วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 03:55  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
ตระบัด หรือสะบัดสัจจ์ หาเรื่องคุยยาวไปอีกจนได้ ไม่ถอยไปตามพูด
:b7:


คนเขามีกลวิธีให้คู่สนทนาบรรลุธรรม แน่ะมาว่าผิดสะนี่ อย่างนี้เรียกว่า ขวางมรรคผลนิพพาน ตกนรกนะน่า เออ :b1:

Onion_L
พูดอะไรไว้กลับขึ้นไปดูหน่อย

อยากจะเห็นคำว่า "อนุโมทนา"จากเช่นนั้น เห็นแล้วจะไป...........
:b3:
ตระบัดสัจนี่ลงนรกเร็วกว่าขวางอธรรมนะ รูหรือเปล่า
อย่าหาเรื่องคุยต่อเลย รีบทำตามที่พูดเถอะ
:b34:



บอกแล้ว่าเป็นกลวิธีสอนธรรม แบบลงลึกไปตามลำดับๆ มองไม่ออกอีกแนะ เออ ยังงี้จะสอบอารมณ์โยคีได้ยังไง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 20:11 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b16:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
ตระบัด หรือสะบัดสัจจ์ หาเรื่องคุยยาวไปอีกจนได้ ไม่ถอยไปตามพูด
:b7:


คนเขามีกลวิธีให้คู่สนทนาบรรลุธรรม แน่ะมาว่าผิดสะนี่ อย่างนี้เรียกว่า ขวางมรรคผลนิพพาน ตกนรกนะน่า เออ :b1:

Onion_L
พูดอะไรไว้กลับขึ้นไปดูหน่อย

อยากจะเห็นคำว่า "อนุโมทนา"จากเช่นนั้น เห็นแล้วจะไป...........
:b3:
ตระบัดสัจนี่ลงนรกเร็วกว่าขวางอธรรมนะ รูหรือเปล่า
อย่าหาเรื่องคุยต่อเลย รีบทำตามที่พูดเถอะ
:b34:



บอกแล้ว่าเป็นกลวิธีสอนธรรม แบบลงลึกไปตามลำดับๆ มองไม่ออกอีกแนะ เออ ยังงี้จะสอบอารมณ์โยคีได้ยังไง :

:b3:
อ๋อเดี๋ยวนี้กล้าสารภาพออกมาแล้วหรือว่ามาสอนธรรม ไม่ใช่มาสนทนาธรรม ระดับอาจารยวิชาการใหญ่อย่างนี้ มาสอนธรรมก็ดูเหมือนดีนะ แต่พาบานพาเบรอ ขยายความมากไปเรื่อยๆ ไม่ทำให้สั้น ให้ง่าย ให้แหลม จะไม่ยิ่งทำให้ผู้หลงศรัทธาฟุ้งซ่าน สับสนในธรรมมากขึ้นรื้อ?
ลดกระทู้ลง ทำให้ลึกซึ้งถึงใจในกระทู้เดียวจะไม่ดีกว่ารื้อ? กรัชกาย(กายหลอก)
:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b16:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12:
ตระบัด หรือสะบัดสัจจ์ หาเรื่องคุยยาวไปอีกจนได้ ไม่ถอยไปตามพูด
:b7:


คนเขามีกลวิธีให้คู่สนทนาบรรลุธรรม แน่ะมาว่าผิดสะนี่ อย่างนี้เรียกว่า ขวางมรรคผลนิพพาน ตกนรกนะน่า เออ :b1:

Onion_L
พูดอะไรไว้กลับขึ้นไปดูหน่อย

อยากจะเห็นคำว่า "อนุโมทนา"จากเช่นนั้น เห็นแล้วจะไป...........
:b3:
ตระบัดสัจนี่ลงนรกเร็วกว่าขวางอธรรมนะ รูหรือเปล่า
อย่าหาเรื่องคุยต่อเลย รีบทำตามที่พูดเถอะ
:b34:



บอกแล้ว่าเป็นกลวิธีสอนธรรม แบบลงลึกไปตามลำดับๆ มองไม่ออกอีกแนะ เออ ยังงี้จะสอบอารมณ์โยคีได้ยังไง :

:b3:
อ๋อเดี๋ยวนี้กล้าสารภาพออกมาแล้วหรือว่ามาสอนธรรม ไม่ใช่มาสนทนาธรรม ระดับอาจารยวิชาการใหญ่อย่างนี้ มาสอนธรรมก็ดูเหมือนดีนะ แต่พาบานพาเบรอ ขยายความมากไปเรื่อยๆ ไม่ทำให้สั้น ให้ง่าย ให้แหลม จะไม่ยิ่งทำให้ผู้หลงศรัทธาฟุ้งซ่าน สับสนในธรรมมากขึ้นรื้อ?
ลดกระทู้ลง ทำให้ลึกซึ้งถึงใจในกระทู้เดียวจะไม่ดีกว่ารื้อ? กรัชกาย(กายหลอก)
:b12:



ที่กระทู้มีมาก ก็เพราะมีอโศก กับ เช่นนั้นนะขอรับ ถ้าอโศกกับเช่นนั้นพูดคำสองคำรู้เรื่อง ป่านนี้จบไปแล้ว นี่อะไรครับ กระทุู้มากขนาดนั้น ยังไม่เข้าใจ แล้วอย่าง่นี้ควรว่าใครขอรับ เออแน่ะ


เอานะครับจะลดลงมาเหลือ คห.นี้ คห.เดียว ถ้าอโศก กับ เช่นนั้น แก้ไขปัญหาได้ กรัชกายก็ขอลา
ไปตามวิธีทางของตนเอง ไม่ต้องถามนะจะไปไหน คิกๆๆ ว่าไป


อ้างคำพูด:
มีปัญหาทำให้การนั่งสมาธิ กลัวมาก รบกวนขอคำแนะนำจากผู้รู้ด้วยค่ะ


มีปัญหาในการนั่งสมาธิค่ะ เพิ่งจะเกิดอาการตอนปีนี้ เป็นทุกครั้งที่นั่งสมาธิเลย รู้สึกกลัวที่จะนั่งไปเลย
คือว่าพอนั่งไปสักพัก พอจิตเริ่มจะนิ่งๆ แขนซ้ายเราก็จะขยับได้เอง แรกๆเราก็ตกใจสงสัยว่าจะขยับไปไหน
เราเลยปล่อยให้มันขยับแล้วส่งจิตตามดูค่ะ ปรากฏว่ามือขยับไปปิดหู เลื่อนมาปิดปาก จมูก ตา แล้ววนมาปิดหู
วนไปวนมาอย่างนั้น ไม่ยอมหยุด เราเมื่อยมากค่ะ บางทีครึ่งชั่วโมงผ่านไป แขนเราก็ยังไม่ยอมหยุดหมุน
เราเคยใช้มืออีกข้างดึงมือซ้ายเราลงมาทำท่านั่งสมาธิใหม่ แต่พอเราปล่อยมือ มือเรามันก็เหมือนโดนปัดกลับไปทำแบบเดิมๆอีก
บางทีเราเริ่มโมโหดึงแขนเรากลับมา แต่มันก็ปัดกลับไปปิดหูตาจมูกปากเราเหมือนเดิม ซึ่งตัวเราเองก็ไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร

ถ้ามองแบบวิทยาศาสตร์ เราว่าเราก็คงมีปัญหาตรงที่จิตไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนย้ายของร่างกายได้ สรุปว่า เราเป็นผู้ป่วยโรคจิต??

ถ้ามองแบบศาสนาการฝึกปฏิบัติธรรม: อุปสรรคระหว่างนั่ง จิตปรุง เกิดได้กับทุกคน?? เราอยากทราบว่าอาการแบบนี้หมายถึงอะไร
เราควรหยุดชั่วคราวก่อน หรือฝึกต่อไป ทำอย่างไรดี?

ตอนนั่งเราก็พิจารณาคิดถึงลมหายใจเข้าออกๆ พอมันเป็นแบบนี้เราก็กลัว เพราะเรามั่นใจว่า กายเรามันไม่ได้ไปด้วยกันกับจิต
เราสวดมนต์นั่งสมาธิเดินจงกรมตลอด อาจไม่ได้ทำทุกวันแต่ก็ฝึกตลอดสม่ำเสมอมาสิบกว่าปี
ยิ่งตอนนี้เราปฏิบัติเองอยู่ที่บ้านเรายิ่งกลัว ไม่ทราบว่าเราควรแก้ไขอย่างไรดีคะ
ปล่อยให้มันเป็นแบบนี้ ดูว่าจะทำไปได้แค่ไหน หรือว่าถ้าเป็นแบบนี้อีกให้ลืมตารีบออกจากสมาธิเลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 20:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b38:
สติขาด สัมปชัญญะหลุดไปจากกรรมฐาน หรือไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ กลัวเกิด....สงสัยเกิด รู้ไม่ทัน โมหะเข้าครอบจิต ปรุงไปตามอาการของมือแล้วอุปาทานยึดถือ ทำซ้ำๆอยู่อย่างนั้น อาจารย์ก็แก้ให้ไม่เป็นจึงติดด่านอุปาทานง่ายๆ

ทางแก้ต้องย้ำให้สติอย่าหลุดจากกรรมฐาน อันที่สอง ให้รู้ทันและสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ควบคู่ไปด้วยเพื่กันโมหะครอบงำทำให้อุปาทานฟุ้งไปกับอารมณ์ที่แทรก

เช่น พุทโธ หรือ หนอ ให้ถี่มากขึ้น ถ้ามีนิมิต อารมณ์แทรกใหมีสติรู้ทันดึงสติกลับมาหาพุทโธหรือหนอ ถ้าเอาไม่อยู่ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตอารมณ์แทรกเหล่านั้นจนมันอ่อแรงหรือดับไป ก็รีบนำสติกลับมาหาองค์กรรมฐานที่ใช้
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 20:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b38:
สติขาด สัมปชัญญะหลุดไปจากกรรมฐาน หรือไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ กลัวเกิด....สงสัยเกิด รู้ไม่ทัน โมหะเข้าครอบจิต ปรุงไปตามอาการของมือแล้วอุปาทานยึดถือ ทำซ้ำๆอยู่อย่างนั้น อาจารย์ก็แก้ให้ไม่เป็นจึงติดด่านอุปาทานง่ายๆ

ทางแก้ต้องย้ำให้สติอย่าหลุดจากกรรมฐาน อันที่สอง ให้รู้ทันและสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ควบคู่ไปด้วยเพื่กันโมหะครอบงำทำให้อุปาทานฟุ้งไปกับอารมณ์ที่แทรก

เช่น พุทโธ หรือ หนอ ให้ถี่มากขึ้น ถ้ามีนิมิต อารมณ์แทรกใหมีสติรู้ทันดึงสติกลับมาหาพุทโธหรือหนอ ถ้าเอาไม่อยู่ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตอารมณ์แทรกเหล่านั้นจนมันอ่อแรงหรือดับไป ก็รีบนำสติกลับมาหาองค์กรรมฐานที่ใช้
:b37:


นี่วิธีที่อโศกแนะนำโยคีบุคคลที่สำนักหรือขอรับ :b10:

แล้ว หนอ นี่มันดียังไง เห็นพูดจัง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 20:49 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
สติขาด สัมปชัญญะหลุดไปจากกรรมฐาน หรือไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ กลัวเกิด....สงสัยเกิด รู้ไม่ทัน โมหะเข้าครอบจิต ปรุงไปตามอาการของมือแล้วอุปาทานยึดถือ ทำซ้ำๆอยู่อย่างนั้น อาจารย์ก็แก้ให้ไม่เป็นจึงติดด่านอุปาทานง่ายๆ

ทางแก้ต้องย้ำให้สติอย่าหลุดจากกรรมฐาน อันที่สอง ให้รู้ทันและสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ควบคู่ไปด้วยเพื่กันโมหะครอบงำทำให้อุปาทานฟุ้งไปกับอารมณ์ที่แทรก

เช่น พุทโธ หรือ หนอ ให้ถี่มากขึ้น ถ้ามีนิมิต อารมณ์แทรกใหมีสติรู้ทันดึงสติกลับมาหาพุทโธหรือหนอ ถ้าเอาไม่อยู่ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตอารมณ์แทรกเหล่านั้นจนมันอ่อแรงหรือดับไป ก็รีบนำสติกลับมาหาองค์กรรมฐานที่ใช้
:b37:


นี่วิธีที่อโศกแนะนำโยคีบุคคลที่สำนักหรือขอรับ :b10:

แล้ว หนอ นี่มันดียังไง เห็นพูดจัง

:b30:
ถามมากเกินไป ไม่ติอบแล้ว วันนี้
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
สติขาด สัมปชัญญะหลุดไปจากกรรมฐาน หรือไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ กลัวเกิด....สงสัยเกิด รู้ไม่ทัน โมหะเข้าครอบจิต ปรุงไปตามอาการของมือแล้วอุปาทานยึดถือ ทำซ้ำๆอยู่อย่างนั้น อาจารย์ก็แก้ให้ไม่เป็นจึงติดด่านอุปาทานง่ายๆ

ทางแก้ต้องย้ำให้สติอย่าหลุดจากกรรมฐาน อันที่สอง ให้รู้ทันและสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ควบคู่ไปด้วยเพื่กันโมหะครอบงำทำให้อุปาทานฟุ้งไปกับอารมณ์ที่แทรก

เช่น พุทโธ หรือ หนอ ให้ถี่มากขึ้น ถ้ามีนิมิต อารมณ์แทรกใหมีสติรู้ทันดึงสติกลับมาหาพุทโธหรือหนอ ถ้าเอาไม่อยู่ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตอารมณ์แทรกเหล่านั้นจนมันอ่อแรงหรือดับไป ก็รีบนำสติกลับมาหาองค์กรรมฐานที่ใช้
:b37:


นี่วิธีที่อโศกแนะนำโยคีบุคคลที่สำนักหรือขอรับ :b10:

แล้ว หนอ นี่มันดียังไง เห็นพูดจัง

:b30:
ถามมากเกินไป ไม่ติอบแล้ว วันนี้
tongue



ดีครับ ไปนอนคิดสัก 7 วัน อโศกเองลงมือทำภาวนาบ้างนะครับ ตอนนี้คิดไปก่อนทำ :b1: คิดก็ไม่ได้คิดอะไร คิดเอาศัพท์ทางธรรมนั่นบ้างนี่บ้างมาผูกโยงร้อยกันเป็นพวงมาลัย แขวนโตงเตงๆ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 21:39 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b38:
สติขาด สัมปชัญญะหลุดไปจากกรรมฐาน หรือไม่ทันปัจจุบันอารมณ์ กลัวเกิด....สงสัยเกิด รู้ไม่ทัน โมหะเข้าครอบจิต ปรุงไปตามอาการของมือแล้วอุปาทานยึดถือ ทำซ้ำๆอยู่อย่างนั้น อาจารย์ก็แก้ให้ไม่เป็นจึงติดด่านอุปาทานง่ายๆ

ทางแก้ต้องย้ำให้สติอย่าหลุดจากกรรมฐาน อันที่สอง ให้รู้ทันและสังเกต พิจารณาปัจจุบันอารมณ์ควบคู่ไปด้วยเพื่กันโมหะครอบงำทำให้อุปาทานฟุ้งไปกับอารมณ์ที่แทรก

เช่น พุทโธ หรือ หนอ ให้ถี่มากขึ้น ถ้ามีนิมิต อารมณ์แทรกใหมีสติรู้ทันดึงสติกลับมาหาพุทโธหรือหนอ ถ้าเอาไม่อยู่ให้นิ่งรู้นิ่งสังเกตอารมณ์แทรกเหล่านั้นจนมันอ่อแรงหรือดับไป ก็รีบนำสติกลับมาหาองค์กรรมฐานที่ใช้
:b37:


นี่วิธีที่อโศกแนะนำโยคีบุคคลที่สำนักหรือขอรับ :b10:

แล้ว หนอ นี่มันดียังไง เห็นพูดจัง

:b30:
ถามมากเกินไป ไม่ติอบแล้ว วันนี้
tongue

:b28:

ไม่ต้องคิดอะไรให้มันมากแล้วสำหรับกรัชกาย "มันเป็นเช่นนั้นเอง"


ดีครับ ไปนอนคิดสัก 7 วัน อโศกเองลงมือทำภาวนาบ้างนะครับ ตอนนี้คิดไปก่อนทำ :b1: คิดก็ไม่ได้คิดอะไร คิดเอาศัพท์ทางธรรมนั่นบ้างนี่บ้างมาผูกโยงร้อยกันเป็นพวงมาลัย แขวนโตงเตงๆ :b1:


:b18:
ไม่ต้องเสียเวลาคิดอะไรให้มากอีกแล้วสำหรับกรัชกาย

"มันเป็นเช่นนั้นเอง".......สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

:b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 22:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


https://th-th.facebook.com/vajiramedhi/ ... 4770096167

วิธีการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า
ลักษณะวิธีการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้ามีอยู่ ๓ รูปแบบ
ประกอบด้วยพระธรรมกถึกคือผู้ทำหน้าที่ในการเผยแผ่ธรรมะคือตัวสารที่จะส่งไป
และผู้ฟังคือผู้รับสารในการที่จะทำให้องค์ประกอบเหล่านี้ดำเนินไปได้อย่างมี ประสิทธิภาพนั้น
จะต้องมีขบวนการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เรียกว่า พุทธวิธีในการสอน
เพราะพระพุทธเจ้าทรงเป็นผู้ที่พรั่งพร้อมไปด้วยคุณสมบัติของนักเผยแผ่ และพุทธวิธีในการสอนอย่างครบถ้วน จึงได้รับการยกย่องว่า “สตฺถา เทวมนุสฺสานํ ทรงเป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย” ๓ เพื่อให้ทราบถึงวิธีการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้าตามแนวพุทธวิธีในการสอน ผู้วิจัยจะนำประเด็นที่สำคัญในการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้า ดังนี้


จุดมุ่งหมายในการสอน ไม่ว่าจะเสด็จไปทางไหน หรือทำอะไรพระพุทธเจ้าทรงตั้งจุดมุ่งหมายเสมอแม้แต่การสอนก็เช่นเดียวกัน เมื่อมีใครปรากฏอยู่ในข่ายคือพระญาณแล้ว พระพุทธองค์ก็จะเสด็จไปแสดงธรรมโปรด

เรียกว่า จุดมุ่งหมายในการสอน หรือลักษณะอาการที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนมี ๓ อย่าง ได้แก่
๑. อภิญญายธัมมเทสนา ทรงแสดงธรรมด้วยความรู้ยิ่ง คือทรงรู้ยิ่งเห็นเองแล้วจึงทรงสอนผู้อื่นให้ปฏิบัติตาม เพื่อใช้แก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน
๒. สนิทานธัมมเทสนา ทรงแสดงธรรมมีเหตุผล คือผู้ฟังตรึกตรองตามหรือเห็นจริงได้ และสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมให้ถูกต้องและเหมาะสมยิ่งขึ้น
๓. สัปปาฏิหาริยธัมมเทศนา ทรงแสดงธรรมให้เห็นจริง คือผู้ฟังนำผลนั้นไปปฏิบัติตาม พร้อมทั้งได้รับผลแห่งการปฏิบัติตามกำลังของตนๆ ๔


วิธีที่ทรงสอน วิธีที่ทรงสอนของพระพุทธเจ้ามีหลากหลายวิธีด้วยกัน ไม่ได้จำกัดอยู่ด้วยวิธีใด
วิธีหนึ่ง มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเหมาะสมกับเหตุการณ์ กาละเทศะและความพร้อมของผู้ฟังกำลังแห่งสติปัญญา และสภาพแวดล้อม เป็นต้น ซึ่งลักษณะวิธีที่ทรงใช้สอนบ่อยๆมีอยู่ ๓ แนวทาง คือ

๑. การสนทนา เป็นวิธีที่ทรงใช้อยู่บ่อยๆ กับผู้ที่เข้ามาเฝ้า ผู้ยังไม่เลื่อมใสศรัทธา และยังไม่เข้าใจหลักธรรมในพระพุทธศาสนา จะทรงเป็นฝ่ายถามก่อนนำเข้าสู่เนื้อหาแห่งธรรมะ ทำให้ผู้ฟังเกิดความเลื่อมใสศรัทธา โดยใช้การโน้มน้าวใจเป็นหลักในการเผยแผ่ธรรมะ
๒. การบรรยาย เป็นวิธีที่ทรงใช้ในที่ประชุมใหญ่ ซึ่งผู้ฟังส่วนมากมีความรู้ มีความเข้าใจหลักคำสอนในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ทรงใช้เป็นหลักในการเผยแผ่ธรรมะ
๓. การตอบปัญหา เป็นวิธีการที่พระพุทธองค์ทรงใช้กับผู้ที่มาเข้าเฝ้า เพื่อสอบถามข้อสงสัยของตนเอง ซึ่งพระพุทธองค์ทรงใช้ข้อมูลข่าวสารเป็นหลักในการตอบปัญหาแต่ละข้อ โดยพิจารณาถึงลักษณะของปัญหาและวิธีที่เหมาะสมกับการตอบปัญหานั้นๆในสังคีติ สูตร ได้แยกลักษณะของปัญหาไว้ ๔ ประการ ได้แก่

เอกังสพยากรณียปัญหา หมายถึง ปัญหาที่ตอบแบบตรงไปตรงมา
ปฏิปุจฉาพยากรณียปัญหา หมายถึง ปัญหาที่ย้อนถามให้ชัดเจนก่อนแล้วจึงตอบปัญหานั้น
วิภัชชพยากรณียปัญหา หมายถึง ปัญหาที่ควรแยกตอบเป็นประเด็น
ฐปนียปัญหา หมายถึง ปัญหาที่ไม่ควรตอบ ถือว่าไม่มีประโยชน์ เป็นเรื่องไร้สาระทำให้เสียเวลา


อุบายประกอบการสอน พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่มีเทคนิควิธีประกอบการสอนมากมาย เพื่อให้เหมาะสมกับจริตหรือความต้องการของบุคคลนั้นๆ จึงจะทำให้การเผยแผ่ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ประกอบด้วย

๑. การยกอุทาหรณ์และนิทานประกอบ เป็นรูปแบบที่พระพุทธเจ้าทรงใช้บ่อยๆเพราะทำให้เข้าใจความได้ง่าย
๒. การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมาอุปไมย ทำให้เข้าใจเรื่องราวได้ลึกซึ้ง
๓. ใช้สื่อธรรมชาติใกล้ตัว ทำให้รู้จักเข้าใจง่ายเป็นอุปกรณ์การสอน
๔. การสาธิตให้ดูหรือทำให้ดูเป็นตัวอย่าง
๕.การใช้ภาษาในความหมายใหม่เป็นเรื่องของความสามารถในโวหารธรรมหรือการใช้ภาษาผสมกับปฏิภาณไหวพริบ
๖. การเลือกคน พระพุทธองค์จะทรงเลือกบุคคลที่เป็นประมุขหรือหัวหน้า แม้ในการแสดงธรรมในท่ามกลางพุทธบริษัท เมื่อมีเป้าหมายจะโปรดบุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นพิเศษ แต่ก็ไม่ทรงทิ้งบุคคลส่วนมาก ทำให้ทุกคนได้รับประโยชน์ในการฟังธรรมตามกำลังของตน
๗. การรู้จักจังหวะและโอกาส เพื่อรอความพร้อมของผู้รับฟังทั้งสภาพแวดล้อมทางกายภาพ และทางจิตใจ
๘. ความยืดหยุ่นในการสอนมีทั้งการยกย่อง การข่ม การปลอบประโลมหรือโอนอ่อนผ่อนตาม
๙. การลงโทษและให้รางวัล เมื่อเห็นว่าบุคคลใดควรยกย่องก็ยกย่อง หรือควรตำหนิก็ตำหนิ
๑๐. การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า โดยจะต้องอาศัยปฏิภาณไหวพริบในการแก้ไขปัญหา ประยุกต์พุทธวิธีในการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์


รูปแบบการสอนของพระพุทธเจ้า การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทุกครั้ง จะทรงใช้พุทธวิธีการสอนซึ่งมีรูปแบบและวิธีการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในขณะนั้น ทรงเตรียมแผนการสอน พร้อมทั้งศึกษาสภาพแวดล้อม วิเคราะห์ผู้ฟัง มีข้อมูลไว้อย่างพร้อมมูล ตั้งแต่ต้นจนจบ ทรงใช้รูปแบบการสอนครบทั้ง ๔ ประการ ได้แก่

๑. สันทัสสนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือให้ไปเห็นกับตา
๒. สมาทปนา ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติตาม
๓.สมุตเตชนาเร้าใจให้แกล้วกล้าบังเกิดกำลังใจปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขันมั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก
๔. สัมปหังสนา ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อและเปรี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะได้รับจากการปฏิบัติ


๕ แผนการสอนของพระพุทธเจ้าเมื่อจะกล่าวถึงแนวทางการวางแผนการสอนของพระพุทธเจ้านั้น พระพุทธองค์จะทรงทำตามลำดับก่อนหลัง ดังนี้
๑. วิเคราะห์ ผู้ฟังพระพุทธองค์จะทรงศึกษาและเลือกบุคคลอย่างละเอียดดังปรากฏอยู่ในพุทธ กิจที่ทรงใช้ประจำคือในเวลาใกล้สว่างจะทรงตรวจดูสัตว์โลกผู้สมควรได้รับพระ กรุณา
๒. กำหนดรู้ปริบทของผู้ฟัง เช่น เพศ วัย ฐานะ ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อมชุมชน จารีตประเพณี อุปนิสัย ระดับสติปัญญา เป็นต้น
๓. กำหนดเนื้อหาสาระที่จะทรงใช้สอน มีขั้นตอนการเลือกธรรมที่จะนำมาสอนนับว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะว่าผู้ฟังย่อมมีความพร้อมมีคุณสมบัติปริบททางสังคมที่ต่างกัน มีอินทรีย์ที่แก่กล้าต่างกัน การกำหนดเนื้อหาสาระที่มีความยากง่ายให้ตรงกับความต้องการของผู้รับฟัง ย่อมมีผลต่อการรับรู้ธรรมะของผู้ฟังทั้งสิ้น
๔. รูปแบบการนำเสนอพระพุทธเจ้าทรงมีรูปแบบในการสอนมากมายเช่นการสนทนาการบรรยายและการตอบปัญหา เป็นต้น
๕. วิธี การนำเสนอพระพุทธเจ้าทรงใช้วิธีการนำเสนอที่หลากหลายเช่นบางครั้งทรงใช้วิธี ยกอุปมาขึ้นเปรียบเทียบบางครั้งใช้วิธีตอบปัญหาบางครั้งใช้วิธีเล่านิทานมา ประกอบเป็นต้น
๖. ลดส่วนที่เกินเพิ่มส่วนที่พร่อง การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าทรงมุ่งประโยชน์เกื้อกูล และประโยชน์ต่อชาวโลก โดยอาศัยพระกรุณาธิคุณเป็นที่ตั้ง
๗. การประเมินผล พระพุทธองค์ทรงใช้วิธีการประเมินผลในการแสดงธรรมะทุกครั้ง เมื่อจบการแสดงพระธรรมเทศนาแล้วจะเกิดคำว่า ธัมมาภิสมโย คือการได้บรรลุธรรมตามเหตุปัจจัย ส่วนชนที่อยู่ในที่ประชุมนั้น ก็สามารถบรรลุคุณธรรมมากน้อยต่างกันไปตามความแก่กล้าของอินทรีย์
๘. การติดตามผล พระพุทธองค์จะทรงติดตามผลความคืบหน้า ในเรื่องที่ทรงสอนไป ดังเช่น ทรงมอบให้พระสารีบุตรเถระเป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่ราธะผู้บวช ในภายแก่ หลังจากบวชแล้วได้ไม่นานพระสารีบุตรนำเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ จึงได้ตรัสถามถึงความเป็นมาของพระราธะซึ่งพระสารีบุตรก็ทูลว่าพระราธะเธอ เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่ายเหลือเกิน


แสดงให้เห็นได้ว่า วิธีการเผยแผ่ธรรมะของพระพุทธเจ้านั้นทรงใช้พุทธวิธีในการสอนได้อย่างมีระบบ มีผลสัมฤทธิ์ทำให้พระพุทธศาสนาได้ประดิษฐานอย่างมั่นคงถาวรมาจนถึงปัจจุบัน นี้ เพราะทรงมีพระคุณสมบัติในฐานะผู้ส่งสารมีจุดมุ่งหมาย มีวิธีการสอนมีอุบายประกอบการสอน มีรูปแบบและแผนการสอนเป็นอย่างดี


แนวคิดทางการสื่อสาร ตามหลักการแนวคิดทางการสื่อสารแล้วไม่ว่าจะเป็นข่าวสาร ความต้องการอารมณ์ซึ่งอาจหมายถึงตัวเนื้อหาสาระ (Message)ที่ผู้ส่งสารต้องการให้ผู้รับเกิดความเข้าใจร่วมกัน หรือมีความหมายที่คล้ายคลึงกัน แต่เนื่องจากมีผู้นิยามความหมายของการสื่อสารไว้ในหลายทัศนะด้วยกันจึงอาจจะ สรุปถึงลักษณะองค์ประกอบ (Communication Elements) ที่สำคัญๆ ของการสื่อสารได้อย่างน้อย ๔ ประการ ดังนี้

๑. ผู้ส่งสาร (Sender) หมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิด มีความต้องการ มีความตั้งใจที่จะส่งข้อมูลข่าวสาร มีอารมณ์ มีความรู้สึกนึกคิด มีความคิดเห็นทัศนคติ มีความเชื่อและอื่นๆ ไปยังผู้รับสาร เพื่อก่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่งต่อผู้รับสารดังนั้นผู้ส่งสารจึงถือเป็น องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่อองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งในการเลือกข้อมูลข่าวสาร การเลือก วิธีการ และช่องทางที่จะทำให้สารไปถึงผู้รับสาร รวมทั้งการเลือกกลุ่มผู้รับสาร ผู้ส่งสารอาจเป็นบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มบุคคลทั้งการส่งสารผู้ส่งจะส่งสารโดย มีเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ได้ ข้อมูลข่าวสารอาจเป็นทางการหรือไม่เป็นทางการนั่นขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ ของผู้ส่งสาร ลักษณะการสื่อสารนั้น ทำผู้ส่งสารจะประสบผลสำเร็จหรือความล้มเหลว สิ่งสำคัญขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารบางคนอาจมีบุคลิกน่าเชื่อถือ น่าเลื่อมใสในสายตาของผู้รับสาร บุคคลบางคนอาจไม่เป็นเช่นนั้น มีปัจจัยอยู่
หลายประการที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผู้รับสาร ซึ่งแมคครอสกีได้กล่าวเอาไว้ ๕ ประการ ได้แก่

๑.๑ ความสามารถ (Competence) ได้แก่ความรู้ความสามารถในข้อมูลข่าวสารและในการส่งสารรวมทั้งความสามารถใน การจัดการควบคุมสถานการณ์ในการสื่อสาร
๑.๒คุณลักษณะหรือบุคลิกลักษณะ(Character or Appearance) ได้แก่บุคลิกที่ดีทั้งภายในและภายนอก ผู้ส่งสารจะต้องแสดงถึงความเฉลียวฉลาด มีไหวพริบดีสามารถตัดสินใจกระทำในสิ่งต่างๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งแสดงลักษณะการให้ความอบอุ่นเป็นที่น่าไว้วางใจ อันจะสามารถสร้างความเชื่อถือ เลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้รับสาร
๑.๓ ความสุขุม เยือกเย็น (Composure) หมายถึง ความแคล่วคล่องในการสื่อสารไม่มีอาการที่แสดงถึงความตื่นเต้นหวาดกลัว หรือควบคุมอารมณ์ไม่ได้
๑.๔ การเป็นคนที่สังคมยอมรับหรือเป็นที่รู้จักทางสังคม (Social Ability)ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ได้รับความรู้สึกที่ดีจากผู้รับสารในเบื้องต้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้รับสารคาดหวังอยู่ก่อนแล้ว แต่ถ้าหากผู้ส่งสารทำการสื่อสารไม่ดี อาจส่งผลทางลบต่อผู้รับสารในครั้งต่อไป
๑.๕.การเป็นคนเปิดเผย(Extroversion)เกิด ขึ้นโดยการให้ข้อมูลที่เพียงพอและไม่ปิดบังข้อมูลของผู้ส่งสารจะทำให้ผู้รับ สารเกิดความรู้สึกสนิทสนมเป็นกันเองรู้สึกไว้วางใจผู้ส่งสารมีผลทำให้ผู้รับ สารสามารถรับรู้และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร


๒. สาร (Message)หมายถึงเรื่องราวอันมีความหมาย ซึ่งถูกแสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใดๆก็ตามที่สามารถทำให้เกิดการ รับรู้ร่วมกันได้ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร มีอยู่ ๓ ประการ คือ
๒.๑ รหัสสาร (Message Codes)คือภาษา(Language) หรือสัญลักษณ์(Signal) ที่ มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแสดงออกแทนความคิด ความรู้สึก ความเชื่อ ค่านิยม และวัตถุประสงค์ต่างๆ ของผู้ส่งสาร รหัสสารอาจถูกแสดงออกมาเป็นสารที่เป็นทั้งภาษาพูดภาษาเขียน รหัสที่ไม่ใช่ภาษาพูดหรือภาษาเขียนที่ผู้ส่งสารจะเลือกใช้รหัสสารแบบใดนั้น ขึ้นอยู่กับระบบสังคมวัฒนธรรมสภาพแวดล้อมของผู้รับสารซึ่งจะส่งผลให้เกิด ความเข้าใจร่วมกัน
๒.๒ เนื้อหาของสาร (Message Content) หมายถึงเรื่องราวสิ่งต่างๆ ที่ผู้ส่งสารต้องการจะถ่ายทอดหรือส่งไปยังผู้รับสาร แบ่งได้หลายประเภทตามเนื้อหาของสารในรูปแบบต่างๆ มีเนื้อหาเชิงวิชาการ และเนื้อหาไม่ใช่เชิงวิชาการ เป็นต้น
๒.๓ การจัดเรียงลำดับ (Message Treatment) หมายถึง รูปแบบวิธีการในการนำรหัสสารมาเรียบเรียงเพื่อให้ได้ใจความตามเนื้อหาที่ ต้องการ ซึ่งขึ้นอยู่กับโครงสร้างของภาษา (Structure) และบุคลิกลักษณะของแต่ละบุคคล


๓. ช่องทางการสื่อสาร (Channel or Media) หมายถึง พาหนะตัวนำพาข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารที่ใกล้ตัวที่สุด อาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อันได้แก่ การมองเห็นการได้ยิน การดมกลิ่น การลิ้มรส และการสัมผัส รวมถึงคลื่นแสงคลื่นเสียงและอากาศที่อยู่รอบๆ ตัว ซึ่งลักษณะการสื่อสารไม่ว่าผู้ส่งสารจะใช้กลยุทธ์อะไร การสื่อสารจะเกิดประสิทธิผลได้มากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่
๓.๑ความเหมาะสมของสื่อกับผู้ส่งสารได้แก่ความสามารถความชำนาญในการใช้สื่อของผู้ส่งสาร
๓.๒ความเหมาะสมของสื่อกับเนื้อหาของสารได้แก่ ระดับความสามารถของสื่อในการถ่ายทอดเนื้อหาอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ได้อย่างครบถ้วนหรือมากน้อยเพียงใด
๓.๓. ความเหมาะสมของสื่อกับผู้รับสาร ได้แก่ ความสามารถที่ผู้รับจะสามารถเข้าถึงสื่อประเภทต่างๆ
๓.๔ ความเหมาะสมของสื่อกับสภาพแวดล้อม ได้แก่การเข้ากันได้ของสื่อกับสภาพแวดล้อมในสถานการณ์ของการสื่อสารที่เป็น อยู่ในขณะนั้นเช่นพื้นที่เป็นภูเขาหรือเป็นเกาะเป็นต้น
๓.๕ ความเหมาะสมของสื่อกับปัจจัยด้านการเงิน ได้แก่ การพิจารณาถึงงบประมาณการใช้จ่ายให้เหมาะสมกับการเลือกใช้สื่อ


๔. ผู้รับสาร (Receiver) เนื่องจากผู้รับสารเป็นบุคคลที่สำคัญในการสื่อสารแม้การสื่อสารจะเริ่มต้น จากผู้ส่งสาร แต่บุคคลที่จะแสดงว่าการสื่อสารประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นก็คือผู้รับสาร ถ้าผู้รับสารต้องการรับสารตามที่ผู้ส่งสารส่งในขณะนั้น หรือผู้รับสารมีความรู้ในการที่จะทำความเข้าใจต่อสาร ก็จะทำให้การสื่อสารสำเร็จได้โดยง่าย ในทางตรงข้ามหากผู้รับสารขาดความสนใจ ปิดกั้นการรับข่าวสาร หรือผู้รับที่ไม่สามารถทำความเข้าใจในสารที่ผู้ส่งให้ได้ก็จะทำให้การสื่อ สารนั้นล้มเหลว ดังนั้นการสื่อสารทุกครั้งสิ่งที่ผู้ส่งจะต้องพิจารณาและคำนึงถึงอย่างมากก็ คือผู้รับสาร


ทฤษฎีการโน้มน้าวใจ ถ้าต้องการพัฒนาบุคลากรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้สำเร็จและสามารถตอบสนอง ความต้องการของสังคมปัจจุบันได้ จำเป็นจะต้องส่งเสริมให้เรียนรู้ทฤษฎีการโน้มน้าวใจ ซึ่งหมายถึงการสื่อสารเพื่อการจูงใจ ชี้แนะ และชักชวนให้บุคคลทำตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยอาศัยกระบวนการสื่อสารเป็นเครื่องมือโน้มน้าวใจ มีผู้รับสารเป็นเป้าหมายหลักในการสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจมีองค์ประกอบ ๔ อย่าง ได้แก่ ผู้ส่งสาร สารช่องทาง และผู้รับสาร จะปรากฏอยู่ในทุกสภาพการณ์ที่ทำการสื่อสาร โดยซมอนส์ ได้สรุปความหมายของการโน้มน้าวใจเพื่อการสื่อสารของมนุษย์ ที่สร้างขึ้นมา เพื่อให้มีอิทธิพลเหนือผู้อื่น มีการเปลี่ยนแปลงความเชื่อถือ ค่านิยม สามารถสรุปได้ดังนี้
๑. ผู้โน้มน้าวใจมีความตั้งใจที่จะมีอิทธิพลบางประการเหนือผู้ถูกโน้มน้าวใจ
๒. โดยปกติผู้ถูกโน้มน้าวใจ จะมีทางเลือกมากกว่าหนึ่งและผู้ถูกโน้มน้าวใจจะพยายามชักจูงผู้ถูกโน้มน้าวใจให้ยอมรับทางเลือกที่ตนเสนอ
๓. สิ่งที่ผู้โน้มน้าวใจต้องการคือการเปลี่ยนแปลงความคิดเห็น ทัศนคติ และความเชื่อให้ถูกต้องตามความเป็นจริง ทั้งด้านอารมณ์ และพฤติกรรม เป็นต้น
เรื่อง : ธีรวัส บำเพ็ญบุญบารมี มหาบัณฑิตสาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

อนุโมทนาครับ :b8: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 22:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 4
สมาชิก ระดับ 4
ลงทะเบียนเมื่อ: 22 ธ.ค. 2009, 00:22
โพสต์: 223

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


http://www.easyinsurance4u.com/buddha4u ... 0style.htm

พุทธวิธีในการสอน

* ข้อสรุปพระคุณสมบัตของพระพุทธเจ้าที่ควรสังเกต
* หลักทั่วไปในการสอน
* ลีลาการสอน
* วิธีการสอบแบบต่างๆ
* กลวิธี และอุบายประกอบการสอน
* นิเทศอาทิตตปริยายสูตร
* ข้อควรสังเกตุในแง่การสอน

ข้อสรุปพระคุณสมบัติของพระพุทธเจ้าที่ควรสังเกต

1. ทรงสอนสิ่งที่เป็นจริง และเป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง
2. ทรงรู้เข้าใจสิ่งที่สอนอย่างถ่องแท้สมบูรณ์
3. ทรงสอนด้วยเมตตา มุ่งประโยชน์แก่ผู้รับคำสอนเป็นที่ตั้งไม่หวังผลตอบแทน
4. ทรงทำได้จริงอย่างที่สอน เป็นตัวอย่างที่ดี
5. ทรงมีบุคลิกภาพโน้มน้าวจิตใจให้เข้าใกล้ชิดสนิทสนม และพึงพอใจได้ความสุข
6. ทรงมีหลักการสอน และวิธีสอนยอดเยี่ยม

หลักทั่วไปในการสอน

* เกี่ยวกับเนื้อหา หรือเรื่องที่สอน

1. สอนจากสิ่งที่รู้เห็นเข้าใจง่าย หรือรู้เห็นเข้าใจอยู่แล้ว ไปหาสิ่งที่เห็นเข้าใจได้ยาก หรือยังไม่รู้ไม่เห็นไม่เข้าใจ
2. สอนเนื้อเรื่องที่ค่อยลุ่มลึก ยากลงไปตามลำดับขั้น และความต่อเนื่องกันเป็นสายลงไป อย่างที่เรียกว่า สอนเป็นอนุบุพพิกถา..
3. ถ้าสิ่งที่สอนเป็นสิ่งที่แสดงได้ ก็สอนด้วยของจริง ให้ผู้เรียน ได้ดู ได้เห็น ได้ฟังเอง อย่างที่เรียกว่าประสบการณ์ตรง
4. สอนตรงเนื้อหา ตรงเรื่อง คุมอยู่ในเรื่อง มีจุด ไม่วกวน ไม่ไขว้เขว ไม่ออกนอกเรื่องโดยไม่มีอะไรเกี่ยวข้องในเนื้อหา
5. สอนมีเหตุผล ตรองตามเห็นจริงได้ อย่างที่เรียกว่า สนิทานํ
6. สอนเท่าที่จำเป็นพอดี สำหรับให้เกิดความเข้าใจ ให้เการเรียนรู้ได้ผล ไม่ใช่สอนเท่าที่ตนรู้ หรือสอนแสดงภูมิว่าผู้สอนมีความรู้มาก
7. สอนสิ่งที่มีความหมาย ควรที่เขาจะเรียนรู้ และเข้าใจ เป็นประโยชน์แก่ตัวเขาเอง อย่างพุทธพจน์ที่ว่า พระองค์ทรงมีพระเมตตา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งหลาย จึงตรัสพระวาจาตามหลัก 6 ประการคือ
1. คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
2. คำพูดที่จริง ถูกต้อง แต่ไม่เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
3. คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ ไม่เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส
4. คำพูดที่ไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
5. คำพูดที่จริง ถูกต้อง ไม่เป็นประโยชน์ ถึงเป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - ไม่ตรัส
6.
คำพูดที่จริง ถูกต้อง เป็นประโยชน์ เป็นที่รักที่ชอบใจของผู้อื่น - เลือกกาลตรัส

ลักษณะของพระพุทธเจ้าในเรื่องนี้ คือ ทรงเป็นกาลวาที สัจจวาที ภูตวาที อัตถวาที ธรรมวาที วินัยวาที

* เกี่ยวกับตัวผู้เรียน
1. รู้ คำนึงถึง และสอนให้เหมาะสมตามความแตกต่างระหว่างบุคคล...
2. ปรับวิธีสอนผ่อนให้เหมาะกับบุคคล แม้สอนเรื่องเดียวกันแต่ต่างบุคคล อาจใช้ต่างวิธี
3. นอกจากคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลแล้ว ผู้สอนยังจะต้องคำนึงถึงความพร้อม ความสุกงอม ความแก่รอบแห่งอินทรีย์ หรือญาณ ที่บาลี เรียกว่า ปริปากะ ของผู้เรียนแต่ละบุคคลเป็นรายๆ ไปด้วย
4. สอนโดยให้ผู้เรียนลงมือทำด้วยตนเอง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจชัดเจน แม่นยำและได้ผลจริง เช่น ทรงสอนพระจูฬปันถกผู้โง่เขลาด้วยการให้นำผ้าขาวไปลูบคลำ...
5. การสอนดำเนินไปในรูปที่ให้รู้สึกว่าผู้เรียน กับผู้สอนมีบทบาทร่วมกัน ในการแสวงความจริง ให้มีการแสดงความคิดเห็นโต้ตอบเสรี หลักนี้เป็นข้อสำคัญในวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งต้องการอิสรภาพในทางความคิด และโดยวิธีนี้เมื่อเข้าถึงความจริง ผู้เรียนก็จะรู้สึกว่าตนได้มองเห็นความจริงด้วยตนเอง และมีความชัดเจนมั่นใจ หลักนี้เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าทรงใช้เป็นประจำ และมักมาในรูปการถามตอบ
6. เอาใจใส่บุคคลที่ควรได้รับความสนใจพิเศษเป็นรายๆ ไปตามควรแก่กาละเทศะ และเหตุการณ์...
7. ช่วยเหลือเอาใจใส่คนที่ด้อย ที่มีปัญหา...
* เกี่ยวกับตัวการสอน
1. ในการสอนนั้น การเริ่มต้นเป็นจุดสำคัญมากอย่างหนึ่ การเริ่มต้นที่ดีมีส่วนช่วยให้การสอนสำเร็จผลดีเป็นอย่างมาก อย่างน้อย ก็เป็นเครื่องดึงความสนใจ และนำเข้าสู่เนื้อหาได้ พระพุทธเจ้าทรงมีวิธีเริ่มต้นที่น่าสนใจมาก โดยปกติพระองค์จะไม่ทรงเริ่มสอนด้วยการเข้าสู่เนื้อหาธรรมที่เดียว แต่จะทรงเริ่มสนทนากับผู้ทรงพบ หรือผู้มาเฝ้าด้วยเรื่อที่เขารู้เข้าใจดี หรือสนใจอยู่...
2. สร้างบรรยากาศในการสอนให้ปลอดโปร่ง เพลิดเพลินไม่ให้ตึงเครียด ไม่ให้เกิดความอึดอัดใจ และให้เกียรติแก่ผู้เรียน ให้เขามีความภูมิใจในตัว
3. สอนมุ่งเนื้อหา มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่สอนเป็นสำคัญ ไม่กระทบตนและผู้อื่น ไม่มุ่งยกต ไม่มุ่งเสียดสีใครๆ...
4. สอนโดยเคารพ คือ ตั้งใจสอน ทำจริง ด้วยความรู้สึกว่าเป็นสิ่มีค่า มองเห็นความสำคัญของผู้เรียน และงาสั่งสอนนั้น ไม่ใช้สักว่าทำ หรือเห็นผู้เรียนโง่เขลา หรือเห็นเป็นชั้นต่ำๆ
5. ใช้ภาษาสุภาพ นุ่มนวล ไม่หยาบคาย ชวนให้สบายใจ สละสลวย เข้าใจง่าย

ขอนำพุทธพจน์แห่งหนึ่ง ที่ตรัสสอนภิกษุผู้แสดงธรรมเรียกกันว่า องค์แห่งพระธรรมกถึก มาแสดงไว้ดังนี้

"อานนท์ การแสดงธรรมให้คนอื่นฟัง มิใช่สิ่งที่กระทำได้ง่าย ผู้แสดงธรรมแก่คนอื่น พึงตั้งธรรม 5 อย่างไว้ในใจ คือ

1. เราจักกล่าวชี้แจงไปตามลำดับ
2. เราจักกล่าวชี้แจงยกเหตุผลมาแสดงให้เข้าใจ
3. เราจักแสดงด้วยอาศัยเมตตา
4. เราจักไม่แสดงด้วยเห็นแก่อามิส
5. เราจักแสดงไปโดยไม่กระทบตน และผู้อื่น "

ลีลาการสอน

คุณลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลีลาในการสอน 4 อย่าดังนี้

1. อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือจูงมือไปดูเห็นกับตา (สันทัสสนา)
2. ชักจูงใจให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตามจนต้อยอมรับ และนำไปปฏิบัติ (สมาทปนา)
3. เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทำให้สำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก ( สมุตตเตชนา)
4. ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากกาปฏิบัติ (สัมปหังสนา)

อาจผูกเป็นคำสั้นๆ ได้ว่า แจ่มแจ้ง จูงใจ หาญกล้า ร่าเริง หรือชี้ชัด เชิญชวน คึกคัก เบิกบาน
วิธีสอนแบบต่างๆ

วิธีการสอนของพระพุทธเจ้า มีหลายแบบหลายอย่าง ที่น่าสังเกต หรือพบบ่อย คงจะได้แก่วิธีต่อไปนี้

1. สนทนา (แบบสากัจฉา)
2. แบบบรรยาย
3. แบบตอบปัญหา ท่านแยกประเภทปัญหาไว้ตามลักษณะวิธีตอบเป็น 4 อย่างคือ
1. ปัญหาที่พึงตอบตรงไปตรงมาตายตัว ... (เอกังสพยากรณียปัญหา)
2. ปัญหาที่พึงย้อนถามแล้วจึงแก้ ... (ปฎิปุจฉาพยากรณียปัญหา)
3. ปัญหาที่จะต้องแยกความตอบ ... (วิภัชชพยากรณียปัญหา)
4. ปัญหาที่พึงยับยั้งเสีย (ฐปนียปัญหา) ได้แก่ ปัญหาที่ถามนอกเรื่อง ไร้ประโยชน์ อันจักเป็นเหตุให้เขว ยืดเยื้อ สิ้นเปลืองเวลาเปล่า พึงยับยั้งเสีย แล้วชักนำผู้ถามกลับเข้าสู่แนวเรื่องที่ประสงค์ต่อไป
4. แบบวางกฎข้อบังคับ เมื่อเกิดเรื่องมีภิกษุกระทำความผิดอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นเป็นครั้งแรก

กลวิธี และอุบายประกอบการสอน

1. การยกอุทาหรณ์ และการเล่านิทานประกอบ การยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย และการเล่านิทานประกอบการสอนช่วยให้เข้าใจความได้ง่าย และชัดเจน ช่วยให้จำแม่นยำ เห็นจริง และเกิดความเพลิดเพลิน ทำให้การเรียนการสอนมีรสยิ่งขึ้น...
2. การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา คำอุปมาช่วยให้เรื่องที่ลึกซึ้งเข้าใจยาก ปรากฏความหมายเด่นชัดออกมา และเข้าใจง่ายขึ้น โดยเฉพาะมักใช้ในการอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรม หรือแม้เปรียบเรื่องที่เป็นรูปธรรมด้วยข้ออุปมาแบบรูปธรรม ก็ช่วยให้ความหนักแน่นเข้า... การใช้อุปมานี้ น่าจะเป็นกลวิธีประกอบการสอนที่พระพุทธองค์ทรงใช้มากที่สุด มากกว่ากลวิธีอื่นใด
3. การใช้อุปกรณ์การสอน ในสมัยพุทธกาล ย่อมไม่มีอุปกรณ์การสอนชนิดต่างๆ ที่จัดทำขึ้นไว้เพื่อการสอนโดยเฉพาะ เหมือนสมัยปัจจุบัน เพราะยังไม่มีการจัดการศึกษาเป็นระบบขึ้นมากอย่างกว้างขวาง หากจะใช้อุปกรณ์บ้าง ก็คงต้องอาศัยวัตถุสิ่งของที่มีในธรรมชาติ หรือเครื่องใช้ต่างๆ ที่ผู้คนใช้กันอยู่
4. การทำเป็นตัวอย่าง วิธีสอนที่ดีที่สุดอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในทางจริยธรรม คือการทำเป็นตัวอย่าง ซึ่งเป็นการสอนแบบไม่ต้องกล่าวสอน เป็นทำนองการสาธิตให้ดู แต่ที่พระพุทธเจ้าทรงกระทำนั้นเป็นไปในรูปทรงเป็นผู้นำที่ดี การสอนโดยทำเป็นตัวอย่าง ก็คือ พระจริยวัตรอันดีงามที่เป็นอยู่โดยปกตินั้นเอง แต่ที่ทรงปฏิบัติเป็นเรื่องราวเฉพาะก็มี...
5. การเล่นภาษา เล่นคำ และใช้คำในความหมายใหม่ การเล่นภาษาและการเล่นคำ เป็นเรื่องของความสามารถในการใช้ภาษาผสมกับปฏิภาณ ข้อนี้ก็เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถของพระพุทธเจ้าที่มีรอบไปทุก ด้าน...แม้ในการสอนหลักธรรมทั่วไป พระองค์ก็ทรงรับเอาคำศัพท์ที่มีอยู่แต่เดิมในลัทธิศาสนาเก่ามาใช้ แต่ทรงกำหนดความหมายใหม่ ซึงเป็นวิธีการช่วยให้ผู้ฟังผู้เรียนหันมาสนใจ และกำหนดคำสอนได้ง่าย เพียงแต่มาทำความเข้าใจเสียใหม่เท่านั้น และเป็นการช่วยให้มีการพิจารณาเปรียบเทียบไปในตัวด้วยว่าอย่างไหนถูก อย่างไหนผิดอย่างไร จึงเห็นได้ว่า คำว่า พรหม พราหมณ์ อริยะ ยัญ ตบะ ไฟบูชายัญ ฯลฯ ซึ่งคำในลัทธิศาสนาเดิม ก็มีใช้ในพระพุทธศาสนาด้วยทั้งสิ้น แต่มีความหมายต่างออกไปเป็นอย่างใหม่
6. อุบายเลือกคน และการปฏิบัติรายบุคคล การเลือกคนเป็นอุบายสำคัญในการเผยแพร่ศาสนา ในการประกาศธรรมของพระพุทธเจ้า เริ่มแต่ระยะแรกประดิษฐานพระพุทธศาสนาจะเห็นได้ว่าพระพุทธเจ้าทรงดำเนินพุทธ กิจด้วยพระพุทโธบายอย่างทีเรียกว่า การวางแผนที่ได้ผลยิ่ง ทรงพิจารณาว่าเมื่อจะเข้าไปประกาศพระศาสนาในถิ่นใดถิ่นหนึ่งควรไปโปรดใคร ก่อน
7. การรู้จักจังหวะ และโอกาส ผู้สอนต้องรู้จักใช้จังหวะ และโอกาสให้เป็นประโยชน์
8. ความยืดหยุ่นในการใช้วิธีการ ถ้าผู้สอนสอนอย่างไม่มีอัตตา ตัดตัณหา มานะ ทิฏฐิเสียให้น้อยที่สุด ก็จะมุ่งไปยังผลสำเร็จในการเรียนรู้เป็นสำคัญ สุดแต่จะใช้กลวิธีใดให้การสอนได้ผลดีที่สุด ก็จะทำในทางนั้น ไม่กลัวว่าจะเสียเกียรติ ไม่กลัวจะถูกรู้สึกว่าแพ้
9. การลงโทษ และให้รางวัล การใช้อำนาจลงโทษ ไม่ใช้การฝึกคนของพระพุทธเจ้า แม้ในการแสดงธรรมตามปกติพระองค์ ก็แสดงไปตามเนื้อหาธรรมไม่กระทบกระทั้งใคร... การสอนไม่ต้องลงโทษ เป็นการแสดงความสามารถของผู้สอนด้วย ในระดับสามัญ สำหรับผู้สอนทั่วไป อาจต้องคิดคำนึงว่าการลงโทษ ควรมีหรือไม่ แค่ไหน และอย่างไร แต่ผู้ที่สอนคนได้สำเร็จผลโดยไม่ต้องใช้อาญาโทษเลย ย่อมชื่อว่าเป็นผู้มีความสามารถในการสอนมากที่สุด
10. กลวิธีแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นต่างครั้ง ต่างคาว ย่อมมีลักษณะแตกต่างกันไปไม่มีที่สิ้นสุด การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าย่อมอาศัยปฏิภาณ คือ ความสามารถในการประยุกต์หลัก วิธีการ และกลวิธีต่างๆ มาใช้ให้เหมาะสม เป็นเรื่องเฉพาะครั้ง เฉพาะคราวไป

นิเทศอาทิตตปริยายสูตร

ในการพิจารณาพระสูตรนี้ เพื่อทำความเข้าใจให้เป็นประโยชน์ในการสอน ความในพระสูตรนี้อาจสรุปได้เป็น 4 ตอนดังนี้

1. สภาพที่เป็นปัญหา สิ่งที่พระองค์ตรัสว่าลุกเป็นไฟนั้นมีดังต่อไปนี้
* จักษุ รูป จักขุวิญญาณ จักขุสัมผัส จักขุสัมผัสสชาเวทนา
* โสตะ (หู) เสียง โสตวิญญาณ โสตสัมผัส โสตสัมผัสสชา เวทนา
* ฆานะ (จมูก) กลิ่น ฆานวิญญาณ ฆานสัมผัส ฆานสัมผัสสชาเวทนา
* ชิวหา (ลิ้น) รส ชิวหา วิญญาณ ชิวหาสัมผัส ชิวหาสัมผัสสชเวทนา
* กาย โผฎฐัพพะ กายวิญญาณ กายสัมผัส กายสัมผัสสชาเวทนา
* มนะ (ใจ) ธรรมะ (ความคิดคำนึงต่างๆ) มโนวิญญาณ มโนสัมผัส มโนสัมผัสสชาเวทนา
2. สาเหตุ เมื่อ กำหนดตัวปัญหาได้ และเข้าใจสภาพของปัญหาแล้ว ก็ค้นหาสาเหตุให้เกิดไป หรือตัวไฟที่เผาผลาญนั้นต่อไปได้ความว่า สิ่งที่กล่าวมานั้น ลุกไหม้ด้วยกิเลส 3 อย่าง 8nv
* ราคะ ความอยากได้ ความใคร่ ความติดใจ ความกำหนัดยินดี
* โทสะ ความโกรธ ความขัดใจ ความเดือดแค้นชิงชังไม่พอใจต่างๆ
* โมหะ ความหลง ความไม่รู้ ไม่เข้าใจสภาพของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง
3. ข้อปฏิบัติเพื่อแก้ไข พระพุทธองค์ตรัสต่อไปอีกว่า อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้แล้ว เมื่อเห็นอยู่แย่างนี้ ย่อมหน่ายในอายตนะภายใน ภายนอก ตลอดถึงเวทนาทั้งหมดเหล่านั้น เมื่อหย่ายก็ย่อมไม่ยึดติด
4. ผล เมื่อไม่ยึดติด ก็หลุดพ้น เมื่อหลุดพ้น ก็เกิดญาณหยั่งรู้ ว่าหลุดพ้นแล้ว เป็นอันสิ้นชาติ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำสิ่งที่จะต้องทำเสร็จสิ้นแล้ว สิ่งที่จะต้องทำเพื่อเป็นอย่างนี้ ไม่มีเหลืออีกเลย

พระธรรมเทศนา อาทิตตปริยายสูตร ที่ทรงแสดงแก่ชฏิล มีข้อควรสังเกตในแง่การสอน ที่เป็นข้อสำคัญ 2 อย่างคือ

1. ทรงสอนให้ตรงกับความถนัด และความสนใจของชฏิล พระ ธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า ไม่ว่าจะทรงแสดงที่ใด และแก่ใครย่อมมีจุดหมายเป็นแนวเดียวกัน คือ มุ่งให้เกิดความรู้ความเข้าใจ ในสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง แล้วให้มีทัศนคติ และ ปฎิบัติต่อสิ่งเหล่านั้นอย่างถูกต้องในทางที่เป็นประโยชน์ทั้งแก่ตน และบุคคลอื่น...
2. ทรงสอนให้ตรงกับระดับสติปัญญา และระดับชีวิตของชฏิล ข้อสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงคำนึงถึงในการทรงสอน คือ ความยิ่ง และหย่อนแห่งอินทรีย์ของผู้ฟัง ทรงพิจารณาว่าผู้ฟังมีสติปัญญาอยู่ในระดับใด ได้รับการศึกษาอบรมมาในทางใดมากน้อยเพียงไหน ดำรงชีวิตอยู่อย่างไร จะต้องแสดงเรื่องอะไรเขาจึงจะรู้เข้าใจ สามารถนำไปใช้เป็นคุณประโยชน์แก่ชีวิตของเขาได้

อนุโมทนาครับ :b8: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 22:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ยังไม่พอ ต้องบอกด้วยว่า ตรงนั้นตรงนี้ บรรทัดนั้นบรรทัดนี้ อ่านแล้วตนเอง [เช่นนั้น] เข้าใจธรรมะมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เมื่อก่อนรู้ธรรมะทั้งดุุ้นแบบท่อนซุง ใช้ทำประโยชน์อะไรไม่ได้ เห็นชีวิตเป็นชีวิตสำเร็จรูป ชีวิตกระดาษ ฯลฯ ว่าไปตามที่แนะนำทางให้เนี่ยะ :b14:


ที่ยกมาน่ะดี
แต่เจตนาการยกมา ไม่ดี
เพราะเหตุไร
เพราะเจตนาการยกมาไม่ได้ถือสิ่งที่ยกมาให้ดี
เพียงแต่ต้องการโชว์ภูมิตนเอง

อนุโมทนาเพียงแค่ ยกสิ่งที่ดีมาให้อ่านก็พอ กรัชกาย

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 22:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ Rotala :b8:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 22:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
บอกแล้ว่าเป็นกลวิธีสอนธรรม แบบลงลึกไปตามลำดับๆ มองไม่ออกอีกแนะ เออ ยังงี้จะสอบอารมณ์โยคีได้ยังไง :b1:

คนไม่รู้จักมารยาท
ไม่รู้จักเทศะ
ไม่เคารพพระสูตร
ไม่อาจอยู่ในฐานะของครูได้

:b19: :b17: :b17:

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แก้ไขล่าสุดโดย เช่นนั้น เมื่อ 14 มิ.ย. 2014, 23:17, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 มิ.ย. 2014, 22:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ที่กระทู้มีมาก ก็เพราะมีอโศก กับ เช่นนั้นนะขอรับ ถ้าอโศกกับเช่นนั้นพูดคำสองคำรู้เรื่อง ป่านนี้จบไปแล้ว นี่อะไรครับ กระทุู้มากขนาดนั้น ยังไม่เข้าใจ แล้วอย่าง่นี้ควรว่าใครขอรับ เออแน่ะ


เอานะครับจะลดลงมาเหลือ คห.นี้ คห.เดียว ถ้าอโศก กับ เช่นนั้น แก้ไขปัญหาได้ กรัชกายก็ขอลา
ไปตามวิธีทางของตนเอง ไม่ต้องถามนะจะไปไหน คิกๆๆ ว่าไป

บ้าๆ บอๆ ไปตามกรัชกาย
คนที่ไม่รู้จักแม้แต่ สติ สมาธิ
เต้นตามไปกับนามรูป
รู้แต่ทำเจตนาฟุ้ง

บ้าตามกรัชกาย มีหวังได้ไปศรีธัญญา :b17: :b17: :b17:

ไปที่ชอบๆ เหอะกรัชกาย
และไม่เคยคิดจะถามนะว่าจะไปไหน

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 มิ.ย. 2014, 05:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เช่นนั้น เขียน:
กรัชกาย เขียน:
ที่กระทู้มีมาก ก็เพราะมีอโศก กับ เช่นนั้นนะขอรับ ถ้าอโศกกับเช่นนั้นพูดคำสองคำรู้เรื่อง ป่านนี้จบไปแล้ว นี่อะไรครับ กระทุู้มากขนาดนั้น ยังไม่เข้าใจ แล้วอย่าง่นี้ควรว่าใครขอรับ เออแน่ะ


เอานะครับจะลดลงมาเหลือ คห.นี้ คห.เดียว ถ้าอโศก กับ เช่นนั้น แก้ไขปัญหาได้ กรัชกายก็ขอลา
ไปตามวิธีทางของตนเอง ไม่ต้องถามนะจะไปไหน คิกๆๆ ว่าไป



บ้าๆ บอๆ ไปตามกรัชกาย
คนที่ไม่รู้จักแม้แต่ สติ สมาธิ
เต้นตามไปกับนามรูป
รู้แต่ทำเจตนาฟุ้ง

บ้าตามกรัชกาย มีหวังได้ไปศรีธัญญา :b17: :b17: :b17:

ไปที่ชอบๆ เหอะกรัชกาย
และไม่เคยคิดจะถามนะว่าจะไปไหน


อ้างคำพูด:
เต้นตามไปกับนามรูป
รู้แต่ทำเจตนาฟุ้ง



เจตนา สติ สมาธิ ใช่นามไหมเช่นนั้น

บอกความหมาย คำว่า เจตนา หน่อยสิ เห็นๆพูดกันจัง เจตนา ๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 39 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 133 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร


cron