วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 21:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 17  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 16:02 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




unnamed (52).png
unnamed (52).png [ 91.38 KiB | เปิดดู 2313 ครั้ง ]
สวัสดีครับ ท่านกบ

ความจริงผมก็ไม่อยากแสดงความคิดเห็นในเรื่องของวิญญาณธาตุ แต่พอดีเห็นว่ามีการพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวเรื่องนี้จึงออกแสดงความคิด และตัวเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของอภิธรรม เรื่องของพระไตรปิฏก แต่เห็นว่าเมื่อมีการพูดถึงเรื่องนี้ ผู้ที่จะเข้าใจได้ชัดเจนต้องเป็นผู้ที่ได้ฌาน ๔ ซึ่งบางตรั้งก็เป็นเร์่องที่บุคคลทั่วไป ไม่ได้ปฏิบัติธรรม หรือทำไปไม่ถึงก็ยากที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ แต่เรื่องของวิญญาณธาตุนี้ก็มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ หากเปรียบเทียบวิญญาณธาตนั้นเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง กระแสอารมณ์ที่เข้ามาเปรียบเหมือนคลื่น Microwave วัตถุชิ้นนั้นเมื่อถุกคลื่น วัตถุก็ร้อน จิตเราที่มีกรรมผูกติดยึดกับรูปที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุ รูปก็เป็นเหมือนวัตถุชิ้นนั้นก็พลอยร้อนไปด้วยเมื่อมีอารมณ์กรรมเข้ามาปรุงแต่ง เป็นเหมือนใน อาทิตตปริยายสูตร

เรี่องของธาตุคุณลุงหมานคงอธิบายได้ชัดเจน
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 16:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
อ้างคำพูด:
เช่นนั้น เขียน:

เพราะจิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ และปรุงแต่งได้
เพราะความปรุงแต่งได้ของจิตจึงทำให้จิตเองมีสภาวะของสมุทัย ที่นำจิตท่องไปในภพน้อยภพใหญ่

จิตตัวนี้..คืออะไร....ใช่เป็น...เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..รึไม่?

รึเป็นอะไรที่นอกเหนือไปจากนี้?

ก็งงเหมือนกันไม่รู้เอาความรู้มาจากสำนักไหน ว่า จิต เป็น เวทนา สัญญา สังขาร

เอา"จิต"มาเป็นตัว "สมุทัย" จะบ้าตาย สอนตามความใจของตัวเองอย่างนี้มั่วมาก
มันไม่ใช่จะให้โทษกับตัวเองแล้ว แถมยังจะให้โทษกับคนอื่นด้วย

จิตมีสภาวะเป็นสมุทัย จึงนำจิตไปสู่ภพน้อยภพใหญ่ อย่าพยายามดำน้ำเลย
มันเสี่ยงกับการทำลายคำสอน ตอบไม่ได้ก็ไม่ต้องตอบ

เอา"จิต"มาเป็นตัวปรุงแต่งได้เป็นตัวสังขาร ถามหน่อยเถอะสำนักไหนสอนอย่างนี้
ถ้าจะบอกว่ารู้มาเองก็ขอร้องเถอะหยุดเถอะ เขาเรียนธรรมของพระพุทธเจ้ากัน


ลุงหมานคงเลอะๆเลือน
เลย งง
อ่านดูที่อธิบายดีๆ ครับ
จิต เป็นธรรมชาติที่รู้อารมณ์ เป็นธรรมชาติของจิต
จิต ปรุงแต่งได้ เป็นคุณสมบัติของจิต คุณสมบัติเช่นนี้ ไม่ใช่ตัวจิต แต่เป็นอาการของจิต ที่พวกสำนักอภิธรรมซึ่งลุงหมานเรียนมา เรียกว่าเจตสิก

สภาวะที่จิตปรุงสมุทัย ก็ที่จิตนี้เองจริงหรือไม่จริง
ลุงหมานจะกอดอภิธรรมก็กอดแน่นๆ นะครับ
หยุดพร่ำเพร้ออภิธรรม ว่า มีเจตสิกเพียง 52 อะไรนั่น พระพุทธเจ้าไม่เคยสอนหรอกครับ

อ้างคำพูด:
เอา"จิต"มาเป็นตัว "สมุทัย" จะบ้าตาย สอนตามความใจของตัวเองอย่างนี้มั่วมาก
มันไม่ใช่จะให้โทษกับตัวเองแล้ว แถมยังจะให้โทษกับคนอื่นด้วย

ลุงหมาน คงบ้าตายแน่ครับ หากไม่รู้ว่า สมุทัยก็เป็นอาการของจิต จะละก็ละจากจิตนี่ล่ะครับ
อ้างคำพูด:
เอา"จิต"มาเป็นตัวปรุงแต่งได้เป็นตัวสังขาร ถามหน่อยเถอะสำนักไหนสอนอย่างนี้
ถ้าจะบอกว่ารู้มาเองก็ขอร้องเถอะหยุดเถอะ เขาเรียนธรรมของพระพุทธเจ้ากัน


พ่อครัว ไม่ทำครัว เรียกว่าพ่อครัวไหมครับ
ลุงหมาน หยุดพร่ำเพ้อ อภิธรรมเหมือนนิยายน้ำเน่าได้แล้วครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 31 ธ.ค. 2014, 17:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 16:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ในปรมัตถธรรม ๔ มีธาตุ ๑๘ คือ

ในส่วนของรูป ๒๘ มีด้วยกัน ๑๑ ธาตุดังนี้
๑. จักขุธาตุ
๒. โสตธาตุ
๓. ฆานธาตุ
๔. ชิวหาธาตุ
๕. กายธาตุ
๖. รูปธาตุ
๗. สัททธาตุ
๘. คันธธาตุ
๙. รสธาตุ
๑๐. โผฏฐัพพธาตุ
๑๑. ที่เหลือเป็น ธัมมธาตุ

ส่วนจิต ๘๙ มี ๗ ธาตุ คือ

๑๒. จักขุวิญญาญธาตุ
๑๓. โสตวิญญาณธาตุ
๑๔. ฆานวิญญาณธาตุ
๑๕. ชิวหาวิญญาณธาตุ
๑๖. กายวิญญาณธาตุ
๑๗. มโนธาตุ
๑๘. มโนวิญญาณธาตุ

ส่วน เจตสิก ๕๒ เป็น ธัมมธาตุ

นิพพาน เป็น ธัมมธาตุ

ยกมาแสดงเพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน


เข้าใจให้ตรงกับสำนักอภิธรรมละสิครับ :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 16:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
สวัสดีครับ ท่านกบ

ความจริงผมก็ไม่อยากแสดงความคิดเห็นในเรื่องของวิญญาณธาตุ แต่พอดีเห็นว่ามีการพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวเรื่องนี้จึงออกแสดงความคิด และตัวเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของอภิธรรม เรื่องของพระไตรปิฏก แต่เห็นว่าเมื่อมีการพูดถึงเรื่องนี้ ผู้ที่จะเข้าใจได้ชัดเจนต้องเป็นผู้ที่ได้ฌาน ๔ ซึ่งบางตรั้งก็เป็นเร์่องที่บุคคลทั่วไป ไม่ได้ปฏิบัติธรรม หรือทำไปไม่ถึงก็ยากที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ แต่เรื่องของวิญญาณธาตุนี้ก็มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ หากเปรียบเทียบวิญญาณธาตนั้นเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง กระแสอารมณ์ที่เข้ามาเปรียบเหมือนคลื่น Microwave วัตถุชิ้นนั้นเมื่อถุกคลื่น วัตถุก็ร้อน จิตเราที่มีกรรมผูกติดยึดกับรูปที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุ รูปก็เป็นเหมือนวัตถุชิ้นนั้นก็พลอยร้อนไปด้วยเมื่อมีอารมณ์กรรมเข้ามาปรุงแต่ง เป็นเหมือนใน อาทิตตปริยายสูตร

เรี่องของธาตุคุณลุงหมานคงอธิบายได้ชัดเจน


ธาตุ ในที่นี้ ไม่ได้มีความหมาย เป็นธาตุก้อนธาตุ
ธาตุ ในที่นี้ คือสภาวะธรรม ครับ

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 17:05 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
toy1 เขียน:
สวัสดีครับ ท่านกบ

ความจริงผมก็ไม่อยากแสดงความคิดเห็นในเรื่องของวิญญาณธาตุ แต่พอดีเห็นว่ามีการพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวเรื่องนี้จึงออกแสดงความคิด และตัวเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของอภิธรรม เรื่องของพระไตรปิฏก แต่เห็นว่าเมื่อมีการพูดถึงเรื่องนี้ ผู้ที่จะเข้าใจได้ชัดเจนต้องเป็นผู้ที่ได้ฌาน ๔ ซึ่งบางตรั้งก็เป็นเร์่องที่บุคคลทั่วไป ไม่ได้ปฏิบัติธรรม หรือทำไปไม่ถึงก็ยากที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ แต่เรื่องของวิญญาณธาตุนี้ก็มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ หากเปรียบเทียบวิญญาณธาตนั้นเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง กระแสอารมณ์ที่เข้ามาเปรียบเหมือนคลื่น Microwave วัตถุชิ้นนั้นเมื่อถุกคลื่น วัตถุก็ร้อน จิตเราที่มีกรรมผูกติดยึดกับรูปที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุ รูปก็เป็นเหมือนวัตถุชิ้นนั้นก็พลอยร้อนไปด้วยเมื่อมีอารมณ์กรรมเข้ามาปรุงแต่ง เป็นเหมือนใน อาทิตตปริยายสูตร

เรี่องของธาตุคุณลุงหมานคงอธิบายได้ชัดเจน


ธาตุ ในที่นี้ ไม่ได้มีความหมาย เป็นธาตุก้อนธาตุ
ธาตุ ในที่นี้ คือสภาวะธรรม ครับ


เรื่องของธาตุที่กล่าวถึงที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นรูปรวบรวมไว้ด้วยกรรมที่จิตนี้อาศัยอยู่ก็ล้วนเป็นสภาวะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตั้งอยู่ด้วยมีเหตุมีปัจจัยให้ดำรงอยู่ ลึกลงไปถึงเรื่องอายตนะ ก็มีเรื่องของวิญญาณธาตุอยู่ ในวิญญาณธาตุก็ยังมีธาตุดินน้ำลมไฟอยู่ เหมือนจะออกไปแนวฟิสิกส์ควอนตัมทำนองนั้น ลึกลงไปก็เป็บสังขตะ ที่จิตผู้มีกรรม ต้องรับใช้กรรม อันเนื่องด้วยปัจจัยปรุงแต่งสังขารกรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 21:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
สวัสดีครับ ท่านกบ

ความจริงผมก็ไม่อยากแสดงความคิดเห็นในเรื่องของวิญญาณธาตุ แต่พอดีเห็นว่ามีการพูดถึงเรื่องที่เกี่ยวเรื่องนี้จึงออกแสดงความคิด และตัวเองก็ไม่ค่อยมีความรู้ในเรื่องของอภิธรรม เรื่องของพระไตรปิฏก แต่เห็นว่าเมื่อมีการพูดถึงเรื่องนี้ ผู้ที่จะเข้าใจได้ชัดเจนต้องเป็นผู้ที่ได้ฌาน ๔ ซึ่งบางตรั้งก็เป็นเร์่องที่บุคคลทั่วไป ไม่ได้ปฏิบัติธรรม หรือทำไปไม่ถึงก็ยากที่จะเข้าใจในเรื่องนี้ แต่เรื่องของวิญญาณธาตุนี้ก็มีความสัมพันธ์กับอารมณ์ หากเปรียบเทียบวิญญาณธาตนั้นเป็นวัตถุชิ้นหนึ่ง กระแสอารมณ์ที่เข้ามาเปรียบเหมือนคลื่น Microwave วัตถุชิ้นนั้นเมื่อถุกคลื่น วัตถุก็ร้อน จิตเราที่มีกรรมผูกติดยึดกับรูปที่ประกอบขึ้นด้วยธาตุ รูปก็เป็นเหมือนวัตถุชิ้นนั้นก็พลอยร้อนไปด้วยเมื่อมีอารมณ์กรรมเข้ามาปรุงแต่ง เป็นเหมือนใน อาทิตตปริยายสูตร

เรี่องของธาตุคุณลุงหมานคงอธิบายได้ชัดเจน


กระผมก็ไม่มีความรู้เรื่องธาตุอะไรนักหรอกครับ...
แต่สงสัยว่า..ทำไม..ต้องได้ฌาน 4 ...จึงชัดเจน..ละครับ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 21:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


toy1 เขียน:
อ้างคำพูด:
จิตตัวนี้..คืออะไร....ใช่เป็น...เวทนา..สัญญา..สังขาร..วิญญาณ..รึไม่?


จิตเรายึดหรือมีอุปทานขันธ์ห้าอยู่ เหมือนมีคนมาตีเรา เราเจ็บ ส่งเสียงร้อง..โอ๊ย..ออกมา เสียงที่ร้องก็คือจิตที่รับทุกข์เวทนา เนื่องด้วยสังขารที่ตนยึดอยู่ถูกตีให้เจ็บ


:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 22:07 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มโนปุพพัง คมา ธัมมา มโนเสฏฐา มโนมยา

มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยา
มนสา เจ ปทุฏฺเฐน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ ทุกฺขมนฺเวติ จกฺกํ ว วหโต ปทํ

ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
เหมือนล้อหมุนตามรอยเท้าโคที่ลากเกวียนไป ฉะนั้น
ถ้าคนมีใจชั่ว ก็พูดชั่วหรือทำชั่วตามไปด้วย
เพราะความชั่วนั้น ทุกข์ย่อมติดตามเขาไป


มโน ปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฺฐา มโนมยา
มนสา เจ ปสนฺเนน ภาสติ วา กโรติ วา
ตโต นํ สุขมนฺเวติ ฉายา ว อนุปายินี


ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า
มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จด้วยใจ
ถ้าคนมีใจดี ก็จะพูดดีหรือทำดีตามไปด้วย
เพราะความดีนั้น สุขย่อมติดตามเขาไป
เหมือนเงาติดตามตัวเขาไป ฉะนั้น


แก้ไขล่าสุดโดย กบนอกกะลา เมื่อ 31 ธ.ค. 2014, 22:12, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 22:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


จิตอยู่ในรูปปรมาณูมีแสงในตัวเอง

ส่วนวิญญานคือสภาวะรับรู้ทางอายตนะ6ตาหูจมูกปากลิ้นกายใจ

มโนธาตุก็คือจิต

มโนวิญญานธาตุก็คือจิตที่ทำงานพร้อมกับวิญญาน

น่าจะเกี่ยวกับมโนมยิทธิ กายที่แยกอีกกายหนึ่ง โดยเราไม่รู้อีกกายหนึ่งของเราทำอะไรอยู่
โดยกายที่เป็นมโนมยิทธิควรจะเรียกมโนมยิทธิธาตุ ธาตุที่อุปักจากฤทธิ์ทางใจ


แก้ไขล่าสุดโดย yoottapong เมื่อ 31 ธ.ค. 2014, 22:17, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 22:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แสงนั้นก็ไม่มีอยู่จริง....มันจึงไม่ใช่จิตของจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 22:20 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


แสงของจิตเป็นปภัสสร


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 22:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ย. 2014, 11:55
โพสต์: 123

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เรื่องของฌาน ๔ ที่ทำเพื่อให้มีสติปชัญญะ ตั้งมั่น เรื่องความผ่องใสในภายในจิต เรื่องของการทำให้มาก เพื่อเกิดเป็นญาณทัสสนะนั้นล้วนต้องอาศัยเรื่องของสมาธิภาวนา เรื่องรายละเอียดภาวะของอารมณ์ ภาวะเนื่องด้วยกรรม เรื่องของการทำจิตผ่านเวทนาอารมณ์ เรื่องการสะสางกรรมที่ซ้อนเร้นอยู่กับจิต เนื่องด้วยเรายังเป็นจิตของผู้มีกรรม เรื่องของกรรมที่ไหลออกมาจากธาตุทั้งสี่ที่เราอาศัยประกอบขึ้นมาเป็นรูป เรื่องของธรรมอนัตตา เรื่องโลก เรื่องกรรม เรื่องธรรม เรื่องจิต ล้วนต้องอาศัยสมาธิภาวนา เพื่อทำความเข้าใจ หาเหตุผลที่แท้จริงให้แก่จิต เมื่อเราปฏิบัติธรรมได้มาขึ้น ลดละกรรมได้มากขึ้น ไม่มีอารมณ์กวนจิต จิตนี้เหมือนมีแสงสว่างเหมือนมีแว่นขยายที่มีกำลังมากขึ้น ก็จะเห็นเรื่องของวิญญาณธาตุ เรื่องของสิ่่งที่สื่อเข้ามาในวิญญาณธาตุ เห็นความเปลี่ยนแปลงของวิญญาณธาตุ เห็นในเรื่องของเจตสิกที่วิ่งไปรับอารมณ์ รับภาพรับเสียงมาให้จิต เรื่องของเจตสิกที่ออกไปรับเวทนา เรื่องของอารมณ์ที่เข้ามาปรุงแต่งเนื่องด้วยสัมผัส ซึ่งเป็นการเรียนรู้เนื่องด้วยอาศัยกำลังของจิตที่เนื่องด้วยสมาธิภาวนา

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๓
ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค
posting.php?mode=reply&f=1&t=48991
[๒๓๒] ฌาน ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัด
จากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุทุติยฌาน มี-
*ความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มี
วิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ
มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระ-
*อริยทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่
มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัส โทมนัสก่อนๆ ได้
มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ฯ
[๒๓๓] สมาธิภาวนา ๔ อย่าง
๑. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรมมีอยู่ ฯ
๒. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะมีอยู่ ฯ
๓. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อสติและสัมปชัญญะมีอยู่ ฯ
๔. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว
ย่อมเป็นไปเพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลายมีอยู่ ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมาธิภาวนาอย่างไหนที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก
มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตก
วิจารสงบ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา ที่สติอยู่
เป็นสุข ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็น
เหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความอยู่เป็นสุขในทิฏฐธรรม ฯ
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิภาวนาที่ภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม
เป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่งญาณทัสสนะ เป็นไฉน ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุใน
พระธรรมวินัยนี้ มนสิการอาโลกสัญญา ตั้งสัญญาว่าเป็นเวลากลางวันไว้ กลางวัน
อย่างใด กลางคืนอย่างนั้น กลางคืนอย่างใด กลางวันอย่างนั้น มีใจเปิดเผยไม่
มีอะไรหุ้มห่ออบรมจิตให้มีแสงสว่าง ด้วยประการฉะนี้ ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย สมาธิ
ภาวนานี้ อันภิกษุอบรมแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความได้เฉพาะซึ่ง
ญาณทัสสนะ ฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 22:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
แสงของจิตเป็นปภัสสร

มีแสง..ก็มีมืด...ซึ่งมีสอง...ยังเป็นโลกียะ..อยู่

แสง...จึงยังไม่ใช่จิต

จิตประภัสสร...เป็นการเปรียบเทียบให้คนในโลกพอจะนึกออก....แต่ไม่ใช่ว่า..มันจะมีแสง...มันไม่มีอะไร...ใส....อย่างกระจก..แต่ไม่ใช่ใสมีแสง

จิตจึงไม่ใช่มีอะไรในโลกวัฏฏะ...จะบอกว่าเป็นอะไร....แค่เทียบเคียง

ใครเห็นแสง...แล้วว่าเป็น..จิต...นั้นเข้าใจผิดเพราะมีอุปทานตามที่ได้รับรู้ๆมาก่อน..นั้นเอง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 22:53 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2011, 23:47
โพสต์: 298


 ข้อมูลส่วนตัว


ผมพูดถึงจิตเดิมที่อยู่ในรูปปรมาณูที่เป็นประภัสสร สภาวะธรรมเดิมก็ปภัสสร แต่โลภโกรธหลงทำให้เรายึด
การบรรลุอรหันต์นามรูปวิญานตัดขาดกันไปเป็นห่วงโซ่ อาจจะจริงหลังจากบรรลุธรรมกล่าวคือไม่มีอะไรเลย ที่เรียกว่าจิตก็ตามที่เขาเรียกว่าจิตสักแต่ว่าจิต ไม่อาจสมมุติว่าจิต เพราะเลยสมมุตบัญญัตไปแล้ว

ผมเข้าใจว่าสภาวะธรรมเดิมไม่มีอะไรเลย จิตเข้าไปยึด โลภโกรธหลง
แล้วจิตพระพุทธเจ้าทำไมมีแสงครับ

คุณกบ ช่วยอธิบาย จิต ตามความเข้าใจของคุณ ให้ได้ไหมครับ


แก้ไขล่าสุดโดย yoottapong เมื่อ 31 ธ.ค. 2014, 23:01, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 31 ธ.ค. 2014, 22:55 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
ก็เพราะความที่ชาวบ้านไม่เข้าใจน่ะซิ จึงเอาจิตที่รู็โกรธมาเป็นอารมณ์
อารมณ์ คือ สิ่งที่มากระทบทางทวารทั้ง ๖ มี รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และ ธรรมารมณ์รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส มันเป็นสิ่งภายนอกไม่อยู่ในกาย แต่ธรรมารมณ์นั้นมีทั้งภายในและภายนอก
อารมณ์ก็ส่วนหนึ่ง จิตก็ส่วนหนึ่ง เจตสิกก็อีกส่วนหนึ่ง ถ้าเราไม่แยกดูเหมือนว่ามันเป็นสิ่งเดียวกัน



ฮ่อ..ฮ่อ....อารมณ์...คือสิ่งที่มากระทบทวาร...
อารมณ์ของลุงหมาน..คือ อายตนะภายนอก...นี้เอง...

ส่วน...โกรธ...เกลียด..ชอบ...ไม่ชอบ ฯลฯ...ของลุงหมาน...เรียกว่าอะไรครับ?


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 241 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9 ... 17  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 137 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร