ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=51637 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 3 |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 22 ธ.ค. 2015, 09:47 ] | ||
หัวข้อกระทู้: | เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต | ||
ในภาพ เป็นข้ออุปมา เจโตวิมุต กับ ปัญญาวิมุต ทั้งสองอย่างมีความหมายว่าหลุดพ้นเหมือนกัน แต่ยังมีข้อแตกต่างกันอยู่มาก ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจให้ท่องแท้
|
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 23 ธ.ค. 2015, 07:52 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
ผู้ที่เจริญสมาธิจนได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เป็นผู้ที่พ้นแล้ว จากกามราคะ จากนิวรณ์ ๕ อำนาจของฌานเหล่านี้ย่อมส่งผลให้ไปเกิดในรูปพรหม อย่างแน่นอน แต่การหลุดจากกามราคะ และนิวรณ์ ๕ เหล่านี้เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เหมือนกับการที่บุคคลได้หนีขึ้นไปบนต้นไม้ สุนัขที่ตามไล่ล่าก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ สุนัขเปรียบเหมือนกิเลสตัณหาที่ยังคอยจ้องอยู่ เมื่อผู้นั้นลงจากต้นไม้เมื่อไหร่กิเลสตัณหา ก็เข้าครอบงำทันที หรือลงมาเมื่อไหร่หมากัดทันที และผู้ที่เจริญอรูปฌาน ๔ ก็หมายความว่า ได้พ้นแล้วจากรูปขันธ์ สิ่งเหล่านี้พ้นแล้วด้วยเจโตวิมุต ปัญญาวิมุต เป็นผู้เจริญวิปัสสนาเพื่อประหารกิเลสด้วยมรรค ให้หมดสิ้นไปจนไม่กลับมาเกิดอีก ก็ได้แก่พระนิพพานนั่นเอง บุคคลที่เจริญวิปัสสนาเหล่านี้เป็นคนที่สู้กับกิเลสไม่ได้หนีกิเลส การที่ยกภาพข้างบนมาให้ดูเพื่อจะเข้าใจกันง่ายๆขึ้นและก็อธิบายกันแบบบ้านๆ ถ้าใช้ภาษาธรรม อาจจะเข้าใจยากก็ได้ เจโตวิมุต กับ ปัญญาวิมุต จึงเห็นความแตกต่างกันตรงนี้ |
เจ้าของ: | student [ 25 ธ.ค. 2015, 03:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
อนุโมทนาครับ |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 27 ธ.ค. 2015, 08:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
ผู้ที่เจริญสมาธิจนได้ฌานอภิญญาจะไม่สามารถบรรลุเป็นพระอริยะบุคคลได้ ยกเว้นเสียแต่่จะต้องออกจากฌานมาเจริญวิปัสสนาจึงจะได้มรรคผล ทำไมจึงกล้าพูดอย่างนั้นเพราะการทำฌานนั้น ไปละองค์มรรคที่มีบทบาทสำคัญ ในการที่จะไปทำการประชุมองค์มรรค ๘ ผู้เจริญฌานจึงมีแค่องค์มรรค ๗ เท่านั้น เพราะเขาละเอาสัมมาสังกัปปะออกเสีย ฉะนั้นการเจริญสมาธิจึงเป็นการเสียเวลาถ้าคิดจะบรรลุธรรม |
เจ้าของ: | walaiporn [ 27 ธ.ค. 2015, 11:00 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
ลุงหมาน เขียน: ผู้ที่เจริญสมาธิจนได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เป็นผู้ที่พ้นแล้ว จากกามราคะ จากนิวรณ์ ๕ อำนาจของฌานเหล่านี้ย่อมส่งผลให้ไปเกิดในรูปพรหม อย่างแน่นอน แต่การหลุดจากกามราคะ และนิวรณ์ ๕ เหล่านี้เป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เหมือนกับการที่บุคคลได้หนีขึ้นไปบนต้นไม้ สุนัขที่ตามไล่ล่าก็ไม่สามารถที่จะทำอะไรได้ สุนัขเปรียบเหมือนกิเลสตัณหาที่ยังคอยจ้องอยู่ เมื่อผู้นั้นลงจากต้นไม้เมื่อไหร่กิเลสตัณหา ก็เข้าครอบงำทันที หรือลงมาเมื่อไหร่หมากัดทันที และผู้ที่เจริญอรูปฌาน ๔ ก็หมายความว่า ได้พ้นแล้วจากรูปขันธ์ สิ่งเหล่านี้พ้นแล้วด้วยเจโตวิมุต ปัญญาวิมุต เป็นผู้เจริญวิปัสสนาเพื่อประหารกิเลสด้วยมรรค ให้หมดสิ้นไปจนไม่กลับมาเกิดอีก ก็ได้แก่พระนิพพานนั่นเอง บุคคลที่เจริญวิปัสสนาเหล่านี้เป็นคนที่สู้กับกิเลสไม่ได้หนีกิเลส การที่ยกภาพข้างบนมาให้ดูเพื่อจะเข้าใจกันง่ายๆขึ้นและก็อธิบายกันแบบบ้านๆ ถ้าใช้ภาษาธรรม อาจจะเข้าใจยากก็ได้ เจโตวิมุต กับ ปัญญาวิมุต จึงเห็นความแตกต่างกันตรงนี้ หมั่นศึกษาพระธรรมคำสอน ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสไว้ เกี่ยวกับ คำเรียกต่างๆ ที่ยังมีร่องรอยเหลือให้เห็น ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกบ้างนะ ลุงหมาน เขียน: ผู้ที่เจริญสมาธิจนได้ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน เป็นผู้ที่พ้นแล้ว จากกามราคะ จากนิวรณ์ ๕ อำนาจของฌานเหล่านี้ย่อมส่งผลให้ไปเกิดในรูปพรหม อย่างแน่นอน สมาธิมีสองชนิด สัมมาสมาธิกับมิจฉาสมาธิ จะเกิดในรูปพรหมหรือไม่ ขึ้นอยู่กับเหตุและปัจจัยของผู้นั้น เจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ ตามพระธรรมคำสอน [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติ ฯ http://www.84000.org/tipitaka/read/v.ph ... agebreak=0 ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน http://etipitaka.com/read/thai/24/119/ |
เจ้าของ: | walaiporn [ 27 ธ.ค. 2015, 11:02 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
ลุงหมาน เขียน: ผู้ที่เจริญสมาธิจนได้ฌานอภิญญาจะไม่สามารถบรรลุเป็นพระอริยะบุคคลได้ ยกเว้นเสียแต่่จะต้องออกจากฌานมาเจริญวิปัสสนาจึงจะได้มรรคผล ทำไมจึงกล้าพูดอย่างนั้นเพราะการทำฌานนั้น ไปละองค์มรรคที่มีบทบาทสำคัญ ในการที่จะไปทำการประชุมองค์มรรค ๘ ผู้เจริญฌานจึงมีแค่องค์มรรค ๗ เท่านั้น เพราะเขาละเอาสัมมาสังกัปปะออกเสีย ฉะนั้นการเจริญสมาธิจึงเป็นการเสียเวลาถ้าคิดจะบรรลุธรรม ดูกรอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายอย่าประมาณในบุคคลและอย่าได้ถือประมาณในบุคคล เพราะผู้ถือประมาณในบุคคล ย่อมทำลายคุณวิเศษของตน http://etipitaka.com/read/thai/24/119/ |
เจ้าของ: | asoka [ 28 ธ.ค. 2015, 01:24 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
![]() ผมเอาไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อในกระทู้เครื่องชี้วัดความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม ว่าอย่างนี้นะครับลุงหมาน ไม่ทราบว่าพอใช้ได้ไหมครับ? ![]() อ้างคำพูด: เรื่องของเจโตวิมุติ ลุงหมานได้กรุณานำภาพ พรานหนีหมามาให้ดูแล้วคงเห็นกันทั่วนะครับ หมาไม่ตายเฝ้าคอยจังหวะที่จะขยำนายพรานอยูตลอดเวลาถ้านายพรานเผลอจึงเป็นเรื่องที่ต้องเหนื่อยและระวังอยู่ตลอดเวลา แต่ถ้านายพรานทนได้มีสะเบียงกรังเพียงพอในที่สุดเอาชนะหมาได้ หมาก็จะจากไปหรือตายเพราะความหิวหมดภาระได้เหมือนกัน ส่วนเรื่องของปัญญาวิมุติ อันเปรียบเหมืนนายพรานฆ่าหมาตายเสียด้วยลูกศรแห่งปัญญานั้น นายพรานเสียแรงเสียเวลาน้อยและไม่ต้องคอยหวาดระแวงระวังหมาอีกต่อไป ใช้ชีวิตได้อย่างสบายเบาสิ้นกังวล นี่เป็นสำนวนและความหมายของเจโตวิมุติและปัญญาวิมุตของหลุงหมาน แต่สำนวนที่อโศกะจะนำมาเล่าสู่กันฟังนั้นเป็นอีกนัยยะหนึ่งพึงลองอ่าน ฟัง ดูเป็นธรรมทัศนะนะครับ ![]() ![]() ![]() ![]() เจโตวิมุต คือการเจริญสติสมาธิให้มีกำลังมากจนสามารถกำหราบ สยบ กิเลส ตัณหา อัตตา มานะทิฏฐิต่างๆให้ฝ่อตาย ท่านทั้งหลายที่เจริญแนวนี้จะใช้สติระวังที่ผัสสะ (สมุทัยตายด้วยพลังสติสมาธิ)ออกแรงมาก ลงทุนลงแรงและเวลาเยอะ เหนื่อยหนัก แต่ได้ความแข็งแรง ได้พลังทางใจทางกายเยอะ มีของแถมมาก ปัญญาวิมุติ คือการเจริญปัญญา ตามรู้ตามสังเกตปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ โดยมีสติสมาธิเป็นกองหนุนจนรู้ทันเหตุทันผลของความเกิดขึ้นดับไปของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆตามความเป็นจริง แล้วถอนเหตุ หรือเหตุเกิดของอารมณ์ ความรู้สึกสลายไปด้วยตัวของมันเอง (สมุทัยสลายตัวด้วยปัญญาพ้นความหลงเห็นผิดยึดผิด)ออกแรงน้อย ลงทุนลงแรงน้อย เรียบง่าย แต่ไม่ค่อยมีของแถม ![]() |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 28 ธ.ค. 2015, 07:34 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
อ้างคำพูด: เจโตวิมุต คือการเจริญสติสมาธิให้มีกำลังมากจนสามารถกำหราบ สยบ กิเลส ตัณหา อัตตา มานะทิฏฐิต่างๆให้ฝ่อตาย ท่านทั้งหลายที่เจริญแนวนี้จะใช้สติระวังที่ผัสสะ (สมุทัยตายด้วยพลังสติสมาธิ)ออกแรงมาก ลงทุนลงแรงและเวลาเยอะ เหนื่อยหนัก แต่ได้ความแข็งแรง ได้พลังทางใจทางกายเยอะ มีของแถมมาก ปัญญาวิมุติ คือการเจริญปัญญา ตามรู้ตามสังเกตปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ โดยมีสติสมาธิเป็นกองหนุนจนรู้ทันเหตุทันผลของความเกิดขึ้นดับไปของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆตามความเป็นจริง แล้วถอนเหตุ หรือเหตุเกิดของอารมณ์ ความรู้สึกสลายไปด้วยตัวของมันเอง (สมุทัยสลายตัวด้วยปัญญาพ้นความหลงเห็นผิดยึดผิด)ออกแรงน้อย ลงทุนลงแรงน้อย เรียบง่าย แต่ไม่ค่อยมีของแถม เอาอย่างนี้อธิบายให้เข้าใจง่ายๆอีกที เจโตวิมุต แปลว่า การหลุดพ้นทางใจ ก็หมายถึงการหลุดพ้น จากกามราคะ จากนิวรณ์ ๕ หรือหลุดพ้นจากรูป (อรูปพรหม) ซึ่งเป็นการหลุดพ้นได้ชั่วคราวตามอำนาจของสมาฺธิ ที่มีกำลังของฌานที่ทำหน้าที่อยู่ เมื่อภาระหน้าที่ของสมาธิเสื่อมถอยลงกามราคะนิวรณ์ ๕ ก็เข้าครอบงำได้อีกมันจึงวนเวียน เวียนตาย เวียนเกิดอยู่เช่นนี้ตลอดกาล ปัญญาวิมุต แปลว่า การหลุดพ้นด้วยปัญญา ก็หมายถึงการหลุดพ้นเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง การหลุดพ้นเข้าถึงพระนิพพานนั้นเป็นอันว่าได้ประหารกิเลสจนหมดและจะไม่มีเหตุให้ต้องกับมาเกิดอีก |
เจ้าของ: | asoka [ 06 ม.ค. 2016, 06:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
ลุงหมาน เขียน: อ้างคำพูด: เจโตวิมุต คือการเจริญสติสมาธิให้มีกำลังมากจนสามารถกำหราบ สยบ กิเลส ตัณหา อัตตา มานะทิฏฐิต่างๆให้ฝ่อตาย ท่านทั้งหลายที่เจริญแนวนี้จะใช้สติระวังที่ผัสสะ (สมุทัยตายด้วยพลังสติสมาธิ)ออกแรงมาก ลงทุนลงแรงและเวลาเยอะ เหนื่อยหนัก แต่ได้ความแข็งแรง ได้พลังทางใจทางกายเยอะ มีของแถมมาก ปัญญาวิมุติ คือการเจริญปัญญา ตามรู้ตามสังเกตปัจจุบันธรรม ปัจจุบันอารมณ์ โดยมีสติสมาธิเป็นกองหนุนจนรู้ทันเหตุทันผลของความเกิดขึ้นดับไปของอารมณ์ความรู้สึกต่างๆตามความเป็นจริง แล้วถอนเหตุ หรือเหตุเกิดของอารมณ์ ความรู้สึกสลายไปด้วยตัวของมันเอง (สมุทัยสลายตัวด้วยปัญญาพ้นความหลงเห็นผิดยึดผิด)ออกแรงน้อย ลงทุนลงแรงน้อย เรียบง่าย แต่ไม่ค่อยมีของแถม เอาอย่างนี้อธิบายให้เข้าใจง่ายๆอีกที เจโตวิมุต แปลว่า การหลุดพ้นทางใจ ก็หมายถึงการหลุดพ้น จากกามราคะ จากนิวรณ์ ๕ หรือหลุดพ้นจากรูป (อรูปพรหม) ซึ่งเป็นการหลุดพ้นได้ชั่วคราวตามอำนาจของสมาฺธิ ที่มีกำลังของฌานที่ทำหน้าที่อยู่ เมื่อภาระหน้าที่ของสมาธิเสื่อมถอยลงกามราคะนิวรณ์ ๕ ก็เข้าครอบงำได้อีกมันจึงวนเวียน เวียนตาย เวียนเกิดอยู่เช่นนี้ตลอดกาล ปัญญาวิมุต แปลว่า การหลุดพ้นด้วยปัญญา ก็หมายถึงการหลุดพ้นเข้าถึงพระนิพพานนั่นเอง การหลุดพ้นเข้าถึงพระนิพพานนั้นเป็นอันว่าได้ประหารกิเลสจนหมดและจะไม่มีเหตุให้ต้องกับมาเกิดอีก ![]() เรื่องเจโตวิมุตินี่คงเข้าใจคลาดเคลื่อนกันไปนะครับ เจโตวิมุติ =หลุดพ้นด้วยอำนาจพลังจิตที่เข้มแข็งมาก คือเข้าถึงมรรค ผล นิพพานเช่นกัน ท่านเหล่านี้จะไม่มีรายละเอียดของญาณ 16 เกิดขึ้นให้เห็น ปัญญาวิมุติ = หลุดพ้นด้วยอำนาจของปัญญา เข้าถึงมรรค ผลนิพพานเช่นกัน เจโตวิมุติไม่ใช่ไปหยุดแค่พรหมโลกนะครับลุงหมาน ![]() วิมุติ = หลุดพ้น ไม่ใช่แค่กดข่มหรือคาๆไว้เหมือนทำงานไม่เสร็จนะครับ ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 06 ม.ค. 2016, 10:07 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
asoka เขียน: ![]() เรื่องเจโตวิมุตินี่คงเข้าใจคลาดเคลื่อนกันไปนะครับ เจโตวิมุติ =หลุดพ้นด้วยอำนาจพลังจิตที่เข้มแข็งมาก คือเข้าถึงมรรค ผล นิพพานเช่นกัน ท่านเหล่านี้จะไม่มีรายละเอียดของญาณ 16 เกิดขึ้นให้เห็น ปัญญาวิมุติ = หลุดพ้นด้วยอำนาจของปัญญา เข้าถึงมรรค ผลนิพพานเช่นกัน เจโตวิมุติไม่ใช่ไปหยุดแค่พรหมโลกนะครับลุงหมาน ![]() วิมุติ = หลุดพ้น ไม่ใช่แค่กดข่มหรือคาๆไว้เหมือนทำงานไม่เสร็จนะครับ ![]() ![]() ![]() กล้ายืนยันว่าไม่ได้เข้าผิด เจโตวิมุติ แปลว่าหลุดพ้นทางใจ นั่นหมายถึงหลุดพ้นจาก กามตัณหา หลุดพ้นจากนิวรณ์ ๕ หรือจากรูป ซึ่งดูๆจะคล้ายกับผู้ที่ได้นิพพานแล้ว แท้จริงเขายังไม่หลุดพ้น จากขันธ์ ๕ นั่นหมายถึงการเกิดอีก เช่น อรูปพรหม พวกพรหมเหล่าจะละได้เพียงนิวรณ์ ๕ เท่านั้น ไม่สามารถละนิวรณ์ตัวที่ ๖ ได้นั่นคืออวิชชานิวรณ์ กำลังของสมาธิไม่สามารถ ที่จะขุดอวิชชานิวรณ์ที่นอนเนื่องเป็นอนุสัยที่ลึกและละเอียดได้ ในญาณ ๑๖ นั้นเป็นรายละเอียดเป็นหนทางการเจริญวิปัสสนามีการเจริญรูปนามเป็นอันดับต้นมา เป็นหนทางเข้าสู่มรรคผลนิพพาน ซึ่งจะเป็นหนทางเดียวที่มีองค์มรรค ๘ ทางสายอื่นไม่มี ฉะนั้นหนทางนี้จึงชื่อว่าเป็นการหลุดพ้นด้วยปัญญาวิมุติ มุติ = หลุดพ้น ไม่ใช่แค่กดข่มหรือคาๆไว้เหมือนทำงานไม่เสร็จนะครับ อย่าไปตีความหมายให้มันยากขึ้นไปอีก กระทู้ต้นๆอธิบายไว้แล้ว |
เจ้าของ: | วิริยะ [ 06 ม.ค. 2016, 16:58 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
. "เจโตวิมุตติ กับปัญญาวิมุตติ" "เจโตวิมุตติ" หมายถึง ผู้โดเด่น เชียวชาญในสมาธิ(ทรงฌาน ๔ หรือสมาบัติแปด) เมื่อนำกำลังของสมาธินั้นมาหนุนปัญญา "พิจารณาไตรลักษณ์" ก็สามารถรู้แจ้งเห็นจริงในธรรมนั้น ๆ จนบรรลุธรรมเป็นพระอริยะบุคลได้ จึงเรียกท่านเหล่านี้ว่า "เจโตวิมุตติ" "ปัญญาวิมุตติ" หมายถึง โดดเด่นในทางปัญญาเป็นอย่างยิ่ง ไม่เชียวชาญทางสมาธิ การบำเพ็ญสมาธิก็แค่ "สมาธิตั้งใจมั่นหรืออุปจาระสมาธิเท่านั้น" เมื่อมีสมาธิพร้อมกับปัญญา หากนำมาพิจารณาในสัจจธรรมใด ๆ ก็จะมีความรู้แจ้งเห็นจริงในสัจจธรรมนั้น จนสำเร็จเป็นพระอริยะบุคล จึงเรียกท่านเหล่านี้ว่า "ปัญญาวิมุตติ" สมัยครั้งพุทธกาล เมื่อแสดงธรรมจบ มักมีผู้บรรลุธรรมเป็นพระอริยะขั้นหนึ่งขั้นใดเป็นจำนวนมากมาย เพราะท่านเหล่านั้นเป็น "นิสัยปัญญาวิมุติ" เพียงมีสมาธิตั้งใจมั่นกับใช้ปัญญาพิจารณาตามพระเทศนา ก็มีความรู้แจ้งเห็นจริงตามธรรมนั้น จนได้บรรลุเป็นพระอริยเจ้า ผู้มี "นิสัยเจโตวิมุตติ" คือชอบความสงบ ทำสมาธิสงบง่าย ลักษณะเคยเป็นฤาษีดาบสมาก่อน เมื่อเริ่มสอนก็ต้องสอนเรื่องสมาธิก่อน จนเชี่ยวชาญชำนาญแล้ว จึงน้อมเข้าหาปัญญาเพื่อพิจารณาสัจจธรรมทั้งหลาย อย่าลืมว่า "สมาธิ ไม่สามารถกำจัดกิเลสได้" เหมือนหินทับหญ้า เมื่อยกหินออกหญ้านั้นก็เติบโตเหมือนเดิม ยกตัวอย่าง "ท่านอาฬารดาบส ท่านอุทุกดาบส" ผู้เป็นอาจารย์ของพระพุทธเจ้า เป็นผู้เชียวชาญในสมาธิ ทรงสมาบัติแปด แต่ก็ไม่สามารถบรรลุธรรม เป็นพระอริยบุคคลขั้นหนึ่งขั้นใดเลย "เพราะเหตุว่า ขาดปัญญา" นั่นเอง เจโตวิมุตติ หลุดพ้นด้วยสมาธิ ปัญญาวิมุตติ หลุดพ้นด้วยปัญญา ผู้ที่บรรลุธรรม ต้องประกอบด้วย เจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติทั้งสิ้น ท่านใด "ยิ่งด้วยสมาธิ" หรือท่านใด "ยิ่งด้วยปัญญา" เท่านั้น .. ![]() |
เจ้าของ: | asoka [ 07 ม.ค. 2016, 06:14 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
![]() อนุโมทนากับคำอธิบายของคุณวิริยะครับ การบรรลุธรรมย่อมต้องอาศัยกำลังของปัญญา ศีล สมาธิ ทั้งสิ้น แต่ถ้ากำลังทางไหนมากท่านก็มีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป กำลังสมาธิมาก ได้เจโตวิมุติ กำลังปัญญามาก ได้ ปัญญาวิมุติ ผลพลอยได้ที่ตามมาก็ต่างกันไปตามกำลังที่สะสมมา (บารมี) พระอรหันต์ที่ได้เจโตวิมุตินี่ กระดูกเป็นพระธาตุเร็ว เป็นคล้ายยแก้วเยอะ มีรูปร่างและสีสรรแปลกๆ พระอรหันต์ที่ไดปัญญาวิมุติ อยู่ในกลุ่มสุขวิปัสสโกเป็นส่วนใหญ่ กระดูกจะกลายเป็นพระธาตุช้าบ้างเร็วบ้าง เป็นก้อนธาตุขาวมอๆ ดังนี้เป็นต้น ![]() |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 07 ม.ค. 2016, 06:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
ยินดีด้วยครับที่ท่านวิริยะเข้ามาสนทนาธรรมด้วย พระบาลีในมหาสติปัฏฐานสูตร และสติปัฏฐานสูตร ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า เอกายนมรรค คือ ประโยคว่า “เอกายโน อยํ ภิกฺขเว มคฺโค สตฺตานํ วิสุทฺธิยา โสกปริเทวานํ สมติกฺกมาย ทุกฺขโทมนสฺสานํ อตฺถงฺคมาย ญายสฺส อธิคมาย นิพฺพานสฺส สจฺฉิกิริยาย ยทิทํ จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ฯ” มีสำนวนการแปลดังต่อไปนี้ “ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งความทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้คือ สติปัฏฐาน 4 ประการ” พระองค์กล่าวว่าเป็นหนทางสายเดียวไม่มีมีหนทางอื่นไม่ใช่ทางสองแพ่ง เท่ากับเป็นการปฏิเสธหนทางอื่น ซึ่งจะมีหนทางนี้เพียงหนทางเดียวเท่านั้นหนทางอื่นไม่ใช่ แต่พระองค์ก็กล่าวไว้เช่นเดียวกันว่า เจโตวิมุติ กับ ปัญญาวิมุติ ซึ่งเห็นตรงคำว่าวิมุติที่แปลว่า"หลุดพ้น"เหมือนกันจึงคิดว่าคงเหมือนกัน เจโตวิมุติ เป็นการเจิญสมาธิเพื่อให้ได้ฌานอภิญญาซึ่งอารมณ์ของสมาธิเอาบัญญัติมาเป็นอารมณ์ และการข้ามพ้นของเจโตวิมุติก็ข้ามพ้นก็กิเลสตัณหาได้เป็นบางส่วน แต่มิได้ทำการประหานกิเลสได้เลย แม้แต่ตัวเดียว ในเมื่อการที่ไม่ได้ประหานกิเลสให้สิ้นไปก็แสดงว่ากิเลสยังมีอยู่ใช่หรือไม่ และในคราว เดียวกันเมื่อสมาธิเสื่อมหรือคลายลงกิเลสตัณหาที่ยังไม่ได้ประหานก็ยังสามารถเข้าครอบงำจิตใจได้อีก เพราะสมาธิก็ตกอยู่ภายใต้ของกฏไตรลักษณ์ ปัญญาวิมุติ เป็นการเจริญวิปัสสนาปัญญาเพื่อความสิ้นไปแห่งกิเลสตัณหาโดยมีรูปนามเป็นอารมณ์ โดยการประหานให้หมดสิ้นไปโดยไม่มีเหลือมิให้กลับมาเกิดอีก ปัญญาวิมุติเป็นการพ้นแล้วพ้นเลย พ้นทั้งรูปนามขันธ์ ๕ ซึ่งมิใช่แต่เพียงจะพ้นแต่กิเลสเพียงอย่างเดียว จริงอยู่การเจริญสมาธิก่อนเพื่อเป็นบาทฐานของการเจริญวิปัสสนา แต่ก็ต้องเข้าใจว่า การเจริญวิปัสสนาโดยตรงนั้นสมาธิก็ย่อมเกิดขึ้นแล้วในการเจริญวิปัสสนาที่เรียกว่าขณิกสมาธิ ให้ดูพระอริยะบุคคลบางท่านสำเร็จเป็นพระอริยะแล้วแต่ไม่ได้ฌานได้อภิญญาก็มี แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะปฏิเสธสมาธิเสียเลยทีเดียว เพราะผู้ที่ได้สมาธิแล้ว จะเป็นสมาธิที่ได้ฌานใดก็ตามจะต้องออกจากฌานมาเจริญวิปัสสนาต่อได้ซึ่งก็เป็นเป็นการง่าย เพราะสมาธิได้ข้ามพ้นกิเลสตัณหามาบางส่วนได้ดแล้วจึงง่ายต่อการเจริญวิปัสสนาปัญญา แต่อาจถามว่าการเจริญวิปัสสนาในขณะที่มีสมาธิได้หรือไม่ ขอตอบว่าไม่ได้เพราะอารมณ์ ของสมาธิและอารมณ์ของวิปัสสนานั้นต่างกันอย่างสิ้นเชิง |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 25 ม.ค. 2016, 14:16 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
สมถะ เป็นชื่อเรียกของการทำสมาธิด้วยการทำจิตให้สงบ หรือการทำอกุศลกรรม ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกุศลธรรมให้สงบลง เพื่อให้ฌานเกิดเขึ้น องค์ธรรมของสมถะ คือ เอกกัคคตาเจตสิกที่เป็นสัมมาสามธิ วิปัสสนา เป็นชื่อของปัญญาที่หยั่งเห็นรูปนามโดยประการต่างๆ ด้วยอำนาจ อนิจจะลักษณะเป็นต้น โดยการทำให้มรรค ๘ เป็นมรรคสมังคีย์ให้เกิดขึ้น องค์ธรรมของวิปัสสนา คือ ปัญญาเจตสิก เพื่อความเข้าใขของนักปฏิบัติเพราะยังมีความแตกต่างกกันอยู่มากมาย ในการเข้าไปศึกษา |
เจ้าของ: | natipakorn [ 31 ม.ค. 2016, 03:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: เจโตวิมุตกับปัญญาวิมุต |
สวัสดีครับลุงหมาน ถ้ามีคำว่า "วิมุติ" หมายความว่าหลุดพ้นไปแล้วครับ นิพพานแน่ๆ ทั้งสองฝ่าย เจโตวิมุติไม่ได้หมายความว่า จะไม่มีปัญญาเทียบเท่าพวกปัญญาวิมุตินะครับ แต่มีความสามารถที่ ดีกว่า บรรลุได้รวดเร็ว เพราะกำลังของฌานเจริญวิปัสสนาได้ต่อเนื่องและไม่มีนิวรณ์รบกวน เจโตวิมุติ บางคนจะเป็นพวกที่ได้ปฏิสัมภิทา (ผู้ที่บรรลุปฏิสัมภิทาญาณนั้น จะบรรลุได้เป็นอย่างๆไปตามวาสนาบารมีที่บำเพ็ญมา หรือว่าได้ ครั้งเดียวทั้งหมดเลย) และจะมีปัญญากว้างขวางมีญาณที่มีกำลัง แทงตลอดหมวดธรรมะหลายร้อยหรือพันนัยเลยทีเดียว และสามารถจำแนกธรรมสั่งสอน ขยายความได้พิสดารมาก แสดงธรรมปาฏิหารได้ แสดงฤทธิ์หรือ บางคนได้อภิญญา เหาะเหินได้ ระลึกชาติฯลฯ ถ้าเปรียบกับโทรศัพท์ smartphone คงประมาณ iPhones 6plus ใช้Appได้มากมาย ส่วนพวกปัญญาวิมุตินั้น ใช้กำลังปัญญาวิปัสสนาและเพียรค่อยๆสะสมไป จนปัญญาคมกล้าแล้วจึงสำเร็จ เป็นพวกที่เจริญวิปัสสนาได้ลำบากกว่ามาก ไม่ได้มีปัญญามากกว่าพวกเจโตวิมุติครับเพียงแต่สำเร็จด้วยการสะสมปัญญาจนเอาชนะกิเลสได้ด้วยปัญญา ถ้าเปรียบกับโทรศัพท์ คงประมาณ Nokia ผิดถูกกราบขออภัยด้วยครับ |
หน้า 1 จากทั้งหมด 3 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |