมากับถ้อยคำเหล่านี้สืบแต่เดิมไว้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ท่านผู้พูดนี่แหล่ะคือตัวต้นเหตุที่ทำให้ชาวพุทธสับสน กรัชกาย เขียน: เริ่มด้วยการเรียงลำดับ ปัญญา ๓ นั้น ตามที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ของเดิมในพระไตรปิฎก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑) และในพระอภิธรรม (อภิ.วิ.๓๕/๗๙๗/๔๒๒) เริ่มต้นด้วยจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก อย่างไรก็ตามในเนตติปกรณ์ ซึ่งพระเถรวาทสายพม่าถือเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระไตรปิฎกด้วย (จัดรวมไว้ใน ขุททกนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก) เรียงสุตมยปัญญาขึ้นก่อน (และเรียกชื่อต่างไปเล็กน้อยเป็น สุตมยีปัญญา จินตามยีปัญญา ภาวนามยีปัญญา) และต่อมา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฎีกา นิยมมากขึ้นในทางที่จะเรียกชื่อเป็น สุตมยญาณ จินตามยญาณ และภาวนามยญาณ เลอะเทอะ! มันไม่เกี่ยวว่าจะต้องเรียงหรือไม่ ในธรรมทั้ง๓ประการนี้ เพียงแค่หนึ่งก็สามารถทำให้บุคคลสามารถบรรลุมรรคผลได้แล้ว บุคคลผู้มีปัญญาสามารถอ่านพระธรรมและสามารถบรรลุมรรคได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่อ่านออกเขียนได้และมีภูมิธรรมในเรื่องของปริยัติมักจะสำเร็จด้วย...สุตตมยปัญญา ส่วนอีกพวกคือภาวนา ก็คือพวกที่ด้อยในปริยัติหรือด้อยในพิจารณาภาษาตัวอักษร พวกนี้ก็มุ่งในการเจริญปัญญาภาวนาพิจารณาสภาวธรรมนี่ก็อีกหนทางบรรลุมรรคผล...เรียกว่า ภาวนามยปัญญา สุดท้ายเป็นพวกจิตตะ พวกนี้เป็นพวกที่สามารถคิดพิจารณาหาเหตุผลจนสามารถบรรลุมรรคได้เอง โดยไม่ต้องพึงพระธรรมหรือหลัการภาวนาของพุทธองค์ ซึ่งท่านเหล่านี้จัดเป็น..พระพุทธเจ้า คือสามารถตรัสรู้ได้เอง.......เรียกว่าจิตตมยปัญญา |
เจ้าของ: | Rosarin [ 20 ก.ค. 2016, 14:32 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
![]() ![]() ![]() ![]() โฮฮับ เขียน: ปัญญามีอย่างเดียวนะใช่ แต่ปัญญาไม่ใช่" ธรรมชาติที่เป็นความรู้ความเข้าใจ" แท้จริงแล้วปัญญา เป็นลักษณะของธรรมชาติ ย้ำว่า ลักษณะ มันไม่ใช่ความรู้ความเข้าใจ ความรู้ความเข้าใจท่านเรียกว่า...วิชชา ![]() ปัญญามีเยอะมากเลยที่เป็นญาณต่างๆ และตัวปัญญาเองเป็นความรู้และเข้าใจ ปัญญาก็คือวิชชา/ไม่ใช่อย่างที่โฮฮับมั่ว ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | Duangrat [ 20 ก.ค. 2016, 16:51 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
โฮฮับ เขียน: กรัชกาย เขียน: ปัญญา ๓ ปัญญานั้น แท้จริงก็มีอย่างเดียว ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นความรู้เข้าใจสภาวะ คือ หยั่งถึงความจริงของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น แต่ก็นิยมจำแนกแยกประเภทออกไปเป็นหลายอย่าง ตามระดับของความรู้เข้าใจบ้าง ตามหน้าที่หรือแง่ด้านของการทำงานของปัญญาบ้าง ตามทางที่ปัญญานั้นเกิดขึ้นบ้าง เป็นต้น ปัญญามีอย่างเดียวนะใช่ แต่ปัญญาไม่ใช่" ธรรมชาติที่เป็นความรู้ความเข้าใจ" แท้จริงแล้วปัญญา เป็นลักษณะของธรรมชาติ ย้ำว่า ลักษณะ มันไม่ใช่ความรู้ความเข้าใจ ความรู้ความเข้าใจท่านเรียกว่า...วิชชา ปัญญาไม่สามารถจำแนกแยกประเภทได้ ใครไปแยกแสดงให้เห็นถึงความมั่วของคนนั้นครับ กรัชกาย เขียน: ปัญญาชุดหนึ่งซึ่งจำแนกตามแหล่งที่มา หรือทางเกิดของปัญญา ได้แก่ ปัญญา ๓ อย่าง ชุดที่แยกออกไปเป็น สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา คำท้ายคือปัญญาเป็นตัวกลางร่วมกัน ส่วนคำข้างหน้าที่ต่างกัน บอกที่มาหรือแหล่งเกิดของปัญญานั้น ว่า หนึ่ง เกิดจากสุตะ (การสดับฟัง การอ่าน และเล่าเรียน) สอง เกิดจากจินตะ (การคิดไตร่ตรองพิจารณา) และสาม เกิดจากภาวนา (การปฏิบัติต่อจากนั้น) ปัญญาไม่ได้แบ่งเป็น๓ชุด พูดยังกับรายงานของเด็กส่งครู คำว่าปัญญา๓ ไม่ได้หมายถึงมีปัญญา๓ชุด แต่หมายถึง การนำเอาปัญญาไปใช้ในการกระทำ๓อย่าง นั้นก็คือการเอาปัญญาไปใช้ในการฟังหรืออ่านพระธรรม......นี้คือสุตตมยปัญญา การเอาปัญญาไปใช้ในกระบวนการทางความคิด..............นี้คือจิตตมยปัญญา การเอาปัญญาไปใช้ในหลักของการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น....นี้คือภาวนามยปัญญา ฉะนั้นคำว่า๓ที่ว่าก็คีอ.....ฟัง คิด ปฏิบัติ ปัญญามันมีอยู่ก่อนการ ฟัง คิด และปฏิบัติ กรัชกาย เขียน: ปัญญา ๓ ชุดนี้ ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงน้อย แต่มีผู้นำมาพูดค่อนข้างบ่อย ข้อสำคัญคือเข้าใจความหมายกันไม่ค่อยชัด จึงควรแสดงคำอธิบายที่พ่วงมากับถ้อยคำเหล่านี้สืบแต่เดิมไว้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ท่านผู้พูดนี่แหล่ะคือตัวต้นเหตุที่ทำให้ชาวพุทธสับสน กรัชกาย เขียน: เริ่มด้วยการเรียงลำดับ ปัญญา ๓ นั้น ตามที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ของเดิมในพระไตรปิฎก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑) และในพระอภิธรรม (อภิ.วิ.๓๕/๗๙๗/๔๒๒) เริ่มต้นด้วยจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก อย่างไรก็ตามในเนตติปกรณ์ ซึ่งพระเถรวาทสายพม่าถือเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระไตรปิฎกด้วย (จัดรวมไว้ใน ขุททกนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก) เรียงสุตมยปัญญาขึ้นก่อน (และเรียกชื่อต่างไปเล็กน้อยเป็น สุตมยีปัญญา จินตามยีปัญญา ภาวนามยีปัญญา) และต่อมา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฎีกา นิยมมากขึ้นในทางที่จะเรียกชื่อเป็น สุตมยญาณ จินตามยญาณ และภาวนามยญาณ เลอะเทอะ! มันไม่เกี่ยวว่าจะต้องเรียงหรือไม่ ในธรรมทั้ง๓ประการนี้ เพียงแค่หนึ่งก็สามารถทำให้บุคคลสามารถบรรลุมรรคผลได้แล้ว บุคคลผู้มีปัญญาสามารถอ่านพระธรรมและสามารถบรรลุมรรคได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่อ่านออกเขียนได้และมีภูมิธรรมในเรื่องของปริยัติมักจะสำเร็จด้วย...สุตตมยปัญญา ส่วนอีกพวกคือภาวนา ก็คือพวกที่ด้อยในปริยัติหรือด้อยในพิจารณาภาษาตัวอักษร พวกนี้ก็มุ่งในการเจริญปัญญาภาวนาพิจารณาสภาวธรรมนี่ก็อีกหนทางบรรลุมรรคผล...เรียกว่า ภาวนามยปัญญา สุดท้ายเป็นพวกจิตตะ พวกนี้เป็นพวกที่สามารถคิดพิจารณาหาเหตุผลจนสามารถบรรลุมรรคได้เอง โดยไม่ต้องพึงพระธรรมหรือหลัการภาวนาของพุทธองค์ ซึ่งท่านเหล่านี้จัดเป็น..พระพุทธเจ้า คือสามารถตรัสรู้ได้เอง.......เรียกว่าจิตตมยปัญญา นั่นก็หมายความว่า อริยบุคคลผู้มีปัญญาแล้ว จึงใช้ปัญญา ปฏิบัติต่อ เพื่อการหลุดพ้นได้ 3 วิธี ไม่ใช่ยังไม่มีปัญญา แต่ปฏิบ้ติ 3 วิธี เพื่อให้ได้ปัญญา |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 20 ก.ค. 2016, 16:55 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
คุยกับคนมโน ให้ถึงคนเมากัญชาดูก้อนเมฆ ไม่ทำห่าอะไรหรอก เมาได้ที่แล้วก็นอนมโนวาดภาพก้อนเมฆที่ลอยไปลอยมาเป็นสิงสาราสัตว์ เป็นนกเป็นหนูไป แล้วก็ยิ้มแก้มตุ่ย คิกๆๆ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 20 ก.ค. 2016, 17:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
ผิดมาแต่เริ่มพูดเริ่มมโนแล้ว คือ นักศึกษาธรรมะเมืองไทย หยิบข้อธรรมตัวใดตัวมาแล้วก็ว่าเป็นคุ้งเป็นแคว พูดยังกับว่า นามธรรม (จิตใจ) มันเกิดตัวเดียวโดดๆโด่เด่ยังงั้นแหละ ไม่ใช่ ทูลหัวของบ่าว หลักธรรม (นามธรรม) มันอาศัยกันและกันเกิด เป็นเหตุปัจจัยให้กันและกัน เขาทำงานเป็นกลุ่ม (สัมปยุตตธรรม) แต่ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน แบ่งหน้าที่กันทำชัดเจน ดูตัวอย่าง สัญญา วิญญาณ ปัญญา เขาทำงานกัน ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา เช่น วิสุทธิมัคค์เป็นต้น อธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญา วิญญาณ และปัญญาไว้ ว่า สัญญาเพียงรู้จักอารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น (คือรู้อาการของอารมณ์) ไม่อาจให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ วิญญาณรู้อารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น ได้ด้วย ทำให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ด้วย (คือเข้าใจตามที่ปัญญาบอก) แต่ไม่อาจส่งให้ถึงความปรากฏแห่งมรรค (คือ ให้ตรัสรู้อริยสัจไม่ได้) ส่วนปัญญาทั้งรู้อารมณ์ ทั้งให้ถึงความเข้าใจลักษณะ และทั้งส่งให้ถึงความปรากฏขึ้นแห่งมรรค ท่านอุปมาเหมือนคน ๓ คน มองดูเหรียญกษาปณ์ สัญญาเปรียบ เหมือนเด็กยังไม่เดียงสา มองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่าง ยาว สั้น เหลี่ยม กลม สี และลวดลายแปลกๆ สวยงามของเหรียญนั้น ไม่รู้ว่าเป็นของที่เขาตกลงกัน ใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย วิญญาณเปรียบ เหมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่างลวดลาย และรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่รู้ซึ้งลงไปว่า เหรียญนี้แท้ เหรียญนี้ปลอม มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วน ปัญญาเปรียบ เหมือนเหรัญญิก ซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้ว และรู้ชำนาญจนกระทั่งว่า จะมองดูก็รู้ ฟังเสียงเคาะก็รู้ ดม ชิม หรือเอามือชั่งดูก็รู้ รู้ตลอดไปถึงว่า เหรียญนี้ทำที่นั้นๆ ผู้ชำนาญคนนั้นๆทำ อนึ่ง ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางทีมีแต่สัญญาและวิญญาณ หาได้มีปัญญาด้วยไม่ แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วย กับ สัญญา และวิญญาณ คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่าผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา ต่อมาเมื่อพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสองแล้ว ก็รู้ทันทีว่าลูกทั้งสองเดินถอยหลังไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดหนักทางส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ ก็เรียกว่าเป็นปัญญา ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่า ปัญญามีความรอบคอบและลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล และเข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปรและสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุนั้นเสีย ความเข้าใจนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา เมื่อพระพุทธเจ้าจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่จะกระทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา ปัญญาเป็นคำกลาง สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวแล้ว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะหรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น วิปัสสนา สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา ปริญญา อภิญญา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ ปฏิสัมภิทา เป็นต้น |
เจ้าของ: | Rosarin [ 20 ก.ค. 2016, 18:05 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
กรัชกาย เขียน: ผิดมาแต่เริ่มพูดเริ่มมโนแล้ว คือ นักศึกษาธรรมะเมืองไทย หยิบข้อธรรมตัวใดตัวมาแล้วก็ว่าเป็นคุ้งเป็นแคว พูดยังกับว่า นามธรรม (จิตใจ) มันเกิดตัวเดียวโดดๆโด่เด่ยังงั้นแหละ ไม่ใช่ ทูลหัวของบ่าว หลักธรรม (นามธรรม) มันอาศัยกันและกันเกิด เป็นเหตุปัจจัยให้กันและกัน เขาทำงานเป็นกลุ่ม (สัมปยุตตธรรม) แต่ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน แบ่งหน้าที่กันทำชัดเจน ดูตัวอย่าง สัญญา วิญญาณ ปัญญา เขาทำงานกัน ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา เช่น วิสุทธิมัคค์เป็นต้น อธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญา วิญญาณ และปัญญาไว้ ว่า สัญญาเพียงรู้จักอารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น (คือรู้อาการของอารมณ์) ไม่อาจให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ วิญญาณรู้อารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น ได้ด้วย ทำให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้ด้วย (คือเข้าใจตามที่ปัญญาบอก) แต่ไม่อาจส่งให้ถึงความปรากฏแห่งมรรค (คือ ให้ตรัสรู้อริยสัจไม่ได้) ส่วนปัญญาทั้งรู้อารมณ์ ทั้งให้ถึงความเข้าใจลักษณะ และทั้งส่งให้ถึงความปรากฏขึ้นแห่งมรรค ท่านอุปมาเหมือนคน ๓ คน มองดูเหรียญกษาปณ์ สัญญาเปรียบ เหมือนเด็กยังไม่เดียงสา มองดูเหรียญแล้วรู้แต่รูปร่าง ยาว สั้น เหลี่ยม กลม สี และลวดลายแปลกๆ สวยงามของเหรียญนั้น ไม่รู้ว่าเป็นของที่เขาตกลงกัน ใช้เป็นสื่อการแลกเปลี่ยนซื้อขาย วิญญาณเปรียบ เหมือนชาวบ้านเห็นเหรียญแล้วรู้ทั้งรูปร่างลวดลาย และรู้ว่าใช้เป็นสื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ แต่ไม่รู้ซึ้งลงไปว่า เหรียญนี้แท้ เหรียญนี้ปลอม มีโลหะอะไรผสมกี่ส่วน ปัญญาเปรียบ เหมือนเหรัญญิก ซึ่งรู้ทุกแง่ที่กล่าวมาแล้ว และรู้ชำนาญจนกระทั่งว่า จะมองดูก็รู้ ฟังเสียงเคาะก็รู้ ดม ชิม หรือเอามือชั่งดูก็รู้ รู้ตลอดไปถึงว่า เหรียญนี้ทำที่นั้นๆ ผู้ชำนาญคนนั้นๆทำ อนึ่ง ปัญญาไม่ได้เกิดขึ้นเสมอไป บางทีมีแต่สัญญาและวิญญาณ หาได้มีปัญญาด้วยไม่ แต่คราวใดมีปัญญาเกิดร่วมด้วย กับ สัญญา และวิญญาณ คราวนั้นก็ยากที่จะแยกให้เห็นความแตกต่างจากกันและกัน เมื่อชาลีและกัณหา เดินถอยหลังลงไปซ่อนตัวในสระน้ำ ด้วยเข้าใจว่าผู้ตามหาเห็นรอยเท้าแล้วจะเข้าใจว่า เธอทั้งสองขึ้นมาแล้วจากสระน้ำ ความคิดที่ทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา ต่อมาเมื่อพระเวสสันดรทอดพระเนตรเห็นรอยเท้าของลูกทั้งสองแล้ว ก็รู้ทันทีว่าลูกทั้งสองเดินถอยหลังไปซ่อนอยู่ในสระน้ำ เพราะมีแต่รอยเท้าเดินขึ้นอย่างเดียว ไม่มีรอยลง อีกทั้งรอยนั้นก็กดหนักทางส้นเท้า ความรู้เท่าทันนี้ ก็เรียกว่าเป็นปัญญา ในกรณีนี้จะเห็นได้ว่า ปัญญามีความรอบคอบและลึกซึ้งกว่ากัน ซึ่งเกี่ยวพันไปถึงการที่ปัญญาใช้ประโยชน์จากสัญญาด้วย การที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทอดพระเนตรเห็นคนแก่ คนเจ็บ คนตาย แล้วคำนึงเห็นความทุกข์ที่มวลมนุษย์ต้องประสบทั่วสากล และเข้าใจถึงภาวะที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงแท้ ล้วนเกิดขึ้นแล้วปรวนแปรและสิ้นสุดด้วยแตกดับ ควรระงับความทุกข์อันเนื่องมาจากสาเหตุนั้นเสีย ความเข้าใจนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา เมื่อพระพุทธเจ้าจะประดิษฐานพระพุทธศาสนาในแคว้นมคธ ได้เสด็จไปโปรดพวกกัสสปชฎิล ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวมคธ ให้เลื่อมใสยอมรับคำสอนของพระองค์ก่อน พระปรีชาอันให้ดำริที่จะกระทำเช่นนั้นก็เรียกว่าเป็นปัญญา ปัญญาเป็นคำกลาง สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวแล้ว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะหรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น วิปัสสนา สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา ปริญญา อภิญญา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ ปฏิสัมภิทา เป็นต้น ![]() อนุโมทนากับคุณกรัชกาย ธัมมะเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้ง กว่าจะถึงปัญญาก็คงยาวนาน สำหรับความไม่รู้ที่พอกเพิ่มพูน อกุศลเกิดก็ยังปัญญาให้เกิดไม่ได้ ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 20 ก.ค. 2016, 18:13 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
เอาแต่มโน คิดว่าเป็นนั่น เป็นนี่ เป็นโน่น เป็นโน้น เป็นโน๊น (เสียงแอ๊คโค้) โน๊น โน๊น โน๊น โน๊น ![]() ตราบใดยังไม่ได้ลงมือทำลงมือปฏิบัติแล้วล่ะก็ ต่อให้คิดจนปากเบี้ยว ![]() ![]() ต้องทำต้องปฏิบัติ หลักเขามีอยู่แล้ว (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) ต้องทำๆๆ ตย. ผู้ปฏฺิบัติคนหนึ่ง คงจบแพทย์ไปแล้ว เขาเข้าใจร่างกาย แต่ก็ยังไม่เข้าใจนามธรรมคือจิตใจ โฮฮับเป็นต้น ไม่รู้เรื่องสักอย่าง ทั้งรูปธรรม นามธรรม จะเอานิยมนิยายอะไร ปฏิกูลลาน ขยะเปียกบอร์ด ดู ผมก็นั่งตามลมหายใจพุทโธไป วันแรกๆก็ไม่เป็นอะไร พอวันที่สามนั่งไปซักพัก ประมาณสิบนาที เริ่มมีอาการเหวี่ยงแบบเหวี่ยงหมุนจนเวียนหัว จึงนั่งต่อไม่ได้ ลืมตาขึ้นมานั่งดูพระรูปอื่น เป็นอย่างนี้อยู่เกือบตลอด กลับมาที่กุฏิก่อนจะจำวัดก็นั่งก็เป็นอีก จนมาถามพระพี่เลี้ยงท่านบอกเหมือนจิตกำลังจะได้เข้าสู่ความสงบให้ผ่านจุดนี้ไปให้ได้ แต่มันก็ได้แบบแปปๆแล้วก็หมุนอีกหมุนอีก จนลาสิกขามา ก็เริ่มมาหาอ่านเองจนได้อ่านบันทึกกรรมฐานของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ให้พิจารณา กาย เวทนา จิต ธรรม คราวนี้ก็ทำตามหนังสือ หายใจตอนแรกก็ยาว ก็ตามไปซักพัก เริ่มพิจารณาตามสติปัฏฐาน คราวนี้หมุนเร็วเลย หมุนแรงมากจนรู้สึกจะอาเจียนเลย ผมก็พิจารณาว่าเป็นทุกขเวทนา ก็ดีขึ้นแปปก็หมุนอีกเรื่อยๆ จนตอนนี้ยังแก้ไม่ได้เลยครับ ไม่รู้ว่าจะทำยังไง ล่าสุดเมื่อคืนหมุนจนจะอ้วกจนถอนสมาธิออกมา ยังมีอาการเวียนหัวจะอ้วกมาอีกซักสิบห้านาทีค่อยดีขึ้น คำถามครับ 1. ผมควรแก้ปัญหานี้ยังไงดี ฝืนนั่งไปเรื่อยๆจนหายหรือต้องกำหนดอะไรยังไง 2. จุดมุ่งหมายจริงๆ คือวิปัสสนากรรมฐานคืออะไรครับ ไม่ได้โอ้อวดว่าตัวเองเก่งนะครับ พอดีผมเรียนแพทย์เลยเข้าใจพวกสรีระร่างกายมนุษย์อยู่แล้ว เมื่อมาเรียนรู้ทางธรรมพิจารณาตามขันธ์ 5 ก็เข้าใจว่ามันไม่ได้มีตัวตนจริงๆของเรา เหมือนเท่าที่อ่านการฝึกวิปัสสนาทำให้เราเข้าใจว่าทุกอย่างมีเกิดดับของมันเป็นธรรมดา ไม่ให้เรายึดติด แต่ถ้าผมอ่านแล้วเข้าใจแล้วจะทำไปเพื่ออะไร หรือว่าให้จิตเราแข็งแกร่ง จะได้มีสติรู้เท่าทันทุกการกระทำ หลังสึกออกมาทุกวันนี้ เวลาจะโกรธใครก็เหมือนมีสติมาห้ามทัน แต่ก็ยังมีหลุดบ้าง ซึ่งก่อนหน้านี้จะตอบโต้แทบจะทันทีเพราะเป็นคนใจร้อน |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 20 ก.ค. 2016, 18:27 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
Duangrat เขียน: นั่นก็หมายความว่า อริยบุคคลผู้มีปัญญาแล้ว จึงใช้ปัญญา ปฏิบัติต่อ เพื่อการหลุดพ้นได้ 3 วิธี ไม่ใช่ยังไม่มีปัญญา แต่ปฏิบ้ติ 3 วิธี เพื่อให้ได้ปัญญา ใช่ครับ! จะต้องใช้ตัวปัญญามาเป็นเครื่องมือเพื่อการหลุดพ้นใน๓ประการ อย่างหนึ่งอย่างใดครับ สุตตะ ภาวนา จิตตะ ไม่ใช่เพื่อปัญญาครับ......แต่เพื่อวิมุตติ ปุถุชนเจริญสติเพื่อให้เกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาแล้วท่านเรียกว่า โสดาปฏิมรรคหรือธรรมานุสารี เมื่อได้ปัญญาแล้ว สุตตะก็คือเจริญปัญญาพิจารณาโพธิปักขิยธรรม ภาวนาก็คือการเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ ส่วนจิตตะไม่ขอกล่าว |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 20 ก.ค. 2016, 18:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
กรัชกาย เขียน: คุยกับคนมโน ให้ถึงคนเมากัญชาดูก้อนเมฆ ไม่ทำห่าอะไรหรอก เมาได้ที่แล้วก็นอนมโนวาดภาพก้อนเมฆที่ลอยไปลอยมาเป็นสิงสาราสัตว์ เป็นนกเป็นหนูไป แล้วก็ยิ้มแก้มตุ่ย คิกๆๆ น้องกรัชกายของพี่โฮเริ่มคุ้มคลั่งแล้ว นิสัยเด็กเกรียนหายไปไหน ไม่เอาน่า อยากด่าพี่โฮหลังไมค์มาด่าดีกว่า อย่าออกลายให้ยายชีโรสแกเห็น แกยิ่งปลื้มน้องกรัชกายอยู่ เดียวแกจะเมินหน้าหนีหาว่าไม่มีสมบัติผู้ดี ยายชีโรสแกยิ่งเป็นคนสร้างภาพอยู่ด้วย ![]() |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 20 ก.ค. 2016, 18:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
กรัชกาย เขียน: ผิดมาแต่เริ่มพูดเริ่มมโนแล้ว คือ นักศึกษาธรรมะเมืองไทย หยิบข้อธรรมตัวใดตัวมาแล้วก็ว่าเป็นคุ้งเป็นแคว พูดยังกับว่า นามธรรม (จิตใจ) มันเกิดตัวเดียวโดดๆโด่เด่ยังงั้นแหละ ไม่ใช่ ทูลหัวของบ่าว หลักธรรม (นามธรรม) มันอาศัยกันและกันเกิด เป็นเหตุปัจจัยให้กันและกัน เขาทำงานเป็นกลุ่ม (สัมปยุตตธรรม) แต่ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน แบ่งหน้าที่กันทำชัดเจน ดูตัวอย่าง สัญญา วิญญาณ ปัญญา เขาทำงานกัน เริ่มก็มั่วแล้ว ไอ้คำว่า สัมปยุตตธรรมที่เอ็งว่า มันเป็นคำที่พระขึ้นธรรมมาสเทศน์ในวันพระวันโกน ภาษาธรรมเขาไม่เรียก .... อัญญมัญญปัจจัย แล้วไอ้ที่ทำงานไม่ใช่สัญญา วิญญาน ปัญญา......แต่เป็นกายใจเป็นผู้ทำงาน นามธรรมเหล่านั้นเกิดขึ้นได้เพราะ กายใจเป็นผู้ทำให้เกิด กรัชกาย เขียน: ในคัมภีร์รุ่นอรรถกถา เช่น วิสุทธิมัคค์เป็นต้น อธิบายความแตกต่างระหว่างสัญญา วิญญาณ และปัญญาไว้ ว่า สัญญาเพียงรู้จักอารมณ์ว่า เขียว เหลือง เป็นต้น (คือรู้อาการของอารมณ์) ไม่อาจให้ถึงความเข้าใจลักษณะคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาได้ สัญญาไม่ใช่รู้จักเขียว เหลือง สัญญาเป็นความจำได้หมายรู้ในเวทนา(เน้นว่าจำได้หมายรู็เฉพาะเวทนา) หมายความว่า เมื่อตาเห็นวัตถุแล้ว เกิดพอใจหรือไม่พอใจ สัญญาจะจำความพอใจหรือไม่พอใจนั้นได้ เรื่องของสีเป็นความจำที่สมอง ไม่ใช่สัญญา ส่วนปัญญาต้องรู้ด้วยสมมติก็คือใช้การระลึกรู้ลักษณะ ที่เหลือขี้เกียจอธิบาย มันไม่ใช่สาระดูแล้วเหมือนคนพร่ำบ่นเพราะถูกขัดใจ ![]() |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 20 ก.ค. 2016, 19:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
กรัชกาย เขียน: ปัญญาเป็นคำกลาง สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวแล้ว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น เลอะเทอะ! ปัญญาไม่ใช่คำเลื่อนเปื้อน ปัญญาเป็นพุทธพจน์ และมีนิยามโดยเฉพาะ ปัญญาเป็นสภาพนามธรรม ที่เกิดจากกายใจคือการระลึกรู้ คำว่า "โลกียปัญญา โลกุตรปัญญา" เป็นคำพูดปรุงแต่งเลอะเทอะเลื่อนเปื้อน กรัชกาย เขียน: มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะหรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น วิปัสสนา สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา ปริญญา อภิญญา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ ปฏิสัมภิทา เป็นต้น ปัญญาที่เป็นพุทธพจน์มีอย่างเดียว จะบอกว่าปัญญามีหลายคำก็ได้แต่ให้รู้ไว้ว่า มันเป็นคำพูดของพวกโมฆะบุรุษ ผู้ไม่มีความรู้ในธรรม ![]() |
เจ้าของ: | Rosarin [ 20 ก.ค. 2016, 19:11 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
โฮฮับ เขียน: Duangrat เขียน: นั่นก็หมายความว่า อริยบุคคลผู้มีปัญญาแล้ว จึงใช้ปัญญา ปฏิบัติต่อ เพื่อการหลุดพ้นได้ 3 วิธี ไม่ใช่ยังไม่มีปัญญา แต่ปฏิบ้ติ 3 วิธี เพื่อให้ได้ปัญญา ใช่ครับ! จะต้องใช้ตัวปัญญามาเป็นเครื่องมือเพื่อการหลุดพ้นใน๓ประการ อย่างหนึ่งอย่างใดครับ สุตตะ ภาวนา จิตตะ ไม่ใช่เพื่อปัญญาครับ......แต่เพื่อวิมุตติ ปุถุชนเจริญสติเพื่อให้เกิดปัญญา เมื่อเกิดปัญญาแล้วท่านเรียกว่า โสดาปฏิมรรคหรือธรรมานุสารี เมื่อได้ปัญญาแล้ว สุตตะก็คือเจริญปัญญาพิจารณาโพธิปักขิยธรรม ภาวนาก็คือการเจริญปัญญาด้วยอานาปานสติ ส่วนจิตตะไม่ขอกล่าว พระอริยบุคคลผู้มีปัญญาท่านเข้าถึงการรู้แจ้งอริยสัจจธรรม ด้วยการพึ่งพระรัตนตรัยและมีปัญญาที่ดับความเห็นผิดก่อน ไม่ใช่เอาปัญญาแบบปุถุชนที่คิดว่าเอาปัญญาไปทำได้นะจ๊ะ เพราะปัญญาเข้าใจว่าไม่ต้องทำแค่มีศรัทธา/ศีล/สุตะ/จาคะ/ปัญญา พระอริยบุคคลเป็นผู้มีปกติจิตเพียรฟังคำสอนด้วยความเลื่อมใส เพื่อสละความเห็นผิดที่เคยคิดเอาเองโดยพึ่งพระพุทธพจน์ เพื่ออบรมจิตให้แน่วแน่มั่นคงเพื่อรู้ชัดตรงตามคำจริง เพื่อรู้ตามไม่คลาดเคลื่อนบิดเบือนคำของพระองค์ จนเกิดความรู้ที่รอบรู้ตามคำของพระพุทธเจ้า เพียรรู้ทุกข์ละสมุทัยเข้าสู่ทางสายกลาง หนทางแห่งการเข้าถึงความจริงเพราะ ปัญญารู้ชัดในทุกขอริยสัจจธรรม ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 20 ก.ค. 2016, 20:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
โฮฮับ เขียน: กรัชกาย เขียน: ปัญญาเป็นคำกลาง สำหรับความรู้ประเภทที่กล่าวแล้ว และปัญญานั้นมีหลายขั้นหลายระดับ เช่น แบ่งเป็นโลกียปัญญา โลกุตรปัญญา เป็นต้น เลอะเทอะ! ปัญญาไม่ใช่คำเลื่อนเปื้อน ปัญญาเป็นพุทธพจน์ และมีนิยามโดยเฉพาะ ปัญญาเป็นสภาพนามธรรม ที่เกิดจากกายใจคือการระลึกรู้ คำว่า "โลกียปัญญา โลกุตรปัญญา" เป็นคำพูดปรุงแต่งเลอะเทอะเลื่อนเปื้อน กรัชกาย เขียน: มีคำศัพท์หลายคำ ที่ใช้ในความหมายจำเพาะ หมายถึง ปัญญาในขั้นใดขั้นหนึ่ง ระดับใดระดับหนึ่ง แง่ใดแง่หนึ่ง หรือเนื่องด้วยกิจเฉพาะ คุณสมบัติเฉพาะหรือประโยชน์เฉพาะบางอย่าง เช่น วิปัสสนา สัมปชัญญะ ญาณ วิชชา ปริญญา อภิญญา อัญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ ปฏิสัมภิทา เป็นต้น ปัญญาที่เป็นพุทธพจน์มีอย่างเดียว จะบอกว่าปัญญามีหลายคำก็ได้แต่ให้รู้ไว้ว่า มันเป็นคำพูดของพวกโมฆะบุรุษ ผู้ไม่มีความรู้ในธรรม ![]() ก็บอกแล้วว่า ต่อให้คิดจนปากเบี้ยวก็ไม่เข้าใจ ตราบเท่าที่ยังมโนปันยาๆๆๆๆ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 20 ก.ค. 2016, 20:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
โฮฮับ เขียน: เลอะเทอะ! มันไม่เกี่ยวว่าจะต้องเรียงหรือไม่ ในธรรมทั้ง๓ประการนี้ เพียงแค่หนึ่งก็สามารถทำให้บุคคลสามารถบรรลุมรรคผลได้แล้ว บุคคลผู้มีปัญญาสามารถอ่านพระธรรมและสามารถบรรลุมรรคได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่อ่านออกเขียนได้และมีภูมิธรรมในเรื่องของปริยัติมักจะสำเร็จด้วย...สุตตมยปัญญา ส่วนอีกพวกคือภาวนา ก็คือพวกที่ด้อยในปริยัติหรือด้อยในพิจารณาภาษาตัวอักษร พวกนี้ก็มุ่งในการเจริญปัญญาภาวนาพิจารณาสภาวธรรมนี่ก็อีกหนทางบรรลุมรรคผล...เรียกว่า ภาวนามยปัญญา สุดท้ายเป็นพวกจิตตะ พวกนี้เป็นพวกที่สามารถคิดพิจารณาหาเหตุผลจนสามารถบรรลุมรรคได้เอง โดยไม่ต้องพึงพระธรรมหรือหลัการภาวนาของพุทธองค์ ซึ่งท่านเหล่านี้จัดเป็น..พระพุทธเจ้า คือสามารถตรัสรู้ได้เอง.......เรียกว่าจิตตมยปัญญา ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 20 ก.ค. 2016, 21:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: มาดูเขามั่วเรื่องปัญญา |
Duangrat เขียน: โฮฮับ เขียน: กรัชกาย เขียน: ปัญญา ๓ ปัญญานั้น แท้จริงก็มีอย่างเดียว ได้แก่ ธรรมชาติที่เป็นความรู้เข้าใจสภาวะ คือ หยั่งถึงความจริงของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น แต่ก็นิยมจำแนกแยกประเภทออกไปเป็นหลายอย่าง ตามระดับของความรู้เข้าใจบ้าง ตามหน้าที่หรือแง่ด้านของการทำงานของปัญญาบ้าง ตามทางที่ปัญญานั้นเกิดขึ้นบ้าง เป็นต้น ปัญญามีอย่างเดียวนะใช่ แต่ปัญญาไม่ใช่" ธรรมชาติที่เป็นความรู้ความเข้าใจ" แท้จริงแล้วปัญญา เป็นลักษณะของธรรมชาติ ย้ำว่า ลักษณะ มันไม่ใช่ความรู้ความเข้าใจ ความรู้ความเข้าใจท่านเรียกว่า...วิชชา ปัญญาไม่สามารถจำแนกแยกประเภทได้ ใครไปแยกแสดงให้เห็นถึงความมั่วของคนนั้นครับ กรัชกาย เขียน: ปัญญาชุดหนึ่งซึ่งจำแนกตามแหล่งที่มา หรือทางเกิดของปัญญา ได้แก่ ปัญญา ๓ อย่าง ชุดที่แยกออกไปเป็น สุตมยปัญญา จินตามยปัญญา และภาวนามยปัญญา คำท้ายคือปัญญาเป็นตัวกลางร่วมกัน ส่วนคำข้างหน้าที่ต่างกัน บอกที่มาหรือแหล่งเกิดของปัญญานั้น ว่า หนึ่ง เกิดจากสุตะ (การสดับฟัง การอ่าน และเล่าเรียน) สอง เกิดจากจินตะ (การคิดไตร่ตรองพิจารณา) และสาม เกิดจากภาวนา (การปฏิบัติต่อจากนั้น) ปัญญาไม่ได้แบ่งเป็น๓ชุด พูดยังกับรายงานของเด็กส่งครู คำว่าปัญญา๓ ไม่ได้หมายถึงมีปัญญา๓ชุด แต่หมายถึง การนำเอาปัญญาไปใช้ในการกระทำ๓อย่าง นั้นก็คือการเอาปัญญาไปใช้ในการฟังหรืออ่านพระธรรม......นี้คือสุตตมยปัญญา การเอาปัญญาไปใช้ในกระบวนการทางความคิด..............นี้คือจิตตมยปัญญา การเอาปัญญาไปใช้ในหลักของการปฏิบัติเพื่อการหลุดพ้น....นี้คือภาวนามยปัญญา ฉะนั้นคำว่า๓ที่ว่าก็คีอ.....ฟัง คิด ปฏิบัติ ปัญญามันมีอยู่ก่อนการ ฟัง คิด และปฏิบัติ กรัชกาย เขียน: ปัญญา ๓ ชุดนี้ ในพระไตรปิฎกกล่าวถึงน้อย แต่มีผู้นำมาพูดค่อนข้างบ่อย ข้อสำคัญคือเข้าใจความหมายกันไม่ค่อยชัด จึงควรแสดงคำอธิบายที่พ่วงมากับถ้อยคำเหล่านี้สืบแต่เดิมไว้ เพื่อประโยชน์ในการศึกษา ท่านผู้พูดนี่แหล่ะคือตัวต้นเหตุที่ทำให้ชาวพุทธสับสน กรัชกาย เขียน: เริ่มด้วยการเรียงลำดับ ปัญญา ๓ นั้น ตามที่พูดกัน มักเรียงสุตมยปัญญาเป็นข้อแรก แต่ของเดิมในพระไตรปิฎก ทั้งในพระสูตร (ที.ปา. ๑๑/๒๒๘/๒๓๑) และในพระอภิธรรม (อภิ.วิ.๓๕/๗๙๗/๔๒๒) เริ่มต้นด้วยจินตามยปัญญาเป็นข้อแรก อย่างไรก็ตามในเนตติปกรณ์ ซึ่งพระเถรวาทสายพม่าถือเป็นคัมภีร์หนึ่งในพระไตรปิฎกด้วย (จัดรวมไว้ใน ขุททกนิกาย แห่งพระสุตตันตปิฎก) เรียงสุตมยปัญญาขึ้นก่อน (และเรียกชื่อต่างไปเล็กน้อยเป็น สุตมยีปัญญา จินตามยีปัญญา ภาวนามยีปัญญา) และต่อมา ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา-ฎีกา นิยมมากขึ้นในทางที่จะเรียกชื่อเป็น สุตมยญาณ จินตามยญาณ และภาวนามยญาณ เลอะเทอะ! มันไม่เกี่ยวว่าจะต้องเรียงหรือไม่ ในธรรมทั้ง๓ประการนี้ เพียงแค่หนึ่งก็สามารถทำให้บุคคลสามารถบรรลุมรรคผลได้แล้ว บุคคลผู้มีปัญญาสามารถอ่านพระธรรมและสามารถบรรลุมรรคได้ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่อ่านออกเขียนได้และมีภูมิธรรมในเรื่องของปริยัติมักจะสำเร็จด้วย...สุตตมยปัญญา ส่วนอีกพวกคือภาวนา ก็คือพวกที่ด้อยในปริยัติหรือด้อยในพิจารณาภาษาตัวอักษร พวกนี้ก็มุ่งในการเจริญปัญญาภาวนาพิจารณาสภาวธรรมนี่ก็อีกหนทางบรรลุมรรคผล...เรียกว่า ภาวนามยปัญญา สุดท้ายเป็นพวกจิตตะ พวกนี้เป็นพวกที่สามารถคิดพิจารณาหาเหตุผลจนสามารถบรรลุมรรคได้เอง โดยไม่ต้องพึงพระธรรมหรือหลัการภาวนาของพุทธองค์ ซึ่งท่านเหล่านี้จัดเป็น..พระพุทธเจ้า คือสามารถตรัสรู้ได้เอง.......เรียกว่าจิตตมยปัญญา นั่นก็หมายความว่า อริยบุคคลผู้มีปัญญาแล้ว จึงใช้ปัญญา ปฏิบัติต่อ เพื่อการหลุดพ้นได้ 3 วิธี ไม่ใช่ยังไม่มีปัญญา แต่ปฏิบ้ติ 3 วิธี เพื่อให้ได้ปัญญา ![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |