วันเวลาปัจจุบัน 24 ก.ค. 2025, 20:08  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 05:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว




5377-1.gif
5377-1.gif [ 21.29 KiB | เปิดดู 6369 ครั้ง ]
(/•ิ_•ิ)...เพราะโลภะเจตสิกเป็นตัวสมุทัยเป็นตัวสร้างโลก
เป็นตัวเกิดอีก สร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน
โลภะเป็นเหตุเมื่อเกิดขึ้นกับบุคคลใด

*(•ิ_•ิ)? จึงทำให้จิตใจมีกำลังกำเริบขึ้นสามารถทำได้ทั้งสุจริต ทุจริต
เพราะความอยาก และการที่อยากได้วัตถุต่างๆ มาตัวเองก็ไม่เคยรู้สึกตัวว่า
ตนเองได้สะสมโลภะไว้แล้วในจิต เมื่อมีแต่การสะสมไม่มีการทำลาย
จึงเป็นการยากที่จะถ่ายถอนเหตุปัจจัยออกได้โดยง่าย

(•ิ_•ิ\)...ถ้าไม่ได้อาศัยคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้ว
จะไม่มีใครทำลายเหตุปัจจัยได้เลย เพราะว่าสัตว์ทั้งหลายได้ทำสังขาร
ให้เป็นปัจจัยให้เจริญขึ้นอยู่เสมอ คือทำให้ขันธ์ ๕ เกิดอยู่ตลอดกาล

•:*´¨`*:•. ก็เพราะไม่เข้าใจว่าการเกิดขันธ์ ๕ นั้นนำทุกข์มาให้
และทุกข์นั้นก็มาจากเหตุปัจจัยนี้เอง เหตุปัจจัยจึงเป็นเหตุสร้างโลกที่สำคัญที่สุด
เมื่อเราละโลภะเหตุเสียได้ก็จะพ้นจากชาติคือการเกิด คือพ้นทุกข์ทั้งปวง
Ƹ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒ Ƹ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒ Ƹ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒ Ƹ̵̡Ӝ̵̨̄Ʒ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 10:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
(/•ิ_•ิ)...เพราะโลภะเจตสิกเป็นตัวสมุทัยเป็นตัวสร้างโลก
เป็น[/color]ตัวเกิดอีก สร้างทุกข์ให้เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน โลภะเป็นเหตุเมื่อเกิดขึ้นกับบุคคลใด

ใครบอกลุงกันล่ะว่า โลภะเป็นตัวสมุทัย ตัวสมุทัยที่แท้จริงเป็นตัว....ตัณหา
โลภะเป็นอาการของจิตเป็นกระบวนการขันธ์ห้า โลภะเป็นอกุศลที่มีเหตุปัจจัยมาจาก...ตัณหา

และโลภะไม่ใช่ตัวสร้างทุกข์ แต่มันเป็นตัวทุกข์ และที่ว่ามันเป็นตัวทุกข์ก็เพราะ
โลภะเป็นสังขารขันธ์เป็นกระบวนการขันธ์ ซึ่งลักษณะของขันธ์ห้าเป็น.....สังขาร
และเพราะการไม่เห็น....ความเป็นอนิจจังของสังขารมันจึงเป็นทุกข์
สรุปขันธ์ก็คือกองทุกข์ทั้งมวล :b13:
ลุงหมาน เขียน:
*(•ิ_•ิ)? จึงทำให้จิตใจมีกำลังกำเริบขึ้นสามารถทำได้ทั้งสุจริต ทุจริต
เพราะความอยาก และการที่อยากได้วัตถุต่างๆ มาตัวเองก็ไม่เคยรู้สึกตัวว่า
ตนเองได้สะสมโลภะไว้แล้วในจิต เมื่อมีแต่การสะสมไม่มีการทำลาย
จึงเป็นการยากที่จะถ่ายถอนเหตุปัจจัยออกได้โดยง่าย

กำลงกำลังอะไรครับ มันก็เป็นของมันตามธรรมชาติของจิต
เป็นไปตามธรรมที่เรียกว่า...ธรรมนิยาม

โลภะทำลายไม่ได้ ถ้ามีเหตุให้เกิดมันก็เกิด แต่เราสามารถหยุดมันได้ด้วยการใช้..สติ
สิ่งที่จะทำให้ไม่เกิดอาการของจิตหรือโลภะ โทสะและโมหะ ต้องอาศัยการทำสติปัสฐาน
เพื่อละกิเลสตัณหา เมื่อไม่มีกิเลสตัณหา โมหะ โทสะและโลภะก็ไม่เกิด
ลุงหมาน เขียน:
ก็เพราะไม่เข้าใจว่าการเกิดขันธ์ ๕ นั้นนำทุกข์มาให้
และทุกข์นั้นก็มาจากเหตุปัจจัยนี้เอง เหตุปัจจัยจึงเป็นเหตุสร้างโลกที่สำคัญที่สุด
เมื่อเราละโลภะเหตุเสียได้ก็จะพ้นจากชาติคือการเกิด คือพ้นทุกข์ทั้งปวง

มันไม่ใช่....เพราะไม่เข้าใจการเกิดขึ้นของขันธ์ห้า แบบที่ลุงบอก
ขันธ์ห้า มันเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป มันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเดียว
ก็เพราะไปเข้าใจว่า ขัน์ห้ามันเกิดขึ้นอย่างเดียวแบบนี้ไงมันจึงทุกข์

จะพ้นจากชาติมันต้องไปละตัวตัณหา ตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่
อุปาทานไม่มี ภพชาติก็ไม่มี :b13:

พูดธรรมเรื่อยเปื่อยเหมือนพวกตาบอดไม่กลัวผี :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 13:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 ก.พ. 2012, 12:27
โพสต์: 2372

แนวปฏิบัติ: ปฏิจจสมุปบาท และกรรมฐาน
งานอดิเรก: สวดมนต์รภาวนา
อายุ: 27

 ข้อมูลส่วนตัว


แบบนี้แสดงว่าอาการของจิต(เจตสิก)เกิดขึ้นเองเพราะอาศัย เหตุปัจจัย เมื่อเจตสิกเกิดเราก็สามารกำหนดรู้หรือวิปัสนาเพื่อไม่ให้เกิดเหตุ การกระทำ(กรรม)ที่ไม่ดีออกไปทางกายวาจาได้ ถ้าบุคคลนั้นฝึกสติสัมปชัญญะมาไวพอที่จะสามารถ ตัดรอยต่อของเวทนา ตันหา เพื่อไม่ให้อุปทานขันธ์ขึ้น เพราะอุปทานขันธ์ห้าคือตัวทุกข์ ที่คุนน้องกำหนดรู้เท่าที่ปฏิบัติมา เจตสิกเกิดเพราะอาศัยวิบากจิตเป็นปัจจัยร่วม อาการของจิตจึงเกิดขึ้นและก่อตัวเป็นเวทนา ตันหา ความรู้สึกนี้ถ้าเกิดร่วมกับวิบากมันมีพลังมหาศาลมาก ซึ่งต้องใช้หลักการโยนิโสมนสิการ พิจารณาให้ถ่องแท้พิจารณาแล้วเล่าจนจิตมันจะยอมวางได้ บางครั้งต้องนั่งสมาธิให้ความคิดหายฟุ้งซ่านเลยหละ onion


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว




12_1_~1.JPG
12_1_~1.JPG [ 9.02 KiB | เปิดดู 6326 ครั้ง ]
โลภะเหตุนั้นซึ่งเกิดกับอกุศลที่เป็นโลภะมูลจิต ๘
โทสะเหตุนั้นเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นอกุศลจิตที่โทสมูลจิต ๒
โมหะเหตุนั้นเกิดขึ้นในอกุศลจิตที่ในโมหมูลจิต ๒

ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุปัจจัยก่อนปัจจัยอื่น
ก็เหตุว่าธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ ผลก็เกิดขึ้นไม่ได้
เหตุจึงนับว่าสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดผลธรรม ต่างๆมากมาย
เพราะเหตุแปลว่าสิ่งที่ทำให้เกิดผล หรือทำให้เจริญเติบโต

เหตุจึงแปลว่า มูลหรือรากเง่า เพราะทำให้จิตมีกำลังตั้งมั่นแข็งแรง
เช่น รากของต้นไม้ ต้นไม้ใดมีรากแก้วแข็งแรงต้นไม้นั้นก็เจริญงอกงามเติบโตมั่นคง
แม้จะตัดกิ่งตัดก้านต้นไม้ก็ไม่ตาย ถ้ายังไม่ตัดรากถอนโคน
ฉันใดก็ดี เหตุปัจจัยได้แก่เหตุ ๖ ยังมีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นก็ต้องเวียนว่าตายเกิด
ไปในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด เหตุ ๖ ได้แก่
โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภะเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ม.ค. 2013, 19:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 2
สมาชิก ระดับ 2
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ค. 2010, 16:44
โพสต์: 84

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โฮฮับ เขียน:

จะพ้นจากชาติมันต้องไปละตัวตัณหา ตัณหาไม่มี อุปาทานก็ไม่
อุปาทานไม่มี ภพชาติก็ไม่มี :b13:

:b4: :b17:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2013, 05:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โลภะเหตุนั้นซึ่งเกิดกับอกุศลที่เป็นโลภะมูลจิต ๘
โทสะเหตุนั้นเกิดขึ้นกับจิตที่เป็นอกุศลจิตที่โทสมูลจิต ๒
โมหะเหตุนั้นเกิดขึ้นในอกุศลจิตที่ในโมหมูลจิต ๒

สงสัยจขกทคงจะ ไม่เข้าใจหลักอิทัปปัจถตา
มีตัณหาย่อมมี ขันธ์ห้า มีขันธ์ห้าย่อมมี....จิตสังขาร


อกุศลเหตุเป็นหนึ่ง....จิตสังขาร
อกุศลมูลจิตก็คือ....กายสังขารและวจีสังขาร

จิตและเจตสิก มีลักษณะเกิดขี้น ตั้งอยู่และดับไป
ถ้าเรารู้ลักษณะของจิตและเจตสิกเราก็ย่อมไม่หลง อกุศลมูลจิตย่อมเกิดไม่ได้

ลุงหมาน เขียน:
ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุปัจจัยก่อนปัจจัยอื่น
ก็เหตุว่าธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ ผลก็เกิดขึ้นไม่ได้
เหตุจึงนับว่าสำคัญที่สุดที่ทำให้เกิดผลธรรม ต่างๆมากมาย
เพราะเหตุแปลว่าสิ่งที่ทำให้เกิดผล หรือทำให้เจริญเติบโต

ใครบอกลุงว่า พระพุทธเจ้าแสดงเหตุปัจจัยก่อนปัจจัยอื่น
พระพุทธองค์ทรงแสดงเป็นอันดับแรกก็คือ......ผลไม่ใช่เหตุ
ผลที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงก็คือ....ทุกข์ พระองค์ทรงให้รู้ว่าตัวทุกข์คืออะไร
แล้วจึงบอกเหตุที่มาแห่งทุกข์ที่เรียกว่า.....สมุทัย รู้ทุกข์แล้ว รู้เหตุแล้วก็ให้ดับเสีย
ลุงหมาน เขียน:
เหตุจึงแปลว่า มูลหรือรากเง่า เพราะทำให้จิตมีกำลังตั้งมั่นแข็งแรง
เช่น รากของต้นไม้ ต้นไม้ใดมีรากแก้วแข็งแรงต้นไม้นั้นก็เจริญงอกงามเติบโตมั่นคง
แม้จะตัดกิ่งตัดก้านต้นไม้ก็ไม่ตาย ถ้ายังไม่ตัดรากถอนโคน
ฉันใดก็ดี เหตุปัจจัยได้แก่เหตุ ๖ ยังมีแก่บุคคลใด บุคคลนั้นก็ต้องเวียนว่าตายเกิด
ไปในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด เหตุ ๖ ได้แก่
โลภเหตุ, โทสเหตุ, โมหเหตุ, อโลภะเหตุ, อโทสเหตุ, อโมหเหตุ

เลอะแล้วลุง ความหมายของจิตมีกำลัง มันหมายถึงจิตมีสมาธิ
จิตไม่มีกำลังเป็นเพราะอกุศลจิตเข้าครอบงำ ลุงเล่นเอาบัญญัติมายำซะเละ

ถ้าจะเปลี่ยนต้นไม้ พวกเหตุต่างๆที่ลุงบอกมา มันก็เหมือนกิ่งก้าน ใบ
กิ่งก้านใบตัดไปเล็มไป มันก็เกิดอีก เช่นเดียวกันกับกุศลจิตหรืออกุศลจิต
มันก็เกิดดับของมันตามเหตุ และเหตุของมันที่แท้จริงก็คือตัณหา
ดังนั้นตัวตัณหาก็คือรากเหง้า หากจะดับสังสารวัฎมันก็ต้องดับที่ตัณหา :b13:

เอาพระพระสุติฯมาให้ลุงท่องอาขยานครับ...........
"ธรรม ๓ อย่างที่ควรละเป็นไฉน คือ ตัณหา ๓ ได้แก่กามตัณหา ๑
ภวตัณหา ๑ วิภวตัณหา ๑ ธรรม ๓ อย่างเหล่านี้ควรละ ฯ"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2013, 06:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุปัจจัย ก็ทรงแสดง อารัมมณปัจจัย
เพราะเหตุ ๖ นั้น ถ้าไม่มีอารมณ์ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ธรรมดาจิต เจตสิก เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยอารมณ์พาไป
ถ้าอารมณ์ไม่มี จิต เจตสิกก็มีไม่ได้ อารมณ์จึงเป็นเครื่องก่อให้เกิด จิต เจตสิก มาประชุมกัน
จึงได้อุปมาอารมณ์ว่าเหมือนกับสถานที่รื่นรมณ์ หรือสวนดอกไม้ ส่วนจิต เจตสิกเหมือนบุคคลที่เข้าไป
สนุกสนานในที่นั้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีอารัมมณปัจจัย

ธรรมดาจิต เจตสิกเกิดขึ้นก็เพื่อทำงาน การทำงานจะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยกำลังเป็นหัวหน้า
จึงต้องอาศัยอธิปติปัจจัย จิตเมื่อทำงานก็ต้องขึ้นสู่วิถีจิต
เกิดดับติดต่อกันไปจนสุดวิถี จิตจะเกิดขึ้นรับอารมณ์เพียงดวงเดียวไม่ได้จึงได้มี อนันตรปัจจัย
ให้จิตเกิดดับติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น และจิตก็ต้องเกิดติดต่อกันไปตามลำดับด้วย
จะก่ายกันก็ไม่ได้ก็ด้วย สมนันตรปัจจัย จิตเมื่อเกิดแล้ว
จะมีแต่จิตอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะต้องอาศัยเกิดขึ้พร้อมกับเจตสิก และบางทีก็มีรูปเกิดด้วย
จึงเป็น สหชาตปัจจัย ทั้งจิต เจตสิก และรูป ต่างก็อาศัยซึ่งกันและเป็น
อัญญมัญญปัจจัย จิตเกิดขึ้นลอยๆ ก็ไม่ได้จำเป็นต้องมีที่อาศัย
เช่น หทยวัตถุเป็นที่อาศัยให้เกิดจิตด้วย เป็น นิสสยปัจจัย ที่เป็นที่อาศัยก็
มีทั้งที่มีกำลังน้อยและกำลังมาก ที่อาศัยกำลังน้อยเรียกว่า นิสสยปัจจัย ซึ่งเป็นที่อาศัยได้เฉพาะปัจุบัน
กาลอย่างเดียว ถ้าเป็นที่อาศัยมีกำลังมากก็เป็น อุปนิสสยปัจจัย เพราะอาศัยได้ทั้งสามกาล และกาลวิมุตติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ม.ค. 2013, 15:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ความโกรธ....ความโลภ....ความหลง....เป็นอาการหยาบ ๆ...ที่แสดงผ่านทาง..กาย..วาจา..ความนึกคิด...ต่อเนื่องจากตัณหา.

เพราะความต้องการสนองตัณหา....จึงโลภ
เพราะความที่ไม่สามารถสนองตัณหาได้....จึงโกรธ
เพราะความต้องการที่จะสนองตัณหา...จึงเรียกว่าหลงผิด

แต่ตัวตัณหาเอง...ก็เกิดเพราะ...ความไม่รู้...คือ...ไม่รู้ว่า...ความทุกข์ทั้งหลายจะตามมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2013, 03:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 13 ก.พ. 2010, 17:53
โพสต์: 4999

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุปัจจัย ก็ทรงแสดง อารัมมณปัจจัย
เพราะเหตุ ๖ นั้น ถ้าไม่มีอารมณ์ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ธรรมดาจิต เจตสิก เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยอารมณ์พาไป
ถ้าอารมณ์ไม่มี จิต เจตสิกก็มีไม่ได้ อารมณ์จึงเป็นเครื่องก่อให้เกิด จิต เจตสิก มาประชุมกัน
จึงได้อุปมาอารมณ์ว่าเหมือนกับสถานที่รื่นรมณ์ หรือสวนดอกไม้ ส่วนจิต เจตสิกเหมือนบุคคลที่เข้าไป
สนุกสนานในที่นั้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีอารัมมณปัจจัย

ไอ้ตัวจิต เจตสิกหรือนามขันธ์ มันก็คืออารมณ์นั้นแหล่ะ จะเอามาพูดให้คนอื่นเขาสับสนทำไม
อารัมมณปัจจัยมันเกิดกับจิตทุกดวงรวมถึงเจตสิกด้วย

การเกิดของอารมณ์ก็คือการเกิดของนามขันธ์นั้นเอง เพราะเวทนาเป็นสังขารขันธ์(เจตสิก)
สัญญาเป็นสังขารขันธ์(เจตสิก) สังขารก็เป็นสังขารขันธ์(เจตสิก) วิญญาณเป็นวิญาณขันธ์เป็นจิต

อารมณ์ก็คือจิตและเจตสิก หรือนามขันธ์
ไอ้เหตุ๖ที่ลุงบอกมันเป็นเจตสิก มันจึงเป็นอารมณ์ในตัวของมันเอง

คำว่าอารัมมปัจจัยมีความหมายว่า อกุศลจิตหรือที่ลุงเรียกว่าเหตุ๖
ตัวอกุศลจิตที่ว่านี้มันเป็นอารมณ์ ที่ไปเป็นปัจจัยของกายสังขารและวจีสังขาร

มันไม่ใช่อย่างที่ลุงบอก ที่ว่าจิต เจตสิกต้องอาศัยอารมณ์พาไป
จิตและเจตสิกมันเกิดขึ้นเพราะมีผัสสะ มันไม่มีอะไรพามา มันเกิดตามเหตุปัจจัย
ตามธรรมนิยาม ตามอิทัปปัจจถตา

ลุงหมาน เขียน:
ธรรมดาจิต เจตสิกเกิดขึ้นก็เพื่อทำงาน การทำงานจะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยกำลังเป็นหัวหน้า
จึงต้องอาศัยอธิปติปัจจัย จิตเมื่อทำงานก็ต้องขึ้นสู่วิถีจิต
เกิดดับติดต่อกันไปจนสุดวิถี จิตจะเกิดขึ้นรับอารมณ์เพียงดวงเดียวไม่ได้จึงได้มี อนันตรปัจจัย

ลุงเอาเรื่องปัจจัยมาใช้ผิดลักษณะครับ จิตและเจตสิกมันเกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย
ถ้าเราจะให้จิตทำงาน"เราต้องกำหนดรู้"ครับ จึงจะเรียกว่าจิตทำงาน
ดังนั้นเราต้องอาศัย สติหรือปัญญา มาเป็น "อธิปติปัจจัย"

และที่บอกว่า "จิตเกิดขึ้นรับอารมณ์เพียงดวงเดียวไม่ได้" นี่ก็ไม่ใช่
จิตและเจตสิกเป็นอารมณ์ มันจะไปรับอารมณ์อะไรอีก

สิ่งที่จะรับอารมณ์ต้องเป็นผัสสะที่ต่อเนื่องจาก ผัสสะต้วแรก
ผัสสะตัวรับอารมณ์นั้นก็คือ....มโนทวารและธัมมารมณ์ ตัวธัมมารมณ์ก็คือ
อารมณ์ที่มาจากผัสสะตัวแรก ดังนั้น "อนันตรปัจจัย"จึงไม่เกี่ยวกับการรับอารมณ์
เพราะอนันตรปัจจัยเป็นตัวอารมณ์

ตัวที่รับอารมณ์ก็คือมโนทวารและธัมมารมณ์ที่มาจากผัสสะตัวแรก เขาเรียกการเกิดนี้ว่า
"สมนันตรปัจจัย"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2013, 06:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
ความโกรธ....ความโลภ....ความหลง....เป็นอาการหยาบ ๆ...ที่แสดงผ่านทาง..กาย..วาจา..ความนึกคิด...ต่อเนื่องจากตัณหา.

เพราะความต้องการสนองตัณหา....จึงโลภ
เพราะความที่ไม่สามารถสนองตัณหาได้....จึงโกรธ
เพราะความต้องการที่จะสนองตัณหา...จึงเรียกว่าหลงผิด

แต่ตัวตัณหาเอง...ก็เกิดเพราะ...ความไม่รู้...คือ...ไม่รู้ว่า...ความทุกข์ทั้งหลายจะตามมา


ขอบคุณครับ
ที่นำเสนอความรู้ของตนที่มุ่งหวังเป็นธรรมทาน
โดยอันมิได้เบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งยังแต่จะเป็นประโยชน์ส่วนตนและบุคคลอื่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2013, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงเหตุปัจจัย ก็ทรงแสดง อารัมมณปัจจัย
เพราะเหตุ ๖ นั้น ถ้าไม่มีอารมณ์ก็เกิดขึ้นไม่ได้ ธรรมดาจิต เจตสิก เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยอารมณ์พาไป
ถ้าอารมณ์ไม่มี จิต เจตสิกก็มีไม่ได้ อารมณ์จึงเป็นเครื่องก่อให้เกิด จิต เจตสิก มาประชุมกัน
จึงได้อุปมาอารมณ์ว่าเหมือนกับสถานที่รื่นรมณ์ หรือสวนดอกไม้ ส่วนจิต เจตสิกเหมือนบุคคลที่เข้าไป
สนุกสนานในที่นั้น ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีอารัมมณปัจจัย

ธรรมดาจิต เจตสิกเกิดขึ้นก็เพื่อทำงาน การทำงานจะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยกำลังเป็นหัวหน้า
จึงต้องอาศัยอธิปติปัจจัย จิตเมื่อทำงานก็ต้องขึ้นสู่วิถีจิต
เกิดดับติดต่อกันไปจนสุดวิถี จิตจะเกิดขึ้นรับอารมณ์เพียงดวงเดียวไม่ได้จึงได้มี อนันตรปัจจัย
ให้จิตเกิดดับติดต่อกันโดยไม่มีระหว่างคั่น และจิตก็ต้องเกิดติดต่อกันไปตามลำดับด้วย
จะก่ายกันก็ไม่ได้ก็ด้วย สมนันตรปัจจัย จิตเมื่อเกิดแล้ว
จะมีแต่จิตอย่างเดียวก็ไม่ได้ จะต้องอาศัยเกิดขึ้พร้อมกับเจตสิก และบางทีก็มีรูปเกิดด้วย
จึงเป็น สหชาตปัจจัย ทั้งจิต เจตสิก และรูป ต่างก็อาศัยซึ่งกันและเป็น
อัญญมัญญปัจจัย จิตเกิดขึ้นลอยๆ ก็ไม่ได้จำเป็นต้องมีที่อาศัย
เช่น หทยวัตถุเป็นที่อาศัยให้เกิดจิตด้วย เป็น นิสสยปัจจัย ที่เป็นที่อาศัยก็
มีทั้งที่มีกำลังน้อยและกำลังมาก ที่อาศัยกำลังน้อยเรียกว่า นิสสยปัจจัย ซึ่งเป็นที่อาศัยได้เฉพาะปัจุบัน
กาลอย่างเดียว ถ้าเป็นที่อาศัยมีกำลังมากก็เป็น อุปนิสสยปัจจัย เพราะอาศัยได้ทั้งสามกาล และกาลวิมุตติ

จิต เจตสิก รูป ก็มิใช่จะเกิดขึ้นพร้อมกันเสมอไป
บางอย่างก็เกิดก่อนเช่นรูปที่เกิดก่อนจิตก็เป็น ปุเรชาตปัจจัย
และบางอย่างก็เกิดภายหลัง เช่นจิตที่เกิดภายหลังอุปถัมภ์รูปที่เกิดก่อน
ให้ตั้งอยู่จนครบอายุของรูปด้วย ปัจฉาชาตปัจจัย
จิต เจตสิก เกิดขึ้นก็มิใช่จะเกิดขึ้นเฉยๆ แต่เกิดขึ้นเพื่อเสพอารมณ์จึงมี อาเสวนปัจจัย เสพอารมณ์ในชวนะ ขณะเสพอารมณ์ก็ต้องทำกรรม เป็นกุศลบ้าง อกุศลบ้าง เป็นกัมมปัจจัย
เมื่อทำกรรมก็มีผลเกิดขึ้นเป็น วิปากปัจจัย
ผลนั้นจะจะเจริญเติบโตได้ก็ต้องอาศัยอาหารเป็น อาหารปัจจัย
เมื่อมีอาหารจึงจะชีวิตอยู่ได้เป็น อินทริยปัจจัย
ปกครองชีวิตให้ตั้งอยู่ แม้มีชีวิตแล้วที่สุดก็ต้องตายถูกเผาไหม้เป็น ฌานปัจจัย
จะให้กิเลสเผาเรา หรือเราจะเผากิเลส เพราะเหตุเกิดแล้วต้องตาย
เมื่อยังไม่สิ้นกิเลสตายแล้วก็ต้องไปเกิดอีก การเกิดอีกก็ต้องหาทางไปจึงเกิด เป็น มัคคปัจจัย
ให้นำทางไปสู่สุคติ ทุคติ หรือพระนิพพาน และในการนำทางไปก็ด้วยอาศัยมีผู้คนประกอบ มีจิต เจตสิกประกอบพร้อมกัน เป็น สัมปยุตตปัจจัย
บางที่ก็ไม่ต้องอาศัยผู้คนประกอบ แต่อาศัยอย่างอื่นเช่นรูป เข้ามาช่วยก็เป็น วิปปยุตตปัจจัย
ถ้ามีผู้ช่วยผู้ช่วยนั้นต้องอยู่ด้วยกันจึงทำให้เกิดงานได้ เป็นอัตถิปัจจัย
แต่ถึงไม่มีผู้ช่วยผู้ก็ทำการงานให้เกิดเองได้เป็น นัตถิปัจจัย
และแม้ถึงผู้ช่วยจะปราศจากไปแล้ว การงานก็เกิดขึ้นได้ด้วย วิคตปัจจัย
แต่บางคนก็ต้องมีผู้ช่วยอยู่ด้วยกัน ปราศจากกันไม่ได้การงานถึงจะเกิดขึ้นได้ ด้วย อวิคตปัจจัย

ปัจจัยทั้ง ๒๔ เป็นดังนี้
เหตุปจฺจโย... อารมฺมณปจฺจโย... อธิปติปจฺจโย... อนนฺตรปจฺจโย
สมนนฺตรปจฺจโย... สหชาตปจฺจโย... อญฺญมญฺญปจฺจโย... นิสฺสยปจฺจโย
อุปนิสฺสยปจฺจโย... ปุเรชาตปจฺจโย... ปจฺฉาชาตปจฺจโย... อาเสวนปจฺจโย
กมฺมปจฺจโย... วิปากปจฺจโย... อาหารปจฺจโย... อินฺทฺริยปจฺจโย
ฌานปจฺจโย... มคฺคปจฺจโย... สมฺปยุตฺตปจฺจโย... วิปฺปยุตฺตปจฺจโย
อตฺถิปจฺจโย... นตฺถิปจฺจโย... วิคตปจฺจโย... อวิคตปจฺจโย
ที่มา>> http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%9A ... 82228.html

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 15 ม.ค. 2013, 07:54, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2013, 07:52 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 07 ธ.ค. 2012, 16:46
โพสต์: 412

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษา ธรรมะ งง จังเลย s002


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2013, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


choochu เขียน:
ภาษา ธรรมะ งง จังเลย s002

ครับ....ขอบคุณที่เข้ามาอ่านครับ
ธรรมะนั้นเป็นของยากเป็นธรรมดา กว่าพระพุทธเจ้าจะทรงค้นพบนำมาบอก
นั้นยากยิ่งกว่า สิ่งใดที่มันง่ายๆนั้นไม่ใช่ธรรมของพระพุทธเจ้า
ไม่ใช่ธรรมที่จะนำออกจากทุกข์ได้ เพราะมัน
เป็นธรรมที่เวียนว่ายอยู่ในวัฏฏะ ต้องหมั่นศึกษาหาความรู้
ดังที่พระองค์ทรงสอน จึงจะพอเห็นทางพ้นทุกข์ได้จริง

ผู้ถางทางให้คนเดิน กับผู้ที่เดิน ใครง่ายกว่ากัน แค่เราเป็นเพียงผู้เดินก็ยังคิดว่ายากแล้ว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2013, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8586


 ข้อมูลส่วนตัว


โถ ! เห็นหน้ากันอยู่หลัดๆ ตกท่อตายไปซะแล้ว

http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%9A ... 82228.html

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แก้ไขล่าสุดโดย ลุงหมาน เมื่อ 16 ม.ค. 2013, 06:14, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ม.ค. 2013, 21:00 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


ลุงหมาน เขียน:
โถ ! เห็นหน้ากันอยู่หลัดๆ ตกท่อตายไปซะแล้ว

ที่มา>> http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%9A ... 82228.html


ลุงครับ..ลิงค์มันไม่ทำงาน.. s002


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 44 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร