ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ความประมาท http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52352 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 04 พ.ค. 2016, 19:06 ] |
หัวข้อกระทู้: | ความประมาท |
ความประมาท แปลว่า ความขาดสติ ความละเลย ความทอดทิ้ง ความเพิกเฉย ความเฉื่อยชา ความไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ความผัดเพี้ยน ความไม่เอาเรื่องเอาราว ความไม่ใส่ใจ ความนิ่งนอนใจ ความเรื่อยเปื่อย นี้เรียกว่า ความประมาท สิ่งที่ควรจะต้องทำ เห็นอยู่ ก็ผัดเพี้ยนไป ไว้พรุ่งนี้เถอะค่อยทำ นี่เรียกว่า ความประมาท หรือเอาแต่เพลิดเพลินมัวเมาหลงใหลในความสุข จึงละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ นี้ก็เรียกว่า ความประมาท |
เจ้าของ: | student [ 05 พ.ค. 2016, 06:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความประมาท |
ความเห็นก็จัดเป็นความประมาทด้วยครับ เห็นว่าทำบุญแล้วไม่มีผล ชาติหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ ไม่เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร ความเห็นว่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่มีผล ความเห็นว่ามีผู้คอยควบคุมความเป็นไปของสัตว์โลก ชีวิตถูกลิขิตไว้แล้ว ต้องเดินตามทางที่ถูกลิขิต การบูชาที่ขาดเหตุผลปัจจัยเกื้อหนุนด้วยความเห็นว่า จะนำความสุขสำเร็จมาให้ เช่น บูชาไฟ ฆ่าชีวิต เหล่านี้คือความประมาทในเรื่อง ทิฏฐิ ที่จะนำไปสู่มิจฉาทิฏฐิ อันยากที่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแนวความคิด หากไม่พบเจอหนทาง ก็จะมืดบอดอยู่อย่างนั้น |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 06 พ.ค. 2016, 04:51 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความประมาท |
มั่วแต่อ่านหนังสือ..แต่...ทาน..ศีล...ภาวนา..ไม่ทำให้เกิดผลตามนั้นจริง..ก็ประมาทอยู่ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 06 พ.ค. 2016, 08:33 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความประมาท |
บุญกิริยาวัตถุ ๓ ทาน ศีล ภาวนา + บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ศึกษาที่ viewtopic.php?f=1&t=52309 |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 07 พ.ค. 2016, 12:19 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความประมาท |
กรัชกาย เขียน: ความประมาท แปลว่า ความขาดสติ ความละเลย ความทอดทิ้ง ความเพิกเฉย ความเฉื่อยชา ความไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ความผัดเพี้ยน ความไม่เอาเรื่องเอาราว ความไม่ใส่ใจ ความนิ่งนอนใจ ความเรื่อยเปื่อย นี้เรียกว่า ความประมาท สิ่งที่ควรจะต้องทำ เห็นอยู่ ก็ผัดเพี้ยนไป ไว้พรุ่งนี้เถอะค่อยทำ นี่เรียกว่า ความประมาท หรือเอาแต่เพลิดเพลินมัวเมาหลงใหลในความสุข จึงละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ นี้ก็เรียกว่า ความประมาท เลอะเทอะ! เอาบัญญัติมาละเลงซะเละ เรื่องของความประมาทมันต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่า ท่านใช้กับหลักธรรมใด ไม่ใช่นึกจะแปลก็แปลมันเรื่อยเปื่อยตามใจฉัน ความไม่ประมาทท่านใช้กับหลักของ.....อิทธิบาทสี่ ก็คือ การกระาทำการงานใดจะต้องอาศัยองค์ธรรมทั้ง๔ในอิทธิบาทประกอบกอบกัน งานจึงจะสำเร็จ องค์ธรรมในอิทธิบาทมีดังนี้......... ๑. ฉันทะ ๒. วิริยะ ๓. จิตตะ...... เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป ๔. วิมังสา ฉะนั้นความไม่ประมาทก็คือ....การเอาจิตฝักไฝ่ต่องานที่กำลังกระทำ อย่าปล่อยให้ความฟุ้งซ่านมาครอบงำจนขาดสมาธิ |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 07 พ.ค. 2016, 12:25 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความประมาท |
student เขียน: ความเห็นก็จัดเป็นความประมาทด้วยครับ เห็นว่าทำบุญแล้วไม่มีผล ชาติหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ ไม่เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร ความเห็นว่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่มีผล ความเห็นว่ามีผู้คอยควบคุมความเป็นไปของสัตว์โลก ชีวิตถูกลิขิตไว้แล้ว ต้องเดินตามทางที่ถูกลิขิต การบูชาที่ขาดเหตุผลปัจจัยเกื้อหนุนด้วยความเห็นว่า จะนำความสุขสำเร็จมาให้ เช่น บูชาไฟ ฆ่าชีวิต เหล่านี้คือความประมาทในเรื่อง ทิฏฐิ ที่จะนำไปสู่มิจฉาทิฏฐิ อันยากที่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแนวความคิด หากไม่พบเจอหนทาง ก็จะมืดบอดอยู่อย่างนั้น เลอะเทอะ! มันคนละเรื่องครับ ไอ้ที่พูดมาท่านเรียกว่า....สุดโต่ง เห็นว่าทำบุญแล้วไม่มีผล......เป็นมิจฉาที่เรียกว่าอุทเฉททิฐิ ตรงข้ามถ้าใครเห็นว่าการทำบุญแล้วมีผล ....เป็นมิจฉาที่เรียกว่า สัสสตทิฐิ ที่เหลือก็นเช่นเดียวกัน |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 07 พ.ค. 2016, 20:43 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความประมาท |
โฮฮับ เขียน: กรัชกาย เขียน: ความประมาท แปลว่า ความขาดสติ ความละเลย ความทอดทิ้ง ความเพิกเฉย ความเฉื่อยชา ความไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ความผัดเพี้ยน ความไม่เอาเรื่องเอาราว ความไม่ใส่ใจ ความนิ่งนอนใจ ความเรื่อยเปื่อย นี้เรียกว่า ความประมาท สิ่งที่ควรจะต้องทำ เห็นอยู่ ก็ผัดเพี้ยนไป ไว้พรุ่งนี้เถอะค่อยทำ นี่เรียกว่า ความประมาท หรือเอาแต่เพลิดเพลินมัวเมาหลงใหลในความสุข จึงละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ นี้ก็เรียกว่า ความประมาท เลอะเทอะ! เอาบัญญัติมาละเลงซะเละ เรื่องของความประมาทมันต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่า ท่านใช้กับหลักธรรมใด ไม่ใช่นึกจะแปลก็แปลมันเรื่อยเปื่อยตามใจฉัน ความไม่ประมาทท่านใช้กับหลักของ.....อิทธิบาทสี่ ก็คือ การกระาทำการงานใดจะต้องอาศัยองค์ธรรมทั้ง๔ในอิทธิบาทประกอบกอบกัน งานจึงจะสำเร็จ องค์ธรรมในอิทธิบาทมีดังนี้......... ๑. ฉันทะ ๒. วิริยะ ๓. จิตตะ...... เอาจิตฝักใฝ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป ๔. วิมังสา ฉะนั้นความไม่ประมาทก็คือ....การเอาจิตฝักไฝ่ต่องานที่กำลังกระทำ อย่าปล่อยให้ความฟุ้งซ่านมาครอบงำจนขาดสมาธิ มาเชีย เมากัญชามาเลย เหมือนคนยุงกันไม่เจ็บ เขาแปล ความประมาท ![]() อ้างคำพูด: ความประมาท แปลว่า ความขาดสติ ความละเลย ความทอดทิ้ง ความเพิกเฉย ความเฉื่อยชา ความไม่กระตือรือร้นขวนขวาย ความผัดเพี้ยน ความไม่เอาเรื่องเอาราว ความไม่ใส่ใจ ความนิ่งนอนใจ ความเรื่อยเปื่อย นี้เรียกว่า ความประมาท สิ่งที่ควรจะต้องทำ เห็นอยู่ ก็ผัดเพี้ยนไป ไว้พรุ่งนี้เถอะค่อยทำ นี่เรียกว่า ความประมาท หรือเอาแต่เพลิดเพลินมัวเมาหลงใหลในความสุข จึงละเลย ไม่ใส่ใจ ไม่ทำในสิ่งที่ควรทำ นี้ก็เรียกว่า ความประมาท โอ้ยเหนื่อย เหมือนพูดกันคนละภาษา ![]() ![]() |
เจ้าของ: | student [ 08 พ.ค. 2016, 22:39 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความประมาท |
โฮฮับ เขียน: student เขียน: ความเห็นก็จัดเป็นความประมาทด้วยครับ เห็นว่าทำบุญแล้วไม่มีผล ชาติหน้าไม่มี ตายแล้วสูญ ไม่เห็นความไม่เที่ยงของสังขาร ความเห็นว่าฆ่าสัตว์ตัดชีวิตไม่มีผล ความเห็นว่ามีผู้คอยควบคุมความเป็นไปของสัตว์โลก ชีวิตถูกลิขิตไว้แล้ว ต้องเดินตามทางที่ถูกลิขิต การบูชาที่ขาดเหตุผลปัจจัยเกื้อหนุนด้วยความเห็นว่า จะนำความสุขสำเร็จมาให้ เช่น บูชาไฟ ฆ่าชีวิต เหล่านี้คือความประมาทในเรื่อง ทิฏฐิ ที่จะนำไปสู่มิจฉาทิฏฐิ อันยากที่จะแก้ไขหรือเปลี่ยนแนวความคิด หากไม่พบเจอหนทาง ก็จะมืดบอดอยู่อย่างนั้น เลอะเทอะ! มันคนละเรื่องครับ ไอ้ที่พูดมาท่านเรียกว่า....สุดโต่ง เห็นว่าทำบุญแล้วไม่มีผล......เป็นมิจฉาที่เรียกว่าอุทเฉททิฐิ ตรงข้ามถ้าใครเห็นว่าการทำบุญแล้วมีผล ....เป็นมิจฉาที่เรียกว่า สัสสตทิฐิ ที่เหลือก็นเช่นเดียวกัน ขึ้นอยู่กับการพิจารณาครับ ถ้าพิจารณาตามหลักปฎิจจสมุปบาท ก็เป็นสัมมาทิฏฐิครับ |
เจ้าของ: | student [ 08 พ.ค. 2016, 22:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความประมาท |
พูดอีกนัย อาสวะ4นั่นคือความประมาท |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 09 พ.ค. 2016, 11:20 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความประมาท |
"ความไม่ประมาทเป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว "ความไม่ประมาท เป็นทางไม่ตาย ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย ผู้ไม่ประมาท ย่อมไม่ตาย คนประมาทเหมือนคนตายแล้ว ฯลฯ ผู้ไม่ประมาท เพ่งพินิจฮยู่ ย่อมประสบความสุขอันไพบูลย์" “จากความมัวเมา ก็เกิดความประมาท จากความประมาท ก็เกิดความเสื่อม จากความเสื่อม ก็เกิดโทษประดัง ผู้มีภาระปกครองรัฐ จงอย่าได้ประมาทเลย" "กษัตริย์จำนวนมาก มีความประมาท ต้องสูญเสียประโยชน์ สูญเสียรัฐ แม้แต่ชาวบ้าน ประมาท ก็สูญเสียบ้าน อนาคาริกประมาท ก็สูญเสียความเป็นอนาคาริก เมื่อผู้ครองแผ่นดินประมาท โภคทรัพย์ในรัฐย่อมพินาศทั้งหมด นี่แลเรียกว่า ทุกข์ภัยของผู้ครองแผ่นดิน ความประมาทนี้ เป็นหลักอะไรไม่ได้ ผู้ครองแผ่นดินประมาทเกินขอบเขต โจรทั้งหลายก็กำจัดชนบทที่มั่งคั่งบริบูรณ์เสีย โอรสทั้งหลายก็จะไม่มีเหลือ เงินทองทรัพย์สินก็จะไม่มีเหลือ เมื่อรัฐถูกปล้น ก็จะเสื่อมจากโภคสมบัติทุกอย่าง ถึงจะเป็นขัตติยราช เมื่อโภคสมบัติย่อยยับหมดแล้ว ญาติมิตรสหายทั้งหลาย ก็ไม่นับถือในความคิดอ่าน พลช้าง พลม้า พลรถ พลราบ ทั้งหลาย ที่อาศัยเลี้ยงชีพอยู่ ก็ไม่นับถือในความคิดอ่าน |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |