ลานธรรมจักร http://www.dhammajak.net/forums/ |
|
วิปลาส 4 http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=47726 |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 |
เจ้าของ: | รสมน [ 13 พ.ค. 2014, 08:45 ] |
หัวข้อกระทู้: | วิปลาส 4 |
โปฏฐปาทะ การได้อัตตภาพ ๓ นี้ คือที่หยาบ ที่สำเร็จ ด้วยใจ ที่หารูปมิได้. ก็การได้อัตตภาพที่หยาบเป็นไฉน. กายที่มีรูปเป็นที่ ประชุมแห่งมหาภูต ๔ มีคำข้าวเป็นภักษา นี้คือการได้อัตตภาพที่หยาบ. การ ได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน. กายที่มีรูปสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะน้อย ใหญ่ครบทุกอย่าง มีอินทรีย์ไม่เสื่อมทราม นี้คือการได้อัตตภาพที่สำเร็จด้วยใจ. การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้เป็นไฉน. กายอันหารูปมิได้สำเร็จด้วยสัญญา นี้ คือ การได้อัตตภาพอันหารูปมิได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสำคัญผิด (แปรปรวน) ความคิดผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพ ที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิ ไม่วิปลาสนี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความ สำคัญไม่ผิด ความคิดไม่ผิด ความเห็นไม่ผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าไม่เที่ยง ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นทุกข์ ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่ามิใช่ตัวตน ในสภาพ ที่ไม่งามว่าไม่งาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่วิปลาส จิตไม่วิปลาส ทิฏฐิ ไม่วิปลาส ๔ ประการนี้แล. สัตว์ทั้งหลายมีความสำคัญในสภาพที่ไม่เที่ยงว่า เที่ยง มีความสำคัญในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข มี ความสำคัญในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าเป็นตัวตน มีความ สำคัญในสภาพที่ไม่งามว่างาม ถูกความเห็นผิดนำไป มีจิตกวัดแกว่ง มีสัญญาผิด สัตว์เหล่านั้นติดอยู่ในบ่วง ของมาร เป็นสัตว์ไม่มีความปลอดโปร่งจากกิเลส ต้อง ไปสู่สงสาร เป็นผู้ถึงชาติและมรณะเมื่อใด พระพุทธ เจ้าทั้งหลายเสด็จอุบัติขึ้นในโลก ทรงส่องแสงสว่าง พระพุทธเจ้าเหล่านั้นทรงประกาศธรรมนี้ อันให้ถึง ความสงบระงับทุกข์ เมื่อนั้น สัตว์ทั้งหลายผู้มีปัญญา ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น แล้วกลับได้ ความคิดชอบ เห็นสภาพที่ไม่เที่ยงโดยความเป็นสภาพ ไม่เที่ยง เห็นสภาพที่เป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ เห็น สภาพที่มิใช่ตัวตน โดยความเป็นสภาพมิใช่ตัวตนและ เห็นสภาพที่ไม่งามว่าไม่งาม เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฏฐิ ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง ฉะนี้แล. วิปลาส ๔ ประการนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิละได้แล้ว ละทั่วแล้ว วิปลาสเหล่าใดละได้แล้ว เหล่าใดละทั่วแล้ว ความสำคัญผิด ความคิดผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยงละได้แล้ว ความสำคัญ ความคิดใน สภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุขเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปลาสละได้แล้ว ความสำคัญผิด ความคิดผิด ความเห็นผิด ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ละได้แล้ว ความ สำคัญ ความคิดในสภาพที่ไม่งามว่างามเกิดขึ้น ทิฏฐิวิปลาสละได้แล้ว วิปลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒ ละได้แล้ว วิปลาส ๔ ละทั่วแล้ว และวิปลาส ๘ ในวัตถุ ๔ ละได้แล้ว วิปลาส ๔ ละทั่วแล้ว. บัดนี้ จะพรรณนาตามลำดับความที่ยังไม่เคยพรรณนาแห่งวิปัลลาส- กถา อันมีพระสูตรเป็นบทนำ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงไว้ในวิปัลลาสะ อันเป็นปัจจัยของกรรมนั้นกล่าวแล้ว. พึงทราบความในพระสูตรก่อน. บทว่า สญฺญาวิปลฺลาสา คือมีความสำคัญคลาดเคลื่อนเป็นสภาวะ อธิบายว่ามี สัญญาวิปริต. แม้ในสองบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. สัญญาวิปลาสย่อม ปรากฏในกาลแห่งกิจของตนมีกำลัง ด้วยอกุศลสัญญาปราศจากทิฏฐิในฐานะ แห่งกิจของจิตมีกำลังอ่อน. จิตวิปลาส ย่อมเป็นไปในกาลแห่งกิจของตนเป็นอกุศลจิตปราศจาก ทิฏฐิมีกำลัง. ทิฏฐิวิปลาสย่อมเป็นไปในจิตอันสัมปยุตด้วยทิฏฐิ. เพราะฉะนั้น สัญญาวิปลาสมีกำลังอ่อนกว่าทั้งหมด. จิตวิปลาสมี กำลังมากกว่าสัญญาวิปลาสนั้น. ทิฏฐิวิปลาสมีกำลังมากกว่าทั้งหมด. จริงอยู่ ชื่อว่าความสำคัญเพราะถือเอาเพียงอาการปรากฏแห่งอารมณ์ ดุจการเห็นกหา- ปณะของทารกที่ยังไม่รู้เดียงสา. ชื่อว่าความคิดเพราะถึงแม้การรู้แจ้งลักษณะ ดุจการเห็นกหาปณะของคนชาวบ้าน. ชื่อว่าความเห็นเพราะถึงแม้การรู้แจ้งลักษณะ ดุจการจับเหล็กด้วยคีมใหญ่ของช่างเหล็ก. บทว่า อนิจฺเจ นิจฺจนฺติ สญฺาวิปลฺลาโส ความสำคัญผิดใน สภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง คือความสำคัญอันเกิดขึ้น เพราะถือเอาในวัตถุไม่เที่ยง ว่านี้เที่ยง ชื่อว่า สัญญาวิปลาส. พึงทราบความในบททั้งปวงโดยนัยนี้. บทว่า น สญฺาวิปลฺลาโส น จิตฺตวิปลฺลาโส น ทิฏฺิวิปลฺ- ลาโส ความสำคัญไม่ผิด ความคิดไม่ผิด ความเห็นไม่ผิด ท่านกล่าวถึง การถือเอาตามความเป็นจริง เพราะไม่มีการถือผิด ๑๒ อย่างในวัตถุ ๔ อย่าง. พึงทราบความในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้. บทว่า อนตฺตนิ จ อตฺตา คือมีความสำคัญอย่างนี้ว่า ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน. บทว่า มิจฺฉา- ทิฏฺิหตา ถูกความเห็นผิดนำไป คือ ไม่เพียงมีความสำคัญอย่างเดียวเท่านั้น ยังถูกความเห็นผิดอันเกิดขึ้นดุจด้วยสัญญานำไป. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา มีจิต กวัดแกว่ง คือ ประกอบด้วยจิตกวัดแกว่ง หมุนไปอันเกิดขึ้นดุจด้วยสัญญาและ ทิฏฐิ. บทว่า วิสญฺิโน มีสัญญาผิดนี้เป็นเพียงเทศนา. ความว่า มีความ สำคัญ ความคิดและความเห็นวิปริต. อีกอย่างหนึ่ง เพราะสัญญาเป็นตัวนำท่านจึงกล่าว สัญญาวิปลาสด้วย บท ๔ แห่งทิฏฐิก่อน แต่นั้นจึงกล่าวบทว่า มิจฺฉาทิฏฺิหตา ถูกมิจฉาทิฏฐิ นำไป เป็นทิฏฐิวิปลาส. บทว่า ขิตฺตจิตฺตา จิตกวัดแกว่งเป็นจิตวิปลาส. บทว่า วิสญฺิโน มีสัญญาผิด คือถึงโมหะปราศจากสัญญาปกติด้วยการ ถือวิปลาส ๓ ดุจในบทนี้ว่า สลบเพราะกำลังพิษ ถึงวิสัญญี (หมดความรู้สึก). บทว่า เต โยคยุตฺตา มารสฺส คือสัตว์เหล่านั้น ชื่อว่า คิดอยู่ในบ่วงของ มาร. บทว่า อโยคกฺเขมิโน เป็นสัตว์ไม่มีความปลอดโปร่งจากกิเลส คือ ไม่บรรลุนิพพานอันเป็นแดนเกษมจากโยคะ คือ จัญไร ๔. บทว่า สตฺตา คจฺฉนฺติ สสาร สัตว์ทั้งหลายต้องไปสู่สงสาร คือ บุคคลเหล่านั้นแหละ ต้องท่องเที่ยวไปสู่สงสาร. เป็นอย่างไร. เพราะสัตว์เหล่านั้นต้องไปสู่ชาติและ มรณะ ฉะนั้น จึงต้องท่องเที่ยวไป. บทว่า พุทฺธา คือ พระสัพพัญญูผู้ตรัสรู้ อริยสัจ ๔ เป็นพหุวจนะด้วยสามารถทั่วไปใน ๓ กาล. บทว่า โลกสฺมึ คือ ในโอกาสโลก. บทว่า ปภงฺกรา ส่องแสงสว่าง คือทำโลกให้สว่างด้วยปัญญา. บทว่า อิม ธมฺม ปกาเสนฺติ พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงประกาศพระธรรม คือทรงแสดงธรรมละความวิปลาส. บทว่า ทุกฺขปสมคามิน อันให้ถึงความ สงบระงับทุกข์ คือถึงนิพพานอันเป็นความสงบระงับทุกข์. บทว่า เตส สุตฺวาน คือ ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. บทว่า สปฺปญฺา ผู้มีปัญญา คือ มีปัญญาอันเป็นความสมควร. บทว่า สจิตฺต ปจฺจลทฺธุ กลับได้ความคิด คือกลับได้ความคิดของตนเว้นความวิปลาส. ตัดบทเป็น ปฏิอลทฺธุ. อีกอย่าง หนึ่ง ตัดบทเป็น ปฏิลภึสุ ปฏิอลทธุ. บทว่า อนิจฺจโต ทกฺขุ ได้เห็น โดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง คือได้เห็นด้วยสามารถแห่งความเป็นสภาพไม่เที่ยง นั่นเอง. บทว่า อตฺตนิ อนตฺตา เห็นสภาพที่มิใช่ตัวตนโดยความเป็นสภาพ มิใช่ตัวตน คือได้เห็นว่า ความไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นความไม่ใช่ตัวตน อีก อย่างหนึ่ง ได้เห็นสภาพมิใช่ตัวตนว่า ตัวตนไม่มีในวัตถุ. บทว่า สมฺมาทิฏฺิ- สมาทานา เป็นผู้ถือมั่นสัมมาทิฏฐิ คือถือความเห็นชอบ. บทว่า สพฺพทุกฺข อปจฺจคุ ล่วงพ้นทุกข์ทั้งปวง. คือก้าวล่วงวัฏทุกข์ทั้งสิ้น. บทว่า ทิฏฺิ- สมฺปนฺนสฺส ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิแห่งคำถามละแล้ว และละทั่วแล้ว คือ พระโสดาบัน. บทว่า ทุกฺเข สุขนฺติ สญฺา อุปฺปชฺชติ จิตฺต อุปฺปชฺชติ ความสำคัญ ความคิดในความทุกข์ว่า เป็นความสุขย่อมเกิดขึ้น คือ เพียงความ สำคัญ หรือเพียงความคิดย่อมเกิดขึ้น เพราะยังละความสะสมโมหกาลไม่ได้ ย่อมเกิดขึ้นแม้แก่พระอนาคามี ไม่ต้องพูดถึงแก่พระโสดาบัน. วิปลาสทั้งสองนี้ พระอรหันต์เท่านั้นจึงละได้. บทว่า อสุเภ สุภนฺติ สญฺา อุปฺปชฺชติ จิตฺต อุปฺปชฺชติ ความสำคัญ ความคิดในสภาพที่ไม่งามว่างามเกิดขึ้น คือ เกิดขึ้นแม้แก่พระ- สกทาคามี ไม่ต้องพูดถึงแก่พระโสดาบัน. วิปลาสทั้งสองนี้ พระอนาคามีจึง ละได้ ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถาด้วยประการฉะนี้ เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ทั้งสองนี้ ท่านกล่าวหมายถึงพระโสดาบันและพระสกทาคามี. เพราะพระ- อนาคามีละกามราคะได้แล้ว พึงทราบว่า ท่านกล่าวถึงการละความสำคัญผิด ความคิดผิดในสภาพไม่งามว่างาม. ด้วยบทว่า ทฺวีสุ วตฺถูสุ เป็นอาทิ ท่านแสดงสรุปถึงการละและการละทั่ว. ในบทนั้น เป็นอันละวิปลาส ๖ ใน วัตถุ ๒ เหล่านี้ คือ ในสภาพไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพมิใช่ตัวตนว่าตัวตน เป็นอันละทิฏฐิวิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒ เหล่านี้ คือ ในสภาพเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพไม่งามว่างาม. ในคัมภีร์บางคัมภีร์ท่านเขียน บทว่า เทฺว ก่อน. เขียนบทว่า ฉ ในภายหลัง. บทว่า จตูสุ วตฺถูสุ ท่านกล่าวทำวิปลาส ๔ รวมเป็น ๑. บทว่า อฏฺ ได้แก่ วิปลาส ๖ ในวัตถุ ๒ วิปลาส ๒ ในวัตถุ ๒ รวมเป็นวิปลาส ๘. บทว่า จตฺตาโร คือ วิปลาส ๔ ได้แก่ สัญญาวิปลาส และจิตวิปลาสอย่างละ ๒ ในวัตถุหนึ่ง ๆ ในบรรดาวัตถุที่เป็นทุกข์และไม่งาม ในคัมภีร์บางคัมภีร์ท่านเขียนไว้อย่างนั้นเหมือนกัน แม้ในที่ที่ท่านกล่าวว่า ฉ ทฺวีสุ วิปลาส ๖ ในวัตถุ ๒ ดังนี้แล. เอาบุญมาฝากจะถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ สักการะพระธาตุ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาทสร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ ให้อาหารสัตว์เป็นทานเป็นประจำ กรวดน้ำอุทิศบุญ อนุโมทนากับพ่อแม่ญาติพี่น้องที่รักษาศีล ฟังธรรม ให้ทาน อนุโมทนากับเพื่อนๆที่รักษาศีล ศึกษาการรักษาโรค ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ถวายสังฆทานมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ปิดทองพระ รักษาอาการป่วยของผู้อื่นกับผู้ร่วมงาน และที่ผ่านมาได้รักษาอาการป่วยของบิดามารดา ปล่อยชีวิตสัตว์มาโดยตลอด ถวายยาแก่ภิกษุ ขัดองค์พระ ที่ผ่านมาได้จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ให้ความรู้สมุนไพรเพื่อสุขภาพเป็นวิทยาทาน ที่ผ่านมาคุณแม่ได้ทำบุญหลายอย่างมาโดยตลอด ที่ผ่านมาได้ถวายสังฆทานและทำบุญสร้างอาคารผู้ป่วยและกฐินกับเพื่อนๆและให้อาหารเป็นทานแก่สรรพสัตว์กับเพื่อนๆและเพื่อนคนหนึ่งและบริวารของเพื่อนและครอบครัวของเพื่อนได้มีจิตเมตตาให้ทานและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่นอยู่ตลอดและเพื่อนได้เคยสวดมนต์เย็นกับคุณแม่และที่ผ่านมาได้ทำบุญสักการะพระธาตุทำบุญปิดทองชำระหนี้สงฆ์และไหว้พระและทำบุญตามกล่องรับบริจาคตามวัดต่างๆกับเพื่อนและตั้งใจว่าจะสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอให้อนุโมทนาบุญด้วย ขอเชิญถวายสังฆทาน เจริญวิปัสสนา ให้ธรรมะเป็นทาน ให้อภัยทาน บอกบุญ ให้อาหารสัตว์เป็นทาน สักการะพระธาตุ ฟังธรรม สวดมนต์ ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน รักษาศีล เจริญภาวนา สวดมนต์ สร้างพระสร้างเจดีย์สร้างธรรมจักรสร้างรอยพระพุทธบาท สร้างระฆังและอัครสาวกซ้ายขวาสร้างพระสีวลีสร้างพระกัสสะปะสร้างพระอุปคุตสร้างพระองคุลีมารผสมทองคำเปลวพร้อมนำดอกไม้มาบูชาถวายพระรัตนตรัย กรวดน้ำอุทิศบุญ ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น สนทนาธรรม ถวายข้าวพระพุทธ อนุโมทนาบุญกับผู้อื่น รักษาอาการป่วยของผู้อื่น รักษาอาการป่วยของบิดามารดา จุดเทียนถวายพระรัตนตรัย ปิดทอง สักการะพระธาตุ กราบอดีตสังขารเจ้าอาวาสที่ไม่เน่าเปื่อย ที่วัดแจ้ง อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี ปิดทองพระ ปล่อยชีวิตสัตว์ถวายยาแก่ภิกษุ ไหว้พระตามวัดต่างๆ ขัดองค์พระ ให้ความรู้สมุนไพรในการดูแลสุขภาพเป็นทาน และสร้างบารมีให้ครบทั้ง 10 อย่างขอเชิญร่วมบุญกุศลร่วมกันนะ |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 13 พ.ค. 2014, 09:31 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปลาส 4 |
![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | asoka [ 13 พ.ค. 2014, 16:22 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปลาส 4 |
![]() อ้างคำพูด: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 1.สัญญาวิปลาส 2.จิตวิปลาส 3.ทิฏฐิวิปลาส นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 1.ความสำคัญผิด (แปรปรวน) 2.ความคิดผิด 3.เห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพ ที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล. ![]() ถามคุณรสมนครับ ผมไม่เข้าใจวิปลาส 4 เพราะไล่นับดู ท่านบอกไว้ 3 หรือผมตาพร่ามัวไป กรุณาชี้ให้เห็นหน่อยครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() |
เจ้าของ: | กบนอกกะลา [ 13 พ.ค. 2014, 21:26 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปลาส 4 |
asoka เขียน: s006 อ้างคำพูด: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 1.สัญญาวิปลาส 2.จิตวิปลาส 3.ทิฏฐิวิปลาส นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 1.ความสำคัญผิด (แปรปรวน) 2.ความคิดผิด 3.เห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพ ที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล. ![]() ถามคุณรสมนครับ ผมไม่เข้าใจวิปลาส 4 เพราะไล่นับดู ท่านบอกไว้ 3 หรือผมตาพร่ามัวไป กรุณาชี้ให้เห็นหน่อยครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ดูใหม่นะครับอโสกะ ..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 1.สัญญาวิปลาส 2.จิตวิปลาส 3.ทิฏฐิวิปลาส นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย .ความสำคัญผิด (แปรปรวน) .ความคิดผิด .เห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล. ![]() |
เจ้าของ: | asoka [ 13 พ.ค. 2014, 21:44 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปลาส 4 |
กบนอกกะลา เขียน: asoka เขียน: s006 อ้างคำพูด: ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 1.สัญญาวิปลาส 2.จิตวิปลาส 3.ทิฏฐิวิปลาส นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 1.ความสำคัญผิด (แปรปรวน) 2.ความคิดผิด 3.เห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพ ที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล. ![]() ถามคุณรสมนครับ ผมไม่เข้าใจวิปลาส 4 เพราะไล่นับดู ท่านบอกไว้ 3 หรือผมตาพร่ามัวไป กรุณาชี้ให้เห็นหน่อยครับ ![]() ![]() ![]() ![]() ![]() ดูใหม่นะครับอโสกะ ..ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย 1.สัญญาวิปลาส 2.จิตวิปลาส 3.ทิฏฐิวิปลาส นี้มี ๔ ประการ ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย .ความสำคัญผิด (แปรปรวน) .ความคิดผิด .เห็นผิด ในสภาพที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง ในสภาพที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ในสภาพที่มิใช่ตัวตนว่าตัวตน ในสภาพที่ไม่งามว่างาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ๔ ประการนี้แล. ![]() ![]() ขอบคุณ เห็นแล้วครับ ![]() |
เจ้าของ: | กรัชกาย [ 13 พ.ค. 2014, 22:40 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปลาส 4 |
วิปลาส หรือ วิปัลลาส ๓ วิปลาส คือ ความรู้คลาดเคลื่อน ความรู้ที่ผันแปรผิดพลาดจากความเป็นจริง หมายถึง ความรู้คลาดเคลื่อนขั้นพื้นฐาน ที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หลงผิด การลวงตัวเอง วางใจ วางท่าที ประพฤติ ปฏิบัติไม่ถูกต้อง ต่อโลก ต่อชีวิต ต่อสิ่งทั้งหลายทั้งปวง และเป็นเครื่องกีดกั้นขัดขวางบังตาไม่ให้มองเห็นสัจภาวะ วิปลาส มี ๓ อย่าง คือ ๑. สัญญาวิปลาส สัญญาคลาดเคลื่อน หมายรู้ผิดพลาดจากความเป็นจริง ๒. จิตตวิปลาส จิตคลาดเคลื่อน ความคิดผิดพลาดจากความเป็นจริง ๓. ทิฏฐิวิปลาส ทิฏฐิคลาดเคลื่อน ความเห็นผิดพลาดจากความเป็นจริง สัญญาวิปลาส หมายรู้คลาดเคลื่อน เช่น คนตกใจเห็นเชือกเป็นงู กาและกวางป่ามองหุ่นฟางสวมเสื้อกางเกงมีหม้อครอบ เห็นเป็นคนเฝ้านา คนหลงทางเห็นทิศเหนือเป็นทิศใต้ เห็นทิศใต้เป็นทิศเหนือ คนเห็นแสงไฟโฆษณากระพริบอยู่กับที่เป็นไฟวิ่ง เป็นต้น จิตตวิปลาส ความคิดคลาดเคลื่อน เช่น คนบ้าคิดเอาหญ้าเป็นอาหารของตน คนจิตฟั่นเฟือนมองเห็นคนเข้ามาหาคิดว่าเขาจะทำร้าย คนเห็นเงาเคลื่อนไหวในที่มืดสลัวคิดวาดภาพเป็นผีหลอก กระต่ายตื่นตูมได้ยินเสียงลูกมะพร้าวหล่นคิดวาดภาพเป็นว่าโลกกำลังแตก เป็นต้น ทิฏฐิวิปลาส ความเห็นคลาดเคลื่อน ตามปกติ สืบเนื่องมาจากสัญญาวิปลาส และจิตตวิปลาสนั่นเอง เมื่อหมายรู้ผิดอย่างไร ก็เห็นผิดไปตามนั้น เมื่อคิดวาดภาพเคลื่อนคลาดไปอย่างไร ก็พลอยเห็นผิด เชื่อถือผิดพลาดไปตามอย่างนั้น เช่น เมื่อหมายรู้ผิดว่าเชือกเป็นงู ก็อาจลงความเห็นยึดถือว่าสถานที่บริเวณนั้นมีงูหรือมีงูชุม เมื่อหมายรู้ว่าผืนแผ่นดินเรียบราบขยายออกไปเป็นเส้นตรง ก็จึงลงความเห็นยึดถือว่าโลกแบน เมื่อคิดไปว่า สิ่งทั้งหลายเกิดขึ้น เป็นไป เคลื่อนไหวต่างๆ ก็ต้องมีผู้จัดแจงผลักดัน ก็จึงลงความเห็นยึดถือว่า ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า แผ่นดินไหว ฝนตก น้ำท่วม มีเทพเจ้าประจำอยู่และคอยดลบันดาล ดังนี้เป็นต้น ตัวอย่างที่กล่าวมานี้เป็นขั้นหยาบที่เห็นง่ายๆ อาจเรียกอย่างภาษาพูดว่าเป็นความวิปลาสขั้นวิปริต ส่วนในทางธรรม ท่านมองความหมายของวิปลาสอย่างละเอียดถึงขั้นพื้นฐาน หมายถึงความรู้คลาดเคลื่อนชนิดที่มิใช่มีเฉพาะในบางคนบางกลุ่มเท่านั้น แต่มีในคนทั่วไปแทบทั้งหมดอย่างไม่รู้ตัว คนทั้งหลายตกอยู่ใต้อิทธิพลครอบงำของมัน และวิปลาสทั้ง ๓ ชนิดนั้น จะสอดคล้องประสานกันเป็นขุดเดียว วิปลาสขั้นละเอียดหรือขั้นพื้นฐานนั้น พึงเห็นตามบาลี ดังนี้ “ภิกษุทั้งหลาย สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส มี ๔ อย่าง ดังนี้ สี่อย่างอะไรบ้าง กล่าวคือ ๑. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งไม่เที่ยง ว่าเที่ยง ๒. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่เป็นทุกข์ ว่าเป็นสุข ๓. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่มิใช่ตัวตน ว่าตัวตน ๔. สัญญาวิปลาส จิตตวิปลาส ทิฏฐิวิปลาส ในสิ่งที่ไม่งาม ว่างาม" วิปลาสเหล่านี้ เป็นอุปสรรคต่อการฝึกอบรมเจริญปัญญา และเป็นเป้าหมายของการฝึกอบรมปัญญา ที่จะต้องกำจัดเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้โยนิโสมนสิการแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย และแยกแยะองค์ประกอบตรวจดูสภาวะ โดยมีสติพรั่งพร้อมอยู่ |
เจ้าของ: | ปลีกวิเวก [ 14 พ.ค. 2014, 08:35 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปลาส 4 |
![]() |
เจ้าของ: | รสมน [ 27 พ.ค. 2014, 12:52 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปลาส 4 |
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านด้วยครับ |
เจ้าของ: | student [ 27 พ.ค. 2014, 13:54 ] |
หัวข้อกระทู้: | Re: วิปลาส 4 |
![]() ![]() ![]() |
หน้า 1 จากทั้งหมด 1 | เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง |
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group http://www.phpbb.com/ |