ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52074
หน้า 1 จากทั้งหมด 2

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 12 มี.ค. 2016, 02:08 ]
หัวข้อกระทู้:  เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

อุปาลิสังฆเภทสูตร

ท่านพระอุบาลีทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภทดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ฯ "


พระผู้มีพระภาคทรงตอบ ดังนี้ว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่า เป็นธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ว่า ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ว่า ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่บัญญัติไว้ว่า ตถาคตบัญญัติไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่บัญญัติไว้ ๑


ภิกษุเหล่านั้นย่อมทอดทิ้งกัน แยกจากกัน ทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยก
จากกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ดูกรอุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 12 มี.ค. 2016, 02:13 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

อานันทสังฆสามัคคีสูตร

ท่านพระอานนท์ทูลถามว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่าสังฆสามัคคี สังฆสามัคคี ดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ฯ"


พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้

ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่าไม่ใช่ธรรม
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าเป็นธรรม
ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าเป็นวินัย
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ว่า ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ว่าตถาคตกล่าวไว้บอกไว้
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้บัญญัติว่า ตถาคตไม่ได้บัญญัติไว้
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่าตถาคตบัญญัติไว้



ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่ทอดทิ้งกัน ไม่แยกจากกัน ไม่ทำสังฆกรรมแยกกัน ไม่สวดปาติโมกข์แยกกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการ นี้ ดูกรอานนท์ สงฆ์ย่อมเป็นผู้พร้อมเพรียงกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ


อานนท์ : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกัน จะประสพผลอะไร พระเจ้าข้า ฯ

พระพุทธเจ้า : ดูกรอานนท์ บุคคลผู้ที่ทำสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้นจะประสพบุญอันประเสริฐ ฯ

อานนท์ : ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บุญอันประเสริฐคืออะไร พระเจ้าข้า ฯ

พระพุทธเจ้า : ดูกรอานนท์ บุคคลผู้สมานสงฆ์ผู้แตกกันแล้วให้พร้อมเพรียงกันนั้นจะบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอดกัปหนึ่ง ฯ


" ความพร้อมเพรียงแห่งสงฆ์ เป็นเหตุให้เกิดความสุข และ
บุคคลผู้อนุเคราะห์สงฆ์ผู้พร้อมเพรียงกันแล้ว ผู้ยินดีแล้วใน
ความพร้อมเพรียงกัน ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่พลาดจากธรรม
เป็นแดนเกษมจากโยคะ ย่อมบันเทิงอยู่ในสวรรค์ตลอด
กัปหนึ่ง เพราะสมานสงฆ์ให้พร้อมเพรียงกัน ฯ "

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 13 มี.ค. 2016, 04:58 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

เริ่มจะเห็นชัดขึ้นทุกวัน...

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 13 มี.ค. 2016, 05:37 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

ปฤษฎี เขียน:
อุปาลิสังฆเภทสูตร

ท่านพระอุบาลีทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภทดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ฯ "


พระผู้มีพระภาคทรงตอบ ดังนี้ว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่า เป็นธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ว่า ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ว่า ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่บัญญัติไว้ว่า ตถาคตบัญญัติไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่บัญญัติไว้ ๑


ภิกษุเหล่านั้นย่อมทอดทิ้งกัน แยกจากกัน ทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยก
จากกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ดูกรอุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ

นักท่องเที่ยวเผยภาพพระเดินขอเรี่ยไรเงินที่น้ำผุดเขาใหญ่...
รูปภาพ

http://www.posttoday.com/social/hot/421156

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 13 มี.ค. 2016, 09:39 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

ครั้งพระพุทธศาสนาเข้ามาไทยก็อันเดียวคือเถรวาท (มหานิกาย) แล้วธรรมยุตมาจากไหนล่ะ ไปค้นดูนะ :b1:

เมื่อมีสองนิกาย มหานิกาย ธรรมยุต แต่สังฆราชมีเพียงหนึ่ง (ถ้าของใครของมันสะปัญหาไม่เกิด) เรื่องนี้ศึกษาจากคดีพระพิมลธรรม

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 13 มี.ค. 2016, 21:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

มันเป็นธรรมชาติ..กรัชกาย.. :b32: :b32: :b32:

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 13 มี.ค. 2016, 21:35 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

กบนอกกะลา เขียน:
ปฤษฎี เขียน:
อุปาลิสังฆเภทสูตร

ท่านพระอุบาลีทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า สังฆเภท สังฆเภทดังนี้ สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่าไรหนอแล ฯ "


พระผู้มีพระภาคทรงตอบ ดังนี้ว่า ดูกรอุบาลี ภิกษุทั้งหลายในธรรมวินัยนี้

ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่ธรรมว่า เป็นธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นธรรมว่าไม่เป็นธรรม ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ไม่ใช่วินัยว่าเป็นวินัย ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่เป็นวินัยว่าไม่เป็นวินัย ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ว่า ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตกล่าวไว้บอกไว้ว่า ตถาคตไม่ได้กล่าวไว้ไม่ได้บอกไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่เคยประพฤติมาว่า ตถาคตเคยประพฤติมา ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตเคยประพฤติมาว่า ตถาคตไม่เคยประพฤติมา ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตไม่บัญญัติไว้ว่า ตถาคตบัญญัติไว้ ๑
ย่อมแสดงสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้ว่า ตถาคตไม่บัญญัติไว้ ๑


ภิกษุเหล่านั้นย่อมทอดทิ้งกัน แยกจากกัน ทำสังฆกรรมแยกกัน สวดปาติโมกข์แยก
จากกัน ด้วยวัตถุ ๑๐ ประการนี้ ดูกรอุบาลี สงฆ์จะเป็นผู้แตกกันด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ฯ

นักท่องเที่ยวเผยภาพพระเดินขอเรี่ยไรเงินที่น้ำผุดเขาใหญ่...
รูปภาพ

http://www.posttoday.com/social/hot/421156



พุทธบัญญัติห้ามพระภิกษุรับเงินและทอง ทั้งรับเองและให้ผู้อื่นรับ รวมทั้งยินดีเงินและทองทีเขาเก็บไว้ให้ถ้าปฏิบัติผิดจากนี้ก็ผิดพระวินัย ถ้ารู้ว่าผิดก็ควรสละแล้วปลงอาบัติ แต่ภิกษุบางรูปรู้ว่าผิดก็ยังทำ ไม่เคารพพระธรรมวินัยที่เป็นศาสดาของตน ฆารวาสก็ควรรู้สิ่งใดควรถวายสิ่งใดไม่ควรถวายแก่ภิกษุ อย่างเรื่องการถวายรถนี่ก็เหมือนกัน ไม่ควรถวาย ไม่ใช่สิ่งที่ควรสำหรับเพศบรรพชิต ยานของภิกษุมีอย่างเดียวคือรองเท้า ถวายรองเท้าจึงควร

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 13 มี.ค. 2016, 21:40 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

:b13: :b13: :b13:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 มี.ค. 2016, 13:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

กบนอกกะลา เขียน:
มันเป็นธรรมชาติ..กรัชกาย..:


ธรรมชาติยังไงอ่ะ :b1: เอาชัดๆ

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 14 มี.ค. 2016, 13:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

ปฤษฎี เขียน:
พุทธบัญญัติห้ามพระภิกษุรับเงินและทอง ทั้งรับเองและให้ผู้อื่นรับ รวมทั้งยินดีเงินและทองทีเขาเก็บไว้ให้ถ้าปฏิบัติผิดจากนี้ก็ผิดพระวินัย ถ้ารู้ว่าผิดก็ควรสละแล้วปลงอาบัติ แต่ภิกษุบางรูปรู้ว่าผิดก็ยังทำ ไม่เคารพพระธรรมวินัยที่เป็นศาสดาของตน ฆารวาสก็ควรรู้สิ่งใดควรถวายสิ่งใดไม่ควรถวายแก่ภิกษุ อย่างเรื่องการถวายรถนี่ก็เหมือนกัน ไม่ควรถวาย ไม่ใช่สิ่งที่ควรสำหรับเพศบรรพชิต ยานของภิกษุมีอย่างเดียวคือรองเท้า ถวายรองเท้าจึงควร




จะไปเหนือ ใต้ ถวายรองเท้าแล้วบอกว่าเดินไปนะขอรับท่าน คิกๆๆ

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 14 มี.ค. 2016, 16:17 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

เหนือใต้ออกตก ถ้าไม่ได้ป่วยก็ต้องเดินครับ หรือถ้ารูปใดมีฤทธิ์ จะเหาะเหิน เดินอากาศ ดำดินไปก็ได้ แต่ก็ต้องไม่ให้ชาวบ้านคฤหัสถ์เห็นครับ

เจ้าของ:  ปฤษฎี [ 14 มี.ค. 2016, 16:19 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

เรื่องยาน

ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคียี์ขี่ยานซึ่งเทียมด้วยโคตัวเมีย มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคตัวผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนจึง เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้า คงคาและแม่น้ำมหี ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปด้วยยาน รูปใดไปต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบทเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่อาพาธเสียกลางทาง และได้หลีกจากทางนั่งอยู่ ณ โคนไม้แห่งหนึ่งประชาชนพบภิกษุนั้น จึงเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปไหนขอรับ ?

ภิกษุนั้นตอบว่า อาตมาจะไปพระนครสาวัตถุ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ป. นิมนต์มา ไปด้วยกันเถิด ขอรับ.

ภิ. อาตมาไม่อาจ เพราะกำลังอาพาธ.

ป. นิมนต์มาขึ้นยานเถิด ขอรับ.

ภิ. ไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามยาน.

ภิกษุนั้นรังเกียจอยู่ ดังนั้นจึงไม่ยอมขึ้นยาน ครั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้วจึงแจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตยานแก่ภิกษุผู้อาพาธ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้คิดกันว่า ยานที่ทรงอนุญาตนั้นเทียมด้วยโคตัวเมีย หรือเทียมด้วยโคตัวผู้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้และยานที่ใช้มือลาก.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่ผาสุกอย่างแรง เพราะความกระเทือนแห่งยาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตเก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานหามมีตั่งนั่ง และเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 15 มี.ค. 2016, 05:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

ปฤษฎี เขียน:
เรื่องยาน

ก็โดยสมัยนั้นแล พระฉัพพัคคียี์ขี่ยานซึ่งเทียมด้วยโคตัวเมีย มีบุรุษเป็นสารถีบ้าง เทียมด้วยโคตัวผู้ มีสตรีเป็นสารถีบ้าง ประชาชนจึง เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า เหมือนชายหนุ่มหญิงสาวไปเล่นน้ำในแม่น้า คงคาและแม่น้ำมหี ฉะนั้น ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงบัญญัติห้ามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปด้วยยาน รูปใดไปต้องอาบัติทุกกฏ.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไปพระนครสาวัตถีในโกศลชนบทเพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แต่อาพาธเสียกลางทาง และได้หลีกจากทางนั่งอยู่ ณ โคนไม้แห่งหนึ่งประชาชนพบภิกษุนั้น จึงเรียนถามว่า พระคุณเจ้าจะไปไหนขอรับ ?

ภิกษุนั้นตอบว่า อาตมาจะไปพระนครสาวัตถุ เพื่อเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า.

ป. นิมนต์มา ไปด้วยกันเถิด ขอรับ.

ภิ. อาตมาไม่อาจ เพราะกำลังอาพาธ.

ป. นิมนต์มาขึ้นยานเถิด ขอรับ.

ภิ. ไม่ได้ เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามยาน.

ภิกษุนั้นรังเกียจอยู่ ดังนั้นจึงไม่ยอมขึ้นยาน ครั้นไปถึงพระนครสาวัตถีแล้วจึงแจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย ๆ กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายเราอนุญาตยานแก่ภิกษุผู้อาพาธ.

ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลายได้คิดกันว่า ยานที่ทรงอนุญาตนั้นเทียมด้วยโคตัวเมีย หรือเทียมด้วยโคตัวผู้ แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆทรงอนุญาตแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานที่เทียมด้วยโคตัวผู้และยานที่ใช้มือลาก.

สมัยต่อมา ภิกษุรูปหนึ่งไม่ผาสุกอย่างแรง เพราะความกระเทือนแห่งยาน ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ๆ ทรงอนุญาตเก่ภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตยานหามมีตั่งนั่ง และเปลผ้าที่เขาผูกติดกับไม้คาน.


จากห้ามเลย...พอมีเหตุ..ก็มีอนุญาตให้ภิกษุอาพาธได้

พอมีเหตุแห่งการสงสัยในหมู่ภิกษุ...ก็มีการกำหนดละเอียดขึ้นว่า..ต้องลากด้วยโคตัวผู้และลากด้วยมือ
(หากพระองค์ยังทรงอยู่..ก็อาจมีคนสงสัยว่า..ลากด้วยลา..ม้า..กระบือ...ฯลฯ..ได้มั้ย?)

พอมีเหตุ..เกิดการไม่ผาสุกเนื่องจากแรงกระเทือน...ก็กำหนดละเอียดขึ้นไปอีกว่า..ยานหามมีตั่งนั่ง..และเปลผ้าผูกใว้ที่ไม้คาน...

จะสังเกตเห็นได้ว่า...ห้ามนั่งยาน..มีการเปลี่ยนแปลงในรายละเอียดเพิ่มขึ้นได้เรื่อย ๆตามความเหมาะสม...แต่ยังอยู่ในเรื่องภิกษุอาพาธ....หากพระองค์ทรงพระชนชีพอยู่ถึงปัจจุบัน..ก็อาจมีผู้ทูลถามเหตุมากขึ้นนอกจากการอาพาธแล้วจะขึ้นยานเพื่อการอื่นได้มั้ย..เช่น..หนีภัยซึนามิ...หนีภัยแผ่นดินไหว..น้ำท่วม..ไฟไหม้...พายุ...แล้วยานก็อาจจะเพิ่มชนิดมากขึ้นจากแค่เทียมสัตว์..ยานหาม..ผูกเปลผ้า..ว่าจะเป็นรถยนต์..เรือยนต์..เครื่องบิน..ได้มั้ย...อย่างนี้เป็นต้น..

หากพระองค์มีพระชนชีพได้ยาวนาน..ก็เชื่อว่า..รายละเอียดปลีกย่อยเรื่องการห้ามยานก็คงมีมากกว่านี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ...เช่น
การหนีภัย...

รับกิจนิมนต์กี่กิโลเมตรจึงจะขึ้นยานได้..

ขับยานยนต์เองได้มั้ยเพราะลูกศิษย์วัดหายากขึ้นทุกวัน(ยานเทียมสัตว์คงไม่เหมาะแน่)...

มีชื่อเป็นเจ้าของยานเองได้มั้ย(เพราะทุกวันนี้หาคนซื่อสัตย์ยากขึ้นทุกวัน...ยานก็ซื้อมาจากเงินบริจาคหากถูกโกงไปก็เท่ากับไม่ได้รักษาศาสนสมบัตินะซิ...ว่ามั้ย :b32: )...

ในความเห็นของผม...จะเห็นว่า..อาการการนั่งยาน..ไม่ได้เป็นอุปสรรค์ในการบรรลุธรรม..(หากเป็นอุปสรรค...พระองค์คงไม่อนุญาตให้ผู้อาพาธหรอก)...แต่กิเลสความอยากสะดวกสะบายต่างหากที่เป็นอุปสรรคแห่งมรรคผล...

เจ้าของ:  Rosarin [ 21 มี.ค. 2016, 03:18 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

Kiss
เอาแบบตรงๆเปะๆนะ
พระธรรมวินัยก็เปะๆ
ต้องแบบพระศาสดาน๊า
สมบัติจักรพรรดิ์ขนาดไหน
สมบัติเก๊ๆบ้านรถที่ดินมีได้รึ
จะบวชก็ต้องทวนกระแสเพื่อ
อริยทรัพย์เชียวน๊าข้ามไม่พ้น
ตามกระแสก็ตามกิเลสอกุศล
บวชเพื่อพ้นภาระและขัดเกลา
ชาวบ้านยังขัดเกลาถึงอนาคามี
รู้ก็ยังทำถามว่าตายแล้วไปไหน
นรกสวรรค์พรหมโลกนิพพานมีจริงๆ
:b13: :b22:

เจ้าของ:  Rosarin [ 21 มี.ค. 2016, 03:51 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เหตุแห่งสังฆเภทและสังฆสามัคคี จากพระไตรปิฏก

Kiss
ถามว่าบวชแล้วไม่สละพ้นไหมยังยินดีในสมมุติในนิมิตชั่วคราวในของไม่มีแล้วต้องทุกข์อีกตายแน่ๆ
:b13:
อ้างคำพูด:
"ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความทุกข์ทั้งมวลมีมูลรากมาจากตัณหา อุปาทาน ความทะยานอยากดิ้นรน และความยึดมั่นเป็นเราเป็นของเรา รวมถึงความเพลินในอารมณ์ต่างๆ สิ่งที่เข้าไปเกาะเกี่ยวยึดถือไว้โดยความเป็นตน เป็นของตนที่จะไม่ก่อทุกข์ก่อโทษให้นั้นเป็นไม่มี หาไม่ได้ในโลกนี้ เมื่อใด บุคคลมาเห็นสักแต่ว่าเห็น ฟังสักแต่ว่าได้ฟัง รู้สึกสักแต่ว่าได้รู้ เข้าไปเกี่ยวข้องกับสิ่งต่างๆ เพียงสักว่าๆ ไม่หลงใหลพัวพันมัวเมา เมื่อนั้น จิตก็จะว่างจากความยึดถือต่างๆ ปลอดโปร่งแจ่มใสเบิกบานอยู่"

ท่องพุทโธเข้าไว้ถามว่าไฟสุมขอนลุกลามแท้แน่ๆมีเวลาเย็นไม่ถึง100ปีเย็นใจคิดว่าทำได้ ตายแน่ๆ
onion onion onion

หน้า 1 จากทั้งหมด 2 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/