วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 10:23  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:

คนที่มุ่งมั่นแน่วแน่ เป็นหนึ่งอยู่บนเส้นทางอันเอกเส้นเดียว ไม่เหลียวแลไปทางอื่นแล้ว ปฏิจจสมุปบาทก็ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งนักทั้งอนุโลมและปฏิโลม จะมีความสับสนอะไรในชีวิตอีกเล่า กรัชกาย ฤากรัชกาายกำลังเป็นเช่นนั้น


อ้างคำพูด:
ปฏิจจสมุปบาทก็ชัดเจนแจ่มแจ้งยิ่งนักทั้งอนุโลมและปฏิโลม จะมีความสับสนอะไรในชีวิตอีกเล่า


งั้นก็ ขอถามหน่อย ชีวิต กับคนหรือมนุษย์เหมือนกันหรือต่างกัน :b14:



ถามจริงๆนะขอรับ อย่าคิดว่าถามกวนหรือถามหาเรื่อง อโศกแยกแยะชีวิต กับ คน,มนุษย์ออกจากกันยังไง :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 05:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:


กบนอกกะลา เขียน:
สังเกตุ....คือ..สังกัปปะ...ของอโสกะ..นี้ฝากใว้ก่อนนะ....
:b23: :b23:

เอานี้กอน...
กบนอกกะลา เขียน:
โสดาบัน...ดูจาก..สังโยชน์3 ตัวแรก..ง่ายสุด..ว่ามั้ยครับ..อโสกะ

สักกายทิฏฐิ....หมดไปแล้วนี้....ปกติมีอารมณ์แบบไหนครับ...ที่ดูเหมือนว่า..มันต่างจากแต่ก่อน?

:b38:
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ที่สักกายทิฏฐิตายขาดไปแล้ว ที่ชัดเจนมากตอนใหม่ๆคือ

ลิกตะโต.......ความกลวง ว่างเปล่าอยู่ภายใน คลัายกับไม่มีผู้รับและตอบโต้กับผัสสะและเวทนาทั้งหลาย แต่ความจริงยังมีผู้รับอยู่แต่เป็นผู้รับที่ละเอียดอยู่ลึกๆภายใน การตอบโต้ไม่โผงผางมุทะลุดุดันเหมือนเดิม

อสาระกัตถัง......ไม่เห็นความเป็นแก่นสารใดๆในสรรพสิ่ง

สุญโญ......ว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน

ความโกรธ เกิดยากขึ้น หรือโกรธไม่ค่อยเป็น สติรู้ทันความขุ่นมัวของจิตได้เร็ว

มีแต่เมตตา อยากจะให้ อยากจะช่วยเพื่อนมนุษย์และสัตว์โลก ไม่เอา ไม่สะสม

ถ้า่คิดจะล่วงศีล ใจจะสั่นมากๆและทำไม่ได้

มีสังขารุเปกขาญาณเป็นเครื่องอยู่เมื่อว่างเว้นจากกิจการ หน้าที่รับผิดชอบทางโลก

เอาเท่าที่นึกได้เท่านี้ก่อนนะครับ

อ้อของแถม

เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้นจะชัดเจน และซาบซึ่งมากตอนที่ปัจจเวกใหม่ๆ จนทำให้หมดสงสัยในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์


มีหัวใจสั่่นด้วย คิกๆๆ :b12:

มีอ้างอิงสังขารุเปกขาญาณ (ปัญญาระดับหนึ่ง) กับ ปัจจเวก-ขณญาณ (ปัญญาอีกระดับหนึ่ง)

จึงนำแบบมาวางแบให้ดู :b1: ยาวหน่อยนะ :b1:


แสดงระบบการปฏิบัติ สรุปตามแนวของคัมภีร์วิสุทธิมัคค์นั้น ซึ่งแสดงได้เป็นขั้นตอน


เบื้องแรก พึงเข้าใจความหมายของศัพท์สำคัญก่อน

วิสุทธิ แปลว่า ความหมดจด คือ ความบริสุทธิ์ที่สูงขึ้นเป็นขั้นๆ หมายถึง ธรรมที่ชำระสัตว์ให้บริสุทธิ์ ยังไตรสิกขาให้บริบูรณ์เป็นขั้นๆ ไปโดยลำดับ จนบรรลุจุดหมายคือนิพพาน จำแนกเป็น ๗ ขั้น ดังจะแสดงต่อไป

ปริญญา แปลว่า การกำหนดรู้ หรือทำความรู้จัก หมายถึง การทำความเข้าใจสิ่งต่างๆ โดยครบถ้วน หรือรอบด้าน แบ่งเป็น ๓ ขั้น คือ

๑) ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ รู้ตามสภาวะลักษณะ ได้แก่ รู้จักจำเพาะตัวของสิ่งนั้นตามสภาวะ ของมัน เช่นรู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนาคือสิ่งที่มีลักษณะเสวยอารมณ์ นี้คือสัญญา สัญญาคือสิ่งที่มีลักษณะกำหนดได้ หมายรู้ ดังนี้ เป็นต้น (= รู้ว่าคืออะไร)


๒) ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา คือ รู้ด้วยปัญญาที่หยั่งลึกซึ้งไปถึงสามัญลักษณะ ได้แก่ รู้ถึงการที่สิ่งนั้น ๆ เป็นตามกฎธรรมดา โดยพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เช่นว่า เวทนาและสัญญานั้น ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น (= รู้ว่า เป็นอย่างไร)


๓) ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้ คือ รู้ถึงขั้นที่ทำให้ถอนความยึดถือ เป็นอิสระจากสิ่งนั้นๆได้ ไม่เกิดความผูกพันหลงใหล ทำให้วางใจ วางท่าที และปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ได้ถูกต้อง เช่น เมื่อรู้ว่าสิ่งนั้นๆ เป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วก็ละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสิ่งนั้นๆ ได้ (= รู้ว่าจะทำอย่างไร)

วิปัสสนาญาณ แปลว่า ญาณ หรือ ปัญญาในวิปัสสนา หรือ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนา หรือ ญาณที่จัดเป็นวิปัสสนา ได้แก่ ความรู้ที่ทำให้เกิดความเห็นแจ้ง เข้าใจสภาวะของสิ่งทั้งหลายตามเป็นจริง ทำให้จิตหลุดพ้นจากกิเลสและกองทุกข์ได้ แบ่งเป็น ๙ ขั้น ดังจะแสดงต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 05:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อไป คือ สรุปสาระสำคัญของวิสุทธิมัคค์ทั้งหมด

ก. ระดับศีล (อธิสิลสิกขา)

๑. สีลวิสุทธิ ความหมดจดแห่งศีล คือ ประพฤติดี เลี้ยงชีวิตถูกต้อง มีศีลตามภูมิชั้นของตน คัมภีร์วิสุทธิมรรค กล่าวมุ่งเฉพาะการปฏิบัติของพระภิกษุ หมายเอา ปาริสุทธิศีล ๔ คือ

๑) ปาฏิโมกข์สังวรศีล ศีลคือความสำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นจากข้อห้าม ทำตามข้ออนุญาต รักษาวินัย ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย

๒) อินทรียสังวรศีล ศีลคือความสำรวมอินทรีย์ ได้แก่ ระวังไม่ให้อกุศลธรรมความชั่วครอบงำจิตใจในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง ๖

๓) อาชีวปาริสุทธิศีล ศีลคือความบริสุทธิ์แห่งอาชีวะ ได้แก่ เลี้ยงชีวิตโดยทางชอบธรรม

๔) ปัจจัยสันนิสิตศีล ศีลที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย ๔ ได้แก่ การใช้สอยปัจจัย ๔ ด้วยปัญญาพิจารณาให้เป็นไปตามความหมายและประโยชน์ของสิ่งนั้นๆ ไม่บริโภคด้วยตัณหา ปัจจยปฏิเสวนศีล ก็เรียก

นอกจากศีล ท่านแนะนำให้เลือกสมาทานคือถือธุดงค์ 13 บางข้อ ที่ทรงอนุญาตและเหมาะกับตน เพื่อส่งเสริมความมักน้อยสันโดษ สงัด เพียร และเลี้ยงง่าย เป็นต้น เป็นการขูดเกลากิเลส อันจะช่วยให้รักษาศีลได้บริสุทธิ์เป็นอย่างดี และช่วยให้บำเพ็ญข้อวัตรทั้งหลายได้สำเร็จพร้อม เป็นการเกื้อกูลแก่ภาวนาต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข. ระดับสมาธิ (อธิจิตตสิกขา)

๒. จิตตวิสุทธิ ความหมดจดแห่งจิต คือ ฝึกอบรมจิต หรือพัฒนาคุณภาพและสมรรถภาพของจิต จนเกิดสมาธิ พอเป็นบาท หรือเป็นปทัฏฐานแห่งวิปัสสนา
คัมภีร์วิสุทธิมรรคว่า ได้แก่ อุปจารสมาธิ จนถึงอัปปนาสมาธิ ในฌานสมาบัติทั้ง ๘ และแสดงวิธีเจริญสมาธิ จนถึงได้ผลพิเศษ คือ โลกิยอภิญญาทั้ง ๕

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 07:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค. ระดับปัญญา (อธิปัญญาสิกขา)

1) ขั้นญาตปริญญา คือ รู้จักสภาวะ

-ขั้นทุกขววัฏฐาน คือ กำหนดทุกขสัจจ์

3. ทิฏฐิวิสุทธิ - ความหมดจดแห่งทิฏฐิ คือ ความรู้เข้าใจมองเห็นนามรูปตามสภาวะที่เป็นจริง ทำให้ระงับความเข้าใจผิดว่า เป็นสัตว์บุคคลเสียได้ เริ่มดำรงในภูมิแห่งความไม่หลงผิด บางทีกำหนดเรียกเป็นญาณอย่างหนึ่ง มีชื่อว่า

๐) นามรูปปริจเฉทญาณ (1) หรือ เรียกว่า สังขารปริจเฉท บ้าง นามรูปววัฏฐาน บ้าง หมายถึง ความรู้จักรูปธรรมนามธรรมว่า สิ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ พอนับได้ว่าเป็นของจริง ก็มีแต่รูปธรรมและนามธรรมเท่านั้น และกำหนดได้ว่า ในการรับรู้และเคลื่อนไหวต่างๆ ของตนนั้น อะไรเป็นรูปธรรม อะไรเป็นนามธรรม เช่น เมื่อเห็นรูป จักขุประสาท แสง และรูปหรือสี เป็นรูปธรรม จักขุวิญญาณ หรือ การเห็น เป็นนามธรรม ดังนี้เป็นต้น


-ขั้นสมุทัยววัฏฐาน คือ กำหนดสมุทัยสัจ

4. กังขาวิตรณวิสุทธิ - ความหมดจดแห่งญาณ เป็นเหตุข้ามพ้นความสงสัย หรือ ความบริสุทธิ์ขั้นที่ทำให้กำจัดความสงสัยได้ คือ กำหนดรู้ปัจจัยแห่งนามรูป ตามแนวปฏิจจสมุปบาทก็ตาม ตามแนวกฎแห่งกรรมก็ตาม ตามแนวกระบวนการรับรู้ก็ตาม ตามแนววัฏฏะ 3 ก็ตาม หรือ ตามแนวอื่นก็ตามว่า นามธรรมและรูปธรรมล้วนเกิดจากเหตุปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่กันและกัน อาศัยกัน อันเป็นความรู้ที่ทำให้สิ้นความสงสัยเกี่ยวกับกาลทั้ง 3 คือ อดีต อนาคต และปัจจุบัน ความรู้นี้เป็นญาณขั้นหนึ่ง บางทีเรียกว่า

๐) นามรูปปัจจัยปริคคหญาณ (2) แปลว่า ญาณที่กำหนดปัจจัยของนามรูป ญาณขั้นนี้ เรียกได้หลายชื่อว่า ธัมมัฏฐิติญาณ บ้าง ยถาภูตญาณ บ้าง สัมมาทัสสนะ บ้าง

ผู้ประกอบด้วยญาณขั้นนี้ พระอรรถกถาจารย์เรียกว่า “จูฬโสดาบัน” คือพระโสดาบันน้อย เป็นผู้มีคติ คือ ทางไปก้าวหน้า ที่แน่นอนในพระพุทธศาสนา.


2) ขั้นตีรณปริญญา คือ รู้สามัญลักษณะ หรือ หยั่งถึงไตรลักษณ์

-ขั้นมัคคววัฏฐาน คือ กำหนดมรรคสัจ (เฉพาะข้อ 5)

5. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ - ความหมดจดแห่งญาณ ที่รู้เห็นว่าเป็นทางหรือมิใช่ทาง คือ ยกเอารูปธรรมและนามธรรมทั้งหลายขึ้นมาพิจารณาเป็นหมวดๆ ตามแนวไตรลักษณ์ทีละอย่างๆ เช่น พิจารณารูป โดยอนิจจลักษณะ โดยทุกขลักษณะ โดยอนัตตลักษณะ แล้วพิจารณาเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณตามลำดับ และโดยลักษณะแต่ละลักษณะไปทีละอย่าง แล้วพิจารณาข้อธรรมอื่นๆ เช่น ในหมวดอายตนะ 12 ปฏิจจสมุปบาท 12 และอะไรก็ได้ทุกๆอย่าง ฯลฯ (รวมความก็อยู่ในขันธ์ 5 นั่นเอง) จนเริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งสังขารทั้งหลาย เรียกว่า เกิดเป็น ตรุณวิปัสสนา คือ วิปัสสนาญาณอ่อนๆ


ในช่วงนี้ ก็จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 ประการขึ้นมา ชวนให้หลงผิดว่าบรรลุมรรคผลแล้ว หรือหลงยึด เอาวิปัสสนูปกิเลสนั้นว่าเป็นทางที่ถูก ถ้าหลงไปตามนั้น ก็เป็นอันพลาดจากทาง เป็นอันปฏิบัติผิดไป แต่ถ้ามีสติสัมปชัญญะแก้ไขได้ ก็จะกำหนดแยกได้ว่า วิปัสสนูปกิเลส 10 นั้นไม่ใช่ทาง แล้วกำหนดวิปัสสนาญาณที่ดำเนินถูกทาง พ้นจากอุปกิเลสแล้วว่า นั่นแหละเป็นทาง หรือมรรคาแท้จริง ซึ่งจะพึงเดินต่อไป เมื่อความรู้นี้เกิดขึ้นแล้ว ก็เรียกว่า มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ.


ในวิสุทธิข้อนี้ มีเนื้อหาซับซ้อนที่พึงทำความเข้าใจ คือ


การเจริญวิปัสสนาในขั้นที่จะให้เกิดวิสุทธิข้อนี้ เรียกว่า นยวิปัสสนา (การเจริญวิปัสสนาโดยนัย คือ พิจารณาโดยจับแง่ความหมาย ตามแนววิธีที่ท่านแสดงไว้ในพระบาลี เช่น ว่า รูปอย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม จะเป็นอดีต อนาคต หรือปัจจุบัน ก็ตาม ภายในหรือภายนอกก็ตาม ฯลฯ ล้วนไม่เที่ยงดังนี้ เป็นต้น)

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า กลาปสัมมสนะ (การพิจารณาเป็นหมวดๆ หรือรวบเป็นกลุ่มๆ อย่างที่อธิบายแล้วข้างบน) และความรู้ที่เกิดขึ้นในขั้นนี้ บางทีจัดกันเป็นญาณขั้นหนึ่ง เรียกว่า

๐) สัมมสนญาณ (3) แปลว่า ญาณที่พิจารณา หรือตรวจตรา (นามรูปตามแนวไตรลักษณ์)

เมื่อพิจารณาด้วยสัมมสนญาณไปจนญาณแก่กล้าขึ้น เริ่มมองเห็นความเกิดขึ้น. และความเสื่อมสลายไปของสิ่งทั้งหลาย มองเห็นความแปรปรวนของปัจจุบันธรรมว่า ธรรมเหล่านี้ ไม่มีแล้วก็มีขึ้น มีขึ้นแล้วก็ดับล่วงไป มองเห็นการเกิดและดับสลายทั้งโดยปัจจัย และเป็นขณะๆ ไป ก็เริ่มเกิดญาณใหม่เรียกว่า อุทยัพพยานุปัสสนา แต่ยังเป็นญาณใหม่ๆอยู่และญาณนี้ ตอนนี้เองที่เรียกว่า ตรุณวิปัสสนา หรือ ตรุณวิปัสสนาญาณ (วิปัสสนาญาณอ่อนๆ)


ผู้ได้ตรุณวิปัสสนานี้ เรียกว่า อารัทธวิปัสสก (ผู้เริ่มเห็นแจ้ง หรือผู้ได้เริ่มวิปัสสนาแล้ว) และในตอนนี้เอง วิปัสสนูปกิเลส เช่น โอภาส คือ แสงสว่างแสนงาม เป็นต้น จะเกิดขึ้น ชวนให้หลงผิดและติดใจ ถ้ากำหนดรู้เท่าทัน ก็ผ่านพ้นไปได้ กำหนดแยกว่าอะไรเป็นทาง อะไรไม่ใช่ทางได้แล้ว ก็เป็นอันจบสิ้นวิสุทธิข้อนี้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


3) ขั้นปหานปริญญา คือ รู้ถึงขั้นละความหลงผิด ถอนตัวเป็นอิสระได้

6. ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ - ความหมดจดแห่งญาณอันรู้เห็นทางดำเนิน
โดยสาระแท้ๆ หมายถึงวิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอดด้วยอำนาจวิปัสสนาญาณ 8 กับวิปัสสนาญาณข้อที่ 9 คือ สัจจานุโลมิกญาณ แต่พูดอย่างกว้างๆ วิสุทธิข้อนี้ ได้แก่ วิปัสสนาญาณ 9 นั่นเอง คือ นับตั้งแต่ อุทยัพพยญาณ ที่พ้นจากวิปัสสนูปกิเลสแล้ว เป็นต้นไป จนสุดทางแห่งความเป็นปุถุชน หรือสุดวิปัสสนา วิปัสสนาญาณ 9 มีดังนี้


1. อุทยัพพยานุปัสสนา หรือเรียกสั้นๆว่า อุทยัพพยญาณ (4) ญาณหรือปัญญา อันตามเห็น

ความเกิดดับ คือ พิจารณาความเกิดขึ้นและความดับไป แห่งเบญจขันธ์ (ขันธ์ห้า ) จนเห็นปัจจุบัน

ธรรมที่กำลังเกิดขึ้น และดับสลายไปๆ ชัดเจน เข้าใจภาวะที่เป็นของไม่เที่ยง ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่

ได้ ไม่อยู่ในบังคับบัญชาตามความอยากของใคร หยั่งทราบว่า สิ่งทั้งหลาย เกิดขึ้น ครั้นแล้ว ก็ต้องดับ

ไป ล้วนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปทั้งหมด เมื่อเกิดการรับรู้ หรือเคลื่อนไหวใดๆ ในแต่ละขณะ ก็มองเห็น

นามธรรม รูปธรรม และตัวรู้หรือผู้รู้ ที่เกิดขึ้นแล้วทั้งรูปธรรม นามธรรม และตัวรู้นั้นก็ดับไปพร้อมกัน

ทั้งหมด เป็นความรู้เห็นชัดแก่กล้า (พลววิปัสสนา) ทำให้ละนิจจสัญญา สุขสัญญา และอัตตสัญญาได้


2. ภังคานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นๆ ว่า ภังคญาณ (5) ญาณอันตามเห็นความสลาย คือ เมื่อเห็นความเกิดดับเช่นนั้น ชัดเจนถี่เข้าๆ ก็จะคำนึงเห็นเด่นชัด ในส่วนความดับที่เป็นจุดจบสิ้น มองเห็นแต่อาการที่สิ่งทั้งหลาย ดับไปๆ เห็นว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวง ล้วนจะต้องดับสลายไปทั้งหมด


3. ภยตูปัฏฐานญาณ หรือสั้นว่า ภยญาณ (6) ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว คือ เมื่อพิจารณาเห็นแต่ความแตกสลาย อันมีแก่สิ่งทั้งปวงหมดทุกอย่างเช่นนั้นแล้ว สังขารทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นไปในภพใดคติใดก็ตาม ก็ปรากฏเป็นของน่ากลัว เพราะล้วนแต่จะต้องแตกสลายไป ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้น


4. อาทีนวานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า อาทีนวญาณ (7) ญาณอันคำนึงเห็นโทษ คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารทั้งปวง ล้วนต้องแตกสลายไป เป็นของน่ากลัว ไม่ปลอดภัยทั้งสิ้นแล้ว ย่อมคำนึงเห็นสังขารทั้งปวงนั้นว่าเป็นโทษ เป็นสิ่งที่มีความบกพร่อง จะต้องระคนอยู่ด้วยทุกข์


5. นิพพิทานุปัสสนาญาณ เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ (8) ญาณอันคำนึงเห็นความหน่าย คือ เมื่อพิจารณาเห็นสังขารว่าเป็นโทษเช่นนั้นแล้ว ย่อมเกิดความหน่าย ไม่เพลิดเพลินติดใจ


6. มุญจิตุกัมยตาญาณ (ชื่อเดียวกัน 9) ญาณหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ เมื่อหน่ายสังขารทั้งหลายแล้ว ย่อมปรารถนาที่จะพ้นไปเสียจากสังขารเหล่านั้น


7. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ หรือ ปฏิสังขาญาณ (10) ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อให้เห็นทาง คือ เมื่อต้องการจะพ้นไปเสีย จึงกลับหันไปยกเอาสังขารทั้งหลาย ขึ้นมาพิจารณากำหนดด้วยไตรลักษณ์ เพื่อมองอุบายที่จะปลดเปลื้องออกไป


8. สังขารุเปกขาญาณ (ชื่อเดียวกัน 11) ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือ เมื่อ

พิจารณาสังขารทั้งหลายต่อไป ย่อมเกิดความรู้เห็นสภาวะของสังขารตามเป็นจริงว่า มันก็เป็นอยู่เป็น

ไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา หรือ เป็นธรรมของมันอย่างนั้นเอง จึงวางใจเป็นกลางทำเฉยได้ ไม่

ยินดียินร้าย ไม่ขัดใจติดใจในสังขารทั้งหลาย แต่นั้น ก็มองเห็นนิพพานเป็นสันติบท ญาณจึงโน้ม

น้อมที่จะมุ่งแล่นไปยังนิพพาน เลิกละความเกี่ยวเกาะกับสังขารทั้งหลาย ญาณข้อนี้ จัดเป็นสิขาปปัตต

วิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่ถึงจุดสุดยอด และเป็นวุฏฐานคามินีวิปัสสนา คือ วิปัสสนาที่เชื่อมถึงมรรค

อันเป็นที่ออกจากสิ่งที่ยึด หรือออกจากสังขาร


9. สัจจานุโลมิกญาณ หรือ อนุโลมญาณ (12) ญาณอันเป็นไปโดยอนุโลมแก่การหยั่งรู้อริยสัจ คือ เมื่อวางใจเป็นกลางต่อสังขารทั้งหลาย ไม่พะวง และญาณก็โน้มน้อมแล่นมุ่งตรงสู่นิพพานแล้ว ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจ ย่อมเกิดขึ้นในลำดับถัดไป เป็นขั้นสุดท้ายของวิปัสสนาญาณ (วิปัสสนาญาณ 9 สุดแค่นี้)


ต่อจากอนุโลมญาณ ก็จะเกิด โคตรภูญาณ (13) (ญาณครอบโคตร คือ ญาณที่เป็นหัวต่อ ระหว่างภาวะปุถุชน กับ ภาวะอริยบุคคล) มาคั่นกลาง แล้วจึงเกิดมรรคญาณ ให้สำเร็จความเป็นอริยบุคคลต่อไป

โคตรภูญาณนี้ ท่านว่าอยู่ระหว่างกลาง ไม่จัดเข้าในวิสุทธิ ไม่ว่าข้อ 6 หรือ ข้อ 7 แต่ให้นับเข้าเป็นวิปัสสนาได้ เพราะอยู่ในกระแสของวิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 07:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


7. ญาณทัสสนวิสุทธิ - ความหมดจดแห่งญาณทัศนะ คือ ความรู้อริยมรรค 4 หรือ มรรคญาณ (14) นั่นเอง ซึ่งเกิดถัดจากโคตรภูญาณ เมื่อ มรรคญาณเกิดแล้ว ผลญาณ (15) ก็เกิดขึ้นในลำดับถัดไปจากมรรคญาณนั้นๆ ตามลำดับของแต่ละขั้นของความเป็นอริยบุคคล ความเป็นอริยบุคคลย่อมเกิดขึ้นโดยวิสุทธิ ข้อนี้ เป็นอันบรรลุที่หมายสูงสุดแห่งวิสุทธิ หรือไตรสิกขา หรือการปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนาทั้งหมด.


ถัดจากบรรลุมรรคผลด้วยมรรคญาณ และ ผลญาณแล้ว ก็จะเกิดญาณอีกอย่างหนึ่งขึ้นพิจารณา มรรค ผล พิจารณากิเลสที่ละแล้ว กิเลสที่ยังเหลืออยู่ และพิจารณานิพพาน (เว้นพระอรหันต์ ซึ่งไม่มีการพิจารณากิเลสที่ยังเหลืออยู่) เรียกว่า ปัจจเวกขณญาณ (16) * เป็นอันจบกระบวนการบรรลุมรรคผลนิพพานขั้นหนึ่งๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 07:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


*ญาณต่างๆที่มีเลขลำดับกำกับอยู่ใน ( ) ข้างหลังนั้น พึงทราบว่า ได้แก่ ญาณที่ในสมัยหลังๆ ได้มีการนับรวมเข้าเป็นชุด เรียกว่า ญาณ 16 หรือ โสฬสญาณ อันเป็นที่รู้จักกันดีในวงการบำเพ็ญวิปัสสนา โดยเฉพาะใช้ในการตรวจสอบที่เรียกว่า ลำดับญาณ และพึงทราบว่า ในญาณ 16 นี้ เฉพาะมรรคญาณ และผลญาณ สองอย่างเท่านั้น เป็นญาณขั้นโลกุตระ ส่วนอีก 14 อย่างที่เหลือ เป็นญาณขั้นโลกีย์ทั้งสิ้น


อนึ่ง พึงทราบว่า วิปัสสนาญาณ 9 นั้น คัมภีร์อภิธัมมัตถสังคหะนับรวม ธัมมสนญาณ (3) เข้าในชุดด้วย จึงเป็น วิปัสสนาญาณ 10 (สงฺคห.55)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 08:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
สังเกตุ....คือ..สังกัปปะ...ของอโสกะ..นี้ฝากใว้ก่อนนะ....
:b23: :b23:

เอานี้กอน...
กบนอกกะลา เขียน:
โสดาบัน...ดูจาก..สังโยชน์3 ตัวแรก..ง่ายสุด..ว่ามั้ยครับ..อโสกะ

สักกายทิฏฐิ....หมดไปแล้วนี้....ปกติมีอารมณ์แบบไหนครับ...ที่ดูเหมือนว่า..มันต่างจากแต่ก่อน?

:b38:
สิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ที่สักกายทิฏฐิตายขาดไปแล้ว ที่ชัดเจนมากตอนใหม่ๆคือ

ลิกตะโต.......ความกลวง ว่างเปล่าอยู่ภายใน คลัายกับไม่มีผู้รับและตอบโต้กับผัสสะและเวทนาทั้งหลาย แต่ความจริงยังมีผู้รับอยู่แต่เป็นผู้รับที่ละเอียดอยู่ลึกๆภายใน การตอบโต้ไม่โผงผางมุทะลุดุดันเหมือนเดิม

อสาระกัตถัง......ไม่เห็นความเป็นแก่นสารใดๆในสรรพสิ่ง

สุญโญ......ว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน

ความโกรธ เกิดยากขึ้น หรือโกรธไม่ค่อยเป็น สติรู้ทันความขุ่นมัวของจิตได้เร็ว

มีแต่เมตตา อยากจะให้ อยากจะช่วยเพื่อนมนุษย์และสัตว์โลก ไม่เอา ไม่สะสม

ถ้า่คิดจะล่วงศีล ใจจะสั่นมากๆและทำไม่ได้

มีสังขารุเปกขาญาณเป็นเครื่องอยู่เมื่อว่างเว้นจากกิจการ หน้าที่รับผิดชอบทางโลก

เอาเท่าที่นึกได้เท่านี้ก่อนนะครับ

อ้อของแถม

เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้นจะชัดเจน และซาบซึ่งมากตอนที่ปัจจเวกใหม่ๆ จนทำให้หมดสงสัยในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์
:b45: :b45: :b45:






ความหลงในสภาวะที่เกิดขึ้น(อุปกิเลส)

"ลิกตะโต.......ความกลวง ว่างเปล่าอยู่ภายใน คลัายกับไม่มีผู้รับและตอบโต้กับผัสสะและเวทนาทั้งหลาย แต่ความจริงยังมีผู้รับอยู่แต่เป็นผู้รับที่ละเอียดอยู่ลึกๆภายใน การตอบโต้ไม่โผงผางมุทะลุดุดันเหมือนเดิม

อสาระกัตถัง......ไม่เห็นความเป็นแก่นสารใดๆในสรรพสิ่ง

สุญโญ......ว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน

ความโกรธ เกิดยากขึ้น หรือโกรธไม่ค่อยเป็น สติรู้ทันความขุ่นมัวของจิตได้เร็ว"




เป็นเรื่องของ กิเลส ที่ถูกกำลังสมาธิ(สมถะ) กดข่มเอาไว้

อวิชชาเป็นเหตุ ทำให้ไม่รู้ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้นว่า เกิดจากอะไร เป็นเหตุปัจจัย



เป็นเหตุให้ ไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น

ผัสสะที่เกิดขึ้น "ลิกตะโต.......ความกลวง ว่างเปล่าอยู่ภายใน คลัายกับ ไม่มีผู้รับและตอบโต้กับผัสสะและเวทนาทั้งหลาย แต่ความจริงยังมีผู้รับอยู่แต่เป็นผู้รับที่ละเอียดอยู่ลึกๆภายใน การตอบโต้ไม่โผงผางมุทะลุดุดันเหมือนเดิม"


เมื่อไม่รู้ชัดในผัสสะ ที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่รู้ชัดในเวทนาที่เกิดขึ้น

เวทนาที่เกิดขึ้น"ความโกรธ เกิดยากขึ้น หรือโกรธไม่ค่อยเป็น สติรู้ทันความขุ่นมัวของจิตได้เร็ว"



ตัณหาที่เกิดขึ้น บดบังสภาวะ(ความอยากมี อยากได้ อยากเป็น)
ทำให้ไม่รู้ชัดสภาวะ ที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริงว่า เพราะเหตุใด จึงมีสภาวะเกิดขึ้นแบบนี้



เมื่อไม่รู้ชัดในตัณหาที่เกิดขึ้น ทำให้ไม่รู้ชัดในอุปทาน ที่เกิดขึ้น(สีลัพพตุปาทาน)

อุปทานจึงเกิดขึ้น "ถ้าคิดจะล่วงศีล ใจจะสั่นมากๆและทำไม่ได้ "
(เป็นเรื่องของ สีลัพพตปรามาส ความยึดมั่นถือมั่นในศิลพรต)


ภพจึงบังเกิดขึ้น"มีแต่เมตตา อยากจะให้ อยากจะช่วยเพื่อนมนุษย์และสัตว์โลก ไม่เอา ไม่สะสม"


ถูกสมถะกดข่มไว้ ก็ยังไม่รู้
"มีสังขารุเปกขาญาณเป็นเครื่องอยู่เมื่อว่างเว้นจากกิจการ หน้าที่รับผิดชอบทางโลก"


"เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้นจะชัดเจน และซาบซึ่งมากตอนที่ปัจจเวกใหม่ๆ จนทำให้หมดสงสัยในพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์"

เมื่อให้อธิบาย มีแต่เอ่ยอ้างว่า เป็นปัจจัตตัง แล้วมาพูดทำนองว่า เรื่องปฏิจจสมุปบาทนั้น ชัดเจน
ใครๆก็พูดได้ เหมือนกันหมดทุกคน



แรกเริ่มสภาวะที่ทุกคนต้องเจอเหมือนกันหมด จะมีสภาวะแบบนี้ ดังที่ยกตัวอย่างมานี้

เป็นส่วนหนึ่งของสภาวะอุปกิเลส ที่เกิดขึ้น

เหตุของอวิชชาที่มีอยู่ ทำให้ไม่รู้จักวิธีการโยนิโสมนสิการ
ทำให้ไม่รู้ชัดในสภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง
เพราะ มีแต่อโยนิโสมนสิการ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 08:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
s006
อ้างคำพูด:
กบนอกกะลา .....แล้ว...มาที่วิจิกิจฉา..ละครับ...

ตอนขาดใหม่ๆ....มีอารมณ์แบบไหน...หลังจากวินาที..นั้น..

:b8:
โอ้!...พระพุทธเจ้านี่ช่างอัศจรรย์จริงหนอ พระธรรมนี่ช่างอัศจรรย์จริงหนอ พระสงฆ์นี่ช่างมีพระคุณยิ่งหนอ
ท่านไปรู้ได้อย่างไรว่า เมื่อความเห็นผิดขาดสะบั้นลงแล้วมันช่างสุขเย็น เบา สบาย กลวงโบ๋อยู่ข้างในเช่นนี้
หลังจากนั้นน้ำตาแห่งปีติก็เอ่อล้นออกมาเป็นนานสองนานกว่าจะระงับได้ หมดสงสัยในคุณแห่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ คำสวดที่ว่า สรณะอื่นของข้าพเจ้าไม่มี พระพุทธเจ้า (พระธรรม พระสงฆ์) เป็นสรณะอันประเสริฐสูงสุดของข้าพเจ้า.......ดังก้องขึ้นมาในจิตใจหลายนาที

:b27:
Kiss




ผู้ที่ติดอยู่ในสภาวะอุปกิเลส จะมีสภาวะดังกล่าวนี้ เกิดขึ้น เหมือนกันหมด
และจะมีคำพูดทำนองนี้ เหมือนกันหมด ถึงแม้ไม่ได้ลอกคำพูดกันมาก็ตาม
แต่อ่านแล้ว จะเหมือนลอกกันมาหมด


หากรู้จักโยนิโสมนสิการ จึงจะหลุดจากสภาวะอุปกิเลส ที่เกิดขึ้นนี้ได้



หากผู้แนะนำหลงสภาวะอยู่

ผู้ถูกแนะนำ ย่อมหลงตาม

ทั้งหมดนี้ล้วนเกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีต่อกันระหว่างผู้แนะนำกับผู้ถูกแนะนำ

และเกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีอยู่ และ เหตุที่กำลังสร้างให้เกิดขึ้นใหม่ ของผู้ถูกแนะนำ



ในดีมีเสีย ในเสียมีดี



ส่วนดี

บุคคลเหล่านี้ เป็นผู้มีศรัทธามาก ถึงแม้จะขาดขาดปัญญา(โยนิโสมนสิการ)

เมื่อถึงคราชีวิตจบสิ้นลง บุคคลเหล่านี้ ย่อมไปสู่สุคติอย่างแน่นอน




ส่วนเสีย

เหตุของอวิชชาที่ยังมีอยู่ ความประมาทที่ยังมีอยู่ การเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏสงสาร ย่อมมีอยู่

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 08:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตัวอย่างเป็นต้นนี้

ปัญหาใหญ่ต่อไป ที่จะขอคำปรึกษา คือนั่งสมาธิได้แค่แป๊ปเดียว ใจมันสั่งว่าเบื่อแล้ว เลิกๆ ลืมตาๆ เราเลยถามตัวเองว่าเลิกแล้วจะทำอะไร มันก็ตอบไม่ได้ หนังสือก็ไม่ได้อยากอ่าน นอนก็ไม่หลับ ไม่รู้ถ้าเลิกจะทำอะไร แล้วจะเลิกไปทำไม คิดงี้ก็นั่งต่อได้อีกสักพัก มันก็มาใหม่
เลยกำหนดว่า อยากเลิกหนอ อยากเลิกหนอ ก็ช่วยได้นิดนึง สักพักมาใหม่ เผลอนิดเดียวก็ออกจากสมาธิ

ช่วยด้วย แก้ยังไงคะ
เมื่อก่อนไม่เป็นอย่างนี้ นั่งสมาธิในห้องเรียน บางทีพระสั่งให้แผ่เมตตา ลืมตาแล้ว เรายังรู้สึกว่าจะให้นั่งต่อก็ได้สบายๆ
เดี๋ยวนี้ใจไม่นิ่งเป็นอย่างที่บอก แก้ยังไงดีคะ

ปล อาการนี้เป็นกับการสวดมนต์ด้วยนะคะ



ถ้าอโศกรู้ปริยัติ และเป็นนักปฏิบัติจริงแท้แล้วจะเห็นทะลุเลย คือ จิตหรือความคิดเกิดดับ เกิดดับ ...สลับไปมาเนืองกันไม่ขาดสาย และช่วงดับกับเกิด เกิดกับดับ มีระยะวิบหนึ่ง อาการเกิดๆดับของจิต วิบๆๆ นั่นแหละมันบีบคั้นผันแปร ที่เราเรียนรู้จากตำราเป็นลักษณะสามัญ

จะตัดเป็นช่วงตอนให้ดู ดูครับ
อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิได้แค่แป๊ปเดียว ใจมันสั่งว่าเบื่อแล้ว เลิกๆ ลืมตาๆ


อ้างคำพูด:
เราเลยถามตัวเองว่า เลิกแล้วจะทำอะไร
,

อ้างคำพูด:
มันก็ตอบไม่ได้


อ้างคำพูด:
คิดงี้ก็นั่งต่อได้อีกสักพัก


อ้างคำพูด:
มันก็มาใหม่


อ้างคำพูด:
เลยกำหนดว่า อยากเลิกหนอ อยากเลิกหนอ ก็ช่วยได้นิดนึง


อ้างคำพูด:
สักพักมาใหม่


อ้างคำพูด:
เผลอนิดเดียวก็ออกจากสมาธิ



ผู้ปฏิบัติท่านนี้ มีแววนักปฏิบัติกรรมฐานที่ดีอยู่ แต่กำหนดไม่ติดต่อ ใครก็ตามพึงจำไว้ว่าา ควรกำหนดรู้อารมณ์ทุกครั้งทุกๆขณะ ไม่ใช่กำหนดครั้งสองครั้งแล้วเลิก เกิดอีก กำหนดอีก ฯลฯ

เช่นที่เขาว่านี่

เลยกำหนดว่า อยากเลิกหนอ อยากเลิกหนอ ก็ช่วยได้นิดนึง


แสดงว่า กำหนดรู้ตามนั้นครั้งสองครั้งเลิก ความคิดวนมาอีก ไม่กำหนดรู้ตามนั้นอีก เกิดอีกเลยไปไม่เป็นเลยทีนี้


จิต (คิด) อยากเลิก ก็เอาความคิดนั่นเป็นอารมณ์กำหนดรู้ตามนั้นตรงๆ อยากเลิก...เป็นต้น

บางแห่งบางกลุ่ม บางคน ไปติดหนอ ยึดหนอ เหมือนคนติดพุทโธ คิกๆๆ :b32: ผิดครับผม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิต หรือ นามรูป หรือขันธ์ ๕ หรือกายใจ นำมาเรียกสะให้หมด :b32: จริงแท้แล้วพิสดารล้ำลึกนัก

มันหลอกเก่ง หลอกจนเจ้าของเองไปไม่เป็นเลย


อ้างคำพูด:
ผมนั่งสมาธิแล้วโดนต่อต่อยเข้ากลางหัวครับ กับ อะไรก็รู้ปาใส่

คืองี้ครับ พอผมนั่งแล้วมันมีตัวต่อมาบินอยู่เหนือหัวครับ แต่จับหรือสัมผัสไม่ได้ แต่เสียงตัวต่อชัดเจนมาก ผมเอามือปิดหัวไว้ เขาพยายามจะต่อยผมให้ได้ พอผมยอมให้เขาต่อย ก็เจ็บนะครับ แต่พอออกสมาธิแล้ว ไม่มีบาดแผล ไม่มีความเจ็บ ปกติดีทุกอย่าง? แล้วจะมีอีกครับ คือจะโดนอะไรคล้ายปลาไหลโยนใส่มือ หรือเหรียญบาท ปาใส่หน้า เสียงชัดเจนมากเลย แต่ตรวจดูแล้วก็ไม่มีอะไร ผมงงมากเลยครับ อ้อมีอีกอย่างครับ จะได้ยินคนพูดรัวๆเร็วๆ ดังไปไปหมด จับความไม่ได้
และรู้สึกว่ามีคนมาล้อม กับ จ้องมอง
ใครรู้ช่วยตอบผมทีครับ ผมงงไปหมดแล้ว



ปัญหาลักษณะนี้ หรือเหมือนมีมดไต่ตัวไรตอมตามเนื้อตามตัว ลืมตาดูได้ ดูสิมีจริงไหม ตัวต่อต่อยเราจริงไหม ไม่จริงหรอก สังขารมันหลอกเรา

นักปฏิบัติจะต้องรู้เข้าใจสภาวะเหล่านี้ด้วยตนเอง จึงจะผ่านมันไปได้ จะรู้ได้ก็ด้วยการกำหนดรู้มันตรงๆตามอาการ ตามความรู้สึก ฯลฯ ทุกครั้งทุกขณะ วิบๆไป โดยมีหลักใหญ่ คือ ลมเข้า ลมออก หรืออาการท้องพองท้องยุบ เป็นหลักยึดไว้ ส่วนอารมณ์นอกนี้่เป็นอารมณ์รอง แต๋ต้องรู้เท่าทันมัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ชีวิตนี้มีทั้งทุกข์ ทั้งความดับทุกข์


ชีวิตประกอบด้วยขันธ์ ๕ เท่านั้น ไม่มีสิ่งใดอื่นอีกนอกเหนือจากขันธ์ ๕ ไม่ว่าจะแฝงอยู่ในขันธ์ ๕ หรืออยู่ต่างหากจากขันธ์ ๕ ที่จะมาเป็นเจ้าของหรือควบคุมขันธ์ ๕ ให้ชีวิตดำเนินไป ในการพิจารณาเรื่องชีวิต เมื่อยกเอาขันธ์ ๕ ขึ้นเป็นตัวตั้งแล้ว ก็เป็นอันครอบถ้วนเพียงพอ


ชีวิต หรือขันธ์ ๕ เป็นกระบวนการที่ดำเนินไปตามกฎแห่งปฏิจจสมุปบาท คือมีอยู่ในรูปเป็นกระแสแห่งปัจจัยต่างๆ ที่สัมพันธ์เนื่องอาศัยสืบต่อกัน ไม่มีส่วนใดในกระแสคงที่อยู่ได้ มีแต่การเกิดขึ้นแล้วสลายตัวไป พร้อมกับที่เป็นปัจจัยให้มีการเกิดขึ้นแล้วสลายตัวต่อๆไปอีก ส่วนต่างๆสัมพันธ์กัน เนื่องอาศัยกัน เป็นปัจจัยแก่กัน จึงทำให้กระแสหรือกระบวนการนี้ดำเนินไปอย่างมีเหตุผล และคุมเป็นรูปร่างต่อเนื่องกัน


ในภาวะเช่นนี้ ชีวิต จึงเป็นไปตามกฏแห่งไตรลักษณ์ คือ อยู่ในภาวะแห่ง อนิจจตา ไม่เที่ยง ไม่คงที่ เกิดดับเสื่อมสลายอยู่ตลอดเวลา อนัตตตา ไม่มีส่วนใดที่มีที่เป็นตัวตนแท้จริง และไม่อาจยึดถือเอาเป็นตัว จะเข้ายึดครองเป็นเจ้าของ บังคับบัญชาให้เป็นไปตามความปรารถนาของตนจริงจังไม่ได้ ทุกขตา ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัวอยู่ทุกขณะ และพร้อมที่จะก่อให้เกิดความทุกข์ได้เสมอ ในกรณีที่มีการเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยความไม่รู้และยึดติดถือมั่น


กระบวนการแห่งชีวิต ซึ่งดำเนินไปพร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดทุกขณะ โดยไม่มีส่วนที่เป็นตัวเป็นตนคงที่อยู่นี้ ย่อมเป็นไปตามกระแสแห่งเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์แก่กันล้วนๆ ตามวิถีทางแห่งธรรมชาติของมัน


แต่ในกรณีของชีวิตมนุษย์ปุถุชน ความฝืนกระแสจะเกิดขึ้น โดยที่จะมีความหลงผิดเกิดขึ้น และยึดเอารูปปรากฎของกระแส หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของกระแส ว่าเป็นตัวตน และปรารถนาให้ตัวตนนั้นมีอยู่ หรือเป็นไปในรูปใดรูปหนึ่ง ในเวลาเดียวกัน ความเปลี่ยนแปลงหมุนเวียนที่เกิดขึ้นในกระแส ก็ขัดแย้งต่อความปรารถนา เป็นการบีบคั้น และเร่งเร้าให้เกิดความยึดอยากรุนแรงยิ่งขึ้น ความดิ้นรนหวงให้มีตัวตน ในรูปใดรูปหนึ่ง และให้ตัวตนนั้นเป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งก็ดี ให้คงที่เที่ยงแท้ถาวรอยู่ในรูปที่ต้องการก็ดี ก็ยิ่งรุนแรงขึ้น เมื่อไม่เป็นไปตามที่ยึดอยาก ความบีบคั้นก็ยิ่งแสดงผลเป็นความผิดหวัง ความทุกข์ความคับแค้นรุนแรงขึ้นตามกัน


พร้อมกันนั้น ความตระหนักรู้ในความจริงอย่างมัวๆ ว่าความเปลี่ยนแปลจะต้องเกิดขึ้นอย่างใดอย่างหนึ่งแน่นอน และตัวตนที่ตนยึดอยู่ อาจไม่มี หรืออาจสูญหายไปเสีย ก็ยิ่งฝังความยึดความอยากให้เหนี่ยวแน่นยิ่งขึ้น พร้อมกับความกลัว ความประหวั่นพรั่นพรึง ก็เข้าแฝงตัวร่วมอยู่ร่วมอยู่ด้วยอย่างลึกซึ้ง และสลับซับซ้อน ภาวะจิตเหล่านี้ ก็คือ อวิชชา (ความไม่รู้ตามเป็นจริงหลงผิดว่ามีตัวตน) ตัณหา (ความอยากให้ตัวตนที่หลงว่ามีนั้นได้เป็น หรือไม่เป็นต่างๆ) อุปาทาน (ความยึดถือผูกตัวตนในความหลงผิดนั้นไว้กับสิ่งต่างๆ) กิเลสเหล่านี้ แฝงลึกซับซ้อนอยู่ในจิตใจ และเป็นตัวคอยบังคับบัญชาพฤติกรรมทั้งหลายของบุคคลให้เป็นไปต่างๆ ตามอำนาจของมัน ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ตลอดจนเป็นตัวหล่อหลอมบุคลิกภาพ และมีบทบาทสำคัญในการชี้ชะตากรรมของบุคคลนั้นๆ กล่าวในวงกว้าง มันเป็นที่มาแห่งความทุกข์ของมนุษย์ปุถุชนทุกคน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 09:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




9ae782e31c7b7d4fd0e7dbde03909519.jpg
9ae782e31c7b7d4fd0e7dbde03909519.jpg [ 116.32 KiB | เปิดดู 2348 ครั้ง ]
ความสุขที่ไม่ต้องหา


เมื่อมองกว้างๆ มนุษย์ยอมรับความจริงว่า พวกตนผจญปัญหาทั้งในระดับสังคมและในระดับบุคคล และถ้ามองเจาะลึกลงไปถึงขั้นพื้นฐาน ก็จะพบว่า ปัญหาของมนุษย์ทั้งในระดับสังคมและในระดับบุคคล ก็มาจากความจริงอันเดียวกัน คือการที่ชีวิตของมนุษย์นั้นโดยธรรมชาติ เป็นที่ตั้งของปัญหา จะใช้คำว่า มีศักยภาพที่จะทำให้เกิดปัญหา หรือว่าไม่ปลอดพ้นจากปัญหา ก็ไ้ด้ทั้งนั้น


ปัญหาชีวิตของมนุษย์นั้น มีต่างๆ มากมาย เมื่อพูดตามความรู้สึกให้เข้าใจได้ง่าย ก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับดี - ชั่ว หรือ ดี - ร้าย และสุข - ทุกข์ ถ้าพูดรวบรัดลงไปอีก ก็รวมลงในคำเดียวคือทุกข์ อย่างคำพูดที่แสดงความรู้สึกเด่นชัดออกมาว่า มีชีวิตอยู่เพื่อหาความสุข ก็เป็นการบ่งถึงทุกข์อยู่ในตัว คือบอกว่าจะหนีออกจากความทุกข์ ไปหาความสุข และทุกข์นั้นยังอาจส่งผลเกี่ยวข้องถึงความดี ความชั่ว และสุขทุกข์ ต่อไปอีกหลายชั้นด้วย


ที่พูดมานี้ ยังอ้อมค้อมนิดหน่อย ถ้าจะให้ชัด ก็พูดตรงไปที่ความจริงขั้นพื้นฐานกันเลย คือเป็นหลักความจริงง่ายๆว่า ทุกข์เป็นสภาวะด้านหนึ่งของชีวิต หรือว่าชีวิตนี้มีทุกข์เป็นสภาวะด้านหนึ่งของมัน หมายความว่า เป็นธรรมดาตามธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง ที่เป็นสังขาร ซึ่งเกิดมีเป็นไปโดยขึ้นต่อเหตุปัจจัยหลายหลาย ไม่เที่ยง ไม่คงที่ ไม่คงทน แปรปรวนเรื่อยไป ไม่มี ไม่เป็นตัวตนของมันเองอย่างแท้จริง เช่น จะให้คงอยู่หรือเป็นไปอย่างที่ใจปรารถนาไม่ได้ ต้องว่ากันไปตามเหตุปัจจัย พูดสั้นๆ นี่ก็คือมันเป็นทุกข์



เมื่อประมวลให้เห็นง่าย ทุกข์ที่เป็นพื้นฐานตามสภาวะของชีวิต ก็พูดรวบรัดด้วยคำว่า ชรา มรณะ หรือ แก่ และตาย หรือ เสื่อมโทรม และแตกสลาย แล้วจากทุกข์ตามสภาวะนี้ ก็ตามมาด้วยทุกข์ที่เป็นความรู้สึกต่างๆ เช่น ความโศกเศร้า ความคับแค้น ความเสียใจ ความพิไรรำพรรณ


ในเมื่อตามสภาวะ ชีวิตมีทุกข์เป็นธรรมชาติพื้นฐานของมันอยู่แล้ว การที่จะแก้ปัญหาดับสลายคลายทุกข์ และการที่จะมีความสุขได้ คนก็ต้องมีจิตใจที่มั่นคงในการอยู่กับความจริง เริ่มด้วยจัดการให้ชีวิตของตนลงตัวกันไ้้ด้กับความทุกข์พื้นฐานนั้น โดยมีปัญญาที่ทำให้จิตเป็นอิสระจากทุกข์พื้นฐานนั้น หรือให้ใจอยู่กับมันได้สบายๆอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าทำถึงขั้นนั้นไม่ได้ ก็ให้ใจอยู่กับมันด้วยปัญญาที่รู้เท่าทัน วางใจวางท่าที่ถูกต้อง อย่างน้อยก็ยอมรับความจริง สู้หน้า เผชิญหน้าความจริงได้ด้วยปัญญาที่รู้เท่าทันความจริงนั้น

ฯลฯ

บางคราว มนุษย์เองยังติดหลงไปด้วยซ้ำว่า หากลืมมองปัญหาพื้นฐานของชีวิตนั้นเสียได้ ก็จะสามมารถหลุดพ้นไปจากความทุกข์ และชีวิตก็จะมีความสุข แต่ความจริงยังคงยืนยันอยู่ว่า ตราบใด มนุษย์ยังไม่สามารถจัดการกับปัญหาพื้นฐานแห่งชีวิตของตน ยังวางตัววางใจหาที่ลงไม่ได้กับทุกข์ถึงขั้นตัวสภาวะ ตราบนั้น มนุษย์ก็จะยังแก้ปัญหาไม่สำเร็จ ยังหลีกไม่พ้นการตามรังควานของทุกข์ ไม่ว่าจะพบสุขขนาดไหน และจะยังไม่ประสบความสุขที่แ้ท้จริง ซึ่งเต็มเอิ่ม สมบูรณ์ในตัว และจบบริบูรณ์ลงที่ความพึงพอใจอย่างไม่่คืนคลายไม่กลับกลาย

(บทความบางส่วนจากพุทธธรรมหน้า 325)

http://group.wunjun.com/whatisnippana/t ... 2792-22594

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 เม.ย. 2014, 10:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 9
สมาชิก ระดับ 9
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ก.ย. 2010, 09:07
โพสต์: 761

แนวปฏิบัติ: อานาปาฯ
งานอดิเรก: ศึกษาพุทธธรรม
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม
ชื่อเล่น: ปลีกวิเวก
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนาค่ะ คุณกรัชกาย

ความเป็นชีวิต...ดำเนินไปตามเหตุปัจจัย(อิทัปปัจจยตาปฏิจจฯ)บนพื้นฐานของความไม่เที่ยง เป็นทุกข์
ควบคุมบังคับบัญชาไม่ได้..ไม่ขึ้นต่อใคร ไม่อยู่ในอำนาจของใคร...มันเป็นเช่นนั้นเอง

เห็นด้วยกับประโยคนี้เป็นอย่างยิ่ง
วชิราสูตรที่ ๑๐ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕:
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... original=1
...ความจริงทุกข์เท่านั้นย่อมเกิด ทุกข์ย่อมตั้งอยู่ และเสื่อมสิ้นไป นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรดับ ฯ ...

.....................................................
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโฐ เทวมานุสเส
ผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้คู่ความดี คือผู้ที่ประเสริฐสุดในหมู่มนุษย์และเทวดา
วรรคทอง วรรคธรรม โดยท่าน ว.วชิรเมธี


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 17, 18, 19, 20, 21, 22, 23, 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 177 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร