วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2024, 20:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ก.ค. 2015, 23:09 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1: ...

:b1: :b1: ...

:b1: :b1: :b1: ...

:b9: :b9: :b9: :b9: ...

สภาวะ วิมุตติ เป็นสภาวะที่น่าทำความเข้าใจ ... :b12: :b12:

ถ้าใครที่เจอความว่างแบบ "วิมุตติ" ... :b6:

ก็อาจจะรู้สึกได้ว่า "นิพพาน" ท่าจะดีกว่านะ ... :b32:

:b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2015, 11:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ผู้บรรยาย..มีนามว่าอย่างไรครับ...เนี้ย
:b10:

กบลองฟังดูก็ดีนะ15ปีที่แล้วผมก็ได้ความรู้จาก. ท่าน อจ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2015, 12:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7504

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
bigtoo เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ผู้บรรยาย..มีนามว่าอย่างไรครับ...เนี้ย
:b10:

กบลองฟังดูก็ดีนะ15ปีที่แล้วผมก็ได้ความรู้จาก. ท่าน อจ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์

...รายการบ้านธัมมะออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ช่อง11หรือNBTทุกวันพุธตี5...
...ประธานกรรมการมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา...
...ดูประวัติในวิกีพีเดียได้ค่ะ...https://th.wikipedia.org/wiki/สุจินต์_บริหารวนเขตต์...
:b12: :b20:
:b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2015, 14:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


bigtoo เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ผู้บรรยาย..มีนามว่าอย่างไรครับ...เนี้ย
:b10:

กบลองฟังดูก็ดีนะ15ปีที่แล้วผมก็ได้ความรู้จาก. ท่าน อจ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์


โอ้...โฮ้ว...สนใจพระธรรมมาตั้ง 15

มิน่า..ถึงว่าตัวเองมาไกล..แล้ว..


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2015, 15:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มิ.ย. 2012, 14:54
โพสต์: 2805


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
bigtoo เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ผู้บรรยาย..มีนามว่าอย่างไรครับ...เนี้ย
:b10:

กบลองฟังดูก็ดีนะ15ปีที่แล้วผมก็ได้ความรู้จาก. ท่าน อจ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์


โอ้...โฮ้ว...สนใจพระธรรมมาตั้ง 15

มิน่า..ถึงว่าตัวเองมาไกล..แล้ว..

เดินย้อนกลับไปยากกว่าเดินไปข้างหน้า กบเคยรู้สึกแบบนี้มั้ยล่ะ. อดีตชีวิตที่ผ่านมาจะให้ทำช่างยากจริงๆชีวิตที่มีแต่กินเที่ยวเตร่ ชีวิตที่ปราศจากศิล สมาธิ ปัญญา

.....................................................
อย่าลืมทำกิจในอริยสัจ
เราจะเดินให้สุดทาง http://www.thaidhamma.net


แก้ไขล่าสุดโดย bigtoo เมื่อ 08 ก.ค. 2015, 16:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2015, 15:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


โฮย..พูดไร..อ๊ะ...งง..

:b23: :b23:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2015, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7504

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
eragon_joe เขียน:

:b1: :b1: ...

:b1: :b1: :b1: ...

:b9: :b9: :b9: :b9: ...

สภาวะ วิมุตติ เป็นสภาวะที่น่าทำความเข้าใจ ... :b12: :b12:

ถ้าใครที่เจอความว่างแบบ "วิมุตติ" ... :b6:

ก็อาจจะรู้สึกได้ว่า "นิพพาน" ท่าจะดีกว่านะ ... :b32:

:b12: :b12: :b12:

...นิพพานัง ปรมัง สุขัง...นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง...
...หลวงตาพระมหาบัวท่านว่าถึงเมืองพอแล้วบรมสุข...
:b8: :b20:
:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.ค. 2015, 21:35 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


เอ่อ..แก้ไขหน่อย..พอจะรู้เรื่องบ้าง...อิอิ :b13:

bigtoo เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
bigtoo เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ผู้บรรยาย..มีนามว่าอย่างไรครับ...เนี้ย
:b10:

กบลองฟังดูก็ดีนะ15ปีที่แล้วผมก็ได้ความรู้จาก. ท่าน อจ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์


โอ้...โฮ้ว...สนใจพระธรรมมาตั้ง 15

มิน่า..ถึงว่าตัวเองมาไกล..แล้ว..

เดินย้อนกลับไปยากกว่าเดินไปข้างหน้า กบเคยรู้สึกแบบนี้มั้ยล่ะ. อดีตชีวิตที่ผ่านมาจะให้ทำช่างยากจริงๆชีวิตที่มีแต่กินเที่ยวเตร่ ชีวิตที่ปราศจากศิล สมาธิ ปัญญา


รู้สึกแต่ว่า...มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเป็นแบบเดิม..แค่นี้แหละ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2015, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7504

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
กบนอกกะลา เขียน:
เอ่อ..แก้ไขหน่อย..พอจะรู้เรื่องบ้าง...อิอิ :b13:

bigtoo เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
bigtoo เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
ผู้บรรยาย..มีนามว่าอย่างไรครับ...เนี้ย
:b10:

กบลองฟังดูก็ดีนะ15ปีที่แล้วผมก็ได้ความรู้จาก. ท่าน อจ. สุจินต์ บริหารวนเขตต์


โอ้...โฮ้ว...สนใจพระธรรมมาตั้ง 15

มิน่า..ถึงว่าตัวเองมาไกล..แล้ว..

เดินย้อนกลับไปยากกว่าเดินไปข้างหน้า กบเคยรู้สึกแบบนี้มั้ยล่ะ. อดีตชีวิตที่ผ่านมาจะให้ทำช่างยากจริงๆชีวิตที่มีแต่กินเที่ยวเตร่ ชีวิตที่ปราศจากศิล สมาธิ ปัญญา


รู้สึกแต่ว่า...มันเป็นไปไม่ได้เลยที่จะเป็นแบบเดิม..แค่นี้แหละ

:b12:
...คำจริงคือสัจจธรรม...พระพุทธเจ้าเป็นพระอรหันต์ที่เป็นกัลยาณมิตรสูงสุด...
...มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึงก็คือพึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์...
...พึ่งได้จริงๆนะว่าไหม...อย่างข้าพเจ้ายังดีที่ได้เป็นกัลยาณปุถุชนค่ะ...
:b4: :b4:
:b9:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2015, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7504

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
...การครูบาอาจารย์ทางธรรมมีความสำคัญค่ะ...สำหรับครูบาอาจารย์ทางธรรมองค์แรกของข้าพเจ้า...
...คือพระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน)...เป็นองค์แรกในชาตินี้ที่ให้ธรรมเข้าสู่ใจ...
...ที่ได้รู้ความแตกต่างของจิตว่างแต่ละแบบก็ทำตามคำสอนท่าน...ไม่คิดอะไรมากแค่ทำตามเท่านั้น...
...ขณะที่นั่งฟังท่านเทศน์สดๆก็นั่งสมาธิหลับตา...ภาวนาพุทโธ...ให้จิตอยู่กะตัวไม่ส่งไปที่ผู้เทศน์...
...อยู่ๆวันหนึงก็ถึง...ชั่วฟ้าแลบ ชั่วงูแลบลิ้นที่เห็นผลการปฏิบัติ...จดจำความรู้สึกได้ดี...แต่ท่านว่า...
...การภาวนาไม่ให้ยึดติดสิ่งเดิมแต่ให้พิจารณาไปเรื่อยๆ...ไม่ให้ทำเพื่ออยากจะให้เกิดความรู้อันเก่า...
...เทศนาธรรมทุกกัณฑ์ของหลวงตามหาบัวและครูบาอาจารย์สายกรรมฐานที่เคยฟังเชื่อมั่นเต็มร้อย...
...คำบาลีที่ฟังถึงจะเข้าใจบ้างไม่เข้าใจบ้าง...แต่ในจิตนั้นรู้ได้ว่าท่านเตือนให้เชื่อพระพุทธเจ้าทุกคำ...
...ความรู้จากการฟังก่อนเห็นผลการปฏบัตินี้...นานแค่ไหน...ผุดขึ้นมาที่จิตสอนจิตเป็นดอกเห็ดเลย...
...เวลามาฟังเทศนาธรรมที่ท่านแสดงบทเดิมนั่นแหละ...แต่มันถึงใจก็เพราะมันเข้าใจว่าจิตรวมๆก็รู้...
...สำหรับข้าพเจ้าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นครูอาจารย์...ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล...บทความ...ความคิดเห็น...
...การแสดงความคิดเห็นของข้าพเจ้าล้วนมาจากการศึกษารอบตัวเป็นประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน...
...จากการฟังธรรมล้วนๆเป็นส่วนใหญ่...การอ่าน+ค้นหาข้อมูลต่างๆจากอินเตอร์เน็ตหนังสือธรรมะ...
...คำที่แน่ใจและเข้าใจแล้ว...โพสต์แล้วคิดว่าน่าจะเกิดประโยชน์กับผู้ที่เข้ามาศึกษาธรรมจึงโพสต์ค่ะ...
:b4: :b4:
:b39:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ก.ค. 2015, 17:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7504

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes
...ขออนุญาตโพสต์เกี่ยวกับนิมิตร...เข้าใจมากน้อยแค่ไหนเกี่ยวกับนิมิตรเพื่อขัดเกลากิเลส...
https://www.youtube.com/watch?v=tM4uuLwe6ug
:b20: :b20:
:b44:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 05:03 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว




มีแต่เหตุกับผล_resize_resize.jpg
มีแต่เหตุกับผล_resize_resize.jpg [ 40.89 KiB | เปิดดู 3089 ครั้ง ]
:b39:
"จิตว่าง"

คำว่า "จิตว่าง" เมื่อวิเคราะห์ดูแล้วจะเห็นและตีความได้ว่า

จิต มีอยู่ แต่ว่างจากการทำงานทั้งปวง

อาการว่างจากการทำงานทั้งปวง ไม่ใช่ เฉย หรืออุเบกขาแต่เป็นอาการที่จิตลอยตัวอยู่ตามธรรมชาติไม่มีเจตสิกมาประกอบ

จิตว่าง กับ ปกติ เป็นอาการธรรมชาติที่คล้ายๆกัน คือจิตพักการทำงานไปชั่วคราว

จิตว่างของปุถุชนมีอยู่ได้เสมอในชีวิตประจำวัน คือความที่จิตเข้าถึงภาวะ ปกตินั่นเอง

ปกติ อยู่เลยจาก เฉย ไปอีกนิดเดียว ถ้าเฉยได้กับการกระทบสัมผัสของทวารทั้ง 6 หรือที่เรียกว่า "เอาออกเสียได้ซึ่งความยินดียินร้ายในโลก"
หลังจากนั้นอีกสักพัก จิตจะลงสู่สภาวะ "ปกติ" คือหยุดทำปฏิกิริยากับทุกๆสิ่งโดยธรรม

ปุถุชนเกิดสภาวะปกติได้เองเสมอๆ ลองสังเกตกันดูให้ดีๆ
แต่ ปกติของปุถุชนไม่สามารทำให้คงอยู่ได้นานๆหรือทำให้เป็นได้ดั่งใจ

ปกติตัวนี้กับคำว่า "ศีล" เป็นสภาวะอันเดียวกัน

ในจิตของอริยชนตั้งแต่ชั้นต้นขึ้นไปท่านเป็นปกติอยู่ได้เองทั้งโดยธรรมชาติและโดยตั้งใจได้ง่ายๆเสมอๆ

ณ.สภาวะปกติ กับ จิตว่าง หรือจิตว่างจากงาน น่าจะเป็นอันเดียวกัน

ส่วนความหมายของจิตว่างที่พากันวาดและอนุมานว่าไม่มีจิตเหลืออยู่นั้นคงต้องอยู่ที่ ขันธนิพพานที่เดียวครับ
:b8:
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 08:45 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5013


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
สภาวะ วิมุตติ เป็นสภาวะที่น่าทำความเข้าใจ ... :b12: :b12:

ถ้าใครที่เจอความว่างแบบ "วิมุตติ" ... :b6:

ก็อาจจะรู้สึกได้ว่า "นิพพาน" ท่าจะดีกว่านะ ... :b32:

:b12: :b12: :b12:


:b6: :b9: ... จริง ๆ ตอนที่ตอบไปเอกอนก็งง ๆ ตัวเองเหมือนกันว่า
ทำไมเอกอนถึงได้เห็นว่า อารมณ์วิมุตติ กับ นิพพาน ไม่ใช่อารมณ์เดียวกัน ... :b9: :b32:

...ก็เลยต้องเสาะหา และค้นหากันหน่อย...

:b1: ...เพราะ วิมุตติ มีระดับความละเอียดของเขาอยู่นี่เอง...

:b8: :b8: :b8:

http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=32

Quote Tipitaka:
นานาปัญหา
โดย คณะสหายธรรม

๓๒. วิมุตติ

ถาม วิมุตติ คืออะไร?

ตอบ พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน

ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ
ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลัง เป็นโลกุตตระ
ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ

ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะ สำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

ขยายความ โดยปริยายหนึ่งๆ ว่า :-
เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยใจ ได้แก่ ผลสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ผลปัญญา คือปัญญาที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยพระอภิธรรมแล้ว เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ จึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับอรหัตตผลจิต ก็เจโตวิมุตตินั้น ได้แก่ เอกัคคตาหรือสัมมาสมาธิ ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ ที่ประกอบด้วยอรหัตตผลจิต

อริยมรรค ชื่อว่า กำลังหลุดพ้นจากกิเลส
อริยผล ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วจากกิเลส

อริยมรรคนั้นเป็นกุศลจิตมี ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
อริยผลเป็นผลของมรรคเป็นวิบากจิต ก็มี ๔ เท่ากับอริยมรรค คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล

ในขณะที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้น ทำลายกิเลสให้ขาดเป็นสมุจเฉทแล้วดับไป ผลจิตอันเป็นวิบากจะเกิดขึ้นสืบต่อจากมรรคจิตทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่นในระหว่างนั้น นั่นคือเมื่อมรรคอันเป็นเหตุเกิดขึ้นแล้วดับลง ผลของมรรคจะเกิดต่อทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่น

การที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้นแล้วดับไปผลจิตอันเป็นวิบากก็เกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องรอเวลา นี้แหละชื่อว่า อกาลิโก เพราะไม่มีกาลเวลาในการให้ผลกุศลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมหากุศลหรือฌานกุศลเมื่อเกิดขึ้นและดับไปแล้วที่จะให้ผลทันทีเหมือนมรรคจิตหามีไม่ ต้องรอเวลาที่จะให้ผลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมรรคจิตเท่านั้นจึงชื่อว่า อกาลิโก กุศลอื่นๆ ไม่ชื่อว่าอกาลิโก

ในอรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สัททสูตร กล่าวว่า สมาธิชื่อว่า เจโตวิมุตติ เป็นผลของสมถะ และที่สมาธิได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ
ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เป็นผลของวิปัสสนา และที่ปัญญาได้ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา

ใน คัมภีร์บุคคลบัญญัติ แสดงวิมุตติของพระอรหันต์ ๒ อย่าง คือ อุภโตภาควิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่มีเจโตวิมุตติ

อุภโตภาควิมุตติ ได้แก่ บุคคลที่ได้สมาบัติ ๘ คือได้ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ออกจากสมาบัติแล้วเจริญวิปัสสนา เห็นความเสื่อมไปสิ้นไปของสังขารทั้งหลายด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา กล่าวคือบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุตตินี้พ้นจากรูปกายคือรูปฌานด้วยอรูปฌานหรืออรูปสมาบัติ และเพราะเจริญฌานที่มีอรูปเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติก่อนเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงพ้นจากนามกาย คือกิเลสด้วยอริยมรรคเป็นครั้งที่สอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะหลุดพ้นจากส่วนสองคือ ๒ ครั้ง
ครั้งแรกพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ
ครั้งที่ ๒ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค

ท่านจัดบุคคลที่ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตติไว้ ๕ พวกคือบุคคลที่ได้อรูปสมาบัติ ๔ ออกจากอรูปสมาบัติแต่ละสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วจึงบรรลุพระอรหัตต์จัดเป็น ๔ พวก กับพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว บรรลุพระอรหัตต์อีกพวกหนึ่ง จึงเป็น ๕ พวก

สรุปว่า บุคคลที่ได้ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตินั้น ได้แก่พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น

ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑ จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น
ถึงกระนั้น บุคคลทั้งสองพวกนี้ คือทั้งอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติต่างก็ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงเป็นสมุจเฉทวิมุตติด้วยกันทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 08:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8151


 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
eragon_joe เขียน:
สภาวะ วิมุตติ เป็นสภาวะที่น่าทำความเข้าใจ ... :b12: :b12:

ถ้าใครที่เจอความว่างแบบ "วิมุตติ" ... :b6:

ก็อาจจะรู้สึกได้ว่า "นิพพาน" ท่าจะดีกว่านะ ... :b32:

:b12: :b12: :b12:


:b6: :b9: ... จริง ๆ ตอนที่ตอบไปเอกอนก็งง ๆ ตัวเองเหมือนกันว่า
ทำไมเอกอนถึงได้เห็นว่า อารมณ์วิมุตติ กับ นิพพาน ไม่ใช่อารมณ์เดียวกัน ... :b9: :b32:

...ก็เลยต้องเสาะหา และค้นหากันหน่อย...

:b1: ...เพราะ วิมุตติ มีระดับความละเอียดของเขาอยู่นี่เอง...

:b8: :b8: :b8:

http://www.84000.org/tipitaka/book/nana.php?q=32

Quote Tipitaka:
นานาปัญหา
โดย คณะสหายธรรม

๓๒. วิมุตติ

ถาม วิมุตติ คืออะไร?

ตอบ พระพุทธศาสนาแสดง วิมุตติ คือความหลุดพ้นจากกิเลสไว้ ๕ อย่างคือ
๑. วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการข่มไว้ด้วยอำนาจของฌาน เพียงปฐมฌานก็สามารถข่มธรรมอันเป็นข้าศึก คือนิวรณ์ ๕ มีกามฉันทะนิวรณ์ได้แล้ว แต่ไม่อาจละนิวรณ์ ๕ ให้ขาดไปจากใจได้ หมดอำนาจฌาน กิเลสคือนิวรณ์ก็เกิดได้อีก
๒. ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยองค์นั้น ด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณ เพียงได้นามรูปปริจเฉทญาณ ปัญญาที่แยกนามกับรูปว่าเป็นคนละอย่าง ก็สามารถละความเห็นผิดว่านามรูป เป็นตัวตนได้ชั่วคราว
๓. สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส ด้วยการตัดขาด ด้วยมรรคญาณ กิเลสที่ถูกตัดขาดไปแล้วย่อมไม่กลับมาเกิดได้อีก
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลส เพราะกิเลสทั้งหลายสงบระงับไปในขณะแห่งผลจิต
๕. นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นจากกิเลสด้วยการสลัดออกจากธรรมอันเป็นข้าศึกคือกิเลส ด้วยนิพพาน

ในวิมุตติ ๕ อย่างนี้ วิมุตติ ๒ อย่างแรกเป็นโลกียะ
ส่วนวิมุตติ ๓ อย่างหลัง เป็นโลกุตตระ
ปัญญาคือความรู้ในวิมุตติ ๕ อย่างนั้น เรียกว่า วิมุตติญาณ

ใน อังคุตตรนิกาย ทุกนิบาต กล่าวถึงวิมุตติ ๒ อย่างคือ เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ว่า

[๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา ย่อมไม่เจริญด้วยประการฉะนี้แล
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะสำรอกราคะได้ จึงชื่อว่าเจโตวิมุติ เพราะ สำรอกอวิชชาได้จึงชื่อว่าปัญญาวิมุติฯ

ขยายความ โดยปริยายหนึ่งๆ ว่า :-
เจโตวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยใจ ได้แก่ ผลสมาธิ คือสมาธิที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
ปัญญาวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยปัญญา ได้แก่ ผลปัญญา คือปัญญาที่ประกอบกับอรหัตตผลจิต
เพราะฉะนั้น เมื่อว่าโดยพระอภิธรรมแล้ว เจโตวิมุตติกับปัญญาวิมุตติ จึงเกิดขึ้นพร้อมกันกับอรหัตตผลจิต ก็เจโตวิมุตตินั้น ได้แก่ เอกัคคตาหรือสัมมาสมาธิ ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ปัญญาหรือสัมมาทิฐิ ที่ประกอบด้วยอรหัตตผลจิต

อริยมรรค ชื่อว่า กำลังหลุดพ้นจากกิเลส
อริยผล ชื่อว่า หลุดพ้นแล้วจากกิเลส

อริยมรรคนั้นเป็นกุศลจิตมี ๔ คือโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค และอรหัตตมรรค
อริยผลเป็นผลของมรรคเป็นวิบากจิต ก็มี ๔ เท่ากับอริยมรรค คือโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล และอรหัตตผล

ในขณะที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้น ทำลายกิเลสให้ขาดเป็นสมุจเฉทแล้วดับไป ผลจิตอันเป็นวิบากจะเกิดขึ้นสืบต่อจากมรรคจิตทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาเกิดคั่นในระหว่างนั้น นั่นคือเมื่อมรรคอันเป็นเหตุเกิดขึ้นแล้วดับลง ผลของมรรคจะเกิดต่อทันที โดยไม่มีจิตอื่นมาคั่น

การที่มรรคจิตอันเป็นกุศลเกิดขึ้นแล้วดับไปผลจิตอันเป็นวิบากก็เกิดขึ้นทันที โดยไม่ต้องรอเวลา นี้แหละชื่อว่า อกาลิโก เพราะไม่มีกาลเวลาในการให้ผลกุศลอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นมหากุศลหรือฌานกุศลเมื่อเกิดขึ้นและดับไปแล้วที่จะให้ผลทันทีเหมือนมรรคจิตหามีไม่ ต้องรอเวลาที่จะให้ผลทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นมรรคจิตเท่านั้นจึงชื่อว่า อกาลิโก กุศลอื่นๆ ไม่ชื่อว่าอกาลิโก

ในอรรถกถา ขุททกนิกาย อิติวุตตกะ สัททสูตร กล่าวว่า สมาธิชื่อว่า เจโตวิมุตติ เป็นผลของสมถะ และที่สมาธิได้ชื่อว่าเจโตวิมุตติเพราะพ้นจากราคะ
ปัญญาชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เป็นผลของวิปัสสนา และที่ปัญญาได้ชื่อว่าปัญญาวิมุตติ เพราะพ้นจากอวิชชา

ใน คัมภีร์บุคคลบัญญัติ แสดงวิมุตติของพระอรหันต์ ๒ อย่าง คือ อุภโตภาควิมุตติ และปัญญาวิมุตติ ไม่มีเจโตวิมุตติ

อุภโตภาควิมุตติ ได้แก่ บุคคลที่ได้สมาบัติ ๘ คือได้ทั้งรูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ออกจากสมาบัติแล้วเจริญวิปัสสนา เห็นความเสื่อมไปสิ้นไปของสังขารทั้งหลายด้วยวิปัสสนาปัญญา เห็นอริยสัจ ๔ ด้วยมรรคปัญญา กล่าวคือบุคคลประเภทอุภโตภาควิมุตตินี้พ้นจากรูปกายคือรูปฌานด้วยอรูปฌานหรืออรูปสมาบัติ และเพราะเจริญฌานที่มีอรูปเป็นอารมณ์ จึงชื่อว่าพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติก่อนเป็นครั้งแรก จากนั้นจึงพ้นจากนามกาย คือกิเลสด้วยอริยมรรคเป็นครั้งที่สอง เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าอุภโตภาควิมุตตบุคคล เพราะหลุดพ้นจากส่วนสองคือ ๒ ครั้ง
ครั้งแรกพ้นจากรูปกายด้วยอรูปสมาบัติ
ครั้งที่ ๒ พ้นจากกิเลสด้วยอริยมรรค

ท่านจัดบุคคลที่ชื่อว่าอุภโตภาควิมุตติไว้ ๕ พวกคือบุคคลที่ได้อรูปสมาบัติ ๔ ออกจากอรูปสมาบัติแต่ละสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้วจึงบรรลุพระอรหัตต์จัดเป็น ๔ พวก กับพระอนาคามีผู้ออกจากนิโรธสมาบัติแล้ว บรรลุพระอรหัตต์อีกพวกหนึ่ง จึงเป็น ๕ พวก

สรุปว่า บุคคลที่ได้ชื่อว่า อุภโตภาควิมุตตินั้น ได้แก่พระอรหันต์ผู้ได้สมาบัติ ๘ เท่านั้น

ปัญญาวิมุตติ ได้แก่บุคคลผู้มิได้ถูกต้องสมาบัติ ๘ ด้วยกาย แต่หลุดพ้นจากกิเลสเพราะเห็นด้วยปัญญา ท่านจัดปัญญาวิมุตติบุคคลไว้ ๕ พวก คือพระอรหันต์ผู้สุกขวิปัสสก คือเจริญวิปัสสนาล้วนๆ พวกหนึ่ง และบุคคลผู้ออกจากรูปฌาน ๔ แต่ละฌานแล้วเจริญวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหันต์อีก ๔ พวกคือ
ออกจากปฐมฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากทุติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑
ออกจากตติยฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์ ๑ ออกจากจตุตถฌานแล้วบรรลุพระอรหัตต์อีก ๑ จึงรวมเป็น ๕ พวก ซึ่งพระอรหันต์ทั้ง ๕ พวกนี้ไม่มีท่านใดเลยที่ได้สมาบัติ ๘ อย่างมากก็ได้เพียงรูปฌาน ๔ เท่านั้น
ถึงกระนั้น บุคคลทั้งสองพวกนี้ คือทั้งอุภโตภาควิมุตติและปัญญาวิมุตติต่างก็ได้ชื่อว่า พระอรหันต์ผู้หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงเป็นสมุจเฉทวิมุตติด้วยกันทั้งสิ้น


ตอบผิดห้อง
ที่ตอบมันอยู่ห้องนี้
v
eragon_joe เขียน:
:b6: :b6: :b6:

โธ่...อุตสาห์ยอมเสี่ยงตายมาหย่อนความคิดเห็น
รอลุงหมานชี้แจงเพิ่มเติม

ไหงลุงหมานมาตอบแค่นี้ล่ะ...

มันต้องมีความเห็นที่แจ๋มกว่านี้สิ่ จริงม๊ะ

:b12: :b12: :b12:

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2015, 09:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 09 เม.ย. 2009, 19:25
โพสต์: 579

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่าจิตว่าง ถ้าหมายถึง การจะทำหน้าที่ของจิต จิตจะต้องอาศัย อารมณ์ในการเกิดขึ้นและดับลง
จิตจะขาดจากอารมณ์ไม่ได้ ขาดอารมณ์เมื่อไร จิตจะไม่ก่อเกิดขึ้นได้เลย จิตและอารมณ์จึงเป็นสิ่งคู่กัน

คำว่าว่างจาก อารมณ์ มี2ระดับ คือ ว่างจากอารมณ์เพื่อเป็นที่ตั้งของจิต ภาวะนี้มีได้กับจิตที่
กำลังอยู่บนความระงับของจิตตสังขาร และรอการดับสนิทเมื่อรูปขันธ์จะแตกทำลายเพราะสิ้นอายุขัย
ความขาดจากอารมณ์โดยสมบูรณ์ จะมีได้ก็เฉพาะขณะแห่งการจะปรินิพพาน ของพระอรหันต์

กับคำว่าว่างจากอารมณ์ ที่ยึดถือ สภาพอย่างนี้จิตจะยังไม่ขาดจากอารมณ์ที่จะเป็นที่ตั้งของจิต
แต่ในทุกการก่อเกิดทุกกิริยาจิต บุคคลสามารถจะสร้างภาวะของการกระทำในใจโดยแยบคาย
ให้จิตมีสภาพของการทรงอยู่ด้วยอารมณ์ที่ไม่เจาะจง ไม่จริงจัง ไม่มั่นหมาย และสักแต่ว่าได้
ต่อทุกสิ่งที่เห็น ฟัง ทราบ รู้สึก รู้แจ้ง ทั้งหยาบประณีต ละเอียด ทั้งภายในทั้งภายนอก

ภาวะอย่างนี้ จิตจะให้ความรู้สึกว่ากำลังว่าง จากอารมณ์ที่ยึดถือ แต่ไม่ได้หมายถึงว่าจิตจะขาด
จากอารมณ์ในการอาศัยกันเกิดขึ้นและดับลง

จิตถ้ารู้จักวาง ให้ว่างจากสิ่งที่พร้อมถลำไปยึดมั่นจริงจัง จิตอย่างนั้นก็จะมีภาวะที่สงบและสะอาด
เยือกเย็น กว่าจิตที่ชอบยึดถือเป็นแน่

:b51: :b53: :b53:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 59 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 50 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร