วันเวลาปัจจุบัน 28 เม.ย. 2024, 01:56  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 10:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากเตือนสติครับ อย่าสับสนเอาตำราเรียนพุทธศาสตร์
มาผสมปนเปกับพระธรรมวินัยหรือพระไตรปิฎกเป็นอันขาด
เพราะว่า เนื้อหาในตำราพุทธศาสตร์ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เรียนแล้วไปปฏิบัติเพื่อมรรคผล
พุทธศาสตร์ที่นักศึกษาตามมหาลัยสงฆ์ เป็นวิชาการในส่วนของโลกียะ
ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่เน้นหนักเรื่องจริยธรรม โดยสรุปก็คือ
ศึกษาเพื่อเอาเนื้อหามาเป็นกุศโลบายไว้ชี้นำสังคมอีกต่อหนึ่ง

ซึ่งมันแตกต่างจากพุทธพจน์ที่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้อย่างสิ้นเชิง
พุทธวจนเป็นคำสอนเพื่อการปล่อยวางทุกสิ่งอย่าง
คำสอนของพุทธองค์ไม่ใช่ให้ปล่อยความชั่วและเก็บความดีไว้
แต่พระพุทธองค์ทรงให้ปล่อยวางทั้งดีและชั่ว

นี่เป็นหลักใหญ่ที่ชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างพุทธศาสตร์กับพุทธพจน์
เมื่อเป็นเช่นนี้เราจะเอาพุทธพจน์ไปแปลความตามหลักการแปลภาษาไม่ได้
พุทธพจน์ถ้าที่เป็นปรมัตถบัญญัติยิ่งไม่มีคำแปล
พุทธพจน์เป็นภาษากลาง บัญญัติใดที่พระพุทธองค์ทรงกำหนดไว้แล้ว
เราต้องทำความเข้าใจกับบัญญัตินั้น ด้วยการไปดูสภาพที่เป็นจริงของบัญญัตินั้นๆ
ไม่ใช่ไปเปิดดูพจนานุกรม นี้มันหลงศึกษาพระธรรมแบบ
ไม่มีแก่นสารของความเป็นพุทธบริษัทแท้ๆ

การอธิบายความในพุทธบัญญัติ ด้วยความเข้าใจของตนเอง
ผิดบ้างถูกบ้าง มันยังน่านับถือ แต่กับบางคนที่วางตนเป็นผู้รู้
พอเวลาแสดงความเห็นที่ไร ก็อปเนื้อหาบทความในตำราเรียนมาโพส
หรือไม่ก็กางพจนานุกรมมาตอบทั้งดุ้น
แบบนี้ต้องขอโทษที่จะบอกว่า....คุณเป็นตัวตลกในสายตาผมจริงๆ :b13:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับเอ้ย คุณไม่ไ้ด้เข้าใจพระพุทธศาสนาอะไรเลย เพ้อเจ้อ นี่พูดจากใจจริงนะขอรับเนี่ย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับเป็นตัวตลกเหมือนเนี่ย :b32:

http://www.youtube.com/watch?v=9QgHSOjERlw#t=22

พาพระพุททธศาสนาไปกันใหญ่แล้วชาวพุทธเอ๋ย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 16 ต.ค. 2013, 10:32, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 10:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โฮฮับเอ้ย คุณไม่ไ้ด้เข้าใจพระพุทธศาสนาอะไรเลย เพ้อเจ้อ นี่พูดจากใจจริงนะขอรับเนี่ย :b1:


อย่านอกเรื่อง เรื่องของเรื่องมันอยู่ตรงนี้
โฮฮับ เขียน:

ถ้ากรัชกายมั่นอกมั่นใจว่า สิ่งที่กรัชกายยกมาโพสถูกต้องเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน
ไหนลองบอกมาหน่อยซิว่า คำศัพท์ที่เอามาโชว์มันหมายถึงอะไร
ธรรม....สภาวธรรม...จริยธรรม บัญญัติธรรม..สมมติสัจจะฯลฯ
บอกมาสั้นๆว่าหมายถึงอะไร

นี่พูดเป็นงานเป็นการน่ะ เพราะมันมีข้อความที่เกี่ยวข้องกับครูบาอาจารย์
ดังนั้นกรุณาอย่าย้อนถามด้วยความเกรียนและยียวน
บอกมาก่อนแล้วจะบอกว่ามันผิดถูกอย่างไร



กรัชกาย เขียน:
เอางี้่ดีกว่าโฮฮับ ความหมายของศัพท์ที่เหลือ ไปตั้งกระทู้ถามโดยเฉพาะเลย จะไ้ด้เป็นสัดเป็นส่วนง่ายต่อการค้นหาในวันหน้า

อ้ออีกอย่าง พิมพ์ธรรมดาๆ นี่แหละ สีดำ พื่้นสีขาว อ่านง่าย ไปทำเป็นสีแดงพรืดไปหมดอ่านยาก เออ ถ้าจะเน้นเป็นบางตัวบางประโยค ก็พอว่า นี่อะไรแดงโร่ไปหมด อ่านแสบตา ที่พูดเนี่ยฟังรู้เรื่องไหมขอรับ :b32:

ไหนอธิบายมาซิ.......... :b6:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 10:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
กรัชกาย เขียน:
โฮฮับเอ้ย คุณไม่ไ้ด้เข้าใจพระพุทธศาสนาอะไรเลย เพ้อเจ้อ นี่พูดจากใจจริงนะขอรับเนี่ย :b1:


อย่านอกเรื่อง เรื่องของเรื่องมันอยู่ตรงนี้
โฮฮับ เขียน:

ถ้ากรัชกายมั่นอกมั่นใจว่า สิ่งที่กรัชกายยกมาโพสถูกต้องเป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงสอน
ไหนลองบอกมาหน่อยซิว่า คำศัพท์ที่เอามาโชว์มันหมายถึงอะไร
ธรรม....สภาวธรรม...จริยธรรม บัญญัติธรรม..สมมติสัจจะฯลฯ
บอกมาสั้นๆว่าหมายถึงอะไร

นี่พูดเป็นงานเป็นการน่ะ เพราะมันมีข้อความที่เกี่ยวข้องกับครูบาอาจารย์
ดังนั้นกรุณาอย่าย้อนถามด้วยความเกรียนและยียวน
บอกมาก่อนแล้วจะบอกว่ามันผิดถูกอย่างไร



กรัชกาย เขียน:
เอางี้่ดีกว่าโฮฮับ ความหมายของศัพท์ที่เหลือ ไปตั้งกระทู้ถามโดยเฉพาะเลย จะไ้ด้เป็นสัดเป็นส่วนง่ายต่อการค้นหาในวันหน้า

อ้ออีกอย่าง พิมพ์ธรรมดาๆ นี่แหละ สีดำ พื่้นสีขาว อ่านง่าย ไปทำเป็นสีแดงพรืดไปหมดอ่านยาก เออ ถ้าจะเน้นเป็นบางตัวบางประโยค ก็พอว่า นี่อะไรแดงโร่ไปหมด อ่านแสบตา ที่พูดเนี่ยฟังรู้เรื่องไหมขอรับ :b32:

ไหนอธิบายมาซิ.......... :b6:


คงไม่เสียหายอะไรนะขอรับ ที่จะขอยืมคำพูดของพระสุวิทย์มาใช้ตรงนี้หน่อย ตอนหนึ่งที่ว่า...เห็นกระสันอยากโต้วาทีนัก ให้หายอยากก่อน หายอยากเมื่อไรค่อยโต้กัน คิกๆๆ (แต่ต่างกันอยู่นะ คือ โฮฮับหายอยากแล้ว กรัชกายมิใช่ปล่อยเลยตามเลยน่า)

ตอนนี้โฮฮับกำลังอยาก เอาให้หายอยากก่อน (ถ้าจำไ้ด้ เคยลงแล้วที่กระทู้เกี่ยวกับสมมติบัญญิติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 11:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

คงไม่เสียหายอะไรนะขอรับ ที่จะขอยืมคำพูดของพระสุวิทย์มาใช้ตรงนี้หน่อย ตอนหนึ่งที่ว่า...เห็นกระสันอยากโต้วาทีนัก ให้หายอยากก่อน หายอยากเมื่อไรค่อยโต้กัน คิกๆๆ (แต่ต่างกันอยู่นะ คือ โฮฮับหายอยากแล้ว กรัชกายมิใช่ปล่อยเลยตามเลยน่า)

ตอนนี้โฮฮับกำลังอยาก เอาให้หายอยากก่อน (ถ้าจำไ้ด้ เคยลงแล้วที่กระทู้เกี่ยวกับสมมติบัญญิติ)


มามุกเดิมอีกแล้ว ท่าดีที่เหลว ไปไม่ถูกก็เกรียนส่งซะเลย
ไม่รู้จักขายขี้หน้าชาวบ้านหรือไง :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:
คำสอนของพุทธองค์ไม่ใช่ให้ปล่อยความชั่วและเก็บความดีไว้
แต่พระพุทธองค์ทรงให้ปล่อยวางทั้งดีและชั่ว

พี่โฮช่วยขยายความประโยคนี้ให้เข้าใจง่ายๆแบบคนสามัญชนหน่อยได้ป่ะเจ้าค่ะ :b20: :b20:
คือคุณน้องไม่เข้าใจว่าปล่อยวางทั้งดีและชั่วมันทำยังไง เพื่อมีพวกหูหนวกตาบอด มิจฉาทิฐฐิมาอ่านจะเข้าใจไปว่า กุทำชั่วก็ปล่อยวางกุทำดีก็ปล่อยวาง กุไม่ต้องยึดอะไรเลยทั้งความดีความชั่ว ทำชั่วก็ปล่อยทำดีก็ปล่อยจิตใจโล่งเบาสบาย 55555+ :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ได้บอกว่า รอให้ความอยากของโฮฮับหมดก่อน แล้วค่อยเฉลย แต่ในขณะที่รอเนี่ยนะ มาทำความเข้าใจ "ความอยาก" ให้ถูกต้องก่อนน่าจะดี



ฉันทะมี ๓ ประเภท คือ

๑. ตัณหาฉันทะ ฉันทะคือตัณหา หรือฉันทะที่เป็นตัณหา เป็นฝ่ายชั่ว หรืออกุศล

๒. กัตตุกัมยตาฉันทะ ฉันทะคือความใคร่เพื่อจะทำ ได้แก่ ความต้องการทำ หรืออยากทำ บางทีถือเป็นคำกลางๆ เข้าได้ทั้งกุศลและอกุศล แต่ในที่ทั่วไป ท่านใช้ในความหมายที่เป็นกุศล เป็นฝ่ายดี

๓. กุศลธรรมฉันทะ ฉันทะในกุศลธรรม หรือธรรมฉันทะที่เป็นกุศล เป็นฝ่ายดีงามหรือกุศล มักเรียกสั้นๆว่า กุศลฉันทะ (ความรักดี ความใฝ่ดี) หรือธรรมฉันทะ (ความรักธรรม หรือความใฝ่ธรรม)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 13:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 ก.ค. 2006, 22:20
โพสต์: 5977

โฮมเพจ: http://walaiblog.blogspot.com/
แนวปฏิบัติ: กายคตาสติ
อายุ: 0
ที่อยู่: สมุทรปราการ

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกรณีที่มีทิฏฐิแบบนี้

กูทำชั่วก็ปล่อยวางกูทำดีก็ปล่อยวาง กูไม่ต้องยึดอะไรเลยทั้งความดีความชั่ว
ทำชั่วก็ปล่อยทำดีก็ปล่อย จิตใจโล่งเบาสบาย

จะคล้ายๆกับคำกล่าวนี้

"การกระทำทุกอย่าง ล้วนเกิดจากการปรุงแต่งของจิต
ไม่มีผู้กระทำ เป็นเรื่องของจิต

พุทธศาสนามิได้ถือว่าจิตเป็นบุคคล
กระแสการปรุงแต่งทางจิตเป็นไปได้เองตามธรรมชาติ
ผลที่เกิดขึ้นเป็นความทุกข์จึงมิใช่การกระทำของบุคคลใด ;

ดังนั้น จึงมิใช่การกระทำของบุคคลผู้รู้สึกเป็นทุกข์
หรือการกระทำของบุคคลอื่นใด ที่ทำให้บุคคลอื่นเป็นทุกข์.

นี้เป็นหลักสำคัญของพุทธศาสนาที่สอนเรื่องอนัตตา
ไม่มีสัตว์บุคคลที่เป็นผู้กระทำหรือถูกกระทำ
มีแต่กระแสแห่งอิทัปปัจจยตา ซึ่งจิตรู้สึกได้เท่านั้น"


พระพุทธเจ้า ทรงมีคำตอบไว้ให้แล้ว

พ. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีอะไร ถือมั่นอะไร เพราะยึดมั่นอะไร ทิฏฐิอย่างนี้ จึงเกิดขึ้นว่า
สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต

ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบ ไม่กระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์ แก่กันและกัน

สภาวะจิต กองอะไรบ้าง คือ

๑. กองแห่งธาตุดิน

๒. กองแห่งธาตุน้ำ

๓. กองแห่งธาตุไฟ

๔. กองแห่งธาตุลม

๕. กองสุข

๖. กองทุกข์

๗. กองชีวะ

สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล ไม่มีผู้เนรมิต ไม่มีผู้ให้เนรมิต
ยั่งยืน มั่นคงดุจยอดภูเขา ดุจเสาระเนียด ไม่หวั่นไหว ไม่แปรผัน ไม่กระทบ ไม่กระทั่งกัน
ไม่ก่อให้เกิดสุขหรือทุกข์ หรือทั้งสุขและทุกข์ แก่กันและกัน

ใครก็ตาม แม้จะเอาศาสตราคม ตัดศรีษะใคร ก็ไม่ชื่อว่า ใครปลงชีวิตใครได้
เพราะเป็นเพียงศาสตรา แทรกผ่านไประหว่างสภาวะ จิตกองเท่านั้นเอง

อนึ่ง กำเนิดที่เป็นประธาน ๑ ล้าน ๔ แสน ๖ หมื่น ๖ ร้อยกรรม ๕๐๐ กรรม ๕ กรรม ๓ กรรมกึ่ง

ปฏิปทา ๖๒ อันตรกรรม ๖๒ อภิชาติ ๖ ปุริสภู ๘ อาชีวกะ ๔๙๐๐ ปริพาชก ๔๙๐๐ นาควาส ๔๙๐๐ อินทรีย์ ๒๐๐๐ นรก ๓๐๐๐ รโชธาตุ ๓๖ สัญญีครรภ์ ๗ อสัญญีครรภ์ ๗ นิครรภ์ทีครรภ์ ๘

เทวดา ๗ มนุษย์ ๗ ปีศาจ ๗ สละ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗ ตาไม้ไผ่ ๗๐๐ เหวใหญ่ ๗ เหวน้อย ๗๐๐ มหาสุวิม ๗ สุวิม ๗๐๐ มหากัปป์

๘๔๐๐๐ เหล่านี้ ที่คนพาลและบัณฑิต พากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว จะทำที่สุดทุกข์ได้เอง ไม่มีความสมหวังใความปรารถนาว่า

เราจักอบรมกรรม ที่ยังไม่ให้ผล ให้อำนวยผล หรือสัมผัสกรรม ที่ให้ผลแล้ว
จะเป็นให้ผลสิ้นไปด้วย ศิลพรต ตบะหรือพรหมจรรย์นี้ ไม่มีสุขทุกข์ ทำให้สิ้นสุดลงได้

เหมือนตวงด้วยทะนาน สงสารที่จะทำให้สิ้นสุด ไม่มีเลย
ไม่มีความเสื่อมและความเจริญ ไม่มีการเลื่อนขึ้นสูง หรือเลื่อนลงต่ำ
พวกคนพาลและบัณฑิต พากันเที่ยวเวียนว่ายไปแล้ว เสวยสุขและทุกข์เอง
เหมือนกลุ่มด้าย ที่ถูกขว้างไป ย่อมคลี่หมดไปเอง ฉันนั้น

ภ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาค เป็นหลัก

พ. ภิกษุทั้งหลาย เมื่อมีรูป เพราะถือมั่นรูป
ทิฏฐินี้จึงเกิดขึ้นว่า สภาวะจิต กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง

เมื่อมีเวทนา เมื่อมีสัญญา เมื่อมีสังขาร เมื่อมีวิญญาณ เพราะถือมั่นวิญญาณ
ทิฏฐินี้จึงเกิดขึ้นว่า สภาวะจิต กองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง

ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จะเข้าใจความข้อนั้น ว่าอย่างไร?
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภ.ไม่เที่ยงพระพุทธเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ มีความแปรผันป็นธรรมดา
เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้ พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า
สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง

ภ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง?

ภ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้ พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า
สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง

ภ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

พ. แม้สิ่งที่บุคคลได้เห็น ฟัง ทราบ รู้ ถึงแสวงหา มาใคร่ครวญด้วยใจเที่ยง หรือไม่เที่ยง

ภ. ไม่เที่ยง พระพุทธเจ้าข้า

พ. เพราะถือมั่นสิ่งนั้น ทิฏฐิอย่างนี้ พึงเกิดขึ้นบ้างหรือว่า
สภาวะจิตกองนี้ ไม่มีผู้สร้าง ไม่มีผู้บันดาล เสวยสุขและทุกข์เอง

ภ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า

พ. ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุอริยะสาวก ละความสงสัย ในฐานะ ๖ ประการนี้ได้
ฉะนั้น จึงละความสงสัยแม้ในทุกข์ ละความสงสัย แม้ในปฏิปทา ที่ให้ถึง ความดับแห่งทุกข์ได้

ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่า อริยะสาวก ผู้เป็นโสดาบัน
ไม่มีทางตกต่ำ มีความแน่นอน ที่จะสำเร็จ สัมโพธิ ในวันข้างหน้า

มาหทิฏฐิ โสตะที่ ๘

.....................................................
มิจฉาปณิหิตจิต จิตที่ตั้งไว้ผิด ย่อมตามพิชิตตัวเอง

สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม ตามการกระทำของแต่ละคน (ตามความเป็นจริง)


แก้ไขล่าสุดโดย walaiporn เมื่อ 16 ต.ค. 2013, 13:29, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บางท่าน เห็นคำว่า "ฉันทะ" แล้วติดตาติดใจ แต่ฉันทะที่อิทธิบาท 4 ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ว่าอยู่ฝ่ายดี ฝ่ายกุศลนี่ แต่พอไปเห็น กามฉันทะ (กาม+ฉันทะ) ที่นิวรณ์ 5 (ข้อแรก) ร้องไห้เลย เป็นไงมาไงกันละเนี่ย โฮฮับรูปหล่อพอรู้ไหม

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 13:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


nongkong เขียน:
โฮฮับ เขียน:
คำสอนของพุทธองค์ไม่ใช่ให้ปล่อยความชั่วและเก็บความดีไว้
แต่พระพุทธองค์ทรงให้ปล่อยวางทั้งดีและชั่ว

พี่โฮช่วยขยายความประโยคนี้ให้เข้าใจง่ายๆแบบคนสามัญชนหน่อยได้ป่ะเจ้าค่ะ :b20: :b20:
คือคุณน้องไม่เข้าใจว่าปล่อยวางทั้งดีและชั่วมันทำยังไง เพื่อมีพวกหูหนวกตาบอด มิจฉาทิฐฐิมาอ่านจะเข้าใจไปว่า กุทำชั่วก็ปล่อยวางกุทำดีก็ปล่อยวาง กุไม่ต้องยึดอะไรเลยทั้งความดีความชั่ว ทำชั่วก็ปล่อยทำดีก็ปล่อยจิตใจโล่งเบาสบาย




ตอบแทนโฮฮับ

ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่แท้จริงนั้นต้องเกิดจากปัญญาที่มองเห็นสัจธรรมความจริง เห็นสภาวะที่แท้จริงแล้ว

อ้างคำพูด:
ความไม่ยึดมั่นถือมั่นที่แท้จริงนั้น ต้องเกิดจากปัญญา มองเห็นความจริง ที่เป็นสัจธรรม และความไม่ยึดมั่นถือมั่นนั้น จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ


ถ้าเพียงแต่พูดปากเปล่าเนี่ย เขาเรียกว่า "ยึดมั่นในความไม่ยึดมัน - ยึดในความไม่ยึด" พอเข้าใจมั้ยขอรับคุณน้อง (ที่รักของคนอื่น :b32: )

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูเลยขึ้นไปอีกหน่อยเกี่ยวกับว่า ฉันทะ

อ้างคำพูด:
ฉันทะนี้ บางแห่งมาด้วยกันกับไวพจน์ทั้งหลายเป็นกลุ่ม เช่นในพุทธพจน์ว่า

ฉันทะ ราคะ นันทิ ตัณหา อุปาทาน...ใดๆ ในจักขุ ในรูป ในจักขุวิญญาณ ในธรรมทั้งหลายที่พึงทราบด้วยจักขุวิญญาณ (และในหมวดอายตนะอื่นครบทั้ง ๖) เพราะสลัดทิ้งได้ซึ่ง ฉันทะ.... เหล่านั้น เราย่อมรู้ชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว”

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตอนนี้แยกกันให้ชัด ระหว่าง ความอยาก ความต้องการ ความปรารถนา...ที่เป็นฉันทะ กับ ที่เป็นตัณหา สังเกตดู :b1:


อ้างคำพูด:
ศัพท์ธรรมที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุมความอยาก หรือความต้องการ ซึ่งเป็นแรงจูงใจของมนุษย์ได้ทุกอย่าง ก็คือคำว่า “ฉันทะ”

ฉันทะที่ไม่ดี เป็นอกุศล เป็นฝ่ายชั่ว ตรงกับคำว่า “ตัณหา” ในเมื่อตัณหาเป็นคำเด่น เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้ว เพราะฉะนั้น ฉันทะที่ไม่ดีนี้ ก็ใช้คำว่า ตัณหา แทนไปเสียเลย


ฉันทะที่ดี เป็นกุศล มีชื่อเด่นว่า กุศลธรรมฉันทะ บางทีเรียกสั้นเป็น กุศลฉันทะ บ้าง ธรรมฉันทะ บ้าง ในเมือฉันทะที่ไม่ดี เรียกว่าตัณหาไปแล้ว ไม่ต้องกลัวว่าจะสับสน ฉันทะที่ดีนี้ ก็เรียกคำเดียวว่า ฉันทะ ไปเลย

ส่วนฉันทะอย่างกลางๆที่เรียกว่า กัตตุกัมยตาฉันทะ คือความต้องการทำ หรืออยากทำ โดยทั่วไปก็ใช้ในความหมายข้างดี ถือเป็นกุศลธรรมฉันทะอยู่แล้ว เพราฉะนั้น ก็รวมอยู่ในคำว่า ฉันทะ นั่นแหละด้วย


ก็เป็นอันเหลือ 2 คำ บอกว่า แรงจูงใจ คือ ความอยาก ความปรารถนา หรือคามต้องการ มี 2 อย่าง คือ

1. ความอยาก ความต้องการที่ไม่ดี เป็นอกุศล เรียกว่า ตัณหา (อยากเสพ อยากได้ อยากเอา)

2. ความอยาก ความต้องการที่ดี เป็นกุศล เรียกว่า ฉันทะ (อยากทำ คืออยากทำให้ดีงามสมบูรณ์)





ย้ำอีกครั้งหนึ่ง ว่าความอยาก ความปรารถนา ความต้องการ ที่เป็นแรงจูงใจให้คนทำการหรือทำกรรมต่างๆ นั้น มี 2 อย่าง คือ

1. ตัณหา คือ ความอยากเสพ อยากได้ อยากเอาเข้ามาให้แก่ตัว เอามาบำเรอตัว อยากให้ตัวเป็นหรือ ไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เป็นความต้องการเพื่อตัวตน

2. ฉันทะ คือ ความชื่นชมยินดีในความดีงามสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ อยากให้สิ่งนั้นๆ อยู่ในภาวะที่ดีงามสมบูรณ์และอยากทำให้มันดีงามสมบูรณ์เต็มตามสภาวะของมัน เป็นความต้องการเพื่อความดีงามสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆเอง


ย้ำที่ว่า ต้องการเพื่อความดีงามสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ ก็รวมทั้งความต้องการเพื่อความดีงามสมบูรณ์ของชีวิตของเรานี้ด้วย เช่น อยากให้แขนขาของเรานี้ดีงามสมบูรณ์ แต่เป็นความอยากให้แขนขานั้น ดีงามสมบูรณ์ ในฐานะ และตามสภาวะที่มันเป็นแขนขา ซึ่งเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของชีวิตนี้ ที่ควรจะให้ดีงามมีสุขภาวะสมบูรณ์ตามสภาวะของมันนั้น

(ลองพิจารณาดูว่า ความอยากที่มีต่อแขนขาตรงตามสถานะและสภาวะนี้ จะดีกว่าอยากให้แขนขาของตัวตนของเราสวยดีน่าชอบใจ หรือไม่? – นี่ก็ฉันทะ กับ ตัณหา ที่ท้าทายปัญญาผู้แยกแยะ)



หวังว่าโฮฮับ คงจะแยกแยะความอยาก ที่เป็นแรงจูงใจคน 2 อย่าง คือ ตัณหา กับ ฉันทะได้แล้วไม่มากก็น้อย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2013, 19:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดังกล่าวข้างต้นว่า ความอยาก ความปรารถนา ความต้องการ ที่เป็นแรงจูงใจให้คน/มนุษย์กระทำการหรือทำกรรมต่างๆ มี 2 อย่าง คือ ตัณหา กับ ฉันทะ

ต่อไปพึงพิจารณาตัณหาด้านที่เป็นแรงจูงใจให้คนหยุดคือไม่กระทำบ้าง :b1:


อ้างคำพูด:
เมื่อมองว่า การเคลื่อนไหวเป็นลักษณะทั่วไปอย่างหนึ่งแห่งชีวิตของคน คนก็เคลื่อนไหวไปตามความรู้ ซึ่งอาจจะเป็นความรู้เพียงขั้นตอบสนองอารมณ์ที่รับรู้ (สิ่งเร้า) หรือความรู้ขั้นปัญญาที่กำหนดได้ว่าควรหรือไม่ควรก็ได้


เมื่อถือว่าการเคลื่อนไหวนี้เป็นการกระทำ จะเห็นว่า มีกรณีมากมายที่ตาปกปติคนจะเคลื่อนไหวหรือกระทำ แต่กลับหยุด คือ ไม่เคลื่อนไหว หรือชะงักการกระทำเสีย ในกรณีเช่นนี้ เห็นเห็นได้ว่า การหยุด การเฉยนิ่ง หรือการไม่กระทำ ก็คือการกระทำอย่างหนึ่งนั่นเอง และเป็นการกระทำอย่างแรงเสียด้วย


ดังจะเห็นได้ต่อไปว่า ตัณหาเป็นเหตุให้กระทำการที่เป็นเงื่อนไข เพื่อได้สิ่งเสพเสวย หรือปกป้องรักษาความมั่นคงถาวรของอัตตาที่ยึดไว้ คำว่า “กระทำ” ในที่นี้ จะต้องรวมถึงการไม่กระทำด้วย

กรณีที่ตัณหา จะทำให้กระทำการไม่กระทำ อาจมีได้ตั้งหลายอย่าง เช่น ไม่กระทำ เพราะถ้ากระทำ ก็จะเป็นเหตุให้ตนพรากจากสุขเวทนา ที่กำลังเสพอยู่ หรือเพราะการเคลื่อนไหวไปกระทำการนั้น จะเป็นเหตุให้ตนยากลำบาก ประสบทุกเวทนา

บางที แม้แต่เมื่อการกระทำนั้นจะเป็นประโยชน์ เป็นผลดีแท้จริงแก่ชีวิต แต่ตัณหากลัวความยาก กลัวความพรากจากสุขที่กำลังเสวยอยู่ ก็ชักจูงให้ไม่กระทำ



งงมั้ยโฮฮับ พอมองออกมั้ย :b1:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 17 ต.ค. 2013, 02:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ได้บอกว่า รอให้ความอยากของโฮฮับหมดก่อน แล้วค่อยเฉลย แต่ในขณะที่รอเนี่ยนะ มาทำความเข้าใจ "ความอยาก" ให้ถูกต้องก่อนน่าจะดี

ฉันทะมี ๓ ประเภท คือ

๑. ตัณหาฉันทะ ฉันทะคือตัณหา หรือฉันทะที่เป็นตัณหา เป็นฝ่ายชั่ว หรืออกุศล

๒. กัตตุกัมยตาฉันทะ ฉันทะคือความใคร่เพื่อจะทำ ได้แก่ ความต้องการทำ หรืออยากทำ บางทีถือเป็นคำกลางๆ เข้าได้ทั้งกุศลและอกุศล แต่ในที่ทั่วไป ท่านใช้ในความหมายที่เป็นกุศล เป็นฝ่ายดี

๓. กุศลธรรมฉันทะ ฉันทะในกุศลธรรม หรือธรรมฉันทะที่เป็นกุศล เป็นฝ่ายดีงามหรือกุศล มักเรียกสั้นๆว่า กุศลฉันทะ (ความรักดี ความใฝ่ดี) หรือธรรมฉันทะ (ความรักธรรม หรือความใฝ่ธรรม)


เป็นเพราะขาดปัญญา จึงเอาพุทธพจน์ไปสร้างคำใหม่ขึ้นมา เช่นคำว่าฉันทะ
กรัชกายเอา"ฉันทะ"ไปปูยี่ปูย่ำแบบไม่น่าเชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติ

พุทธพจน์ที่ว่าด้วยฉันทะ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ในส่วนที่เป็นปรมัตถ์บัญญัติ
พระพุทธองค์ทรงสื่อบัญญัตินี้เพื่อให้รู้ว่า....มันเป็นอาการของจิต(สังขารขันธ์)

ฉันทะเป็นอาการของจิตที่แสดงให้รู้ถึง....ความพอใจ
มันเป็นอาการอย่างเดียว ไม่ได้แบ่งเป็นอย่างโน้นอย่างนี้แบบที่กรัชกายบอก

พุทธพจน์ที่กล่าวถึงปรมัตถ์ธรรม พุทธพจน์จะมีความหมายในตัวของมันเอง
มันเป็นสภาวะธรรม สภาวะธรรมตัวไหนเกิดก่อน ย่อมเป็นเหตุแล้วก็ดับไป
ทำให้เกิดผลหรือสภาวะธรรมตัวใหม่ตามมา

จะอธิบายความเห็นผิดต่อพจน์พุทธในแต่ล่ะข้อ ในความเห็นต่อไป........(มีต่อ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 62 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3, 4, 5  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 203 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร