ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

เอหิปัสสิโก
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=50199
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  รสมน [ 02 มิ.ย. 2015, 04:50 ]
หัวข้อกระทู้:  เอหิปัสสิโก

ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ

๑. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ (ลุมพินีวัน)

๒. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ (พุทธคยา)

๓. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ (สารนาถ)

๔. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้ (กุสินารา)

สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ

ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่าพระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

พระไตรปิฎก มหาปรินิพพานสูตร ที.ม. ๑๐/๑๓๑/๑๓๕



พุทธโอวาทก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต ฯ"


พระไตรปิฎก มหาปรินิพพานสูตร ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๔๓/

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง



" ท่านบอกไว้ในธรรมคุณว่า.
" เอหิปัสสิโก "
พึงเรียกร้องสัตว์ทั้งหลายให้เข้ามาดูธรรม.
ดูกุศลธรรมและอกุศลธรรม.

กุศลธรรมจิตเราดี. จิตเราฉลาด,
จิตเรามีความสุขสบาย,
เราทำการงานทุกอย่างก็ต้องการความสุขสบาย,
นี่แหละกุศลธรรม.

อกุศลธรรมคือ จิตเราไม่ดี.
ทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน,
ท่านเรียกร้องให้สัตว์มาดูธรรมอันนี้,
ลองเรียกหาความทุกข์จากดินฟ้าอากาศดูซิ . ไม่มี,

นอกจากใจที่มีทุกข์แล้ว. สุขก็ใจของเรา.
จะมีสุขดีนอกจากใจเรามีแล้วที่อื่นไม่มี. "

"ชั่ว"
นอกจากใจเราชั่วแล้ว, ที่อื่นก็ไม่มี.

" ถ้าจิตเราไม่ดีแล้วก็พากันไม่ดีไปทั้งหมด,
จิตเราดีแล้วก็ดีไปทั้งหมด.
บิดามารดา สามีภรรยา บุตรธรรมดาก็รักกัน,
ถ้าจิตเราดีแล้วก็ไม่ทะเลาะกัน."

" สรุปแล้วธรรมะทั้งหลายทั้งหมดแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์.
อย่าเข้าใจว่าอยู่ที่แห่งอื่นแห่ใด,
" อยู่ที่เรา "

เราอาศัยพระสามองค์อยู่คือ พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์,
ท่านวางศาสนาไว้ตรงนี้."

" ธรรมะแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์รวมอยู่ในตัวของเรา.
เราเป็นตู้พระไตรปิฎก. เหตุใดเล่า.

สูตตปิฎก วินัยปิฎก ปรมัตถ์ปิฎก ทั้งสามนี้รวมเป็นพระไตรปิฎก.

อิสโส, ปิสโส, นิสังโส

สูตตปิฎก., ได้แก่สูดลมหายใจเขาไป

วินัยปิฎก., ได้แก่หายใจลมออกมา

ปรมัตถ์ปิฎก., ได้แก่ผู้รู้ที่อยู่ข้างใน

รักษาชีวิตินทรีย์ไว้ไม่ให้แตกไม่ให้ทำลาย,
นี่แหละเราอาศัยพระสามองค์นี้. ก็ต้องกราบต้องไหว้,
เราต้องปฏิบัติพระสามองค์นี้.

ถ้าท่านละไปแล้ว.
หมอก็รักษาชีวิตของเราไม่ได้.

ถ้าพระสามองค์นี้ยังรักษาเราอยู่, หมอก็ยังรักษาได้.
ตราบใดมีลมหายใจอยู่, หมอก็รักษา.
ถ้าหมดลมหายใจ, หมอก็ไม่รักษา.
เห็นไหมล่ะ. จริงหรือไม่จริง.
นี่แหละพระสามองค์เราต้องปฏิบัติ, ต้องกราบต้องไหว้. "

" ท่านจึงว่าธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.
ถ้าสัตว์ใดปฏิบัติธรรมดี ธรรมย่อมนำความดีมาให้.
ถ้าสัตว์นั้นปฏิบัติธรรมชั่ว ธรรมก็นำความชั่วมาให้.

ที่เรามานั่งอยู่ที่นี่.
ผู้ใดประพฤติธรรมดี ธรรมก็ให้ดีแก่เรา.
ผู้ใดประพฤติไม่ดี ธรรมก็ให้ไม่ดีแก่เรา."

" เมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว.
โอปนะยิโก, น้อมเข้ามารู้ภายใน.
รู้เฉพาะตนนั่นแหละ, นี่แหละข้อปฏิบัติที่นำมาเตือนใจ,
พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาบารมีของท่านทั้งหลาย."

" เมื่อท่านได้ฟังแล้ว.
"โยนิโสมมนสิการ"
พากันกำหนดจดจำไว้แล้ว, พากันประพฤติปฏิบัติ.
ฝึกหัดตนไปตามธรรมคำสั่งสอนดังได้บรรยายแล้ว.

ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุขความเจริญ.......,
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้.-

------------------------------------------------------------------------@

คัดลอกจาก หนังสืออนุสรณ์งานศพพระอาจารย์ฝั้น อาจารเถระ ในงานเสด็จพระราชทานเพลิง ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑

เจ้าของ:  เปลี่ยนชื่อใหม่ [ 02 มิ.ย. 2015, 10:27 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เอหิปัสสิโก

:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  asoka [ 04 มิ.ย. 2015, 10:06 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เอหิปัสสิโก

s006
เอหิปัสสิโก อาจแปลได้เป็น 2 นัยยะ

เอหิ ๆ = มาซิๆ

ปัสสิ ๆ = ดู ๆ

แปลออก = พากันมาดูสิๆ

แปลเข้า = มาดูฉันซิ ๆ

พากันมาดูสิ นี่เป็นคำแปลของผู้ที่บรรลุธรรม เห็นธรรม ถึงธรรม ได้สัมผัส ลิ้มชิมรสแห่งธรรมแล้วชวนผู้อื่นมาดูมาชิม

ส่วนผู้ที่ยังไม่เห็นธรรมไม่ได้ชิมรสแห่งธรรมนั้นจักได้ประโยชน์น้อยในการชวนผู้อื่นมาดู พึงควรต้องแปลเข้าข้างในจึงจักเกิดประโยชน์ใหญ่แก่ตน

เอหิปัสสิโก = มาดูฉันซิ ๆ

ธรรมะๆที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น เป็นสิ่งที่เรียกร้องให้เราเข้าไปดูอยู่เสมอ พิสูจน์ได้ทันทีโดยการลองนั่งหลับตา ปิดตาเนื้อ เปิดตาใจคือตาสติปัญญาขึ้นมา

นิ่งรู้ นิ่งสังเกตเข้าไปในกายใจหมายไว้ที่เดียวคือ "ปัจจุบันอารมณ์" ทุกท่านจะได้พบความจริงว่ามีธรรมะเรียกร้องเราให้เข้าไปดู ไปรู้ ไปสังเกตอยู่ตลอดเวลา ทางทวารทั้ง 6 มันจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตามกำลังแห่งเหตุ ปัจจัย กรรมและวิบาก

สิ่งใดที่เกิดขึ้นมาเองเป็นเองโดยไม่ได้กำหนด สั่ง บอก บังคับบัญชาไม่ได้สิ่งนั้นเรียกว่าธรรมหรือ อนัตตาธรรม พึงปฏิบัติกับสิ่งนั้น จึงจะเรียกได้ว่าปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติวิปัสสนาภาวนา ผลที่จะได้เกิดตามมาย่อมเป็นธรรมเป็นอนัตตาธรรมทั้งสิ้น

ธรรมที่มาเรียกร้องให้เราไปดูนั้นเขาจะเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาบนฐาน 4 ฐาน เท่านั้นเอง คือ กาย เวทนา จิตและธรรม
ปัจจุบันอารมณ์เขาจะปรวนแปรเปลี่ยนแปลงไปบนฐานทั้ง 4 นี้เสมอ จนกว่าจะหมดกำลังแห่งกรรมและบากที่แสดง ก็จึงจะเข้าไปสู่ อุเบกขา ความวางเฉย วางเฉยไปนานเข้าๆ ก็จะลงสู่ความ "ปกติ" อันเป็นจุดสมดุลย์ของธรรม หรือความเป็นกลางอย่างยิ่งของจิต
:b44:
นี่คือความลึกซึ้งของ "เอหิปัสสิโก"
onion

เจ้าของ:  รสมน [ 05 มิ.ย. 2015, 05:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เอหิปัสสิโก

ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ

เจ้าของ:  Duangtip [ 05 มิ.ย. 2015, 15:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เอหิปัสสิโก

:b39: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:

เจ้าของ:  asoka [ 08 มิ.ย. 2015, 14:56 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เอหิปัสสิโก

:b4:
เมื่อเข้าใจความหมายของ "เอหิปัสสิโก" ได้อย่างถูกต้องในเชิงปฏิบัติ การทำวิปัสสนาภาวนาจึงกลายเป็นเรื่องง่ายทันทีง่ายยังไงลองทำดู

นั่งขัดสมาธิตัวตรงหลังตรงคอตั้งตรง ทำตัวทำใจให้นิ่ง รู้ อยู่เฉยๆ ไม่ตอบโต้อะไรกับสัมผัสและอารมณ์ ไม่ตั้งกำหนดอะไรอื่นไว้ คอยเฝ้าสังเกตอยู่เฉพาะที่ปัจจุบันอารมณ์

ท่านจะได้พบเห็นว่า ภายในเวลาไม่เกิน 1 นาที จะมีธรรมมาเอหิปัสสิโก คือจะมีผัสสะทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ผลัดเปลี่ยนกันมาเรียกจิตของท่านไปดูไปรู้ ไปสังเกต พิจารณา

หลังจากนั้นความยินดียินร้ายและตัณหา ความอยากจะเกิดขึ้นตามมาก่อให้เกิด มโนกรรม วจีกรรมและกายกรรมสืบเนื่องกันไปตามลำดับ

ถ้าหยุดความยินดียินร้ายเสียได้ ก็จะเกิด อุเบกขา ความวางเฉยขึ้นมาแทนที่ วางเฉยได้มากเข้าๆ จิตก็จะพักงานอยู่ที่ "ปกติ" แล้วเหตุการณ์ก็จะกลับไปเริ่มอย่างเดิมอีกไม่มีสิ้นสุดทั้งวันทั้งคืน หากยังไม่หมดเหตุ ที่คอยตอบโต้กับปัจจัย

หมดเหตุได้เมื่อไหร่ ทุกสัมผัสอารมณ์ก็เป็น "สูญ"

นี่คือความพิสดารของ "เอหิปัสสิโก"
onion

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 14 มิ.ย. 2015, 06:54 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: เอหิปัสสิโก

รสมน เขียน:
ดูกรอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา สังเวชนียสถาน ๔ แห่ง เป็นไฉน คือ

๑. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ฯ (ลุมพินีวัน)

๒. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ฯ (พุทธคยา)

๓. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตทรงยังอนุตตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ ฯ (สารนาถ)

๔. สังเวชนียสถานอันเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยมาตามระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในที่นี้ (กุสินารา)

สังเวชนียสถาน ๔ แห่งนี้แล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ฯ

ดูกรอานนท์ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา จักมาด้วยความเชื่อว่าพระตถาคตประสูติในที่นี้ก็ดี พระตถาคตตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ก็ดี พระตถาคตทรงยังอนุตรธรรมจักรให้เป็นไปในที่นี้ก็ดี พระตถาคตเสด็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ก็ดี ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ฯ

พระไตรปิฎก มหาปรินิพพานสูตร ที.ม. ๑๐/๑๓๑/๑๓๕



พุทธโอวาทก่อนเสด็จดับขันธปรินิพพานในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ

" ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด ฯ นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต ฯ"


พระไตรปิฎก มหาปรินิพพานสูตร ที.ม. (ไทย) ๑๐/๑๔๓/

นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต, อะระหะโต, สัมมาสัมพุทธัสสะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง



" ท่านบอกไว้ในธรรมคุณว่า.
" เอหิปัสสิโก "
พึงเรียกร้องสัตว์ทั้งหลายให้เข้ามาดูธรรม.
ดูกุศลธรรมและอกุศลธรรม.

กุศลธรรมจิตเราดี. จิตเราฉลาด,
จิตเรามีความสุขสบาย,
เราทำการงานทุกอย่างก็ต้องการความสุขสบาย,
นี่แหละกุศลธรรม.

อกุศลธรรมคือ จิตเราไม่ดี.
ทุกข์ยากวุ่นวายเดือดร้อน,
ท่านเรียกร้องให้สัตว์มาดูธรรมอันนี้,
ลองเรียกหาความทุกข์จากดินฟ้าอากาศดูซิ . ไม่มี,

นอกจากใจที่มีทุกข์แล้ว. สุขก็ใจของเรา.
จะมีสุขดีนอกจากใจเรามีแล้วที่อื่นไม่มี. "

"ชั่ว"
นอกจากใจเราชั่วแล้ว, ที่อื่นก็ไม่มี.

" ถ้าจิตเราไม่ดีแล้วก็พากันไม่ดีไปทั้งหมด,
จิตเราดีแล้วก็ดีไปทั้งหมด.
บิดามารดา สามีภรรยา บุตรธรรมดาก็รักกัน,
ถ้าจิตเราดีแล้วก็ไม่ทะเลาะกัน."

" สรุปแล้วธรรมะทั้งหลายทั้งหมดแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์.
อย่าเข้าใจว่าอยู่ที่แห่งอื่นแห่ใด,
" อยู่ที่เรา "

เราอาศัยพระสามองค์อยู่คือ พระสูตร พระวินัย พระปรมัตถ์,
ท่านวางศาสนาไว้ตรงนี้."

" ธรรมะแปดหมื่นสี่พันพระธรรมขันธ์รวมอยู่ในตัวของเรา.
เราเป็นตู้พระไตรปิฎก. เหตุใดเล่า.

สูตตปิฎก วินัยปิฎก ปรมัตถ์ปิฎก ทั้งสามนี้รวมเป็นพระไตรปิฎก.

อิสโส, ปิสโส, นิสังโส

สูตตปิฎก., ได้แก่สูดลมหายใจเขาไป

วินัยปิฎก., ได้แก่หายใจลมออกมา

ปรมัตถ์ปิฎก., ได้แก่ผู้รู้ที่อยู่ข้างใน

รักษาชีวิตินทรีย์ไว้ไม่ให้แตกไม่ให้ทำลาย,
นี่แหละเราอาศัยพระสามองค์นี้. ก็ต้องกราบต้องไหว้,
เราต้องปฏิบัติพระสามองค์นี้.

ถ้าท่านละไปแล้ว.
หมอก็รักษาชีวิตของเราไม่ได้.

ถ้าพระสามองค์นี้ยังรักษาเราอยู่, หมอก็ยังรักษาได้.
ตราบใดมีลมหายใจอยู่, หมอก็รักษา.
ถ้าหมดลมหายใจ, หมอก็ไม่รักษา.
เห็นไหมล่ะ. จริงหรือไม่จริง.
นี่แหละพระสามองค์เราต้องปฏิบัติ, ต้องกราบต้องไหว้. "

" ท่านจึงว่าธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม.
ถ้าสัตว์ใดปฏิบัติธรรมดี ธรรมย่อมนำความดีมาให้.
ถ้าสัตว์นั้นปฏิบัติธรรมชั่ว ธรรมก็นำความชั่วมาให้.

ที่เรามานั่งอยู่ที่นี่.
ผู้ใดประพฤติธรรมดี ธรรมก็ให้ดีแก่เรา.
ผู้ใดประพฤติไม่ดี ธรรมก็ให้ไม่ดีแก่เรา."

" เมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว.
โอปนะยิโก, น้อมเข้ามารู้ภายใน.
รู้เฉพาะตนนั่นแหละ, นี่แหละข้อปฏิบัติที่นำมาเตือนใจ,
พอเป็นเครื่องประดับสติปัญญาบารมีของท่านทั้งหลาย."

" เมื่อท่านได้ฟังแล้ว.
"โยนิโสมมนสิการ"
พากันกำหนดจดจำไว้แล้ว, พากันประพฤติปฏิบัติ.
ฝึกหัดตนไปตามธรรมคำสั่งสอนดังได้บรรยายแล้ว.

ขอให้ท่านทั้งหลายมีความสุขความเจริญ.......,
เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้.-

------------------------------------------------------------------------@

คัดลอกจาก หนังสืออนุสรณ์งานศพพระอาจารย์ฝั้น อาจารเถระ ในงานเสด็จพระราชทานเพลิง ณ วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑

:b8: :b8: :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/