ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนอันแท้จริง http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=49422 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | JIT TREE [ 11 ก.พ. 2015, 16:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนอันแท้จริง |
วัดท่ามะโอ จนกาย ไม่จนใจ จนเงิน ไม่จนบุญ ชายผู้ยากจนถามพระพุทธเจ้าว่า "เหตุใดข้าพระองค์จึงยากจนยิ่งนัก?" พระพุทธองค์ตรัสตอบ "เธอไม่รู้จักการให้และวิธีให้" ดังนั้นชายผู้ยากจนจึงพูดต่อว่า "ทั้งๆที่ข้าพระองค์ไม่มีสิ่งใดให้นี่นะ?" พระพุทธองค์ตรัสว่า "เธอนั้นมีอยู่ไม่น้อยเลย" ใบหน้า : ซึ่งสามารถให้รอยยิ้ม, ความสดใส, สดชื่น, เบิกบาน ปาก : เธอสามารถชื่นชม, ให้กำลังใจ หรือปลอบประโลม หัวใจ : มันสามารถเปิดอกกับผู้อื่น, ให้ความจริงใจ, ใสบริสุทธิ์, ให้ความเมตตา ดวงตา : ที่สามารถมองดูผู้อื่นด้วย สายตาแห่งความหวังดี, ด้วยความโอบอ้อมอารี ร่างกาย : ซึ่งสามารถใช้เพื่อช่วยเหลือผู้อื่น ฉะนั้น แท้จริงแล้วเธอมิได้ยากจนเลย "ความยากจนในจิตใจ คือ ความยากจนอันแท้จริง" Credit:วัดท่ามะโอ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ธรรมมา [ 11 ก.พ. 2015, 17:41 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนอันแท้จริง |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | JIT TREE [ 12 ก.พ. 2015, 10:30 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนอันแท้จริง |
ธรรมมา เขียน: ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | JIT TREE [ 12 ก.พ. 2015, 10:38 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนอันแท้จริง |
วัดท่ามะโอ มงคลที่ ๒๓ (ตอน ๑) กตญฺญุตา (ความกตัญญู) ความกตัญญู คือ การรู้จักบุญคุณที่ผู้อื่นกระทำต่อตนเอง เช่น การให้ทรัพย์ ให้วิชาความรู้ อบรมสั่งสอน หรือช่วยเหลือ ![]() ![]() ความกตัญญูนี้ยังรวมไปถึงกตเวที คือ การตอบแทนบุญคุณอีกด้วย ดังนั้น การรู้จักบุญคุณแล้วไม่ได้ตอบแทน ไม่นับเป็นความกตัญญู เพราะทุกคนก็รู้จักบุญคุณที่ผู้อื่นกระทำต่อตนเหมือนกัน แต่ถ้าไม่ตอบแทน ก็ไม่นับว่าเป็นความกตัญญู ![]() ![]() ความกตัญญูเป็นมงคลที่สำคัญมาก ส่งผลให้เราเจริญรุ่งเรืองในชีวิตต่อไป เพราะการตอบแทนบุญคุณผู้อื่นจะทำให้เราพัฒนาศักยภาพทางจิตให้มีคุณธรรมสูงส่งยิ่งๆ ขึ้นไป ชาวพุทธล้วนทราบว่าธรรมะแรกสุดของพระพุทธเจ้า คือ ธัมมจักัปปวัตนสูตร แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนชาวพุทธเป็นครั้งแรก คือ ความกตัญญู กล่าวคือ หลังจากตรัสรู้ใต้ต้นโพธิ์แล้ว ทรงประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข ๗ วัน หลังจากนั้นจึงเสด็จลุกขึ้นจากต้นโพธิ์ แล้วทอดพระเนตรมองดูต้นโพธิ์และโพธิบัลลังก์ ๗ วันโดยไม่กระพริบพระเนตร ในขณะนั้นพระองค์ระลึกถึงบุญคุณของต้นโพธิ์และโพธิบัลลังก์ที่ให้ร่มเงาและที่ประทับนั่ง จึงมองด้วยจิตที่ประกอบด้วยปีติปราโมทย์ตลอด ๗ วัน คนที่จะรู้จักบุญคุณและตอบแทนได้นั้น ต้องเป็นคนดีจริงๆ เพราะคนทั่วไปมักลืมบุญคุณของคนอื่น หรือแม้จะระลึกได้ก็ไม่ต้องการจะตอบแทน บางคนอาจตอบแทนบุญคุณด้วยความแค้นอีกด้วย เช่น ในสมัยหนึ่งพระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นวานร พบพราหมณ์คนหนึ่งหลงทางในป่าแล้วตกเหว จึงช่วยขึ้นมาจากเหว แต่พราหมณ์กลับเอาก้อนหินทุบหัวเพื่อต้องการจะกินเนื้อและดื่มเลือดของลิง นี้คือตัวอย่างของการตอบแทนบุญคุณด้วยความแค้น ต่อมาพราหมณ์เกิดโรคเรื้อนจนเน่าไปทั้งตัว แล้วถูกสูบลงอเวจีมหานรก พระพุทธเจ้าตรัสไว้ในอังคุตตรนิกาย ทุกนิบาตว่า ![]() ![]() ![]() "ภิกษุทั้งหลาย บุคคลที่หาได้ยากมี ๒ จำพวก คือ ๑. คนที่ทำบุญคุณก่อน ๒. คนที่รู้จักและตอบแทนบุญคุณ ในคัมภีร์อรรถกถาอธิบายว่า คนที่ทำบุญคุณก่อน เหมือนเจ้าหนี้ ส่วนคนที่รู้จักและตอบแทนบุญคุณ เหมือนลูกหนี้ หมายความว่า ถ้าเราได้รับบุญคุณจากผู้อื่น ไม่จำกัดเพียงเงินทองสิ่งของ แม้กระทั่งการเลี้ยงดูจากบิดามารดา หรือการอบรมสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ ก็ต้องรู้จักบุญคุณและตอบแทนในเวลาที่เหมาะสม จึงจะเป็นการปลดหนี้ของตัวเอง คนที่ยังไม่ได้ตอบแทนบุญคุณของผู้อื่น ก็เหมือนคนที่มีหนี้อยู่ ไม่อาจเป็นอิสระไปได้เลย ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() เครดิต:วัดท่ามะโอ อนุโมทนาสาธุค่ะ ![]() ![]() |
เจ้าของ: | JIT TREE [ 12 ก.พ. 2015, 11:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนอันแท้จริง |
วัดท่ามะโอ มงคลที่๒๒ ตอนที่๑ ความสันโดษ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() มงคลที่ ๒๒ (ตอน ๑) สนฺตุฏฺฐิ (ความสันโดษ) บางคนเข้าใจว่า ความพอเพียงหรือสันโดษคือการเฉื่อยชาไม่ขวนขวายหาวิชาความรู้ หรือทรัพย์ โดยรู้สึกยินดีกับสิ่งที่เรามีอยู่ ไม่ต้องพยายามหาเพิ่มให้มากขึ้น แต่ความเข้าใจเช่นนั้นยังไม่ถูกต้อง เพราะการเฉื่อยชานั้นเป็นความเกียจคร้าน ไม่ใช่ความพอเพียงหรือสันโดษ ความพอเพียงเป็นการยินดีพอใจกับสิ่งที่เรามีอยู่และหาได้อย่างสุดความสามารถ เมื่อเราแสวงหาอย่างเต็มกำลังแล้วได้รับเพียงใด ก็ใช้จ่ายเพียงนั้น ไม่แสวงหาจนเกินขอบเขต หรือใช้จ่ายจนเกินกำลังทรัพย์ เพราะการแสวงหาหรือใช้จ่ายเกินกำลังนั้นไม่่ใช่ความพอเพียง ![]() ชาวโลกทุกวันนี้เป็นทุกข์อยู่กับคำว่า ไม่พอ ถ้าเราพอ เราก็จะมีความสุขตามมีตามได้ คนสันโดษเป็นคนร่ำรวย คนไม่สันโดษเป็นคนจน ดังพระพุทธพจน์ว่า สนฺตุฏฺฐิปรมํ ธนํ (ความสันโดษเป็นทรัพย์อันประเสริฐ) ![]() ![]() ![]() ![]() คนละโมบแม้จะร่ำรวยเพียงใดก็เป็นคนจน เพราะเขาไม่รู้จักพอ จึงต้องเหน็ดเหนื่อยกับการแสวงหาและทำชั่วเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการด้วยการคดโกงหลอกลวงหรือข่มขู่ผู้อื่นที่ไม่มีทางสู้ แต่กรรมของเขาก็จะตามสนองในอีกไม่นาน เพราะเขาก็ต้องถูกคนอื่นหลอกลวงต่อไป และมีอบายรออยู่ในภพหน้า ![]() ![]() นิติศาสตร์กล่าวว่า สนฺโตสมูลํ หิ สุขํ (สุขมีความสันโดษเป็นมูลเหตุ) หมายความว่า คนไม่รู้จักพอชื่อว่าเป็นคนจน เพราะเขาต้องขวนขวายอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งในเวลากินดื่มก็ย่อมเป็นทุกข์ เช่น เมื่อพบอาหารรสจืด ก็บอกว่าอยากกินอาหารรสเค็ม หรือเปรี้ยว เป็นต้น ทำให้ต้องขวนขวายแสวงหาโดยไม่จำเป็น ![]() ![]() ที่ประเทศพม่ามีพระเถระรูปหนึ่งชื่อว่า มัตตยาสยาดอ ท่านมีความสันโดษเป็นที่เลื่องลือ เมื่อโยมหุงอาหารรสเค็มมาถวาย ท่านบอกว่า อาหารเค็มก็ดี ทำให้ย่อยง่าย เมื่อพบอาหารจืด ก็บอกว่า อาหารจืดก็ดี ไม่ต้องดื่มน้ำบ่อย พอฉันข้าวแฉะ ก็บอกว่าข้าวแฉะก็ดี ย่อยง่าย หรือถ้าฉันข้าวแข็ง ท่านก็บอกว่า ข้าวแข็งก็ดี เคี้ยวกรอบ ![]() ![]() ![]() ![]() ในคัมภีร์ชาดกมีเรื่องเล่าว่า มีพราหมณ์คนหนึ่งตายแล้วไปเกิดเป็นหงส์ทอง เขาทราบว่าลูกเมียลำบาก จึงมาหาแล้วสลัดขนทองให้วันละหนึ่งเส้น ทำให้ลูกเมียเขามีกินมีใช้ แต่ลูกเมียเขาไม่รู้จักพอ จึงจับหงส์ถอนขนจนหมด แต่ขนที่ถอนกลายเป็นขนนกธรรมดา แม้จะจับไว้เลี้ยงไว้ในสุ่ม ขนที่เกิดขึ้นก็กลายเป็นขนนกธรรมดา นี้คือตัวอย่างของคนโลภมากลาภหาย เป็นโทษของความไม่รู้จักพอเพียง คนที่มีทรัพย์สามารถได้รับสมบัติทั้งหมดได้ แม้คนที่มีความสันโดษถึงจะยากจน ก็สามารถได้รับสมบัติทั้งหมดเช่นกัน เพราะเขารู้จักพอเพียงกับสิ่งที่มีอยู่และหาได้ จึงเห็นสิ่งอื่นว่าเหมือนกับสิ่งที่เขามีอยู่ ดัง นิติศาสตร์กล่าวว่า "จิตของผู้ใดรู้จักพอเพียง เขาชื่อว่ามีสมบัติทุกอย่าง บุคคลที่สวมรองเท้าไว้ ก็เหมือนกับแผ่นดินทั้งหมดถูกหนังห่อหุ้มไว้" ![]() นอกจากนั้น อริยทรัพย์เป็นสิ่งที่เกิดแก่คนสันโดษเท่านั้น ไม่เกิดแก่คนโลภมากไม่รู้จักพอที่ขวนขวายสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ คนสันโดษจึงได้รับสมบัติที่คนโลภมากแม้จะร่ำรวยก็ไม่อาจมีได้ ![]() ![]() เครดิต:วัดท่ามะโอ อนุโมทนาสาธุค่ะ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | ลุงหมาน [ 16 ก.พ. 2015, 06:23 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: ความยากจนในจิตใจ คือความยากจนอันแท้จริง |
คนที่จนใจเป็นคนที่จนจริงๆ จนแม้กระทั้งที่จะคิดอะไรได้ คิดอะไรก็ไม่ออก |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |