ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

บารมี 10 = 30
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52536
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 10 มิ.ย. 2016, 17:43 ]
หัวข้อกระทู้:  บารมี 10 = 30

อธิษฐานโฮฮับว่าเป็นภาษาเขมร จึงนำบารมี 10 ให้ดู



อ้างคำพูด:
กรัชกาย เขียน:
อธิษฐาน แปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดี่ยว คนเราจะทำอะไร ต้องมีจุดหมาย หรือมีเป้าที่มุ่งเจาะเฉพาะลงไป

การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


เลอะเทอะ!! คำว่า "อธิฐาน" ไม่ใช่คำไทย ไม่ใช่บาลี แต่เป็นคำที่มาจากภาษาเขมร
ไทยยืมเอาคำของเขมรมาใช้ ซึ่งคำๆนี้ตรงกับภาษาอังกฤษว่า"pray"
ความหมายโดยรวมก็คือ.....การวิงวอนร้องขอ

ที่บอกว่า อธิฐานแปลว่า ความตั้งใจเด็ดเดียว......เป็นการแปลที่มั่วเอาเอง หาได้ใช้หลักเกณท์อันใดไม่

แท้จริงแล้วความหมายที่หมายถึง"ความเด็ดเดียว" ถ้าเป็นภาษาธรรมจะต้องใช้คำว่า.."ความเพียร"
ความเพียร ถ้าเทียบเคียงกับพุทธพจน์ก็คือ.....วิริยะ

วิริยะเป็นองค์ธรรมหรือองค์ประกอบของ อิทธิบาท
ซึ่งคำว่า "อิทธิบาทก็คือ...จุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์น้้นเอง

กรัชกาย เขียน:

การอธิษฐานจิต ก็คือ ตั้งใจเด็ดเดี่ยว มุ่งมั่นลงไปว่าจะทำการนี้ เรื่องนี้ อันนี้ ให้สำเร็จให้จงได้ โดยตั้งใจเด็ดเดี่ยว


มั่ว!! การอธิฐานจิต คือการวิงวอนร้องขอ ไม่ได้หมายถึงตั้งใจเด็ดเดียว
การวิงวอนร้องขอเป็นมิจฉาทิฐิในศาสนาพุทธ พระพุทธทรงชี้แนะว่า มันเป็นกิเลสตัณหาควรละเสีย

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 10 มิ.ย. 2016, 17:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ

๑. ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

๒. ศีล ความประพฤติถูกต้อง สุจริต

๓. เนกขัมมะ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช

๔. ปัญญา ความรอบรู้ เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ

๕. วิริยะ ความเพียรแกล้วกล้า บากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่

๖. ขันติ ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส

๗. สัจจะ ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง

๘. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่

๙. เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข

๑๐. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ


บารมี ๑๐ นั้น จะบริบูรณ์ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแต่ละบารมีครบสามขั้น หรือสามระดับ จึงแบ่งบารมีเป็น ๓ ระดับ คือ

๑. บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นต้น

๒. อุปบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นจวนสูงสุด

๓. ปรมัตถบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นสูงสุด

เกณฑ์ในการแบ่งระดับของบารมีนั้น มีหลายแง่หลายด้าน ขอยกเกณฑ์อย่างง่ายมาให้รู้พอเข้าใจ เช่น ในข้อทาน สละทรัพย์ภายนอกทุกอย่างได้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานบารมี สละอวัยวะ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานอุปบารมี สละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานปรมัตถบารมี

บารมีในแต่ ละชั้นมี ๑๐ จึงแยกเป็น บารมี ๑๐ (ทศบารมี) อุปบารมี ๑๐ (ทศอุปบารมี) และปรมัตถบารมี ๑๐ (ทศปรมัตถบารมี) รวมทั้งสิ้น เป็นบารมี ๓๐ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า สมดึงสบารมี (หรือ สมติงสบารมี) แปลว่า บารมีสามสิบถ้วน หรือบารมีครบเต็มสามสิบ

แต่ในภาษาไทย บางทีเรียกสืบๆ กันมาว่า "บารมี ๓๐ ทัศ"

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 มิ.ย. 2016, 06:29 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

กรัชกาย เขียน:
บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ

๑. ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

๒. ศีล ความประพฤติถูกต้อง สุจริต

๓. เนกขัมมะ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช

๔. ปัญญา ความรอบรู้ เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ

๕. วิริยะ ความเพียรแกล้วกล้า บากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่

๖. ขันติ ความอดทน ควบคุมตนอยู่ได้ในธรรม ในเหตุผล และในแนวทางเพื่อจุดหมายอันชอบ ไม่ยอมลุอำนาจกิเลส

๗. สัจจะ ความจริง ซื่อสัตย์ จริงใจ จริงจัง

๘. อธิษฐาน ความตั้งใจมั่น ตั้งจุดหมายไว้ดีงามชัดเจนและมุ่งไปเด็ดเดี่ยวแน่วแน่

๙. เมตตา ความรัก ความปรารถนาดี คิดเกื้อกูลหวังให้สรรพสัตว์อยู่ดีมีความสุข

๑๐. อุเบกขา ความวางใจเป็นกลาง อยู่ในธรรม เรียบสงบสม่ำเสมอ ไม่เอนเอียง ไม่หวั่นไหวไปด้วยความยินดียินร้ายชอบชังหรือแรงเย้ายวนยั่วยุใดๆ


บารมี ๑๐ นั้น จะบริบูรณ์ต่อเมื่อพระโพธิสัตว์บำเพ็ญแต่ละบารมีครบสามขั้น หรือสามระดับ จึงแบ่งบารมีเป็น ๓ ระดับ คือ

๑. บารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นต้น

๒. อุปบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นจวนสูงสุด

๓. ปรมัตถบารมี คือ คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด ขั้นสูงสุด

เกณฑ์ในการแบ่งระดับของบารมีนั้น มีหลายแง่หลายด้าน ขอยกเกณฑ์อย่างง่ายมาให้รู้พอเข้าใจ เช่น ในข้อทาน สละทรัพย์ภายนอกทุกอย่างได้ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานบารมี สละอวัยวะ เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานอุปบารมี สละชีวิต เพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น เป็นทานปรมัตถบารมี

บารมีในแต่ ละชั้นมี ๑๐ จึงแยกเป็น บารมี ๑๐ (ทศบารมี) อุปบารมี ๑๐ (ทศอุปบารมี) และปรมัตถบารมี ๑๐ (ทศปรมัตถบารมี) รวมทั้งสิ้น เป็นบารมี ๓๐ เรียกเป็นคำศัพท์ว่า สมดึงสบารมี (หรือ สมติงสบารมี) แปลว่า บารมีสามสิบถ้วน หรือบารมีครบเต็มสามสิบ

แต่ในภาษาไทย บางทีเรียกสืบๆ กันมาว่า "บารมี ๓๐ ทัศ"


ธรรมของใครที่แน่ๆไม่ใช่ของพระพุทธองค์......ก็เห็นๆอยู่ว่ามันเป็นแค่ตำราเรียนวิชาศีลธรรม
เขาเอาไว้ให้เด็กประถมเรียนเพื่อสอบเอาคะแนน.....ย้ำอีกครั้งพระศาสดาคือ พระโคดมพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่พระครูใบฎีกาตามวัดต่างๆ :b32:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 มิ.ย. 2016, 06:43 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

กรัชกาย เขียน:
บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ "



ความเห็นท่านพุทธทาส

ไฟล์แนป:
1364380003-o-crop.jpg
1364380003-o-crop.jpg [ 101.06 KiB | เปิดดู 2677 ครั้ง ]

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 มิ.ย. 2016, 07:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

แนะนำว่ารริจะพูดธรรม มันต้องเอาพุทธพจน์เป็นหลัก
ไม่ใช่ไปเอาโวหารของตำราที่เอาไวสอนเด็กมาพูด ทำแบบนี้มันเหมือนดูถูกชาวบ้านว่า ไร้สติปัญญา พิจารณาถูกผิด

จะสอนกรัชกายให้ว่าอะไรเป็นอะไร....จะได้บรรเทาอาการบ้าน้ำลาย



กรัชกาย เขียน:

๑. ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

จะทานหรือการให้ มันก็เป็นคำที่เป็นลักษณะเดียวกัน เขาเรียกโวหาร
คำทั้งสองมันเป็นการขยายความจนเลอะเทอะเกินเหตุ ...ทานมันก็คือการให้ การให้มันก็คือทาน
ไม่รู้จะมาพูดทำไมให้รกสมอง

อยากเป็นผู้รู้มันต้องรู้ทั้งโวหารและพุทธพจน์ เช่น คำที่กรัชกายเอามาโพสมันเป็นความหมายเดียวกัน
แต่ต่างกันที่วัตถุและการกระทำนั้นก็คือ

ทานกับการให้
ทาน...เป็นกรรมของประโยค ก็คือสิ่งที่ถูกให้
ให้....เป็นกริยา ก็คืออาการหยิบหยื่นทานให้ผู้อื่น


ฉะนั้นคำว่าทานและให้ มันเป็นลักษณะของภาษาคือช่วยประกอบความเข้าใจของการกระทำทางกาย

ทานและการให้ เป็นอาการที่บ่งบอกถึงการแสดงออกทางร่างกาย
ส่วนความหมายนี้ "การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์" มันเป็นเรื่องทางใจ
มันเป็นคนละเรื่อง การให้หรือทาน ไม่จำเป็นเพื่อการเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์เสมอไป

การให้หรือทาน สามารถทำเพื่อให้เกิดผลตอบแทนอย่างอื่นได้
การทำบุญทำทานเพื่อเอาหน้าหรือผลประโยชน์ที่จะตามมาภายหลังก็มีมากมาย

จะสอนให้ว่า ถ้าเป็นเรื่องของใจเช่น"การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์"
จะต้องไปเทียบเคียงกับพุทธพจน์ เพราะคำของพระพุทธองค์เป็นคำสอนที่เกี่ยวกับลักษณะของนามธรรมหรือใจ

การเสียสละที่เป็นเรื่องของใจคำที่เป็นพุทธพจน์ก็คือ.......ความกรุณา(ในพรหมวิหาร)
มันไม่ใช่ทานหรือการให้ที่กรัชกายเอามาเพ้อเจ้อ

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 มิ.ย. 2016, 07:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

กรัชกาย เขียน:

๒. ศีล ความประพฤติถูกต้อง สุจริต


มันใช่อย่างที่มั่วซะที่ไหน!!

ความหมายของศีลคือความเป็นปกติของกายใจ(สงบ) และสิ่งที่ทำให้กายใจมีความเป็นปกติ(สงบ)
นั้นก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า....วิเวก

ศีลก็คือความเป็นวิเวกแห่งกายใจ

และกายใจจะเกิดความเป็นวิเวกได้นั้นต้องอาศัยการเจริญปัญญาเพื่อให้เกิด สัมมาอาชีวะ๑
สัมมากัมมันตะ๑ แและสัมมาวาจา๑

ส่วนความประพฤติถูกต้อง คำว่าถูกต้องไม่ได้หมายความว่าสุจริต
แต่ถูกต้องท่านหมายถึง ถูกต้องตามธรรมคือความประพฤตินั้นจะต้องคำนึงถึงสัมมาอาชีวะและสัมมาวาจาด้วย
ด้วยเหตุนี้ความประพฤตินั้นจึงเรียกว่า.....สัมมากัมมันตะ ไม่ใช่คำว่าสุจริตแบบที่กรัชกายเอามาพร่าม

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 11 มิ.ย. 2016, 09:08 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ "



ความเห็นท่านพุทธทาส



ศาสดาของโฮฮับเป็นใครหรอ จะเอาพุทธทาสเป็นศาสดาหรอ :b32:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 11 มิ.ย. 2016, 09:10 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

๒. ศีล ความประพฤติถูกต้อง สุจริต


มันใช่อย่างที่มั่วซะที่ไหน!!

ความหมายของศีลคือความเป็นปกติของกายใจ(สงบ) และสิ่งที่ทำให้กายใจมีความเป็นปกติ(สงบ)
นั้นก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า....วิเวก

ศีลก็คือความเป็นวิเวกแห่งกายใจ

และกายใจจะเกิดความเป็นวิเวกได้นั้นต้องอาศัยการเจริญปัญญาเพื่อให้เกิด สัมมาอาชีวะ๑
สัมมากัมมันตะ๑ แและสัมมาวาจา๑

ส่วนความประพฤติถูกต้อง คำว่าถูกต้องไม่ได้หมายความว่าสุจริต
แต่ถูกต้องท่านหมายถึง ถูกต้องตามธรรมคือความประพฤตินั้นจะต้องคำนึงถึงสัมมาอาชีวะและสัมมาวาจาด้วย
ด้วยเหตุนี้ความประพฤตินั้นจึงเรียกว่า.....สัมมากัมมันตะ ไม่ใช่คำว่าสุจริตแบบที่กรัชกายเอามาพร่าม



มาอีกแระ ศีล วิเวกแห่งกาย ใจ เคยถามแล้วไม่ตอบ

เอางี้ก่อนนะ วิเวก หมายถึงอะไร

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 11 มิ.ย. 2016, 09:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

โฮฮับ เขียน:
แนะนำว่ารริจะพูดธรรม มันต้องเอาพุทธพจน์เป็นหลัก
ไม่ใช่ไปเอาโวหารของตำราที่เอาไวสอนเด็กมาพูด ทำแบบนี้มันเหมือนดูถูกชาวบ้านว่า ไร้สติปัญญา พิจารณาถูกผิด

จะสอนกรัชกายให้ว่าอะไรเป็นอะไร....จะได้บรรเทาอาการบ้าน้ำลาย



กรัชกาย เขียน:

๑. ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

จะทานหรือการให้ มันก็เป็นคำที่เป็นลักษณะเดียวกัน เขาเรียกโวหาร
คำทั้งสองมันเป็นการขยายความจนเลอะเทอะเกินเหตุ ...ทานมันก็คือการให้ การให้มันก็คือทาน
ไม่รู้จะมาพูดทำไมให้รกสมอง

อยากเป็นผู้รู้มันต้องรู้ทั้งโวหารและพุทธพจน์ เช่น คำที่กรัชกายเอามาโพสมันเป็นความหมายเดียวกัน
แต่ต่างกันที่วัตถุและการกระทำนั้นก็คือ

ทานกับการให้
ทาน...เป็นกรรมของประโยค ก็คือสิ่งที่ถูกให้
ให้....เป็นกริยา ก็คืออาการหยิบหยื่นทานให้ผู้อื่น


ฉะนั้นคำว่าทานและให้ มันเป็นลักษณะของภาษาคือช่วยประกอบความเข้าใจของการกระทำทางกาย

ทานและการให้ เป็นอาการที่บ่งบอกถึงการแสดงออกทางร่างกาย
ส่วนความหมายนี้ "การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์" มันเป็นเรื่องทางใจ
มันเป็นคนละเรื่อง การให้หรือทาน ไม่จำเป็นเพื่อการเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์เสมอไป

การให้หรือทาน สามารถทำเพื่อให้เกิดผลตอบแทนอย่างอื่นได้
การทำบุญทำทานเพื่อเอาหน้าหรือผลประโยชน์ที่จะตามมาภายหลังก็มีมากมาย

จะสอนให้ว่า ถ้าเป็นเรื่องของใจเช่น"การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์"
จะต้องไปเทียบเคียงกับพุทธพจน์ เพราะคำของพระพุทธองค์เป็นคำสอนที่เกี่ยวกับลักษณะของนามธรรมหรือใจ

การเสียสละที่เป็นเรื่องของใจคำที่เป็นพุทธพจน์ก็คือ.......ความกรุณา(ในพรหมวิหาร)
มันไม่ใช่ทานหรือการให้ที่กรัชกายเอามาเพ้อเจ้อ



บุญกิริยาวัตถุ 3 ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา เป็นพุทธพจน์มั้ย

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 มิ.ย. 2016, 16:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
บารมี คุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง, บารมีที่พระโพธิสัตว์ต้องบำเพ็ญให้ครบบริบูรณ์ จึงจะบรรลุโพธิญาณ เป็นพระพุทธเจ้า มี ๑๐ คือ "



ความเห็นท่านพุทธทาส



ศาสดาของโฮฮับเป็นใครหรอ จะเอาพุทธทาสเป็นศาสดาหรอ :b32:


ศาสดาพี่โฮ คือพระโคดมพุทธเจ้า ที่ต้องยืมคำพูดท่านพุทธทาสมาแสดงก็เพื่อให้รู้ว่า
สาวกคนอื่นอย่างเช่นพุทธทาส ก็ไม่ได้เห็นด้วยกับท่านปยุต....

ระหว่างความเห็นของท่านพุทธทาสกับของท่านปยุต...พี่โฮเห็นด้วยและคล้อยตามท่านพุทธทาส
ส่วนของท่านปยุตพูดได้คำเดียวว่า......ไม่ไหวจะเคลียร์ เฮ้อ!

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 มิ.ย. 2016, 17:03 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:

๒. ศีล ความประพฤติถูกต้อง สุจริต


มันใช่อย่างที่มั่วซะที่ไหน!!

ความหมายของศีลคือความเป็นปกติของกายใจ(สงบ) และสิ่งที่ทำให้กายใจมีความเป็นปกติ(สงบ)
นั้นก็คือหลักธรรมที่เรียกว่า....วิเวก

ศีลก็คือความเป็นวิเวกแห่งกายใจ

และกายใจจะเกิดความเป็นวิเวกได้นั้นต้องอาศัยการเจริญปัญญาเพื่อให้เกิด สัมมาอาชีวะ๑
สัมมากัมมันตะ๑ แและสัมมาวาจา๑

ส่วนความประพฤติถูกต้อง คำว่าถูกต้องไม่ได้หมายความว่าสุจริต
แต่ถูกต้องท่านหมายถึง ถูกต้องตามธรรมคือความประพฤตินั้นจะต้องคำนึงถึงสัมมาอาชีวะและสัมมาวาจาด้วย
ด้วยเหตุนี้ความประพฤตินั้นจึงเรียกว่า.....สัมมากัมมันตะ ไม่ใช่คำว่าสุจริตแบบที่กรัชกายเอามาพร่าม



มาอีกแระ ศีล วิเวกแห่งกาย ใจ เคยถามแล้วไม่ตอบ

เอางี้ก่อนนะ วิเวก หมายถึงอะไร


ไอ้ที่ถามนะแน่ใจแล้วหรือ ว่าเข้าใจสิ่งที่ตัวถาม
ถามเพื่อแก้เกี้ยวกับถามเพื่อลองภูมิ พี่โฮอยากให้ถามเพื่อลองภูมิ
แต่ที่กรัชกายถามมันเข้าทำนองแก้เกี้ยวผสมกับความไม่รุ้

ไม่รู้แม้กระทั้งว่า สิ่งที่ตัวเอามาโพสมันผิดถูกอย่างไร
สักแต่ว่ามีคอมพ์ก็ก๊อปปี้ข้อความเขามาโพส เหมือนนกแก้วนกขุนทอง

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 มิ.ย. 2016, 17:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

กรัชกาย เขียน:
โฮฮับ เขียน:
แนะนำว่ารริจะพูดธรรม มันต้องเอาพุทธพจน์เป็นหลัก
ไม่ใช่ไปเอาโวหารของตำราที่เอาไวสอนเด็กมาพูด ทำแบบนี้มันเหมือนดูถูกชาวบ้านว่า ไร้สติปัญญา พิจารณาถูกผิด

จะสอนกรัชกายให้ว่าอะไรเป็นอะไร....จะได้บรรเทาอาการบ้าน้ำลาย





กรัชกาย เขียน:

๑. ทาน การให้ การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์

จะทานหรือการให้ มันก็เป็นคำที่เป็นลักษณะเดียวกัน เขาเรียกโวหาร
คำทั้งสองมันเป็นการขยายความจนเลอะเทอะเกินเหตุ ...ทานมันก็คือการให้ การให้มันก็คือทาน
ไม่รู้จะมาพูดทำไมให้รกสมอง

อยากเป็นผู้รู้มันต้องรู้ทั้งโวหารและพุทธพจน์ เช่น คำที่กรัชกายเอามาโพสมันเป็นความหมายเดียวกัน
แต่ต่างกันที่วัตถุและการกระทำนั้นก็คือ

ทานกับการให้
ทาน...เป็นกรรมของประโยค ก็คือสิ่งที่ถูกให้
ให้....เป็นกริยา ก็คืออาการหยิบหยื่นทานให้ผู้อื่น


ฉะนั้นคำว่าทานและให้ มันเป็นลักษณะของภาษาคือช่วยประกอบความเข้าใจของการกระทำทางกาย

ทานและการให้ เป็นอาการที่บ่งบอกถึงการแสดงออกทางร่างกาย
ส่วนความหมายนี้ "การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์" มันเป็นเรื่องทางใจ
มันเป็นคนละเรื่อง การให้หรือทาน ไม่จำเป็นเพื่อการเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์เสมอไป

การให้หรือทาน สามารถทำเพื่อให้เกิดผลตอบแทนอย่างอื่นได้
การทำบุญทำทานเพื่อเอาหน้าหรือผลประโยชน์ที่จะตามมาภายหลังก็มีมากมาย

จะสอนให้ว่า ถ้าเป็นเรื่องของใจเช่น"การเสียสละเพื่อช่วยเหลือมวลมนุษย์สรรพสัตว์"
จะต้องไปเทียบเคียงกับพุทธพจน์ เพราะคำของพระพุทธองค์เป็นคำสอนที่เกี่ยวกับลักษณะของนามธรรมหรือใจ

การเสียสละที่เป็นเรื่องของใจคำที่เป็นพุทธพจน์ก็คือ.......ความกรุณา(ในพรหมวิหาร)
มันไม่ใช่ทานหรือการให้ที่กรัชกายเอามาเพ้อเจ้อ



บุญกิริยาวัตถุ 3 ได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา เป็นพุทธพจน์มั้ย


ทาน ศีล ภาวนา ไม่ใช่พุทธพจน์ แต่เป็นบาลีอธิบายพุทธพจน์

ส่วนบุญกิริยาวัตถุ๓ ไม่ใช่ทั้งพุทธพจน์และบาลีอธิบายพุทะพจน์
ไอ้คำว่าบุญกิริยาวัตถุ เป็นเพียงโวหารของผู้ไม่รู้(ยังติดในมิจฉาทิฐิ)
คำว่า"บุญ" มันบ่งบอกให้รู้ว่าผู้พูดยังมีกิเลสแห่งความเป็นสักกายทิฐิ

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 11 มิ.ย. 2016, 17:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

กรัชกาย เขียน:

๓. เนกขัมมะ ความปลีกออกจากกามได้ ไม่เห็นแก่การเสพบำเรอ, การออกบวช


ไร้เดียงสาจริงๆ สงสัยคงเข้าใจว่า"กาม" หมายถึงการมีเพศสัมพันธ์ุแหง่ๆ...ตลกจริง
คำว่า"กาม" เป็นคำที่พระพุทธองค์บัญญัติเรียก ธรรมที่ทำให้เกิดความอยากหรือไม่อยาก
พูดให้ชัดลงไปก็คือ........ตัณหา

"กาม"หมายถึงความอยากหรือไม่อยากใน รูป(ตา) รส(ลิ้น) กลิ่น(จมูก) เสียง(หู) สัมผัส(กาย)
มันไม่เกี่ยวกับเรื่องเพศสัมพันธ์ุหรือการสืบพันธ์ุ
โดยรวมท่านเรียกว่า กามฉันทะสังโยชน์

เนกขัมมะหรือที่กรัชกายว่าการออกบวช การออกบวชไม่ได้ช่วยให้กามหมดไปเลย
สิ่งที่จะหยุดหรือละกามในที่นี้ได้ก็คือ......สติปัฏฐาน ไม่ใช่เนกขัมมะ

การเป็นฆราวาสใช้ชีวิตในสังคมตามปกติ แต่หมั่นเจริญสติปัฏฐานในการ ดู กิน ดม ฟังและสัมผัส
เพียงเท่านี้......กามหรือกามฉันทะสังโยชน์ก็จะหมดไป

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 11 มิ.ย. 2016, 18:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

อ่านที่หมดแล้ว ไม่ไหวจะเคลียร์ นึกถึงกระบือตาบอดเที่ยวอยู่ในป่า คิกๆๆ :b32:

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 12 มิ.ย. 2016, 07:57 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: บารมี 10 = 30

กรัชกาย เขียน:

๔. ปัญญา ความรอบรู้ เข้าถึงความจริง รู้จักคิดพิจารณาแก้ไขปัญหา และดำเนินการจัดการต่างๆ ให้สำเร็จ


ปัญญา ที่พระพุทธองค์บัญญัติขึ้นมามีลักษณะของการได้รู้เห็นสภาพธรรมไปตามความเป็นจริง
ไอ้ที่กรัชกายเอามามั่วเขาไม่เรียกปัญญา แต่เป็นลักษณะของการจำได้หมายรู้ มันเป็นเรื่องของคุณภาพทางสมอง
มันไม่ได้เกี่ยวกับทางธรรมหรือคำสอนของพระพุทธองค์เลยสักนิด

กรัชกาย เขียน:

๕. วิริยะ ความเพียรแกล้วกล้า บากบั่นทำการ ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่


เอาไงแน่ เอาสักอย่างเถอะ พูดเรื่อยเปื่อยเหมือนคนบ้าน้ำลาย
มันมีด้วยหรือความเพียรแกล้วกล้า มั่วไม่บันยะบันยัง

ไอ้ความเพียรแกล้วกล้าที่เอามามั่วเป็นวิริยะนั้นนะ
แท้จริงแล้ว มันเป็นแค่ความเพียร ซึ่งมันมีความหมายว่า ความเป็นสัมมัปปธาน
ส่วนวิริยะ คือ อิทธิบาท
แกล้วกล้วคือขันติ
ความบากบั่นคือ ฉันทะ(อิทธิบาท)
ไม่ทอดทิ้งคือ จิตตะ((อิทธิบาท

ทั้งหมดทั้งมวลกรัชกายเอามามั่วเป็นวิริยะคำเดียว...ไม่ไหวจะเคลียร์

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/