ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

การชำระจิตให้ผ่องใสทำอย่างไร ?
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=45929
หน้า 1 จากทั้งหมด 1

เจ้าของ:  มหาราชันย์ [ 23 ก.ค. 2013, 10:06 ]
หัวข้อกระทู้:  การชำระจิตให้ผ่องใสทำอย่างไร ?

การชำระจิต
[๔๕๖] ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอกลับจากบิณฑบาต ในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากเพ่งเล็งอยู่ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้. ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้. ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้. ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้. ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิกิจฉาได้.

[๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตอันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยได้แล้วกำลัง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน.


ไฟล์แนป:
001.jpg
001.jpg [ 32.71 KiB | เปิดดู 4651 ครั้ง ]

เจ้าของ:  amazing [ 23 ก.ค. 2013, 10:20 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การชำระจิตให้ผ่องใสทำอย่างไร ?

มหาราชันย์ เขียน:
การชำระจิต
[๔๕๖] ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอกลับจากบิณฑบาต ในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากเพ่งเล็งอยู่ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้. ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้. ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้. ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้. ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิกิจฉาได้.

[๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตอันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยได้แล้วกำลัง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน.
ภาพนี้คุ้นๆเหมือนสำนักที่อยู่ที่จังหวัดชลบุรีใช่หรือเปล่าครับ การมีสติอยู่ที่กายนี่แหล่ะครับคือการชำระจิตแล้วครับ

เจ้าของ:  ฟ้าใสใส [ 06 ส.ค. 2013, 00:00 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การชำระจิตให้ผ่องใสทำอย่างไร ?

:b20: การชำระจิตใจให้ผ่องใสนั้น สามารถทำได้เป็นประจำ ทำได้ตลอดเวลา อยู่ที่ความอดทน ความหนักแน่น ความเพียร ที่จะเป็นเครื่องเผากิเลสความอยาก ดำรงจิตให้เป็นกุศล ประกอบกรรมดี นั่นแหละจึงได้พบกับความสุขสงบของจิตใจที่แท้จริง... :b20:

:b44: ♡✿(◕‿◕)✿♡ กราบอนุโมทนาบุญกับท่านผู้เจริญในธรรมและกัลยาณมิตรทุกท่าน ธรรมรักษา เทวดาคุ้มครอง ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไปนะเจ้าค่ะ ♡✿(◕‿◕)✿♡ :b8: :b8: :b8: :b20:

ไฟล์แนป:
อารมณ์ดี.jpg
อารมณ์ดี.jpg [ 27.39 KiB | เปิดดู 4415 ครั้ง ]

เจ้าของ:  พุทธคุณ [ 06 ส.ค. 2013, 15:21 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การชำระจิตให้ผ่องใสทำอย่างไร ?

amazing เขียน:
มหาราชันย์ เขียน:
การชำระจิต
[๔๕๖] ภิกษุนั้น ประกอบด้วยศีลขันธ์อินทรียสังวร และสติสัมปชัญญะ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. เธอกลับจากบิณฑบาต ในกาลภายหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. เธอละความเพ่งเล็งในโลกแล้ว มีใจปราศจากเพ่งเล็งอยู่ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้. ละความประทุษร้ายคือพยาบาทแล้ว ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้ายคือพยาบาทได้. ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกำหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะได้. ละอุทธัจจกุกกุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้. ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากวิกิจฉาได้.

[๔๕๗] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ ประการนี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตอันเป็นเครื่องทำปัญญาให้ถอยได้แล้วกำลัง สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่.

บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกและวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่.

บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน.
ภาพนี้คุ้นๆเหมือนสำนักที่อยู่ที่จังหวัดชลบุรีใช่หรือเปล่าครับ การมีสติอยู่ที่กายนี่แหล่ะครับคือการชำระจิตแล้วครับ


ใช่ครับ อยู่จังหวัดพัทยา(ที่เรียกจังหวัดพัทยา เพราะพัทยาเป็นเขตปกครองพิเศษ ถึงแม้จะยัง
ไม่ได้มีการตั้งให้เป็นจังหวัดอย่างเป็นทางการก็ตาม หลายๆคนก็เรียกกันจนคุ้นหูว่าจังหวัดพัทยา)
แต่รู้สึกคุ้นๆว่าจะไม่ใช่สำนักหรืออะไรหรอกครับ เป็นเพียงการรวมตัวของกลุ่มชาวบ้านในกิจกรรม
วิปัสนาหรืออะไรซักอย่างเมื่อสองสามปีมาแล้วมั้งครับ ผมเองก็จำไม่ได้นะ แต่คุ้นๆ

เจ้าของ:  ลุงหมาน [ 09 ส.ค. 2013, 18:22 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การชำระจิตให้ผ่องใสทำอย่างไร ?

เครื่องชำระจิต คือ บุญ
บุญคืออะไร ? บุญหมายถึง การกระทำความดี บุญมาจากภาษาบาลีคือคำว่า ปุญญะ แปลว่า เครื่องชำระจิตใจให้สะอาดบริสุทธิ์ การชำระจิตใจจากเครื่องเศร้าหมองทั้งหลายโลภะ โทสะหรือโมหะ บุญอีกความหมาย แปลว่าเต็ม มีความสุขเป็นการตั้งใจและเต็มใจทำ ผลคือเกิดความสุขในระยะยาว ในทางพระพุทธศาสนา การทำบุญมีด้วยกัน 10 วิธี เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10


บุญ หมายถึง ความดี เป็นชื่อของความสุข ผู้ที่ปรารถนาจำต้องรู้ว่าอะไรเป็นบุญ จะได้ทำให้สำเร็จผลสมความมุ่งหมาย ผู้ที่ทำตามๆ กันมาไม่รู้ว่าอะไรเป็นบุญ จะทำให้ถูกต้องไม่ได้ แม้จะทำด้วยความงมงาย ก็ไม่นำให้สำเร็จประโยชน์

เพราะฉะนั้น ผู้ปรารถนาจะทำบุญจึงต้องรู้ว่า บุญมีลักษณะเป็นอย่างไร ถ้าทำแล้วไม่อาจชำระจิตให้ผ่องใส หรือไม่นำให้เกิดความฉลาดว่า สิ่งนี้ดี สิ่งนี้ไม่ดี ก็ไม่จัดว่า เป็นบุญ แต่เมื่อสามารถจะชำระจิตให้บริสุทธิ์และนำให้เกิดความฉลาด รู้จักผิดชอบ จึงจัดว่า เป็นบุญ สิ่งที่จะชำระจิตของคนให้บริสุทธิ์ อันเสมอด้วยความดีย่อมไม่มี สิ่งอื่นชำระได้เพียงภายนอกเท่านั้น แต่ความดีเป็นสิ่งชำระใจ เมื่อใจบริสุทธิ์แล้ว อาการภายนอก คือ กิริยาวาจา ก็บริสุทธิ์ตามไปด้วย

เมื่อได้พิจารณาแล้วรู้ว่า บุญ เป็นสิ่งที่ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ พึงสร้างความดีตามความรู้ ความสามารถที่ตนเองจะกระทำได้ จึงจะชื่อว่าได้บุญอย่างแท้จริง


ธรรมะวันหยุด
พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชรวรวิหาร / http://www.watdevaraj.com

ไฟล์แนป:
Atros.gif
Atros.gif [ 41.24 KiB | เปิดดู 4367 ครั้ง ]

เจ้าของ:  asoka [ 10 ส.ค. 2013, 14:31 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การชำระจิตให้ผ่องใสทำอย่างไร ?

:b8:
ที่คุณมหาราชันย์ยกมานั้นเป็นวิธีชำระจิตให้บริสุทธิ์จาก นิวรณ์ธรรมทั้ง 5
:b27:
แต่ที่จะชำระจิตของตนให้ผ่องใสหรือขาวรอบ ตามโอวาทปาติโมกข์ข้อที่ 3 นั้น ต้องมาเจริญวิปัสสนาภาวนา หรือมรรค 8 ต่อยอดขึ้นไปอีก

วิปัสสนาภาวนา เป็นการขุดถอนกิเลส ตัณหา อัตตา ออกจากจิต จนสะอาดหมดจดไปเป็นลำดับๆ แบ่งเป็น 4 ลำดับ

วิธีเจริญวิปัสสนาภาวนาที่ทำให้ง่ายและย่อสั้นลงแล้ว ดังครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งกล่าวสรุปไว้ว่า

1.รู้กาย รู้ใจ ลงปัจจุบัน จนละความเห็นผิด ได้ความเป็น โสดาบันและสกิทาคามีบุคคล

2.รู้กาย รู้ใจ ลงปัจจุบัน จนละความยึดถือใน กาย ได้ความเป็นพระอนาคามี

3.รู้กาย รู้ใจ ลงปัจจุบัน จนละความยึดถือใน จิต ได้ความเป็นพระอรหันต์

หรืออีกท่านหนึ่ง สรุปไว้ว่า

งานและหน้าที่ของชาวพุทธ

สำรวมกายใจมานิ่งรู้ นิ่งสังเกต
ปัจจุบันอารมณ์ จนละความเห็นผิดว่า
กาย ใจ นี้ เป็นอัตตาตัวกู ของกู
พอกพูนความเห็นถูกต้อง ว่ากาย ใจนี้
เป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้
ไม่ใช่ตัวกู ของกู ทุกวัน เวลา นาที วินาที ที่ระลึกได้และมีโอกาส

หัวใจวิปัสสนาภาวนา

ใจปัญญาอย่ายอมใจเป็นกู
นิ่งดู นิ่งสังเกต พิจารณา
ด้วยวิริยะ อุตสาหะ ตบะ
ขันติ มิยอมถอย
ถ้าสู้ได้ ทนได้ ไม่ตะบอย
กู จะถอยหรือตายดับ ไปจากใจ

:b37:
:b36:

เจ้าของ:  sirinpho [ 26 ส.ค. 2013, 13:05 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: การชำระจิตให้ผ่องใสทำอย่างไร ?

ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่านค่ะ :b8:

หน้า 1 จากทั้งหมด 1 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/