วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 03:06  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 19:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สีลขันธ์ กองศีล, หมวดธรรมว่าด้วยศีล เช่น กายสุจริต สัมมาอาชีวะ อินทรียสังวร โภชเนมัตตัญญุตา เป็นต้น


สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือ รักษาศีลให้บริสุทธิ์ตามภูมิของตน ซึ่งจะช่วยเป็นฐานให้เกิดสมาธิได้


สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล คือ ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็รักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย ประพฤติอยู่ในคลองธรรม ถ้าเป็นภิกษุ ก็สำรวมในพระปาฏิโมกข์ มีมารยาทดีงาม เป็นต้น


สีลานุสติ ระลึกถึงศีลของตนที่ได้ประพฤติมาด้วยดีบริสุทธิ์ไม่ด่างพร้อย


สุข ความสบาย, ความสำราญ, ความฉ่ำชื่นรื่นกาย รื่นใจ มี ๒ คือ

๑. กายิกสุข สุขทางกาย

๒. เจตสิกสุข สุขทางใจ


อีกหมวดหนึ่ง มี ๒ คือ

๑. สามิสสุข สุขอิงอามิส คืออาศัยกามคุณ

๒. นิรามิสสุข สุขไม่อิงอามิส คือ อิงเนกขัมมะ หรือสุขที่เป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อวัตถุ (ท่านแบ่งเป็นคู่ๆ อย่างนี้อีกหลายหมวด)


สุขของคฤหัสถ์ สุขอันชอบธรรมที่ผู้ครองเรือนควรมี และควรขวนขวายให้มีอยู่เสมอ มี ๔ อย่าง คือ

๑.อัตถิสุข สุขเกิดจากความมีทรัพย์ (ที่ได้มาด้วยเรี่ยวแรงของตน โดยทางชอบธรรม)

๒.โภคสุข สุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์ (เลี้ยงตน เลี้ยงคนควรเลี้ยง และทำประโยชน์)

๓. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้

๔. อนวัชชสุข สุขเกิดจากประกอบการอันไม่มีโทษ (มีสุจริตทั้ง กาย วาจา และใจ)

เฉพาะข้อ ๔ ตามแบบเรียนว่า สุขเกิดแต่ประกอบการงานที่ปราศจากโทษ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 19:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุขเวทนา ความรู้สึกสุขสบาย

คำว่า “สบาย” ภาษาไทยแปลเพี้ยนไปจากภาษาบาลี "สบาย" ในภาษาบาลี แปลว่า สภาพเอื้อ ที่ทำให้เราทำอะไรได้ผลดี แต่คนไทยพอฟังคำว่า สบาย ก็แปลไปในความหมายว่า เราจะได้นอน ไม่ต้องทำอะไร คือ มองในความหมายที่จะหยุด


สุขก็เหมือนกัน "สุข" แปลว่า คล่อง, ง่าย, สะดวก คือสภาพคล่องนั่นเอง หมายความว่า ในเวลาที่สุขนั้นจะทำอะไร ก็ทำได้ง่าย คล่อง สะดวก ตรงข้ามกับตอนที่ทุกข์ ซึ่งทำได้ยากและมักจะติดขัดไปหมด แต่เรากลับไปดิ้นทำแต่ในตอนทุกข์ พอสุขที่จะทำได้ง่าย ทำได้คล่อง จะทำอะไรก็ทำได้เต็มที่ เรากลับจะหยุดจะเฉยจะสงบนอน

การทำอย่างนี้ ท่านเรียกว่า ประมาท ก็คือใช้โอกาสไม่เป็น หรือไม่รู้จักใช้โอกาส พอมีโอกาสที่จะทำได้ดีก็กลับมานอนเสีย


สุขสมบัติ สมบัติคือความสุข, ความถึงพร้อมด้วยความสุข


สุขาวดี แดนที่มีความสุข, เป็นแดนสถิตของพระอมิตาภพุทธ ฝ่ายมหายาน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 19:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุคต ผู้เสด็จไปดีแล้ว, เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า

สุคโต (พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น) เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงมีทางเสด็จที่ดีงามอันได้แก่อริยมรรค, เสด็จไปสู่ที่ดีงาม กล่าวคือ พระนิพพาน, เสด็จไปด้วยดีโดยชอบ กล่าวคือ ทรงดำเนินรุดหน้าไม่หวนกลับมาสู่กิเลสที่ละได้แล้ว ดำเนินสู่ผลสำเร็จไม่ถอยหลัง ไม่กลับตกจากฐานะที่ลุถึง ดำเนินในทางอันถูกต้องคือมัชฌิมาปฏิปทา ไม่เฉเชือนไปในทางที่ผิด คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค

เสด็จไปดี เสด็จที่ใดก็ทำประโยชน์ให้แก่มหาชนในที่นั้น เสด็จไปโดยสวัสดีและนำให้เกิดความสวัสดี แม้แต่พบองคุลิมาลมหาโจรร้าย ก็กลับใจให้เขากลายเป็นคนดีไม่มีภัย เสด็จผ่านไปแล้วด้วยดี ได้บำเพ็ญพุทธกิจไว้บริบูรณ์ ประดิษฐานพระพุทธศาสนาไว้ เพื่อชาวโลก ให้เป็นเครื่องเผล็ดประโยชน์แก่ประชาชนทั้งปวงผู้เกิดมาในภายหลัง,

ทรงมีวาจาดี หรือตรัสโดยชอบ คือ ตรัสแต่คำจริงแท้ ประกอบด้วยประโยชน์ ในกาลที่ควรตรัส และบุคคลที่ควรตรัส


สุคติ คติดี, ทางดำเนินที่ดี, แดนกำเนิดอันดีที่สัตว์ผู้ทำกรรมีตายแล้วไปเกิด ได้แก่ มนุษย์ และเทพ ตรงข้ามกับทุคติ


สุจริต ประพฤติดี, ประพฤติชอบ, ประพฤติถูกต้องตามคลองธรรม มี ๓ คือ

๑. กายสุจริต ประพฤติชอบด้วยกาย

๒. วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา

๓.มโนสุจริต ประพฤติชอบด้วยใจ
เทียบทุจริต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สุตะ “สิ่งสดับ” สิ่งที่ได้ฟังมา, สิ่งที่ได้ยินได้ฟัง, ความรู้จากการเล่าเรียน หรือรับถ่ายทอดจากผู้อื่น, ข้อมูลความรู้จากการอ่าน การฟังบอกเล่าถ่ายทอด,

สำหรับผู้ศึกษาปฏิบัติ “สุตะ” หมายถึง ความรู้ที่ได้เล่าเรียน สดับฟังธรรม ความรู้ในพระธรรมวินัย ความรู้คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่เรียกว่านวังคสัตถุศาสน์ หรือปริยัติ,

สุตะเป็นคุณสมบัติสำคัญอย่างหนึ่งของผู้ที่จะเจริญงอกงาม ไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิต โดยเป็นเหตุปัจจัยให้ได้ปัญญา ที่เป็นเบื้องต้นหรือเป็นฐานของพรหมจริยะ และเป็นเครื่องเจริญปัญญาให้พัฒนาจนไพบูลย์บริบูรณ์ (ที.ปา.11/444/316) พระพุทธเจ้าจึงทรงสอนให้เป็นผู้มีสุตะมาก (เป็นพหูสูต หรือมีพาหุสัจจะ) และเป็นผู้เข้าถึงโดยสุตะ (องฺ.จตุกฺก. 21/6/9)


สุทธิ ความบริสุทธิ์, ความสะอาดหมดจด มี ๒ คือ

๑. ปริยายสุทธิ บริสุทธิ์โดยเอกเทศ (คือเพียงบางส่วนบางแง่)

๒. นิปปริยายสุทธิ บริสุทธิ์โดยสิ้นเชิง (ความบริสุทธิ์ของพระอรหันต์)


สุภาษิต ถ้อยคำที่กล่าวดีแล้ว, คำพูดที่ถือเป็นคติได้


เสมฺหสมุฏฺฐานา อาพาธา ความเจ็บไข้ มีเสมหะเป็นสมุฏฐาน


โสกะ ความโศก, ความเศร้า, ความมีใจหม่นไหม้, ความแห้งใจ, ความรู้สึกหมองไหม้ใจแห้งผาก เพราะประสบความพลัดพรากหรือสูญเสียอย่างใดอย่างหนึ่ง (บาลี โสก สันสกฤต โศก)


โสดาปัตติมรรค ทางปฏิบัติเพื่อบรรลุผล คือความเป็นพระโสดาบัน, ญาณ คือความรู้เป็นเหตุละสังโยชน์ได้ ๓ คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส


สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ หมายถึงมองเห็นความว่าง หมดความยึดมั่น คือ พิจารณาเห็นนามรูป โดยความเป็นอนัตตา พูดสั้นๆว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา


สุญญตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ

(สุญญตา 4 ความหมาย)

สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ” ความว่าง 1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,

โดยปริยาย หมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่น ขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่า ปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรม หรือกระบวนธรรมล้วนๆ 2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้นก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน 3. โลกุตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน) เพราะว่างจากกิเลส มีราคะเป็นต้น และเพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์ 4. ความว่างที่เกิดจากกำหนดหมายในใจหรือทำใจเพื่อให้ความว่างนั้นเป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติ กำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย สุญตา ก็เขียน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2017, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)

บาลี ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ ภาษามคธ ๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี”


ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลีหรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

มคธภาษา ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธ ๑. ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกันกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่า พิมพิสาร


ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสชื่อ อชาตศัตรู ปลงพระชนม์ และขึ้นครองราชย์สืบแทน

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว

บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร ๒. เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่าภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้ คือ ภาษามคธ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 80 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4, 5, 6

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 130 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร