ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
การปรุงแต่งของใจ http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=49534 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | muisun [ 24 ก.พ. 2015, 11:37 ] |
หัวข้อกระทู้: | การปรุงแต่งของใจ |
จิตของเราคิดและพูดอยู่ตลอดเวลา จนเราไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ประเดี๋ยวจิตก็พูดออกมาเป็นประโยค มีเรื่องราวชัดเจน ประเดี๋ยวก็พูดออกเป็นคำเดี่ยวๆ ไม่มีเหตุผลอะไร ประเดี๋ยวคิดออกจนเป็นภาพเกิดขึ้น บ้างก็ภาพหมา แมว คน สรรพสิ่งต่างๆ จิตปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา นี่แหละคือการปรุงแต่งสังขารของจิต ถ้าเราไม่ดับ จิตก็ต้องเป็นไปตามความคิดที่ปรุงแต่งอย่างนั้นๆ นี่แหละธรรมอันใดแลย่อมเกิดแต่เหตุ พระองค์ทรงสอนให้รู้จักเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น ให้รู้ถึงความเกิดและดับของธรรมเหล่านั้น (ดับเกลี้ยงไม่เหลือหรอ) ดังนั้น เราจึงต้องเข้าไปรู้ทันการปรุงแต่ง ถ้าการปรุงแต่งเริ่มเกิดขึ้น กำหนด "จะ" บ่อยๆ กำหนดจะคิดดับๆๆ บ่อย เพื่อสังเกตให้เห็นถึงการปรุงแต่งของจิตเอง เมื่อเราสังเกตเห็น การปรุงแต่งก็ดับให้เห็นในชั่วพริบตาที่เราสังเกตอยู่... |
เจ้าของ: | muisun [ 28 ก.พ. 2015, 18:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การปรุงแต่งของใจ |
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่เล็งเห็นธรรมอื่นแม้แต่อย่างเดียว ที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเหมือนจิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้จะเปรียบเทียบให้เห็นว่า จิตเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วเพียงใดนั้น ก็กระทำไม่ได้ง่าย ฯ" พระบาลีจากพระสูตรนี้ รจนาไว้ชัดๆว่า "ฯ ยาว ลหุปริวตฺตํ จิตฺตนฺติ ฯ" จิตเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก พระบาลีพูดถึงจิตในแบบลักษณะ คือ จิตฺตนฺติ จิตย่อมรู้ชัดว่า ลหุปริวตฺตํ เปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จิตเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมาก จนดูเหมือนกับจิตมีการเกิดๆ-ดับๆนั้น เป็น "จิตสังขาร" หรือ "สังขารจิต" คือจิตได้ยึดถือเอาสิ่งที่ถูกรู้นั้นเป็นของตนหรือเป็นตน ด้วยลืมหันกลับมามองดูตนเอง "จิตผู้รู้" ที่ยืนสภาพรู้ อยู่ทุกขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงแปรปรวนนั้น ฉะนั้นเราต้องสังเกตไปให้ถึงการเปลี่ยนแปลงของจิตที่รวดเร็ว วิธีการฝึกดู หากความคิดเริ่มเกิด กำหนด จะคิดหนอๆ ระหว่างที่คิดอยู่กำหนด คิดหนอๆ หากความคิดเริ่มลดลง กำหนดจะลดหนอๆๆ หากความคิดจางลงไป กำหนดจางหนอๆ หากความคิดจะหายไป กำหนดจะหายหนอๆ หากความคิดหายไปแล้วกำหนดหายหนอๆๆ |
เจ้าของ: | สุชาวดี [ 28 ก.พ. 2015, 19:36 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การปรุงแต่งของใจ |
![]() ![]() ยังไม่เข้าใจ ยังไม้แจ้งค่ะ |
เจ้าของ: | ธรรมมา [ 28 ก.พ. 2015, 20:15 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การปรุงแต่งของใจ |
หนอๆ อะไรๆ ก็หนอๆ เกิดก็หนอ ดับก็หนอ อยากทราบว่าหนอนี่ทำไมต้องร้องด้วย หรือให้จังหวะมัน ผลของหนอมันจะเป็นอะไรหนอ |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 28 ก.พ. 2015, 20:21 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การปรุงแต่งของใจ |
ธรรมมา เขียน: หนอๆ อะไรๆ ก็หนอๆ เกิดก็หนอ ดับก็หนอ อยากทราบว่าหนอนี่ทำไมต้องร้องด้วย หรือให้จังหวะมัน ผลของหนอมันจะเป็นอะไรหนอ น้านดิ... เป็นคำถามที่ดี....ทำไมต้อง..หนอ? ผมคิดอะไรได้อย่างหนึ่งแล้วละ... ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 01 มี.ค. 2015, 06:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การปรุงแต่งของใจ |
สุชาวดี เขียน: ![]() ![]() ยังไม่เข้าใจ ยังไม้แจ้งค่ะ คำว่าจิตเป็นผู้รู้ จะอุปมาให้เข้าใจง่าย เหมือนหนึ่งว่าเรานั่งดูละคร เราจะรู้เห็น จะรู้ได้ยิน และรู้เรื่องราวต่างๆ ในตัวละครเหล่านั้น แต่สิ่งที่ถูกรู้เห็น ถูกรู้ได้ยินและเรื่องราวต่างๆนั้น เป็นตัวละครที่แสดงให้ดู ถ้าย้อนกลับมาพูดทางธรรม จิตคือผู้ดูละคร อารมณ์เป็นตัวถูกรู้คือตัวละครที่แสดง และเรื่องราวต่างๆคือสังขารปรุงแต่งอารมณ์ให้จิตรู้ |
เจ้าของ: | สุชาวดี [ 01 มี.ค. 2015, 11:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การปรุงแต่งของใจ |
ขอบคุณค่ะ ลุงหมาน ![]() ดิฉันต้องตามดูที่จิต ให้ทันอารมณ์ ใช่มั้ยคะ ต้องเพียรตัวสติไปเรื่อยๆ ดิฉันรู้ตัวว่าสติ ยังอ่อน เลยยังมองไม่ชัด |
เจ้าของ: | muisun [ 01 มี.ค. 2015, 14:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การปรุงแต่งของใจ |
การใส่หนอ เพื่อให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมที่เกิดขึ้นมาเป็นธรรมดา และการดับไปของธรรมเป็นธรรมดา เพื่อให้เห็นและรู้จุดดับของเค้า แต่ถ้าสังเกตไปให้ถึงการเปลี่ยนแปลงของจิตได้ ต้องได้ ต้น กลาง สุด ไม่ต้องใส่หนอก็ได้... การไม่ใส่หนอจะทำให้ไม่เห็นจุดดับ เพราะหนอเป็นตัวสรุปจบของการทำ จะคิดหนอ จะเผลอหนอ ถ้าไม่ใส่หนอความคิดก็ไม่ดับ ความคิดก็ไม่ขาด...เปรียนเสมือนคนข้ามฝั่งแล้วไม่เอาเรือ ไม่เอาแพ จะว่ายน้ำไปเองได้อย่างไร ในเมื่อถึงฝั่งแล้วเค้าจะไม่เอาเรือ เอาแพไปหรอก ถึงฝั่งแล้วก็ไม่มีใครแบกเรือขึ้นฝั่งหรอก คนที่ทันเกิดทันดับเค้าก็ทิ้งหนอไปเอง.. |
เจ้าของ: | นายฏีกาน้อย [ 01 มี.ค. 2015, 15:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การปรุงแต่งของใจ |
- อุทยัพพยาญาณ ที่มีกำลังจ๊ะ คือจิตผู้รู้ ![]() อ้างคำพูด: บทว่า จิตฺตํ สมาธิยติ - จิตย่อมตั้งมั่น คือจิตย่อมตั้งมั่นเสมอ. จิตมีอารมณ์เดียว. บทว่า สมาหิเต จิตฺเต - เมื่อจิตตั้งมั่น เป็นสัตตมีวิภัตติลงในภาวลักษณะโดยเป็นภาวะ. ย่อมกำหนดรู้ตามความเป็นจริงโดยความตั้งมั่นแห่งจิต. บทว่า ยถาภูตํ ปชานาติ - ย่อมรู้ตามความเป็นจริง คือ รู้สังขารตามความเป็นจริงด้วยสามารถแห่งอุทยัพพยญาณเป็นต้น. การรู้สังขาร (กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร)ตามจริง หรือรู้ความปรุงแต่งทางกาย วาจา ใจ คือรู้ขันธ์ ๕ หรือ รู้รูปนาม กายใจนี่ตามจริงนี่แหละครับ ส่วนลำดับญาณ หาอ่านใน ลานธรรมจักรจำได้ว่าเคยมี เพื่อนๆ ลงไว้ ![]() อุทยัพพยาญาณ เป็นญาณรู้เห็นความเกิดดับของสังขารตามจริง ปัญญามี ๓ อย่าง สุตตมยปัญญา ก็จะจำได้ว่านี่แพ นี่เรือ นี่เรือรักกระดาษ ![]() ![]() จิตที่ตั้งมั่น ย่อมรู้ตามความเป็นจริง เป็นคุณภาพจิตที่รู้ไตรลักษณ์ รู้ว่ากายสังขารเกิดดับ วจีสังขารเกิดดับ หรือจิตตสังขารเกิดดับอย่างไร รวมๆ แล้วก็อยู่ใน ขันธ์ ๕ รูปนามนี้นี่แหละครับ ไม่ได้เน้นคำเดียวโดดๆ ว่า "ดับ" เหมือนคนรุ่นใหม่ๆ เข้าใจ ในพระไตรปิฏก ที่พระองค์ตรัสไว้ คำว่า ดับ มีความหมายลึกซึ้ง หลายนัย จะเข้าใจเอะอะไปเหมือนคนรุ่นๆ เราเข้าใจง่ายๆ คงไม่ใช่ ดับโดยสมาธิ ดับด้วยปัญญา ดับด้วยอำนาจฌาน ดับแบบเห็นไตรลักษณ์ ดับแบบวิขัมภนะ ดับแบบตทังคะ ดับชั่วคราว น้ำจิ้มครับ จะเข้าใจว่า ดับอย่าง ที่เราเข้าใจง่ายๆ ทำๆ ไปจะไม่เกิดปัญญา ติดแค่สมาธิ ทำปัญญาแต่ทำผิด ได้แค่สมาธิ นิ่งๆ อึนๆ ไม่รู้สังขารตามเป็นจริง ถูกสังขารหลอก สังขารตลบหลัง จะบอกว่าเคยมาแล้ว แหะๆ ![]() |
เจ้าของ: | muisun [ 02 มี.ค. 2015, 16:47 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: การปรุงแต่งของใจ |
สมาธิคือกำหนดอย่างเดียวไม่สังเกตอะไร ไม่สังเกตว่าจิตเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ต้องถูกหลอกเป็นของธรรมดา แต่ถ้าถูกจิตหลอก กำหนดจะหลอกหนอๆๆ หายก็หายหนอ ไม่หายก็ไม่หายหนอ แค่นี้ก็ไม่ติดในสมาธิแล้ว ... |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |