ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=52032 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 มี.ค. 2016, 12:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
ภาพใหญ่เกิน ท่านเห็นภาพนี้แล้ว ว่าเป็นธรรมะหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใดมากที่สุด http://g-picture2.wunjun.com/5/full/dc1 ... ?s=640x960 http://f.ptcdn.info/589/040/000/o3f2lgn ... 5DjN-o.jpg |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 03 มี.ค. 2016, 13:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
กรัชกาย เขียน: ภาพใหญ่เกิน ท่านเห็นภาพนี้แล้ว ว่าเป็นธรรมะหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใดมากที่สุด http://g-picture2.wunjun.com/5/full/dc1 ... ?s=640x960 http://f.ptcdn.info/589/040/000/o3f2lgn ... 5DjN-o.jpg ไม่เรียกธรรมะ! แต่มันเป็นประเพณีของคนไทย ถ้ากล่าวถึงธรรมะหมายความถึง....เนื้อหาคำสอนเพื่อการพ้นทุกข์(วัฏฏสงสาร) |
เจ้าของ: | student [ 03 มี.ค. 2016, 15:50 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
กรัชกาย เขียน: ภาพใหญ่เกิน ท่านเห็นภาพนี้แล้ว ว่าเป็นธรรมะหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใดมากที่สุด http://g-picture2.wunjun.com/5/full/dc1 ... ?s=640x960 http://f.ptcdn.info/589/040/000/o3f2lgn ... 5DjN-o.jpg เป็นการแสดงความศรัทธา เป็นเรื่องราวของความศรัทธา ความศรัทธาที่น้อมจิตไปในทางที่เป็นกุศล คือการแบ่งปัน การให้ทาน |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 03 มี.ค. 2016, 18:53 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
ขอบคุณทั้งสองท่านข้างบนที่แสดงความคิดเห็น ยังมีอีก รอฟัง กบ เช่นนั้น อโศกะ ลุงหมาน ด้วย ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 04 มี.ค. 2016, 08:12 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
ไปไหนกันหมด กบ ก็ไม่เห็น ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 04 มี.ค. 2016, 08:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
ซึ่งก็น่าจะพื้นฐานของคนแต่ละชาติแต่ละภาษาด้วย https://www.youtube.com/watch?v=B_O1MsRkdos |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 04 มี.ค. 2016, 22:09 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
![]() ![]() ![]() เพราะ..คลิป..มันตลก |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 05 มี.ค. 2016, 07:49 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
กบนอกกะลา เขียน: :b32: ![]() ![]() เพราะ..คลิป..มันตลก คิกๆ ตลกยังไง คลิปไหนอ่ะ ![]() ![]() อ้อ หรือเป็นคลิปสอนลูก ไม่ใช่อันนี้ ที่ถามรูปภาพข้างต้นโน่น |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 06 มี.ค. 2016, 18:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
โฮฮับ เขียน: กรัชกาย เขียน: ภาพใหญ่เกิน ท่านเห็นภาพนี้แล้ว ว่าเป็นธรรมะหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใดมากที่สุด http://g-picture2.wunjun.com/5/full/dc1 ... ?s=640x960 http://f.ptcdn.info/589/040/000/o3f2lgn ... 5DjN-o.jpg ไม่เรียกธรรมะ! แต่มันเป็นประเพณีของคนไทย ถ้ากล่าวถึงธรรมะหมายความถึง....เนื้อหาคำสอนเพื่อการพ้นทุกข์(วัฏฏสงสาร) ธรรมะเป็นคำกลาง ที่ใช้เรียกสรรพส่ิ่งได้ทั่วไปว่า "ธรรม" ทั้งนั้น ถ้าต้องการระบุให้ชัดลงไป ท่านจำแนกออกเป็นโลกียธรรม โลกุตรธรรม กุศลธรรม อกุศลธรรม สภาวธรรม จริยธรรม บัญญัติธรรม ฯลฯ ที่โฮฮับว่าไม่ใช่ธรรมะเป็นประเพณีของคนไทย เป็นการมองพุทธศาสนาสุดโต่งมองด้านเดียวแล้วติดตัน ไปไม่รอด วัฏฏสงสาร ที่โฮฮับเข้าใจ ไม่ชัดว่าอะไร ถ้าให้คำจำกัดความได้น่าจะดี หรือตนเองก็ไม่รู้ว่าอะไร ได้แต่วัฏฏสงสารๆๆ ไป คิกๆๆ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 06 มี.ค. 2016, 18:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
student เขียน: กรัชกาย เขียน: ภาพใหญ่เกิน ท่านเห็นภาพนี้แล้ว ว่าเป็นธรรมะหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใดมากที่สุด http://g-picture2.wunjun.com/5/full/dc1 ... ?s=640x960 http://f.ptcdn.info/589/040/000/o3f2lgn ... 5DjN-o.jpg เป็นการแสดงความศรัทธา เป็นเรื่องราวของความศรัทธา ความศรัทธาที่น้อมจิตไปในทางที่เป็นกุศล คือการแบ่งปัน การให้ทาน ศรัทธาก็เป็นชื่อธรรมะตัวหนึ่ง |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 06 มี.ค. 2016, 19:05 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
ภาพเด็กที่ใส่บาตรนั่น เป็นการเริ่มต้นสัมมาทิฐิ ครอบครัวเราชาวพุทธ ควรพาบุตรหลานของตนๆไปเริ่มต้นการศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของชาวพุทธเสียแต่ยังเล็กๆ ภาพเหล่านั้นจะฝังอยู่ในจิตในใจของเค้าตราบจนวันตาย ภาษาทางธรรมท่าน เรียกว่า ปรโตโฆสะที่ดี (สภาพแวดล้อมที่ดี -ในบ้าน ในโรงเรียน ในสังคม ส่วนนี้ท่านก็จัดเป็นศีลด้วย) มีหลักเทียบ สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มต้นในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริบูรณ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง มีข้อความในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ ๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others) ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 07 มี.ค. 2016, 04:17 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
กรัชกาย เขียน: ภาพเด็กที่ใส่บาตรนั่น เป็นการเริ่มต้นสัมมาทิฐิ ครอบครัวเราชาวพุทธ ควรพาบุตรหลานของตนๆไปเริ่มต้นการศึกษาวัฒนธรรมประเพณีของชาวพุทธเสียแต่ยังเล็กๆ ภาพเหล่านั้นจะฝังอยู่ในจิตในใจของเค้าตราบจนวันตาย ภาษาทางธรรมท่าน เรียกว่า ปรโตโฆสะที่ดี (สภาพแวดล้อมที่ดี -ในบ้าน ในโรงเรียน ในสังคม ส่วนนี้ท่านก็จัดเป็นศีลด้วย) ไม่เกี่ยว! คนไทยส่วนใหญ่มักจะเอาความเป็นมิจฉาทิฐิของตน มาสอนให้เด็กใส่บาตรหรือทำบุญ นั้นก็คือ......ทำเพื่อหวังผล อาทิ ใส่บาตรแล้วจะได้ไปสวรรค์ ทำบุญแล้วจะร่ำรวย ฯลฯต่างๆเหล่านี้ ล้วนเป็นสัสสตทิฐิ มันเป็นมิจฉาทิฐิ ไม่ใช่สัมมาทิฐิ ส่วนปรโตโฆสะ ไม่ใช่ภาษาทางธรรม มันเป็นเพียงโวหารที่ใช่สื่อสารกันตามปกติ กรัชกายอย่าเข้าใจว่า บาลีทุกคำจะเป็นาษาทางธรรมทุกคำ บาลีเป็นภาษาๆหนึ่งที่ใช้กันในกลุ่ม ที่เรียกว่า ชนส่วนน้อยในอินเดีย ในทางธรรมความมีสภาพแวดล้อมที่ดี ท่านเรียกว่า ...สัมมาอาชีวะ เป็นเด็กที่ดีเมื่ออยู่บ้านก็ต้องเชื่อฟังพ่อแม่ ปฏิบัติตัวและใช้วาจาตามคำสอนของบุพการี เช่นนี้เรียกว่า สัมมากัมมัตตะและสัมมาวาจาตามลำดับ กรัชกาย เขียน: มีหลักเทียบ สัมมาทิฏฐิ เป็นองค์ประกอบสำคัญของมรรค ในฐานะที่เป็นจุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม หรือเป็นขั้นเริ่มต้นในระบบการศึกษาตามหลักการของพระพุทธศาสนา และเป็นธรรมที่ต้องพัฒนาให้บริบูรณ์ ชัดเจน เป็นอิสระมากขึ้นตามลำดับ จนกลายเป็นการตรัสรู้ในที่สุด ดังนั้น การสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง สัมมาทิฐิเป็นองค์มรรค ไม่ใช่องค์ประกอบ และก็ไม่ใช่จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรม สัมมาทิฐิเป็นผลของการปฏิบัติ จุดเริ่มต้นของการปฏิบัติธรรมต้องเป็น...การเจริญสติ กรัชกาย เขียน: มีข้อความในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ มั่วไปเรื่อย พระสูตรท่านมีไว้สอนธรรมเป็นเรื่องๆไป อ้างพระสูตรมั่วแบบนี้ท่านเรียกไม่มีโยนิโสฯ ถ้าบอกว่า ปรโตโฆสะ เป็นปัจจัยแห่งสัมมาทิฐิ ต้องไม่ลืมด้วยว่า.. ปรโตโฆสะ(การโฆษณาฯ)ก็เป็นปัจจัยแห่ง มิจฉาทิฐิเช่นกัน แท้จริงแล้วจะต้องใช้พระสูตรบทนี้........ [๔๙๗] ก. ดูกรท่านผู้มีอายุ ก็ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มีเท่าไร? สา. ธรรม ๒ ประการ คือความได้สดับแต่บุคคลอื่น ๑ ความทำในใจโดยแยบคาย ๑ เป็นปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ ธรรม ๒ ประการนี้แล เป็นปัจจัยเมื่อความเกิดขึ้นแห่ง สัมมาทิฏฐิ. ก. สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญา วิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรมเท่าไรอนุเคราะห์แล้ว? สา. สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็นผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญา วิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการ อนุเคราะห์ แล้ว คือ สัมมาทิฏฐิ อันศีลอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสุตะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันสากัจฉาอนุเคราะห์ แล้ว ๑ อันสมถะอนุเคราะห์แล้ว ๑ อันวิปัสสนาอนุเคราะห์แล้ว ๑ สัมมาทิฏฐิ มีเจโตวิมุติเป็น ผล และมีผลคือเจโตวิมุติเป็นอานิสงส์ด้วย มีปัญญาวิมุติเป็นผล และมีผลคือปัญญาวิมุติ เป็นอานิสงส์ด้วย อันองค์ธรรม ๕ ประการนี้แล อนุเคราะห์แล้ว. |
เจ้าของ: | โฮฮับ [ 07 มี.ค. 2016, 04:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
กรัชกาย เขียน: ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ ๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others) ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา จะบอกกรัชกายไว้ว่า ปรโตโฆสะ ถ้าขาดซึ่งโยนิโสฯ(ทำใจให้แยบคาย) ปรโตโฆสะก็ใช้ไม่ได้ ไอ้ปรโตโฆสะที่กรัชกายวว่า จะกลายเป็น มิจฉาทิฐิไปโดยปริยาย พูดธรรมต้องรู้จักหลักวิปัสสนา ไม่ใช่พูดเรื่อยเปื้อยแบบนี้ |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 07 มี.ค. 2016, 08:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
จับมาเรียงใหม่ ................ ความในพระไตรปิฎก แสดงหลักการสร้างเสริมสัมมาทิฏฐิไว้ ดังนี้ "ภิกษุทั้งหลาย ปัจจัยเพื่อความเกิดขึ้นแห่งสัมมาทิฏฐิ มี ๒ ประการ ดังนี้ คือ ปรโตโฆสะ และโยนิโสมนสิการ ปัจจัยแห่งสัมมาทิฏฐิ ๒ อย่าง ตามพุทธพจน์ที่ตรัสไว้นี้ คือ ๑. ปรโตโฆสะ = เสียงจากผู้อื่น การกระตุ้นหรือชักจูงจากภายนอก เช่น การสั่งสอน แนะนำ การถ่ายทอด การโฆษณา คำบอกเล่า ข่าวสาร ข้อเขียน คำชี้แจง อธิบาย การเรียนรู้จากผู้อื่น ในที่นี้ หมายเอาเฉพาะส่วนที่ดีงามถูกต้อง เฉพาะอย่างยิ่งการรับฟังธรรม ความรู้ หรือคำแนะนำจากบุคคลที่เป็นกัลยาณมิตร (hearing or learning from others; inducement by others) ข้อแรกนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายนอก ได้แก่ ปัจจัยทางสังคม อาจเรียกง่ายว่า วิธีการแห่งศรัทธา ๒. โยนิโสมนสิการ = การทำในใจโดยแยบคาย = การใช้ความคิดถูกวิธี ความรู้จักคิด คิดเป็น หรือคิดอย่างมีระเบียบ หมายถึง การรู้จักมอง รู้จักพิจารณาสิ่งทั้งหลาย โดยมองตรงตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน และโดยวิธีคิดหาเหตุผล สืบค้นถึงต้นเค้า สืบสาวให้ตลอดสาย แยกแยะสิ่งนั้นๆ หรือปัญหานั้นๆ ออก ให้เห็นตามสภาวะ และตามความสัมพันธ์สืบทอดแห่งเหตุปัจจัย โดยไม่เอาความรู้สึกด้วยตัณหาอุปาทานของตนเข้าจับ (analytical reflection; reasoned or systematic attention) ข้อสองนี้ เป็นองค์ประกอบฝ่ายภายใน ได้แก่ ปัจจัยในตัวบุคคล อาจเรียกง่ายๆว่า วิธีการแห่งปัญญา |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 07 มี.ค. 2016, 08:46 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ภาพนี้ เป็นหรือใกล้เคียงกับธรรมะข้อใด ? |
นำมาให้ดูนิดหน่อย เอามามากโฮฮับฮงไม่ได้ผุดได้เกิดเชีย คิกๆๆ ![]() ส่วนปัจจัยให้เกิดมิจฉาทิฏฐิ ก็มี ๒ ตรงข้ามจากนี้ คือ ปรโตโฆสะที่ไม่ถูกต้อง และอโยนิโสมนสิการ (อง.ทสก.24/93/201) |
หน้า 1 จากทั้งหมด 2 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |