ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

สมาธิกับสติ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=48071
หน้า 1 จากทั้งหมด 4

เจ้าของ:  รสมน [ 01 ก.ค. 2014, 18:45 ]
หัวข้อกระทู้:  สมาธิกับสติ

การประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นการประพฤติิและในการรักษาใจให้สงบจากกิเลสในขณะที่จิตเป็นสมาธิ แต่ลำพังสมาธิไม่สามารถที่จะละกิเลสได้เป็นเพียงแค่กดทับกิเลสเท่านั้น ส่วนถ้าจะละกิเลสก็ต้องปฏิบัติวิปัสสนาหรือการนำสติฝึกไปพร้อมกับสมาธิ เพราะสติก็ต้องอาศัยสมาธิร่วมด้วย. หรือเรียกว่าขณิกสมาธินั้นเอง

เจ้าของ:  asoka [ 02 ก.ค. 2014, 13:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

:b8:
"สติ เป็นเหตุให้เกิด สมาธิ"

ปัญญาเป็นเหตุให้ถึงมรรค ผล นิพพาน

แต่ปัญญาจะเจริญได้ต้องมีสติสมาธิเป็นกำลังหนุน มีศีลเป็นโครงสร้างพื้นฐาน

:b36:

ไฟล์แนป:
ปัญญา สติ สมาธิ_resize_resize.jpg
ปัญญา สติ สมาธิ_resize_resize.jpg [ 43.75 KiB | เปิดดู 3303 ครั้ง ]

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ก.ค. 2014, 15:24 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

อโศกนี่ขยันสร้างเครือข่ายใยแมงมุมจริงๆนะ :b32:

เจ้าของ:  asoka [ 02 ก.ค. 2014, 17:52 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

กรัชกาย เขียน:
อโศกนี่ขยันสร้างเครือข่ายใยแมงมุมจริงๆนะ :b32:

:b12:
ก็ทำเผื่อๆไว้สำหรับคนที่ตีความ จับประเด็นจากตัวหนังสือไม่ออก อาจจับประเด็นได้จากภาพแผนภูมิไงล่ะครับ

อย่างนักวิชาการใหญ่กรัชกายนี่ เห็นภาพนี้แล้วตีความหมายออก จับประเด็นได้ไหมครับนี่

ภาพนี้เขียนจากประสบการณ์จริงนะครับ

:b38:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 02 ก.ค. 2014, 18:23 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อโศกนี่ขยันสร้างเครือข่ายใยแมงมุมจริงๆนะ :b32:

:b12:
ก็ทำเผื่อๆไว้สำหรับคนที่ตีความ จับประเด็นจากตัวหนังสือไม่ออก อาจจับประเด็นได้จากภาพแผนภูมิไงล่ะครับ

อย่างนักวิชาการใหญ่กรัชกายนี่ เห็นภาพนี้แล้วตีความหมายออก จับประเด็นได้ไหมครับนี่

ภาพนี้เขียนจากประสบการณ์จริงนะครับ

:b38:


จากประสบการณ์จริงเลยหรอ

อ้างคำพูด:
คือว่าเรานั่งสมาธิแล้วเริมเข้าสู่ความสงบ (ประมาณว่าโลกนี้ว่าง ๆ ค่ะ) แต่ไม่รู้ทำไมเกิดนึกกลัวขึ้นมา อยากออกจากสมาธิ มีคนแนะนำว่าต้องค่อย ๆ ถอยออกจากสมาธิ แต่เราทำไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมออกค่ะ ไม่รู้ทำไง เลยลืมตาเสียเลย เท่านั้นเองใจก็เกิดสั่นขึ้นมาทันที รู้สึกวิงเวียนบอกไม่ถูก วันนั้นทั้งวันใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กว่าจะปกติก็ช่วงเย็นแล้ว

เราเลยอยากถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้กลัวเวลาเจอสถานเการณ์แบบนี้ และจะออกจากสมาธิด้วยวิธีไหนดีคะ ผู้รู้ช่วยตอบทีค่ะ


ถ้ายังงั้น นี่เขาเป็นอะไร อโศกจะใช้ประสบการณ์จริงแนะนำเขายังไง :b14:

เจ้าของ:  asoka [ 02 ก.ค. 2014, 18:45 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อโศกนี่ขยันสร้างเครือข่ายใยแมงมุมจริงๆนะ :b32:

:b12:
ก็ทำเผื่อๆไว้สำหรับคนที่ตีความ จับประเด็นจากตัวหนังสือไม่ออก อาจจับประเด็นได้จากภาพแผนภูมิไงล่ะครับ

อย่างนักวิชาการใหญ่กรัชกายนี่ เห็นภาพนี้แล้วตีความหมายออก จับประเด็นได้ไหมครับนี่

ภาพนี้เขียนจากประสบการณ์จริงนะครับ

:b38:


จากประสบการณ์จริงเลยหรอ

อ้างคำพูด:
คือว่าเรานั่งสมาธิแล้วเริมเข้าสู่ความสงบ (ประมาณว่าโลกนี้ว่าง ๆ ค่ะ) แต่ไม่รู้ทำไมเกิดนึกกลัวขึ้นมา อยากออกจากสมาธิ มีคนแนะนำว่าต้องค่อย ๆ ถอยออกจากสมาธิ แต่เราทำไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมออกค่ะ ไม่รู้ทำไง เลยลืมตาเสียเลย เท่านั้นเองใจก็เกิดสั่นขึ้นมาทันที รู้สึกวิงเวียนบอกไม่ถูก วันนั้นทั้งวันใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กว่าจะปกติก็ช่วงเย็นแล้ว

เราเลยอยากถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้กลัวเวลาเจอสถานเการณ์แบบนี้ และจะออกจากสมาธิด้วยวิธีไหนดีคะ ผู้รู้ช่วยตอบทีค่ะ


ถ้ายังงั้น นี่เขาเป็นอะไร อโศกจะใช้ประสบการณ์จริงแนะนำเขายังไง :b14:

s004
เป็นเพราะเขาเจริญสมาธิอย่างเดียวโดยไม่เจริญปัญญาควบคู่ไปด้วย เวลากลัวก็แก้ไม่เป็น

ถ้าจะแก้โดยวิธีสมาธิอย่างเดียว

ก็ให้มีสติระลึกกลับไปที่กรรมฐานหรือบริกรรมที่ตนใช้ เช่นกลับไปหาพุทโธหรือหนอ บริกรรมถี่ๆ บริกรรมหรือกำหนดให้ทันปัจจุบันอารมณ์

ถ้าจะแก้โดยวิธีเจริญปัญญาควบคู่ไปกับสมาธิ

ก็ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตให้ทันทุกปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา

ถ้าความสังเกตดีคมกล้า จะเห็นอารมณ์แม่และลูกหลานของมันแสดงอาการไปจนหมดกำลังแห่งเหตุและปัจจัย แล้วก็ดับไป เปลี่ยนไป......ถ้าปรุงก็ฟุ้ง ถ้าไม่ปรุงต่อก็ดับ

ไม่ช้าก็จะผ่านด่านความกลัวและทุกๆด่านไปสู่แดนแห่งความสงบได้
:b45:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 10:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อโศกนี่ขยันสร้างเครือข่ายใยแมงมุมจริงๆนะ :b32:

:b12:
ก็ทำเผื่อๆไว้สำหรับคนที่ตีความ จับประเด็นจากตัวหนังสือไม่ออก อาจจับประเด็นได้จากภาพแผนภูมิไงล่ะครับ

อย่างนักวิชาการใหญ่กรัชกายนี่ เห็นภาพนี้แล้วตีความหมายออก จับประเด็นได้ไหมครับนี่

ภาพนี้เขียนจากประสบการณ์จริงนะครับ

:b38:


จากประสบการณ์จริงเลยหรอ

อ้างคำพูด:
คือว่าเรานั่งสมาธิแล้วเริมเข้าสู่ความสงบ (ประมาณว่าโลกนี้ว่าง ๆ ค่ะ) แต่ไม่รู้ทำไมเกิดนึกกลัวขึ้นมา อยากออกจากสมาธิ มีคนแนะนำว่าต้องค่อย ๆ ถอยออกจากสมาธิ แต่เราทำไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมออกค่ะ ไม่รู้ทำไง เลยลืมตาเสียเลย เท่านั้นเองใจก็เกิดสั่นขึ้นมาทันที รู้สึกวิงเวียนบอกไม่ถูก วันนั้นทั้งวันใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กว่าจะปกติก็ช่วงเย็นแล้ว

เราเลยอยากถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้กลัวเวลาเจอสถานเการณ์แบบนี้ และจะออกจากสมาธิด้วยวิธีไหนดีคะ ผู้รู้ช่วยตอบทีค่ะ


ถ้ายังงั้น นี่เขาเป็นอะไร อโศกจะใช้ประสบการณ์จริงแนะนำเขายังไง :b14:



[b]เป็นเพราะเขาเจริญสมาธิอย่างเดียวโดยไม่เจริญปัญญาควบคู่ไปด้วย เวลากลัวก็แก้ไม่เป็น

ถ้าจะแก้โดยวิธีสมาธิอย่างเดียว

ก็ให้มีสติระลึกกลับไปที่กรรมฐานหรือบริกรรมที่ตนใช้ เช่นกลับไปหาพุทโธหรือหนอ บริกรรมถี่ๆ บริกรรมหรือกำหนดให้ทันปัจจุบันอารมณ์

ถ้าจะแก้โดยวิธีเจริญปัญญาควบคู่ไปกับสมาธิ

ก็ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตให้ทันทุกปัจจุบันอารมณ์จนมันดับไปต่อหน้าต่อตา

ถ้าความสังเกตดีคมกล้า จะเห็นอารมณ์แม่และลูกหลานของมันแสดงอาการไปจนหมดกำลังแห่งเหตุและปัจจัย แล้วก็ดับไป เปลี่ยนไป......ถ้าปรุงก็ฟุ้ง ถ้าไม่ปรุงต่อก็ดับ

ไม่ช้าก็จะผ่านด่านความกลัวและทุกๆด่านไปสู่แดนแห่งความสงบได้


อ้างคำพูด:
เป็นเพราะเขาเจริญสมาธิอย่างเดียว โดยไม่เจริญปัญญาควบคู่ไปด้วย เวลากลัวก็แก้ไม่เป็น


รู้ได้ยังไง ดูจากตรงไหนว่า เขาเจริญสมาธิอย่างเดียว ไม่เจริญปัญญา ก็จึงแก้ความกลัวไม่ได้


อ้างคำพูด:
ถ้าจะแก้โดยวิธีสมาธิอย่างเดียว

ก็ให้มีสติระลึกกลับไปที่กรรมฐาน หรือบริกรรมที่ตนใช้ เช่น กลับไปหาพุทโธ หรือหนอ บริกรรมถี่ๆ บริกรรมหรือกำหนดให้ทันปัจจุบันอารมณ์



คราวนี้ควรตอบให้ชัดเสียทีนะ จะได้จบๆกันไป เอาให้ชัดจนคนอ่านนำไปทำกันได้แก้ปัญหาได้นะ

ที่ว่าเนียะ
อ้างคำพูด:
หนอ บริกรรมถี่ๆ


"หนอ" สำคัญยัังไง มีเหตุผลยังไง ต้องว่า ถี่ๆ


อ้างคำพูด:
กลับไปที่กรรมฐาน หรือ บริกรรมที่ตนใช้ เช่น กลับไปหาพุทโธ


คำพูดนี่ยังคาบเกี่ยว แทงกั๊ก อโศกแยกกรรมฐาน กับคำ พุทโธ สิ สมมติว่าเป็นอโศกเอง จะทำไง พูดชัดๆ กลับไปหาใคร กลับไปหาพุทโธ หรือกลับไปหากรรมฐาน

เจ้าของ:  asoka [ 03 ก.ค. 2014, 11:07 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

:b16:
1.รู้ว่าเขาเจริญสมาธิอย่างเดียว ตามข้อมูลที่เขาบอก

2.หนอ เป็นคำบริกรรมใช้ต่อท้ายอาการ อารมณ์และความรู้สึก เป็นตัวช่วยตัดกระแสสันตติให้ขาดเป็นท่อนๆทำให้สติทันปัจจุบันอารมณ์

ที่ให้บริกรรมถี่ๆเพื่อไม่เปิดช่องให้โมหะเข้าแทรกดึงสติหลุดจากปัจจุบัน

3.ที่ระบุได้ไม่ชัดว่าให้กลับไปหากรรมฐานอะไร เพราะผู้ถามไม่ได้ให้ข้อมูลว่าเจริญกรรมฐานอะไร

ถ้าเป็นอโศกะก็จะกลับไปที่ปัจจุบันอารมณ์

ต่อไปถ้าอยากได้คำตอบโดยละเอียดต้องถามมาโดยละเอียดนะ
:b39:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 11:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

asoka เขียน:
:b16:
1.รู้ว่าเขาเจริญสมาธิอย่างเดียว ตามข้อมูลที่เขาบอก

2.หนอ เป็นคำบริกรรมใช้ต่อท้ายอาการ อารมณ์และความรู้สึก เป็นตัวช่วยตัดกระแสสันตติให้ขาดเป็นท่อนๆทำให้สติทันปัจจุบันอารมณ์

ที่ให้บริกรรมถี่ๆเพื่อไม่เปิดช่องให้โมหะเข้าแทรกดึงสติหลุดจากปัจจุบัน

3.ที่ระบุได้ไม่ชัดว่าให้กลับไปหากรรมฐานอะไร เพราะผู้ถามไม่ได้ให้ข้อมูลว่าเจริญกรรมฐานอะไร

ถ้าเป็นอโศกะก็จะกลับไปที่ปัจจุบันอารมณ์

ต่อไปถ้าอยากได้คำตอบโดยละเอียดต้องถามมาโดยละเอียดนะ
:b39:


ที่พูดมาทั้งหมด จึงแก้ความกลัวไม่ได้ใช่ไหม

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 11:15 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

asoka เขียน:

3.ที่ระบุได้ไม่ชัดว่าให้กลับไปหากรรมฐานอะไร เพราะผู้ถามไม่ได้ให้ข้อมูลว่าเจริญกรรมฐานอะไร


อโศก ยกตัวอย่างกรรมฐานสักอย่างสิครับ ตามที่ตนเองคิดว่าเป็นกรรมฐาน

เจ้าของ:  asoka [ 03 ก.ค. 2014, 12:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

:b12:
พุทโธ นี่ก็เป็นกรรมฐาน

หนอนี่ก็เป็นกรรมฐานประยุกต์

กรรมฐาน 40 กองนั่นก็กรรมฐานทั้งนั้น ถามทำไม

นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์นี่เป็นกรรมฐานประยุกต์

จิตรู้จิต นี่ กรรมฐานใหญ่ หนึ่งในสี่
:b34:

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 16:46 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

asoka เขียน:
พุทโธ นี่ก็เป็นกรรมฐาน

หนอนี่ก็เป็นกรรมฐานประยุกต์

กรรมฐาน 40 กองนั่นก็กรรมฐานทั้งนั้น ถามทำไม

นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์นี่เป็นกรรมฐานประยุกต์

จิตรู้จิต นี่ กรรมฐานใหญ่ หนึ่งในสี่


อโศกรู้คลุมเคลือรู้อะไรไม่ชัดเลยสักอย่าง เข้าตำราครูพักลักจำแล้วก็มาจับแพะชนแกะเอา เคยพูดว่า อโศกเนี่ยะ ถ้าขึ้นธรรมาสน์เทศนะ คนจะหลั่งไหลติดกัณฑ์เทศน์ด้วยรถป้ายแดง แต่ถ้ากรัชกายนั่งฟังอยุู่ด้วยจะเอาบันได้พาดแล้วเชิญลงจากธรรมาสน์แล้วกระซิบ ว่า มันมั่ว


อ้างคำพูด:
พุทโธนี่ก็เป็นกรรมฐาน


พุท-โธ กรณีนี้ไม่ใช่กรรมฐาน ลมหายใจเข้า-ออก ต่างหากเป็นกัมมัฏฐาน วิธีทำลมหายใจเข้า สำเหนียกว่า พุท ลมหายใจออก สำเหนียกว่า โธ

เหมือนนับเลข พุทโธ เป็นคำบริกรรมควบกับลมเข้า-ออก จะใช้ ธัม-โม - สัง-โฆ หรืออื่นๆอีกได้

พุทธานุสติ ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า การระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า ในกรณีนี้เป็นกัมมัฏฐาน

อ้างคำพูด:
หนอนี่ก็เป็นกรรมฐานประยุกต์


นี่ก็ผิดอย่างใหญ่หลวง

ท้องพอง-ท้องยุบ ต่างหาก เป็นกรรมฐาน วิธีปฏิบัติ ท้องพอง สำเหนียกว่า พอง (หนอ) ท้องยุบ สำเหนียกว่า ยุบ (หนอ)

ที่เหลือนั่นเดาสุ่มคลุมๆไป ถูกผิดตนเองยังบอกตัวเองไม่ได้เลย

เจ้าของ:  กรัชกาย [ 03 ก.ค. 2014, 17:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

กรัชกาย เขียน:
ที่พูดมาทั้งหมด จึงแก้ความกลัวไม่ได้ใช่ไหม


ข้ามคำถามสำคัญนี้ไป

ช่างพูดช่างเจรจานะ เช่นว่า

อ้างคำพูด:
นิ่งรู้นิ่งสังเกตปัจจุบันอารมณ์นี่เป็นกรรมฐานประยุกต์

จิตรู้จิต นี่ กรรมฐานใหญ่ หนึ่งในสี่


นิ่งรู้นั่นสังเกตนี่บ้าง

จิตรู้จิตนั่นๆนี่ๆ บ้าง

แต่พอจิตมันเจอจิต (ตัวเองเจอตัวเอง) ก็กลัวตัวเองวิ่งจนป่าราบ วิ่งจนป่าราบ :b32:

อโศกพอเข้าใจไหมครับ ตัวเองกลัวตัวเอง (จิตกลัวจิต)

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 03 ก.ค. 2014, 22:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

รสมน เขียน:
การประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นการประพฤติิและในการรักษาใจให้สงบจากกิเลสในขณะที่จิตเป็นสมาธิ แต่ลำพังสมาธิไม่สามารถที่จะละกิเลสได้เป็นเพียงแค่กดทับกิเลสเท่านั้น ส่วนถ้าจะละกิเลสก็ต้องปฏิบัติวิปัสสนาหรือการนำสติฝึกไปพร้อมกับสมาธิ เพราะสติก็ต้องอาศัยสมาธิร่วมด้วย. หรือเรียกว่าขณิกสมาธินั้นเอง

สมาธิ ที่อยู่กับกิเลส ไม่มีสติไม่มีปัญญาก็มี
สมาธิ ที่กดข่มกิเลสทุกอย่างล้วนมีสติมีปัญญาประกอบอยู่ด้วยทั้งสิ้น เช่น รูปฌาน อรูปฌาน
สมาธิที่ละกิเลสได้อย่างสิ้นเชิง ก็มีสติปัญญาประกอบอยู่ด้วยเช่นกัน เพียงแต่ปัญญานั้นเป็นมรรคปัญญา แม้ในการเจริญมรรคปัญญา ก็ยังต้องมี ฌาน เป็นบาทแห่งการเจริญมรรคปัญญา.

ดังนั้น ขณิกสมาธิ จึงเป็นไปได้ทั้ง สมาธิที่อยู่กับกิเลส ;สมาธิที่กดข่มกิเลส หรือ สมาธิที่ละกิเลส.
เพราะ ขณิกะ นั้นเพียงบอกระยะเวลาสั้นๆ นิดหน่อย.

เจ้าของ:  eragon_joe [ 04 ก.ค. 2014, 09:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: สมาธิกับสติ

กรัชกาย เขียน:

นิ่งรู้นั่นสังเกตนี่บ้าง

จิตรู้จิตนั่นๆนี่ๆ บ้าง

แต่พอจิตมันเจอจิต (ตัวเองเจอตัวเอง) ก็กลัวตัวเองวิ่งจนป่าราบ วิ่งจนป่าราบ :b32:

อโศกพอเข้าใจไหมครับ ตัวเองกลัวตัวเอง (จิตกลัวจิต)


:b1:

ท่านอโศกะเคยเห็นจิตเจอจิต แล้ววิ่งจนป่าราบมั๊ย

...

:b1: ...จริง ๆ นะ ... :b1:

หน้า 1 จากทั้งหมด 4 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/