ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ศีล สำหรับประชาชน http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52396 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 3 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 14 พ.ค. 2016, 08:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | ศีล สำหรับประชาชน |
จากหนังสือพุทธธรรมหน้า ๗๑๙ (ลัดๆตัดออกบ้าง) http://upic.me/i/ce/bdh2555web.jpg |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 14 พ.ค. 2016, 08:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
ความเข้าใจพื้นฐาน ศีล ที่จะเน้นหลักความประพฤติในระดับของประชาชน หรือชาวบ้านทั่วไป เห็นควรย้ำหลักกว้างๆ ที่ควรรู้ตระหนักไว้ อันจะช่วยให้ประพฤติปฏิบัติศีลในทุกระดับได้ถูกต้อง ตรงตามความมุ่งหมาย เป็นธรรมานุธรรมปฏิบัติ ผู้ประพฤติปฏิบัติรักษาเรื่องศีลนั้น ตั้งแต่เริ่มแรก ควรมองเห็นความหมายของศีลที่ตนรักษาปฏิบัติโล่งสว่างพร้อมทั้งตระหนักรู้ถึงความมุ่งหมายของการปฏิบัติ และมองเห็นศีลที่ตนรักษานั้นในระบบการศึกษา หรือระบบการฝึกอบรมพัฒนาชีวิตว่า ความงอกงามด้วยศีลนั้น สัมพันธ์กับการพัฒนาจิตใจ และความเจริญปัญญาเกื้อหนุนสมาธิ และญาณทัศนะ จะพาให้ปราศปัญหาปลอดทุกข์ ประสบผลที่เป็นประโยชน์สุขอย่างไรๆ ศีลจำเป็นสำหรับชีวิต และสังคมที่ดีงามมีความสุขอย่างไร ดังที่ทราบกันดีว่า มรรค ที่เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ นั้น คือ รวมข้อปฏิบัติทั้งหมดในพระพุทธศาสนา และองค์ ๘ ของมรรคนั้น ก็จัดได้เป็น ๓ ขันธ์ คือ ๓ หมวด ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา ในเวลาจะฝึกปฏิบัติกันจริงจัง ก็ฝึกก็ศึกษากันใน ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่แหละ โดยจัดเป็นระบบการศึกษาที่เรียกว่า ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา อธิจิตตสิกขา และ อธิปัญญาสิกขา เรียกง่ายๆ ก็ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา อีกนั่นแหละ เป็นอันว่า การปฏิบัติ การฝึก การหัด การพัฒนาคน การดำเนินชีวิตที่ดีงาม ตลอดจนปฏิปทาที่จะให้ถึงนิพพาน ทั้งหมดทั้งสิ้น ก็อยู่ใน ๓ หมวดแห่ง ศีล สมาธิ ปัญญา ที่มาจากมรรคมีองค์ ๘ นั่นเอง เมื่อจับหลักนี้ไว้ได้แล้ว เมื่อพูดถึงศีล ก็บอกว่า ศีลที่แท้ ที่จริง ที่ครบ ก็คือศีลทีมาจากมรรคมีองค์ ๘ นั้น คือ ศีลที่เป็นองค์ของมรรค และตามพุทธพจน์ที่ยกมาให้ดู ก็เห็นชัดแล้วว่า องค์มรรคที่เป็นหมวดศีล ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ นี้คือ ศีลที่จริง ทีแท้ ที่ครบบริบูรณ์ พุทธพจน์ข้างต้นนั้น แสดงความหมายของสัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ แต่ละอย่างแยกแยะแบ่งข้อย่อยออกไป ทำให้เห็นได้ว่า สาระสำคัญของศีล คืออะไร ศีลที่เป็นองค์มรรค หรือ ศีลที่จำเป็นจริงๆ สำหรับชีวิตที่ดีงามมีขอบเขตแค่ไหนเพียงไร ผู้รู้แต่โบราณนับข้อย่อยของศีลในองค์มรรคนี้ ที่แยกย่อยออกไปว่ามี ๘ ข้อ แล้วตั้งชื่อเรียกไว้ว่า อาชีวัฏฐมกศีล แปลว่า ศีลมีอาชีวะเป็นที่ ๘ ตัวศีลจริงๆ แท้ๆ มีเท่านี้ ต่อจากนี้ ก็แบ่งซอยย่อยต่อออกไป เช่น เมื่อจะจัดการฝึกการศึกษาแก่คน พวกไหน กลุ่มใด ที่ควรมีสภาพความเป็นอยู่อย่างไร เพื่อความมุ่งหมายจะไปถึงไหน จะเน้นหนักด้านใด หรือ แม้แต่จะเตรียมวางฐานปูพื้นในการพัฒนาคนขึ้นมาเป็นขั้นๆ อย่างไร ก็แยกย่อยเป็นรายละเอียดออกไป เป็นศีลพระ ศีลสามเณร ศีลชาวบ้าน เป็นต้น ตลอดจนทำให้เป็นระบบการจัดตั้งจัดการทางสังคมขึ้นมาชัดเจนเพื่อให้ได้ผล เป็นจริงอย่างแน่ใจ เรียกว่า วินัย โดยมีการควบคุม ดำเนินการต่างๆ ปรับโทษ ลงโทษแก่ผู้ละเมิด เป็นต้น |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 15 พ.ค. 2016, 17:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
เมื่อแยกแยะความหมายให้เข้าใจดีเป็นฐานไว้แล้ว ก็สามารถพูดถึงศีล ในความหมายแบบหลวมๆ สบายๆ เป็นขั้นๆ แง่ๆ ได้ต่างๆ เช่นว่า ศีล เป็นระเบียบวินัย เพื่อสร้างสังคมที่เรียบร้อย ไม่เบียดเบียนกัน อยู่ร่วมกันด้วยความสงบสุข เป็นสภาพเกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิต และปฏิบัติกิจของสมาชิกทั้งหลาย ศีล เป็นเครื่องมือควบคุมความประพฤติ ทำให้กายวาจาเรียบร้อยงดงามอยู่ในระเบียบ ศีล เป็นความประพฤติที่ดีงามเกื้อกูลของบุคคล ในการสัมพันธ์กับผู้อื่นและต่อสิ่งแวดล้อม อันทำให้เกิดผลดีแก่ชีวิตของตัวเขาและแก่คนอื่นทั้งหลายตลอดทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม ศีล เป็นข้อปฏิบัติสำหรับกำจัดกิเลสขั้นหยาบ ที่แสดงออกทางกายวาจา ขัดเกลาคนให้ประณีตขึ้น ศีล เป็นข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมกาย วาจา และอาชีวะ ให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะเป็นพื้นฐานของการพัฒนาในระดับสมาธิ เพื่อเสริมสร้างคุณภาพจิตและช่วยให้จิต มีสมรรถภาพ ที่จะใช้อย่างได้ผล ศีล เป็นสภาพปกติทางกายวาจา และอาชีวะ ของผู้ที่มีชีวิตดีงาม หรือคนที่ได้รับการฝึกอบรมดี มีการศึกษาแท้จริง บรรลุภูมิธรรมอันสูงแล้ว - สาระของศีลอยู่ที่ เจตนา ได้แก่ การไม่ตั้งใจ ไม่คิดล่วงละเมิด คำว่า ละเมิด แง่หนึ่งคือ ละเมิดระเบียบ กฎเกณฑ์ บทบัญญัติ ละเมิดวินัยที่ วางกันไว้ อีกแง่หนึ่ง คือ ละเมิดต่อผู้อื่น หมายถึงเจตนา ที่จะเบียดเบียนผู้อื่นนั่นเอง ศีลจึงหมายถึงการไม่เจตนาละเมิดระเบียบวินัย หรือ การไม่เจตนาล่วงเกินเบียดเบียนผู้อื่น ถ้ามองแต่อาการหรือการกระทำ ศีลก็คือ ความไม่ละเมิด และการไม่เบียดเบียน มองอีกด้านหนึ่ง ศีลอยู่ที่ความสำรวม กล่าวคือ การ สำรวมระวัง คอยปิดกั้นหลีกเว้นไม่ให้ความชั่วเกิดขึ้นนั่นเอง เป็นศีล และถ้ามองลึกที่สุด สภาพจิตของผู้ไม่คิดจะละเมิด ไม่คิดจะเบียดเบียนใครนั่นแหละ คือตัวศีล |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 16 พ.ค. 2016, 07:57 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
เจตนา..ไม่เจตนา...นี้.. มันสำคัญตรง...ตัวเองจะเห็นรึเปล่า.. พูดบิดเบือน...ใส่ร้ายป้ายสี...หวังให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี...ล้วนก็คิดว่าตัวเองเจตนาดีทั้งน่าน คำว่า..เจตนาดี..ไม่ดี..นี้ก็หนึ่ง..ที่ต้องพิจารณา คำว่า..ไม่เจตนา..นี้ก็หนึ่ง..ที่ต้องพิจารณา พิจารณาอะไร?..อย่างไร?.. พิจารณาอะไร? พิจารณาว่า...ไอ้ที่ตนคิดพูดทำ..ลงไปนั้น..เหตุต้นที่จะลงมือกระทำไปนั้น...มาจากอะไรเป็นมูล... ถ้ามาจาก..โทสะ..โมหะ..โลภะ...เป็นมูลเหตุ...ผลคือเจตนา..ก็ชื่อว่าเจตนาไม่ดีแล้ว... เจตนาดี..รึไม่ดี..จึงไม่ไช่การใช้ระดับ..ความคิด..มาตัดสิน..เพราะระดับความคิดยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอคติอยู่.. พิจารณาอย่างไร..จึงจะรู้ว่า..สิ่งที่จะพูดจะทำนั้นๆมีมูลเหตุจาก..โทสะ..โมหะ...โลภะ? สติ...สำคัญ ต้องมีสติ..สติที่คมชัดจริงๆ..นี้ต้องฝึก..ต้องทำบ่อยๆ... |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 08:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
กบนอกกะลา เขียน: เจตนา..ไม่เจตนา...นี้.. มันสำคัญตรง...ตัวเองจะเห็นรึเปล่า.. พูดบิดเบือน...ใส่ร้ายป้ายสี...หวังให้เกิดมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดี...ล้วนก็คิดว่าตัวเองเจตนาดีทั้งน่าน คำว่า..เจตนาดี..ไม่ดี..นี้ก็หนึ่ง..ที่ต้องพิจารณา คำว่า..ไม่เจตนา..นี้ก็หนึ่ง..ที่ต้องพิจารณา พิจารณาอะไร?..อย่างไร?.. พิจารณาอะไร? พิจารณาว่า...ไอ้ที่ตนคิดพูดทำ..ลงไปนั้น..เหตุต้นที่จะลงมือกระทำไปนั้น...มาจากอะไรเป็นมูล... ถ้ามาจาก..โทสะ..โมหะ..โลภะ...เป็นมูลเหตุ...ผลคือเจตนา..ก็ชื่อว่าเจตนาไม่ดีแล้ว... เจตนาดี..รึไม่ดี..จึงไม่ไช่การใช้ระดับ..ความคิด..มาตัดสิน..เพราะระดับความคิดยังตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอคติอยู่.. พิจารณาอย่างไร..จึงจะรู้ว่า..สิ่งที่จะพูดจะทำนั้นๆมีมูลเหตุจาก..โทสะ..โมหะ...โลภะ? สติ...สำคัญ ต้องมีสติ..สติที่คมชัดจริงๆ..นี้ต้องฝึก..ต้องทำบ่อยๆ... คิกๆๆ นำมาให้ดู ฝึกยังไงหรอ สตินะ ว่ามาสิ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 09:03 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
อ้างคำพูด: กบนอกกะลา เจตนา..ไม่เจตนา...นี้.. มันสำคัญตรง...ตัวเองจะเห็นรึเปล่า. กบประจำบอร์ดนี้มานานหลายแล้ว ยังไม่เข้าใจหลักธรรมหลักอะไรเลยแม้สักตัวเดียว ฟุ้งซ่านไปเรื่อย วาดภาพเอาเหมือนคนเมากัญชา ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 09:05 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 09:07 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
พุทธธรรมหน้า ๗๒๙ ศีลเพื่อความดีงามของชีวิต และสังคม หมวด ๓: ปกแผ่ทิศทั้ง ๖ - ทิศ ๖ ปฏิบัติหน้าที่ต่อบุคคลที่สัมพันธ์กับตนให้ถูกต้องตามฐานะทั้ง ๖ คือ ๑. ก. บุตรธิดา บำรุงมารดาบิดาผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหน้า โดย ๑) ท่านเลี้ยงเรามาแล้ว เลี้ยงท่านตอบ ๒) ช่วยทำกิจธุระการงานของท่าน ๓) ดำรงวงศ์สกุล ๔) ประพฤติตนให้เหมาะสมกับความเป็นทายาท ๕) เมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว ทำบุญอุทิศให้ท่าน ข. มารดาบิดา อนุเคราะห์บุตรธิดา ดังนี้ ๑) ห้ามกันจากความชั่ว ๒) ฝึกอบรมให้ตั้งอยู่ในความดี ๓) ให้ศึกษาศิลปวิทยา ๔) เป็นธุระในการมีคู่ครองที่สมควร ๕) มอบทรัพย์สมบัติให้เมื่อถึงโอกาส ๒. ก. ศิษย์ บำรุงครูอาจารย์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องขวา โดย ๑) ลุกรับ แสดงความเคารพ ๒) เข้าไปหา (เช่น ช่วยรับใช้ ปรึกษาซักถาม รับคำแนะนำ) ๓) ตั้งใจฟังและรู้จักฟัง ๔) ปรนนิบัติ ช่วยบริการ ๕) เรียนศิลปวิทยาโดยเคารพ เอาจริงเอาจัง ถือเป็นกิจสำคัญ ข. ครูอาจารย์ อนุเคราะห์ศิษย์ ดังนี้ ๑) แนะนำฝึกอบรมให้เป็นคนดี ๒) สอนให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ๓) สอนศิลปวิทยาให้สิ้นเชิง ๔) ยกย่องให้ปรากฏในหมู่พวก ๕) สร้างเครื่องคุ้มภัยในสารทิศ (สอนให้เอาไปใช้งานเลี้ยงชีพได้จริง) ๓. ก. สามี บำรุงภรรยา ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องหลัง โดย ๑) ยกย่องให้เกียรติสมฐานะภรรยา ๒) ไม่ดูหมิ่น ๓) ไม่นอกใจ ๔) มอบความเป็นใหญ่ในงานบ้าน ๕) หาเครื่องแต่งตัวมาให้เป็นของขวัญตามโอกาส ข. ภรรยา อนุเคราะห์สามี ดังนี้ ๑) จัดงานบ้านให้เรียบร้อย ๒) สงเคราะห์ญาติมิตรทั้งสองฝ่ายด้วยดี ๓) ไม่นอกใจ ๔) รักษาทรัพย์สมบัติที่หามาได้ ๕) ขยันช่างจัดช่างทำเอางานทุกอย่าง ๔. ก. บำรุงมิตรสหาย ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องซ้าย โดย ๑) เผื่อแผ่แบ่งปัน ๒) พูดอย่างรักกัน ๓) ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ๔) มีตนเสมอ ร่วมสุขร่วมทุกข์กัน ๕) ซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน ข. มิตรสหาย อนุเคราะห์ตอบ ดังนี้ ๑) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาป้องกัน ๒) เมื่อเพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์สมบัติของเพื่อน ๓) ในคราวมีภัย เป็นที่พึ่งได้ ๔) ไม่ละทิ้งในยามทุกข์ยาก ๕) นับถือตลอดวงศ์ญาติของมิตร ๕. ก. นาย บำรุงคนรับใช้และคนงาน ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องล่าง โดย ๑) จัดงานให้ทำตามความเหมาะสมกับกำลังเพศวัยและความสามารถ ๒) ให้ค่าจ้างรางวัลสมควรแก่งานและความเป็นอยู่ ๓) จัดสวัสดิการดี มีช่วยรักษาพยาบาลในยามเจ็บไข้ เป็นต้น ๔) มีอะไรได้พิเศษมา ก็แบ่งปันให้ ๕) ให้มีวันหยุดและพักผ่อนหย่อนใจตามโอกาส ข. คนรับใช้และคนงาน อนุเคราะห์นาย ดังนี้ ๑) เริ่มทำงานก่อน ๒) เลิกงานทีหลัง ๓) เอาแต่ของที่นายให้ ๔) ทำการงานให้เรียบร้อยและดียิ่งขึ้น ๕) นำความดีของนายงานและกิจการไปเผยแพร่ ๖. ก. คฤหัสถ์ บำรุงพระสงฆ์ ผู้เป็นเหมือนทิศเบื้องบน โดย ๑) จะทำสิ่งใด ก็ทำด้วยเมตตา ๒) จะพูดสิ่งใด ก็พูดด้วยเมตตา ๓) คิดสิ่งใด ก็คิดด้วยเมตตา ๔) ต้อนรับด้วยความเต็มใจ ๕) อุปถัมภ์ ด้วยปัจจัย ๔ ข. พระสงฆ์ ย่อมอนุเคราะห์คฤหัสถ์ ดังนี้ ๑) ห้ามปรามสอนให้เว้นจากความชั่ว ๒) แนะนำสั่งสอนให้ตั้งอยู่ในความดี ๓) อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจงาม ๔) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ยังไม่เคยรู้ไม่เคยฟัง ๕) ชี้แจงอธิบายสิ่งที่เคยฟังแล้วให้เข้าใจแจ่มแจ้ง ๖) บอกทางสวรรค์ให้ (สอนวิธีดำเนินชีวิตให้ประสบความสุข) สังคหวัตถุ ๔: บำเพ็ญหลักการสงเคราะห์ เพื่อยึดเหนี่ยวใจคนและประสานสังคม ๔ ประการ คือ ๑. ทาน - เผื่อแผ่แบ่งปัน ๒ ปิยวาจา - พูดอย่างรักกัน ๓. อัตถจริยา - ทำประโยชน์แก่เขา ๔. สมานัตตตา - เอาตัวเข้าสมาน |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 16 พ.ค. 2016, 11:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
เอามาโพสต์...ให้คนอื่นดู.. ตัวเองก็ปฏิบัติตามด้วยนะ... ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 17:59 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
หนังสือจาริกบุญ จารึกธรรม หน้า ๔๒ (ตัดๆเอาแต่สาระ) พระพุทธเจ้าทรงเคารพธรรม ทรงอธิบายว่า “ธรรม” เป็นราชาของพระองค์ และของพระเจ้าจักรพรรดิ คือ พระพุทธเจ้า และพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงเคารพธรรม ยึดธรรมเป็นหลักนำ ถือธรรมเป็นใหญ่ เป็นธรรมาธิปไตย และพร้อมกันนั้นก็ตรัสแสดง แง่ที่ต่าง ระหว่างพระพุทธเจ้า กับ พระเจ้าจักรพรรดิ พระเจ้าจักรพรรดิ จัดสรรการดูแลรักษาคุ้มครองที่เป็นธรรม แก่ประชาชนหมู่เหล่าต่างๆ (ทรงจำแนกไว้ ๘ ประเภท คือ อันโตชน ขัตติยะ อนุยนต์ พลกาย พราหมณคหบดี ชาวนิคมชนบท สมณพราหมณ์ มิคปักษี) ยังจักรให้หมุนไปโดยธรรม ซึ่งคนสัตว์ที่มุ่งร้ายใดๆ ไม่อาจทำให้หมุนกลับได้ แต่ พระพุทธเจ้า จัดสรรการดูแลรักษาคุ้มครองที่เป็นธรรม ให้แก่ กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม โดยให้รู้ว่า กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อย่างไหนควรเสพ อย่างไหนไม่ควรเสพ ยังธรรมจักรให้หมุนไปโดยธรรม ซึ่งสมณะ พราหมณ์ เทพ มาร พรหม หรือใครก็ตามในโลก ไม่อาจทำให้หมุนกลับได้ แม้ในการบรรยายความเสื่อมของสังคมมนุษย์ ซึ่งเป็นเนื้อหาส่วนที่ยึดยาวของจักกวัตติสูตร ท่านก็แสดงภาวะเสื่อมโทรมนั้นโดยชี้ถึงการที่มนุษย์ไม่ดูแลรับผิดชอบทำหน้าที่ต่อกัน เช่น ภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้ มีบุตรอายุ ๑๐ ปี เมื่อมนุษย์ มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ขวบ จักอาจมีสามี... ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลาย จักเป็นผู้ไม่ปฏิบัติชอบต่อมารดา ไม่ปฏิบัติชอบต่อบิดา ไม่ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ไม่ปฏิบัติชอบต่อพราหมณ์ ไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล อีกทั้งเขาเหล่านั้น ก็จักได้รับการยกย่องเชิดชู และได้รับการสรรเสริญ เหมือนดังที่คนผู้ปฏิบัติชอบต่อมารดา ปฏิบัติชอบต่อบิดา ปฏิบัติชอบต่อสมณะ ปฏิบัติชอบต่อพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ได้รับการยกย่องเชิดชู และได้รับการสรรเสริญ ในบัดนี้ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยำเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปนกัน เหมือนดังแพะ ไก่ สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้น ต่างก็จักผูกความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับบุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักมีความแค้นเคืองพลุ่งขึ้นมา มีความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงเสมือนนายพรานเห็นเนื้อเข้าแล้ว เกิดความอาฆาตพลุ่งขึ้น มีความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้า ฉะนั้น (ที.ปา.11/46) |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 18:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
กบนอกกะลา เขียน: เอามาโพสต์...ให้คนอื่นดู.. ตัวเองก็ปฏิบัติตามด้วยนะ... ![]() เป็นสิทธิ์ของแต่ละคนๆ ![]() |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 16 พ.ค. 2016, 20:01 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
ความหมายของศีลไม่ใช่อย่างที่กรัชกายเอามามั่ว ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 20:08 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
โฮฮับ เขียน: ความหมายของศีลไม่ใช่อย่างที่กรัชกายเอามามั่ว ![]() โฮฮับเห็นว่ายังไง ก็นำมาประกบเทียบกัน ไม่ต้องพูดให้เสียเวลา เอามาเลย ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 16 พ.ค. 2016, 20:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
กรัชกาย เขียน: กบนอกกะลา เขียน: เอามาโพสต์...ให้คนอื่นดู.. ตัวเองก็ปฏิบัติตามด้วยนะ... ![]() เป็นสิทธิ์ของแต่ละคนๆ ![]() ไม่ละอายแก่ใจ..ก็ทำไป ทำงัยได้... |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 16 พ.ค. 2016, 20:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ศีล สำหรับประชาชน |
กบนอกกะลา เขียน: กรัชกาย เขียน: กบนอกกะลา เขียน: เอามาโพสต์...ให้คนอื่นดู.. ตัวเองก็ปฏิบัติตามด้วยนะ... ![]() เป็นสิทธิ์ของแต่ละคนๆ ![]() ไม่ละอายแก่ใจ..ก็ทำไป ทำงัยได้... พูดเหมือนกรัชกายฆ่าคนตายงั้นแหละ คิกๆๆ แล้วกบล่ะทำไงบ้าง ว่ามาสิเอ้า ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 3 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |