ลานธรรมจักร
http://www.dhammajak.net/forums/

ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=1&t=45648
หน้า 1 จากทั้งหมด 12

เจ้าของ:  govit2552 [ 19 มิ.ย. 2013, 09:18 ]
หัวข้อกระทู้:  ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

ข้อความบางตอนใน มหาโคสิงคสาลสูตร ม. มู. ข้อ ๓๗๔

ท่านพระสารีบุตรกล่าวกะท่านพระมหาโมคคัลลานะ ว่า

ท่านโมคคัลลานะ เราจะขอถามท่านว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานที่น่ารื่นรมย์

ราตรีแจ่มกระจ่างไม้สาละ มีดอกบานสะพรั่งทั้งต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป

ท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเช่นไร.?

ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านพระสารีบุตร ภิกษุสองรูป ในพระศาสนานี้

กล่าว อภิธรรมกถา เธอทั้งสองนั้น ถามกันและกันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพัก

ด้วยและธรรมกถาของเธอทั้งสองนั้น ย่อมเป็นไปด้วย
ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาล

วัน...พึงงามด้วยภิกษุ เห็นปานนี้แล.

เจ้าของ:  govit2552 [ 19 มิ.ย. 2013, 09:41 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

อภิธรรม ไม่สาธารณะสำหรับ ทุกคน
พระสารีบุตร แสดงอภิธรรม

Quote Tipitaka:
๗. เรื่องอตุลอุบาสก [๑๘๐]

จึงลุกขึ้น ไปยังสำนักพระสารีบุตรเถระ ยืนอยู่ณ ส่วนข้างหนึ่ง. เมื่อพระเถระกล่าว

ว่า " พวกท่านมาด้วยต้องการอะไร ? "จึงกล่าวว่า " ท่านขอรับ ผมพาอุบาสกเหล่านี้

เข้าไปหาพระเรวตเถระ เพื่อต้องการฟังธรรม, พระเถระไม่กล่าวอะไรแก่ผมนั้นเลย,

ผมนั้นโกรธท่านจึงมาที่นี้, ขอท่านจงแสดงธรรมแก่ผมเถิด. "

ลำดับนั้น พระเถระกล่าวว่า " ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงนั่งเถิดอุบาสกทั้งหลาย "

แล้วแสดงอภิธรรมกถาอย่างมากมาย.

อตุละโกรธคนผู้พูดมาก

อุบาสกโกรธว่า " ชื่อว่าอภิธรรมกถา ละเอียดยิ่งนัก สุขุมยิ่งนัก,พระเถระแสดง

อภิธรรมอย่างเดียวมากมาย, พวกเราต้องการอะไรด้วยพระอภิธรรมนี้ " ดังนี้

แล้ว ได้พาบริษัทไปยังสำนักพระอานนทเถระ;


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓-หน้าที่ 462

เจ้าของ:  คนเลวมาก [ 20 มิ.ย. 2013, 12:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

ยังงมงาย...
เราอ่านพระไตยปิฏก มาแล้ว ทุกสูตร ( แต่ กินเหล้า พูดคำหยาบ ส่อเสียด และโกหก)

เลิกงมงาย..
แม้ ธรรม บทเดียว (เลิก เหล้า บุหรี ศีลห้า ครบ ละ ความเชื่อ งมงาย พัฒนาตน ทันที)

เจ้าของ:  วิริยะ [ 20 มิ.ย. 2013, 13:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

อ้างคำพูด:
ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

ถามตอบโดยธรรม กุศลกรรมก็ก่อเกิด ..

:b1:

เจ้าของ:  asoka [ 20 มิ.ย. 2013, 15:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

:b8:
:b27:
เมื่อบัณฑิต และกัลยาณมิตร กัลยาณชนสนทนาธรรมกันนั้น ย่อมงดงาม ทำให้บริเวณนั้น สว่างไสวไปด้วยแสงแห่งปัญญา เทวดาอำนวยอวยพร
:b8:
แต่ถ้าคนพาล ผู้มากด้วย อัตตาและมานะทิฏฐิ มาสนทนาธรรมกัน ย่อมก่อให้เกิดความเดือดร้อน เศร้าหมอง ขุ่นมัว เพราะการถูกันด้วยทิฏฐิมานะ
:b12: :b12: :b12:
:b1: :b1:

เจ้าของ:  govit2552 [ 20 มิ.ย. 2013, 20:12 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

เธอทั้งสองนั้น ถามกันและกันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพัก

ส่วนใหญ่ พอตกลงกันไม่ได้ ก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ครับ

เจ้าของ:  ต้อยตีวิด [ 22 มิ.ย. 2013, 19:38 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

ตอนนี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว จะทำยังไงค่ะ พอยกตำรามาอ้าง ก็อ้างว่าต้องเอาสำนักนั้น
ไม่เอาสำนักนี้ แล้วก็ยึดเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อย่างนี้จะตกลงกันได้หรือคะ? :b10:

เจ้าของ:  กบนอกกะลา [ 22 มิ.ย. 2013, 20:55 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

ก็ช่วยไม่ได้...เกิดอยากรู้ตอนพระองค์ไม่อยู่ให้ถามแล้วนี้นา...

:b13: :b13:

เจ้าของ:  ต้อยตีวิด [ 22 มิ.ย. 2013, 21:16 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

กบนอกกะลา เขียน:
ก็ช่วยไม่ได้...เกิดอยากรู้ตอนพระองค์ไม่อยู่ให้ถามแล้วนี้นา...

:b13: :b13:
:b9: :b9:

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 23 มิ.ย. 2013, 12:42 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

govit2552 เขียน:
เธอทั้งสองนั้น ถามกันและกันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพัก

ส่วนใหญ่ พอตกลงกันไม่ได้ ก็พากันไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ครับ


ต้อยตีวิด เขียน:
ตอนนี้พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว จะทำยังไงค่ะ พอยกตำรามาอ้าง ก็อ้างว่าต้องเอาสำนักนั้น
ไม่เอาสำนักนี้ แล้วก็ยึดเอาความเห็นของตนเป็นใหญ่ อย่างนี้จะตกลงกันได้หรือคะ? :b10:


วิริยะ เขียน:
"สวากขาโต ภควตา ธัมโม"

ธรรมะที่พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนนั้น เป็นธรรมะที่บริบูรณ์ คือว่าไม่ต้องเติมเข้ามาอีก
เป็นธรรมที่บริสุทธิ์ คือไม่ผิดไม่ต้องแก้ไข ..

ธรรมที่บริสุทธิ์ จะดำรงอยู่ได้ก็คือ ไม่บัญญัติสิ่งที่พระพุทธเจ้าไม่ได้บัญญัติ
ไม่เพิกถอนบัญญัติ ที่พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ดีแล้ว ..


พระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว
สิ่งที่เป็นมรดก คือธรรมะที่พระองค์ประกาศไว้ดีแล้ว
ปัจจุบันนี้เรียกว่า "พุทธวัจจนะ" มีบันทึกเป็นหลักฐาน ในพระบาลี และแปลออกมาเป็นภาษาต่างๆ"
ส่วนไหนที่เป็นพุทธวัจจนะ พระสูตรนั้นก็จะขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้สดับมาเช่นนี้...."
เนื่องจากพุทธวัจจนะไม่ใช่ "ตำรา"
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นเพียงตำรา ย่อมไม่เข้าใจ ว่าพุทธวัจจนะนั้นเป็นสวากขาตธรรม"
หากสองท่านมีความเห็นแย้งไม่ตรงกัน
ก็ต้องดูในพุทธวัจจนะ เป็นหลักไว้ก่อน
อย่าเทียบเคียงจากตำราอาจารย์แต่ง หรือประพันธ์ออกมาในชั้นหลัง

เจ้าของ:  govit2552 [ 23 มิ.ย. 2013, 13:30 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

อ้างคำพูด:
คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่จารึกนั้นก็มีตามลำดับชั้น

ประกอบไปด้วย

1. พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้นที่ 1 เรียกว่า บาลี

2. คำอธิบายพระไตรปิฎก หลักฐานชั้นที่ 2 เรียกว่า อรรถกถา หรือวัณณนา

3. คำอธิบายอรรถกถา หลักฐานชั้นที่ 3 เรียกว่า ฎีกา

4. คำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้นที่ 4 เรียกว่า อนุฎีกา

5. คำอธิบายของเกจิอาจารย์ หมายถึงผู้รู้คนใดคนหนึ่ง

คำว่า "อธิบาย" ข้างต้นนี้ หมายถึงอธิบายอะไร ตอบว่า หมายถึงอธิบายพระพุทธวจนะ

หรือพระธรรมวินัยนั่นเอง

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 24 มิ.ย. 2013, 04:11 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

govit2552 เขียน:
อ้างคำพูด:
คัมภีร์พระพุทธศาสนาที่จารึกนั้นก็มีตามลำดับชั้น

ประกอบไปด้วย

1. พระไตรปิฎก เป็นหลักฐานชั้นที่ 1 เรียกว่า บาลี

2. คำอธิบายพระไตรปิฎก หลักฐานชั้นที่ 2 เรียกว่า อรรถกถา หรือวัณณนา

3. คำอธิบายอรรถกถา หลักฐานชั้นที่ 3 เรียกว่า ฎีกา

4. คำอธิบายฎีกา เป็นหลักฐานชั้นที่ 4 เรียกว่า อนุฎีกา

5. คำอธิบายของเกจิอาจารย์ หมายถึงผู้รู้คนใดคนหนึ่ง

คำว่า "อธิบาย" ข้างต้นนี้ หมายถึงอธิบายอะไร ตอบว่า หมายถึงอธิบายพระพุทธวจนะ

หรือพระธรรมวินัยนั่นเอง


คุณโกวิทครับการสนทนามันคงไม่เกิดปัญหาชนิดที่เรียกว่า เถียงกันไม่มีวันจบ
ถ้าต่างฝ่ายต่างยอมรับเหตุผล และอะไรคือเหตุผล นั้นก็คือ...สิ่งที่คุณเอามาโพสนั้นแหละครับ

คนที่ชอบอ้างพุทธวจนะเอย ชอบอ้างบาลีเอย มันก็แค่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องของเหตุผล
ตรรกง่ายๆ ถ้ามีคนที่พูดภาษาไทยอยู่ร้อยคน ถ้ามีอยู่หนึ่งคนรู้ภาษาต่างชาติ แล้วเขาก็แปล
ภาษาต่างชาติให้อีก๙๙คนฟัง แต่มีบางคนในนั้นดันบอกว่า .....
แปลผิด ทำไมพูดไม่เหมือนกับคนต่างชาติพูดเลย ถามหน่อยมันมีเหตุผลมั้ย

พระไตรปิฎก อรรถกถาหรือฎีกา ก็เหมือนกัน พระไตรปิฎกก็เกิดจากผู้รู้ภาษาที่พระพุทธองค์ทรงใช้
แล้วก็จำไว้และบันทึกไว้ภายหลัง
อรรถกถาหรือฎีกาก็เช่นกัน ก็เป็นคนรุ่นต่อมาที่เข้าใจภาษาของผู้ที่บันทึกพระไตรปิฎก
มันก็เป็นเหตุเป็นผลกันอยู่แล้ว

มันแปลกตรงที่มีนักบวชหรือแม้กระทั้งฆราวาส มาว่ากล่าวพระไตรปิฎกแปล อรรถกถาและฎีกา
ไม่ใช่พุทธวจนะ ที่พูดแบบนี้แสดงให้เห็นว่าคนพูดขาดความเข้าใจในเรื่องของภาษา
หลักการใช้ภาษาง่ายๆในสังคมของตนยังไม่เข้าใจ แล้วภาษาธรรมภาษาปรมัตถ์ที่ต้องอาศัยปัญญา
จะไปเข้าใจได้ไง
ตัวเองสอนธรรมคน ก็ด้วยภาษาที่พ่อแม่สอนมา แต่มีหน้ามาปรามาสคนอื่นว่า
ไม่ใช่พุทธวจนะ ไม่ใช่พุทธพจน์ มันตลกดีมั้ยครับ

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 24 มิ.ย. 2013, 04:48 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว
สิ่งที่เป็นมรดก คือธรรมะที่พระองค์ประกาศไว้ดีแล้ว
ปัจจุบันนี้เรียกว่า "พุทธวัจจนะ" มีบันทึกเป็นหลักฐาน ในพระบาลี และแปลออกมาเป็นภาษาต่างๆ"
ส่วนไหนที่เป็นพุทธวัจจนะ พระสูตรนั้นก็จะขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้สดับมาเช่นนี้...."
เนื่องจากพุทธวัจจนะไม่ใช่ "ตำรา"
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นเพียงตำรา ย่อมไม่เข้าใจ ว่าพุทธวัจจนะนั้นเป็นสวากขาตธรรม"
หากสองท่านมีความเห็นแย้งไม่ตรงกัน
ก็ต้องดูในพุทธวัจจนะ เป็นหลักไว้ก่อน
อย่าเทียบเคียงจากตำราอาจารย์แต่ง หรือประพันธ์ออกมาในชั้นหลัง

เช่นนั้นขาดสมาธิในการพูดธรรม สิ่งที่เช่นนั้นพูดมันเป็นเรื่องของคนที่ไม่มีเหตุผล
ต้องอาศัยแต่คำอ้าง

ในความเป็นจริงที่ต้องยอมรับ คนสองคนมาเถียงกันในเรื่องของพระธรรม
ถ้าคนสองคนนั้นเป็นพุทธศาสนิกชน คนสองคนนั้นย่อมยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก
นั้นก็คือยึดเอาคำพูดของพระพุทธเจ้าถูกต้องที่สุด
ฉะนั้นคนสองคนย่อมต้องเข้าใจว่า ความเห็นของตนเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
การอ้างว่าเอาพุทธวจนะหรือพุทธพจน์ มันจึงเป็นเด็กที่ขาดเหตุผล สักแต่เอาสิ่งที่
กำลังเถียงกันมาเป็นพวกโดยขาดเหตุผล

ที่คนสองคนกำลังเถียงกัน ก็ด้วยเรื่องที่ว่า ความเห็นของตน
เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ถ้าเป็นกรณีที่อีกคนกำลังบอกว่า "สิ่งที่เขาพูดเขาคิดได้เอง"
แล้วก็บอกว่า ความคิดของเขาเหมือนที่พระพุทธเจ้าสอนทุกอย่าง

แบบนี้จึงจะอ้างพุทธพจน์ได้ นั้นหมายความว่า เอาพุทธพจน์มาอ้างแย้งความคิดเห็นส่วนตัว
แต่ถ้าเขาบอกว่า ความเห็นของเขาเอามาจากพุทธพจน์ จะไปเอาพุทธวจนะมาอ้างเป็นพวกไม่ได้
เพราะเขาก็กำลังอ้าง พุทธวจนะอยู่


ทั้งพระไตรปิฎกแปล อรรถกถา ฎีฎา เป็นหลักฐานเป็นตำราที่สืบทอดกันมา
ซึ่งผู้แปลหรือผู้แต่งเน้นบอกว่า แปลมาจากพุทธพจน์ นั้นก็คือเอาพุทธเจ้าเป็นหลัก
การที่ไปปรามาสสิ่งเหล่านี้ว่า ไม่ใช่พุทธวจนะมันเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล

ปัญหาส่วนใหญ่ ที่เถียงกันไม่จบสิ้น เป็นเพราะการตีความพุทธพจน์
มันไม่ใช่ ใครกล่าวพุทธพจน์หรือไม่ใช่พุทธพจน์

เจ้าของ:  เช่นนั้น [ 24 มิ.ย. 2013, 21:47 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

โฮฮับ เขียน:
เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว
สิ่งที่เป็นมรดก คือธรรมะที่พระองค์ประกาศไว้ดีแล้ว
ปัจจุบันนี้เรียกว่า "พุทธวัจจนะ" มีบันทึกเป็นหลักฐาน ในพระบาลี และแปลออกมาเป็นภาษาต่างๆ"
ส่วนไหนที่เป็นพุทธวัจจนะ พระสูตรนั้นก็จะขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้สดับมาเช่นนี้...."
เนื่องจากพุทธวัจจนะไม่ใช่ "ตำรา"
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นเพียงตำรา ย่อมไม่เข้าใจ ว่าพุทธวัจจนะนั้นเป็นสวากขาตธรรม"
หากสองท่านมีความเห็นแย้งไม่ตรงกัน
ก็ต้องดูในพุทธวัจจนะ เป็นหลักไว้ก่อน
อย่าเทียบเคียงจากตำราอาจารย์แต่ง หรือประพันธ์ออกมาในชั้นหลัง

เช่นนั้นขาดสมาธิในการพูดธรรม สิ่งที่เช่นนั้นพูดมันเป็นเรื่องของคนที่ไม่มีเหตุผล
ต้องอาศัยแต่คำอ้าง

ในความเป็นจริงที่ต้องยอมรับ คนสองคนมาเถียงกันในเรื่องของพระธรรม
ถ้าคนสองคนนั้นเป็นพุทธศาสนิกชน คนสองคนนั้นย่อมยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นหลัก
นั้นก็คือยึดเอาคำพูดของพระพุทธเจ้าถูกต้องที่สุด
ฉะนั้นคนสองคนย่อมต้องเข้าใจว่า ความเห็นของตนเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
การอ้างว่าเอาพุทธวจนะหรือพุทธพจน์ มันจึงเป็นเด็กที่ขาดเหตุผล สักแต่เอาสิ่งที่
กำลังเถียงกันมาเป็นพวกโดยขาดเหตุผล

ที่คนสองคนกำลังเถียงกัน ก็ด้วยเรื่องที่ว่า ความเห็นของตน
เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ถ้าเป็นกรณีที่อีกคนกำลังบอกว่า "สิ่งที่เขาพูดเขาคิดได้เอง"
แล้วก็บอกว่า ความคิดของเขาเหมือนที่พระพุทธเจ้าสอนทุกอย่าง

แบบนี้จึงจะอ้างพุทธพจน์ได้ นั้นหมายความว่า เอาพุทธพจน์มาอ้างแย้งความคิดเห็นส่วนตัว
แต่ถ้าเขาบอกว่า ความเห็นของเขาเอามาจากพุทธพจน์ จะไปเอาพุทธวจนะมาอ้างเป็นพวกไม่ได้
เพราะเขาก็กำลังอ้าง พุทธวจนะอยู่


ทั้งพระไตรปิฎกแปล อรรถกถา ฎีฎา เป็นหลักฐานเป็นตำราที่สืบทอดกันมา
ซึ่งผู้แปลหรือผู้แต่งเน้นบอกว่า แปลมาจากพุทธพจน์ นั้นก็คือเอาพุทธเจ้าเป็นหลัก
การที่ไปปรามาสสิ่งเหล่านี้ว่า ไม่ใช่พุทธวจนะมันเป็นสิ่งที่ไร้เหตุผล

[size=150]ปัญหาส่วนใหญ่ ที่เถียงกันไม่จบสิ้น เป็นเพราะการตีความพุทธพจน์
มันไม่ใช่ ใครกล่าวพุทธพจน์หรือไม่ใช่พุทธพจน์
[/size]

เห็นแต่โฮฮับ นั่งเทียนมาตลอด มีแต่สิ่งที่คิดเองเออเอง
จะมามั่วที่กระทู้อีกหรือครับ

เจ้าของ:  โฮฮับ [ 25 มิ.ย. 2013, 03:44 ]
หัวข้อกระทู้:  Re: ท่านเห็นความงดงาม ในการสนทนาธรรม แล้วหรือยัง

เช่นนั้น เขียน:
พระพุทธองค์ปรินิพพานไปแล้ว
สิ่งที่เป็นมรดก คือธรรมะที่พระองค์ประกาศไว้ดีแล้ว
ปัจจุบันนี้เรียกว่า "พุทธวัจจนะ" มีบันทึกเป็นหลักฐาน ในพระบาลี และแปลออกมาเป็นภาษาต่างๆ"
ส่วนไหนที่เป็นพุทธวัจจนะ พระสูตรนั้นก็จะขึ้นต้นว่า "ข้าพเจ้าได้สดับมาเช่นนี้...."

พูดไปเรื่อย นับวันยิ่งทำตัวแปลกแยก อธิบายความผิดตรรกของภาษา
ผิดกาลเทศะต่อสังคม
เช่นนั้นอย่าพยายามมาสร้างเงื่อนไขให้กับชาวพุทธดีกว่า

ถ้าเช่นนั้นหรือผู้สอนธรรมท่านใด แน่ใจว่าธรรมตัวเองถูกต้อง
ก็สอนธรรมของท่านไป แต่อย่าเอาพระพุทธองค์มาโจมตีครูบาอาจารย์ท่านอื่น
มันไม่งาม ยิ่งเป็นนักบวชด้วยแล้วมันไม่สำรวม


ที่ว่า พระสูตรต้องขึ้นต้นว่า" ข้าพเจ้าได้สดับมาเช่นนี้"
แบบนี้พระสูตรที่ว่าด้วยเรื่อง"ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร"และอื่นอีก ก็ไม่ใช่พระสูตรหรือไง


เช่นนั้น เขียน:
เนื่องจากพุทธวัจจนะไม่ใช่ "ตำรา"
ผู้ที่เข้าใจว่าเป็นเพียงตำรา ย่อมไม่เข้าใจ ว่าพุทธวัจจนะนั้นเป็นสวากขาตธรรม"

นึกจะพูดอะไรก็พูด ไม่รู้สิ่งแวดล้อม ไม่ดูกาลสมัย
ถ้าเป็นสมัยพุทธกาล พุทธวจนะย่อมต้องไม่ใช่ตำราอยู่แล้ว
เพราะพระพุทธองค์สอนสาวกด้วยปัญญาและคำพูดของพระองค์เอง

คำว่า"ตำรา" ไม่ใช่จะยึดเอาแต่ปัจจุบัน มันต้องคำนึงถึงยุคสมัยด้วย
ในสมัยพุทธกาลยังไม่มีตัวอักษร การเรียนการสอนจึงใช้วิธีถ่ายทอดด้วยคำพูด
ดังนั้นผู้ที่ถ่ายทอดปัญญาของพระพุทธเจ้า ก็คือตำรา
อย่างเช่นพระอานนท์ก็เป็นตำราของพระพุทธเจ้า

พุทธวจนะเป็นสวากขาธรรม ใช่ไม่มีใครเถียง แต่ถ้าเราไม่รู้ไม่เข้าใจ
ในสวากขาธรรม ธรรมนั้นมันก็เปล่าประโยชน์ ดังนั้นมันต้องมีผู้อธิบาย
สวากขาธรรม ซึ่งในความเป็นจริงคำอธิบายความ ตัวอักษรหรือคำพูดย่อมต้อง
ผิดไปจากคำพูดที่เป็นแม่แบบ(พุทธพจน์) ซึ่งหลักการโดยรวมของเรื่องนี้
ท่านให้ศึกษาบัญญัติหรือตำรา แล้วไปปฏิบัติที่กายใจ
อ่านบัญญัติแต่ต้องรู้ที่สภาวะธรรม

เช่นนั้น เขียน:
หากสองท่านมีความเห็นแย้งไม่ตรงกัน
ก็ต้องดูในพุทธวัจจนะ เป็นหลักไว้ก่อน
อย่าเทียบเคียงจากตำราอาจารย์แต่ง หรือประพันธ์ออกมาในชั้นหลัง

เช่นนั้นไปจำโวหารเขามาพูด มันไม่ได้เรื่องทั้งเจ้าของโวหารและคนจำเขามาพูด
ผมจะบอกให้โดยตรรกแล้ว ...............
ที่คนสองคนเขาเถียงกันนั้นน่ะ เขาเถียงกันในเรื่องพุทธวจนะ
ต่างคนต่างเข้าใจพุทธวจนะไปคนล่ะอย่าง แล้วจะให้เอาพุทธวจนะมาเป็นหลักได้อย่างไร

ถ้าคนสองคนเถียงกันในเรื่องพระสูตรบทใดหรือพุทธวจนะใด
มันไม่ใช่เอาพุทธวนะมาเป็นหลัก........มันต้องเอาสภาวะธรรมแท้ๆมาเป็นหลัก


ดังนั้นถ้าเรายังเป็นผู้ไม่มีปัญญาเห็นสภาวะธรรมแท้ๆ เราย่อมต้องไม่เข้าใจในพุทธวจนะ
เราจึงจำเป็นต้องอาศัย อรรถกถา ฎีกา ซึ่งความสำคัญเป็นอย่างยิ่งนั้นก็คือ
มีความศรัทธาต่อผู้ให้คำอรรถกถาหรือฎีกานั้นๆ

เถียงกันด้วยความเห็น(ครูสอนมา) มันต้องเอาอนุฎีกามาเป็นหลัก
เถียงกันในเรื่องอนุฎีกามันต้องเอาอรรถกถามาเป็นหลัก
เถียงกันในเรื่ออรรถกถา มันต้องเอาสภาวะธรรมมาเป็นหลัก
แบบนี้มันถึงจะเป็นเหตุเป็นผล
พุทธพจน์มาจากสภาวะธรรม อรรถกถามาจากพุทธพจน์
ฎีกามาจากอรรถกถา อนุฎีกามาจากฎีกา

ทั้งสี่เป็นหลักเป็นแบบแผนมา ถ้าศึกษาตามหลักนี้แหละเรียกว่าศึกษา พุทธวจนะ
ส่วนใครแสดงความเห็นที่ผิดไปจากหลักนี้ เขาเรียกความเห็นส่วนตัว ไม่ใช่พุทธวจนะ เข้าใจมั้ย



เห็นคนที่สอนเรื่องพุทธวจนะ อ้างพุทธวจนะไปสอนไป
แต่พูดถึงสถาวะธรรมมันเป็นคนล่ะเรื่อง
อยากเอาคลิปมาโพสตั้งกระทู้แต่กลัวผิดกฎ :b13:

หน้า 1 จากทั้งหมด 12 เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง
Powered by phpBB © 2000, 2002, 2005, 2007 phpBB Group
http://www.phpbb.com/