วันเวลาปัจจุบัน 19 พ.ค. 2025, 23:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ต.ค. 2015, 04:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5335


 ข้อมูลส่วนตัว


ความรัก..มีจุดเริ่มต้นจากความเมตตา
ดำเนินไปด้วยความปราถนาดีและลงท้ายด้วยการไม่คาดหวังอะไรกลับมา
เรียกว่า....รักแท้
พระนางสิริมหามายาผู้อธิษฐานขอเป็น
พุทธมารดาถึงแม้จะต้องสวรรคตหลัง
จากมีประสูติการได้๗วัน
เพราะพระครรภ์ของพระพุทธเจ้านั้นจะ
ไม่มีผู้ใดใช้ร่วมได้



#‎ประวัติความเป็นมา‬

วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ เป็นวันที่พระภิกษุพ้นข้อกำหนดทางวินัยที่จะอยู่จำพรรษา นับตั้งแต่วันเข้าพรรษาเป็นต้นมา และสามารถจาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ซึ่งจะมีประเพณีที่เกี่ยวข้อง คือ การตักบาตรเทโวโรหนะ คือวันถัดจากวันออกพรรษา ๑ วัน ซึ่งพุทธศาสนิกชนมักจะตักบาตรในวันนี้ ด้วยนิยมว่าเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้า เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากเสด็จไปโปรดพุทธมารดาอยู่ ๓ เดือน และถัดจากออกพรรษา ๑ เดือน ถือเป็น เทศกาลกฐิน ที่จะทำบุญถวายผ้ากฐินตามวัดต่าง ๆ เมื่อเทศกาลเข้าพรรษาได้ผ่านพ้นไปถึง ๓ เดือน ก็จะเป็นช่วงเวลาของ "วันออกพรรษา" ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดระยะการจำพรรษา หรือออกจากการอยู่ประจำที่วัดในช่วงฤดูฝนตลอด ๓ เดือนของพระภิกษุสงฆ์ โดย วันออกพรรษา ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี ซึ่งเรียกอีกอย่างว่า "วันมหาปวารนา" คำว่า "ปวารนา" นั้นแปลว่า อนุญาตหรือยอมให้ โดยในปีนี้ วันออกพรรษา ตรงกับวันที่ ๑๙ ตุลาคม ๒๕๕๖

ทั้งนี้ วันออกพรรษา พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ที่เรียกว่า มหาปวารณา ใน วันออกพรรษา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกันได้ เนื่องจากในระหว่างที่เข้าพรรษาอยู่ด้วยกัน พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข และการให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนก็จะทำให้รู้ข้อบกพร่องของตน อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันได้ด้วย พระผู้ใหญ่ก็กล่าวตักเตือนพระผู้น้อยได้ และพระผู้มีอาวุโสน้อยก็สามารถชี้แนะถึงข้อไม่ดีของพระผู้ใหญ่ได้เช่นกัน แม้พระผู้ใหญ่จะมีอาวุโสมากกว่า แต่ท่านก็มิได้สำคัญตนผิดคิดว่าท่านทำอะไรแล้วถูกไปหมดทุกอย่าง เพื่อเป็นเครื่องมือชี้ให้เห็นวิธีการคอยสังวร คือ ตามระวัง ไม่ประมาท ไม่ยอมให้ความเลวร้ายเกิดขึ้นได้ เหมือนล้อมรั้วไว้ก่อนที่วัวจะหาย ไม่ว่าจะอยู่ในเทศกาลเข้าพรรษาหรืออกพรรษา พระท่านจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบ ตามระบอบของพระธรรมวินัยอยู่ตลอดเวลาสำหรับ คำกล่าว ปวารณา มีคำกล่าวเป็นภาษาบาลีเป็นดังนี้ "สังฆัมภันเต ปะวาเรมิ ทิฎเฐนะ วา สุเตนะ วาปะริสังกายะ วา วะทันตุ มัง อายัส์มันโต อะนุกัทปัง อุปาทายะ ปัสสันโต ปฎิกะริสสามิ" มีความหมายว่า ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ กระผมขอปวารณาต่อสงฆ์ ด้วยได้เห็นหรือได้ฟังก็ตาม ขอท่านทั้งหลายโปรดอนุเคราะห์ ว่ากล่าวตักเตือนกระผมด้วย เมื่อกระผมมองเห็นแล้ว จักประพฤติตัวเสียเลยใหม่ให้ดี เมื่อทำพิธี วันออกพรรษาแล้ว พระภิกษุสงฆ์สามารถจาริกไปในสถานที่ต่าง ๆ หรือค้างคืนที่อื่นได้โดยไม่ผิดพระพุทธบัญญัติ และยังได้รับอานิสงค์ก็คือไปไหนไม่ต้องบอกลา ไม่ต้องถือผ้าไตรครบชุด มีสิทธิ์รับลาภที่เกิดขึ้นได้ และมีโอกาสได้อนุโมทนากฐิน ที่จะสามารถขยายเวลาของอานิสงค์ออกไปอีก ๔ เดือน

‪#‎ประเพณีเกี่ยวข้องกับวันออกพรรษา‬

๑. ประเพณีตักบาตรเทโว หลัง วันออกพรรษา


หลังวันออกพรรษา ๑ วัน คือ แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ จะมีการ "ตักบาตรเทโว" หรือชื่อเต็มตามคำพระว่า "เทโวโรหนะ" แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก โดยสามารถเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ตักบาตรดาวดึงส์" โดยอาหารที่นิยมนำไปใส่บาตรคือ ข้าวต้มมัด และ ข้าวต้มลูกโยน

‪#‎ความเป็นมาของประเพณีตักบาตรเทโว‬ มีดังนี้

สมัยพุทธกาล เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรม และเสด็จขึ้นไปโปรดพระพุทธมารดาโดยจำพรรษาอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เป็นเวลา ๑ พรรษา และเมื่อออกพรรษาแล้วพระองค์ได้เสด็จกลับยังโลกมนุษย์ ณ เมืองสังกัสสคร การที่พระพุทธองค์เสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เรียกตามศัพท์ภาษาบาลีว่า "เทโวโรหณะ" ในครั้งนั้นบรรดาพุทธศาสนิกชนผู้มีความศรัทธาเลื่อมใส เมื่อทราบข่าวต่างพร้อมใจกันไปรอตักบาตรเพื่อรับเสด็จกันอย่างเนืองแน่น จนถือเป็นประเพณีตักบาตรเทโวปฏิบัติสืบทอดกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้

โดยพิธีตักบาตรเทโวโรหณะในปัจจุบันนั้นจะเริ่มตั้งแต่ตอนรุ่งอรุณ หลัง วันออกพรรษา พระภิกษุสามเณรลงทำวัตรในพระอุโบสถ พอพระอาทิตย์ขึ้นก็สมมติว่า พระลงมาจากบันไดสวรรค์ บางที่ก็มีดนตรีบรรเลงเพลงไทยเดิม สมมุติว่าเป็นพวกเทวดาบรรเลง ขับกล่อมตามส่งพระพุทธเจ้า ยังมีพวกแฟนตาซีอีก แต่งเป็นพวกยักษ์ เทวดา พระอินทร์ พรหม นางเทพธิดา นำหน้าขบวนพระภิกษุสามเณร ชาวบ้านก็จะใส่บาตรด้วยอาหารหวาน อาหารคาว ข้าวต้มลูกโยน ข้าวต้มมัดจึงเป็นสัญลักษณ์ของพิธีนี้

๒. ประเพณีเทศน์มหาชาติ หลัง วันออกพรรษา

งานเทศน์มหาชาติ นิยมทำกันหลัง วันออกพรรษา พ้นหน้ากฐินไปแล้ว ซึ่งกฐินจะทำกัน ๑ เดือนหลังออกพรรษา ที่จะร่วมกันทอดกฐินทั้ง จุลกฐิน และ มหากฐิน โดยประเพณีงานเทศน์มหาชาติอาจทำในวันขี้น ๘ ค่ำกลางเดือน ๑๒ หรือในวันแรม ๘ ค่ำ ก็ได้ เพราะในช่วงนี้น้ำเริ่มลดและข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ จึงพร้อมใจกันทำบุญทำทานและเล่นสนุกสนานรื่นเริง แต่ในภาคอีสานนั้นนิยมทำกันในเดือน ๔ เรียกว่า "งานบุญพระเวส" ซึ่งเป็นช่วงที่เสร็จจากการทำบุญลานเอาข้าวเข้ายุ้ง ในภาคกลาง บางท้องถิ่นทำกันในเดือน ๕ ต่อเดือน ๖ ก็มี

งานเทศน์มหาชาตินั้นจะทำในเดือนไหนก็ได้ไม่จำกัดฤดูกาล โดยมากเพื่อเป็นการหาเงินเข้าวัด บางแห่งนิยมทำในเดือน ๑๐ โดยการเทศน์มหาชาตินั้น มีอยู่ด้วยกันทั้งหมด ๑๓ กัณฑ์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดรอันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ และออกบวชจนตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

‪#‎ประเพณีวันออกพรรษาในแต่ละภาค‬

วันออกพรรษา ภาคกลาง

‪#‎จังหวัดนครปฐม‬ ที่พระปฐมเจดีย์ พระภิกษุสามเณรจะมารวมกันที่องค์พระปฐมเจดีย์ แล้วก็เดินลงมาจากบันไดนาคหน้าวิหารพระร่วง สมมติว่าพระเดินลงมาจากบันไดสวรรค์ชาวบ้านก็คอยใส่บาตร

‪#‎จังหวัดอุทัยธานี‬ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดเขาสูง ณ วัดสะแกกรัง พระภิกษุก็จะเดินลงมาจากเขารับบิณฑบาตจากชาวบ้าน โดยขบวนพระภิกษุสงฆ์ที่ลงมาจากบันไดนั้นนิยมให้มีพระพุทธรูปนำหน้า ทำการสมมติว่าเป็นพระพุทธเจ้า จะใช้พระปางอุ้มบาตร ห้ามมาร ห้ามสมุทร รำพึง ถวายเนตรหรือปางลีลา ตั้งไว้บนรถหรือตั้งบนคานหาม มีที่ตั้งบาตรสำหรับอาหารบิณฑบาต

แต่สำหรับบางที่ไม่นิยมตักบาตรเทโว แต่นิยมตักบาตรตอนเช้าถวายอาหารพระภิกษุแล้วฟังเทศน์รักษาอุโบสถศีล ส่วนที่นิยมตักบาตรเทโว จะทำบุญเป็น ๒ วัน คือวันออกพรรษากับวันเทโว ในวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๑๑ ในวันออกพรรษานั้น หรือในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ก็มีการฟังเทศน์ตอนสาย ๆ และรักษาอุโบสถศีล

ส่วน ‪#‎ทางภาคใต้ก็จะมีประเพณีชักพระหรือลากพระ‬ ซึ่งก็คือพระพุทธรูปนั่นเอง โดยมี ๒ กรณี คือ ชักพระทางบก กับ ชักพระทางน้ำ

‪#‎กิจกรรมต่างๆที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติในวันออกพรรษา‬


๑.ทำบุญตักบาตรอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติผู้ล่วงลับ

๒.ฟังพระธรรมเทศนา รักษาศีล ถวายสังฆทาน ถวายภัตตาหาร หรือจัดดอกไม้ ธูป เทียน ไปบูชาที่วัด และฟังพระธรรมเทศนา

๓.ร่วมกุศลธรรม "ตักบาตรเทโว"

๔.ปัดกวาดบ้านเรือนให้สะอาด ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือนและสถานที่ราชการและ ประดับธงชาติและธงธรรมจักรตามวัด และสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

๕.ตามสถานที่ราชการ สถานที่ศึกษาและที่วัด ควรจัดให้มีนิทรรศการ การบรรยาย หรือ บรรยายธรรม เกี่ยวกับวันออกพรรษาฯลฯ เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้สนใจทั่วไป

๖.งดการเที่ยวเตร่ ละเว้นอบายมุข รวมทั้งละเว้นการฆ่าสัตว์และบริโภคเนื้อสัตว์



หลวงปู่ดูลย์สอนเรื่อง. ทำจิตให้สงบได้ยาก
การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้น จะให้ผลเร็วช้า
เท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้. บางคนได้ผลเร็ว
บางคนก็ช้ายัง. หรือยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่ง
ความสงบเลยก็มี. แต่ไม่ควรท้อถอย. ก็ได้
ชื่อว่าเป็นผู้ได้ประกอบความเพียรทางใจ
ย่อมเป็นบุญเป็นกุศลขั้นสูงต่อจากการ
บริจาคทานรักษาศีล. เคยมีลูกศิษย์เป็น
จำนวนมากมาเรียนถามหลวงปู่ว่า อุตส่าห์
พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้ว แต่จิต
ไม่เคยสงบเลย. ส่งออกไปข้างนอกอยู่เรื่อยๆ
มีวิธีอื่นได้บ้างทีพอจะปฏิบัติได้
หลวงปู่เคยแนะนำวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า
"ถึงจิตไม่สงบไม่ควรให้มันออกไปไกล
ใช้สติรำลึกไปแต่ในกายนี้. ดูให้เห็น อนิจจัง
ทุกขัง อนัตตา. อสุภสัญญา หาสาระแก่นสาร
ไม่ได้. เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว. จิตก็จะเกิดความ
สลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่ายคลายกำหนัด
ยอมตัดอุปทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน"



** การเป็นพระอริยเจ้าไม่ใช่สิ่งสุดวิสัย **
* ภิกษุ ท. ! เพราะอาศัยตาและรูปจึงเกิดความรู้แจ้งทางตาขึ้น,การประจวบพร้อม (แห่งตา+รูป+วิญญาณ) ทั้งสามอย่างนั้น ย่อมเกิดมีผัสสะ, เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดมีเวทนา อันเป็นสุขบ้าง ทุกข์บ้าง ไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุขบ้าง.
** ในกรณีที่เกี่ยวกับ อายตนะภายใน และภายนอกอีก๕คู่ ก็มีข้อความอย่างเดียวกันกับหมวดนี้ ผิดกันแต่ชื่อเรียกเท่านั้น คือ ๑. เพราะอาศัยหูและเสียงจึงเกิดความรู้แจ้งทางหูขึ้น,...๒. เพราะอาศัยจมูกและกลิ่นจึงเกิดความรู้แจ้งทางจมูกขึ้น, ...๓. เพราะอาศัยลิ้นและรสจึงเกิด ความรู้แจ้งทางลิ้นขึ้น, ...๔. เพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะจึงเกิดความรู้แจ้งทางกายขึ้น, ...๕. เพราะอาศัยมโนและธรรมารมณ์จึงเกิดความรู้แจ้งทางมโนวิญญาณขึ้น,
* ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้น เมื่อถูกสุขเวทนากระทบแล้ว ย่อมไม่เพลิดเพลิน ไม่พร่ำเพ้อถึง ไม่เมาหมกติดอกติดใจ, อนุสัยคือราคะ ย่อมไม่ตามนอน ในสันดานของบุคคลนั้น.
* ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้น เมื่อถูกทุกขเวทนากระทบแล้ว ย่อมไม่โศกเศร้า ไม่ระทมใจ ไม่คร่ำครวญ ตีอกร่ำไห้ ไม่ถึงความลืมหลง, อนุสัยคือปฏิฆะ ย่อมไม่ตามนอน ในสันดานของบุคคลนั้น.
ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้น เมื่อถูกเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุขกระทบแล้วย่อมรู้ชัดแจ้งตรงตามที่เป็นจริง ซึ่งความก่อขึ้นของเวทนานั้น ซึ่งความตั้งอยู่ไม่ได้ของเวทนานั้น ซึ่งรสอร่อยของเวทนานั้น ซึ่งโทษของเวทนานั้น ซึ่งอุบายเครื่องออกพ้นไปได้จากเวทนานั้น, อนุสัยคืออวิชชา ย่อมไม่ตามนอน ในสันดานของบุคคลนั้น.
*** ภิกษุ ท. ! บุคคลนั้นหนอ ละอนุสัยคือราคะ ในสุขเวทนาได้แล้ว, บรรเทาอนุสัยคือปฏิฆะ ในทุกขเวทนาเสียแล้ว, ถอนขึ้นได้กระทั่งราก ซึ่งอนุสัยคืออวิชชา ในเวทนาอันไม่ทุกข์ไม่สุขเสียได้แล้ว, ท่านละอวิชชาได้แล้ว ทำวิชชาให้เกิดขึ้นแล้ว, จะเป็นผู้ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ ในปัจจุบันนี้โดยแท้ ; ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ต.ค. 2015, 05:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
สาธุกับข้อธรรมอันวิเศษที่เลือกเฟ้นมาแบ่งปันกันด้วยเมตตากรุณาและกุศลเจตนา

อนุโมทามิ

:b27:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร