วันเวลาปัจจุบัน 27 เม.ย. 2024, 14:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 07:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อีกนัยยะคือปฏิจจสมุปบาท แสดงถึงความเป็นเหตุปัจจัยของสภาวะธรรมต่างๆ ว่า
ไม่ว่าสภาวะธรรมใดๆเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยทั้งสิ้นและดับลงได้เมื่อเหตุปัจจัยดับ
หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอิทัปปัจจยตา


กฎแห่งอิทัปปัจจยตา ท่านอธิบายถึง ความเป็นเหตุที่ทำให้เกิดผล
และการที่ไม่ต้องการให้เกิดผล คือการไปดับเหตุ

กฎอิทัปปัจจยตา มีสองนัยยะที่เรียกว่า สมุทวารและนิโรธวาร
สมุทัยวาร เป็นการบอกให้รู้เหตุปัจจัยที่ทำให้เกิด....ปฏิจจสมุปบาท

นิโรธวาร เป็นการบอกให้รู้ถึงการดับเหตุ นั้นก็คือ..... สังขาร(สังขตธรรม)

ถ้าเปรียบปฏิจจ์สมุบาปก็คือ.....ทุกข์ในอริยสัจจ์
สังขาร(สังขตธรรม)ก็คือ...สมุทัยในอริยสัจจ์

cantona_z เขียน:
นัยยะที่สาม ปฏิจจสมุปบาท แสดงถึงตัวกรรมเหตุเกิดของกรรมและการให้ผลของกรรม
ตรงนี้มีอะไรจะแย้งก็แย้งมานะครับ


ถ้าจะอธิบายปฏิจจสมุบาท ในลักษณะการคร่อมภพคร่อมชาติ
ไม่ใช่เอาปฏิจจไปอธิบายในลักษณะคร่อม๓ชาติ
หลักคำสอนของพุทธองค์ ท่านให้พิจารณาธรรม ด้วยการหาเหตุแห่งปัจจุบันธรรม
การไปเอาสิ่งที่ยังไม่เกิดมาพิจารณา มันเป็นการปรุงแต่ง สิ่งยังไม่เกิดจะต้องอาศัย
ญานรู้เพียงอย่าเดียว

ดังนั้นถ้าจะพิจารณาธรรมที่เป็นปัจจุบัน ที่เป็นเรื่องของปฏิจจ์
มันต้องพิจารณาปฏิจจฯเพียงชาติภพเดียวหรือวงเดียว เพื่อหาเหตุแห่งธรรมนั้น
วงเดียวที่ว่าก็คือนามรูปของเราในชาติปัจจุบัน
หลักแห่งการพิจารณาก็คือ นามรูปหรือวงปฏิจจ์ในปัจจุบันเป็น....วิบาก(ผล)
ส่วนชาติภพหรือปฏิจจ์ในอดีตเป็น.......เป็นกรรม(เหตุ)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
โอเค
ถัดมา ถามว่าแล้วที่บอกว่าปฏิจจสมุปบาทแสดงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์
ทุกข์น่ะมีอะไรบ้าง ก็ตอบว่าไปดูทุกขอริยสัจได้เลย
แต่โดยสั้นๆ ก็มีเช่น เกิดแก่เจ็บตาย ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เสียคนของรัก โดยย่อ อุปาทานขันธ์เป็นทุกข์
หรือถ้าจะแบ่งกันง่ายๆก็เป็นทุกข์กายกับทุกข์ใจ


ปฏิจจ์ฯไม่ได้แสดงการเกิดและดับของทุกข์......
ปฏิจจ์นั้นแหล่ะคือทุกข์ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสในอริยสัจจ์สี่
ปฏิจจ์สมุปบาปเป็นสภาพธรรม.....ไม่สังสังขาร

ส่วนทุกข์ที่คุณสาธยายมา มันเป็นคนล่ะเรื่อง นั้นมันเป็นสภาวธรรมหรือสังขาร
สภาวธรรมหรือสังขาร.......เป็นสมุทัยหรือเป็นเหตุแห่งทุกข์ ไม่ใช่ทุกข์อริยสัจจ์


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
ถ้าคุณ cantona_z คิดว่า สิ่งที่นำมาแสดง เกี่ยวกับ ปฏิจจสมุปบาท
จะเป็นพระไตรปิฎก หรือ อะไรก็ตาม จากไหน หรือ จากใครก็ตาม
เพื่อยืนยันในเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท แบบคร่อมภพคร่อมชาติ
โดยแบ่งวงจรของปฏิจจสมุปบาทวงหนึ่ง ๆ ออกเป็น 3 ชาติ คือ –
1) ชาติอดีต ได้แก่ อวิชชา สังขาร
2) ชาติปัจจุบัน ได้แก่ วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปทาน ภพ
3) ชาติอนาคต ได้แก่ ชาติ ชรามรณะ ฯลฯ

วลัยพร ถามสั้นๆว่า วิธีการดับเหตุของการเกิดแบบ คร่อมภพคร่อมชาติ ๓ ชาติ
ที่คุณนำมาอ้างอิงนั้น ทำยังไง

พูดสั้นๆ ฝ่ายดับ วิธีการทำยังไง?


โอเค พอจะมีเวลาว่างแล้วครับ จะตอบเท่าที่จะตอบได้

ตอบคำถามก่อน แล้วค่อยอธิบายนะครับ
ถามว่าฝ่ายดับ วิธีการทำยังไง
ตอบ เจริญอริยมรรคมีองค์แปดครับ สัมมาทิฏฐฺิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ
นั่นแหละครับวิธีการดับ

โอเคทีนี้มาภาคอธิบาย
ต้องเข้าใจก่อนว่า ปฏิจจสมุปบาท เป็นธรรมที่อธิบายได้หลายนัยยะ
นัยยะแรกอธิบายถึงการเกิดขึ้นของทุกข์ทั้งปวง คือสมุทัยวาร
และการดับลงของทุกข์ทั้งปวงคือนิโรธวาร

อีกนัยยะคือปฏิจจสมุปบาท แสดงถึงความเป็นเหตุปัจจัยของสภาวะธรรมต่างๆ ว่า
ไม่ว่าสภาวะธรรมใดๆเกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยทั้งสิ้นและดับลงได้เมื่อเหตุปัจจัยดับ
หรือที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าอิทัปปัจจยตา

นัยยะที่สาม ปฏิจจสมุปบาท แสดงถึงตัวกรรมเหตุเกิดของกรรมและการให้ผลของกรรม
ตรงนี้มีอะไรจะแย้งก็แย้งมานะครับ

โอเค
ถัดมา ถามว่าแล้วที่บอกว่าปฏิจจสมุปบาทแสดงกระบวนการเกิดและดับของทุกข์
ทุกข์น่ะมีอะไรบ้าง ก็ตอบว่าไปดูทุกขอริยสัจได้เลย
แต่โดยสั้นๆ ก็มีเช่น เกิดแก่เจ็บตาย ทุกข์กาย ทุกข์ใจ เสียคนของรัก โดยย่อ อุปาทานขันธ์เป็นทุกข์
หรือถ้าจะแบ่งกันง่ายๆก็เป็นทุกข์กายกับทุกข์ใจ

การอธิบายปฏิจจสมุปบาทในแง่ของกรรมก็เช่นกัน
สามารถอธิบายได้เป็น 3 ส่วนคือ กิเลส กรรม วิบาก
กิเลสทำให้เกิดกรรม กรรมทำให้เกิดวิบาก
และในกรณีนี้ ผมชอบที่จะอธิบายปฏิจจสมุปบาทในมุมของกรรมมากกว่า เพราะจะเห็นความเป็นเหตุเป็นผลชัดกว่า
แต่ถ้าอยากแย้งตรงไหนก็ยกมาได้ครับ


อวิชชา->สังขาร->วิญญาณ->นามรูป->สฬายตนะ->ผัสสะ->เวทนา->ตัณหา->อุปาทาน->ภพ->ชาติ->ชรา->มรณะ->โสกะปริเทวะ...
กิเลส ->กรรม ->----------------------วิบาก------------------------------------>-----กิเลส----------->กรรม->-------วิบาก-------------------------->



ทีนี้ ปฏิจจสมุปบาทไม่ได้มีแค่วงจรเดียว แต่เป็นวงซ้อนๆๆกัน จำนวนอนันต์ เดินไปเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไป
ในตำแหน่งเวลาที่คุณอยู่ ณ ปัจจุบันนั้น เป็นช่วงเวลาที่สามารถเป็นได้ทั้ง
ช่วงเกิดกิเลส(กิเลสวัฏฏ์) ช่วงเกิดกรรม(กัมมวัฏฏ์) ช่วงวิบาก (วิบากวัฏฏ์)
ยกตัวอย่างเช่น
ปฏิจจ วงเมื่อตอนป2
ขี้เกียจเรียน---ไม่อ่านหนังสือ----------------------------------------------สอบตก-----เรียนไม่จบซ้ำชั้น
กิเลสเมื่อป2 ทำให้ก่อกรรมตอนป2 กรรมตอนป2 ให้ผลวิบากตอนสิ้นปีมาเรื่อยๆ อันนี้ก็แล้วแต่กรรมที่กระทำ

รูปภาพ

หรือจะบอกอีกในนัยยะว่า ปฏิจจสมุปบาทแต่ละวง ก็เดินไปของมันเรื่อยๆ จะจบก็เมื่อวิบากนั้นให้ผลหมดสิ้นแล้ว
แต่ในระหว่างนั้น ในทุกๆวินาทีที่เกิดกิเลส เกิดกรรม ก็เกิดปฏิจจสมุปบาทวงใหม่
ซึ่งก็ให้ผลคือวิบากไปเรื่อยๆในเวลาที่เหมาะสมของมัน อาจเป็นตอนนี้ อาจเป็นชาตินี้ อาจเป็นชาติหน้า อาจเป็นชาติถัดๆๆๆไปเรื่อยๆๆๆ
รูปภาพ
เวลาในขณะนี้ของคุณอาจเป็นได้ทั้งวิบากวัฏฏ์จากวงก่อนๆ กิเลสวัฏฏ์ที่กำลังจะเริ่ม หรือกรรมวัฏฏ์ที่กำลังกระทำกรรมอยู่ก็ได้ทั้งนั้น

ทีนี้ย้อนกลับมาที่คำถามว่า จะดับปฏิจจสมุปบาทได้อย่างไร วิธีไหน
ก็ตอบว่า ดับที่กิเลสวัฏ ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด สร้างปัญญาให้เกิดขึ้นดับอวิชชาตัณหาอุปาทาน

บางคนที่เข้าใจผิดคิดว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นวงจรวงเดียวก็มักถามว่า ก็อวิชชามันเกิดในชาติที่แล้ว แล้วจะไปดับอย่างไร
ก็ตอบว่าอวิชชาที่มันเกิดชาติที่แล้ว มันก็ก่อกรรมไปแล้ว กรรมนั้นจะมาให้ผลเมื่อไหร่ก็ห้ามไม่ได้แล้ว
แต่อวิชชที่มันมีอยู่มันทำให้กิเลสเกิดตอนนี้หรือกำลังจะเกิด มันยังไม่ทันทำกรรม ถ้าดับตอนนี้มันก็ไม่เกิดวิบากในอนาคต
ส่วนไอ้วงก่อนๆเป็นอนันต์น่ะ ที่กำลังรอให้ผลในชาตินี้น่ะห้ามไม่ได้แน่ๆ
(แม้พระพุทธเจ้าเองเป็นพระอรหันต์แล้วก็ยังเสวยกรรมเก่าอยู่หลายครั้ง อันนี้คงไม่ต้องยกตัวอย่างกระมังครับ)
แต่วงที่จะให้ผลในชาติต่อไปน่ะ ถ้าเราไม่เกิดชาติหน้าอีก ก็ไม่ต้องรับกรรมที่จะให้ผลในชาติหน้าหรือชาติต่อๆไปจริงไหม

เมื่อมองในแง่สภาวะธรรม ปฏิจจสมุปบาทแสดงถึงการเป็นเหตุปัจจัยซึ่งกันและกันของสภาวะธรรม
อวิชชา->สังขาร->วิญญาณ->นามรูป->สฬายตนะ->ผัสสะ->เวทนา->ตัณหา->อุปาทาน->ภพ->ชาติ->ชรา->มรณะ->โสกะปริเทวะ...
เมื่อตัดเหตุปัจจัยคือกิเลสวัฏออก กรรมก็ไม่เกิด วิบากของกรรมก็ไม่มี
เมื่อมรรคจิตผลจิตเกิด ก็เกิดสมุทเฉทปหาน ถอดถอนกิเลสที่ฝังในขันธสันดานออกไป ก็ไม่ก่อภพก่อชาติขึ้นอีก

cantona_z เขียน:
มีอะไรจะแย้งไหมครับ


เห็นแต่สิ่งที่คุณท่องจำมา และ ไม่สามารถนำสิ่งที่ท่องจำ มาใช้ให้เกิดรูปธรรม ในการปฏิบัติได้

หากนำมาใช้ได้ คุณคงไม่เขียนเรื่อง สมมุติอะไรที่ยืดยาว แต่หาวิธีการกระทำ ในการดับเหตุนั้นๆ ไม่ได้เลย

cantona_z เขียน:
กิเลสทำให้เกิดกรรม


โทษกู ไม่เป็น เลยโยนให้กิเลสแทน

กล่าวเพ่งโทษกิเลสว่า เพราะ กิเลสน่ะแหละ ทำให้เกิดกรรม

เมื่อยังมีกิเลส คุณจะต้องตาย แล้วเกิดใหม่ ตายแล้วเกิด ไปอีกกี่ชาติล่ะ

cantona_z เขียน:
ทีนี้ย้อนกลับมาที่คำถามว่า จะดับปฏิจจสมุปบาทได้อย่างไร วิธีไหน
ก็ตอบว่า ดับที่กิเลสวัฏ ด้วยอริยมรรคมีองค์แปด สร้างปัญญาให้เกิดขึ้นดับอวิชชาตัณหาอุปาทาน


มีแต่สมมุติ ร่ายมายืดยาว

พูดมาได้ ดับที่กิเลส

cantona_z เขียน:
อวิชชาที่มันมีอยู่ มันทำให้กิเลสเกิดตอนนี้หรือกำลังจะเกิด


ถ้าชอบวิชาท่องจำ ควรหาคำสอนพระพุทธเจ้าอ่าน ให้หลากหลายนะ

พูดมาได้ อวิชชาทำให้เกิดกิเลส เกิดตอนนี้หรือกำลังจะเกิด

cantona_z เขียน:
ส่วนไอ้วงก่อนๆเป็นอนันต์น่ะ ที่กำลังรอให้ผลในชาตินี้น่ะห้ามไม่ได้แน่ๆ


นี่แหละคือ ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
วิธีการดับผัสสะ ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึงเลย

cantona_z เขียน:
เมื่อตัดเหตุปัจจัยคือกิเลสวัฏออก กรรมก็ไม่เกิด วิบากของกรรมก็ไม่มี


งั้นคนที่ยังมีกิเลส คงไม่สามารถกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ในชีวิตนี้ได้น่ะสิ

คุณเอ๋ย ที่คุณเป็นแบบนี้ เกิดจาก เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่

และนำความไม่รู้ที่มีอยู่ ไปสร้างเหตุนอกตัว อีกมากมาย
เที่ยวเผยแผ่สิ่งที่ ไม่ใช่วิธีการกระทำ เพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์

เมื่อมีผู้ที่มีเหตุปัจจัยร่วมกับคุณ ให้มาเชื่อคุณ

คุณพาเขาหลง คุณก็เลยหลงอยู่ เฉกเช่นทุกวันนี้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 08 ม.ค. 2014, 08:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 08:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อุปัชฌายสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย

เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย

ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 603&Z=1648




นี่คือ วิธีการดับปฏิจจสมุปบาท หมายถึง การดับเหตุของการเกิด

เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย

ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

การเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ได้แก่
การไม่สร้างเหตุออกไป(การไม่ก้าวล่วง การไม่ทำให้เกิด การสร้างเหตุของการเกิด ออกไป)
ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เหตุจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย


วิธีการกระทำ คือ โยนิโสมนสิการ ได้แก่ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง
ของสภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง(การมีสติ รู้อยู่กับปัจจุบัน)

สภาวะศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ย่อมเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

สมาธิ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ปัญญา(การเห็นสภาวะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามความเป็นจริง) ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
เป็นเอามาก :b6:
พูดไป สองไพเบี้ย นิ่งเสีย ตำลึงทอง



เฮ้อ
ไม่อยากทำเล้ย พับผ่า



มหามงกุฏ
รูปภาพ


จุฬา
รูปภาพ


สยามรัฐ
รูปภาพ




ที่คุณนำมาโพส ก็เป็น พระไตรปิฎก สอดไส้




ธรรมฐิติญาณ ต้นฉบับอยู่นี่

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 440&Z=1525


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 526&Z=1594


ฟังเรื่อง ญาณวัตถุสูตร ๐๐๔

https://archive.org/details/SohDaaBanSootFromTripitaka

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 10:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
การอธิบายปฏิจจสมุปบาทในแง่ของกรรมก็เช่นกัน
สามารถอธิบายได้เป็น 3 ส่วนคือ กิเลส กรรม วิบาก
กิเลสทำให้เกิดกรรม กรรมทำให้เกิดวิบาก
และในกรณีนี้ ผมชอบที่จะอธิบายปฏิจจสมุปบาทในมุมของกรรมมากกว่า เพราะจะเห็นความเป็นเหตุเป็นผลชัดกว่า
แต่ถ้าอยากแย้งตรงไหนก็ยกมาได้ครับ

อวิชชา->สังขาร->วิญญาณ->นามรูป->สฬายตนะ->ผัสสะ->เวทนา->ตัณหา->อุปาทาน->ภพ->ชาติ->ชรา->มรณะ->โสกะปริเทวะ...
กิเลส ->กรรม ->----------------------วิบาก------------------------------------>-----กิเลส----------->กรรม->-------วิบาก-------------------------->


ฟุ้งซะเละ! สงสัยไม่รู้จัก กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม
เอาปฏิจจ์มาปนกับการกระทำทางกายซ่ะงั้น :b32:


cantona_z เขียน:
ทีนี้ ปฏิจจสมุปบาทไม่ได้มีแค่วงจรเดียว แต่เป็นวงซ้อนๆๆกัน จำนวนอนันต์ เดินไปเรื่อยๆตามเวลาที่ผ่านไป


:b32: :b32: :b32: รู้จักนามรูปในปฏิจจ์มั้ย นามรูปมันก็คือกายใจเราหรือ
ความเป็นตัวตนของเรานั้นแหล่ะ แสดงให้เห็นว่ามีตัวตนของเราคนเดียว
เมื่อมีตัวตนเราเพียงคนเดียว...ปฏิจจ์มันก็เป็นวงเดียว


cantona_z เขียน:
ในตำแหน่งเวลาที่คุณอยู่ ณ ปัจจุบันนั้น เป็นช่วงเวลาที่สามารถเป็นได้ทั้ง
ช่วงเกิดกิเลส(กิเลสวัฏฏ์) ช่วงเกิดกรรม(กัมมวัฏฏ์) ช่วงวิบาก (วิบากวัฏฏ์)
ยกตัวอย่างเช่น


เลอะแล้ว! เอาวัฏฏะ๓มาโยงมั่ว พุทธพจน์ไม่มีวัฏฏะ๓
พุทธพจน์มีแต่เพียง.....วัฏฏะ ไม่มี๓ พระพุทธองค์กล่าววัฎฎะแต่เฉพาะในเรื่อง
ความเป็นปฏิจจ์ฯ และวัฏฏะในปฏิจจ์ฯไม่ได้มีแค่๓
ถ้ายังไม่ถึงนิพพานวัฏฏะนี้ก็จะวนเวียนไม่จบสิ้น

เรื่องกิเลสก็เหมือนกัน เอามาโยงซ่ะเลอะ กิเลสก่อให้เกิดอาการของจิต
หรือเกิดกรรมขึ้นที่จิต ไม่ใช่อาการทางกาย ที่เอามาพูดมันเป็นเรื่องของกาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:

ยกตัวอย่างเช่น
ปฏิจจ วงเมื่อตอนป2
ขี้เกียจเรียน---ไม่อ่านหนังสือ----------------------------------------------สอบตก-----เรียนไม่จบซ้ำชั้น
กิเลสเมื่อป2 ทำให้ก่อกรรมตอนป2 กรรมตอนป2 ให้ผลวิบากตอนสิ้นปีมาเรื่อยๆ อันนี้ก็แล้วแต่กรรมที่กระทำ


ยกตัวอย่างเหมือนนิทานสอนเด็กเลย :b32:
ตอนผมอยู่ป๒ ผมขี้เกียจ ผมไม่อ่านหนังสือ ทำไมผมสอบได้
ถามว่าทำไมถึงสอบได้ ก็เพราะผมลอกข้อสอบเพื่อน
ลอกข้อสอบเพื่อนเป็นกรรมเป็นกิเลสหรือเปล่า แล้วทำไมผมถึงสอบได้

เอาเรื่องการกระทำทางกายมาพูด พระธรรมไม่เกี่ยวกับการกระทำทางกาย
มันเป็นเรื่องของจิตล้วนๆ



cantona_z เขียน:

รูปภาพ

หรือจะบอกอีกในนัยยะว่า ปฏิจจสมุปบาทแต่ละวง ก็เดินไปของมันเรื่อยๆ จะจบก็เมื่อวิบากนั้นให้ผลหมดสิ้นแล้ว
แต่ในระหว่างนั้น ในทุกๆวินาทีที่เกิดกิเลส เกิดกรรม ก็เกิดปฏิจจสมุปบาทวงใหม่
ซึ่งก็ให้ผลคือวิบากไปเรื่อยๆในเวลาที่เหมาะสมของมัน อาจเป็นตอนนี้ อาจเป็นชาตินี้ อาจเป็นชาติหน้า อาจเป็นชาติถัดๆๆๆไปเรื่อยๆๆๆ
รูปภาพ
เวลาในขณะนี้ของคุณอาจเป็นได้ทั้งวิบากวัฏฏ์จากวงก่อนๆ กิเลสวัฏฏ์ที่กำลังจะเริ่ม หรือกรรมวัฏฏ์ที่กำลังกระทำกรรมอยู่ก็ได้ทั้งนั้น


พุทโธ่! มีวิบากไปเรื่อยๆ ถามจริงพูดมามันมีเหตุผลมั้ย
ถามหน่อยแบบนี้ ชาติไหนถึงจะได้เป็นพระอรหันต์
สงสัยต้องปฏิบัติให้เป็นพระอรหันต์ตั้งแต่ในท้องแม่
จะได้ไม่ก่อกรรมก่อวิบาก

ที่คุณพูดแบบนี้ สงสัยไม่เชื่อหรือไม่รู้เรื่อง..องคุลีมาลย์

สรุปที่พูดมาแต่ต้นมันก็จิ้นขนาดแท้ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 10:28 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
เห็นแต่สิ่งที่คุณท่องจำมา และ ไม่สามารถนำสิ่งที่ท่องจำ มาใช้ให้เกิดรูปธรรม ในการปฏิบัติได้

หากนำมาใช้ได้ คุณคงไม่เขียนเรื่อง สมมุติอะไรที่ยืดยาว แต่หาวิธีการกระทำ ในการดับเหตุนั้นๆ ไม่ได้เลย


ผมเห็นคำตอบแบบที่ไม่รู้ว่าจะแย้งอะไรดี เลยเขียนออกมาแบบนี้
ผู้้มีความรู้เห็นอริยมรรคมีองค์แปด ย่อมแตกออกมาได้เองว่า
กิจในมรรคมีอะไรบ้าง ต้องทำอย่างไรบ้าง

อ้างคำพูด:
โทษกู ไม่เป็น เลยโยนให้กิเลสแทน

กล่าวเพ่งโทษกิเลสว่า เพราะ กิเลสน่ะแหละ ทำให้เกิดกรรม

เมื่อยังมีกิเลส คุณจะต้องตาย แล้วเกิดใหม่ ตายแล้วเกิด ไปอีกกี่ชาติล่ะ


ก็เพราะยังโง่คือมีอวิชชา แบบนี้ จึงยังมีกู
หมดโง่ก็หมดกู


อ้างคำพูด:
มีแต่สมมุติ ร่ายมายืดยาว

พูดมาได้ ดับที่กิเลส


อันนี้ ยิ่งหนัก

อ้างคำพูด:
ถ้าชอบวิชาท่องจำ ควรหาคำสอนพระพุทธเจ้าอ่าน ให้หลากหลายนะ

พูดมาได้ อวิชชาทำให้เกิดกิเลส เกิดตอนนี้หรือกำลังจะเกิด


เห็นประโยคนี้แล้ว ขั้นเดียวกับโฮฮับเลย

อ้างคำพูด:
นี่แหละคือ ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
วิธีการดับผัสสะ ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึงเลย


ดับผัสสะ? เอาจริงดิ
โอ้แม่เจ้า แน่ใจว่าที่เขียนมาน่ะเข้าใจสิ่งที่เขียนนะครับ

อ้างคำพูด:
งั้นคนที่ยังมีกิเลส คงไม่สามารถกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ในชีวิตนี้ได้น่ะสิ



ตราบใดที่กิเลสยังมี ตราบนั้นยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์
หมดกิเลสเมื่อไหร่ ถึงที่สุดแห่งทุกข์เมื่อนั้น
ยกตัวอย่างผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ที่ยังมีกิเลสให้ผมดูหน่อยสิครับ?

อ้างคำพูด:
คุณเอ๋ย ที่คุณเป็นแบบนี้ เกิดจาก เหตุของความไม่รู้ที่มีอยู่

และนำความไม่รู้ที่มีอยู่ ไปสร้างเหตุนอกตัว อีกมากมาย
เที่ยวเผยแผ่สิ่งที่ ไม่ใช่วิธีการกระทำ เพื่อให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์

เมื่อมีผู้ที่มีเหตุปัจจัยร่วมกับคุณ ให้มาเชื่อคุณ

คุณพาเขาหลง คุณก็เลยหลงอยู่ เฉกเช่นทุกวันนี้


เอ่อ
ผมเห็นแต่พวกปฏิบัติไปไม่ถึงไหน ปริยัติก็ไม่แม่น
มั่วไปมั่วมาน่ะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 10:34 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
นี่คือ วิธีการดับปฏิจจสมุปบาท หมายถึง การดับเหตุของการเกิด

เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย

ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

การเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ได้แก่
การไม่สร้างเหตุออกไป(การไม่ก้าวล่วง การไม่ทำให้เกิด การสร้างเหตุของการเกิด ออกไป)
ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เหตุจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย


วิธีการกระทำ คือ โยนิโสมนสิการ ได้แก่ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง
ของสภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง(การมีสติ รู้อยู่กับปัจจุบัน)

สภาวะศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ย่อมเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

สมาธิ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ปัญญา(การเห็นสภาวะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามความเป็นจริง) ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย


นี่ก็๋ท่องจำ
โพธิปักขิยธรรมมีอะไรบ้างรู้ไหม?
โพธิปักขิยธรรมจะบริบุรณ์ได้ด้วยเหตุอะไร?




อ้างคำพูด:
ที่คุณนำมาโพส ก็เป็น พระไตรปิฎก สอดไส้

ธรรมฐิติญาณ ต้นฉบับอยู่นี่

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 440&Z=1525


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 526&Z=1594


เอ๊า
ก็พระพุทธเจ้าสอนธรรม เป็นพุทธพจน์
พระสารีบุตรท่านก็หยิบธรรมนั้นแหละนำมาอธิบายเพิ่มเติม
เรียกว่าปฏิสัมภิทามรรค
ลิ้งค์ที่คุณยกมาก็อยู่ติดกับญาณวัตถุ 77 ที่ผมแสดงให้ดูนั่นแหละ
พระไตรเวอร์ชั่นเสียงคุณเพ็ญศรีผมก็มี แต่ไม่ค่อยชอบฟัง เสียงแกไม่ค่อยนุ่มหู
ผมชอบเวอร์ชั่นที่พวกกลุ่มพลังจิตช่วยกันอ่านมากกว่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 10:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


cantona_z เขียน:
อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
งั้นคนที่ยังมีกิเลส คงไม่สามารถกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ในชีวิตนี้ได้น่ะสิ



ตราบใดที่กิเลสยังมี ตราบนั้นยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์
หมดกิเลสเมื่อไหร่ ถึงที่สุดแห่งทุกข์เมื่อนั้น
ยกตัวอย่างผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ที่ยังมีกิเลสให้ผมดูหน่อยสิครับ?




ไม่รู้ว่า คุณอ่านแล้ว จะเข้าใจไหม

เพราะขนาดเรื่องอื่นๆ ที่สนทนากันมา คุณยังไม่เข้าใจเลย


อ่านให้ชัดๆนะว่า วลัยพร โพสไว้ว่าอย่างไร

"งั้นคนที่ยังมีกิเลส คงไม่สามารถกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ในชีวิตนี้ได้น่ะสิ"




แต่ที่คุณพูดมา คนละเรื่อง คนละสภาวะกันเลย

"ยกตัวอย่างผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ที่ยังมีกิเลสให้ผมดูหน่อยสิครับ"


รู้จักไหม กิเลสสังโยชน์ หรือ กิเลส ที่คุณถามมาน่ะ






การละสังโยชน์


ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก หาได้โลก.

สี่จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? สี่จำพวก คือ :-

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายที่ยังละไม่ได้,
มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกที่ยังละไม่ได้, และมีสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้, มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ทั้งยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีการเกิดอีกได้ด้วย, แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๔)บุคคลบางคนในโลกนี้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้แล้ว และยังละสังโยชน์ด้วยเหตุ ให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.


(ประเภทที่ ๑) ภิกษุ ท. ! พระสกิทาคามี นี้แล เป็นผู้ยังละสังโยชน์ ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ไม่ได้ทั้งหมด
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกยังไม่ได้ และละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๒) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามีพวกที่มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ นี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ทั้งหมด แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องเกิดอีกไม่ได้
และละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๓) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามี พวกที่จักปรินิพพานในระหว่างนี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ด้วย ละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องเกิดอีกได้ด้วย
แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีภพไม่ได้.

(ประเภทที่ ๔) ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ขีณาสพ นี้แล เป็นผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ และยังละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ คือบุคคล ๔ จำพวก มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๑/๑๓๑.




ผู้ที่ยังมีกิเลส สามารถกระทำ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้


วิธีกระทำ

เมื่อผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

แค่ดู และรู้ ตามความเป็นจริง ของความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
มีสติรู้อยู่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น





ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.

ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?

ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือเมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.




คิดว่า ได้พูด ในสิ่งที่ควรพูด


เหตุใคร เหตุมัน

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 11:06 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด: walaiporn
นี่แหละคือ ความไม่รู้ชัดในผัสสะที่เกิดขึ้น
วิธีการดับผัสสะ ยิ่งไม่ต้องไปพูดถึงเลย



การถกกับเหล่าผู้ทรงคุณวุฒิในเว็บนี้นี่ให้ความสนุกสนานจริงๆแฮะ

s007

ผัสสะคืออะไร?
การกระทบกันของ อายตนะภายใน กับ อายตนะภายนอก และมีวิญญาณเกิดขี้นรู้เรียกว่าผัสสะ

ตา เห็นรูป จักขุวิญญาณเกิดขึ้นรู้ เรียกว่าผัสสะ
ถ้าดับผัสสะ ก็แปลว่าขณะนั้นไม่เห็นอะไรเลย

มีเสียง กระทบหู โสตวิญญาณเกิดขึ้นรู้ เรียกว่าผัสสะ
ถ้าดับผัสสสะ ขณะนั้นก็ไม่ได้ยิน

มีธรรมารมณ์ กระทบใจ มโนวิญญาณเกิดขึ้นรู้ เรียกว่าผัสสะ
ถ้าดับผัสสสะ ขณะนั้นก็ไม่มีความคิด

ดับผัสสะ 555
เอาจริงดิ

โอยขำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 11:12 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


student เขียน:

ขึ้นอยู่กับการพิจารณาธรรมของผู้ปฏิบัติด้วยครับ ว่านั่นเรียกว่าเป็นวิบาก หรือนั่นเรียกว่าเป็นทุกข์

ความเห็นคนอาจจะบอกว่าอาการร้อน หนาว ตาบอด ตาดี เป็นวิบาก
ความเห็นคนอาจจะบอกว่าอาการร้อน หนาว ตาบอด ตาดี เป็นทุกข์
ความเห็นคนอาจจะบอกว่าความตาย เป็นวิบาก
ความเห็นคนอาจจะบอกว่า ความตายเป็นทุกข์ เกิดขึ้น ก็มีดับเป็นธรรมดา

ความเห็นไหนล่ะที่พึงจะเห็น ส่วนตัวนั้น เป็นทุกข์ครับ


ครับ
เพราะไม่รู้ชัดตามความเป็นจริง จึงยึดเวทนาจากวิบากที่เสวยเป็นสุขครับ
แท้จริงแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นสุข
สรรพสิ่งทั้งปวงเว้นจากนิพพานย่อมตกอยู่ในสภาวะไตรลักษณ์คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
คือไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ (เป็นทุกข์) ไม่ใช่ตัวตนบังคับควบคุมไม่ได้ทั้งสิ้น

สุขเวทนาที่เสวย ก็ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ตลอดไป บังคับควบคุมไม่ได้

พระอรหัตตเถรีท่านนึงจึงกล่าวไว้ว่า
มีแต่ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป

ลองพิจารณาที่ผมยกมาโดยละเอียดนะครับ
หรือพิจารณาตามอนัตตลักขณะสูตรก็ได้
รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณเทียงหรือ
เมื่อไม่เที่ยง เป็นสุขหรือเป็นทุกข์
เมื่อเป็นทุกข์ ควรหรือจะยึดเป็นตัวเราของเรา

อันนี้ผมสรุปสั้นๆจากพระสูตรนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 11:27 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ไม่รู้ว่า คุณอ่านแล้ว จะเข้าใจไหม

เพราะขนาดเรื่องอื่นๆ ที่สนทนากันมา คุณยังไม่เข้าใจเลย


อ่านให้ชัดๆนะว่า วลัยพร โพสไว้ว่าอย่างไร

"งั้นคนที่ยังมีกิเลส คงไม่สามารถกระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ ในชีวิตนี้ได้น่ะสิ"




แต่ที่คุณพูดมา คนละเรื่อง คนละสภาวะกันเลย

"ยกตัวอย่างผู้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ที่ยังมีกิเลสให้ผมดูหน่อยสิครับ"


รู้จักไหม กิเลสสังโยชน์ หรือ กิเลส ที่คุณถามมาน่ะ






การละสังโยชน์


ภิกษุ ท. ! บุคคล ๔ จำพวกเหล่านี้ มีอยู่ในโลก หาได้โลก.

สี่จำพวกเหล่าไหนบ้าง ? สี่จำพวก คือ :-

(๑) บุคคลบางคนในโลกนี้ มีสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายที่ยังละไม่ได้,
มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกที่ยังละไม่ได้, และมีสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๒) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีก ที่ยังละไม่ได้, มีสังโยชน์ตัวเหตุให้ ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๓) บุคคลบางคนในโลกนี้ ละสังโยชน์ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ทั้งยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีการเกิดอีกได้ด้วย, แต่มีสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ที่ยังละไม่ได้.

(๔)บุคคลบางคนในโลกนี้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้แล้ว
ละสังโยชน์ ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้แล้ว และยังละสังโยชน์ด้วยเหตุ ให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.


(ประเภทที่ ๑) ภิกษุ ท. ! พระสกิทาคามี นี้แล เป็นผู้ยังละสังโยชน์ ส่วนเบื้องต่ำทั้งหลาย ไม่ได้ทั้งหมด
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกยังไม่ได้ และละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพ ยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๒) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามีพวกที่มีกระแสในเบื้องบน ไปสู่อกนิฏฐภพ นี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ทั้งหมด แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องเกิดอีกไม่ได้
และละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องมีภพยังไม่ได้.

(ประเภทที่ ๓) ภิกษุ ท. ! พระอนาคามี พวกที่จักปรินิพพานในระหว่างนี้แล
เป็นผู้ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้ด้วย ละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องเกิดอีกได้ด้วย
แต่ยังละสังโยชน์ตัวเหตุให้มีภพไม่ได้.

(ประเภทที่ ๔) ภิกษุ ท. ! พระอรหันต์ขีณาสพ นี้แล เป็นผู้ที่ละสังโยชน์เบื้องต่ำทั้งหลายได้
ละสังโยชน์ตัวเหตุให้ต้องเกิดอีกได้ และยังละสังโยชน์ตัวเหตุ ให้ต้องมีภพได้อีกด้วย.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้ คือบุคคล ๔ จำพวก มีอยู่ในโลก หาได้ในโลก.
- จตุกฺก. อํ. ๒๑/๑๘๑/๑๓๑.


ครับ สังโยชน์ก็คือกิเลสใช่ไหมครับ
พระเสขะประเภท 1-3 หมดกิเลส หมดสังโยชน์หรือยังครับ?
ถึงที่สุดแห่งทุกข์หรือยังครับ?

มีแต่พระอรหันต์ขีณาสพที่ละได้ทั้งสังโยชน์เบื้องต่ำและเบื้องสูงจึงทำที่สุดแห่งทุกข์ได้

ผมถึงได้บอกไงครับว่า
อ้างคำพูด:
ตราบใดที่กิเลสยังมี ตราบนั้นยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์
หมดกิเลสเมื่อไหร่ ถึงที่สุดแห่งทุกข์เมื่อนั้น


ก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ


1. สักกายทิฏฐิ -
2. วิจิกิจฉา -
3. สีลัพพตปรามาส -
4. กามราคะ -
5. ปฏิฆะ -
6. รูปราคะ -
7. อรูปราคะ -
8. มานะ -
9. อุทธัจจะ -
10. อวิชชา -

ตัวไหนไม่ใช่กิเลสบ้างครับ

หึหึ
อ้างคำพูด:
ผู้ที่ยังมีกิเลส สามารถกระทำ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้


วิธีกระทำ

เมื่อผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

แค่ดู และรู้ ตามความเป็นจริง ของความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
มีสติรู้อยู่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น





ภิกษุ ท. ! ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด (นิสฺสารณิยธาตุ) ๕ อย่างเหล่านี้ มีอยู่.

ห้าอย่างอย่างไรเล่า ?

ห้าอย่างคือ :-

ภิกษุ ท. ! ในกรณีนี้คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งกามทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในกามทั้งหลาย ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งเนกขัมมะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในเนกขัมมะ.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดีปราศจาก กามทั้งหลายด้วยดี ;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลายอันทำ ความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะกามเป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งกามทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งพ๎ยาบาท,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในพ๎ยาบาท;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอัพ๎ยาบาท,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอัพ๎ยาบาท.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากพ๎ยาบาทด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะพ๎ยาบาทเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้ เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งพ๎ยาบาท.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งวิหิงสา,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในวิหิงสา ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอวิหิงสา,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอวิหิงสา,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจาก วิหิงสาด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้น และเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะวิหิงสาเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งวิหิงสา.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือเมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งรูปทั้งหลาย,
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไป ในรูปทั้งหลาย ;

แต่เมื่อ ภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งอรูป,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในอรูป.

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากรูปทั้งหลายด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะรูปทั้งหลายเป็นปัจจัย; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่งรูปทั้งหลาย.

ภิกษุ ท. ! ข้ออื่นยังมีอีก, คือ เมื่อภิกษุ กระทำในใจอยู่ซึ่งสักกายะ (ความยึดถือว่าตัวตน),
จิตก็ไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ไม่น้อมไปในสักกายะ;

แต่เมื่อภิกษุนั้น กระทำในใจอยู่ซึ่งความดับแห่งสักกายะ,
จิตก็แล่นไป ก็เลื่อมใส ก็ตั้งอยู่ ก็น้อมไป ในความดับแห่งสักกายะ,

จิตของเธอนั้น ชื่อว่าถึงดี อบรมดี ออกดี หลุดพ้นดี ปราศจากสักกายะด้วยดี;
และเธอนั้นหลุดพ้นแล้ว จากอาสวะทั้งหลาย อันทำความคับแค้นและเร่าร้อน
ที่เกิดเพราะสักกายะ เป็นปัจจัย ; เธอก็ไม่ต้องเสวยเวทนานั้น.

อาการอย่างนี้ นี้เรากล่าวว่า ธาตุเป็นเครื่องสลัดเสียซึ่ง สักกายะ.

นันทิ (ความเพลิน) ในกาม ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในพ๎ยาบาท ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ;
นันทิในวิหิงสา ก็ไม่นอนตาม (ในจิต)ของเธอ ;
นันทิในรูป ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ ;
นันทิในสักกายะ ก็ไม่นอนตาม (ในจิต) ของเธอ.

เธอนั้น เมื่อกามนันทิก็ไม่นอนตาม พ๎ยาปาท นันทิก็ไม่นอนตาม วิหิงสานันทิก็ไม่นอนตาม รูปนันทิก็ไม่นอนตาม สักกายนันทิก็ไม่นอนตาม ดังนี้แล้ว ;

ภิกษุ ท. ! เรากล่าวภิกษุนี้ว่า ปราศจากอาลัยตัดตัณหาขาดแล้ว รื้อถอนสังโยชน์ได้แล้ว กระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ได้แล้ว เพราะรู้เฉพาะซึ่งมานะโดยชอบ.

ภิกษุ ท. ! เหล่านี้แล ธาตุที่สามารถสลัดซึ่งสิ่งที่ควรสลัด ๕ อย่าง.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๒๗๒/๒๐๐.





อ้างคำพูด:
อ้างคำพูด:
ผู้ที่ยังมีกิเลส สามารถกระทำ ให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้


วิธีกระทำ

เมื่อผัสสะเกิด สิ่งที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดความรู้สึกนึกคิด

แค่ดู และรู้ ตามความเป็นจริง ของความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น
มีสติรู้อยู่ ไม่สร้างเหตุออกไป ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น



ครับ
ผู้มีกิเลสสามารถพากเพียรปฏิบัติเพื่อความถึงที่สุดแห่งทุกข์
ระหว่างกระทำตามที่คุณว่ามาน่ะ ยังไม่ถึงนะครับ
ยังอยู่ในช่วงพากเพียรปฏิบัติเพื่อให้ถึง

แต่จะถึงที่สุดแห่งทุกข์ ต้องหมดกิเลสครับ

ผมถึงได้บอกไงครับว่า
อ้างคำพูด:
ตราบใดที่กิเลสยังมี ตราบนั้นยังไม่ถึงที่สุดแห่งทุกข์
หมดกิเลสเมื่อไหร่ ถึงที่สุดแห่งทุกข์เมื่อนั้น


มีตรงไหนที่ผมบอกผิดไปหรือครับ


ถกกับผู้ทรงคุณวุฒิเว็บนี้ ให้ความเพลิดเพลินดีครับ
s007

โอย ขำ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 11:42 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
อุปัชฌายสูตร

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า

เราทั้งหลายจักเป็นผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย

เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย

ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v ... 603&Z=1648




นี่คือ วิธีการดับปฏิจจสมุปบาท หมายถึง การดับเหตุของการเกิด

เป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ

ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ เห็นแจ้งกุศลธรรมทั้งหลาย

ประกอบการเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ทุกวัน ทุกคืน

การเจริญโพธิปักขิยธรรมทั้งหลาย ได้แก่
การไม่สร้างเหตุออกไป(การไม่ก้าวล่วง การไม่ทำให้เกิด การสร้างเหตุของการเกิด ออกไป)
ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เหตุจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย


วิธีการกระทำ คือ โยนิโสมนสิการ ได้แก่ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง
ของสภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง(การมีสติ รู้อยู่กับปัจจุบัน)

สภาวะศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ย่อมเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

สมาธิ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ปัญญา(การเห็นสภาวะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามความเป็นจริง) ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย



ครับ

อ้างคำพูด:
การไม่สร้างเหตุออกไป(การไม่ก้าวล่วง การไม่ทำให้เกิด การสร้างเหตุของการเกิด ออกไป)
ตามความรู้สึกนึกคิดที่เกิดขึ้น เหตุจาก ผัสสะ เป็นเหตุปัจจัย


ครับ อันนี้เรียกสัมมัปธาน4 และ อินทรียสังวร

ถือเป็นสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะ สัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจา

อ้างคำพูด:
วิธีการกระทำ คือ โยนิโสมนสิการ ได้แก่ ดูตามความเป็นจริง รู้ตามความเป็นจริง
ของสภาวะที่เกิดขึ้น ตามความเป็นจริง(การมีสติ รู้อยู่กับปัจจุบัน)


ครับ โยนิโสมนสิการ ถือเป็นสัมมาทิฏฐิครับ
การมีสติอยู่กับปัจจุบัน ถือเป็นสัมมาสติครับ

อ้างคำพูด:
สภาวะศิล ที่เป็นไปเพื่อสมาธิ ย่อมเกิดขึ้นตามความเป็นจริง

สมาธิ ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย

ปัญญา(การเห็นสภาวะ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ตามความเป็นจริง) ย่อมเกิดขึ้นเอง ตามเหตุปัจจัย



ครับ
ปัญญาที่ว่า เป็นสัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะครับ

สมาธิที่ว่าเป็นสัมมาสมาธิ สัมมาสติครับ
ศีลที่ว่า เป็น สัมมากัมมันตะ สัมมาวาจา สัมมาอาขีวะ
การพากเพียรปฏิบัติเรียกว่า สัมมาวายามะครับ

ที่คุณกล่าวมาทั้งหมด ไม่มีอะไรพ้นไปจากอริยมรรคมีองค์ 8 ครับ
แม้ โพธิปักขิยธรรม 37 ประการ ก็ล้วนสงเคราะห์ลงมรรคมีองค์แปดได้ทั้งนั้น


หากพิจารณาเป็นนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ม.ค. 2014, 12:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 มี.ค. 2013, 20:15
โพสต์: 91

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จริงๆผู้ทีอ้างตัวว่าเป็นนักปฏิบัติ ถ้าได้ศึกษามหาสติปัฏฐานสุตรครบถ้วนบริบูรณ์ดีแล้ว
ก็จะสามารถทำความเข้าใจสิ่งที่ผมพูดได้ไม่ยาก

ถ้ายังสงสัยผมแนะให้ว่า ในบทธัมมานุปัสสนา ช่วงการพิจารณาอริยสัจ
พระพุทธเจ้าได้ทรงอธิบายไว้ชัดเจนว่า อริยสัจทั้งสี่
คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ นิโรธคามินีปฏิปทานั้นคืออะไรบ้าง
ซ้ำท่านยังอธิบายอริยมรรคมีองค์แปดไว้ชัดเจนว่าแต่ละอย่างครอบคลุมอะไร

จริงๆถ้าไม่ติดมานะว่าข้าเป็นนักปฏิบัติ ข้าเก๋า
แล้วเริ่มต้นด้วยการศึกษาพุทธพจน์โดยละเอียดก็จะเห็นตามที่ผมว่า โดยแทบไม่ต้องแย้งอะไรเลย


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 220 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 198 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร