วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:51  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2014, 20:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หลักพุทธธรรมเพื่อการปฏิบัติธรรม

ในการปฏิบัติธรรมทั้งหมดนี้ มีตัวธรรมที่เป็นผู้ทำงาน ซึ่งอาจจะใช้ศัพท์เรียกว่าเป็น คณะทำงานในการปฏิบัติธรรมก็ได้ เรียกว่า โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ชุดนี้เป็นตัวทำงาน

โพธิปักขิยธรรม แปลว่า ธรรมที่อยู่ในฝ่ายของโพธิ พูดง่ายๆ ว่า ธรรมที่เป็นพวกของโพธิ คือเกื้อหนุนการตรัสรู้ หรือช่วยสนับสนุนอริยมรรค มี ๓๗ อย่าง จัดเป็น ๗ หมวด คือ

๑. สติปัฏฐาน ๔ แปลว่า การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งทั้งหลายมันเป็นของมัน ไม่ใช่ตามความคิดปรุงแต่งของเราที่คิดให้มันเป็น หรืออยากให้มันเป็น


หลักสติปัฏฐานนี้ก็คือ การเอา สติ มาเป็นตัวนำ เป็นตัวเด่น เป็นตัวทำงาน โดยกำกับจิตตั้งต้นแต่การรับรู้ให้อยู่กับสิ่งที่กำลังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่จริง ในขณะนั้นๆ ที่เรียกว่า อยู่กับขณะปัจจุบัน ไม่เลื่อนไหลล่องลอยไปในอดีตและอนาคต ที่เป็นเรื่องของการคิดปรุงแต่ง และให้สตินั้นเป็นตัวสร้างโอกาสแก่ปัญญา โดยจับสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ในขณะนั้นๆ ให้ปัญญารู้เข้าใจตรงไปตรงมา


สติปัฏฐานทำงานกับทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตของเราตลอดเวลานี้เอง ท่านจึงจัดแยกสติปัฏฐานออกตามประเภทของสิ่งที่ชีวิตของเราเกี่ยวข้อง โดยแบ่งเป็น ๔ ข้อ คือ

๑) กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันสภาพทางร่างกาย

๒) เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันความรู้สึกสุขทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ที่เกิดขึ้น

๓) จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันสภาพจิตใจ

๔) ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน ใช้สติตามดูโดยมีปัญญารู้เท่าทันเรื่องราวทั้งหลาย ที่รู้ที่คิดที่เกิดขึ้นในใจ


๒. ปธาน ๔ ปธาน แปลว่า ความเพียร การตั้งความเพียร หรือการประกอบความเพียร หลักนี้ไม่ค่อยคุ้น ท่านที่ต้องการจะเรียนและปฏิบัติให้ลึกซึ้ง สามารถเริ่มต้นจากหลักการที่กล่าวในที่นี้แล้วไปค้นคว้ารายละเอียดต่อไป หมวดที่ ๒ คือ ปธาน ๔ หมายถึงความเพียร ๔ ประการ ได้แก่

๑) สังวรปธาน ความเพียรในการที่จะระวัง หรือปิดกั้นอกุศลธรรม ที่ียังไม่เกิดก็ไม่ให้เกิดขึ้น

๒) ปหานปธาน ความเพียรในการละเลิกกำจัดอกุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดสิ้นหายไป

๓) ภาวนาปธาน ความเพียรในการฝึกอบรมทำกุศลธรรม หรือธรรมที่ดี ที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น

๔) อนุรักขนาปธาน ความเพียรในการรักษาส่งเสริมกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์


๓. อิทธิบาท ๔ คือ ธรรมให้ถึงความสำเร็จ หรือทางแห่งความสำเร็จ หลักนี้รู้จักกันหมดแล้ว ต้องเอามาใช้ในการปฏิบัติด้วย อย่าลืม

อิทธิบาท ๔ เป็นตัวการสำคัญที่จะทำให้เกิดสมาธิ กล่าวคือ

ฉันทะ (ความพอใจ มีใจรัก) = ถ้าเราชอบหรือพอใจในสิ่งใดแล้ว เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย

วิริยะ (ความพากเพียร พากเพียรทำ) = ถ้าเราเห็นสิ่งใดเป็นสิ่งที่ท้าทายมีใจสู้ เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย

จิตตะ (ความใฝ่ใจ เอาจิตฝักใฝ่) = ถ้าเรารู้สึกว่าสิ่งใดสำคัญเราจะต้องรับผิดชอบเอาใจจดจ่ออยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็จะเกิดสมาธิได้ง่าย

วิมังสา (ความใคร่ครวญ ใช้ปัญญาสอบสวน) = ถ้าเราต้องการทดลองอะไรใจชอบตรวจสอบมันอยู่ เมื่อทำสิ่งนั้นก็เกิดสมาธิได้ง่าย


๔. อินทรีย์ ๕ แปลว่า ธรรมที่เป็นใหญ่ในการทำหน้าที่เฉพาะแต่ละอย่าง หรือธรรมที่เป็นเจ้าการในการข่มกำราบอกุศลธรรมที่ตรงข้ามกับตน

หลักนี้หลายท่านเคยได้ยิน แต่หลายท่านก็ยังไม่เคยได้ยิน เช่น ในคำพูดที่ว่าต้องมีอินทรีย์สม่ำเสมอกัน ต้องปรับอินทรีย์ให้สม่ำเสมอ คนนี้มีอินทรีย์อ่อน คนนี้มีอินทรีย์แก่กล้า ดังนี้เป็นต้น อินทรีย์ ๕ นั้นได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เป็นหลักสำคัญในการปฏิบัติธรรมเหมือนกัน


ข้อ ๑ ศรัทธา คือความเชื่อ ความที่จิตใจพุ่งแล่นไปหาและคล้อยไปตาม เข้าคู่กับข้อ ๕ ปัญญา ความพิจารณาใตร่ตรองมองหาความจริงให้รู้่เข้าใจเข้าถึงสภาวะ ถ้าศรัทธาแรงไป ก็น้อมไปในทางที่จะเชื่อง่าย ยอมรับง่าย เชื่อดิ่งไป ตลอดจนงมงาย ถ้าเอาแต่ปัญญา ก็โน้มไปทางที่คิดมาก สงสัยเกินเหตุ หรือด่วนปฏิเสธ ฟุ้งไปเรื่อย ไม่จับอะไรลงลึก ท่านจึงให้ปรับศรัทธา กับ ปัญญา ให้สม่ำเสมอสมดุลกัน


ข้อ ๒ วิริยะ คือความเพียร มีใจสู้ มุ่งหน้าจะทำให้ก้าวหน้าเรื่อยไป เข้าคู่กับข้อ ๔ สมาธิ คือ ความสงบของจิตใจที่แน่วแน่ที่ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถูกอารมณ์ต่างๆ รบกวน ถ้าวิริยะแรงไปก็จะเครียดและฟุ้งซ่าน โน้มไปทางล้ำเลยเขต ถ้าเอาแต่สมาธิก็จะสงบสบาย ชวนให้ติดในความสุขจากความสงบนั้น ตลอดจนกลายเป็นเกียจคร้านเฉื่อยชาปลีกตัวออกหาความสบาย ปล่อยปละละเลยหรือไม่เผชิญภาระ ท่า่นจึงให้เสริมสร้างวิริยะและสมาธิอยา่งสม่ำเสมอสมดุลกัน เพื่อจะได้ประคับประคองกันไป และเป็นเครื่องอุดหนุนกันให้ก้าวหน้าไปในการปฏิบัติ

ส่วนข้อ ๓ สติ นั้น เป็นตัวคุมตัวเตือน ต้องใช้ในทุกกรณี เช่น เป็นเหมือนยามที่่คอยบอกว่า เวลานี้ศรัทธาจะแรงไปแล้ว ปัญญาจะหย่อนไปแล้ว เวลานี้ ควรเร่งวิริยะขึ้นมา เพราะทำท่าจะติดในสุขจากสมาธิเสียแล้ว ดังนี้เป็นต้น


๕. พละ ๕ ธรรมที่เป็นกำลังในการต้านทานไม่ให้อกุศลธรรมเข้าครอบงำ ก็ได้แก่ อินทรีย์ ๕ นั่นแหละ แต่มาทำหน้าที่ เป็นฝ่ายรับ เรียกว่า พละ ๕ หมายความว่า ธรรม ๕ อย่างนี้ เมื่อทำหน้าที่เป็นฝ่ายรุกไปแก้ไขกำจัดอกุศลธรรมเรียกว่า อินทรีย์ ๕ แต่ถ้าทำหน้าที่ฝ่ายรับ ต้านทานอกุศลธรรมไม่ให้บุกเข้ามาทำลายได้ ก็เรียกว่า เป็นพละ ๕


๖. โพชฌงค์ ๗ แปลว่า องค์ของผู้ตรัสรู้ หรือองค์ประกอบของการตรัสรู้ เป็นกลุ่มธรรมสำคัญในการทำงานให้เกิดโพธิ คือ ปัญญาตรัสรู้ ซึ่งทำให้ทั้งรู้ ทั้งตื่น และทั้งเบิกบาน ได้แก่

๑) สติ ความระลึกได้ เป็นตัวที่จับไว้หรือรวบรวมเอามา ซึ่งสิ่งที่ควรรู้เข้าใจ มานำเสนอให้ปัญญาตราจตรองพิจารณาอย่างถนัดชัดเจน

๒) ธรรมวิจัย ความเฟ้นธรรม หมายถึงการใช้ปัญญาสอบสวนพิจารณาสิ่งที่สติกำหนดไว้ หรือนำเสนอนั้น ให้รู้เข้าใจ เห็นสาระเห็นความจริง

๓) วิริยะ ความเพียร คือความแกล้วกล้า กระตือรือร้น รุดหน้าต่อไปในการทำงาน ให้จิตใจไม่หดหู่ ถดถอย หรือท้อแท้

๔) ปีติ ความอิ่มใจ คือปลาบปลื้ม ตื่มด่ำ ซาบซึ้ง ฟูใจ ที่เป็นไปพร้อมกับการทำงานก้าวรุดหน้าต่อไป

๕) ปัสสัทธิ ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ เป็นความเรียบเย็นไม่เครียดไม่กระสับกระส่ายเบาสบาย ซึ่งสืบเนื่องจากปีติ และเป็นองค์ธรรมสำคัญในการรักษาสุขภาพจิต ความเพียรพยายามทำงานการที่พ่วงมาด้วยปัสสัทธิ จะไม่ทำให้คนเป็นโรคจิตอย่างที่เป็นกันมากในหมู่คนทำงานในยุคปัจจุบัน

๖) สมาธิ ความมีใจตั้งมั่น คือจิตใจแน่วแน่ อยู่กับสิ่งที่กำหนดเป็นหนึ่งเดียว อยู่กับกิจ อยู่กับเรื่องที่่พิจารณา ไม่วอกแวก ฟุ้งซ่าน

๗) อุเบกขา ความวางที่เฉยดู หมายถึงความมีใจเป็นกลาง จิตใจเรียบสม่ำเสมอ นิ่งดูไปอย่าง่พร้อมสบาย ในขณะที่่จิตปัญญาทำงานก้าวหน้าไปเรียบรื่นตามกระบวนการของมัน


๗. สุดท้าย ก็คือ ตัวมรรคมีองค์ ๘ อันได้แก่ สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ) สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ) สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) สัมมากัมมันตะ (ทำการชอบ) สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพขอบ) สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) สัมมาสติ (ระลึกชอบ) สัมมาสมาธิ (จิตมั่นชอบ)


ว่าที่จริง โพธิปักขิยธรมก็ขยายจากมรรคมีองค์ ๘ นั่นแหละ หลักสุดท้ายนี้จึงเป็นตัวรวม แต่ขยายออกไปเพื่อให้เห็นประชาชน ซึ่งทำหน้าที่ต่างๆ กัน เป็นข้าราชการ เป็นตำรวจ เป็นทหาร เป็นแพทย์ เป็นครูอาจารย์ เป็นพระ ฯลฯ มากมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 พ.ค. 2014, 22:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 เม.ย. 2010, 08:10
โพสต์: 2830

แนวปฏิบัติ: ขันธ์5ด้วยการสังเกตุ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และอินทรีย์22
สิ่งที่ชื่นชอบ: พระสุตตันตปิฎก
อายุ: 0
ที่อยู่: ระยอง อุบลราชธานี

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อย่าท้อถอยต่อการปฏิบัติ อย่าปล่อยให้ความขุ่นเคืองเข้าแทรก สร้างพลังด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า รำลึกและตอบแทนพระคุณมารดา และบิดา มองโลกด้วยใจเป็นกลาง ระลึกเสมอว่าเรายังด้อยปัญญาหากยังไม่ได้ปัญญา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2014, 16:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b11:

ลองอ่านหรือฟังดูอีกสำนวนหนึ่งนะครับ


โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการมีหลักจำง่ายๆดังนี้
๓๔ ๒๕ ๑๗ ๑๘ ต้องอ่านว่า "สามสี่ สองห้า หนึ่งเจ็ด หนึ่งแปด"

๓ ๔ คือ สัมมัปปธาน ๔ สติปัฏฐาน ๔ อิทธิบาท ๔
๒ ๕ คือ อินทรีย์ ๕ พละ ๕
๑ ๗ คือ โภชงค์ ๗
๑ ๘ คือ มรรคมีองค์ ๘

โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เป็นกลุ่มของธรรมที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติเข้าถึง มรรค ผล นิพพาน มากจากคำว่า “โพธิ = พุทธิ = พุทธะ = ความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเพราะเข้าถึงนิพพานและหมดกิเลส ตัณหา

ปักขิยะ = ปีก ธรรม = สภาวะที่เป็นไปตามอำนาจของเหตุและปัจจัย แปลความว่า “”ปีกธรรม พานำบินเข้าสู่นิพพาน”

สามสี่ ๓ ๔

สัมมัปธาน ๔

คือ การมุ่งมั่นทำความชอบ มี ๔ ประการ
๑.สังวรปทาน คือ เพียรระงับการกระทำอกุศล ไม่ให้เกิดขึ้น
๒.ปหานปทาน คือ เพียรละเลิกอกุศลที่กำลังกระทำอยู่
๓.อนุรักขปทาน คือ เพียรรักษา กุศลธรรม ที่เกิดขึ้นแล้ว
๔.ภาวนาปทาน คือ เพียรฝึกฝนบำรุงกุศลธรรม ให้เจริญยิ่งขึ้น

สติปัฏฐาน ๔
๑.กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นกายในกาย
๒.เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา
๓.จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นจิตในจิต
๔.ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน การพิจารณาเห็นธรรมในธรรม

อิทธิบาท ๔
๑.ฉันทะ ความพอใจ รักใคร่ ในสิ่งนั้นๆ
๒.วิริยะ ความเพียรพยายามที่จะทำสิ่งนั้นๆให้สำเร็จ
๓.จิตตะ ความเอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นเรื่องนั้นไม่ทอดทิ้งธุระ
๔.วิมังสา ความใคร่ครวญ สังเกต พิจารณา หาเหตุหาผลในเรื่องนั้นๆ

สองห้า ๒ ๕

อินทรีย์ ๕ กับ พละ ๕

มีองค์ธรรมที่เหมือนกันซึ่งเรียงลำดับตามขั้นตอนของสภาวธรรม เป็น
ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา

อินทรีย์ ๕ ความเป็นใหญ่ทั้ง ๕
๑.ศรัทธินทรีย์ มีความศรัทธาเชื่อถือเป็นอย่างยิ่ง
๒.วิริยินทรีย์ มีความเพียรเป็นอย่างยิ่ง
๔.สตินทรีย์ มีความระลึกรู้ทันปัจจุบันอารมณ์หรือสติปัฏฐาน 4 ได้ดียิ่ง
๕.สมาธินทรีย์ มีสมาธิอันยิ่ง คือฌาณ 4 สังขารุเปกขาญาน หรือสัมมาสมาธิ
๖.ปัญญินทรีย์ มีปัญญาอันยิ่ง คือสัมมาทิฐิและสัมมาสังกัปปะละเอียดคมกล้า

พละ ๕ พลัง ขุมกำลังทั้ง ๕
๑.ศรัทธาพละ กำลัง ที่ได้จากแรงศรัทธา
๒.วิริยะพละ กำลังที่ได้จากแรงความเพียร
๓.สติพละ กำลังแห่งสติ
๔.สมาธิพละ กำลังที่ได้จากสมาธิ
๕.ปัญญาพละ กำลังที่ได้จากปัญญา

หนึ่งเจ็ด ๑ ๗

โภชฌงค์ ๗

๑.สติสัมโภชฌงค์ สติ ความระลึกรู้อยู่กับสติปัฏฐานทั้ง 4 และปัจจุบันอารมณ์
๒.ธัมมวิจัยสัมโภชฌงค์ การพิจารณา ใคร่ครวญ แยกแยะ แจกแจงธรรม
๓.วิริยสัมโภชฌงค์ ความเพียรในสัมมัปทาน 4 หรือสัมมาวายามะ
๔.ปีติสัมโภชฌงค์ ความอิ่มเอิบซาบซ่านกาย ใจ
๕.ปัสสัทธิสัมโภชฌงค์ ความเบากาย เบาใจ
๖.สมาธิสัมโภชฌงค์ ความตั้งมั่นของจิต
๗.อุเบกขาสัมโภชฌงค์ ความวางเฉยหยุดความปรุงแต่ง

หนึ่งแปด ๑ ๘

มรรค ๘

เป็นหลักปฏิบัติธรรมที่เป็นทางสายกลางเพราะเจริญปัญญา ศีล สติ สมาธิ ไปพร้อมๆกันสนับสนุนซึ่งกันและกันไปจนกว่าจะถึงที่หมายปลายทางคือ นิพพาน แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม-

ก.ปัญญามรรค มี ๒ ข้อ คือ

๑.สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ความเห็นถูกต้อง คือเห็นอริสัจ ๔ และเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็น อนัตตา ในทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไป เห็น ดู รู้
๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ความคิดถูกต้อง คือคิดออกจากความยินดี ยินร้ายและการเบียดเบียน ทางปฏิบัติคือตาปัญญาที่ไป สังเกต พิจารณา

ข. ศีลมรรค มี ๓ ข้อ คือ

๓.สัมมาวาจา การพูดจาชอบ คือไม่พูดเท็จ ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล ในทางปฏิบัติคือการพูดแต่เรื่องอนัตตาและวิธีที่จะทำให้เข้าถึงอนัตตาและ นิพพาน
๔.สัมมากัมมันตะ การทำการงานชอบ คือการงานที่ไม่ผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการเจริญมรรคทั้ง ๘ ทำงานค้นหาอนัตตา ปล่อยวางอัตตาจนกว่าจะเข้าถึงนิพพานได้โดยสมบูรณ์
๕.สัมมาอาชีวะ การประกอบอาชีพชอบ คืออาชีพที่ไม่ผิดและไม่สนับสนุนให้ทำผิดศีล ๕ ในทางปฏิบัติคือการทำมาหาเลี้ยงชีพให้มีชีวิตรอดมาทำสัมมากัมมันตะคือเจริญ มรรค ๘ เพื่อให้เข้าถึงนิพพานได้โดยเร็ว

ค.สมาธิมรรค มี ๓ ข้อ คือ

๖.สัมมาวายามะ ความพากเพียรชอบ แบ่งออกอีกเป็น ๔ ข้อย่อย เรียกชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า สัมมัปปทาน ๔ คือ

๑.บาปอกุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรละ
๒.บาปอกุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรระวัง ไม่ให้เกิด
๓.กุศลเก่าๆที่เคยทำ เพียรรักษาและทำให้เจริญงอกงามยิ่งขึ้น
. ๔.กุศลใหม่ๆที่ยังไม่เกิด เพียรทำให้เกิด กุศลใหม่ในที่นี้หมายถึง มรรค ๔ มรรคยังไม่เคยเกิดขึ้นในใจเพียรทำให้เกิด

๗.สัมมาสติ ความระลึกชอบ คือการเจริญสติปัฏฐาน ๔ กาย เวทนา จิต ธรรม นั่นเลยทีเดียว ในทางปฏิบัติความรู้ทันปัจจุบันอารมณ์นับเป็นสัมมาสติ

๘.สัมมาสมาธิ ความตั้งใจมั่นชอบ คือความที่จิตตั้งมั่นเป็นหนึ่ง อยู่กับงานพิสูจน์ อนัตตา หรือการเจริญมรรคทั้ง ๘ จนสามารถทำให้จิตนิ่งได้ถึงระดับฌาน ๔ หรือสังขารุเปกขาญาณ

thanadolWed Sep 28 2011 16:34:59 GMT+0700 (ICT)
สติปัฏฐาน 4

ที่ตั้งของสติ การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นตามความเป็นจริง คือ ตามที่สิ่งนั้นๆ มันเป็นของมัน ประกอบด้วย


1.การตั้งสติกำหนดพิจาราณากาย (กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณากาย ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงกาย ไม่ใช้สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา

ท่านจำแนกวิธีปฏิบัติไว้หลายอย่าง คือ

กำหนดลมหายใจ (อานาปานสติ)
กำหนดรู้ทันอิริยาบถ (อิริยาบถ)
สร้างสัมปชัญญะในการกระทำความเคลื่อนไหวทุกอย่าง (สัมปชัญญะ)
พิจารณาส่วนประกอบอันไม่สะอาดทั้งหลายที่ประชุมเข้าเป็นร่างกายนี้ (ปฏิกูลมนสิการ)
พิจารณาเห็นร่างกายของตนโดยสักว่าเป็นธาตุแต่ละอย่างๆ (ธาตุมนสิการ)
พิจารณาซากศพในสภาพต่างๆอันแปลกกันไปใน 9 ระยะเวลา ให้เห็นคติธรรมของร่างกายของผู้อื่นเช่นใด ของตนจักเป็นเช่นนั้น (นวสีวถิกา)


2.การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา (เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงเวทนา ไม่ใช้สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดเวทนาอันเป็นสุขก็ดี ทุกข์ก็ดี เฉยๆก็ดี ทั้งที่เป็นสามิส และเป็นนิรามิสที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

3.การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต (จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงจิต ไม่ใช้สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดจิตของตนที่มีราคะ ไม่มีราคะ มีโทสะ ไม่มีโทสะ มีโมหะ ไม่มีโมหะ เศร้าหมอง หรือผ่องแผ้ว ฟุ้งซ่าน หรือ เป็นสมาธิ ฯลฯ อย่างไรๆ ตามที่เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ

4.การตั้งสติกำหนดพิจาณาธรรม (ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน)

เป็นการตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม ให้รู้เห็นตามเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช้สัตว์บุคคลตัวตนเราเขา
คือ มีสติอยู่พร้อมด้วยความรู้ชัดธรรมทั้งหลายได้แก่ นิวรณ์ 5 ขันธ์ 5 อายตนะ 12 โพชฌงค์ 7 อริยสัจจ์ 4 ว่าคืออะไร เป็นอย่างไร มีในตนหรือไม่ เกิดขึ้น เจริญบริบูรณ์ และดับไปได้อย่างไร ตามที่เป็นจริงของมันอย่างนั้นๆ


thanadolWed Sep 28 2011 16:36:37 GMT+0700 (ICT)
ความเพียร (ปธาน 4 หรือ สัมมัปปธาน 4)

เพียรระวัง หรือ เพียรปิดกั้น คือ

เพียรระวังยับยั้งบาปอกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น (สังวรปธาน)

เพียรละ หรือเพียรกำจัด คือ เพียรละบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว (ปหานปธาน)

เพียรเจริญ หรือเพียรก่อให้เกิด คือ เพียรทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิด ให้เกิดมีขึ้น (ภาวนาปธาน)

เพียรรักษา คือ เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วให้ตั้งมั่น และให้เจริญยิ่งขึ้นไปจนไพบูลย์ (อนุรักขนาปธาน)

thanadolWed Sep 28 2011 16:40:39 GMT+0700 (ICT)

คุณธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มุ่งหมาย (อิทธิบาท 4)

ความพอใจ ความต้องการที่จะทำ ใฝ่ใจรักจะทำสิ่งนั้นอยู่เสมอ และปราถนาจะทำให้ได้ผลดียิ่งๆ ขึ้นไป (ฉันทะ)

ความเพียร ขยันหมั่นประกอบสิ่งนั้นด้วยความพยายาม แข้มแข็ง อดทน เอาธุระ ไม่ท้อถอย (วิริยะ)

ความคิดมุ่งไป ตั้งจิตรับรู้ในสิ่งที่ทำ และทำสิ่งนั้นด้วยความคิด เอาจิตฝักใผ่ไม่ปล่อยใจให้ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป อุทิศตัวอุทิศใจให้แก่สิ่งที่ทำ (จิตตะ)

ความไตร่ตรอง หมั่นใช้ปัญญาพิจารณาใคร่ครวญตรวจตราหาเหตุผล และตรวจสอบข้อยิ่งหยอนในสิ่งที่ทำนั้น มีการวางแผน วัดผล คิดค้นวิธีแก้ไขปรับปรุง เป็นต้น (Plan-Do-Check-Action) (วิมังสา)




thanadolWed Sep 28 2011 16:42:56 GMT+0700 (ICT)
ธรรมที่เป็นใหญ่ในกิจกรรมของตน (อินทรีย์ 5)

สัทธา ความเชื่อ

วิริยะ ความเพียร

สติ ความระลึกได้

สมาธิ ความตั้งจิตมั่น

ปัญญา ความรู้ทั่วชัด

หมวดธรรมนี้เรียกอย่างหนึ่งว่า พละ 5 ที่เรียกว่า พละ เพราะความหมายว่า เป็นพลัง ทำให้เกิดความมั่นคง

ซึ่งความไร้ศรัทธาเป็นต้น แต่ละอย่างจะเข้าครอบงำไม่ได้ ส่วนที่เรียกว่า อินทรีย์ เพราะความหมายว่า

เป็นใหญ่ในการกระทำหน้าที่แต่ละอย่างๆ ของตน คือ เป็นเจ้าการ ในการครอบงำเสียซึ่งความไร้ศรัทธา

ความเกียจคร้าน ความประมาท ความฟุ้นซ่าน และความหลงตามลำดับ


thanadolWed Sep 28 2011 16:44:34 GMT+0700 (ICT)
ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ (โพชณงค์ )

ความระลึกได้ สำนึกพร้อมอยู่ ใจอยู่กับกิจ จิตอยู่กับเรื่อง (สติ)
ความเฟ้นธรรม , ความสอดส่องสืบค้นธรรม (ธัมมวิจยะ)
ความเพียร (วิริยะ)
ความอิ่มใจ (ปิติ)
ความผ่อนคลายสงบเย็นกายใจ (ปัสสัทธิ)
ความมีใจตั้งมั่น จิตแน่วแน่ในอารมณ์ (สมาธิ)
ความมีใจเป็นกลางเพราะเห็นตามเป็นจริง (อุเบกขา)
แต่ละข้อเรียกเต็ม มี สัมโพชฌงค์ ต่อท้ายเป็น สติสัมโพชฌงค์ เป็นต้น

thanadolWed Sep 28 2011 16:47:17 GMT+0700 (ICT)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2014, 18:56 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ปักขิยะ = ปีก ธรรม = สภาวะที่เป็นไปตามอำนาจของเหตุและปัจจัย แปลความว่า “”ปีกธรรม พานำบินเข้าสู่นิพพาน”



อ้าวแระๆ ธรรมะติดปีกแระ :b32:

Onion_L
หัวเราะเยาะธรรม ประมาทธรรม เป็นกรรมหนัก
เป็นชนักปักใจ ให้ไหลหลง
สำคัญตนผิดไป ว่าใหญ่ยง
แล้วก็คง ปีกหัก ลงจูบดิน

เสียดายสารธรรม คำดีๆ
ถูกพาลี พาคล้ำ ทำให้หมอง
ด้วยจิตหลง จิตลูบคลำ จิตคะนอง
สร้างความหมองแก่ธรรม ค่าอนันต์

บาปอันนี้ คงยากที่จะบอกพูด
ให้ผู้ทำนั้นดิ้นหลุดวิบากได้
คงต้องปล่อยให้ผลกรรม ทำเป็นไป
สำนึกได้คงไม่ถึงอเวจี
:b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 พ.ค. 2014, 22:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
ปักขิยะ = ปีก ธรรม = สภาวะที่เป็นไปตามอำนาจของเหตุและปัจจัย แปลความว่า “”ปีกธรรม พานำบินเข้าสู่นิพพาน”



อ้าวแระๆ ธรรมะติดปีกแระ :b32:

Onion_L
หัวเราะเยาะธรรม ประมาทธรรม เป็นกรรมหนัก
เป็นชนักปักใจ ให้ไหลหลง
สำคัญตนผิดไป ว่าใหญ่ยง
แล้วก็คง ปีกหัก ลงจูบดิน

เสียดายสารธรรม คำดีๆ
ถูกพาลี พาคล้ำ ทำให้หมอง
ด้วยจิตหลง จิตลูบคลำ จิตคะนอง
สร้างความหมองแก่ธรรม ค่าอนันต์

บาปอันนี้ คงยากที่จะบอกพูด
ให้ผู้ทำนั้นดิ้นหลุดวิบากได้
คงต้องปล่อยให้ผลกรรม ทำเป็นไป
สำนึกได้คงไม่ถึงอเวจี
:b7:




อโศกปฏิรูปคำศัพท์ของเขา ยังไม่รู้ตัวอีก :b1:

"โพธิปักขิยธรรม"

อ้างคำพูด:
ปักขิยะ


อโศกแปลว่า "ปีก" ไปเอาคำแปลจากไหนมา :b10: บาลีเถื่อน

เพราะเถื่อนๆนั่นซี่ -ปักขิยธรรม ก็ว่า ปีกธรรม แล้วก็มั่วไปว่า บินไปสู่นิพพาน มันมั่ว กรัชกายจึงว่า "ธรรมติดปีก" อโศกนั่นแหละมิจฉาทิฏฐิ จะลงอเวจีใต้เถรเทวทัต :b32: ส่วนกรัชกายไปสู่สุคติโลกสวรรค์ มีเทพธิดาแวดล้อม 500 นาง คิกๆๆ


อโศกศึกษาให้รู้แน่ๆก่อนเถอะครับ อะไรเล่นแต่งตำราเองสะงั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 06:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
ส่วนคำแปลโพธิปักขิยะธรรมที่หัวข้อกระทู้นั้นก็พอใช้ได้ แต่ความหมาายที่ลึกซึ้งยังไม่เข้าถึง จึงได้มี 2 สำนวนมาให้อ่านเปรียบเทียบกัน ว่าอันไหนจะมันและชวนใจให้ใฝ่ศึกษา ค้นหาสาระธรรมอันซ่อนอยู่ เพื่อความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง

ไม่สังเกตให้ดีๆหรือกรัชกายว่ามีโค๊ดระหัสให้จำ 37 ประการแห่งโพธิปักขิยะในเบื้องต้นให้ผู้คนจำง่ายๆ

34251718

อันต่อไปที่ว่า "ปีกธรรมพานำบินเข้าสู่นิพพาน".......นั้นเป็นการแปลความหมายที่เกินความคาดคิดของคนติดบัญญัติ ให้สลัดความยึด ฮึดขึ้นหาความจริง ที่แอบอิงซ่อนไว้ ในภาษามนุษย์ อันแสนสุดลึกละเอียด เข้าไปเฉียดความจริง
:b11: :b11:
กรัชกายเคยได้ยินคำว่า "เสือติดปีก"ไหมครับ เสือถ้าติดปีกบินได้ มันจะขนาดไหนในการที่จะไปเที่ยวเสาะหากิน คนและสัตว์ที่เป็นอาหารทั้งหลาย

นักเจริญธรรมเพื่อความหลุดพ้นถ้าได้รู้ได้จำหลักธรรมสำคัญยิ่งยวดและเป็นสรุปหลักวิธีปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นคือ โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ แล้วนำมาใส่ใจใคร่ครวญลงมือประพฤติปฏิบัติ พิสูจน์ธรรมไปตามลำดับแห่งธรรมทั้ง 37 ประการนั้น มันจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติขนาดไหน ไม่ยิ่งกว่าเสือติดปีกหรือ นี่คือความหมายที่ท้าทายความรู้สึกในการแปลความหมายของผู้ติดยึดอยู่ในบัญญัติทั้งหลายอย่างแน่นแฟ้นนะครับ

ปีกธรรมพานำบินเข้าสู่นิพพานนี้ พระอาจารย์ชาวพม่า ท่านแปลความหมายมาและอธิบายให้ผมซาบซึ้งใจ จึงนำมาฝากให้นักศึกษาไทยขบคิดกัน เป็นของขวัญวิสาขะบูชา 2557 นี้ด้วยไงครับ หวังว่าคงพอรับได้กระมัง ไม่จริงจังกับบัญญัติจนหัวชนฝา เพราะ


"สาระธรรม 37 ประการยังอยู่ครบ แถมเจนจบในเส้นทางเพราะชี้ตรงกว่า ไม่มีทางเฉไปเป็นอื่นเลย"

smiley


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 พ.ค. 2014, 12:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12: :b12: :b12:
ส่วนคำแปลโพธิปักขิยะธรรมที่หัวข้อกระทู้นั้นก็พอใช้ได้ แต่ความหมาายที่ลึกซึ้งยังไม่เข้าถึง จึงได้มี 2 สำนวนมาให้อ่านเปรียบเทียบกัน ว่าอันไหนจะมันและชวนใจให้ใฝ่ศึกษา ค้นหาสาระธรรมอันซ่อนอยู่ เพื่อความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง

ไม่สังเกตให้ดีๆหรือกรัชกายว่ามีโค๊ดระหัสให้จำ 37 ประการแห่งโพธิปักขิยะในเบื้องต้นให้ผู้คนจำง่ายๆ

34251718

อันต่อไปที่ว่า "ปีกธรรมพานำบินเข้าสู่นิพพาน".......นั้นเป็นการแปลความหมายที่เกินความคาดคิดของคนติดบัญญัติ ให้สลัดความยึด ฮึดขึ้นหาความจริง ที่แอบอิงซ่อนไว้ ในภาษามนุษย์ อันแสนสุดลึกละเอียด เข้าไปเฉียดความจริง
:b11: :b11:
กรัชกายเคยได้ยินคำว่า "เสือติดปีก"ไหมครับ เสือถ้าติดปีกบินได้ มันจะขนาดไหนในการที่จะไปเที่ยวเสาะหากิน คนและสัตว์ที่เป็นอาหารทั้งหลาย

นักเจริญธรรมเพื่อความหลุดพ้นถ้าได้รู้ได้จำหลักธรรมสำคัญยิ่งยวดและเป็นสรุปหลักวิธีปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นคือ โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ แล้วนำมาใส่ใจใคร่ครวญลงมือประพฤติปฏิบัติ พิสูจน์ธรรมไปตามลำดับแห่งธรรมทั้ง 37 ประการนั้น มันจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติขนาดไหน ไม่ยิ่งกว่าเสือติดปีกหรือ นี่คือความหมายที่ท้าทายความรู้สึกในการแปลความหมายของผู้ติดยึดอยู่ในบัญญัติทั้งหลายอย่างแน่นแฟ้นนะครับ

ปีกธรรมพานำบินเข้าสู่นิพพานนี้ พระอาจารย์ชาวพม่า ท่านแปลความหมายมาและอธิบายให้ผมซาบซึ้งใจ จึงนำมาฝากให้นักศึกษาไทยขบคิดกัน เป็นของขวัญวิสาขะบูชา 2557 นี้ด้วยไงครับ หวังว่าคงพอรับได้กระมัง ไม่จริงจังกับบัญญัติจนหัวชนฝา เพราะ


"สาระธรรม 37 ประการยังอยู่ครบ แถมเจนจบในเส้นทางเพราะชี้ตรงกว่า ไม่มีทางเฉไปเป็นอื่นเลย"

smiley



อ้างคำพูด:
กรัชกายเคยได้ยินคำว่า "เสือติดปีก"ไหมครับ เสือถ้าติดปีกบินได้ มันจะขนาดไหนในการที่จะไปเที่ยวเสาะหากิน คนและสัตว์ที่เป็นอาหารทั้งหลาย


"เสือติดปีก" เคยได้ยินเขาพูดกันเหมือนกันขอรับ แต่ยังไม่เคยเห็นเสือมีปีกกับตาสักที มันยังไงอ่ะ เหมือน ธรรมมีปีกไหม :b10: :b14:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 10:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
:b12: :b12: :b12:
ส่วนคำแปลโพธิปักขิยะธรรมที่หัวข้อกระทู้นั้นก็พอใช้ได้ แต่ความหมาายที่ลึกซึ้งยังไม่เข้าถึง จึงได้มี 2 สำนวนมาให้อ่านเปรียบเทียบกัน ว่าอันไหนจะมันและชวนใจให้ใฝ่ศึกษา ค้นหาสาระธรรมอันซ่อนอยู่ เพื่อความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริง

ไม่สังเกตให้ดีๆหรือกรัชกายว่ามีโค๊ดระหัสให้จำ 37 ประการแห่งโพธิปักขิยะในเบื้องต้นให้ผู้คนจำง่ายๆ

34251718

อันต่อไปที่ว่า "ปีกธรรมพานำบินเข้าสู่นิพพาน".......นั้นเป็นการแปลความหมายที่เกินความคาดคิดของคนติดบัญญัติ ให้สลัดความยึด ฮึดขึ้นหาความจริง ที่แอบอิงซ่อนไว้ ในภาษามนุษย์ อันแสนสุดลึกละเอียด เข้าไปเฉียดความจริง
:b11: :b11:
กรัชกายเคยได้ยินคำว่า "เสือติดปีก"ไหมครับ เสือถ้าติดปีกบินได้ มันจะขนาดไหนในการที่จะไปเที่ยวเสาะหากิน คนและสัตว์ที่เป็นอาหารทั้งหลาย

นักเจริญธรรมเพื่อความหลุดพ้นถ้าได้รู้ได้จำหลักธรรมสำคัญยิ่งยวดและเป็นสรุปหลักวิธีปฏิบัติธรรมเพื่อความหลุดพ้นคือ โพธิปักขิยธรรมทั้ง 37 ประการ แล้วนำมาใส่ใจใคร่ครวญลงมือประพฤติปฏิบัติ พิสูจน์ธรรมไปตามลำดับแห่งธรรมทั้ง 37 ประการนั้น มันจะเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติขนาดไหน ไม่ยิ่งกว่าเสือติดปีกหรือ นี่คือความหมายที่ท้าทายความรู้สึกในการแปลความหมายของผู้ติดยึดอยู่ในบัญญัติทั้งหลายอย่างแน่นแฟ้นนะครับ

ปีกธรรมพานำบินเข้าสู่นิพพานนี้ พระอาจารย์ชาวพม่า ท่านแปลความหมายมาและอธิบายให้ผมซาบซึ้งใจ จึงนำมาฝากให้นักศึกษาไทยขบคิดกัน เป็นของขวัญวิสาขะบูชา 2557 นี้ด้วยไงครับ หวังว่าคงพอรับได้กระมัง ไม่จริงจังกับบัญญัติจนหัวชนฝา เพราะ


"สาระธรรม 37 ประการยังอยู่ครบ แถมเจนจบในเส้นทางเพราะชี้ตรงกว่า ไม่มีทางเฉไปเป็นอื่นเลย"

smiley



อ้างคำพูด:
กรัชกายเคยได้ยินคำว่า "เสือติดปีก"ไหมครับ เสือถ้าติดปีกบินได้ มันจะขนาดไหนในการที่จะไปเที่ยวเสาะหากิน คนและสัตว์ที่เป็นอาหารทั้งหลาย



"เสือติดปีก" เคยได้ยินเขาพูดกันเหมือนกันขอรับ แต่ยังไม่เคยเห็นเสือมีปีกกับตาสักที มันยังไงอ่ะ เหมือน ธรรมมีปีกไหม :b10: :b14:


เคยฟังแต่หัวใจมีปีก

http://www.youtube.com/watch?v=dSe5wDTzxyM

:b12:
กรัชกายไม่เคยเห็นเสือมีปีกหรือ

ถ้าอยากเห็นให้ไปแถวร้านขายยาใกล้บ้าน ถามหายาแก้ไอตราเสือบิน จะได้เห็นรูปเสือมีปีกแน่นอนเลย
:b32: :b32:
ส่วนธรรมติดปีกนั้น ต้องไปหาดูในสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ ไปถามวิปัสสนาจารย์ว่ามีใครที่เกิดมุญจิตุกัมมญตาญาณและปฏิสังขาญาณบ้างแล้วครับ....แล้วขออนุญาตไปถามกับผู้ปฏิบัติคนนั้น จะได้รู้ว่าเวลาธรรมติดปีกแล้วมันจะเป็นอย่างไร
tongue


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทำไปทำมา เสื่อติดปีก กลายเป็นยี่ห้อยาแก้ไอ เวรกรรม สนทนากับอโศกช่างเต็มไปด้วยสารธรรม สาธุ

เจริญธรรม :b8:


อ้างคำพูด:
ส่วนธรรมติดปีกนั้น ต้องไปหาดูในสำนักปฏิบัติธรรมต่างๆ ไปถามวิปัสสนาจารย์ว่ามีใครที่เกิดมุญจิตุกัมมญตาญาณและปฏิสังขาญาณบ้างแล้วครับ



อย่างอโศกพบเห็นบ่อยขอรับ บางคนปีนหลังคาสำนัก กางมือกางตีน ตะโกนว่า กูจะเหาะแล้วนะ ... ต้องช่วยกันเอาบันไดปีนขึ้นไปจับตัวลงมา คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 พ.ค. 2014, 16:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
บุญดีที่อโศกะไม่มีวิบากที่ไปเกี่ยวข้องกับคนอย่างที่ว่านั้น เห็นมีแต่กรัชกายเท่านั้นแหละที่ไปเจอเรื่องเพี้ยนๆอย่างนั้นตลอดเวลา เอามาถามในกระทู้ก็บ่อยๆ ต้องถือว่าเป็นบาป วิบากของกรัชกายนะ น่าสงสารจริงๆ ที่ไปเจอแต่สิ่งลบๆ เพราะจิตที่รู้มากเกินไปจนเป็นลบ รีบปรับปรุงแก้ไขเสียเร็วๆนะ จะได้พ้นบาปวิบากเสียที

แล้วไอ้เรื่องเสือติดปีกหรือเสือบินนั้นก็อยากสงเคราะห์ให้กรัชกาายผู้น่าสงสารได้เห็นเร็วๆจึงเมตตาบอกให้ กลับกลายเป็นทำคุณบูชาโทษเสียนี่ เอ้อ นักวิชาการถ้าความรู้ท่ีวมหัวแล้วมักเป็นอย่างนี้นี่เอง อนิจจา
:b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 พ.ค. 2014, 22:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12:
อ้าว!......

ไอ้เสือกรัชกาย ถอยเสียแล้วหรือ
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2014, 13:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


มีใครอธิบายได้มั้ยว่า.....การที่เรียงลำดับจาก..สติปัฏฐาน...สัมมัธปทาน...แล้วมาที่..อิทธิบาท4...อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7..จบที่...มรรค8...นี้..มีนัยยะอะไรมั้ย...หรือ...ไม่มีอะไร..เพียงพูดขึ้นมาเฉยๆแล้วแต่จะเรียงยังงัยก็ได้ขอแค่ให้ครบ37 เท่านั้น?...นี้คือ..คำถามที่1

คำถามที่2 วิริยะ...ความเพียร..จะเห็นว่ามีอยู่หลายแห่ง..เช่น..วิริยะในอิทธิบาม4 ..วิริยะในสัมมัธปทาน4...วิริยะในอินทรีย์และพละ5...แม้ในโพชฌงค์7และมรรค8....ก็มีวิริยะ.....มีใครบอกได้มั้ยว่า..ในแต่ละหมวดธรรม..มีความหมายเหมือนกัน..หรือ..ต่างกันอย่างไร?....ถ้าเหมือนกันแล้วทำไมต้องกล่าวซ้ำกัน...จริงมั้ย

เอาแค่นี้ก่อน... :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 พ.ค. 2014, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
มีใครอธิบายได้มั้ยว่า.....การที่เรียงลำดับจาก..สติปัฏฐาน...สัมมัธปทาน...แล้วมาที่..อิทธิบาท4...อินทรีย์5 พละ5 โพชฌงค์7..จบที่...มรรค8...นี้..มีนัยยะอะไรมั้ย...หรือ...ไม่มีอะไร..เพียงพูดขึ้นมาเฉยๆแล้วแต่จะเรียงยังงัยก็ได้ขอแค่ให้ครบ37 เท่านั้น?...นี้คือ..คำถามที่1

คำถามที่2 วิริยะ...ความเพียร..จะเห็นว่ามีอยู่หลายแห่ง..เช่น..วิริยะในอิทธิบาม4 ..วิริยะในสัมมัธปทาน4...วิริยะในอินทรีย์และพละ5...แม้ในโพชฌงค์7และมรรค8....ก็มีวิริยะ.....มีใครบอกได้มั้ยว่า..ในแต่ละหมวดธรรม..มีความหมายเหมือนกัน..หรือ..ต่างกันอย่างไร?....ถ้าเหมือนกันแล้วทำไมต้องกล่าวซ้ำกัน...จริงมั้ย

เอาแค่นี้ก่อน... :b13:

ข้อที่ 1. เป็นเพียง คลองแห่งถ้อยคำที่ใช้แสดง มรรคจิต เพื่อทำความรู้แจ้ง
ข้อที่ 2. เป็นการอธิบาย คุณสมบัติของความเพียร โดยลักษณะโดยหน้าที่

.....................................................
ธรรมะอันยิ่งใหญ่ ไม่อาจเอื้อนเอ่ย
บัญญัติ เป็นเพียงสิ่งต่ำต้อยแบกรับความยิ่งใหญ่


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 13 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร