วันเวลาปัจจุบัน 26 เม.ย. 2024, 22:07  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งในปัจจุบัน มีอยู่


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ

เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์



............................................

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้
ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า

พระสมณโคดมไม่บัญญัติความ กำหนดรู้กามทั้งหลาย
ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย
ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย
ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย
ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย

เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ
อนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0



หมายเหตุ:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ


นี่คือ ความหมายของนิพพาน ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 13 ต.ค. 2013, 14:12, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 17:22 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 ธ.ค. 2012, 15:49
โพสต์: 932


 ข้อมูลส่วนตัว


walaiporn เขียน:
ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่ง
บัญญัตินิพพานอันยวดยิ่งในปัจจุบัน มีอยู่


ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ

เลิศกว่าการบัญญัตินิพพานอันยอดยิ่งในปัจจุบันแห่งสมณพราหมณ์



............................................

ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกหนึ่งย่อมกล่าวตู่เราผู้มีวาทะอย่างนี้
ผู้กล่าวอย่างนี้ด้วยคำไม่จริง ด้วยคำเปล่า ด้วยคำเท็จ ด้วยคำไม่เป็นจริงว่า

พระสมณโคดมไม่บัญญัติความ กำหนดรู้กามทั้งหลาย
ไม่บัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลาย
ไม่บัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลาย


ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติความกำหนดรู้กามทั้งหลายด้วย
ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้รูปทั้งหลายด้วย
ย่อมบัญญัติความกำหนดรู้เวทนาทั้งหลายด้วย

เราเป็นผู้หายหิวแล้ว ดับแล้ว เย็นแล้ว ย่อมบัญญัติ
อนุปาทาปรินิพพานในปัจจุบัน ฯ


http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0



หมายเหตุ:

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความหลุดพ้นเพราะไม่ถือมั่น
เพราะรู้ความเกิด ความดับ คุณ โทษ
และอุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ


นี่คือ ความหมายของนิพพาน ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสไว้
มันง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ ป้านิพพานยัง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ย. 2013, 20:26 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


อย่าเก....ซิ.....

ดูก่อนว่าเขาโพสต์อะไร...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 04:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผมขอยกความเห็นของคุณวไลพรที่แสดงไว้ในกระทู้อื่นมาตอบ
เห็นว่ามันเป็นประเด็นเดียวกัน ที่เอามาเป็นเพียงบางส่วน
เป็นความเห็นของคุณวไลพรโดยเฉพาะ

ยังมีอีกบางส่วนที่ไม่ยกมา คือส่วนที่คุณวไลพรบอกว่าเป็นตำรา
เป็นแบบนี้ผมเห็นว่า มันไม่เหมาะไม่ควรที่จะไปวิจารณ์ เพราะตำราที่ว่า
เน้นไปในแนวทาง พจนานุกรมแปลคำศัพท์ เราไม่รู้จุดประสงค์ในการแปล เหตุนี้จึงขอผ่าน
ไม่ขอยกมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการไปปรามาสท่านผู้แต่ง แต่บางครั้งอาจอ้างเนื้อที่คล้ายกัน
ก็ถือเสียว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับท่าน อ้างอิงครับ.......

walaiporn เขียน:
สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง สังโยชน์ ๑๐ ยังมีอยู่ แต่เบาบางลง ตามเหตุปัจจัย
ได้แก่ นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้ คือ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง สังโยชน์ ๑๐ ถูกทำลายลง เป็นสมุจเฉทประหาน


มีหลายท่านที่ให้ความเห็น เรื่องนิพพาน๒นี้ไปต่างๆนาๆ
บ้างก็ว่า สอุปาทิเสสฯ....... ยังมีขันธ์๕ อนุปาทิเสส.....ไม่มีขันธ์๕

หรือสอุปาทิเสสฯ...ยังมีอุปาทิหลงเหลืออยู่ อนุปาทิเสสฯ....ไม่มีอุปาทิหลงเหลือแล้ว

หรือสอุปาทิเสสฯ....อรหันต์ที่ยังมีชีวิต อนุปาทิเสส...อรหันต์ที่ไม่มีชีวิตแล้ว

และจขกทคุณวไลพรบอกว่า
สอุปาทิเสสฯ ยังมีสังโยชน์แต่เบาบางตามเหตุปัจจัย
อนุปาทิเสส สังโยชน์๑๐ถูกทำลายลงเป็นสมุจเฉทประหาน

สิ่งที่ผมเอามาอ้างอิงทั้งหมด.....ผมไม่เห็นด้วยครับ
แล้วทำไมถึงไม่เห็นด้วย มันก็ต้องมีสิ่งที่เอามาโต้แย้ง นั้นก็คือพุทธวจน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 04:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
ผมขอยกความเห็นของคุณวไลพรที่แสดงไว้ในกระทู้อื่นมาตอบ
เห็นว่ามันเป็นประเด็นเดียวกัน ที่เอามาเป็นเพียงบางส่วน
เป็นความเห็นของคุณวไลพรโดยเฉพาะ

ยังมีอีกบางส่วนที่ไม่ยกมา คือส่วนที่คุณวไลพรบอกว่าเป็นตำรา
เป็นแบบนี้ผมเห็นว่า มันไม่เหมาะไม่ควรที่จะไปวิจารณ์ เพราะตำราที่ว่า
เน้นไปในแนวทาง พจนานุกรมแปลคำศัพท์ เราไม่รู้จุดประสงค์ในการแปล เหตุนี้จึงขอผ่าน
ไม่ขอยกมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยงการไปปรามาสท่านผู้แต่ง แต่บางครั้งอาจอ้างเนื้อที่คล้ายกัน
ก็ถือเสียว่า ไม่ได้เกี่ยวข้องกับท่าน อ้างอิงครับ.......

walaiporn เขียน:
สอุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง สังโยชน์ ๑๐ ยังมีอยู่ แต่เบาบางลง ตามเหตุปัจจัย
ได้แก่ นิพพานที่นี่เดี๋ยวนี้ คือ การหยุดสร้างเหตุนอกตัว

อนุปาทิเสสนิพพาน หมายถึง สังโยชน์ ๑๐ ถูกทำลายลง เป็นสมุจเฉทประหาน


มีหลายท่านที่ให้ความเห็น เรื่องนิพพาน๒นี้ไปต่างๆนาๆ
บ้างก็ว่า สอุปาทิเสสฯ....... ยังมีขันธ์๕ อนุปาทิเสส.....ไม่มีขันธ์๕

หรือสอุปาทิเสสฯ...ยังมีอุปาทิหลงเหลืออยู่ อนุปาทิเสสฯ....ไม่มีอุปาทิหลงเหลือแล้ว

หรือสอุปาทิเสสฯ....อรหันต์ที่ยังมีชีวิต อนุปาทิเสส...อรหันต์ที่ไม่มีชีวิตแล้ว

และจขกทคุณวไลพรบอกว่า
สอุปาทิเสสฯ ยังมีสังโยชน์แต่เบาบางตามเหตุปัจจัย
อนุปาทิเสส สังโยชน์๑๐ถูกทำลายลงเป็นสมุจเฉทประหาน

สิ่งที่ผมเอามาอ้างอิงทั้งหมด.....ผมไม่เห็นด้วยครับ
แล้วทำไมถึงไม่เห็นด้วย มันก็ต้องมีสิ่งที่เอามาโต้แย้ง นั้นก็คือพุทธวจน



ไหนล่ะพุทธพจน์ พูดค้างๆคาๆอีก :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 05:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอยกพระสูตรอันเป็นพุทธวจนที่เกี่ยวข้องโดยตรง.......

ธาตุสูตร
[๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้
มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ สอุปาทิเสสนิพพาน
ธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ
เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ อยู่จบพรหมจรรย์ ทำ
กิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของตนอันบรรลุแล้ว มี
สังโยชน์ในภพนี้สิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุนั้นย่อมเสวย
อารมณ์ทั้งที่พึงใจและไม่พึงใจ ยังเสวยสุขและทุกข์อยู่ เพราะความที่อินทรีย์ ๕
เหล่าใดเป็นธรรมชาติไม่บุบสลาย อินทรีย์ ๕ เหล่านั้นของเธอยังตั้งอยู่นั่นเทียว
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นไปแห่งราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่ง
โมหะ ของภิกษุนั้น นี้เราเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็อนุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว มีประโยชน์ของ
ตนอันบรรลุแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ
เวทนาทั้งปวงในอัตภาพนี้แหละของภิกษุนั้น เป็นธรรมชาติอันกิเลสทั้งหลายมี
ตัณหาเป็นต้นให้เพลิดเพลินมิได้แล้ว จัก (ดับ) เย็น ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรา
เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการ
นี้แล ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี
พระภาคตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว อันนิพพานธาตุ
อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา
เครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่
ดับสนิทแห่งภพทั้งหลายโดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า
ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ชน
เหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพานเป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม
อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ
เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... agebreak=0

ในพระสูตรบทนี้ได้กล่าวถึง นิพพานธาตุ ไว้สองลักษณะ นั้นก็คือ....

สอุปาทิเสสนิพพานธาตุและอนุปาทิเสสนิพพาน.......

จากการอ่านพระสูตรทำให้รู้ว่า สภาวะนิพพานทั้งสองยังคงความเป็นธาตุอยู่

ดังนั้นสิ่งที่เราต้องพิจารณา ก็คือ สภาวะใดหรือสิ่งใดมีความเป็น...ธาตุ

บัญญัติเรื่องธาตุ มีแสดงไว้ในเรื่อง...ธาตุ๑๘....

สิ่งแรกที่เรารู้ได้จากเรื่องนี้ก็คือ นิพพานทั้ง๒มีลักษณะเป็นธาตุ
นี่ก็แสดงให้รู้ว่า จะเป็นสอุปาทิเสสนิพพานธาตุหรืออนุปาทิเสสนพพานธาตุ
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ยังมีชีวิต เพราะว่าความเป็นธาตุเกิดได้กับบุคคลผู้ยังมีชีวิตเท่านั้น

สรุปในขั้นแรก ......ทั้งสอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพานเป็นลักษณะ
ของผู้ที่ยังมีชีวิต เราเรียกบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวว่า พระอรหันต์
ดังนั้นพระอรหันต์จึงหมายถึง พระอริยบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ในความเป็นพระอรหันต์
ที่ดับกิเลสได้หมดแล้วนั้น จะมีความแตกต่างกันของชาติภพปัจจุบัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 05:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อความจากบาลี


"ภิกษุทั้งหลาย สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน? ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้ว ปลงภาระลงได้แล้ว บรรลุประโยชน์ตนแล้ว มีสังโยชน์เครื่องผูกมัดไว้กับภพหมดสิ้นไปแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้ชอบ อินทรีย์ ๕ ของเธอยังดำรงอยู่เทียว เพราะอินทรีย์ทั้งหลายยังไม่เสียหาย เธอย่อมได้เสวยอารมณ์ทั้งที่ึพึงใจและไม่พึงใจ ย่อมเสวยทั้งสุขและทุกข์ อันใด เ็ป็นความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะของเธอ อันนี้ เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ"


"ภิกษุทั้งหลาย อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็นไฉน? ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นอรหันต์ สิ้นอาสวะแล้ว....หลุดพ้นแล้วเพราะรู้ชอบ อารมณ์ที่ได้เสวย (เวทยิต) ทั้งปวง ในอัตภาพนี้แหละของเธอ ซึ่งเธอไม่ติดใจพัวพันแล้ว (อนภินันทิต) จักเ็ป็นของเย็น ข้อนี้ เรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ"


ต่อจากนี้ มีคาถาสำทับความอีกว่า

"นิพพานธาตุ ๒ อย่างเหล่านี้ พระผู้ทรงจักษุ ผู้คงที่ ไม่ขึ้นต่อสิ่งใด ได้ทรงประกาศไว้แล้ว คือ นิพพานธาตุอย่างหนึ่ง เ็ป็นทิฏฐธัมมิกะ (มีในปัจจุบัน หรือทันตาเห็น) ชื่อว่า สอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ ส่วนนิพพานธาตุอีกอย่างหนึ่ง เ็ป็นสัมปรายิกะ (มีในเบื้องหน้า หรือเป็นของล้ำ) เ็ป็นที่ภพทั้งหลายดับไปหมดสิ้น ชื่อว่า อนุปาทิเสส"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 05:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:


สิ่งแรกที่เรารู้ได้จากเรื่องนี้ก็คือ นิพพานทั้ง๒มีลักษณะเป็นธาตุ
นี่ก็แสดงให้รู้ว่า จะเป็นสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หรือ อนุปาทิเสสนพพานธาตุ
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ยังมีชีวิต เพราะว่าความเป็นธาตุเกิดได้กับบุคคลผู้ยังมีชีวิตเท่านั้น


สรุปในขั้นแรก ......ทั้งสอุปาทิเสสนิพพานและอนุปาทิเสสนิพพานเป็นลักษณะ
ของผู้ที่ยังมีชีวิต เราเรียกบุคคลที่มีลักษณะดังกล่าวว่า พระอรหันต์
ดังนั้นพระอรหันต์จึงหมายถึง พระอริยบุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่ในความเป็นพระอรหันต์
ที่ดับกิเลสได้หมดแล้วนั้น จะมีความแตกต่างกันของชาติภพปัจจุบัน [/b]



อ้างคำพูด:
สิ่งแรกที่เรารู้ได้จากเรื่องนี้ก็คือ นิพพานทั้ง๒มีลักษณะเป็นธาตุ
นี่ก็แสดงให้รู้ว่าจะเป็น สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หรือ อนุปาทิเสสนพพานธาตุ
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ยังมีชีวิต


คำว่า "เรารู้"ในที่นี้คือการตีความด้วยทิฏฐิ(ความเห็น)ของตนเอง

ถามเหตุผล ก็ในเมื่อมันเหมือนกัน แล้วทำไมจึงเป็นนิพพาน ๒ อย่างล่ะงั้น แสดงว่าต้องต่างกันในแง่ใดแง่หนึ่ง ถูกไหมพี่โฮ :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 08:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
สิ่งแรกที่เรารู้ได้จากเรื่องนี้ก็คือ นิพพานทั้ง๒มีลักษณะเป็นธาตุ
นี่ก็แสดงให้รู้ว่าจะเป็น สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หรือ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ยังมีชีวิต



ถ้าผู้ศึกษาพระพุทธศาสนาพอมีพื้นฐานทางภาษาของเขาบ้างแล้วพอแยกแยะรากศัพท์เองได้พอสมควร โดยเอาทั้ง "สอุปาทิเสส" กับ "อนุปาทิเสส" มาวางดู ว่าทั้งคู่มีความหมายอย่างไรแยกออกมา ถ้าอ่านแต่พระสูตรไปอย่างงั้น อ่านแล้วอาจตีคลุ่มตีความคลุมไปเองแยกแยะอะไรไม่ออกเลย :b1: พี่โฮว่าที่กรัชกายพูดเนีย ถูกหรือผิดครับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 08:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ธาตุสูตร


[๒๒๒] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้ ๒ ประการเป็นไฉน คือ
สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ อนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุเป็นไฉน
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นพระอรหันตขีณาสพ
อยู่จบพรหมจรรย์ ทำกิจที่ควรทำเสร็จแล้วฯลฯ


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น
พระผู้มีพระภาค ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

นิพพานธาตุ ๒ ประการนี้

พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว
อันนิพพานธาตุ อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้
ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ



ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง) เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง
อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสส

ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ


ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพาน เป็นที่สิ้นกิเลสเพราะบรรลุธรรม
อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ



เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคตรัสแล้ว
เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วฉะนี้แล ฯ




http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/v ... agebreak=0



หมายเหตุ:

คำกล่าวในตอนแรก "พระอรหันตขีณาสพ" เป็นคำบอกเล่า ของพระอานนท์

คำกล่าวท้ายสุด เป็นคำกล่าวของพระพุทธเจ้า

พระตถาคต ผู้มีจักษุผู้อันตัณหา และทิฐิไม่อาศัยแล้ว ผู้คงที่ประกาศไว้แล้ว
อันนิพพานธาตุ อย่างหนึ่งมีในปัจจุบันนี้
ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ



ส่วนนิพพานธาตุ (อีกอย่างหนึ่ง)
เป็นที่ดับสนิทแห่งภพทั้งหลาย โดยประการทั้งปวง อันมีในเบื้องหน้า

ชื่อว่าอนุปาทิเสส ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพาน เป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรม อันเป็นสาระ เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด ฯ






สองสภาวะนี้ แตกต่างกันอย่างโดยสิ้นเชิง



มีในปัจจุบันนี้ ชื่อว่าสอุปาทิเสส เพราะสิ้นตัณหา เครื่องนำไปสู่ภพ


กับ


อันมีในเบื้องหน้า ชื่อว่าอนุปาทิเสส
ชนเหล่าใดรู้บทอันปัจจัยไม่ปรุงแต่งแล้วนี้
มีจิตหลุดพ้นแล้วเพราะสิ้นตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพ

ชนเหล่านั้นยินดีแล้วในนิพพาน เป็นที่สิ้นกิเลส
เพราะบรรลุธรรม อันเป็นสาระ
เป็นผู้คงที่ ละภพได้ทั้งหมด

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


อนุปาทาปรินิพพาน

คิลานสูตรที่ ๒

[๙๐] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า

ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุรูปหนึ่งในวิหารโน้น เป็นผู้ใหม่ ไม่ปรากฏชื่อและโคตร
เป็นผู้อาพาธ ถึงความทุกข์ เป็นไข้หนัก

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน โอกาส ขอพระผู้มีพระภาค
ทรงอาศัยความอนุเคราะห์ เสด็จไปหาภิกษุนั้นเถิดพระเจ้าข้า ฯ

ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงสดับคำว่าภิกษุใหม่ เป็นไข้ทรงทราบชัด ว่า
เป็นภิกษุไม่ปรากฏชื่อและโคตรจึงเสด็จเข้าไปหาภิกษุนั้น

ภิกษุนั้นได้เห็น พระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วปูอาสนะไว้ที่เตียง
ครั้งนั้นแล พระผู้มี พระภาคได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า

อย่าเลย ภิกษุเธออย่าปูอาสนะที่เตียงเลย อาสนะที่เขาจัดไว้เหล่านี้มีอยู่ เราจักนั่งบนอาสนะนั้น
พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบน อาสนะซึ่งเขาจัดไว้ ครั้นแล้วได้ตรัสกะภิกษุนั้นว่า

ดูกรภิกษุ เธอพอทนได้หรือ เธอยังอัตภาพให้เป็นไปได้หรือ
ทุกขเวทนาลดน้อยลง ไม่เจริญแก่กล้าหรือ ความทุเลาย่อมปรากฏ
ความกำเริบไม่ปรากฏหรือ ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทนไม่ไหว ยังอัตภาพให้เป็นไปไม่ได้ ฯลฯ
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่ติเตียนตนโดยศีลเลย พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอไม่ติเตียนตนโดยศีลไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น
เธอจะมีความรังเกียจ มีความเดือดร้อนเพราะเรื่องอะไรเล่า ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ


พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้ เมื่อเป็น
เช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว
ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทาปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ


[๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิต ของภิกษุนั้นหลุดพ้นจาก
อาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒


http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%AA ... _%E0%B9%92





ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค
ทรงแสดงเพื่อสีลวิสุทธิเลย พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดูกรภิกษุ ถ้าเธอยังไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อสีลวิสุทธิไซร้ เมื่อเป็น
เช่นนั้น เธอจะรู้ทั่วถึงธรรมที่เราแสดงแล้วประพฤติเพื่ออะไรเล่า ฯ

ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 09:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


สอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส


การที่จะรู้ว่า สอุปาทิเสสและอนุปาทิเสส เป็นอย่างไร

ก็ต้องรู้ก่อนว่า สิ่งที่เรียกว่า ภพ หมายถึงอะไร


ผิดกับ อนุปาทาปรินิพพาน ไม่จำเป็นต้องรู้ความหมาย

เพียงประพฤติตามคำสอน ก็สามารถกระทำ เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน



ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ทั่วถึงธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว
เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน พระเจ้าข้า ฯ

พ. ดีแล้วๆ ภิกษุ เป็นการถูกต้องดีแล้ว
ที่เธอรู้ทั่วถึงธรรมอันเรา แสดงแล้วเพื่ออนุปาทาปรินิพพาน
เพราะว่าธรรมที่เราแสดงแล้ว ล้วนมีอนุปาทาปรินิพพานเป็นความมุ่งหมาย ฯ

[๙๑] พ. ดูกรภิกษุ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยง หรือไม่เที่ยง ฯ

ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯลฯ
พ. หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มโนวิญญาณ มโนสัมผัส แม้สุขเวทนาทุกขเวทนา หรือ
อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง ฯ
ภิ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ฯ
ภิ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า ฯ
พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือ หนอที่จะตาม
เห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ฯ
ภิ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรภิกษุ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในจักษุ ฯลฯ
แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย
เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีวิญญาณ
หยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว
กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มีฉะนี้ ฯ

พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว ภิกษุนั้นชื่นชม ยินดีภาษิตของ
พระผู้มีพระภาค ก็แลเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่
จิต ของภิกษุนั้นหลุดพ้น จากอาสวะเพราะไม่ถือมั่น ดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๒



หมายเหตุ:

ถ้าได้ศึกษาคำสอน ที่พระผู้มีพระภาค ทรงตรัสสอนในแต่ละบุคคล
ไม่ว่าจะกับคนเดียว หรือ เป็นหมู่คณะ

สิ่งที่ พระองค์จะทรงสอน มุ่งดับเหตุของการเกิด เป็นหลัก
โดยการให้ อุบายเครื่องสลัดออกแห่งผัสสายตนะ ๖ ประการ

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 09:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


เจ้าศากยะพระนามว่าสรณา(โสดาบัน ที่ยังดื่มเหล้า)

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค [๑๑. โสตาปัตติสังยุต]
๓. สรณานิวรรค ๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร

๔. ปฐมสรณานิสักกสูตร
ว่าด้วยเจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิ๑ สูตรที่ ๑

[๑๐๒๐] เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงกบิลพัสดุ์
สมัยนั้น เจ้าศากยะพระนามว่าสรณานิสวรรคตแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า

“เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จ
สัมโพธิในวันข้างหน้า”

ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์มาประชุมพร้อม
กันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า

“ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ
บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรณานิศากยะ สวรรคตแล้ว

พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทาง
ตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ แต่เจ้าสรณานิศากยะถึง
ความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์”

ครั้งนั้น เจ้าศากยะพระนามว่ามหานามะเสด็จเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่
ประทับ ถวายอภิวาทแล้วประทับนั่ง ณ ที่สมควร ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดัง
นี้ว่า

“ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานวโรกาส เจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว
พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความ
แน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’

ได้ยินว่า ณ ที่นั้น เจ้าศากยะหลายพระองค์ มาประชุมพร้อมกันต่างตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า

‘ท่านทั้งหลาย น่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยปรากฏ บัดนี้ใครเล่า ณ ที่นี้จักไม่เป็นพระโสดาบัน เพราะเจ้าสรณานิศากยะสวรรคตแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ทรงพยากรณ์ท้าวเธอว่า

‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’
แต่เจ้าสรณานิศากยะ ถึงความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์”

พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “มหาบพิตร อุบาสกผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และ
พระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร

บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง พึงกล่าวถึงอุบาสกนั้นใดว่า ‘เป็นผู้ถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์เป็นสรณะตลอดกาลนาน’

บุคคลเมื่อจะกล่าวให้ถูกต้อง ก็พึงกล่าวถึงเจ้าศากยะ พระนามว่าสรณานิว่า ‘เป็นอุบาสก ผู้ทรงถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสรณะตลอดกาลนาน’
พระองค์จะถึงความตกต่ำได้อย่างไร

มหาบพิตร บุคคลบางคนในโลกนี้

๑. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
มีหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) มีชวนปัญญา (ปัญญาแล่นไป)
และถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ
อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไปด้วยปัญญาอันยิ่งเองเข้าถึงอยู่
ในปัจจุบัน แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิ
แห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต

๒. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ในพระสงฆ์ ฯลฯ มีหาสปัญญา มีชวนปัญญา แต่ไม่
ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ เขาจึงเป็นโอปปาติกะ เพราะโอรัมภาคิย-
สังโยชน์ ๕ ประการสิ้นไป จักปรินิพพานในภพนั้น ไม่หวน
กลับมาจากโลกนั้นอีก แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์
ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต

๓. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ
ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เขาจึงเป็นพระสกทาคามี มาสู่โลกนี้อีกเพียงครั้งเดียว ก็จะทำ
ที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป เพราะ
บรรเทาราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางได้ แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก
กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และวินิบาต

๔. ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า ‘แม้
เพราะเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ฯลฯ เป็นศาสดา
ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นพระพุทธเจ้า เป็นพระผู้มี
พระภาค’ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม
ฯลฯ ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นในพระสงฆ์ ฯลฯ
ไม่มีหาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ
เขาจึงเป็นพระโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอนที่จะ
สำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า เพราะสังโยชน์ ๓ ประการสิ้นไป
แม้บุคคลนี้ก็พ้นจากนรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต
อบาย ทุคติ และวินิบาต

๕. ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขา
มีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์
ปัญญินทรีย์ และธรรมทั้งหลายที่ตถาคตประกาศแล้ว ย่อม
ควรแก่การพิจารณาด้วยปัญญาโดยประมาณ แม้บุคคลนี้ก็ไม่ไป
สู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต อบาย ทุคติ และ
วินิบาต

๖. ไม่ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระธรรม ฯลฯ
ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ ฯลฯ ไม่มี
หาสปัญญา ไม่มีชวนปัญญา ทั้งไม่ถึงพร้อมด้วยวิมุตติ แต่เขา
มีธรรมเหล่านี้ คือ สัทธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์ และเขามี
ศรัทธาพอประมาณ ความรักพอประมาณในพระตถาคต แม้
บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ไปสู่นรก กำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน ภูมิแห่งเปรต
อบาย ทุคติ และวินิบาต

มหาบพิตร แม้หากต้นสาละใหญ่เหล่านี้พึงรู้จักคำสุภาษิต คำทุพภาษิต
อาตมภาพก็จะพยากรณ์ต้นสาละใหญ่เหล่านี้ว่า ‘เป็นโสดาบัน ไม่มีทางตกต่ำ มี
ความแน่นอนที่จะสำเร็จสัมโพธิในวันข้างหน้า’ ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเจ้าสรณานิศากยะเลย

เพราะเจ้าสรณานิศากยะได้สมาทานสิกขาบทในเวลาจะสวรรคต”




หมายเหตุ:

ใจความที่สำคัญที่สุด

“เจ้าสรณานิศากยะ ถึงความท้อแท้ในสิกขา เสวยน้ำจัณฑ์” ไม่ได้ดื่มเพื่อความบันเทิงหรือ คลุกคลีด้วยหมู่คณะ แต่ดื่มเพราะท้อแท้ในสิกขา

เกิดจาก เหตุปัจจัยที่มีอยู่ ได้แก่ อวิชชา ไม่ได้รู้แจ้งแทงตลอดด้วยตนเอง แต่ปฏิบัติตามความศรัทธา ในคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นโสดาบันประเภท สัทธานุสารี มีความไม่ตกต่ำ ตามเหตุปัจจัย

“เจ้าสรณานิศากยะได้สมาทานสิกขาบทในเวลาจะสวรรคต” คือ เป็นผู้ที่มีความมั่นคงในพระรัตนตรัย เตรียมตัวพร้อมก่อนที่จะตาย

ที่มาของเรื่อง โสดาบัน ดื่มเหล้า ในสมัยพุทธกาล

มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎก “สรณานิสักกสูตร”

http://www.geocities.ws/tmchote/tpd-mcu/tpd19-4.htm

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
สิ่งแรกที่เรารู้ได้จากเรื่องนี้ก็คือ นิพพานทั้ง๒มีลักษณะเป็นธาตุ
นี่ก็แสดงให้รู้ว่าจะเป็น สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หรือ อนุปาทิเสสนพพานธาตุ
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ยังมีชีวิต


คำว่า "เรารู้"ในที่นี้คือการตีความด้วยทิฏฐิ(ความเห็น)ของตนเอง

ถามเหตุผล ก็ในเมื่อมันเหมือนกัน แล้วทำไมจึงเป็นนิพพาน ๒ อย่างล่ะงั้น แสดงว่าต้องต่างกันในแง่ใดแง่หนึ่ง ถูกไหมพี่โฮ :b1:


กรัชกายบอกว่า"คำว่า "เรารู้"ในที่นี้คือการตีความด้วยทิฏฐิ(ความเห็น)ของตนเอง"

บอกเป็นร้อยครั้งแล้วว่า สิ่งที่พี่โฮโพสเป็นเพียงความเห็น พูดจาให้มันถูเรื่องหน่อย



ในความเป็นพระอรหันต์ ที่แบ่งเป็นสองอย่างก็เพราะ
แตกต่างกันในเรื่อง........สัญญาเวทยิตนิโรธ
สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นนิพพานที่ยังติด....."สัญญาในเวทนา"อยู่
ส่วนอนุปาทิเสสนิพพาน เป็นนิพพานที่......ดับ"สัญญาในเวทนา"
พูดอีกอย่างว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธหรือนิโรธสมาบัติแล้ว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 10:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
อ้างคำพูด:
สิ่งแรกที่เรารู้ได้จากเรื่องนี้ก็คือ นิพพานทั้ง๒มีลักษณะเป็นธาตุ
นี่ก็แสดงให้รู้ว่าจะเป็น สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ หรือ อนุปาทิเสสนพพานธาตุ
ล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ยังมีชีวิต


คำว่า "เรารู้"ในที่นี้คือการตีความด้วยทิฏฐิ(ความเห็น)ของตนเอง

ถามเหตุผล ก็ในเมื่อมันเหมือนกัน แล้วทำไมจึงเป็นนิพพาน ๒ อย่างล่ะงั้น แสดงว่าต้องต่างกันในแง่ใดแง่หนึ่ง ถูกไหมพี่โฮ :b1:


กรัชกายบอกว่า"คำว่า "เรารู้"ในที่นี้คือการตีความด้วยทิฏฐิ(ความเห็น)ของตนเอง"

บอกเป็นร้อยครั้งแล้วว่า สิ่งที่พี่โฮโพสเป็นเพียงความเห็น พูดจาให้มันถูเรื่องหน่อย



ในความเป็นพระอรหันต์ ที่แบ่งเป็นสองอย่างก็เพราะ
แตกต่างกันในเรื่อง........สัญญาเวทยิตนิโรธ
สอุปาทิเสสนิพพาน เป็นนิพพานที่ยังติด....."สัญญาในเวทนา"อยู่
ส่วนอนุปาทิเสสนิพพาน เป็นนิพพานที่......ดับ"สัญญาในเวทนา"
พูดอีกอย่างว่า เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธหรือนิโรธสมาบัติแล้ว


อ้อ ถ้ายังงั้นก็เห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)

มั่วได้ใจจริงๆ :b1: "ดับสัญญาในเวทนา" :b9: จับแพะชนแกะประจำ :b1:

รู้ความหมายของศัพท์เหล่านี้ไหม "สอุปาทิเสส" "อนุปาทิเสส"

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 110 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5 ... 8  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 142 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร