วันเวลาปัจจุบัน 29 เม.ย. 2024, 15:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 24  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2014, 19:40 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
แบบตัวกูเต็มๆ...นี้...ไม่มีธรรมารมณ์....ไม่มีโสกะ..ไม่มี..อุปายาส...รึงัย
จะขำไม่ออก....อยู่แล้วนะเนี้ย

อโสกะ..นี้ผิดปกติเอา..มาก..มาก...
เป็นอะไรรึเปล่า...

:b16: :b16:
น่าสงสารกบ ที่คงจะเข้าใจไม่ได้ ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปปายาสะ แบบมีกู กับแบบไม่มีความเห็นผิดว่าเป็น กู นั้นเป็นอย่างไร

ไม่ต้องใจร้อน ทำไป ๆ จนกว่าถึงวันที่ความเห็นผิดเป็นกู (สักกายทิฏฐิ)มันตายขาด เดี๋ยวก็จะรู้ซึ้งเองครับ

:b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2014, 20:29 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ไหน...บรรละยายมาหน่อยซี...
คนจริง..มันต้องพูดได้...ประสบการณ์ตัวเอง..ทำไมจะพูดไม่ได้..

พูดไม่ได้...ก็แสดงว่า..ไม่มีประสบการณ์...ถึงมี..ก็เป็นแค่คิดว่ามี..คิดว่าน่าจะใช่..เท่านั้น..ไม่กล้าพูดออกมา...เพราะกลัวมีใครมาสวน...ได้เงิบ...เลย..ไม่พูด...ดีกว่า..

คนไม่จริง..เลยพูดไม่ได้...ก็งี้แหละ..

พูดมาเลยครับ...

ร้องไห้...แบบ...มีธรรมารมณ์...มีโสกะ..ปริเทวะ...ฯ....เป็นการร้องไห้ของโสดาบัน...อย่างที่อโสกะว่า..ใช่มัย
ถ้าร้องแบบมีกูเต็มๆ...แบบชาวบ้าน....ไม่มีธรรมารมณ์...ใช่มั้ย..อโสกะ.
ไม่มีปริเทวะ..ใช่มั้ย..อโสกะ

อโสกะพูดเอง....ผมว่า..มันไม่ใช่...แต่อโสกะว่าใช่ก็แสดงเหตุผลมาซิครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 เม.ย. 2014, 20:36 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ก่อนหน้านี้....ใครบางคน...มักพูดว่า..ใช้ปัญญาเป็นทางลัดสั้น
แต่พอถามแนวปัญญา....ตอบไม่ชัดซะแอ๊ะเดียว....แฉลบไปสมถะ..นิ่งๆ..เฉยๆ..สังเกตุเอาเอง..

ทุกที....แล้วก็อ้างความเป็นปรมัตถ์ว่า..พูดออกมาไม่ได้

อนิจจา....คนใฝ่ดี...แต่หาความไม่ดีของตัวไม่เจอ..

เหลือโตน..แท่...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2014, 11:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


สวัสดี....สงกรานต์...คราบผม

smiley :b36: :b48: :b46:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2014, 15:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
สวัสดี....สงกรานต์...คราบผม




สงกรานต์บ้านนา :b1:

http://www.youtube.com/watch?v=0fijGNd1-Z0

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2014, 15:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:

น่าสงสารกบ ที่คงจะเข้าใจไม่ได้ ว่า โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัสสะ อุปปายาสะ แบบมีกู กับแบบไม่มีความเห็นผิดว่าเป็น กู นั้นเป็นอย่างไร





ความหมายของศัพท์ทางธรรมเหล่านั้น

โสกะ ความแห้งใจ
ปริเทวะ ความร่ำไร
ทุกข์ โทมนัส ความเสียใจ
อุปายาส ความผิดหวังคับแค้นใจ


เป็นอาการสำแดงออกของการมีกิเลสที่เป็นเชื้อหมักดองอยู่ในจิตสันดาน ที่เรียกว่า อาสวะ

...........



ความหมายย่อๆขององค์ธรรมในปฏิจจสมุปบาท (ฝ่าย ทุกขสมุทัยวาร)


๑. อวิชชา ความไม่รู้ ไม่รู้ความเป็นจริง การไม่ใช้ปัญญา
๒. สังขาร ความคิดปรุงแต่ง เจตจำนง จิตนิสัย และทุกสิ่งที่จิตได้สั่งสมอบรมไว้
๓. วิญญาณ ความรู้ต่อโลกภายนอก ต่อเรื่องราวในจิตใจ สภาพพื้นจิต
๔. นามรูป องคาพยพ ส่วนประกอบของชีวิต ทั้งกายและใจ
๕.สฬายตนะ สื่อแห่งการรับรู้ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
๖.ผัสสะ การรับรู้ การติดต่อกับโลกภายนอก การประสบอารมณ์
๗.เวทนา การรู้สึกสุข ทุก สบาย ไม่สบาย หรือเฉยๆ
๘. ตัณหา ความอยาก คือ อยากได้ อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป อยากเลี่ยง สลาย หรือทำลาย
๙. อุปาทาน ความยึดติดถือมั่น ความผูกพันถือค้างไว้ในใจ ใฝ่นิยม เทิดค่า การถือรวมเข้ากับตัว
๑๐. ภพ ภาวะชีวิตที่เป็นอยู่ เป็นไป บุคลิกภาพ กระบวนพฤติกรรมทั้งหมดของบุคคล
๑๑.ชาติ การเกิดมีตัวตนที่คอยออกรู้ออกรับเป็นผู้อยู่ในภาวะชีวิตนั้น เป็นเจ้าของบทบาทความเป็นอยู่เป็นไปนั้นๆ
๑๒. ชรามรณะ การประสบความเสื่อม ความไม่มั่นคง ความสูญเสียจบสิ้น แห่งการที่ตัวได้อยู่ครอบครองภาวะชีวิตนั้นๆ


โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส = ความเศร้า เสียใจ เหี่ยวแห้งใจ คร่ำครวญ หวนไห้ เจ็บปวดรวดร้าว น้อยใจ สิ้นหวัง คับแค้นใจ คือ อาการหรือรูปต่างๆ ของความทุกข์ อันเป็นของเสียมีพิษที่คั่งค้างหมักหมมกดดันอั้นอยู่ภายใน ซึ่งคอยจะระบายออกมา เป็นทั้งปัญหาและปมก่อปัญหาต่อๆไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2014, 15:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขันธ์ ๕ ที่รวมเป็นชีวิตนั้น เกิดดับเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะตลอดเวลา เมื่อกล่าวถึงความจริงนั้นด้วยภาษาตามสมมติ จึงพูดว่า คนเรานี้เกิด-แก่-ตายอยู่ทุกขณะ อย่างที่อรรถกถาแห่งหนึ่งกล่าวว่า

“โดยปรมัตถ์ เมื่อขันธ์ทั้งหลาย เกิดอยู่ แก่อยู่ ตายอยู่ การที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เธอเกิด แก่ และตายอยู่ ทุกขณะ ดังนี้ ก็พึงทราบว่า เป็นอันได้ทรงแสดงให้เห็นแล้วว่า ในสัตว์ทั้งหลายนั้น การเล็งถึงขันธ์ เสร็จอยู่แล้วในตัว”

(ขุทฺทก.อ.85)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 เม.ย. 2014, 21:38 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


s004
เพราะ กบ ยังยืนยันว่าพระโสดาบันยังไม่หมดสักกายทิฏฐิ จึงเป็นเหตุให้มีเรื่องต้องถกเถียงกันมาก
พระโสดาบันนั้นท่านหมดสักกายทิฏฐิแล้วแน่นอน แต่ยังคงเหลือ มานะทิฏฐิอยู่ จึงมีปฏิกิริยาตอบโต้ผัสสะต่างได้ แต่ปฏิกิริยานั้นละเอียดอ่อนกว่ามาก

กบต้องฟังคำอธิบายเรื่องสักกายทิฏฐิกับมานะทิฏฐิตามอุปมาง่ายๆที่อโศกะมักจะเปรียบเทียบให้ผู้ศึกษาฟังว่า

สักกายทิฏฐิ...เปรียบเหมือน กู ตัวพี่ ฆ่าครั้งเดียวตาย คือฆ่าด้วยโสดาปัตติมรรค

มานะทิฏฐิ...เปรียบเหมือน กู ตัวน้อง ซึ่งฉลาดหลักแหลม ลึกซึ้งกว่า กู ตัวพี่ จึงต้องฆ่าอีก 3 ครั้ง ถึงจะตายหมดสิ้น อุปมาเปรียบเทียบไว้ดังนี้

ฆ่ากูครั้งที่ 1 ด้วยโสดาปัตติมรรค สักกายทิฏฐิ ตายขาด มานะทิฏฐิหายไป 25%

ฆ่า กู ครั้งที่ 2 ด้วยสกิทาคามีมรรค มานะทิฏฐิ หายไป 50 % เปรียบเหมือน ตัดขาสองข้าง

ฆ่ากู ครั้งที่ 3 ด้วยอนาคามีมรรค มานะทิฏฐิ หายไป 75 % เปรียบเหมือนตัดแขน 2 ข้าง

ฆ่ากู ครั้งที่ 4 ด้วยอรหัตมรรค มานะทิฏฐิ หายไป 100 % เปรียบเหมือนตัดคอ

ลักษณะอาการของผู้ที่ฆ่ากูพี่ตาย และทำลายกูน้องไปได้แต่ละขั้นนั้น เป็นเรื่องที่กล่าวบอกไว้ในตำราเพียงเล็กน้อยโดยอาศัยสังโยชน์ 10 เป็นเครื่องชี้วัด แต่สภาวะจริงๆของท่านนั้น เป็น ปัจจัตตังเวทิตัพโพวิญญูหีติ.....เป็นสิ่งที่ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน เป็นสิ่งที่ยากจะอธิบาย คล้ายคนใบ้นอนฝันแล้วเล่าอะไรให้ใครฟังไม่ได้ ......คล้ายคนสัมผัสความเค็มของเกลือแล้วอธิบายออกมาเป็นภาษามนุษย์ไม่ได้ว่า เค็มมันเป็นยังไง บอกได้ก็แค่เพียงวิธีที่คนอยากรู้รสเค็มต้องไปสัมผัสความเค็มเอาเอง

การที่กบมาขะยั้นขยอ ขอร้องด้วยคำตัดพ้อต่อว่าต่างๆเพื่อจะเอาคำตอบจากอโศกะให้ได้จึงกลายเป็นเรื่องที่น่าสงสารเหมือนเด็กขอเดือนขอดาว

:b7:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 05:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว




3cb399958e8a9ec79c56bb4c3790a64a.gif
3cb399958e8a9ec79c56bb4c3790a64a.gif [ 465.44 KiB | เปิดดู 1960 ครั้ง ]
เกณฑ์จำแนกประเภททักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคลนั้น ว่าโดยหลักใหญ่ มี ๒ วิธี คือ แบ่งแบบ ๘ (แบ่งตามขั้นหรือระดับที่กำจัดกิเลสได้ หรืออาจเรียกว่า แบ่งแบบลบ) และแบ่งแบบ ๗ (แบ่งตามคุณธรรม หรือข้อปฏิบัติที่ให้เข้าถึงระดับหรือขั้นนั้นๆ จะเรียกว่า แบ่งแบบบวก ก็ได้)


แบบที่ ๑ ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ๘


เกณฑ์ แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลสคือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น พร้อมไปกับความความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นจึงควรรู้จักสังโยชน์ไว้


สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง คือ


ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ


๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า เป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง


๒. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา


๓. สีลัพพตปรามาส ความ ถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค

๔. กามราคะ ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ


ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องสูง หรือขั้นละเอียด) ๕ อย่าง คือ

๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น

๘. มานะ ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียบเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น

๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป

๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้อริยสัจ


รู้ใดใด ก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 14 เม.ย. 2014, 07:23, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 05:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จิตบอกให้หยุดหายใจค่ะ

สวัสดีค่ะ ผู้รู้ช่วยบอกหน่อยค่ะ เป็นอันตรายหรือปฏิบัติผิดทางไหมค่ะ เพราะฝึกทำเองโดยไม่มี

ครูบาอาจารย์สอนค่ะ หนูฝึกดูจิตมาประมาณ 2 เดือนแล้วค่ะ แรกๆ ก็เห็นจิตฟุ้งซ่านมาก ช่วงหลังๆ จิต

เริ่มสงบ ไม่ไหลออกไปตามอารมณ์ข้างนอก แต่เริ่มเห็นจิต เฉยๆบ้าง สุขบ้าง บางครั้งรู้สึกหดหู่เป็น

ทุกข์เบื่อโลกมากๆเลยค่ะ มันเป็นของมันเองควบคุมอารมณ์นี้ไม่ได้ ได้แต่ตามดูเฉยๆรู้สึกว่ามันไม่ใช่ของ

เราเหมือนเราไม่มีตัวตนเลยค่ะ บางครั้งก็นอนดูจิตไปเรื่อยๆแล้วเหมือนว่าตัวเองจะเคลิ้มๆไป แต่ยังมี

สติ รู้สึกตัวค่ะ อยู่ดีๆจิตก็พูดว่า ลองหยุดหายใจตายดูหน่อยสิ แล้วหนูก็หยุดหายใจตามไป

ด้วย บังคับร่างกายไม่ได้เลยค่ะ ตอนนั้นขยับร่างกายไม่ได้ด้วยค่ะ รู้สึกเริ่มกลัวก็เลยพยายามฝืนจน

หายใจได้ ตอนนั้นรู้สึกอึดอัดและรีบสูดลมหายใจเข้าปอดค่ะ ถ้าปล่อยไปนานกว่านี้คิดว่าตัวเองต้องตาย

จริงแน่ๆเลยค่ะ เกิดจากอะไรค่ะ หนูทำผิดทางไหมค่ะ ถ้าเกิดเป็นอีกจะทำอย่างไรดีค่ะ ขอบพระคุณค่ะ


สภาวะของ ขันธ์ต่างๆ ซึ่งประกอบกันเป็นชีวิต มันเป็นยังงี้ มันก็เป็นยังงี้ เราจะให้มันเป็นยังไงล่ะ ก็มันเป็นยังงี้นี่ขอรับ :b32:

อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล

หน้าที่ของฝึกพัฒนาจิต คือต้องรู้ตามที่มันเป็น :b1: รู้ตามที่มันเป็น มิใช่ไปอยากให้มันเป็นตามที่ตัวเองต้องการ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 05:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เราๆท่านๆ ใช้สังโยชน์ 3 ข้อนี้ วัดจิตใจ หรือความรู้สึกนึกคิดได้เอง


๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า เป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่น

เป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความ

เห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง


๒. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ใน

สิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะ

ดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา


๓. สีลัพพตปรามาส ความ ถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียง

ด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่า

ทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหา

และทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้

เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออก

นอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 06:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เกณฑ์จำแนกประเภททักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคลนั้น ว่าโดยหลักใหญ่ มี ๒ วิธี คือ แบ่งแบบ ๘ (แบ่งตามขั้นหรือระดับที่กำจัดกิเลสได้ หรืออาจเรียกว่า แบ่งแบบลบ) และแบ่งแบบ ๗ (แบ่งตามคุณธรรม หรือข้อปฏิบัติที่ให้เข้าถึงระดับหรือขั้นนั้นๆ จะเรียกว่า แบ่งแบบบวก ก็ได้)


แบบที่ ๑ ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ๘


เกณฑ์ แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลสคือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น พร้อมไปกับความความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นจึงควรรู้จักสังโยชน์ไว้


สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง คือ


ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ


๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า เป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง


๒. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา


๓. สีลัพพตปรามาส ความ ถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค

๔. กามราคะ ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ


ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ

๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น

๘. มานะ ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียบเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น

๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป

๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้อริยสัจ


รู้ใดใด ก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ

smiley
อนุโมทนากับคุณกรัชกาย แต่ตรงที่คาดสีชมพูไว้ต้องแก้ไขหรือเปล่าครับ?
s006

"ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ"
:b37:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เกณฑ์จำแนกประเภททักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคลนั้น ว่าโดยหลักใหญ่ มี ๒ วิธี คือ แบ่งแบบ ๘ (แบ่งตามขั้นหรือระดับที่กำจัดกิเลสได้ หรืออาจเรียกว่า แบ่งแบบลบ) และแบ่งแบบ ๗ (แบ่งตามคุณธรรม หรือข้อปฏิบัติที่ให้เข้าถึงระดับหรือขั้นนั้นๆ จะเรียกว่า แบ่งแบบบวก ก็ได้)


แบบที่ ๑ ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ๘


เกณฑ์ แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลสคือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น พร้อมไปกับความความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นจึงควรรู้จักสังโยชน์ไว้


สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง คือ


ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ


๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า เป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง


๒. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา


๓. สีลัพพตปรามาส ความ ถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค

๔. กามราคะ ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ


ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ

๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น

๘. มานะ ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียบเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น

๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป

๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้อริยสัจ


รู้ใดใด ก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ

smiley
อนุโมทนากับคุณกรัชกาย แต่ตรงที่คาดสีชมพูไว้ต้องแก้ไขหรือเปล่าครับ?
s006

"ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ"
:b37:



ขอบคุณมากๆ คือตอนพิมพ์เนี่ย จะก๊อบจากสังโยชน์เบื้องต่ำมา แล้วไม่ได้แก้ ครับ

ที่นี่ก็ล้ิมแก้ และได้แก้ให้แล้ว

http://group.wunjun.com/whatisnippana/22882


อ้างคำพูด:
ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ



:b1: ธรรมดังกล่าวได้แก่อะไรครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 10:01 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 ก.ย. 2011, 21:51
โพสต์: 4941


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
asoka เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เกณฑ์จำแนกประเภททักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคลนั้น ว่าโดยหลักใหญ่ มี ๒ วิธี คือ แบ่งแบบ ๘ (แบ่งตามขั้นหรือระดับที่กำจัดกิเลสได้ หรืออาจเรียกว่า แบ่งแบบลบ) และแบ่งแบบ ๗ (แบ่งตามคุณธรรม หรือข้อปฏิบัติที่ให้เข้าถึงระดับหรือขั้นนั้นๆ จะเรียกว่า แบ่งแบบบวก ก็ได้)


แบบที่ ๑ ทักขิไณยบุคคล หรืออริยบุคคล ๘


เกณฑ์ แบ่งแบบนี้ จัดตามกิเลสคือสังโยชน์ที่ละได้ในแต่ละขั้น พร้อมไปกับความความก้าวหน้าในการบำเพ็ญไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นจึงควรรู้จักสังโยชน์ไว้


สังโยชน์ แปลตามศัพท์ว่า เครื่องผูก หมายถึงกิเลสที่ผูกใจสัตว์ หรืออกุศลธรรมที่ผูกมัดสัตว์ไว้กับทุกข์ในสังสารวัฏฏ์ เหมือนผูกเทียมสัตว์ไว้กับรถ มี ๑๐ อย่าง คือ


ก. โอรัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ


๑. สักกายทิฏฐิ ความเห็นว่า เป็นตัวของตน ความเห็นที่ยังติดแน่นในสมมติว่าเป็นตัวตน เราเขา เป็นนั่นเป็นนี่ มองไม่เห็นสภาพความจริง ที่สัตว์บุคคลเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ มาประชุมกันเข้า ทำให้มีความเห็นแก่ตัวในขั้นหยาบ และความรู้สึกกระทบกระทั่งบีบคั้นเป็นทุกข์ได้รุนแรง


๒. วิจิกิจฉา ความลังเล สงสัย เคลือบแคลงต่างๆ เช่น สงสัยในพระศาสดา ในพระธรรม ในพระสงฆ์ ในสิกขา ในเรื่องที่มาที่ไปของชีวิต ในปฏิจจสมุปบาท เป็นต้น ทำให้ไม่มั่นใจ ไม่เข้มแข็งแกล้วกล้าที่จะดำเนินชีวิตตามหลักธรรม ด้วยความมีเหตุมีผล และในการที่จะเดินหน้าแน่วดิ่งไปในอริยมรรคา


๓. สีลัพพตปรามาส ความ ถือมั่นศีลพรต คือความยึดถือผิดพลาดไปว่า จะบริสุทธิ์ จะหลุดพ้นได้เพียงด้วยศีลและพรต ได้แก่ การถือศีล ระเบียบ แบบแผน บทบัญญัติ และข้อปฏิบัติต่างๆ โดยสักว่าทำตามๆกันไปอย่างงมงาย เห็นเป็นขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ ติดอยู่แต่รูปแบบหรือพิธีรีตอง ก็ดี ถือด้วยตัณหาและทิฏฐิ คือปฏิบัติเพราะอยากได้ผลประโยชน์ตอบแทนอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเพราะเห็นว่าจะทำให้ได้เป็นนั่นเป็นนี่ ก็ดี ไม่เป็นไปตามความหมาย และความมุ่งหมายที่แท้จริงของศีลและพรต ทำให้เขวออกนอกลู่นอกทาง หรือเลยเถิดไป เป็นอย่างศีลและพรตของนักบำเพ็ญตบะ เป็นต้น ไม่เข้าสู่อริยมรรค

๔. กามราคะ ความติดใคร่ในกาม ความอยากได้ใฝ่หาในเรื่องรูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ที่ชอบใจ

๕. ปฏิฆะ ความกระทบกระทั่งในใจ ความหงุดหงิดขัดเคือง หรืองุ่นง่านใจ


ข. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ (สังโยชน์เบื้องต่ำ หรือขั้นหยาบ) ๕ อย่าง คือ

๖. รูปราคะ ความติดใจในรูปธรรมอันประณีต เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งรูปฌาน พอใจในรสความสุข ความสงบของสมาธิขั้นรูปฌาน ติดใจปรารถนาในรูปภพ เป็นต้น

๗. อรูปราคะ ความติดใจในอรูปธรรม เช่น ติดใจในอารมณ์แห่งอรูปฌาน ติดใจปรารถนาในอรูปภพ เป็นต้น

๘. มานะ ความถือตัว ความสำคัญตนเป็นนั่นเป็นนี่ เช่นว่า สูงกว่าเขา เท่าเทียบเขา ต่ำกว่าเขา เป็นต้น

๙. อุทธัจจะ ความฟุ้งซ่าน จิตใจไม่สงบ ว้าวุ่น ซัดส่าย คิดพล่านไป

๑๐. อวิชชา ความไม่รู้จริง ไม่รู้เท่าทันสภาวะ ไม่เข้าใจกฎธรรมดาแห่งเหตุและผล หรือไม่รู้อริยสัจ


รู้ใดใด ก็ไร้ค่าถ้าไม่ทำ

smiley
อนุโมทนากับคุณกรัชกาย แต่ตรงที่คาดสีชมพูไว้ต้องแก้ไขหรือเปล่าครับ?
s006

"ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ"
:b37:



ขอบคุณมากๆ คือตอนพิมพ์เนี่ย จะก๊อบจากสังโยชน์เบื้องต่ำมา แล้วไม่ได้แก้ ครับ

ที่นี่ก็ล้ิมแก้ และได้แก้ให้แล้ว

http://group.wunjun.com/whatisnippana/22882


อ้างคำพูด:
ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ

:b16:

:b1: ธรรมดังกล่าวได้แก่อะไรครับ

:b16:
ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดไงครับ
:b38:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 เม.ย. 2014, 10:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


asoka เขียน:
ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดไงครับ



เขียน "ธรรม" ยังงี้ เห็นแล้วเหมือนประโลมใจเราได้ดี แต่ถ้าเขียนยังงี้ "ธัมม์" เราจะรู้สึกเฉยๆ คิกๆๆ


อ้างคำพูด:

ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสอนทั้งหมดไงครับ



"ธรรมใดก็ไร้ค่า ถ้าไม่ทำ" (ธรรมในที่นี้ หมายถึงคำสอนทั้งหมด) งั้นก็เสริมอีกหน่อย คือทำแล้ว แต่ทำไม่ถูกเรื่อง (มิจฉาปฏิปทา) ผลก็ไม่เกิด :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 346 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 14, 15, 16, 17, 18, 19, 20 ... 24  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 110 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร