วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 06:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.พ. 2014, 10:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


มีวัดใหนช่วงนี้ รับอุปสมบทไหมครับ เหมือนชีวิตเลื่อนๆลอยๆ ขอบพระคุณครับ :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 12:32 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b12: :b12: :b12:
เห็นแว้ปๆที่ไหน เขาบอกว่า บวชฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย.....ที่วัดธรรมกาย หรือที่ไหนสักแห่งหนึ่ง ให้อาจารย์กูเกิ้ลช่วยค้นน่าจะได้คำตอบเร็วนะครับ
:b20:
บวชใจให้ได้สัก 4 - 5 คอร์ส ในสำนักของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าบ้าง.......วิเวกอาศรม ชลบุรี บ้าง หรือที่อื่นๆ น่าจะช่วยให้ความ "อยาก" บวชลดลงจนเหลือ บวชเพราะเห็นทุกข์และบื่อหน่ายในวัฏฏสงสารจริงๆ ถึงตอนนั้นจะบวชได้ยาว ไม่สึกง่ายนะครับ
:b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
:b12: :b12: :b12:
เห็นแว้ปๆที่ไหน เขาบอกว่า บวชฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย.....ที่วัดธรรมกาย หรือที่ไหนสักแห่งหนึ่ง ให้อาจารย์กูเกิ้ลช่วยค้นน่าจะได้คำตอบเร็วนะครับ
:b20:
บวชใจให้ได้สัก 4 - 5 คอร์ส ในสำนักของท่านอาจารย์โกเอ็นก้าบ้าง.......วิเวกอาศรม ชลบุรี บ้าง หรือที่อื่นๆ น่าจะช่วยให้ความ "อยาก" บวชลดลงจนเหลือ บวชเพราะเห็นทุกข์และบื่อหน่ายในวัฏฏสงสารจริงๆ ถึงตอนนั้นจะบวชได้ยาว ไม่สึกง่ายนะครับ
:b8:


อ้างคำพูด:
บวชเพราะเห็นทุกข์และบื่อหน่ายในวัฏฏสงสาร


คุณอโศกเป็นทุกข์อะไรนักหนาขอรับ ยกตัวอย่างทุกข์ที่คิดว่ามันทุกข์จนเหลือทนแล้วมาหน่อยสิครับ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 18:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 5
สมาชิก ระดับ 5
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ม.ค. 2011, 17:26
โพสต์: 353


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ asoka ตอบแบบนี้ เลยไม่รู้จะถามอะไรอีกเลย s007


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกข์มันมีทั้ง 108 น่ะเนี่ย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.พ. 2014, 22:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ทุกข์มันมีทั้ง 108 น่ะเนี่ย :b32:

s004
อ้าวก็รู้ว่าทุกข์มีตั้ง 108 แล้ว มาถามทำไมล่ะกรัชกาย

กระทู้นี้มันต้องเป็นเรื่องทุกข์ของคนอยากบวช ไม่ใช่เรื่องทุกข์ของอโศกะ

อยากรู้เรื่องโดยสรุปของทุกข์จงไปหาอ่านบททำวัตรเช้าแปล ที่ขึ้นต้นว่า

อิธะตถาคโตโลเก อุปปันโน ......ตอนท้ายๆจะมีคำสรุปทุกข์ไว้
ที่สรุปไว้สั้นมากๆคือ

"สังขิตเตนะปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา"

ไปหาอ่านไปหาคำแปลที่ถูกต้องเอาเองนะกรัชกาย...อย่าให้ต้องเอามาป้อนถึงปากเหมือนเด็กอ่อนเลยนะ
:b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 08:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s004
อ้าวก็รู้ว่าทุกข์มีตั้ง 108 แล้ว มาถามทำไมล่ะกรัชกาย

กระทู้นี้มันต้องเป็นเรื่องทุกข์ของคนอยากบวช ไม่ใช่เรื่องทุกข์ของอโศกะ

อยากรู้เรื่องโดยสรุปของทุกข์จงไปหาอ่านบททำวัตรเช้าแปล ที่ขึ้นต้นว่า

อิธะตถาคโตโลเก อุปปันโน ......ตอนท้ายๆจะมีคำสรุปทุกข์ไว้
ที่สรุปไว้สั้นมากๆคือ

"สังขิตเตนะปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา"

ไปหาอ่านไปหาคำแปลที่ถูกต้องเอาเองนะกรัชกาย...อย่าให้ต้องเอามาป้อนถึงปากเหมือนเด็กอ่อนเลยนะ
:b13:


ก็ทุกข์มี 108 น่าซี่ ถึงถามว่า ทุกข์ตัวไหน ทุกข์มีเยอะไง คิกๆๆ


อ้างคำพูด:
"สังขิตเตนะปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา"


กลับมาที่นี่อีกแระ ก็ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง ยังรู้ไม่ชัดเลยนะ :b1: เห็นว่าขันธ์ ๕ ซ่อนอยู่ในกายใจของเรา :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 15:31 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
s004
อ้าวก็รู้ว่าทุกข์มีตั้ง 108 แล้ว มาถามทำไมล่ะกรัชกาย

กระทู้นี้มันต้องเป็นเรื่องทุกข์ของคนอยากบวช ไม่ใช่เรื่องทุกข์ของอโศกะ

อยากรู้เรื่องโดยสรุปของทุกข์จงไปหาอ่านบททำวัตรเช้าแปล ที่ขึ้นต้นว่า

อิธะตถาคโตโลเก อุปปันโน ......ตอนท้ายๆจะมีคำสรุปทุกข์ไว้
ที่สรุปไว้สั้นมากๆคือ

"สังขิตเตนะปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา"

ไปหาอ่านไปหาคำแปลที่ถูกต้องเอาเองนะกรัชกาย...อย่าให้ต้องเอามาป้อนถึงปากเหมือนเด็กอ่อนเลยนะ
:b13:


ก็ทุกข์มี 108 น่าซี่ ถึงถามว่า ทุกข์ตัวไหน ทุกข์มีเยอะไง คิกๆๆ


อ้างคำพูด:
"สังขิตเตนะปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา"


กลับมาที่นี่อีกแระ ก็ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง ยังรู้ไม่ชัดเลยนะ :b1: เห็นว่าขันธ์ ๕ ซ่อนอยู่ในกายใจของเรา :b32:

:b12:
ก็ธรรมะแทบทั้งหมดมันก็วนเวียนอยู่กับขันธ์ 5 รูป นาม กาย ใจ นี้แหละ จะไปแสวงหาสิ่งที่แปลกพิสดารอะไรมากกว่านี้

ธรรมะจริงๆเขาก็อยู่ตรงพื้นฐาน กาย ใจ เรียบ ง่าย ไม่ซับซ้อนและสงบเย็น
onion onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
s004
อ้าวก็รู้ว่าทุกข์มีตั้ง 108 แล้ว มาถามทำไมล่ะกรัชกาย

กระทู้นี้มันต้องเป็นเรื่องทุกข์ของคนอยากบวช ไม่ใช่เรื่องทุกข์ของอโศกะ

อยากรู้เรื่องโดยสรุปของทุกข์จงไปหาอ่านบททำวัตรเช้าแปล ที่ขึ้นต้นว่า

อิธะตถาคโตโลเก อุปปันโน ......ตอนท้ายๆจะมีคำสรุปทุกข์ไว้
ที่สรุปไว้สั้นมากๆคือ

"สังขิตเตนะปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา"

ไปหาอ่านไปหาคำแปลที่ถูกต้องเอาเองนะกรัชกาย...อย่าให้ต้องเอามาป้อนถึงปากเหมือนเด็กอ่อนเลยนะ
:b13:


ก็ทุกข์มี 108 น่าซี่ ถึงถามว่า ทุกข์ตัวไหน ทุกข์มีเยอะไง คิกๆๆ


อ้างคำพูด:
"สังขิตเตนะปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา"


กลับมาที่นี่อีกแระ ก็ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง ยังรู้ไม่ชัดเลยนะ :b1: เห็นว่าขันธ์ ๕ ซ่อนอยู่ในกายใจของเรา :b32:

:b12:
ก็ธรรมะแทบทั้งหมดมันก็วนเวียนอยู่กับขันธ์ 5 รูป นาม กาย ใจ นี้แหละ จะไปแสวงหาสิ่งที่แปลกพิสดารอะไรมากกว่านี้

ธรรมะจริงๆเขาก็อยู่ตรงพื้นฐาน กาย ใจ เรียบ ง่าย ไม่ซับซ้อนและสงบเย็น


ชีวิต ขันธ์ ๕ รูปนาม หรือกายใจนี่ ซับซ้อนลึกซึ้งยิ่งนัก ยากจะเข้าใจนะอโศก คิกๆๆ

ว่าง่ายไม่ซับซ้อนอย่างว่า นี่เขาเป็นอะไร จะดำเนินต่อยังไง :b14:

อ้างคำพูด:
คือว่าเรานั่งสมาธิแล้วเริมเข้าสู่ความสงบ (ประมาณว่าโลกนี้ว่าง ๆ ค่ะ) แต่ไม่รู้ทำไมเกิดนึกกลัวขึ้นมา อยากออกจากสมาธิ มีคนแนะนำว่าต้องค่อย ๆ ถอยออกจากสมาธิ แต่เราทำไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมออกค่ะ ไม่รู้ทำไง เลยลืมตาเสียเลย เท่านั้นเองใจก็เกิดสั่นขึ้นมาทันที รู้สึกวิงเวียนบอกไม่ถูก วันนั้นทั้งวันใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กว่าจะปกติก็ช่วงเย็นแล้ว

เราเลยอยากถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้กลัวเวลาเจอสถานเการณ์แบบนี้ และจะออกจากสมาธิด้วยวิธีไหนดีคะ ผู้รู้ช่วยตอบทีค่ะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 21:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
s004
อ้าวก็รู้ว่าทุกข์มีตั้ง 108 แล้ว มาถามทำไมล่ะกรัชกาย

กระทู้นี้มันต้องเป็นเรื่องทุกข์ของคนอยากบวช ไม่ใช่เรื่องทุกข์ของอโศกะ

อยากรู้เรื่องโดยสรุปของทุกข์จงไปหาอ่านบททำวัตรเช้าแปล ที่ขึ้นต้นว่า

อิธะตถาคโตโลเก อุปปันโน ......ตอนท้ายๆจะมีคำสรุปทุกข์ไว้
ที่สรุปไว้สั้นมากๆคือ

"สังขิตเตนะปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา"

ไปหาอ่านไปหาคำแปลที่ถูกต้องเอาเองนะกรัชกาย...อย่าให้ต้องเอามาป้อนถึงปากเหมือนเด็กอ่อนเลยนะ
:b13:


ก็ทุกข์มี 108 น่าซี่ ถึงถามว่า ทุกข์ตัวไหน ทุกข์มีเยอะไง คิกๆๆ


อ้างคำพูด:
"สังขิตเตนะปัจจุปาทานักขันธา ทุกขา"


กลับมาที่นี่อีกแระ ก็ขันธ์ ๕ มีอะไรบ้าง ยังรู้ไม่ชัดเลยนะ :b1: เห็นว่าขันธ์ ๕ ซ่อนอยู่ในกายใจของเรา :b32:

:b12:
ก็ธรรมะแทบทั้งหมดมันก็วนเวียนอยู่กับขันธ์ 5 รูป นาม กาย ใจ นี้แหละ จะไปแสวงหาสิ่งที่แปลกพิสดารอะไรมากกว่านี้

ธรรมะจริงๆเขาก็อยู่ตรงพื้นฐาน กาย ใจ เรียบ ง่าย ไม่ซับซ้อนและสงบเย็น


ชีวิต ขันธ์ ๕ รูปนาม หรือกายใจนี่ ซับซ้อนลึกซึ้งยิ่งนัก ยากจะเข้าใจนะอโศก คิกๆๆ

ว่าง่ายไม่ซับซ้อนอย่างว่า นี่เขาเป็นอะไร จะดำเนินต่อยังไง :b14:

อ้างคำพูด:
คือว่าเรานั่งสมาธิแล้วเริมเข้าสู่ความสงบ (ประมาณว่าโลกนี้ว่าง ๆ ค่ะ) แต่ไม่รู้ทำไมเกิดนึกกลัวขึ้นมา อยากออกจากสมาธิ มีคนแนะนำว่าต้องค่อย ๆ ถอยออกจากสมาธิ แต่เราทำไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมออกค่ะ ไม่รู้ทำไง เลยลืมตาเสียเลย เท่านั้นเองใจก็เกิดสั่นขึ้นมาทันที รู้สึกวิงเวียนบอกไม่ถูก วันนั้นทั้งวันใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กว่าจะปกติก็ช่วงเย็นแล้ว

เราเลยอยากถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้กลัวเวลาเจอสถานเการณ์แบบนี้ และจะออกจากสมาธิด้วยวิธีไหนดีคะ ผู้รู้ช่วยตอบทีค่ะ

:b38:
เวลาตรัสสอนเรื่องขันธ์ 5 พระบรมศาสดาไม่ได้เอาอะไรลึกซึ้งมากอย่างที่นักวิชาการกำลังพยายามจะทำให้ขันธ์ 5 เป็นเรื่องลึกซึ้ง พิสดาร

พระบรมศาสดาทรงตรัสเพียงแต่ว่า

รูปูปาทานนักขันโธ........ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป

เวทนูปาทานักขันโธ ......ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือเวทนา

สัญญูปาทานนักขันโธ........

สังขารูปาทานนักขันโธ.....

วิญญานูปาทานนักขันโธ.......ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือ วิญญาน

ขั้นธ์ทั้ง 5 เป็นที่ตั้งแห่งอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่น จนเกิดความเห็นผิด ยึดผิด เกิดเป็น อวิชชา

ละความยึดมั่นในขันธ์แต่ละขันธ์ จนครบทั้ง 5 ความเห็นผิด ยึดผิดก็จะตั้งอยู่ไม่ได้ ดับไป อวิชชาก็ดับตาม
:b13:
และส่วนมากมักจะได้พบเห็นในพระสูตรทั่วๆไปก็เช่น

ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย

รูปนี้เที่ยงหรือไม่...........ไม่เที่ยงพระเจ้าข้า

เมื่อไม่เที่ยงแล้วเป็นทุกข์หรือเป็นสุข.........เป็นทุกข์พระเจ้าข้า


เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน พระบรมศาสดาก็จะทรงถามเช่นเดียวกัน

หรือ

รูปังอนัตตา......รูป ไม่ใช่ตัวตน

เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาน ก็ ดุจเดียวกัน

ดังนี้เป็นต้น

จะเอาพิสดารตรงไหนหรือนักวิชาการใหญ่ กรัชกาย

จะสอนได้พิสดารกว่าพระบรมศาสดาหรือ นักวิชาการใหญ๋ จึงพยายามซักไซ้ไล่เรียง หาเรื่องที่ละเอียดพิสดารเรื่องขันธ์ 5......นักวิชาการใหญ่รู้ดีอยู่แล้วก็เอามาแบ่งปันเล่าสู่กันฟังเลย ไม่ต้องเที่ยวไปถามลองภูมิใคร
:b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.พ. 2014, 21:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
บทสวด อนัตตลักขณสูตร พร้อมคำแปล

เอวัมเม สุตัง
อันข้าพเจ้า(คือพระอานนทเถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้
เอกัง สะมะยัง ภะคะวา
สมัยหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
พาราณะสิยัง วิหะระติ, อิสิปะตะเน มิคะทะเย
เสด็จประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี
ตัตระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคียเย ภิกขู อามันเตสิ
ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือน พระภิกษุปัญจวัคคีย์(ให้ตั้งใจฟังภาษิตนี้ว่า)

รูปัง ภิกขะเว อนัตตา
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูป(คือร่างกายนี้) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
รูปัญจะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็รูปนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นะยิทัง รูปัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ
รูปนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)
ลัพเภถะ จะ รูเป
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในรูปตามใจหวัง
เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มา อโหสีติ
ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสมา จะ โข ภิกขะเว รูปัง อนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่รูปนั้นเป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
ตัสมา รูปัง อาพาธายะ สังวัตตะติ
เพราะเหตุนั้น รูปจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
นะจะ ลัพภะติ รูเป
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในรูปตามใจหวัง
เอวัง เม รูปัง โหตุ เอวัง เม รูปัง มาอโหสีติ
ว่ารูปของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด รูปของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

เวทนา อนัตตา
เวทนา(คือความรู้สึกอารมณ์) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
เวทนา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เวทนานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นะยิทัง เวทะนา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ
เวทนานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)
ลัพเภถะ จะ เวทะนายะ
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในเวทนาตามใจหวัง
เอวัง เม เวทะนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ
ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสมา จะ โข ภิกขะเว เวทะนา อนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่เวทนานั้นมิใช่ตัวตนของเรา
ตัสมา เวทนา อาพาธายะ สังวัตตะติ
เพราะเหตุนั้น เวทนาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
นะจะ ลัพภะติ เวทะนายะ
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในเวทนาตามใจหวัง
เอวัง เม เวทนา โหตุ เอวัง เม เวทะนา มา อโหสีติ
ว่าเวทนาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด เวทนาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

สัญญา อนัตตา
สัญญา(คือความจำ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
สัญญา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สัญญานี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นะยิทัง สัญญา อาพาธายะ สังวัตเตยยะ
สัญญานี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ(ความลำบาก)
ลัพเภถะ จะ สัญญายะ
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสัญญาตามใจหวัง
เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ
ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสมา จ โข ภิกขะเว สัญญา อนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สัญญานั้นมิใช่ตัวตนของเรา
ตัสมา สัญญา อาพาธายะ สังวัตตะติ
เพราะเหตุนั้น สัญญาจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
นะจะ ลัพภะติ สัญญายะ
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสัญญาตามใจหวัง
เอวัง เม สัญญา โหตุ เอวัง เม สัญญา มา อโหสีติ
ว่าสัญญาของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สัญญาของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

สังขารา อนัตตา
สังขารทั้งหลาย(คือสภาพที่เกิดกับใจ ปรุงใจให้ดีบ้าง ชั่วบ้าง) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
สังขารา จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสังสุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็สังขารทั้งหลายนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นะ ยิทัง สังขารา อาพาธายะ สังวัตเตยยุง
สังขารทั้งหลายนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
ลัพเภถะ จะ สังขาเรสุ
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง
เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขาร มา อเหสุนติ
ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสมา จะ โข ภิกขะเว สังขารา อนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่สังขารทั้งหลายนั้นมิใช่ตัวตนของเรา
ตัสมา สังขารา อาพาธายะ สังวัตตันติ
เพราะเหตุนั้น สังขารทั้งหลายจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
นะ จะ ลัพภะติ สังขาเรสุ
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในสังขารทั้งหลายตามใจหวัง
เอวัง เม สังขารา โหนตุ เอวัง เม สังขารา มา อเหสุนติ
ว่าสังขารทั้งหลายของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด สังขารทั้งหลายของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

วิญญาณัง อนัตตา
วิญญาณ(คือใจ) เป็นอนัตตา(มิใช่ตัวตนของเรา)
วิญญานัญ จะ หิทัง ภิกขะเว อัตตา อะภะวิสสะ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็วิญญาณนี้จักได้เป็นอัตตา(ตัวตนของเรา)แล้ว
นะยิทัง วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตเตยยะ
วิญญาณนี้ก็ไม่พึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
ลัพเภถะ จะ วิญญาเน
อนึ่ง บุคคลพึงได้ในวิญญาณตามใจหวัง
เอวัง เม วิญญานัง โหตุ เอวัง เม วิญญานัง มา อโหสีติ
ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย
ยัสมา จะ โข ภิกขะเว วิญญานัง อนัตตา
ภิกษุทั้งหลาย ก็เพราะเหตุที่วิญญาณนั้นมิใช่ตัวตนของเรา
ตัสมา วิญญาณัง อาพาธายะ สังวัตตะติ
เพราะเหตุนั้น วิญญาณจึงเป็นไปเพื่ออาพาธ
นะ จะ ลัพภะติ วิญญาเน
อนึ่ง บุคคลย่อมไม่ได้ในวิญญาณตามใจหวัง
เอวัง เม วิญญาณัง โหตุ เอวัง เม วิญญาณัง มา อโหสีติ
ว่าวิญญาณของเรา จงเป็นอย่างนี้เถิด วิญญาณของเรา อย่าได้เป็นอย่างนั้นเลย

ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
รูปัง นิจจัง วา อนิจจัง วา ติ
รูปเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
อนิจจัง ภันเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ทุกขัง ภันเต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
วิปะริณา มะธัมมัง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
โน เหตัง ภันเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
เวทะนา นิจจา วา อนิจจา วาติ
เวทนาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
อนิจจา ภันเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัมปะนา นิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ทุกขัง ภันเต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
วิปะริณามะธัมมัง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตัง มะมะ เอโส หะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
โน เหตัง ภันเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
สัญญา นิจจา วา อนิจจา วาติ
สัญญาเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
อนิจจา ภันเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ทุกขัง ภัน เต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
วิปะริณามะธัมมัง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตัง มะมะ เอโส หะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
โน เหตัง ภันเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
สังขารา นิจจา วา อนิจจา วาติ
สังขารทั้งหลายเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
อนิจจา ภันเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ทุกขัง ภันเต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
วิปะริณามะธัมมัง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กัลลังนุตัง สะมะนุปัสสิตุง
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เม อัตตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
โน เหตัง ภันเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตังกิง มัญญะถะ ภิกขะเว
ท่านทั้งหลาย ย่อมสำคัญความนั้นเป็นไฉน ภิกษุทั้งหลาย
วิญญาณัง นิจจังวา อนิจจัง วาติ
วิญญาณเที่ยง หรือ ไม่เที่ยง
อนิจจัง ภันเต
ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง วา ตัง สุขัง วาติ
สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า
ทุกขัง ภันเต
เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า
ยัมปะนานิจจัง ทุกขัง
สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์
วิปะริณามะธัมมัง
มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา
กัลลัง นุ ตัง สะมะนุปัสสิตุง
ควรหรือ เพื่อจะตามเห็นสิ่งนั้น
เอตัง มะมะ เอโสหะมัสมิ เอโส เมอัตตาติ
ว่านั้นของเรา เราเป็นนั่นเป็นนี่ นั่นเป็นตนของเรา
โน เหตัง ภันเต
หาอย่างนั้นไม่ พระเจ้าข้า

ตัสมาติหะ ภิกขะเว
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย
ยังกิญจิ รูปัง
รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคะตะปัจจุปันนัง
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
อัชฌัตตัง วาพหิทธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
หีนัง วา ปณีตัง วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี
ยันทูเร สันติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
สัพพัง รูปัง
รูปทั้งหมด ก็เป็นสักว่ารูป
เนตัง มะมะ
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหะมัสมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
นะ เมโส อัตตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้

ยากาจิ เวทะนา
เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
อัชฌัตตา วา พหิทธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
โอฬาริกา วา สุขุมา วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
หีนา วา ปณีตา วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี
ยันทูเร สันติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
สัพพา เวทะนา
เวทนาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าเวทนา
เนตัง มะมะ
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหะมัสมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
นะ เมโส อัตตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
เอวะ เมตัง ยะถา ภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนี้

ยากาจิ สัญญา
สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
อัชฌัตตา วา พหิทธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
โอฬาริกา วา สุขุมา วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
หีนา วา ปณีตา วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี
ยันทูเร สันติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
สัพพา สัญญา
สัญญาทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสัญญา
เนตัง มะมะ
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหะมัสมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
นะ เมโส อัตตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
เอวะ เมตัง ยะถา ภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น

เยเกจิ สังขารา
สังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคะตะปัจจุปปันนา
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
อัชฌัตตา วา พหิทธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
โอฬาริกา วา สุขุมา วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
หีนา วา ปณีตา วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี
เยทูเร สันติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
สัพเพ สังขารา
สังขารทั้งหลายทั้งหมด ก็เป็นสักว่าสังขาร
เนตัง มะมะ
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหะมัสมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
นะ เมโส อัตตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
เอวะ เมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้น

ยังกิญจิ วิญญาณัง
วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง
อตีตานาคะตะปัจจุปปันนัง
ที่เป็นอดีตก็ดี อนาคตก็ดี ปัจจุบันก็ดี
อัชฌัตตัง วา พะหิทธา วา
ภายในก็ดี ภายนอกก็ดี
โอฬาริกัง วา สุขุมัง วา
หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี
หีนัง วา ปณีตัง วา
เลวก็ดี ประณีตก็ดี
ยันทูเร สันติเก วา
อันใด มีในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี
สัพพัง วิญญาณัง
วิญญาณทั้งหมด ก็เป็นสักว่าวิญญาณ
เนตัง มะมะ
นั่นไม่ใช่ของเรา
เนโสหะมัสมิ
เราไม่เป็นนั่นเป็นนี่
นะ เมโส อัตตาติ
นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้
เอวะเมตัง ยะถาภูตัง สัมมัปปัญญายะ ทัฏฐัพพัง
ข้อนี้อันท่านทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามเป็นจริงแล้วอย่างนั้นดังนี้

เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุตตะวา อะริยะสาวะโก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้วเห็นอยู่อย่างนี้
รูปัสสะมิงปิ นิพพินทะติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป
เวทะนายะปิ นิพพินนะติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในเวทนา
สัญญายะปิ นิพพินทะติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสัญญา
สังขาเรสุปิ นิพพินทะติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในสังขารทั้งหลาย
วิญญานัสมิงปิ นิพพินทะติ
ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในวิญญาณ
นิพพินทัง วิรัชชะติ
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายความติด
วิราคา วิมุจจะติ
เพราะคลายความติด จิตก็พ้น
วิมุตตัสมิง วิมุตตะมีติ ญาณัง โหติ
เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าพ้นแล้ว ดั่งนี้
ขีณา ชาติ. วุสิตัง พรัหมจริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ
อริย สาวกนั้น ย่อมทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์เราได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำเราได้ทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี

อิทะมะโวจะ ภะคะวา
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระสูตรนี้จบลง
อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู
พระภิกษุปัญจวัคคีก็มีใจยินดี
ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง
เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจัา
อิมัสสมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสมิง ภัญญะมาเน
ก็แลเมื่อเวยยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่
ปัญจะวัคคิยานัง ภิกขูนัง อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุตจิงสูติ
จิตของพระภิกษุปัญจวัคคีย์พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทานแล

จบ อนัตตลักขณสูตร
:b27:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2014, 05:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อโศกรู้ตามที่หนังสือเขาว่าเขาแปล นั่นๆไปยกคำแปลเขามาแล้วก็จินตนาการเอา ถูกไหม คิกๆ

นี่ชีวิต ขันธ์ ๕ รูปนาม หรือกายใจ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเนี่ยๆๆ :b32:

คือว่าเรานั่งสมาธิแล้วเริมเข้าสู่ความสงบ (ประมาณว่าโลกนี้ว่าง ๆ ค่ะ) แต่ไม่รู้ทำไมเกิดนึกกลัวขึ้นมา อยากออกจากสมาธิ มีคนแนะนำว่าต้องค่อย ๆ ถอยออกจากสมาธิ แต่เราทำไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมออกค่ะ ไม่รู้ทำไง เลยลืมตาเสียเลย เท่านั้นเองใจก็เกิดสั่นขึ้นมาทันที รู้สึกวิงเวียนบอกไม่ถูก วันนั้นทั้งวันใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กว่าจะปกติก็ช่วงเย็นแล้ว

เราเลยอยากถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้กลัวเวลาเจอสถานเการณ์แบบนี้ และจะออกจากสมาธิด้วยวิธีไหนดีคะ ผู้รู้ช่วยตอบทีค่ะ


พอเข้าใจไหม ?

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2014, 07:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อโศกรู้ตามที่หนังสือเขาว่าเขาแปล นั่นๆไปยกคำแปลเขามาแล้วก็จินตนาการเอา ถูกไหม คิกๆ

นี่ชีวิต ขันธ์ ๕ รูปนาม หรือกายใจ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาเนี่ยๆๆ :b32:

คือว่าเรานั่งสมาธิแล้วเริมเข้าสู่ความสงบ (ประมาณว่าโลกนี้ว่าง ๆ ค่ะ) แต่ไม่รู้ทำไมเกิดนึกกลัวขึ้นมา อยากออกจากสมาธิ มีคนแนะนำว่าต้องค่อย ๆ ถอยออกจากสมาธิ แต่เราทำไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมออกค่ะ ไม่รู้ทำไง เลยลืมตาเสียเลย เท่านั้นเองใจก็เกิดสั่นขึ้นมาทันที รู้สึกวิงเวียนบอกไม่ถูก วันนั้นทั้งวันใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กว่าจะปกติก็ช่วงเย็นแล้ว

เราเลยอยากถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้กลัวเวลาเจอสถานเการณ์แบบนี้ และจะออกจากสมาธิด้วยวิธีไหนดีคะ ผู้รู้ช่วยตอบทีค่ะ


พอเข้าใจไหม ?

:b12: :b12: :b12:
น่าาจะเป็นกรัชกายเสียมากกว่าละกระมัง ที่จินตนาการหรือคิดเอาตามตำราแล้วมาสำคัญว่า "ฉันรู้แล้ว ฉันถึงแล้ว"
:b32: :b32: :b32:
การฟังธรรม สนทนาธรรม หรืออ่านหนังสือ ตำรา ข้อธรรมต่างๆแล้ว ผู้มีสติปัญญาดี ย่อมจะนำมา "พิจารณา"
ใคร่ครวญ หาเหตุหาผล และพิสูจน์ธรรมนั้นๆด้วยการลงมือปฏิบัติ ทดสอบทดลองเพื่อสัมผัสธรรมนั้นจริงๆ หลังจากนั้นจึงค่อยเชื่อตามแล้วยึดถือปฏิบัติ
:b34: :b34: :b34:
แล้วก็เรื่องปัญหาสภาวะอารมณ์ของผู้ปฏิบัติ ซึ่งอาจจะถามกรัชกายเอง มาก่อน กรัชกายก็อาจตอบแก้แนะนำไปแล้ว ได้ผลบ้าง ไม่ได้ผลบ้าง เลยลองนำมาสอบถามลองภูมิผู้คนในลานธรรมจักรนี้และลานธรรมอื่นเปรอะไปทั่ว เพื่อจะลองดูว่าใครจะตอบแก้ได้ดีกว่าที่กรัชกายทำไว้ ....ใครตอบแก้ได้ดีกว่าก็คงเฉยไม่ขอบคุณ แต่ใครตอบได้แย่กว่าก็เยาะเย้ยถากถางเขาแบบที่เรียกว่า "ยกตนข่มท่าน" ประมาณนั้น ไม่ทราบว่าจะเป็นอย่างนั้นหรือเปล่ากรัชกาย
s004 s004
แต่ธรรมดาของการถามปัญหาเพื่อให้ช่วยแก้ไขปัญหานั้น กัลยาณชนเขาจะถามกันด้วยความเคารพ ดุจศิษย์สอบถามขอความรู้จากครูบาอาจารย์ ท่านผู้รู้ คำตอบอาจจะใช่ ตรงใจไม่ตรงใจผู้ถามก็รับฟังด้วยความเคารพ เป็นธรรมทัศนะ เพราะการแก้ปัญหาอารมณ์ผู้ปฏิบัติธรรมนั้นย่อมหลากหลายเป็นไปตามเหตุปัจจัย สถานการณ์ สิ่งแวดล้อมของผู้ปฏิบัติแต่ละคนไม่เป็นรูปแบบเดียวกันไปหมด ผู้สอนผู้แนะต้องใช้สติปัญญาเชาวน์ปฏิภาณเทคนิคตอบแก้ไปตามประสบการณ์ของตนจนปัญหาของผู้ปฏิบัติคนนั้นลุล่วง
:b48: :b48:
ผู้ที่จะแนะนำแก้ไขอารมณ์ของผู้ปฏิบัติธรรมได้ดี ต้องรู้หลักพื้นฐานอารมณ์ของผู้ปฏิบัติไว้ก่อนเป็นสำคัญแล้วการแก้อารมณ์นั้นก็จะง่ายและมีระบบ

สำนักสอนกรรมฐานในเมืองไทย พม่า และที่อื่นๆในโลกส่วนใหญ่ มักเริ่มสอนกันด้วยการให้ฝึกทำสมาธิก่อน
ด้วยการใช้คำบริกรรม กำหนด มัดจิต ผูกใจตั้งสติไว้กับอารมณ์กรรมฐานต่างๆเช่น บริกรรมพุทโธ.......พุทโธตามลมหายใจเข้าออก บริกรรมหรือหนอตามอาการและความรู้สึก สัมมาอรหัง เพ่งพระพุทธรูป เพ่งกสิณ หรือสวด ท่องคำบริกรรมอื่นๆ

เมื่อเอาสติ สมาธินำหน้าอย่างนี้ ซึ่งที่จะต้องเกิดตามมาเป็นผลและความเกี่ยวเนื่องก็คือ นิวรณ์ธรรมทั้ง 5 ปีติ ปัสสัทธิ นิมิต ฌาณ

สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ฝึกหัดปฏิบัติธรรมใหม่ๆเป็นประจำและเป็นปัญหาที่แตกลูกแตกหลานออกไปให้แก้ไม่รู้จบก็คือเรื่องที่เป็นผลสืบเนื่องมาจาก ปีติและนิมิต (สังเกตดูจากเรื่องราวในปัญหาของผู้ปฏิบัติที่กรัชกายมักเอามาถามส่วนใหญ่เป็นเรื่องของ ปีติ กับ นิมิต แทบทั้งสิ้น)

การแก้ไขปัญหาจึงต้องเข้มข้น สนใจ ในเรื่องของปีติและนิมิตให้มากเป็นสำคัญ

ปีติเกิดขึ้นเสมอเมื่อจิตจะเริ่มเข้าสู่สมาธิ มีอาการอารมณ์ต่างๆของปีติมากมาย ถ้าแยกตามตำราก็มี 5 กลุ่ม แต่ถ้าพิจารณาตามอาการของผู้ปฏิบัติดูมีเยอะแยะหลากหลายมากมาย

ผู้ปฏิบัติจะมีปัญหากับปีติเพราะ สติและสัมปชัญญะขาดหลุดไปจากกรรมฐานหรือคำบริกรรม จึงเกิดการสังขาร ปรุงแต่ง คิดนึกแตกลูกหลานเรื่องราวพิสดารต่างๆออกไปตามลักษณะอาการของปีติ

วิธีแก้ อย่าแก้ที่เรื่องที่ปรุงออกไปด้วยอำนาจของปีติ เพราะมันจะหลากหลายและไม่รู้จบ

จงแก้ที่ความขาดสติและสัมปชัญญะของผู้ปฏิบัติโดยเน้นย้ำให้กำหนดสติอยู่กับกรรมฐานหรือคำบริกรรมให้ทันปัจจุบันอารมณ์

เช่นคนที่ฝึกทางหนอ ถ้ามีอาการซาบซ่า ขนลุกเกิดขึ้น อาจใช้คำว่า "รู้หนอๆๆ "ไปจนกว่าปีตินั้นจะเบาลงแล้วมีอารมณ์ใหม่มาแทน ก็ให้หนอที่อารมณ์ใหม่ ถ้าไม่มีอะไรก็กลับมาที่ พองหนอยุบหนอ

คนที่ฝึกพุทโธ ก็ ให้มีสติรู้ว่าปีติเกิดกับกาย แล้วดึงสติกลับมาไว้ที่พุทโธต่อไป พุทโธให้ถี่ๆยิ่งขึ้น จนความรู้สึกปีตินั้นดับไปจากความรับรู้ จะนึกก็นึกพุทโธ จะคิด ก็คิดพุทโธ จะรู้สึกก็รู้สึกพุทโธ จะเห็นก็เห็นแต่คำบริกรรมพุทโธ จะได้ยินก็ให้ได้ยินแต่เสียงพุทโธ เอาพุทโธมาตัดอารมณ์อื่นทิ้งให้หมด

ปีติจะมีอารมณ์ลูกให้ปรุงแต่งไม่เยอะเท่าน นิมิต แต่มีอารมณ์หนึ่งที่ต้องข้ามให้ได้คือ เมื่อมีปีติเกิดอารมณ์และท่าทางแปลกๆแล้วก็เกิด "กลัว" ขึ้นมา กลัว ก็ให้รู้ว่ากลัว บริกรรม "กลัวหนอ ๆ ๆ ๆ "หรือ "พุทโธ ๆ ๆ ๆ"ถี่ๆจนความกลัวนั้นดับไป วั้นหลังก็จะข้าม "ความกลัว" ได้

นิมิต คือรูปที่เกิดในจิต.....ถ้าสติสัมปชักญญะไม่รู้ทัน นิมิตจะถูกจิตปรุงไปเป็นเรื่องราวต่างๆแตกลูกแตกหลานออกไปมากมาาย

การแก้นิมิต ก็คล้ายกับการแก้ปีติ คือให้เรียกสติสัมปชัญญะกลับมารู้ตัวรู้หน้าที่ ทำงานหลัก คือกำหนดพุทโธ หรือหนอ ตามผัสสะ ความรู้สึกและอารมณ์ให้ทันปัจจุบัน

อโศกะยังชอบใจและขอบพระคุณหลวงพ่ออาจารย์เมธา ที่สำนักวิปัศศนากรรมฐาน น้ำบ่อหลวง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่ ที่ท่านมีคำสอนวิธีแก้อารมณ์ทุกอย่างของโยคีผู้ปฏิบัติว่า

"โยม กำหนดถี่ๆ กำหนดให้ทันปัจจุบัน".....(หมาายถึงกำหนดหนอให้ถีๆและทันปัจจุบันอารมณ์)

ดังนี้เป็นต้น

เคสที่กรัชกายถามครั้งนี้ ก็จงแก้ที่จุดเริ่มต้นปีติ และนิมิต อย่าตามไปแก้เรื่องที่เขาฟุ้งปรุงออกไป หรือเรื่องที่เป็นลูกหลานของปีติและนิมิต เพราะมันจะแก้ไม่รู้จบ
:b38:
พอใจบ้างหรือยังกรัชกาย เลือกเฟ้นเอาหลักไป อย่าเอาฝอยไปนะ
:b12: :b12: :b12: :b12:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2014, 07:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เอาอีกขอรับนี่



อ้างคำพูด:
มีเรื่องจะเล่า และถามค่ะ

คืองี้ค่ะ ช่วงนึงของการทำสมาธิไปได้ซักครู่ คือยู่ดีๆ รู้สึกเหมือนมันหวิวๆ ที่ท้อง แล้วเราก็จะเห็นว่า เราลอยขึ้นเหมือนลูกโป่ง จากพื้นดินขึ้นไปในอากาศ มองลงมาเห็นทุ่งนาเหมือนพรม หลังคาบ้านเล็กๆ (เปรียบเทียบเหมือนเครื่องบินกำลัง เทคออฟ) ตอนก่อนที่เราจะลอย อาการในสมาธิจะเหมือนเวียนหัว มันหมุนๆ แล้วจะเหมือนความรู้สึกแบบ ใจหาย (ก่อนหน้านี้เคยเป็นครั้งนึง แต่ตอนนั้นตกใจ ตอนตัวกำลังจะลอย แล้วรีบลืมตาออกจากสมาธิทันที) แต่คราวนี้ลองอดทนพยายามไม่ตกใจแล้วรอดูว่าจะเกิดอะไรต่อไป... ความรู้สึกตอนที่ลอยอยู่ รู้สึกกลัวความสูง ลอยแบบสูงขึ้นๆ ไร้การควบคุม (แต่ตอนอยู่ในเครื่องบิน กลับชอบดูวิวข้างล่างซะงั้น)

ทีนี้ พอซักพักนึง เราก็ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาอยู่เหนือแนวเมฆ คือ มองลงไปข้างล่าง เห็นกลุ่มปุยเมฆเป็นพื้นแทนพื้นดิน มองขึ้นไปรอบๆ ท้องฟ้าเป็นสีขาว แต่จะมีอยู่บริเวณนึง เป็นสีออกม่วงอ่อนผสมแดงอ่อนๆ คล้ายเวลาที่อาทิตย์จะตกดิน แต่ไม่เห็นดวงอาทิตย์นะคะ แล้วก็ลอยเคว้งอยู่อย่างนั้นไปเรื่อยๆ

เราอยากพิสูจน์ว่า นี่เราตัวลอยจริงหรือลอง เราแอบขยับก้นดู ก็ปรากฏว่า ตัวเราก็ยังนั่งอยู่นี่นา แต่ในใจมันหวิวๆท้องอ่ะค่ะ (เปรียบเทียบกับเวลาเรานั่งรถลงจากสะพาน หรือ ถนนที่ลาดชันลงมา มันจะรู้สึกวูบๆ หวิวตรงท้อง อย่างงั้นเลยค่ะ)

คำถามค่ะ...

- อาการแบบนี้ในสมาธิ เรียกว่าอะไรคะ?

- อาการนี้ใช่ จิตหลุด ไหมคะ?

- ถ้ามีอาการอย่างนี้อีก เราควรทำอย่างไร ต้องกำหนดอะไรไหมคะ? (ตั้งแต่นั่งสมาธิมาประมาณเดือนนึง มีอาการลอยแบบนี้สองสามครั้ง)

- มีใครเป็นแบบเราบ้างไหมคะ?




อโศกจะว่ายังไง :b32:


ชีวิต หรือขันธ์ ๕ หรือ นามรูป หรือกายใจ มันซับซ้อนลึกซึ้งยากจะเข้าใจ บอกไม่เชื่อ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ก.พ. 2014, 07:48, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.พ. 2014, 07:48 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เอาอีกขอรับนี่



อ้างคำพูด:
มีเรื่องจะเล่า และถามค่ะ

คืองี้ค่ะ ช่วงนึงของการทำสมาธิไปได้ซักครู่ คือยู่ดีๆ รู้สึกเหมือนมันหวิวๆ ที่ท้อง แล้วเราก็จะเห็นว่า เราลอยขึ้นเหมือนลูกโป่ง จากพื้นดินขึ้นไปในอากาศ มองลงมาเห็นทุ่งนาเหมือนพรม หลังคาบ้านเล็กๆ (เปรียบเทียบเหมือนเครื่องบินกำลัง เทคออฟ) ตอนก่อนที่เราจะลอย อาการในสมาธิจะเหมือนเวียนหัว มันหมุนๆ แล้วจะเหมือนความรู้สึกแบบ ใจหาย (ก่อนหน้านี้เคยเป็นครั้งนึง แต่ตอนนั้นตกใจ ตอนตัวกำลังจะลอย แล้วรีบลืมตาออกจากสมาธิทันที) แต่คราวนี้ลองอดทนพยายามไม่ตกใจแล้วรอดูว่าจะเกิดอะไรต่อไป... ความรู้สึกตอนที่ลอยอยู่ รู้สึกกลัวความสูง ลอยแบบสูงขึ้นๆ ไร้การควบคุม (แต่ตอนอยู่ในเครื่องบิน กลับชอบดูวิวข้างล่างซะงั้น)

ทีนี้ พอซักพักนึง เราก็ค่อยๆ โผล่ขึ้นมาอยู่เหนือแนวเมฆ คือ มองลงไปข้างล่าง เห็นกลุ่มปุยเมฆเป็นพื้นแทนพื้นดิน มองขึ้นไปรอบๆ ท้องฟ้าเป็นสีขาว แต่จะมีอยู่บริเวณนึง เป็นสีออกม่วงอ่อนผสมแดงอ่อนๆ คล้ายเวลาที่อาทิตย์จะตกดิน แต่ไม่เห็นดวงอาทิตย์นะคะ แล้วก็ลอยเคว้งอยู่อย่างนั้นไปเรื่อยๆ

เราอยากพิสูจน์ว่า นี่เราตัวลอยจริงหรือลอง เราแอบขยับก้นดู ก็ปรากฏว่า ตัวเราก็ยังนั่งอยู่นี่นา แต่ในใจมันหวิวๆท้องอ่ะค่ะ (เปรียบเทียบกับเวลาเรานั่งรถลงจากสะพาน หรือ ถนนที่ลาดชันลงมา มันจะรู้สึกวูบๆ หวิวตรงท้อง อย่างงั้นเลยค่ะ)

คำถามค่ะ...

- อาการแบบนี้ในสมาธิ เรียกว่าอะไรคะ?

- อาการนี้ใช่ จิตหลุด ไหมคะ?

- ถ้ามีอาการอย่างนี้อีก เราควรทำอย่างไร ต้องกำหนดอะไรไหมคะ? (ตั้งแต่นั่งสมาธิมาประมาณเดือนนึง มีอาการลอยแบบนี้สองสามครั้ง)

- มีใครเป็นแบบเราบ้างไหมคะ?




อโศกจะว่ายังไง :b32:

:b12: :b12: :b12:
อ้าว!.....หาเจอแล้วเหรอ "รวดเร็วปานกามนิตหนุ่ม" เลยนี่ กรัชกาย
:b41:
อารมณ์ของน้องคนนี้ มีจุดเกิดเรื่องอยู่ 2 ที่

1.หวิวๆที่ท้อง เป็นปีติ.........(เตือนว่าจิตกำลังจะเข้าสู่สมาธิแล้วนะ)

2.เห็นตัวลอย และเรื่องราวต่างๆที่แตกลูกแตกหลานสังขารออกไปนั้น เป็นนิมิตและผลย่อยของนิมิตร

อย่าไปแก้เรื่องที่เขาสังขารออกไป

จงสอบถามเขาใหม่ให้ดีๆ ว่า

1.ตอนที่ท้องวาบๆหวิวๆนั้น สติรู้ทันหรือเปล่า สัมปชัญญะ รู้ตัวไหมว่าเธอกำลังมีหน้าที่ทำอะไร......กลับมาสู่การกำหนด กรรมฐาน หรือคำบริกรรมที่เธอต้องใช้ ตั้งหน้าเจริญสติและสัมปชัญญะต่อไป เดี๋ยวอาการของปีติทั้งหลายเขาก็จะจางไป ดับไป สลายไป ไม่มารบกวนได้อีก

"กำหนดถี่ๆ กำหนดให้ทันปัจจุบัน"

2.ตอนที่นิมิตเห็นตัวลอยเกิดสติรู้ทันหรือเปล่า สัมปชัญญะ รู้ตัวไหมว่าเธอกำลังมีหน้าที่ทำอะไร......กลับมาสู่การกำหนด กรรมฐาน หรือคำบริกรรมที่เธอต้องใช้ ตั้งหน้าเจริญสติและสัมปชัญญะต่อไป เดี๋ยวอาการของนิมิตทั้งหลายเขาก็จะจางไป ดับไป สลายไป ไม่มารบกวนได้อีก

"กำหนดถี่ๆ กำหนดให้ทันปัจจุบัน"
:b36:
:b37:
:b38:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 17 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 149 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร